เรื่องเด่น สุจริต ๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 18 มกราคม 2017.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,244
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,001
    hqdefault.jpg

    สุจริต ๓


    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)*
    วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม

    • สุจริต ตามหลักคำสอนในพุทธศาสนาคือ
    การประพฤติดี ประพฤติชอบ ๓ ประการ ได้แก่

    ๑. ก า ย สุ จ ริ ต ๓

    คือ ความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้องทางกาย ๓ อย่าง
    เรียกว่า กายสุจริต ๓ ได้แก่

    o ๑.๑ ละเว้นจากการทำลายชีวิต (รักษาศีล ๕ ข้อที่ ๑)

    o ๑.๒ ละเว้นจากการลักทรัพย์ แย่งชิงลักขโมย
    เอารัดเอาเปรียบ เบียดเบียนทรัพย์สิ่งของ ของผู้อื่นมาเป็นของตน
    (รักษาศีล ๕ ข้อที่ ๒)

    o ๑.๓ ละเว้น การประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น
    ไม่ข่มเหงจิตใจ ข่มขืนกระทำชำเรา
    หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของกัน
    (รักษาศีล ๕ ข้อที่ ๓)

    ๒.ว า จ า สุ จ ริ ต ๔

    คือ ความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง
    ประพฤติชอบด้วย วาจาหรือการพูด ๔ ประการ ได้แก่

    o ๒.๑ ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง หรือพูดให้ผิดจากความเป็นจริง

    o ๒.๒ ละเว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก
    พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมความสามัคคี

    o ๒.๓ ละเว้นจากการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย
    พูดแต่คำสุภาพนุ่มนวลควรฟัง

    o ๒.๔ ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ ไร้สาระ เลื่อนลอย
    ไม่มีเหตุผล พูดแต่คำจริง เป็นประโยชน์ มีเหตุผล ถูกกาละเทศะ

    ๓. ม โ น สุ จ ริ ต ๓

    คือ ความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง
    ประพฤติชอบด้วยใจ ๓ ประการ ได้แก่

    o ๓.๑ ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็ง คิดหาทางเอาแต่จะได้

    o ๓.๒ ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย

    o ๓.๓ มีความเห็นถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า
    ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต
    มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

    ธรรมว่าด้วยสุจริตทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ และ ทางใจ ๓
    รวมเป็น ๑๐ ข้อ เรียกรวมกันว่า “กุศลกรรมบถ” (ทางทำกรรมดี) บ้าง
    “ธรรมจริยา” บ้าง “อารยธรรม” บ้าง

    การรักษากาย วาจา ใจ หรือการปฏิบัติตามหลักความประพฤติทั้ง ๑๐ ข้อ
    ดังกล่าวมานับเป็นธรรมจริยาและเป็นอารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์
    ทำคนให้เจริญขึ้นพร้อมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

    แต่ผู้ใดไม่มั่นคงในอารยธรรม
    ผู้นั้นพึงควบคุมตนให้ได้ในทางกาย และวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย
    ด้วยการประพฤติตามหลัก ศีล ๕ ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยาทั้ง ๑๐
    ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นคนมีศีลธรรม

    ซึ่งศีล ๕ มีรายละเอียดตามที่กล่าวมาแล้ว
    ในเรื่องของการพัฒนาตนให้มีระเบียบวินัย

    หมายเหตุ : ธรรมบรรยายนี้ ท่านเจ้าพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
    ได้นิพนธ์ไว้เมื่อครั้งที่ยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

    (ที่มา : “ธรรมนูญชีวิต” โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต),
    พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐. หน้า ๑๖-๑๘)

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=35368
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • A2733367.jpg
      A2733367.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.2 KB
      เปิดดู:
      155
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...