หลวงตาเล่าให้ฟัง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย weruwan, 31 ธันวาคม 2012.

  1. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537
    หลวงตาเล่าให้ฟัง

    บังเอิญมีวาระได้ร่วมกุศลกับสหายธรรมท่านหนึ่งได้เมตตากล่าวร่วมความสร้างกุศลพิมพ์หนังสือเล่มนี้
    จึงได้นำปัจจัยหน้าพระที่ตักบาทด้วยสตางค์ทุกเช้าเอามาร่วมกุศล
    เมื่อวันหนึ่งได้มีวาสนาได้พบสหายธรรมท่านผู้นี้
    ได้นำหนังสือที่ร่วมสร้างมาให้เล่มหนึ่ง
    ราตรีที่สองได้มีโอกาสเปิดอ่าน
    พฃันได้พบข้อสงสัยที่ติดขัดมาเนิ่นนาน
    หาผู้ใดมาแก้ธรรมเราข้อนี้ได้กระจ่างชัดไม่
    บัดเดี๋ยวนี้สิ้นข้อสงสัยในเหตุแห่งธรรมนั้นแล้ว
    ธรรมข้อนั้นหลวงตาท่านได้กล่าวความกระจ่างสิ้น
    เราจึงตั้งจติจักนำบทความใรหนังสือนี้
    มาเผยแพร่ให้ผู้คนได้พินิจธรรม
    ตามกำลังแห่งปัญญาของผู้คน
    ผลิว่า
    รางทีคงมีบางท่าน
    ได้ติดขัดในข้อธรรมที่ยังแก้มิตก
    เช่นเดียวที่เราเคยเป็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2013
  2. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.5 KB
      เปิดดู:
      99
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.7 KB
      เปิดดู:
      70
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.3 KB
      เปิดดู:
      76
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.2 KB
      เปิดดู:
      80
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.4 KB
      เปิดดู:
      83
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.8 KB
      เปิดดู:
      68
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      61
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.2 KB
      เปิดดู:
      61
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.6 KB
      เปิดดู:
      68
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.4 KB
      เปิดดู:
      79
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.6 KB
      เปิดดู:
      78
    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.1 KB
      เปิดดู:
      67
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • 20.jpg
      20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.9 KB
      เปิดดู:
      61
    • 21.jpg
      21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.7 KB
      เปิดดู:
      68
    • 22.jpg
      22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.4 KB
      เปิดดู:
      70
    • 23.jpg
      23.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.7 KB
      เปิดดู:
      69
    • 24.jpg
      24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.3 KB
      เปิดดู:
      69
    • 25.jpg
      25.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.7 KB
      เปิดดู:
      80
    • 26.jpg
      26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.1 KB
      เปิดดู:
      66
    • 27.jpg
      27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14 KB
      เปิดดู:
      63
    • 28.jpg
      28.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17 KB
      เปิดดู:
      69
    • 32.jpg
      32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.1 KB
      เปิดดู:
      65
    • 33.jpg
      33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.6 KB
      เปิดดู:
      64
    • 29.jpg
      29.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.9 KB
      เปิดดู:
      66
    • 30.jpg
      30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.4 KB
      เปิดดู:
      76
    • 31.jpg
      31.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.5 KB
      เปิดดู:
      58
    • 34.jpg
      34.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.2 KB
      เปิดดู:
      71
    • 36.jpg
      36.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      56
    • 35.jpg
      35.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.1 KB
      เปิดดู:
      57
    • 37.4.jpg
      37.4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9 KB
      เปิดดู:
      55
    • 37.5.jpg
      37.5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      102.3 KB
      เปิดดู:
      61
    • 37.jpg
      37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.8 KB
      เปิดดู:
      54
    • 38.jpg
      38.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.6 KB
      เปิดดู:
      50
    • 39.jpg
      39.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.9 KB
      เปิดดู:
      51
    • 40.jpg
      40.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.5 KB
      เปิดดู:
      56
    • 41.jpg
      41.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57 KB
      เปิดดู:
      59
    • 42.jpg
      42.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.8 KB
      เปิดดู:
      64
    • 43.jpg
      43.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.8 KB
      เปิดดู:
      63
    • 44.jpg
      44.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.3 KB
      เปิดดู:
      62
    • 45.jpg
      45.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.7 KB
      เปิดดู:
      65
    • 46.jpg
      46.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.4 KB
      เปิดดู:
      64
    • 48.jpg
      48.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.8 KB
      เปิดดู:
      55
    • 49.jpg
      49.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.4 KB
      เปิดดู:
      60
    • 50.jpg
      50.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.5 KB
      เปิดดู:
      69
    • 51.jpg
      51.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.9 KB
      เปิดดู:
      59
    • 52.jpg
      52.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.7 KB
      เปิดดู:
      59
    • 53.jpg
      53.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.6 KB
      เปิดดู:
      56
    • 54.jpg
      54.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15.9 KB
      เปิดดู:
      54
    • 55.jpg
      55.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16 KB
      เปิดดู:
      57
    • 56.jpg
      56.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.8 KB
      เปิดดู:
      61
    • 57.jpg
      57.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.8 KB
      เปิดดู:
      55
    • 58.jpg
      58.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.3 KB
      เปิดดู:
      53
    • 59.jpg
      59.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11 KB
      เปิดดู:
      61
    • 60.jpg
      60.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.1 KB
      เปิดดู:
      57
    • 61.jpg
      61.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.8 KB
      เปิดดู:
      58
    • 62.jpg
      62.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.1 KB
      เปิดดู:
      76
    • 63.jpg
      63.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.3 KB
      เปิดดู:
      62
    • 64.jpg
      64.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.4 KB
      เปิดดู:
      53
    • 65.jpg
      65.jpg
      ขนาดไฟล์:
      187.9 KB
      เปิดดู:
      54
    • 66.jpg
      66.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.1 KB
      เปิดดู:
      57
    • 67.jpg
      67.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.4 KB
      เปิดดู:
      50
    • 68.jpg
      68.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39 KB
      เปิดดู:
      55
    • 69.jpg
      69.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.2 KB
      เปิดดู:
      50
    • 71.jpg
      71.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.1 KB
      เปิดดู:
      58
    • 72.jpg
      72.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.3 KB
      เปิดดู:
      54
    • 73.jpg
      73.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63 KB
      เปิดดู:
      57
    • 74.jpg
      74.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100 KB
      เปิดดู:
      58
    • 76.jpg
      76.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.6 KB
      เปิดดู:
      58
    • 77.jpg
      77.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.9 KB
      เปิดดู:
      53
    • 78.jpg
      78.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • 79.jpg
      79.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.5 KB
      เปิดดู:
      56
    • 80.jpg
      80.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.1 KB
      เปิดดู:
      53
    • 81.jpg
      81.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.4 KB
      เปิดดู:
      59
    • 82.jpg
      82.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      53
    • E-bookหลวงตาเล่าให้ฟัง.pdf
      ขนาดไฟล์:
      11.5 MB
      เปิดดู:
      154
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2013
  3. weruwan

