สัมมาทิฏฐิสูตรในอีกมุมเพื่อลดความเป็นมิจฉาทิฐิ (บอกตัวเอง...ไม่ได้บอกใครนะ) อ่านแล้วจะรู้สึกดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฟ้ากับเหว, 16 พฤษภาคม 2021.

  1. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ๔. เรื่องสูกรเปรต [๒๐๗]
    ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภสูกรเปรต
    ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาจานุรกฺขี" เป็นต้น.
    พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นเปรต ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระลงจากภูเขาคิชฌกูฏกับพระลักขณเถระ ได้ทำการยิ้มแย้มในประเทศแห่งหนึ่ง อันพระลักขณเถระถามว่า "ท่านผู้มีอายุ อะไรหนอ เป็นเหตุแห่งการทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ?" กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ กาลนี้มิใช่กาลแห่งปัญหานี้ ท่านควรถามผมในสำนักของพระศาสดา" ดังนี้แล้ว เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์กับพระลักขณเถระนั่นเอง กลับจากบิณฑบาตแล้วไปสู่พระเวฬุวัน ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง.
    ลำดับนั้น พระลักขณเถระถามความนั้นกะท่าน.
    ท่านกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่ง สรีระของมันประมาณ ๓ คาวุต สรีระนั้นคล้ายสรีระของมนุษย์ ส่วนศีรษะของมันเหมือนศีรษะของสุกร หางของมันเกิดที่ปาก หมู่หนอนไหลออกจากปากนั้น, ผมคิดว่า ‘เราไม่เคยเห็นสัตว์มีรูปอย่างนี้’ ครั้นเห็นเปรตนั้นแล้ว จึงได้ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ."
    พระศาสดาตรัสรับรอง พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกของเรามีจักษุอยู่หนอ" แล้วตรัสว่า "แม้เราก็ได้เห็นสัตว์นั่นที่ควงแห่งต้นโพธิ์เหมือนกัน แต่ไม่พูด ด้วยอนุเคราะห์แก่ชนเหล่าอื่นว่า "ก็ชนเหล่าใดไม่พึงเชื่อต่อเรา ความไม่เชื่อนั้นพึงมีกรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเหล่านั้น, บัดนี้ เราได้โมคคัลลานะเป็นพยาน จึงกล่าว. โมคคัลลานะพูดจริง ภิกษุทั้งหลาย."
    ภิกษุทั้งหลายฟังเรื่องนี้แล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุรพกรรมของเปรตนั้นเป็นอย่างไร?"
    พระศาสดาตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังเถิด ภิกษุทั้งหลาย" แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสบุรพกรรมของเปรตนั้น (ดังต่อไปนี้) :-
    กัสสป พระเถระ ๒ รูปพร้อมเพรียงกันในอาวาสใกล้หมู่บ้านตำบลหนึ่ง. ในพระ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งมีพรรษา ๖๐, รูปหนึ่งมีพรรษา ๕๙. รูปที่มีพรรษา ๕๙ นั้น ถือบาตรและจีวรของพระเถระนอกนี้เที่ยวไป ได้ทำวัตรปฏิบัติทุกอย่างเหมือนสามเณร.
    เมื่อพระเถระทั้งสองนั้นอยู่พร้อมเพรียงกัน ดุจพี่น้องที่อยู่ในท้องมารดาเดียวกัน, พระธรรมกถึกรูปหนึ่งมาสู่ที่อยู่ (ของพระเถระทั้งสอง) แล้ว ก็กาลนั้นเป็นวันธัมมัสสวนะ.
    พระเถระทั้งสองสงเคราะห์พระธรรมกถึกแล้วพูดว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงกล่าวธรรมกถาแก่พวกผมเถิด" พระธรรมกถึกนั้นก็กล่าวธรรมกถาแล้ว. พระเถระทั้งสองมีจิตยินดีว่า "พวกเราได้พระธรรมกถึกแล้ว"
    รุ่งขึ้นพาท่านเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านใกล้เคียง ทำภัตกิจเสร็จในบ้านนั้นแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ ขอท่านจงกล่าวธรรมกถาหน่อยหนึ่งจากที่ที่ได้พักไว้ในวันวาน" แล้วนิมนต์ให้ท่านกล่าวธรรมแก่พวกมนุษย์. พวกมนุษย์ฟังธรรมกถาแล้ว นิมนต์แม้เพื่อต้องการ (ให้ฉัน) ในวันรุ่งขึ้น. พระเถระทั้งสองพาพระธรรมกถึกนั้นเที่ยวบิณฑบาต ในบ้านเป็นที่เที่ยวภิกษา บ้านละสองวันโดยรอบ อย่างนี้.
    พระธรรมกถึกคิดว่า "พระเถระสองรูปนี้ เป็นผู้อ่อนโยนยิ่งนัก การที่เราให้พระแม้ทั้งสองรูปนี้หนีไปเสีย แล้วอยู่ในวัดนี้ ควร."
    ในตอนเย็นท่านไปสู่ที่บำรุงของพระเถระในเวลาที่ภิกษุทั้งสองลุกไปแล้ว กลับเข้าไปหาพระมหาเถระแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ เรื่องบางอย่างที่ผมควรพูดมีอยู่" เมื่อพระมหาเถระกล่าวว่า "จงพูดเถิด ผู้มีอายุ" คิดหน่อยหนึ่งแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าการพูดมีโทษมาก" ไม่พูดอะไร แล้วหลีกไป. พระธรรมกถึกนั้นไปสู่สำนักแม้ของพระอนุเถระก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน.
    ในวันที่ ๒ ท่านก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน.
    ในวันที่ ๓ เมื่อความรวนเรอย่างยิ่งเกิดแก่พระเถระทั้งสองนั้นแล้ว เข้าไปหาพระมหาเถระแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ คำบางอย่างที่ผมควรจะพูดมีอยู่ แต่ผมไม่อาจพูดในสำนักของท่านได้." ถูกพระเถระรบเร้าว่า "ไม่เป็นไร คุณ, จงพูดเถิด"
    จึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ก็ทำไม พระอนุเถระจึงไม่ถูกกับท่าน?"
    พระมหาเถระ. ท่านสัตบุรุษ ท่านพูดอะไรนั่น, ผมทั้งสองเป็นเหมือนบุตรผู้อยู่ในท้องมารดาเดียวกัน, ในผมทั้งสองรูป รูปหนึ่งได้สิ่งของแล้ว รูปแม้นอกนี้ก็เป็นอันได้เหมือนกัน, โทษของพระเถระนั่นอันผมเคยเห็น ย่อมไม่มี ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.
    พระธรรมกถึก. อย่างนั้นหรือ? ท่านผู้เจริญ.
    พระมหาเถระ. อย่างนั้น คุณ.
    พระธรรมกถึก. ท่านผู้เจริญ พระอนุเถระพูดกะผมอย่างนี้ว่า "ท่านสัตบุรุษ ท่านเป็นกุลบุตร ท่านทำการคบหากับพระมหาเถระนั่น ด้วยทำในใจว่า "พระมหาเถระนี้ มีความละอาย มีศีลเป็นที่รัก, ควรพิจารณาแล้วจึงทำ" ตั้งแต่วันที่ผมมาถึง พระอนุเถระนั่นพูดกะผมอย่างนี้.
    พระมหาเถระพอได้ฟังคำนั้น ก็มีใจโกรธแค้น แตกแล้ว ดุจภาชนะที่เขาทำด้วยดิน อันบุคคลตีด้วยไม้ฉะนั้น. พระธรรมกถึกแม้นอกนี้ ลุกไปสำนักของพระอนุเถระ แล้วได้พูดเหมือนอย่างนั้น. แม้พระอนุเถระก็ได้แตกอย่างนั้นเหมือนกัน.
    ในพระเถระสองรูปนั้น แม้รูปหนึ่ง ชื่อว่าเคยแยกกันเข้าไปบิณฑบาต ย่อมไม่มี ตลอดกาลเท่านี้ แม้ก็จริง ถึงดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระเถระทั้งสองได้แยกกันเข้าไปบิณฑบาต.
    พระอนุเถระมาถึงก่อนแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ศาลาเป็นที่บำรุง พระมหาเถระได้มาถึงในภายหลัง. พระอนุเถระเห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า "เราควรรับบาตรและจีวรของพระเถระนี้หรือไม่หนอ?" ท่านแม้คิดว่า "บัดนี้ เราจักไม่รับ" ดังนี้แล้ว ก็ยังทำจิตให้อ่อนได้ ด้วยทำในใจว่า "ช่างเถิด กรรมเห็นปานนี้ อันเราไม่เคยทำ การที่เรายังวัตรของตนให้เสียไป ไม่สมควร" ดังนี้แล้ว เข้าไปหาพระเถระ กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านจงให้บาตรและจีวร."
    พระมหาเถระนอกนี้ ชี้นิ้วตวาดว่า "จงไป คนหัวดื้อ คุณไม่ควรจะรับบาตรและจีวรของฉัน" เมื่อพระอนุเถระนั้นกล่าวว่า "จริงละขอรับ ถึงผมก็คิดแล้วว่า "จักไม่รับบาตรและจีวรของท่าน" กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุผู้ใหม่ ทำไมท่านจึงคิดว่า "ความเกี่ยวข้องอะไรๆ ในวิหารนี้ของเรามีอยู่?" แม้พระอนุเถระนอกนี้ก็กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ก็ทำไมท่านจึงสำคัญอย่างนี้ว่า ‘ความเกี่ยวข้องอะไรๆ ในวิหารนี้ของเรา มีอยู่?" นี้เป็นวิหารของท่าน’ แล้วถือบาตรและจีวรออกไป.
    ถึงพระมหาเถระนอกนี้ก็ได้ออกไป (เหมือนกัน).
    พระเถระทั้งสองนั้น ไม่ไปแม้โดยหนทางเดียวกัน, รูปหนึ่งถือเอาหนทางโดยประตูด้านปัจฉิมทิศ, รูปหนึ่งถือเอาโดยประตูด้านปุรัตถิมทิศ. พระธรรมกถึกกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ อย่าทำอย่างนี้ อย่าทำอย่างนี้" เมื่อพระเถระกล่าวว่า "จงหยุดเถิด คุณ" แล้วกลับ.
    ในวันรุ่งขึ้น พระธรรมกถึกนั้นเข้าไปบ้านใกล้เคียง เมื่อพวกมนุษย์กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญทั้งสองไปไหน? ขอรับ" กล่าวตอบว่า "คุณ อย่าถามเลย พระผู้เป็นเจ้าผู้เข้าถึงสกุลของพวกท่าน วานนี้ทำการทะเลาะกันแล้วออกไป, ฉันแม้ขอร้องอยู่ก็ไม่สามารถจะให้กลับได้."
    ในคนเหล่านั้น คนที่โง่เขลาได้นิ่งเสีย ส่วนคนที่ฉลาดคิดว่า "ชื่อว่าความพลั้งพลาดอะไรๆ ของผู้เจริญทั้งสอง เราทั้งหลายไม่เคยเห็นสิ้นกาลประมาณเพียงนี้ ภัยเมื่อเกิดขึ้นแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งสองนั้น คงเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระธรรมกถึกรูปนี้" แล้วได้เป็นผู้ถึงความเสียใจ.
    พระมหาเถระแม้เหล่านั้น ไม่ได้ความสบายจิตในที่ไปแล้ว. พระมหาเถระคิดว่า "โอ! กรรมของภิกษุใหม่หนัก (เพราะ) เธอได้พูดกะภิกษุผู้จรมา ที่ตนเห็นแล้วครู่เดียวว่า "ท่านอย่าได้ทำการคบหากับพระมหาเถระ."
    ถึงพระอนุเถระนอกนี้ก็ได้คิดว่า "โอ! กรรมของพระมหาเถระหนัก (เพราะ) ท่านได้พูดกะผู้จรมา อันตนเห็นแล้วเพียงครู่เดียวว่า "อย่าได้คบหากับพระอนุเถระนี้."
    การสาธยายและการทำไว้ในใจมิได้มีแล้วแก่พระเถระทั้งสองนั้น. โดยล่วงไป ๑๐๐ ปี พระเถระทั้งสองนั้นได้ไปสู่วิหารแห่งเดียวกันในปัจฉิมทิศ. เสนาสนะอันเดียวกันนั่นแล ได้ถึงแก่พระเถระทั้งสองนั้น. เมื่อพระมหาเถระเข้าไปนั่งบนเตียงแล้ว แม้พระอนุเถระนอกนี้ก็ได้เข้าไป.
    พระมหาเถระพอเห็นพระอนุเถระนั้นก็จำได้ ไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาไว้ได้. ถึงพระอนุเถระนอกนี้ ก็จำพระมหาเถระได้ มีนัยน์ตาอันเต็มแล้วด้วยน้ำตา คิดว่า "เราจะพูดหรือไม่พูดหนอแล?" แล้วคิดว่า "ข้อนั้นไม่ควรเชื่อ" แล้วไหว้พระเถระ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผมถือบาตรและจีวรของท่านได้เที่ยวไปตลอดกาลประมาณเพียงนี้ เออก็มรรยาทอันไม่สมควรอะไรๆ ในทวารทั้ง ๖ มีกายทวารเป็นต้นของผม อันท่านเคยเห็นแล้วหรือ?
    พระมหาเถระ. ไม่เคยเห็น ผู้มีอายุ.
    พระอนุเถระ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมท่านจึงได้พูดกะพระธรรมกถึกว่า "อย่าได้ทำการคบหากับพระอนุเถระนั่น?"
    พระมหาเถระ. ผู้มีอายุ ผมหาพูดอย่างนั้นไม่ นัยว่า ท่านพูดอย่างนี้ในระหว่างของเรา.
    พระอนุเถระ. ท่านผู้เจริญ แม้ผมก็มิได้พูด.
    ในขณะนั้น พระเถระทั้งสองนั้นก็ทราบได้ว่า "พระธรรมกถึกนั้นจักใคร่ทำลายเราทั้งสอง จึงพูดอย่างนั้น" แล้วยังกันและกันให้แสดงโทษแล้ว. พระเถระทั้งสองนั้นไม่ได้ความสบายใจตลอด ๑๐๐ ปี เป็นผู้พร้อมเพรียงกันในวันนั้น ชวนกันว่า "มาเถิด เราจักคร่าพระธรรมกถึกนั้นออกจากวิหารนั้น" แล้วหลีกไป ได้ถึงวิหารนั้นโดยลำดับ.
    แม้พระธรรมกถึกก็เห็นพระเถระทั้งสองแล้ว เข้าไปใกล้ เพื่อรับบาตรและจีวร. พระเถระทั้งสองชี้นิ้วพูดว่า "ท่านไม่ควรจะอยู่ในวิหารนี้ (ต่อไป)." พระธรรมกถึกนั้นไม่อาจดำรงอยู่ได้ ออกหนีไปในทันใดนั้นเอง.
    ครั้งนั้น สมณธรรมที่เธอบำเพ็ญแล้วสิ้นสองหมื่นปี มิได้อาจเพื่อจะทรงเธอไว้ได้. เธอเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในอเวจี ไหม้อยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง มีอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้ว เสวยทุกข์อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏในบัดนี้.
    พระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา พระศาสดา ครั้นทรงนำบุรพกรรมนี้ของสูกรเปรตนั้นมาแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าภิกษุพึงเป็นผู้เข้าไปสงบด้วยกายเป็นต้น"
    แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๔. วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต
    กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา
    เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย
    อาราธเย มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํ.
    บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่ควร
    ทำอกุศลด้วยกาย พึงยังกรรมบถทั้งสามเหล่านี้ให้หมดจด
    พึงยินดีทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณประกาศแล้ว.