    weruwan เวฬุวัน ว.มุจลินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +537

    เหตุที่บวช

    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ นายทองดี มารดาชื่อ นางแพง นามสกุล โลหิตดี เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๑๖ คน สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๓ ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับสูงสุดในขณะนั้น เมื่อท่านมีอายุสมควรที่จะบวช โยมพ่อของท่านพูดว่า “กูขอให้มันบวชทีไร มันไม่เคยตอบ มันไม่เคยพูด เหมือนไม่มีปากไม่มีหูว่างั้น เวลากูตายแล้วจะไม่มีใครลากกูขึ้นมาจากหม้อนรกเลย เลี้ยงลูกไว้หลายคนเท่าไร กูพอจะได้อาศัย มันก็ไม่ได้เรื่อง ถ้ากูอาศัยบักบัวนี้ไม่ได้แล้วกูก็หมด” พอว่าอย่างนั้น น้ำตาพ่อร่วงปุ๊บปับๆ เรามองไปเห็น แม่เองมองเห็นพ่อน้ำตาร่วง แม่ก็น้ำตาร่วง เราก็โดดออกจากที่รับประทานปุ๊บปั๊บหนีไปเลย นั่นแหละเป็นต้นเหตุที่ให้เรา
    ตัดสินใจบวช

    สุดท้ายที่จะได้บวชนี้ นี่ อำนาจแห่งพ่อแม่
    รักเรา แล้วเราก็รักพ่อแม่ สะดุดใจถึงกับ
    สะเทือน... คำว่า พ่อแม่รักลูก เสียสละทุกอย่าง
    ลูกทุกคนเราเห็นอยู่ เวลาพ่อแม่เลี้ยงลูกเราดูอยู่
    เราเป็นลูกผู้ใหญ่ดูลูกผู้น้อยที่พ่อแม่เลี้ยงดู
    ทุกอย่างๆ ประมวลเข้ามาในตัวของเราหมด นี่ละ
    เหตุที่จะสละบวชได้ สรุปความลงได้ ที่เราบวชนี้
    ก็เพราะพ่อแม่รักเราที่สุด ลูกทุกๆ คนเลี้ยงเอาเป็น
    เอาตายเข้าว่าเลย ทุกๆ คนจนกระทั่งมาถึง
    ตัวของเราก็เลี้ยงแบบเดียวกันเลย แล้วทำไม
    พ่อแม่ขอเพียงเท่านี้ ขอไม่ได้มีอย่างหรือ ลูกทั้งคน
    นี่ล่ะ เป็นส่วนสำคัญที่ว่าพ่อแม่รักลูกมาก
    รักอย่างที่ว่านี้เสียสละทุกอย่างแล้วมามอบ
    ความไว้วางใจให้ลูกเพียงเท่านั้นไม่ได้เรื่อง
    พ่อแม่น้ำตาตกเลย เสียใจมากทีเดียว ถ้ากูหวังพึ่ง
    ไอ้นี่ไม่ได้แล้ว กูไม่มีวันหวังใครแหละ ลูกทั้งหมด
    กูไม่หวัง กูหวังพึ่งคนเดียวเท่านั้น มันถึงใจ กึกเลย!
    นี่ล่ะ เรียกว่าพ่อแม่รักลูก รักอย่างไรบ้าง
    พิจารณาเอาทุกคน ออกมาจากหัวตับหัวปอด
    พ่อแม่มาให้ลูก ไม่เสียดายอะไรทั้งหมดชีวิตจิตใจ
    มอบให้ลูกหมดเลย นี่จึงเรียกว่า “ความรัก”

    ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโยธานิมิตร บ้านหนองขอนกว้าง ตำบลหนองบัว
    อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ตรงกับ วันขึ้น ๙ ค่ำ
    เดือน ๗ ปีจอ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดอ่อนตา เขมังกโร วัดโยธานิมิตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ตั้งแต่ก่อนที่เป็นนาคอยู่ในโบสถ์ในวัดนั้นก็เห็นท่านพระครูตอนเช้าๆ ท่านลงเดินจงกรม
    แต่เช้า ตี ๔ ท่านลงไปเดินจงกรม พอสว่างแล้ว ท่านก็เข้าโบสถ์แล้วไหว้พระทำวัตรเช้า พอเสร็จแล้ว
    พระก็ออกบิณฑบาต นี้เป็นประจำอยู่วัดโยธานิมิตร... เวลาบวชแล้วก็เรียนภาวนากับท่าน อยากภาวนา
    แล้วจะภาวนายังไง ท่านว่า “เอ้อ พุทโธนะ ภาวนาพุทโธนะ เราก็ภาวนาพุทโธเหมือนกัน” ท่านว่างั้น
    เราก็จับเอานั้นมาภาวนา ภาวนาสะเปะสะปะตามภาษีภาษาคนอยากภาวนาแต่ยังไม่ร้ผล
    เป็นยังไงก็ภาวนาไป บังคับจิตให้สงบไม่นานเอาสติไม่อยู่สติก็เผลอ สติเผลอไปแล้วจิตจะสงบไม่ได้
    เมื่อสติเผลอ แล้วก็นอนภาวนา วันหลังเวลาไหนภาวนาก็ตั้งสติได้ขณะแรกครัน้ ต่อไปกิเลสลากแล้ว
    สติก็อ้าปากไม่มีหวัง กิเลสเอาไปกินแล้ว ก็ทำไป... หยุดเรียนหนังสือแล้วเราสละเวลาหนึ่งชั่วโมง
    นั่งภาวนาอย่างนี้ก่อนนอน เป็นความชอบใจมีนิสัยชอบอยู่อย่างนั้นลึกๆ

    บทเวลามันจะเป็น นึกพุทโธๆ ภาวนา
    ไปตามประสีประสาก็ไม่เคยเห็นผลจาก
    การภาวนาว่าจะเป็นอย่างไร จะว่าสงบ พอนึก
    พุทโธๆ จิตที่มันซ่านอยู่นั้นด้วยความคิดความปรุง
    ต่างๆ เหมือนเราตากแหไว้ ทีนี้พอระลึกพุทโธๆ
    มันเหมือนเราดึงจอมแหเข้ามาเป็นอย่างนั้น
    ตีนแหก็หดเข้ามาย่นเข้ามาๆ ค่อยหดเข้ามาๆ
    ก็เป็นจุดที่ให้จิตสนใจมากขึ้น มันก็จ่อเข้าไป
    สติจ่อเข้า้ไปเรื่อยๆ มันค่อยหดเข้า้มา กระแสของจิต
    ค่อยย่นเข้ามาๆ ย่นเข้ามาจนกระทั่งถึงใจเลยนะ
    นี่เป็นครั้งแรกที่เราบวชใหม่ๆ เรายังไม่รู้เรื่องรู้ราว
    พอเข้ามาถึงใจแล้วหยุดกึ๊กเลยเทียวนะ ทีนี้
    ปรากฏว่ามันว่างหมดเลย ยังเหลืออยู่เฉพาะ
    ความรู้ที่เด่นอัศจรรย์ โอ๊ย! เกิดความอัศจรรย์
    ตื่นเต้นนะเวลานั้น โอ๊ย! ทำไมจิตเราอัศจรรย์
    เอาขนาดนี้ เราก็ไม่เคยเห็นเคยได้ยิน วันนี้
    ได้ปรากฏแล้ว ทีนี้ความตื่นเต้นมันเลยไปเขย่าจิต
    ที่สงบให้ขยายตัวออกมาถอนออกมาเสีย โอ๊ย!
    เสียดาย พยายามทำอีกมันก็ไม่ได้...
    ทำวันหลังขยับใส่เรื่อยมันก็ไม่ได้เรื่อง
    เพราะสัญญาอารมณม์ นั ไปหมายอดตี ทีเ่ คยเปน็
    มาแล้ว... มันไม่อยู่กับพุทโธให้เป็นปัจจุบันมันก็เลย
    ไม่ได้เรื่อง... จนกระทั่งจิตใจมันเหมือนหนึ่งว่า
    หมดหวัง โอ๊ย! ได้ไม่ได้ช่างเถอะ ทำไปอย่างนี้
    ทีนี้มันก็ปล่อยอารมณ์ที่มันไปคาดไปหมายไว้
    ในอดีต เข้ามาเป็นปัจจุบันแล้วมันก็ลงได้อีก
    ลงอัศจรรย์เหมือนเดิมแล้วก็เป็นบ้าขึ้นอีกนะ
    วันหลังขยับใหญ่จะเอามันก็ไม่ได้อีกแหละ...
    นี่เราสรุปเลยว่าเราเรียนหนังสืออยู่ ๗ ปี เราได้จิต
    ที่สงบแบบนี้ ๓ หน ได้สามหนเท่านั้นเรียนหนังสือ
    ตั้งเจ็ดปีเต็มๆ แต่มันได้หลักไว้แล้วนั้นนะ คือมัน
    ไม่ถอนความเชื่อที่จิตเป็นของอัศจรรย์

    นี่เล่าเป็นคติให้หมู่เพื่อนฟังเรื่องความจริงจัง เรียนๆ จริงๆ ไม่ถอย แต่สำคัญที่เรียนธรรมะ
    เข้าไปตรงไหนมันสะดุดใจ เอ๊ะๆ ชอบกลๆ เข้าๆไปเรื่อยๆ... อ่านพุทธประวัติเข้าไปและอ่านสาวก
    ประวัติเข้าไปอีก โอ้โฮ ทีนี้ใจหมุนติ้วๆ นั่นแลเรื่องที่จะอยู่ไป เรื่องภายนอกก็ค่อยจืดไปจางไปๆ
    เรื่องธรรมะก็หมุนติ้วๆ ดูดดื่มเข้าไปเรื่อยๆ... อยากพ้นทุกข์เหลือกำลัง พูดง่ายๆ อยากเป็น
    พระอรหันต์นั่นเอง เห็นพระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ สาวกทั้งหลายออกมาจากสกุลต่างๆ สกุล
    พระราชา มหาเศรษฐี กุฎุมพี พ่อค้า ประชาชน ตลอดคนธรรมดา องค์ไหนออกมาจากสกุลใด
    ไปบำเพ็ญในป่าในเขาหลังจากได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้ว เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จพระอรหันต์
    อยู่ที่นั่น องค์นั้นสำเร็จอยู่นั่นอยู่ในป่านั้น อยู่ในเขาลูกนั้น ในทำเลนี้ มีแต่ที่สงบสงัด การประกอบ
    ความพากเพียรของท่านทำอย่างเอาจริงเอาจัง เป็นเนื้อเป็นหนัง เอาเป็นเอาตายเข้าว่าจริงๆ
    ท่านไม่ทำเหลาะๆ แหละๆ เล่นๆ ลูบๆ คลำๆ เหมือนอย่างเราทั้งหลายทำ ผลของท่านแสดงออกมา
    เป็นความอัศจรรย์เป็นพระอรหันต์วิเศษๆ นี่ละมันถึงใจ ๔