    แก้อรรถ ความแห่งพระคาถานั้นว่า "บุคคล ชื่อว่าผู้มีปกติตามรักษาวาจา เพราะเว้นทุจริต#-๔, ชื่อว่าสำรวมใจแล้วด้วยดี เพราะไม่ยังมโนทุจริตมีอภิชฌาเป็นต้นให้เกิดขึ้น. และเมื่อละกายทุจริต มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย, พึงยังกรรมบถ ๓ เหล่านั้น ให้หมดจดด้วยอาการอย่างนี้ ก็เมื่อให้หมดจดได้อย่างนั้น ชื่อว่าพึงยินดีมรรคมีองค์ ๘ อันท่านผู้แสวงหาคุณทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้แสวงหาคุณคือศีลเป็นต้น ประกาศแล้ว.
    ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
    ____________________________
    #- วจีทุจริต ๔ คือ
    ๑. พูดเท็จ ๒. พูดคำหยาบ ๓. พูดส่อเสียด
    ๔. พูดเพ้อเจ้อ คือตัดเสียซึ่งประโยชน์ตนและคนอื่น.
    เรื่องสูกรเปรต จบ.
     
  2. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    [288] อนุสัย 7 (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน — latent tendencies)
    1. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความอยากได้ติดใจในกาม — lust for sense-pleasure)
    2. ปฏิฆะ (ความขัดใจ, ความหงุดหงิดขัดเคืองคือโทสะ — repulsion; irritation; grudge)
    3. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด, การถือความเห็น เอาความคิดเห็นเป็นความจริง — wrong view; speculative opinion)
    4. วิจิกิจฉา (ความลังเล, ความสงสัย — doubt; uncertainty)
    5. มานะ (ความถือตัว — conceit)
    6. ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ, ความอยากเป็น อย่างยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน — lust for becoming)
    7. อวิชชา (ความไม่รู้จริง คือ โมหะ — ignorance)

    อนุสัย 7 นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7
     
  3. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    จูฬวิยูหสูตร
    ว่าด้วย
    ผู้ยินดีในทิฏฐิของตน
    เหตุการณ์
    ในมหาสมัย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้เพื่อประกาศแก่เทวดาบางพวกผู้มีจิตเกิดขึ้นแล้วว่า ผู้ถือทิฎฐิว่าเราดี ตั้งอยู่ในทิฏฐิของตน หรือยอมรับทิฏฐิอื่นด้วย

    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

    บุคคลทั้งหลายผู้ยึดมั่นอยู่ในทิฐิของตน ปฏิภาณว่าตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวว่าผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม(คือทิฐิ) ผู้คัดค้านทิฐินี้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม ผู้ถือมั่นทิฐิด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และกล่าวว่าผู้อื่นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด

    วาทะของบุคคลสองพวกนี้วาทะไหนเป็นวาทะจริง เพราะทั้งหมดต่างก็กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด

    พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า

    หากผู้ใดไม่ยินยอมตามความเห็นของผู้อื่นจะเป็นคนเขลา มีปัญญาทราม คนทั้งหมดก็เป็นคนมีปัญญาทราม เพราะว่าคนหล่านี้ทั้งหมดต่างถือมั่นอยู่ในทิฐิของตน

    หากคนผ่องใสในทิฐิของตนจัดเป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์ เป็นคนฉลาด มีความคิด ก็จะไม่มีใครเป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฐิของคนเหล่านั้นล้วนเป็นทิฐิเสมอกัน

    คนทั้งสองพวกกล่าวกันและกันว่าเป็นผู้เขลาเพราะความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะคนเหล่านั้นได้กระทำความเห็นว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง(สิ่งอื่นเปล่า) คนเหล่านั้นจึงตั้งคนอื่นว่าเป็นผู้เขลา

    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

    สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริง สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวทิฐินั้นว่าเป็นความเท็จ สมณพราหมณ์ทั้งหลายถือมั่นความจริงต่างกันแล้ว ก็วิวาทกัน

    เพราะอะไรสมณพราหมณ์ทั้งหลายจึงไม่สามารถกล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

    สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัดอยู่จะต้องวิวาทกันทำไม

    สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวสัจจะทั้งหลายให้ต่างกันออกไปด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลายจึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้

    พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า

    เพราะเหตุไรสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย กล่าวยกตนว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป

    สัจจะที่ต่างกันนั้น สมณพราหม์ต่างได้ฟังกันมา หรือว่าต่างระลึกตามความคิดไปเองของตน

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

    สัจจะมากหลายต่าง ๆ กัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยง ไม่มีในโลกเลย

    สมณพราหมณ์ทั้งหลายกำหนดความคาดคะเนในทิฐิทั้งหลาย(ของตน)แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรมอันเป็นคู่กันว่า จริง ๆ เท็จ ๆ

    บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ ย่อมติเตียนผู้อื่นว่าเป็นคนเขลาไม่ฉลาด

    บุคคลเจ้าทิฐิติเตียนบุคคลอื่นว่าเป็นผู้เขลาด้วยทิฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยตน ย่อมติเตียนผู้อื่นด้วยทิฐินั้นเอง

    บุคคลผู้ยกตนว่าเป็นคนฉลาดด้วยทิฐินั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐิเต็มไปด้วยความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง และมัวเมาเพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วยใจว่า เราเป็นบัณฑิตเพราะทิฐิของเขาบริบูรณ์แล้ว

    ถ้าบุคคลที่ถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทรามด้วยถ้อยคำของเขา เขาซึ่งกล่าวถ้อยคำนั้นก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทรามไปด้วย

    ถ้าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์ด้วยตนเองแล้ว ทั้งหมดก็ไม่มีใครเป็นผู้เขลา

    ผู้ที่ยินดีเฉพาะทิฐิของตน กล่าวแต่ความบริสุทธิ์ในธรรมตามทิฐิของตนเท่านั้น ไม่กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรมอื่น ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องทิฐิอื่น ชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด และไม่ตั้งใครอื่นในทิฏฐิของตนว่าเป็นผู้เขลา เมื่อเขากล่าวผู้อื่นเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่บริสุทธิ์ ย่อมนำมาซึ่งความทะเลาะวิวาท

    ผู้ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป

    บุคคลละการวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาทในโลก
     
  4. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    รรมบรรยายของ หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ

    พุทธทำนาย 16 ข้อ
    พุทธทำนายในสุบินนิมิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล 16 ข้อ ที่ท่านกำลังอ่าน อยู่ในขณะนี้ ข้าพเจ้าได้อ่านในต้นฉบับเดิมที่นักปราชญ์เจ้าในยุคนั้นได้เรียบเรียง เอาไว้ ในบางจุด บางข้อความ บางสำนวน ผู้อ่านในยุคนี้อาจจะไม่เข้าใจใน ความหมาย ข้าพเจ้าจึงได้เอาจุดนั้น ข้อความนั้นมาเรียบเรียงให้เป็นสำนวนที่ อ่านง่าย เข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องตีความ อ่านแล้วจะเข้าใจ ในความหมายนั้นทันที ส่วนเนื้อหาสาระในความหมายเดิมทรงเอาไว้ ไม่ได้แก้ไขแต่อย่างใด เพียงเอา สำนวนเก่าในบางจุด มาเรียบเรียงใหม่ให้สอดคล้องกันกับยุคสมัยในปัจจุบันนี้ เท่านั้น ฉะนั้น ขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาความจริง ในพุทธทำนายนี้ ขอทุกท่านจงวินิจฉัยในคำพุทธทำนายดังจะได้อธิบายต่อไปดังนี้

    ในครั้งพุทธกาลโน้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสุบินนิมิตที่แปลกใจเป็น อย่างยิ่ง ไม่ทราบว่าจะเกิดเหตุดีร้ายอย่างไร จึงได้นำเรื่องนี้ไปนมัสการ ทูลถามพระพุทธเจ้า รวมทั้งหมด 16 ข้อ

    สุบินนิมิตข้อที่ 1
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นโคล่ำสัน 4 ตัว วิ่งมาจากทิศทั้ง 4 มีลักษณะอาการเกรี้ยวกราดประดุจจะชนกันด้วยความโกรธแค้นกันมานาน พอโคทั้ง 4 วิ่งเข้ามาใกล้กันแล้ว กลับถอยห่างออกจากกันไป ไม่ชนกันเลย

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น จะเกิดภัยธรรมชาติขึ้น คือ ฟ้าฝนจะ ไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะมีก้อนเมฆขนาดใหญ่ลอยมาจากทิศทั้ง 4 เหมือนกับ ฟ้าฝนจะตกลงมาในพื้นปฐพีอย่างหนัก เมื่อก้อนเมฆทั้ง 4 ลอยเข้ามาใกล้กัน แล้วก็ลอยถอยห่างออกจากกันไป ไม่มีฝนตกลงมาในพื้นปฐพีเลย ข้าวกล้าใน นา พืชผลธัญญาหารต่างๆ ก็แห้งแล้งตาย มนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายก็พากันอด อยากยากเข็ญล้มตายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดมีในภายภาคหน้า โน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 2
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นต้นไม้นานาชนิดยังไม่ใหญ่โต พอที่จะมีดอกมีผล แต่ต้นไม้นั้นเต็มไปด้วยดอกและผลจนกิ่งก้านสาขาจะรองรับ ดอกผลนั้นไม่ไหว พุทธทำนาย 16 ข้อ 2

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กุมารีที่มีวัยยังไม่สมควรจะมีสามี แต่ กุมารีนั้นอยากแต่งงานให้เป็นครอบครัว เพราะมีความกระสันใฝ่ฝันไนราคะ ตัณหา ใจมีความกำเริบในกามคุณ มีความยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอย่างมาก มีความอยากในกามารมณ์แห่งความรักความใคร่ จึง ได้แต่งงานกันเมื่ออายุยังวัยเด็ก ถูกต้องตามประเพณีนิยม บางคนมั่วสุมกัน ไม่มี ความละอาย เยี่ยงสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาก็หาวิธีฆ่าลูกในท้องของตัว เอง จึงเป็นบาปกรรมต่อไปในภายภาคหน้ายิ่งนัก เด็กบางคนยังมีพ่อแม่เลี้ยงดูอยู่ บ้าง เด็กบางคนพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ไหว จึงได้ปล่อยปละละเลย ให้หาขอทานกิน ตามลำพัง เป็นเด็กเร่ร่อนจรจัด ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีตระกูล ไม่มีการ ศึกษา ไม่มีที่ พึ่งพาอาศัยในบ้านเรือน ค่ำที่ไหนนอนที่นั่น อดบ้าง อิ่มบ้าง น่าเวทนายิ่งนัก เหตุการณ์อย่างนี้จะมีในภายภาคหน้าโน้น ใครได้ไปเกิดในยุคนั้น สมัยนั้น ก็จะ ต้องพบเหตุการณ์อย่างนี้แล

    สุบินนิมิตข้อที่ 3
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูง พ่อแม่โคทั้งหลายพากันดูดกิน นมลูกของตัวเอง

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น พ่อแม่ทั้งหลายจะได้อาศัยกินหยาด เหงื่อแรงงานของลูก อาศัยข้าวปลาอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่ลูกแสวง หามาเลี้ยงดู พร้อมทั้งเงินทองก็ต้องแบ่งปันให้พ่อแม่ได้จับจ่ายใช้สอย ในยุค นั้นสมัยนั้น พ่อแม่ ก็ต้องเอาอกเอาใจลูกยิ่งนัก ต้องประจบประแจงปะเหลาะ ลูกอยู่เสมอ ถ้าพูดต่อลูกดี ๆ ลูกก็แบ่งปัน เงินทองให้ได้ใช้บ้าง ถ้าพ่อแม่พูดไม่ พุทธทำนาย 16 ข้อ 3 ดีก็จะไม่ได้รับส่วนแบ่งอะไรจากลูกนี้เลย เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดมีในภายภาค หน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 4
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูง คนทั้งหลายพากันจับลูกโคตัว เล็ก ๆ เข้ามาเทียมแอกเพื่อลากล้อเกวียน เมื่อลากไปไม่ไหวก็จะพากัน เฆี่ยนตี

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนทั้งหลายจะพากันนิยมเอาเด็กที่จบ ปริญญามาใหม่ ๆ ไปรับราชการแผ่นดิน บริหารการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง อันเป็นงานที่หนัก ถึงจะมีความรู้อยู่ก็ตาม แต่เด็กนั้นยังขาดประสบการณ์ ขาด ความสามารถ ขาดความรอบรู้ ขาดความรอบคอบในการบริหารเศรษฐกิจ การ เมืองและสังคม จึงเกิดความผิดพลาดล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์ ขาดความรับ ผิดชอบ ขาดดุลการค้า ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ทำให้ถ่วงความเจริญของ ประเทศชาติ ทำให้คนดุด่าว่ากล่าวนานาประการ เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดมีใน ภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 5
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นม้าตัวเดียว หัวเดียว มีสองปาก กินหญ้าได้สองทาง กินเท่าไรก็ไม่มีความอิ่มพอ

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนผู้มีหน้าที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ จะใช้อุบายวิธีอันมีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อเอาเงินจากคู่กรณีทั้งสอง เอาทั้งฝ่ายโจทก์เอา ทั้งฝ่ายจำเลย เพื่อเป็นค่าจ้างรางวัลในการวินิจฉัยคดีความบ้าง เอาค่านั้นบ้าง เอา ค่านี้บ้าง ถ้าไม่ได้ตามความเรียกร้องก็จะไม่รับเรื่องที่มาร้องเรียน ต้องการเท่า พุทธทำนาย 16 ข้อ 4 ไรก็เรียกร้องเอาตามใจชอบ ถ้าเรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เรียกร้องเอาน้อย ถ้าเป็น เรื่องใหญ่ ก็จะเรียกร้องเอาเงินอย่างเต็มที่ แล้วจึงจะมาวินิจฉัยคดีตัดสินต่อไป เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดมีในภายภาคหน้าทั่วโลก

    สุบินนิมิตข้อที่ 6
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นมีหมู่มนุษย์ถือถาดทองคำอันมีค่า มหาศาลไปวางให้สุนัขจิ้งจอกถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะใส่

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น กลุ่มคนที่โง่เขลาปัญญาทราม จะเอา พระธรรมคำสอนของเราตถาคต ไปให้ลัทธิต่าง ๆ เหยียบย่ำทำลาย แล้วถ่าย ทอดลัทธิของเขา เอาคำสอนของเขาที่สกปรกโสโครกด้วยกิเลสตัณหา มากลบ เกลื่อนในคำสอนของเรา แล้วดัดแปลงแก้ไขคำสอนของเราให้เข้ากันกับลัทธิ ของเขา แล้วประกาศว่าคำสอนของเราตถาคตเป็นส่วนหนึ่งในลัทธิของเขา ให้ คนทั้งหลายมีความเข้าใจผิดว่าคำสอนของเราเข้ากันได้กับของเขา ถือว่าเป็นอัน เดียวกัน ลัทธิเหล่านั้นก็จะไม่รู้คุณค่าของคำสอนของเราตถาคตแต่อย่างใด มนุษย์อย่างนี้ ก็จะมีในเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และจะมีลัทธิต่าง ๆ มาอวด อ้างว่าเป็นศาสนาเป็นจำนวนมาก

    สุบินนิมิตข้อที่ 7
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นชายคนหนึ่งเอาหนังเสือมานั่งฟั่น ให้เป็นเชือกอยู่บนม้านั่ง แล้วมีสุนัขจิ้งจอกคอยกัดกินอยู่ เมื่อฟั่นเชือกเสร็จ สุนัขจิ้งจอกก็กินหมดทันที

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนผู้มีจิตใจต่ำปัญญาทราม จะได้รับ พุทธทำนาย 16 ข้อ 5 สมมุติยกย่องขึ้นเป็นผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ นั่งทำงานอยู่ในพระราชสำนักระดับสูง อาศัยอำนาจพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์อยู่ เนืองนิตย์ โดยความโง่เขลาเบาปัญญา พูดจาขาดความสำรวม กล่าวเปิดเผย ความลับต่าง ๆ ในพระราชสำนักให้หมู่ประชาชนได้รู้ คนลัทธิต่างๆ ที่ไม่มี ความหวังดีต่อพระมหากษัตริย์อยู่แล้วได้ยินเข้า จึงนำเอาไปตีแผ่โฆษณาให้คน อื่นคลายศรัทธา หมดความเคารพในวงศ์พระมหากษัตริย์ และหมดความเชื่อถือ ในพระราชวงศ์ต่อไป เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น คนที่ไม่มี ความหวังดีต่อพระมหากษัตริย์จะเป็นหนอนบ่อนไส้เสียเอง

    สุบินนิมิตข้อที่ 8
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นโอ่งน้ำใหญ่และโอ่งน้ำเล็ก ตั้ง อยู่ในที่แห่งเดียวกัน แล้วมีคนทั้งหลายแย่งกันตักน้ำเทใส่โอ่งน้ำใหญ่จนล้นเหลือ ส่วนโอ่งน้ำเล็กไม่มีใครตักน้ำใส่เลย

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น จะมีคนทำบุญโดยเลือกหน้า พระ องค์ที่มีอายุมากพรรษามาก มียศถาบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งต่าง ๆ จะมีคนให้ ความสนใจ จะพากันถวายเครื่องไทยทานเป็นจำนวนมาก ล้วนแล้วแต่ของที่ดี ๆ มีค่ามีราคา ข้าวปลาอาหารปิ่นโตเถาขนาดใหญ่ตั้งต่อหน้าจนเหลือเฟือ ส่วนพระเล็กเณรน้อยนั่งอยู่รอบข้าง ไม่มีใครคิดถวายอะไรเลย มีแต่นั่งดูตา ปริบ ๆ เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 9
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำรอบ นอกใสสะอาดเยือกเย็น ส่วนน้ำในกลางสระขุ่นข้นเป็นโคลนตม แล้วมีสัตว์ พุทธทำนาย 16 ข้อ 6 น้อยใหญ่ทั้งหลายพากันแย่งชิงกินน้ำในสระที่ขุ่นข้นเป็นตมนั้น ส่วนน้ำรอบ นอกที่ใสสะอาดเยือกเย็นไม่มีสัตว์ตัวใดอยากจะกินเลย

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนจะมีความโลภ ความอยาก ไม่ อิ่มพอในเงินทองมากขึ้น การงานที่สะอาดบริสุทธิ์ และสุจริตไม่อยากทำ ถือว่า เงินเดือนน้อยร่ำรวยช้า ไม่พอกับความโลภความอยากของตัวเอง จึงได้ลง สมัครตัวเข้ามาในสภาสันนิบาตเพื่อจะมีอำนาจในการบริหารงาน และบริหาร เงินของแผ่นดินได้อย่างเต็มที่ ใช้อุบายวิธีอันมีเล่ห์เหลี่ยมทุจริตคิดมิชอบในเงิน ของแผ่นดิน มือใครยาวสาวได้สาวเอา จะได้เงินมาด้วยวิธีสกปรกอย่างไร จะ ไม่มีความละอายแก่ใจตัวเองเลย ขอให้ได้เงินก้อนโตมาก็เป็นที่พอใจ ใน ลักษณะนี้จะมีกันทั่วโลก มีทั่วทุกประเทศเขตแดน และจะเพิ่มความรุนแรง มากขึ้น จะเกิดความยุ่งเหยิงในสภาสันนิบาตของประเทศนั้น ๆ เพราะการแบ่ง สันตำแหน่งในการดูดกินเงินภายในประเทศนั้นไม่ลงตัว ผู้นั้นจะได้กินน้อย ผู้ นั้นจะได้กินมาก ผู้นั้นจะไม่ได้กินอะไรเลย สุดท้ายก็เกิดงัดข้อกันเอง เหตุ การณ์อย่างนี้จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 10
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหม้อหุงข้าวหม้อเดียวมีความแตก ต่างกัน ข้าวในหม้อซีกหนึ่งสุก ซีกหนึ่งดิบ ๆ สุก ๆ อีกซีกหนึ่งข้าวไม่สุกเลย

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนในโลกนี้จะมีความคิดเห็นที่แตก ต่างกันไป อีกกลุ่มหนึ่งจะมีความเชื่อว่า เราตถาคตเป็นที่พึ่งที่เคารพจริง พระ ธรรมคำสอนของเราตถาคตเป็นสวากขาตธรรม เมื่อนำไปปฏิบัติให้ถึงที่สุดแล้ว พุทธทำนาย 16 ข้อ 7 จะพ้นจากทุกข์ได้จริง เชื่อว่ามีมรรคผลนิพพานจริง นรกสวรรค์มีจริง กรรมดี กรรมชั่วให้ผลแก่บุคคลที่กระทำจริง ตายแล้วเมื่อยังมีกิเลสตัณหาอยู่ เชื่อว่าได้ มาเกิดใหม่ อีกกลุ่มหนึ่งยังไม่แน่ใจว่ามรรคผลนิพพานในยุคนี้สมัยนี้มีจริงหรือ ไม่ เพราะพระพุทธศาสนาได้ล่วงเลยไปนาน พระธรรมคำสอนของพระพุทธ เจ้ามีความสมบูรณ์อยู่หรือไม่ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้บรรลุมรรคผล นิพพานในยุคนี้มีจริงหรือไม่ มีแต่ความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ อีกกลุ่มหนึ่ง ปฏิเสธว่ามรรคผลนิพพานไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ทำดี ทำชั่วไม่ให้ผลในภาย หน้า ชาติหน้าตายแล้วไม่ได้เกิดใหม่แต่อย่างใด ในช่วงปลายพุทธศาสนาโน้น คนจะเกิดเป็นมิจฉาทิฎฐิ มีความเห็นผิดมากขึ้น ๆ ดังนี้

    สุบินนิมิตข้อที่ 11
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นคนพวกหนึ่งเอาแก่นจันทน์แดงที่ มีค่าราคาแพง ไปแลกกับนมเปรี้ยวหม้อเดียว ซึ่งไม่สมค่าราคากันเลย

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนพวกหนึ่งจะเอาพระธรรมคำสอน ของเราตถาคตไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตรา จะเขียนเป็นตำราเพื่อออกจำหน่ายขาย กินหารายได้เพื่อเลี้ยงชีวิต เอาพระธรรมคำสอนของเราตถาคตทำเป็นการแสดง แต่งกลอนเพื่อผลประโยชน์ในกัณฑ์เทศน์ แสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ค่าจ้างรางวัล อันเป็นอามิสไม่สมค่าราคากันเลย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงปลายศาสนาของ เราตถาคตโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 12
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นน้ำเต้าแห้งเปล่ากลวงใน ตาม ธรรมดาแล้วจะลอยอยู่บนน้ำ แต่น้ำเต้าเปล่านั้นกลับดิ่งจมลงในน้ำนั้นเสีย พุทธทำนาย 16 ข้อ 8

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนดีมีความรู้ดี มีสติปัญญาดี มี ความรอบรู้ มีความฉลาด มีความสามารถ มีทั้งพระและฆราวาส จะไม่ได้ รับความยกย่องเชิดชูในสังคม จะถูกการขัดขวางจากกลุ่มคนพาลสันดานชั่วอยู่ ตลอดเวลา ถ้าเป็นฆราวาสก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานในการบริหารประเทศชาติบ้าน เมือง คนมีความรู้ความสามารถมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีโอกาสได้รับเลือกตั้ง เข้ามาในสภาสันนิบาต หรือได้รับเลือกเข้ามาแล้วก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานเพื่อ ประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ จะมีกลุ่มทุจริตคิดมิชอบเพื่อหวังผลประโยชน์ต่าง ๆ เบียดสีให้ตกเก้าอี้ไป ในสายตาของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ จะมองเห็นคนดี ๆ ว่า เป็นตัวกาลกิณีของเขา ไม่ยอมที่จะให้เข้าไปรู้เห็นในความทุจริตคิดมิชอบของ ตน คนดี ๆ จึงไม่มีในสังคมนี้เลย ถ้าเป็นนักบวชก็เป็นในลักษณะนี้เช่นกัน ท่านองค์ใดมีใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง ในพระธรรมวินัย มีความรู้ดีปฏิบัติชอบต่อมรรคผลนิพพาน ท่านเหล่านั้นจะ ไม่มีใครให้ความสนใจ ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากฟังธรรม จะมองเห็นว่าเป็น พระคร่ำครึล้าสมัย ไม่เกิดศรัทธา ไม่อยู่ในสายตาของเขาแต่อย่างใด เพราะใจ ไม่มีความเคารพเชื่อถือในท่านเหล่านั้น แม้แต่จะแบ่งปันปัจจัยทั้งสี่ที่มีอยู่อย่าง เหลือเฟือก็ไม่เต็มใจ ถึงจะถวายให้ก็นิดหน่อยพอเป็นพิธีเท่านั้น ท่านเหล่านี้จึง มีชีวิตอยู่ด้วยความลำบาก ใครก็ไม่อยากบวชเป็นพระในลักษณะนี้ ในที่สุด พระดี ๆ มีคุณธรรมก็จะค่อยหมดไป ๆ ในศาสนาของเราตถาคต เรื่องเหล่านี้จะ เกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 13
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นก้อนศิลาแท่งทึบขนาดใหญ่เท่า พุทธทำนาย 16 ข้อ 9 เรือนลอยอยู่บนผิวน้ำ เหมือนกับเรือสำเภาเปล่า ตามธรรมดาแล้วก้อนศิลาย่อม จมอยู่ใต้น้ำ แต่ก้อนศิลานั้นกลับลอยอยู่บนผิวน้ำ

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น คนพาลสันดานชั่ว คนทุศีล คนทุ ธรรม คนขี้โกง คนหัวประจบสอพลอ คนทุจริตคิดมิชอบ คนไม่มีความ ละอาย จะได้เป็นที่ยกย่องเชิดชูในสังคม เป็นผู้มีบทบาท มีอำนาจ มีชื่อเสียง เกียรติยศ มีพวกพ้องบริวารมาก ถ้าเป็นฆราวาสก็จะมีแต่ผู้เชิดหน้าชูตา ไป ไหนมาไหนมีแต่คนเคารพยำเกรง มีฝูงชนให้การต้อนรับเอาใจ เรียกว่าเป็น กระจกบานใหญ่ให้แสงสะท้อนเงาของประเทศนั้น ๆ สังคมของประเทศนั้นมี ความเจริญหรือเสื่อมลงก็ให้ดูกระจกบานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสภา จะเป็นสื่อบอก ประตูหน้าต่างของสังคมได้เป็นอย่างดี ประเทศใดมีตัวแทนในลักษณะใด จะรู้ ได้ว่าผู้ที่เลือกเขาเข้ามาก็เป็นลักษณะอย่างนั้น เขาจะเลือกเอาระดับเดียวกัน ชนิดเดียวกัน ถ้าเป็นนักบวช นักพรต ก็เป็นลักษณะนี้ ศาสนาจะมีความเจริญขึ้นหรือ เสื่อมลงก็ขึ้นอยู่กับบริษัททั้งสี่ ลำพังพระอย่างเดียวจะโดดเด่นขึ้นในท่ามกลาง ของสังคมนั้นไม่ได้ พระที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังก็เพราะญาติโยมนำไปออกข่าว โฆษณา ว่าองค์นั้นมีความขลังอย่างนั้น องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ มี อภินิหารไปทางไหนก็นำไปออกข่าว องค์ไหนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ องค์ไหน เป็นพระอริยะเจ้า ฆราวาสก็จะเป็นผู้คาดการณ์ให้เอง ในยุคสมัยนั้นพระ อรหันต์จะเกิดจากลูกศิษย์ยกให้เอง ศิษย์แต่ละครู ศิษย์แต่ละสำนักจะผลิตจะ กำหนดรูปแบบอาจารย์ของตัวเองให้เป็นพระอรหันต์ขึ้น เรื่องข้อวัตรปฏิบิตของ อาจารย์มีความเคร่งครัดอย่างไรก็นำไปโฆษณาอย่างหยดย้อยทีเดียว นี่เองก้อน ศิลาแท่งทึบจึงได้ลอยอยู่บนผิวน้ำ มีความโดดเด่นเห็นได้อย่างชัดเจน จึงเป็น พุทธทำนาย 16 ข้อ 10 ธุรกิจในคราบผ้ากาสาวพัสตร์บังหน้า เอาศาสนามาแอบอ้างหากิน เมื่อช่วง ปลายศาสนาโน้น คนจะหมดความเลื่อมใสในศาสนาของเราตถาคต คนที่มี ศรัทธาเบาบางก็จะค่อยจืดจางไปเพราะเห็นความชั่วร้ายในพระยุคนั้น ๆ ผู้ที่มี ปัญญาดี มีความมั่นคง มีเหตุมีผล เขาจะแสวงหาพระที่เป็นพระได้อย่างถูก ต้อง เมื่อปลายศาสนาโน้นเรื่องอย่างนี้จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน

    สุบินนิมิตข้อที่ 14
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นนางเขียดน้อยไล่กินงูเห่าตัวมหึมา เมื่อไล่ทันก็กระโดดคาบกลืนกินทันที

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น นักบวชองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีคำ พูดเป็นวาทศิลป์ เคยแผ่พังพานในการแสดงธรรม มีบทบาทในสังคม มี ประชาชนให้ความ เคารพเชื่อถือเป็นอย่างมาก ได้รับ ลาภ ยศ สรรเสริญจนลืม ตัว ไม่มีสติ ไม่มีปัญญารักษาใจ ไม่มีความฉลาด จึงขาดในการสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ปล่อยให้ไปสัมผัสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงทำให้ใจเกิดอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์แห่งความรักความใคร่ในกามคุณ มีความ กำหนัดย้อมใจ จึงทำให้อีนางเขียดน้อย (สตรี) ได้มองเห็นช่องโหว่ จึงได้วาง แผนหว่านล้อมด้วยมารยานานาประการ มีคำหวานอันหยดย้อยเหมือนน้ำอ้อย น้ำตาล ชโลมหัวใจงูเห่าจนหน้ามืดตาลายหายใจไม่เต็มปอด อีนางเขียดน้อยได้ จังหวะก็กระโดดคาบกลืนกินทันที เรียบร้อยไป

    สุบินนิมิตข้อที่ 15
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นหงส์สีทองทั้งหลายไปห้อมล้อม อีกา อีกาไปไหนฝูงหงส์สีทองทั้งหลายก็ห้อมล้อมเป็นบริวาร พุทธทำนาย 16 ข้อ 11

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น พระเณรผู้บวชใหม่ใจยังมีความ บริสุทธิ์อยู่ในศีลในธรรม จะห้อมล้อมพระที่ทุศีลทุธรรม จะยกให้เป็นครู อาจารย์เพื่อเคารพกราบไหว้อย่างเหลือเฟือ อีกาฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมในการหา อาหารฉันใด พระทุศีลทุธรรมเหล่านี้ก็ฉลาดมีเล่ห์เหลี่ยมในการหาลาภสักการะ ได้ฉันนั้น และแบ่งลาภสักการะให้แก่หงส์เล็กหงส์ใหญ่ได้อย่างทั่วถึง ฝูงหงส์ ทั้งหลายจึงให้ความสำคัญในอีกาเป็นอย่างมาก ในยุคต่อไปช่วงปลายศาสนาโน้น การเปลี่ยนไปในสังคมของสมณะก็จะเป็นอย่างนี้ พระที่ทุศีลทุธรรมก็จะเพิ่มมาก ขึ้น พระเณรที่ขาดการศึกษาก็จะไม่รู้ธรรมวินัย ไม่เข้าใจว่าอะไรควรอะไรไม่ ควร อะไรผิดศีลอะไรผิดธรรม จะไม่รู้ในหน้าที่ของตนเพียงบวชกันตาม ประเพณีเท่านั้น เหตุการณ์อย่างนี้ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น

    สุบินนิมิตข้อที่ 16
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินนิมิตเห็นฝูงแพะทั้งหลายพากันไล่จับเสือ มาเป็นอาหาร พากันเคี้ยวกินอยู่กรอบ ๆ

    พระพุทธเจ้าให้คำทำนายว่า
    อนาคตต่อไปในภายภาคหน้าโน้น ประชาชนทั้งหลายไม่พอใจในการปก ครองแบบราชาธิปไตย จึงได้พากันจับกลุ่มเพื่อเรียกร้องต่อต้านในการปกครอง ของพระราชา เพื่อให้ได้มาในการปกครองแบบประชาธิปไตย เพื่อให้พระราชา ลดบทบาท ลดอำนาจลง ให้อยู่ในการปกครองภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน เมื่อพระราชาไม่ยินยอม ก็จะพากันปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจ ให้เป็นไปตาม ความต้องการของประชาชน ถ้าพระราชาองค์ใดขัดขืนก็จะลบล้างในพระมหา กษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น ๆ พร้อมด้วยพระราชวงศ์ให้หมดไปจาก พุทธทำนาย 16 ข้อ 12 ประเทศชาตินั้นเสีย มีบางประเทศที่พระราชายินยอมตามคำขอร้องของประชา ชน ยอมลงจากอำนาจเดิมคือราชาธิปไตย ประชาราษฎรในบ้านนั้นเมืองนั้น ก็จะพากันให้ความเคารพเชื่อถือในองค์พระมหากษัตริย์ จึงพากันยกย่องเชิดชูใน พระราชวงศ์นั้นจนสุดชีวิต เพื่อให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นสมมุติเทพกราบไหว้ เทิดทูน ให้เป็นศูนย์รวมน้ำใจของประเทศนั้น ๆ ตลอดไปสิ้นกาลนาน เหตุ การณ์อย่างนี้ก็จะเกิดมีในภายภาคหน้าโน้น
     
  5. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ และ นิทานพระยากาเผือก


    คัมภีร์ใบลานเรื่องกาเผือก ได้กล่าวไว้ว่า ย้อนหลังไป ๒๐ อสงไขย กับอีก ๑ มหาแสนกัป สมัยอยูในช่วงมัณฑกัป ที่จะมีพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาอุบัติตรัสรู้ในโลก ๕ พระองค์


    ในสมัย พระพุทธเจ้าทีปงกร นั้น มีพญากาเผือก ๒ ตัวผัวเมียทำรังอยู่ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำต่อมาแม่กาเผือกได้ออกไข่ ๕ ฟอง วันหนึ่งเมื่อสองกาเผือกออกไปหาอาหาร เกิดฝนตกฟ้าคะนองพายุใหญ่พัดกระหน่ำ


    5ece58538c423b47f555de90_800x0xcover_O5m9RD-k.jpg
    ไข่ทั้งหมด ได้ถูกลมพัดตกน้ำไหลกระจายไปคนละทาง แม่กาเผือกเมื่อกลับมาถึงรังไม่เห็นไข่ ก็พยายามตามหาแต่ก็ไม่พบ ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ แม่กาเผือกไม่สามารถระงับความอาลัยได้จึงสิ้นใจตาย


    ด้วยอานิสงส์แห่งความรักเมตตาลูก จึงได้ไปเกิดอยู่แดนพรหมโลกชั้นสุธาวาส ชื่อท้าวฆติกามหาพรหม


    ส่วนไข่แต่ละฟองก็มีผู้นำไปฟักเลี้ยง และในเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่


    5ece58798c423b47f55608a0_800x0xcover_tkaP9zoE.jpg
    ปรากฏเป็นมนุษย์ รูปร่างสวยสดงดงาม ทั้ง ๕ พระองค์ พอโตเป็นหนุ่ม ชายทั้งห้า ต่างก็ออกบวชเป็นฤาษี บำเพ็ญบารมีอยู่ในป่า อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะไปหาอาหารผลไม้ และบำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงคุตตระปิฎฐา


    ด้วยเหตุปัจจัยในกุศลบารมีธรรม ฤาษีทั้ง ๕ ก็ได้มาพบกัน จึงสอบถามความเป็นมาของกันและกัน จึงได้รู้แต่ว่า แต่ละคนมีแต่แม่เลี้ยง แม่ที่แท้จริงอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้


    จึงได้ร่วมกันตั้งสัจจะอธิฐาน ขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง ด้วยอำนาจธรรมอันบริสุทธิ์ของฤาษีทั้ง ๕ คำอธิษฐานจึงดังก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆติกามหาพรหม (แม่กาเผือก) จึงจำแลงเป็นแม่กาเผือกลงมาปรากฏ


    ฤาษีทั้ง ๕ ก็รู้ด้วยญาณทัศนะว่า นี่แหละเป็นแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง คือแม่กาเผือก เมื่อได้ทราบถึงความจริงต่างก็พากันสลดสังเวชใจและสำนึกในบุญคุณของแม่กาขาวเป็นยิ่งนัก


    ก่อนจากกัน ฤาษีทั้ง ๕ จึงกราบขอรอยเท้าของแม่กาเผือกเอาไว้บูชา แม่กาเผือกจึงนำเอาฝ้ายมาฟั่น เป็นรูปตีนกาให้ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาทุกวันพระ (เป็นที่มาของประเพณีจุดประทีปโคมไฟ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (เทศกาลยี่เพง – ลอยกระทง)


    จากนั้นฤาษีทั้ง ๕ ต่างพากันบำเพ็ญเพียรสะสมบารมีจนกระทั่งดับขันธ์ไปเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต ได้บำเพ็ญบารมีจนได้เก้าพันปีทิพย์ และวนเวียนลงบำเพ็ญบารมีจนเต็มเปี่ยมครบสมบูรณ์ ๓๐ ทัศ แล้วก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าตาม ลำดับ นับตั้งแต่พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคตมะ องค์ปัจจุบัน นับได้ ๔ พระองค์แล้ว เหตุที่พระนามที่มี คือ


    องค์ที่ ๑ พระนามว่า พระกกุสันโธ ตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นไก่


    องค์ที่ ๒ พระนามว่า พระโกนาคมโน ตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค


    องค์ที่ ๓ พระนามว่า พระกัสสโป ตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า


    องค์ที่ ๔ พระนามว่า พระโคตโม(องค์ปัจจุบัน) ตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค


    องค์ที่ ๕ พระนามว่า พระศรีอริยเมตไตรยโย ตามนามแม่เลี้ยงที่ เป็นราชสีห์ และยังเหลือแต่พระศรีอริยเมตไตรยที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า


    และในวันที่พระโพธิสัตว์ทั้ง ๔ พระองค์ออกบวชเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ฆฏิกาพรหม ซึ่งก็คือนางพญากาขาวอดีตมารดาจะเป็นผู้นำบาตรและไตรจีวรมาถวายให้แก่ทุกพระองค์


    5ece58a83050480b398ec813_800x0xcover_-4DOT8BQ.jpg
    เครดิตภาพ เวปพลังจิต และ https://groups.google.com/forum/
     