    ตั้งความสัตย์

    ความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ดี สาวกอรหันต์ทั้งหลายตรัสรู้เป็นผู้บริสุทธิ์ก็ดี รู้สึกจะมี
    ความเชื่อมั่นเข้าอย่างเต็มที่ตามนิสัยของปุถุชน เหตุที่จะเป็นอุปสรรคแก่ตนเองอยู่ในระยะเริ่มต้นนี้ก็คือ
    (๑) สงสัยปฏิปทาที่เราดำเนินไปตามท่านนี้จะถึงจุดที่ท่านถึงหรือไม่
    (๒) หรือว่าทางเหล่านี้จะกลายเป็นขวากเป็นหนามไปเสีย
    (๓) หรือจะกลายเป็นทางผิดไปเสียทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายเดินทางสายนี้ไปแล้ว
    ถึงแดนแห่งความเกษม นี่เป็นเรื่องสงสัยปฏิปทาอันเป็นฝ่ายเหตุ
    ที่นี้ฝ่ายผล ก็เป็นเหตุให้มีความสงสัยอีกเช่นเดียวกันว่าเวลานี้มรรคผลนิพพานจะมีอยู่
    เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ความสงสัยที่ปรากฏอยู่ ภายในใจเช่นนี้ ไม่สามารถระบายให้ผู้ใด
    ผู้หนึ่งฟังได้เพราะเข้าใจว่าจะไม่มีใครสามารถแก้ไขความสงสัยของเราให้หมดไปจากจิตใจ จึงเป็นเหตุ
    ให้มีความสนใจและมุ่งที่จะพบท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ แม้จะไม่เคยเห็นหน้าเห็นตาท่านก็ตาม
    แตไ่ ดย้ นิ กิตตศิ ัพท์กติ ติคณุ ของทา่ นฟ้งุ ขจรมาจากจังหวัดเชียงใหมว่ า่ ทา่ นเปน็ พระสำคัญ โดยมาก
    ผู้ที่มาเล่าให้ฟังนั้นจะไม่เล่าขั้นธรรมในอริยภูมิธรรมดา แต่จะเล่าถึงอรหันตภูมิของท่านทั้งนั้น
    จึงเป็นเหตุให้มั่นใจว่าเมื่อเราได้ศึกษาให้เต็มภูมิความสัตย์ของเราที่ตั้งไว้แล้ว ยังไงเราจะต้องพยายาม

    ไปอยู่สำนักของท่าน ศึกษาอบรมจากท่าน
    เพื่อจะตัดข้อข้องใจในความสงสัยของเรา
    ที่มีฝังใจอยู่ ณ บัดนี้
    ความสัตย์ที่เคยตั้งไว้ต่อตนเองนั้น คือ
    การสอบเปรียญขอให้จบเพียง ๓ ประโยคเท่านั้น
    ส่วนนักธรรมจะได้ขั้นไหนก็ตามไม่เป็นปัญหา
    เมื่อเปรียญได้จบ ๓ ประโยคแล้วจะออกปฏิบัติ
    โดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาเล่าเรียนและสอบ
    ประโยคต่อไปเป็นอันขาดนี่เ่ป็นความสัตย์ที่ตั้งไว้้

    ออกปฏิบัติ (พ.ศ.๒๔๘๔)
    พอเดินทางไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ ก็เผอิญ
    ท่านพระอาจารย์มั่นถูกท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์
    จังหวัดอุดรธานีอาราธนานิมนต์ท่านให้ไปพัก
    จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ท่านกำลังออก
    เดินทางออกจากที่วิเวกมาพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    จังหวัดเชียงใหม่ไล่เลี่ยกันกับทางนี้ไปถึง... คราวนั้น
    ท่านพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงไม่กี่วันก็ออกเดินทาง
    มาจังหวัดอุดรธานีกับคณะลูกศิษย์ของท่าน
    ส่วนเราพยายามเรียนหนังสืออยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    พอสอบเปรียญได้ก็เข้าไปกรุงเทพฯ เพื่อมุ่งหน้า
    ออกปฏิบัติกรรมฐานตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้
    แต่ถูกผู้ใหญ่ (พระญาณดิลก ภายหลังได้เป็น
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พิมพ์ ธัมมธโร) สั่งให้อยู่ที่นั่น
    ด้วยความเมตตาหวังอนุเคราะห์ทางด้านปริยัติ
    พยายามหาทางหลีกออกเพื่อปฏิบัติตามความตั้งใจ
    และคำสัตย์ที่ตั้งไว้แล้ว... พอมีโอกาสปลีกตัว