  6. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    อย่าเสียเวลากับบุคคลที่ไม่รู้จักตนเองแล้วพยายามบอกผู้อื่นว่า ตนแบบนี้ตนเป็นแบบนั้นเลย มันเสียเวลา คนแบบนั้นไม่อาจพบพระพุทธศาสนาได้จริงดังหวัง เนื่องด้วยอกุศลกรรมอันเป็นเจตนา ปิดกั้นตนเองจากทั้งความจริงและความเท็จมาแต่ต้น จะรับไว้เฉพาะความที่ตนชอบ จึงไม่เป็นไปตามธรรม ไม่ใช่พุทธะ ไม่เป็นอริยะมรรคและไม่เกิดอริยะผลประการใด อย่าเสียเวลาเลย ถ่มน้ำลายรดฟ้าจนหน้าไม่มีที่ว่างอันปราศจากน้ำลายของตนอีกแล้ว
    บอกตนเองกับเจ้าแมวขี้เรื้อน 555
     
  7. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    คนเรานี้โกรธเพราะอะไร-ไม่พิจารณาความจริง
    คนเรานี้อยากได้สิ่งต่างๆอันเป็นสิ่งพึงเสน่หาเพราะอะไร-ไม่พิจารณาความจริงที่ว่า ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้
    คนเราอยากได้สิ่งต่างๆเพื่อสนองความอ่อนด้อยของจิตใจเพราะอะไร-ไม่พิจารณาความจริง ถึงความไม่เที่ยงแท้ ไร้ตัวตนและวันหนึ่งก็สลายไป เหลือไว้เพียงความอาลัย ส่งต่อทายาท จึงเรียกว่า กรรมอันต่อเนื่อง ต้องพยายามรักษาต้องพยายามสร้าง แต่ไม่ใช่สร้างกุศล มีน้อยเหลือเกินที่สร้างกุศล ต่อให้เป็นกรรม
    ที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรหยาบหรืออะไรละเอียดหรอก หากว่ารู้ว่า สิ่งต่างๆจะเกิดขึ้นด้วยสิ่งใดและดับลงได้ด้วยสิ่งใด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเองและดับลงได้ด้วยตัวเอง คำที่ว่า เกิดเองดับเอง นั้นคือการให้โอกาสได้พิจารณาเพื่อการมองเห็น ส่วนการเห็นนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นจะไปอีกด้านหนึ่งของสิ่งที่เคยรู้จักทันที เรียกว่า ไม่เป็นไปตามวัฎสงสาร ลองดูนะแต่ไม่ต้องหื่นกระหายขนาด...เหมือนแมวขี้เรื้อน
     
  8. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    อันว่าด้วยการฝึกตามวิธี อานาปาณสติ
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]
    [​IMG]

    [346] อานาปานสติ 16 ฐาน (สติกำหนดลมหายใจ, การเจริญอานาปานสติ คือใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แบบที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยครบทั้ง 4 - mindfulness of breathing with sixteen bases)
    จตุกกะที่ 1 : กายานุปัสสนา
    1) ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต 'ทีฆํ อสฺสสามี'ติ ปชานาติ,
    ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต 'ทีฆํ ปสฺสสามี'ติ ปชานาติ;
    2) รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต 'รสฺสํ อสฺสสามี'ติ ปชานาติ,
    รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต 'รสฺสํ ปสฺสสามี'ติ ปชานาติ;
    3) 'สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    4) 'ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
    1) เมื่อหายใจเข้ายาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    หรือเมื่อหายใจออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    2) เมื่อหายใจเข้าสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    หรือเมื่อหายใจออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    3) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจออก
    4) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก
    1. Breathing in long, he knows: “I am breathing in long”,
    or breathing out long, he knows: “I am breathing out long”,
    2. Breathing in short, he knows: “I am breathing in short”:
    or breathing out short, he knows: “I am breathing out short”;
    3. He trains thus: “Experiencing the entire (breath-) body, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Experiencing the entire (breath-) body, I shall breathe out”;
    4. He trains thus: “Calming the bodily formation, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Calming the bodily formation, I shall breathe out”.

    จตุกกะที่ 2 : เวทนานุปัสสนา
    5) 'ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    6) 'สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    7) 'จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    8) 'ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขาร อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขาร ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
    5) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจออก
    6) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจออก
    7) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจออก
    8) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจออก
    5. He trains thus: “Experiencing rapture, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Experiencing rapture, I shall breathe out”;
    6. He trains thus: “Experiencing joy, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Experiencing joy, I shall breathe out”;
    7. He trains thus: “Experiencing the mental formation, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Experiencing the mental formation, I shall breathe out”;
    8. He trains thus: “Calming the mental formation, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Calming the mental formation, I shall breathe out”;

    จตุกกะที่ 3 : จิตตานุปัสสนา
    9) 'จิตฺตปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    10) 'อภิปฺปโมทย์ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'อภิปฺปโมทย์ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    11) 'สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    12) 'วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
    9) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจออก
    10) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    11) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก
    12) เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจออก
    9. He trains thus: “Experiencing the mind, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Experiencing the mind, I shall breathe out”;
    10. He trains thus: “Gladdening the mind, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Gladdening the mind, I shall breathe out”;
    11. He trains thus: “Concentrating the mind, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Concentrating the mind, I shall breathe out”;
    12. He trains thus: “Liberating the mind, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Liberating the mind, I shall breathe out”.

    จตุกกะที่ 4 : ธัมมานุปัสสนา
    13) 'อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    14) 'วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    15) 'นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
    16) 'ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
    'ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
    13) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก
    14) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
    15) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจออก
    16) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจออก
    13. He trains thus: “Contemplating impermanence, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Contemplating impermanence, I shall breathe out”;
    14. He trains thus: “Contemplating fading away, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Contemplating fading away, I shall breathe out”;
    15. He trains thus: “Contemplating cessation, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Contemplating cessation, I shall breathe out”;
    16. He trains thus: “Contemplating relinquishment, I shall breathe in”,
    He trains thus: “Contemplating relinquishment, I shall breathe out”.

    ข้อควรทราบ :
    ก) คำว่า หายใจเข้า และหายใจออก นั้นพึงทราบว่า เป็นคำที่มีการแปลต่างกัน คือ อรรถกถาแห่งพระวินัยแปล อสฺสาส ว่า “หายใจออก” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” ส่วนอรรถกถาแห่งพระสูตรแปลกลับตรงข้าม คือแปล อสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจออก” ในที่นี้ถือตามคำแปลของอรรถกถาแห่งพระสูตร ผู้ศึกษาทราบอย่างนี้แล้ว จะใช้แบบใดก็ได้ พึงเลือกตามปรารถนา
    ข) “สำเหนียกว่า” เป็นคำแปลตามสำนวนเก่า หมายถึงคำบาลีว่า สิกฺขติ จะแปลแบบทับศัพท์เป็น “ศึกษาว่า” ก็ได้
    ค) ธรรมหมวดนี้ เรียกตามบาลีแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิมัคค์ว่า โสฬสวัตถุกอานาปานสติ (เช่น ขุ.ปฏิ. 31/362/244: 387/260= Ps.I.162;173 คำบาลีเดิมเป็น โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติ บ้าง โสฬสวตฺถุโก อานาปานสฺสติสมาธิ บ้าง บางทีอรรถกถาก็เรียกยักเยื้องไปว่า โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติสมาธิภาวนา บ้าง โสฬสวตฺถุ อานาปานสฺสติกมฺมฏฺฐานํ บ้าง) แปลแบบรักษาศัพท์ว่า “อานาปานสติมีวัตถุ 16” แต่ในที่นี้เลือกแปลตามคำอธิบายในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) ว่า “อานาปานสติ 16 ฐาน” เพราะในภาษาไทย คำว่า ฐาน เป็นคำที่คุ้นและช่วยสื่อความหมายของคำว่า วัตถุ ในที่นี้ได้ดี แต่จะแปลว่า “อานาปานสติ 16 หลัก” หรือ “อานาปานสติ 16 หัวข้อ (หรือ 16 ข้อ)” ก็ได้ บางทีก็เรียกให้ฟังเป็นลำดับว่า “อานาปานสติ 16 ชั้น”
    ง) 16 ฐาน หรือ 16 หลัก หรือ 16 หัวข้อ หรือ 16 ข้อ ข้อ หรือ 16 ชั้นนั้น ท่านจัดเป็น 4 จตุกกะ คือ เป็นหมวดสี่ 4 หมวด ดังนี้
    1. กายานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งกายานุปัสสนา)
    2. เวทนานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งเวทนานุปัสสนา)
    3. จิตตานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งจิตตานุปัสสนา)
    4. ธัมมานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งธัมมานุปัสสนา)
    เป็นการระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นสติปัฏฐานข้อใด
    จ) ว่าโดยไตรสิกขา ระหว่างปฏิบัตินั้น
    - ความมีกายวาจาตั้งอยู่ในความสงบสำรวม โดยมีเจตนาอันปลอดจากการละเมิดหรือเบียดเบียน (กายิกวาจสิกอวีตีกกมะ) เป็น ศีล
    - การมีสติกำหนด ด้วยจิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์อารมณ์หนึ่งเดียวตามที่กำหนด (จิตตัสเสกัคตา) เป็น สมาธิ
    - ความมีสัมปชัญญะรู้ทั่วพร้อม มองเห็นตามสภาวะ เป็น ปัญญา
    ฉ) ในการปฏิบัติ ศีลเป็นเพียงฐานที่รองรับอยู่ ส่วนธรรมที่ปฏิบัติซึ่งจะเจริญขึ้นไป คือ สมาธิ และปัญญา อันได้แก่ สมถะ ในข้อต่อไป
    ช) ในการปฏิบัติทั้งหมดนี้ สามจตุกกะแรก มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา แต่จตุกกะที่ ๔ เป็น วิปัสสนา ล้วน
    ฌ) โสฬสวัตถุกอานาปานสติ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงบ่อย พบได้หลายแห่งในพระไตรปิฎก แต่ที่ประมวลเรื่องเกี่ยวข้องและข้อความแวดล้อมไว้ครบถ้วน ซึ่งรู้จักกันดีและเป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป คือ อานาปานสติสูตร (ม.อุ. 14/282-291/190-202=M.III.78-82) นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายโดยพิสดารในพระไตรปิฎก ปรากฏใน ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ. 31/362-422/244-299; = Ps.I.162-196) ส่วนในชั้นอรรถกถา ก็มีอธิบายหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ค้นคว้าได้สะดวก คือ วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82= Vism.266-296)

    Vin.III.70;
    M.I.425;
    M.III.82;
    S.V.311;
    A.V.111;
    Ps.I.162. วินย. 1/178/132;
    ม.ม. 13/146/140;
    ม.อุ. 14/287-288/193;
    สํ.ม. 19/1305-1306/394;
    องฺ.ทสก. 24/60/119;
    ขุ.ปฏิ. 31/362/244.