    ออกจากกรุงเทพฯ ได้ในเวลานั้น...
    ตอนกลางคืนก็เข้านั่งตั้งสัจจาธิษฐานขอบันดาลจากพระธรรม
    เพื่อเป็นการสนับสนุนความแน่ใจในการออกคราวนี้...
    ถ้าจะได้ออกปฏิบัติกรรมฐานตามที่ได้ตั้งคำสัตย์
    โดยความสะดวกด้วย ออกไปแล้วจะได้สมความปรารถนาด้วย ขอให้เรื่องนิมิตที่แปลกประหลาด
    ได้แสดงขึ้นภายในใจของเราในคืนวันนี้ จะรู้ทางด้านภาวนาก็ตาม จะรู้ทางด้านคำฝันก็ตาม เพราะวันนี้
    ได้ตั้งคำสัตย์ไว้ อธิษฐานไว้อย่างนี้ ขอให้มีนิมิตแปลกประหลาดขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าออกไปแล้ว
    ไม่สมหวังก็ดี หรือไม่ได้ออกก็ดี นิมิตที่แสดงขึ้นมานั้นให้แสดงเหตุที่ไม่สมหวังซึ่งไม่พอใจ...
    พอหลับลงไปเท่านั้นปรากฏว่าได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ เวลาที่เหาะขึ้นไปนั้นปรากฏว่า
    ได้เหาะขึ้นจากพระนครหลวงแต่ไม่ใช่เป็นพระนครหลวงกรุงเทพฯ เรา จะเป็นนครหลวงอะไรก็ไม่ทราบ
    กว้างจนสุดสายหูสายตา แล้วก็เหาะรอบพระนครหลวงนั้น ๓ รอบแล้วกลับลงมา พอกลับลงมาถึงที่แล้ว
    พอดีก็ตื่นขึ้นมาตี ๔ พอดี...
    พอฉันจังหันเสร็จแล้วก็เข้าไปลาสมเด็จกราบลาสมเด็จมหาวีระวงศ์
    ท่าน (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อ้วน ติสฺโส เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส) ก็พอดีบุญก็ช่วย ท่านก็ยินดีให้ไปได้

    ออกมาทีแรกก็มาจำพรรษาโคราช อำเภอจักราช เพราะตามท่านอาจารย์มั่นไม่ทัน ก็เร่ง
    ตั้งแต่มาถึงทีแรก ไม่นานจิตก็ได้ความสงบเพราะทำทั้งวันทั้งคืนไม่ยอมทำงานอะไรทั้งนั้นนอกจาก
    งานสมาธิภาวนาเดินจงกรมอย่างเดียวตามประสาของคนล้มลุกคลุกคลานนั่นแหละ จิตมันก็สงบ
    ได้ ก็เร่งใหญ่เลย... ตอนนั้นสมาธิไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะ แน่นปึ๋งเลยเทียว แน่ใจว่ามรรคผล
    นิพพานมีแล้ว เพราะจิตมันแน่นปึ๋งไม่สะทกสะท้านกับอะไร

    พบพระอาจารย์มั่น (พ.ศ.๒๔๘๕)
    จากนครราชสีมา มาจังหวัดอุดรธานีนี้
    จุดประสงค์ก็เพื่อจะมาให้ทันพระอาจารย์มั่น
    ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ อุดรธานี แต่ก็มา
    ไม่ทันท่านเพราะท่านถูกนิมนต์ไปจังหวัด
    สกลนครเสีย ก่อนจึงเลยไปพักอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง
    จังหวัดหนองคายประมาณสามเดือนกว่า พอถึง
    เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ก็ออกเดินทางจาก
    หนองคายไปจังหวัดสกลนครและเดินทางต่อไป
    ถึงวัดท่านพระอาจารย์มั่นที่ตั้งอยู่บ้านโคก
    ตำบลตองโขบ... ในบทธรรมที่แสดงให้ฟังในคืน
    วันที่ไปถึง...เป็นบทธรรมที่ฝังลึกอยู่ภายในใจจน
    บัดนี้ว่า
    “ท่านมหาก็นับว่าเรียนมาพอสมควรจน
    ปรากฏนามเป็นมหา ผมจะพูดธรรมให้ฟังเพื่อเป็น
    ข้อคิด แต่อย่าเข้าใจว่าผมประมาทธรรมของ
    พระพุทธเจ้านะ เวลานี้ธรรมที่ท่านเรียนมาได้มาก
    ได้น้อยยังไม่อำนวยประโยชน์ให้ท่านสมภู มิ
    ที่เป็นเปรียญ นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการ
    ภาวนาของท่านในเวลานี้เท่านั้น เพราะท่านจะ
    อดเป็นกังวลและนำธรรมที่เรียนมานั้นเข้ามา
    เทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจสงบ ดังนั้น
    เพื่อความสะดวกในเวลาจะทำความสงบให้แก่ใจ
    ขอให้ท่านที่จะทำใจให้สงบยกบูชาไว้ก่อนใน
    บรรดาธรรมที่ท่านได้เรียนมา ต่อเมื่อถึงกาล
    ที่ธรรมซึ่งท่านเรียนมาจะเข้ามาช่วยสนับสนุน

    ให้ท่านได้รับประโยชน์ขึ้นมากแล้ว ธรรมที่เรียนมาทั้งหมดจะวิ่งเข้ามาประสานกันกับทางด้านปฏิบัติ
    และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท ทั้งเป็นธรรมแบบพิมพ์ซึ่งเราควรจะพยายามปรับปรุงจิตใจให้เป็น
    ไปตามด้วย แต่เวลานี้ผมยังไม่อยากจะให้ท่านเป็นอารมณ์กับธรรมที่ท่านเล่าเรียนมา อย่างไรจิต
    จะสงบลงได้หรือจะใช้ปัญญาค้นคิดในขันธ์ก็ขอให้ท่านทำอยู่ในวงกายนี้ก่อนเพราะธรรมในตำราท่าน
    ชี้เข้ามาในขันธ์ทั้งนั้น แต่หลักฐานของจิตยังไม่มีจึงไม่สามารถนำธรรมที่เรียนมาจากตำราน้อมเข้ามา
    เป็นประโยชน์แก่ตนได้และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์ คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนที่ไม่มีหลัก
    เพราะจิตติดปริยัติในลักษณะไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า ขอให้ท่านนำธรรมที่ผมพูดให้ฟังไปคิดดู
    ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติไม่ท้อถอย วันหนึ่งข้างหน้าธรรมที่กล่าวนี้จะประทับใจท่านแน่นอน”
    เท่าที่จำได้ในวันนั้นก็นำมาเล่าให้ฟังเพียงเท่านี้๘
    ไปอยู่กับท่านได้ประมาณสัก ๔-๕ คืนเท่านั้นล่ะมัง ความฝันนี้ก็เป็นเรื่องความฝันอัศจรรย์
    เหมือนกัน ฝันว่าได้สะพายบาตร แบกกลด ครองผ้าด้วยดีไปตามทางอันรกชัฏ สองฟากทางแยก
    ไปไหนไม่ได้ มีแต่ขวากแต่หนามเต็มไปหมด...
    พอไปถึงที่แห่งหนึ่งก็มีกอไผ่หนาๆ ล้มทับขวางทางไว้ หาทางไปไม่ได้...
    ช่องที่ทางเดินไปตรงนั้นแหละเป็นช่องนิดหน่อยพอที่จะบึกบืนไป...
    เจ้าของก็คืบคลานไป...
    พยายามบึกบึนกันอยู่นั้นเป็นเวลานาน พอดีเจ้าของก็พ้นไปได้ ข้างหน้าเป็นมหาสมุทรมองไปฝั่งโน้นไม่มี เห็นแต่ฝั่งที่เจ้าของยืนอยู่เท่านั้นและมองเห็นเกาะหนึ่งอยู่โน้นไกลมาก เราก็ขึ้นนั่งเรือ...
    พอไปถึงเกาะนั้นแล้ว...
    ขึ้นบนฝั่ง...
    ปีนเขาขึ้นไปๆ ก็ไปเห็นท่านอาจารย์มั่น...
    กำลังนั่งตำหมากจ๊อกๆ อยู่ “อ้าว! ท่านมหามาได้ยังไงนี่?
    ทางสายนี้ใครมาได้เมื่อไหร่ ท่านมหามาได้ยังไงกัน?”
    “กระผมนั่งเรือมา ขึ้นเรือมา” “โอ้โฮ ทางนี้มันมายากนา ใครๆ ไม่กล้าเสี่ยงตายมากันหรอก เอ้า
    ถ้าอย่างนั้นตำหมากให้หน่อย” ท่านก็ยื่นตะบันหมากให้ เราก็ตำจ๊อกๆๆ ได้ ๒-๓ จ๊อกเลยรู้สึกตัวตื่น
    พอตื่นเช้ามาก็เลยไปเล่าความฝันให้ท่านฟัง ท่านพูดทำนายได้ดีมาก “เอ้อ ที่ฝันนี้เป็นมงคล
    อย่างยิ่งแล้วนะ นี้เป็นแบบเป็นฉบับในปฏิปทาของท่านไม่เคลื่อนคลาดนะ ให้ท่านดำเนินตาม
    ปฏิปทาที่ท่านฝันนี้ เบื้องต้นจะยากลำบากที่สุดนะ ท่านต้องเอาให้ดี ท่านอย่าท้อถอย เบื้องต้นนี้
    ลำบาก ดูท่านลอดกอไผ่มาทั้งกอนั้นแหละลำบากมากตรงนั้น เอาให้ดี อย่าถอยหลังเป็นอันขาด
    พอพ้นจากนั้นไปแล้วก็เวิ้งว้างไปได้สบายจนถึงเกาะ อันนั้นไม่ยาก ตรงนี้ตรงยากนา...
    เป็นกับตายท่านอย่าถอยตรงนี้ ครั้งแรกนี้ยากที่สุด”


    จิตเสื่อม (พ.ศ.๒๔๘๕)
    ก่อนที่จะเข้าอยู่ปฏิบัติกับท่านอาจารย์มั่นนั้น ท่านไปพัก ณ บ้านเกิด เนื่องจากเอากลดเก่ามาใช้มันจึงขาดหลุดลุ่ยเลยไปทำกลดหลังหนึ่ง
    ปรากฏว่าในด้านสมาธิเริ่มเสื่อมลงเป็นเวลาหนึ่งปีห้าเดือน
    ขั้นที่ล้มลุกคลุกคลานก็เหมือนอย่างเราๆท่านๆ ทั้งหลายที่ปฏิบัติอยู่นี้แล เอาเกือบเป็นเกือบตายก็ให้มันเหยียบเอาๆ อยู่นั้น เหมือนเข็นครกขึ้นบนจอมปลวก กลิ้งไปมันกลิ้งทับหัวเรา
    ต่อหน้าต่อตาเพราะเราไม่มีกำลังสามารถต้านทานมันไว้ได้ นี่กิเลสซึ่งเป็นเหมือนครก
    ก็เหมือนกันเวลามีอำนาจมากมันกลิ้งทับเราอย่างนั้นเหมือนกัน ผมเคยเป็นมาแล้วทั้งนั้น
    ไม่ใช่เอามาคุยอวดหมู่เพื่อนนะ ผมพูดไปตามความเป็นจริง บางทีน้ำตาร่วงกัดฟันนะ เมื่อไร
    กูจะได้เอามึงสักทีนะ ถึงขนาดนั้นนะ...
    อย่างคราวที่ว่าจิตเสื่อมนั้นแหละ เราได้เห็นประจักษ์ตัวทีเดียว
    จิตเข้าได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ก่อนเข้าได้สนิทๆ
    เหมือนหินนะเวลามันเป็น จิตเป็นสมาธิแน่น
    เหมือนหิน สุดท้ายมันก็เสื่อมเพราะความ
    ไม่รอบคอบของตัวเอง ไม่รู้จักวิธีรักษา...
    เราเป็นอย่างนั้นจริงๆ เวลามันเสื่อมลงไปนี้
    ความเคียดความแค้นนี้ แหม...ทุกข์ ทุกข์แสนสาหัสไม่มีอะไรทุกข์ยิ่งกว่าในหัวใจเรานะ
    ไม่มีอะไรทุกข์ยิ่งกว่าสมาธิเสื่อม แต่ก่อนไม่ได้สมาธิ