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.p
     
  9. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    สัมมาทิฏฐิ ๒๒

    ความรู้จักสังขาร
    ››
    สมเด็จพระญาณสังวร

    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    วัดบวรนิเวศวิหาร

    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ม้วนที่ ๖๑/๒

    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    ได้แสดงพระเถราธิบายตอบคำถามของภิกษุทั้งหลาย ของท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรมาโดยลำดับ จนถึงวันนี้ ท่านได้แสดงอธิบายสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ว่าได้แก่ รู้จักสังขาร รู้จักเหตุเกิดสังขาร รู้จักความดับสังขาร รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับสังขาร และท่านได้แสดงชี้แจงไปทีละข้อว่า รู้จักสังขารนั้น สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร รู้จักเหตุเกิดสังขารนั้น ก็คือรู้จักว่า เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด รู้จักความดับสังขารว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับสังขาร ว่าได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเป็นต้น

    สังขาร

    จะได้แสดงอธิบายในข้อ ๑ ที่ท่านแสดงชี้แจง สังขาร ๓ ดังกล่าว แต่ก่อนที่จะได้แสดงสังขาร ๓ จะได้แสดงใจความ หรือความหมายของคำว่าสังขารก่อน คำว่าสังขารนั้น ก็ตามที่ได้ทราบกันอยู่โดยมาก สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมะ หรือศึกษาธรรมะ ว่าได้แก่ปรุงแต่ง คือสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น ก็เรียกว่าสังขาร การปรุงแต่ง หรือความปรุงแต่ง ก็เรียกว่าสังขาร โดยอธิบายว่าทุกๆ สิ่งในโลกนี้ จะเป็นสิ่งที่มีใจครองเช่นมนุษย์เดรัจฉานทั้งหลาย สิ่งที่ไม่มีใจครองเช่นดินน้ำไฟลมที่เป็นภายนอกทั่วไป และที่เป็นต้นไม้ภูเขาเป็นต้น เรียกว่า สังขาร คือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น แม้ที่รวมกันเป็นพื้นพิภพนี้ หรือว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ดวงดาวทั้งหลายที่เห็นอยู่ในท้องฟ้า ก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น หรือแม้ ลม ฝน อากาศเย็นร้อน ที่เป็นเรื่องของโลกธาตุอันบังเกิดขึ้นทั้งสิ้น ก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง

    อุปาทินนกสังขาร อนุปาทินนกสังขาร

    เพราะฉะนั้น ท่านจึงย่อสังขารลงเป็น ๒ คือ อุปาทินนกะสังขาร สังขารที่มีใจครอง อนุปาทินนกะสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง แต่ว่าคำนี้ท่านผู้เพ่งธรรมะบางท่าน ก็อธิบายเป็นอีกอย่างหนึ่งว่า สังขารที่ยังยึดถือเรียกอุปาทินนกะสังขาร สังขารที่ไม่ยึดถือเป็นอนุปาทินกะสังขาร แต่แม้จะตีความหรือเข้าใจความอย่างไร รวมเข้าก็คือว่า บรรดาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกที่เป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง เรียกว่าสังขารทั้งหมด และคำว่าผสมปรุงแต่งนี้ก็มีความหมายที่แจ่มแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า ไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวที่ปรากฏ เป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ แต่ว่ามีส่วนประกอบเข้ามาหลายอย่าง มาปรุงแต่งกันขึ้น ซึ่งถ้าเทียบอย่างหยาบๆ ก็เช่น บ้านเรือน ที่เป็นบ้าน เป็นเรือน ก็เรียกว่าเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่ง เพราะประกอบขึ้นด้วยทัพพะสัมภาระ เช่นไม้เป็นต้น หลายสิ่งหลายอย่างมาประกอบกันเข้า เป็นบ้าน เป็นเรือน

    สมมติบัญญัติของสังขาร

    และคำว่าบ้านว่าเรือนนั้น ก็เป็นสมมติบัญญัติ ของสิ่งผสมปรุงแต่งนั้นๆ ว่าเมื่อผสมปรุงแต่งขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็เรียกว่าอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าอย่างนี้ แม้คำว่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขานี้ก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ที่แปลความว่า เพราะประกอบ องคะสัมภาระ คือองค์ประกอบต่างๆ ส่วนประกอบต่างๆ เข้า เสียงว่ารถจึงมี ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ เสียงว่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จึงมีอยู่ ดั่งนี้ เพราะฉะนั้น ทุกๆ อย่างดังกล่าว จึงเรียกว่าสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น

    สังขตลักษณะ

    ได้มีพระพุทธภาษิตแสดง สังขตะลักษณะ คือลักษณะของสิ่งผสมปรุงแต่งเอาไว้ ว่ามี ๓ อย่าง คือ

    ๑ ความเกิดขึ้นปรากฏ

    ๒ ความเสื่อมไปสิ้นไปปรากฏ

    ๓ เมื่อยังตั้งอยู่ ความเป็นไปอย่างอื่น คือความแปรปรวนไปเป็นอย่างอื่นปรากฏ

    ฉะนั้น จึงได้มีภาษิตแสดงภาวะของสังขารทั้งหลาย ซึ่งพระใช้เป็นคำสำหรับสวดว่าอนิจจา วะตะ สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อุปปา ทะวะยะ ธัมมิโน มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา อุปปัช ชิตวา นิรุชฌันติ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป เตสัง วูปสโม สุโข ความดับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นสุข ดั่งนี้

    ทุกขลักษณะ

    เพราะฉะนั้น ในการพิจารณาทางวิปัสสนา ยกเอา ทุกขลักษณะ คือลักษณะเครื่องกำหนดหมายว่าเป็นทุกข์ขึ้นมาพิจารณา พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอน ให้พิจารณาโดยลักษณะที่เรียก ทุกขทุกขะ คือทุกข์โดยเป็นทุกข์ ก็ได้แก่ทุกข์ที่ปรากฏเป็นทุกข์ เช่น ทุกขเวทนาต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นแก่ร่างกายและจิตใจ

    ดั่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสชี้เอาไว้ในการที่ทรงอธิบายทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ ว่าเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ ความโศก ความรัญจวนคร่ำครวญ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ พิจารณาทุกข์ โดยที่เป็นทุกข์ต่างๆ ซึ่งทุกคนต้องประสบทางกายบ้างทางใจบ้าง

    อนึ่ง ได้ตรัสสอนให้พิจารณาว่าเป็นทุกข์โดยเป็นสังขาร อันเรียกว่า สังขารทุกขะ ทุกข์โดยเป็นสังขาร คือล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น ทุกๆ อย่างที่สมมติบัญญัติขึ้นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ตั้งต้นแต่รูปกายของตนเอง นามกายของตนเอง รูปกายนามกายของผู้อื่น และสัตว์บุคคลต่างๆ ทรัพย์สินสิ่งต่างๆ ทุกอย่างที่สมมติบัญญัติกัน ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ทั้งที่ยึดถือกันว่าเป็นของเรา ว่าเราเป็น ว่าเป็นอัตตาตัวตนของเรา ล้วนเป็นสังขาร คือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น ส่วนที่มีชื่อเรียกกันต่างๆ นั้น ก็เป็นสมมติบัญญัติทั้งสิ้น และส่วนที่ว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็เป็นความยึดถือเอาเองทั้งสิ้น เพราะว่า ทุกๆ อย่างนั้นเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น

    อนึ่ง ได้ตรัสสอนให้พิจารณา ว่าเป็นทุกข์โดยเป็น วิปรินามะ คือความที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เพราะทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่เป็นสังขารนั้น ล้วนมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา เป็นไปตามสังขตลักษณะ ลักษณะเครื่องกำหนดหมายแห่งสังขาร คือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งหลาย ดังกล่าวมาแล้ว คือมีเกิดมีดับเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป และในระหว่างแห่งเกิดและดับนั้น ก็มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นอยู่เรื่อยๆ ดังเช่นร่างกายของทุกๆ คนเรานี้ เมื่อเกิดมาก็เป็นเด็ก คือร่างกายเป็นเด็ก แล้วก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงมาเป็นเด็กใหญ่ๆ ขึ้นโดยลำดับ เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นกลางคน เป็นคนแก่ เป็นคนแก่เฒ่า ไปโดยลำดับ ในที่สุดก็แตกดับ คือสิ่งที่ผสมปรุงแต่งนั้นก็แตกสลายจากการปรุงแต่ง หยุดปรุงแต่ง

    ฉะนั้น เรื่องสังขารนี้ จึงเป็นข้อที่ควรทำความเข้าใจ และพิจารณาในทางวิปัสสนากรรมฐานได้เป็นอย่างดียิ่ง ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอน แต่ในที่นี้ก็ต้องการที่จะให้มีความเข้าใจในความหมายของคำว่าสังขาร เพียงว่าได้แก่สิ่งที่ผสมปรุงแต่งขึ้น หรืออาการที่ผสมปรุงแต่งขึ้น เรียกว่าสังขาร และที่ท่านจำแนกสังขารไว้เป็น ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร

    กายสังขาร

    กายสังขาร นั้นก็ได้แก่ปรุงแต่งกาย อธิบายว่าลม อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ได้ชื่อว่ากายสังขารปรุงแต่งกาย เพราะว่าเป็นเครื่องบำรุงปรนปรือกายอยู่ตลอดเวลา กายดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีลมอัสสาสะปัสสาสะ บำรุงปรนปรืออยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุด ดังจะพึงเห็นได้ว่าทุกๆ คนนั้นไม่มีหยุดหายใจ กายจึงดำรงอยู่ได้ ที่เรียกว่าชีวิต หากหยุดหายใจเมื่อใด กายก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ( เริ่ม ๖๒/๑ ) ฉะนั้น ลมอัสสาสะปัสสาสะจึงเรียกว่ากายสังขาร เป็นเครื่องปรุงกาย

    วจีสังขาร

    วจีสังขาร แปลว่าปรุงแต่งวาจา ได้แก่วิตกวิจารที่แปลว่าความตรึกความตรอง วิตกวิจารนี้เองเป็นต้นของวาจาที่ทุกๆ คนพูด ก็คือว่าพูดจากใจที่วิตกวิจาร คือที่ตรึกตรอง อาจจะกล่าวได้ว่าจิตใจนี้พูดก่อน คือตรึกตรองขึ้นมาก่อน จึงพูดออกทางวาจา หรือว่าวาจาจึงพูดออกมา ถ้าหากว่าไม่มีวิตกวิจาร ขึ้นในจิตใจก่อน การพูดอะไรออกไปทางวาจาก็เป็นวาจาของคนที่เพ้อคลั่ง หรืออาการที่เพ้อหรือที่กล่าวในเวลาหลับ และจะไม่เป็นภาษา ฉะนั้น วาจาที่ทุกๆ คนพูดนี้จึงออกมาจากจิตใจ ที่มีวิตกมีวิจาร คือที่ตรึกตรอง ฉะนั้น วิตกวิจารจึงเรียกวจีสังขาร เป็นเครื่องปรุงวาจา

    จิตตสังขาร

    จิตตสังขาร ปรุงแต่งจิต ก็ได้แก่ สัญญา เวทนา เวทนา นั้นก็ได้แก่ความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข สัญญา นั้นก็ได้แก่ความจำได้หมายรู้ เช่นจำรูปจำเสียงจำกลิ่นจำรสจำโผฏฐัพพะจำธรรมะคือเรื่องราว