    จิตไม่เป็นสมาธิมันก็เทียบกันได้กับคนที่เขาหาเช้ากินเย็นนั่นแหละ เขาไม่เคยมีเงินหมื่นเงินแสน
    เงินล้าน เขาจะเอาอะไรมาเสียใจเพราะความล่มจมของเงินหมื่นเงินแสนเงินล้านเล่า เขาหาเช้ากินเย็น
    เขาสบายกว่า คนมีเงินแสนเงินล้านที่ล่มจมไปด้วยเหตุการณ์อันใดอันหนึ่ง ผู้นั้นจะร้อนมากที่สุด
    นี่ก็เหมือนกัน คนที่ไม่เคยเจอสมาธิก็จะเอาอะไรมาเดือดร้อน
    พระอาจารย์มั่นให้กำลังใจว่า “น่าเสียดาย มันเสื่อมไปที่ไหนกันนา เอาเถอะท่านอย่าเสียใจ
    จงพยายามทำความเพียรเข้ามากๆ เดี๋ยวมันจะกลับมาอีกแน่ๆ มันไปเที่ยวเฉยๆ พอเราเร่งความเพียร
    มันก็กลับมาเอง หนีจากเราไปไม่พ้นเพราะจิตเป็นเหมือนสุนัขนั่นแล เจ้าของไปไหนมันต้องติดตาม
    เจ้าของไปจนได้ นี่ถ้าเราเร่งความเพียรเข้าให้มาก จิตก็ต้องกลับมาเองไม่ต้องติดตามมันให้เสียเวลา
    มันหนีไปไหนไม่พ้นเราแน่ๆ จงพยายามทำความเพียรเข้าให้มากเชียว มันจะกลับมาในเร็วๆ นี้แล
    ไม่ต้องเสียใจให้มันได้ใจ เดี๋ยวมันว่าเราคิดถึงมันมากมันจะไม่กลับมา จงปล่อยความคิดถึงมันเสีย
    แล้วให้คิดถึงพุทโธติดๆ กันอย่าลดละ พอบริกรรมพุทโธถี่ยิบติดๆ กันเข้า มันวิ่งกลับมาเอง คราวนี้
    แม้มันกลับมาก็อย่าปล่อยพุทโธ มันไม่มีอาหารกินเดี๋ยวมันก็วิ่งกลับมาหาเรา จงนึกพุทโธเพื่อเป็น
    อาหารของมันไว้มากๆ เมื่อมันกินอิ่มแล้วต้องพักผ่อน เราจะสบายขณะที่มันพักสงบตัวไม่วิ่งวุ่น
    ข่นุ เคืองเที่ยวหาไฟมาเผาเรา ทำจนไล่มันไม่ยอมหนีไปจากเรา นั่นแลพอดีกับใจตัวหิวโหยอาหาร
    ไม่มีวันอิ่มพอ ถ้าอาหารพอกับมันแล้วแม้ไล่หนีไปไหนมันก็ไม่ยอมไป ทำอย่างนั้นแลจิตเราจะไม่ยอม
    เสื่อมต่อไป คือไม่เสื่อมเมื่ออาหารคือพุทโธพอกับมัน จงทำตามแบบที่สอนนี้ท่านจะได้ไม่เสียใจ
    เพราะจิตเสื่อมแล้วเสื่อมเล่าอีกต่อไป”
    ก็ตั้งคำมั่นสัญญาขึ้นอีกว่า ถึงอย่างไรเราจะนำบทบริกรรมมากำกับจิตใจทุกเวลาไม่ว่าเข้าสมาธิ
    ออกสมาธิ ไม่ว่าจะไปที่ไหน อยู่ที่ใด แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัดหรือทำกิจวัตรต่างๆ จะไม่ยอมให้จิต
    พลัง้ เผลอจากคำบริกรรมคือพุทโธ... ต่อมาจิตมีความเจริญเช่นนั้นเป็นลำดับๆ ขึ้นมาก็เลยไม่เสื่อม
    เป็นเหตุให้รู้อีกทีหนึ่งว่า อ้อ เรื่องที่เคยเสื่อมนั้นเสื่อมเพราะว่าเราขาดคำบริกรรมแล้วเป็นการ
    เผลอสติไปในระยะนั้นๆ จึงเป็นเหตุให้จิตเสื่อมได้ในระยะนั้น

    ภาวนาตลอดรุ่ง (พ.ศ.๒๔๘๖)
    พรรษาที่ ๑๐ ความเพียรและความหักโหม
    มันเริ่มมาตั้งแต่ยังไม่เข้าพรรษาเดือนเมษายน
    และพฤษภาคมน่ะ มาจากพระธาตุพนมกับพ่อแม่
    ครูอาจารย์ ท่านไปเผาศพพ่อแม่ครูอาจารย์เสาร์
    กลับมา ก็ไปรับท่านมาด้วยกัน ก็เข้ามาอยู่บ้านนามน จำพรรษาที่นั่น มันหมุนติ้วๆ เริ่มแต่โน่นแล้ว สมาธิเริ่มแน่นไม่เสื่อมอีกมาแต่เดือนเมษายน กลางวันพอฉันจังหันเสร็จแล้วล้างบาตรล้างอะไร เช็ดบาตรเรียบร้อยแล้วไม่เข้าถลกแหละ
    เอาไปวางปุ๊บแล้วเข้าทางจงกรมเลย ฟัดมันจน
    โน้น ๑๑ โมงเป็นอย่างน้อยหรือเที่ยงวันออกมา
    จากทางจงกรมก็พัก ออกจากพักก็นั่งภาวนาราวชั่วโมงก็ลงเดินจงกรมอีกแล้ว อย่างนั้นเป็นประจำ
    ถ้าวันไหนร่างกายมันบอบช้ำมากจิตลงได้ยาก
    วันนั้นแหละได้นั่งพับเพียบ นั่งพับเพียบฉันจังหัน
    มันเหมือนไฟเผาอยู่ก้น บางทีได้เอามือคลำดูนะ
    ก้นพองหรือ คลำดูก็ไม่พอง กระดูกทุกส่วนเหมือนจะแตก กลางวันก็ตามมันเจ็บปวดรวดร้าว
    ไปหมดไม่ใช่เฉพาะเวลาเรานั่งภาวนาจึงปวดกระดูกตามร่างกายส่วนต่างๆ เหมือนมันจะแตก
    จะหักเพราะมันบอบช้ำมาตั้งแต่กลางคืน ฉะนั้นจึงต้องเดินให้มากทีเดียวในเวลากลางวันหรือกลางคืนที่ไม่ได้นั่งตลอดรุ่ง


    ตอนนั่งภาวนาตลอดร่งุ ตั้งแต่เริ่มคืนแรกเลย พิจารณาทุกขเวทนา แหม! มันทุกข์แสนสาหัสนะ
    ทีแรกก็ไม่นึกว่าจะนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่ง นั่งไปๆ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นๆ พิจารณายังไงก็ไม่ได้เรื่อง
    เอ๊ะ! มันยังไงกันนี่วะ! เอ้า! วันนี้ตายก็ตาย เลยตั้งอธิษฐานในขณะนั้น เริ่มตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงสว่าง
    ถึงจะลุก เอ้า! เป็นก็เป็น ตายก็ตาย! จากนั้นก็ฟาดกันเลยทีเดียวจนกระทั่งจิตซึ่งไม่เคยพิจารณา
    ปัญญายังไม่เคยออกแบบนั้นนะ แต่พอเวลามันจนตรอกจนมุมจริงๆ โอ๋ย! ปัญญามันไหวตัว
    ทันเหตุการณ์ทุกแง่ทุกมุม จนกระทั่งรู้เท่าทุกขเวทนา รู้เท่ากาย รู้เรื่องจิต ต่างอันต่างจริง
    มันพรากกันลงอย่างหายเงียบเลยทั้งๆ ที่เราไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อนเลย กายหายในความรู้สึก
    ทุกขเวทนาดับหมดเหลือแต่ความรู้ที่สักแต่รู้ ไม่ใช่รู้เด่นๆ ชนิดคาดๆ หมายๆ ได้นะ คือสักแต่ว่ารู้
    เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนที่สุดอัศจรรย์ที่สุดในขณะนั้น พอถอนขึ้นมาก็พิจารณาอีก แต่การ
    พิจารณาเราจะเอาอุบายต่างๆ ที่เคยพิจารณาแล้วมาใช้ขณะนั้นไม่ได้ผล มันเป็นสัญญาอดีตไปเสีย
    ต้องผลิตขึ้นมาใหม่ให้ทันกับเหตุการณ์ในขณะนั้นจิตก็ลงได้อีก คืนนั้นลงได้ถึง ๓ ครั้งก็สว่าง โอ๋ย!
    อัศจรรย์เจ้าของละซิ...
    จิตที่มันรู้แล้วมันรู้ชัดตั้งแต่คืนแรกนะ ที่ว่าจิตเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมก่อนมา
    ภาวนาถึงขั้นนั่งตลอดรุ่งทีแีรก มันไม่เสื่อมตั้งแต่เดือนเมษามาก็ไม่เสื่อม แต่มันยังไม่ชัด พอมาถึงคืนวันนั้นแล้วมันชัดเจน เอ้อ ต้องอย่างนี้ไม่เสื่อมน่ะ เหมือนกับว่ามันปีนขึ้นไป ตกลง ปีนขึ้นไป
    ตกลง พอปีนขึ้นไปเกาะติดปั๊บนี้ไม่เสื่อม มันรู้แล้ว

    ด้วยความปีติยินดีอยากเล่าถวายผลแห่งการปฏิบัติของตนต่อท่าน เมื่อขัดข้องประการใด
    ท่านจะได้ชี้แจงให้เราทราบ นี่ก็ออกผึงๆๆ เลย... ท่านก็นิ่งฟังทุกกิทุกกีนะ พอเล่าจบลง...พอเราหยุด
    ทีนี้ท่านก็ผางขึ้นมาเลย เห็นไหมธรรมต่อธรรมถึงกัน “เออ ต้องอย่างนั้นซิ ถูกต้องแล้วที่นี่” เห็นไหมล่ะ
    เวลาท่านขึ้นเราก็หมอบ “เอ้าทีนี้ถูกต้องแล้ว ได้หลักได้เกณฑ์แล้ว เอ้าๆ ฟาดมันเลย อัตภาพ
    เดียวนี้มันไม่ได้ตายถึงห้าหน” ท่านว่า “มันตายหนเดียวเท่านั้นแหละ คราวนี้ได้หลักได้เกณฑ์
    แล้วเอาให้หนัก” ท่านว่าอย่างนี้นะ
    นับแต่ขณะเริ่มนั่งจนถึงขั้นเวทนาใหญ่เกิดขึ้น ถ้าผู้ยังไม่เคยประสบมาก่อนก็น่าจะไม่ทราบว่า
    อันไหนเป็นเวทนาเล็ก อันไหนเป็นเวทนาใหญ่ กลัวจะเริ่มเหมาไปแต่เวทนาเล็กซึ่งเป็นเพียงลูกหลาน
    ของมันเท่านั้นว่าเป็นเวทนาใหญ่ไปเสียหมด ทั้งที่เวทนาใหญ่ยังไม่ตื่นนอนก็เป็นได้ แต่ถ้าผู้เคย
    ประสบมาแล้วก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นเวทนาอะไรเพราะเวทนาใหญ่จะเริ่มปรากฏตัวนับแต่ห้าหก
    ชั่วโมงล่วงไปแล้ว ก่อนหน้านี้มีแต่เวทนาเล็กซึ่งเปรียบกับลูกๆ หลานๆ เท่านั้นมาเยี่ยมหยอกเล่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...