    เวทนาสัญญานี้ เรียกกลับกันว่าสัญญาเวทนา เป็นเครื่องปรุงจิต คือปรุงจิตใจให้คิดไปต่างๆ ความคิดไปต่างๆ นั้นอาศัยสัญญาเวทนา ถ้าหากว่าไม่มีสัญญาคือความจำได้หมายรู้ ไม่มีเวทนา คือรู้เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็คิดอะไรไม่ได้ เพราะทุกๆ คนนั้น จะไปคิดในเรื่องที่ตนเองจำไม่ได้ หรือว่าที่ลืมไปแล้วนั้น หาได้ไม่ จะคิดอะไรได้ ก็ต้องคิดได้ตามที่จำได้เท่านั้น

    อันที่จริงยกเอาสัญญาขึ้นมาอย่างเดียว อธิบายอย่างนี้ก็เข้าใจ แต่ท่านยกเอาเวทนาขึ้นมาคู่ด้วย ก็โดยที่สัญญานี้ตามวิถีจิตในขันธ์ ๕ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยเวทนา คือต้องมีเวทนาที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข จึงจะมีสัญญาคือจำได้ ถ้าไม่มีเวทนาแล้วก็จำอะไรไม่ได้

    ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนอย่างคนที่ดับความรู้ทางกายประสาท เช่นว่าฉีดยาชาที่ร่างกาย เมื่อร่างกายส่วนนั้นชาไปแล้ว หมอก็ทำการผ่าตัด หรือทำอะไร ก็ไม่มีความรู้เจ็บ เมื่อไม่มีความรู้เจ็บ ก็แปลว่าสัญญาคือความจำในการที่หมอได้กระทำอะไรตรงร่างกายส่วนนั้นก็ไม่มี

    ถ้าหากว่าไม่ได้ฉีดยาชา เมื่อเอามีดไปปาดเข้าก็เจ็บ เมื่อเจ็บก็จำได้ในอาการที่เจ็บนั้น นี้ยกตัวอย่างเพียงการทำให้กายประสาทไม่รู้สึกเพียงข้อเดียว ถ้าหากว่าไม่มีความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ ที่เป็นเวทนา ทางจักขุประสาท โสตะประสาท ฆานะประสาท ชิวหาประสาท หรือทั้งกายประสาทดังกล่าวนั้นด้วย ใครจะทำอะไรที่ร่างกายทุกส่วน ก็ย่อมไม่มีความรู้ เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็ไม่มีสัญญาคือความจำในส่วนนั้นๆ หรือคนที่ถูกฉีดยาสลบหมดความรู้ไป ในขณะที่สลบนั้น ก็เป็นอันว่าจำอะไรในขณะนั้นไม่ได้เลย

    เพราะฉะนั้นสัญญานี้จึงมาจากเวทนา ต้องมีเวทนาจึงจะเกิดสัญญา คือความจำได้หมายรู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้น จิตที่คิดไปต่างๆ ที่ปรุงไปต่างๆ จึงปรุงไปตามสัญญาเวทนา ถ้าไม่มีสัญญาเวทนาแล้วก็จิตก็ปรุงไม่ถูก

    แม้จิตที่คิดปรุงไปต่างๆ ดังกล่าวนั้น ก็รวมวิตกวิจารดังกล่าวมาข้างต้นในข้อวจีสังขารเข้าด้วย เพราะวิตกวิจารคือความตรึกความตรอง ก็เป็นความคิดไปของจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งก็อาศัยสัญญาเวทนาดังกล่าวนี้นั่นแหละ

    เพราะฉะนั้น สัญญาเวทนาจึงเป็นจิตตสังขารเครื่องปรุงจิต กายสังขารปรุงแต่งกาย มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นเครื่องปรุงแต่งกาย วจีสังขารก็มีวิตกวิจารเป็นเครื่องปรุงแต่งวาจา จิตตสังขารก็มีสัญญาเวทนาเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต นี้แสดงอธิบายถึงเครื่องปรุงแต่งกาย ปรุงแต่งวาจา ปรุงแต่งจิต

    อาการของชีวิต

    แต่ว่ายังมีการปรุงแต่งของกายเอง ของวาจาเอง ของจิตเอง คือกายที่มีการปรุงแต่งอยู่ คือ

    กายที่ยังประกอบกันเป็นกาย มีอาการปรุงแต่งของกาย ซึ่งเป็นไปเองต่างๆ เช่นว่า อาการ ๓๑,๓๒ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทันตา ฟัน เป็นต้น ผมเองก็มียาวขึ้นไปได้ ขนเองก็มีการที่ตั้งอยู่ หรือที่หลุดก็งอกขึ้นมาใหม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น เป็นความปรุงแต่งของกาย ตลอดจนถึงที่เป็นอวัยวะภายในต่างๆ เช่นตับปอด ก็ปฏิบัติหน้าที่ เช่นปอดก็ปฏิบัติหน้าที่ในการที่ทำการหายใจเข้าหายใจออกเป็นต้น ไปอยู่ตลอดเวลา เหล่านี้เป็นอาการปรุงแต่งของกายเอง ซึ่งเป็นไปอยู่ไม่มีหยุด

    วจีสังขาร วาจาเองที่พูดออกไป ก็พูดกันอยู่ทุกวัน ตามที่ควรพูด หรือแม้ว่าที่ไม่ควรพูด

    จิตที่คิดนึกไปก็คิดนึกกันไปต่างๆ อยู่ตลอดเวลาไม่หยุด

    แปลว่าอาการปรุงแต่งของกาย ของวาจา ของจิตเอง ก็ปรุงแต่งอยู่ไม่หยุดเหมือนกัน นี่ก็เป็นสังขาร เพราะฉะนั้น ชีวิตนี้อันประกอบด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต ดังที่กล่าวมา ยกเป็นตัวอย่างเพียง ๓ ข้อนี้ เป็นสังขารที่ปรุงแต่งอยู่ไม่หยุดตั้งแต่เกิดมา หยุดเมื่อไรก็คือตาย เมื่อยังไม่ตายก็ต้องเป็นสังขารคือปรุงแต่ง ปรุงแต่งตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดก่อขึ้นในครรภ์ของมารดา คลอดออกมาก็ปรุงแต่งเรื่อยไปจนถึงตายในที่สุด เพราะฉะนั้น อาการที่เรียกว่าสังขารคือปรุงแต่งนี้เป็นอาการของชีวิต ซึ่งต้องมีการปรุงแต่งกันอยู่ดั่งนี้ตลอดเวลา ไม่หยุด หยุดปรุงแต่งเมื่อไรก็ตาย

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

    bar-white-lotus-small.jpg
     
  10. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    อาสยานุสยญาณ ปัญญาหยั่งรู้อัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์

    [๑๑๓] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็นอย่างไร คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์ (สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมขันติ ในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกามเป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัยน้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา” นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย[๑๑๔] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ อนุสัย ๗ ได้แก่
    ๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ)
    ๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ)
    ๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือมานะ)
    ๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ)
    ๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือวิจิกิจฉา)
    ๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
    ๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา)
    กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก) สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี)ในโลก
    อวิชชาตกไปในสภาวธรรม ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็นว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย

    จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพ
    ที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว) ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์ทั้งหลาย

    [๑๑๕] อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
    ที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติ ประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็
    คบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีตก็คบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน นี้ชื่อว่าอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย

    อภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าอภัพพสัตว์

    ภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาดี อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่า ภัพพสัตว์

    นี้เป็นญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต
    ………..
    อาสยานุสยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=57

    อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277&p=1#อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส
     
  11. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    [​IMG]
    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้
    ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ
    [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อ
    เลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูกฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด
    จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ
    [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้
    พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขาอันโทษประทุษร้ายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย
    สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
    [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่
    ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้างจักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
    คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้างจักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
    คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
    [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
    จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
    จบวรรคที่ ๕
     
  12. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ธรรมมะจากพระอรหันต์เมืองไทย


    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    bar-1s.jpg

    ศึกษาธรรมเพื่อพ้นความทุกข์

    การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญ จะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้นจึงจะถูกทาง มิใช่เพื่ออย่างอื่น เพราะทุกข์มันมีเหตุเกิด และมีที่ของมันอยู่แล้ว

    ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจเสียว่า มันจะเป็นจิตก็ช่างมันเถอะ เมื่อมันนิ่งอยู่อย่างนี้ก็คือปกติของมัน ถ้าว่ามันเคลื่อนปุ๊บก็เป็นสังขาร (การปรุงแต่ง) แล้ว มันจะเกิดยินดีก็เป็นสังขาร มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าไม่รู้เท่าสังขาร ก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมัน เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมุติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร คือจิตมันเคลื่อนไหวนั่นเอง

    เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้พิจารณาอันนี้ ท่านจึงให้รับทราบสิ่งเหล่านี้ไว้ ให้พิจารณาสังขารเหล่านี้ ปฏิจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกัน อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ฯลฯ เราเคยเล่าเรียนมา ศึกษามาก็เป็นความจริงคือ ท่านแยกเป็นส่วนๆ ไป เพื่อให้นักศึกษารู้ แต่เมื่อมันเกิดมาจริงๆ แล้ว ท่านมหานับไม่ทันหรอก

    รู้จากปริยัติต่างกับรู้จากปฏิบัติ

    อุปมาเหมือนเราตกจากยอดไม้ก็ตุ๊บถึงดินโน่น ไม่รู้ว่ามันผ่านกิ่งไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ปุ๊บขึ้นมา ถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้ มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเอง แต่มันก็ไปนอกปริยัติด้วย มันไม่บอกว่า ตรงนี้เป็นอวิชชา ตรงนี้เป็นสังขาร ตรงนี้เป็นวิญญาณ ตรงนี้เป็นนามรูป มันไม่ได้ให้ท่านมหาอ่านอย่างนั้นหรอก เหมือนกับการตกจากต้นไม้ ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริงๆ อาตมาจึงมีหลักเทียบว่า เหมือนกับการตกจากต้นไม้ เมื่อมันพลาดจากต้นไม้ไปปุ๊บ มิได้คณนาว่ามันกี่นิ้วกี่ฟุต เห็นแต่มันตูมถึงดินเจ็บแล้ว

    ทางนี้ก็เหมือนกัน เมื่อมันเป็นขึ้นมา เห็นแต่ทุกข์ โสกะปริเทวะ ทุกข์โน่นเลย มันเกิดมาจากไหน มันไม่ได้อ่านหรอก มันไม่มีปริยัติที่ท่านเอาสิ่งละเอียดนี่ขึ้นมาพูด แต่ก็ผ่านไปทางเส้นเดียวกัน แต่นักปริยัติเอาไม่ทัน

    ฉะนั้น ท่านจึงให้ยืนตัวว่า อะไรที่เกิดขึ้นมาจากผู้รู้อันนี้ เมื่อผู้รู้รู้ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิกเหล่านี้ จิตก็ไม่ใช่เรา สิ่งเหล่านี้มีแต่ของทิ้งทั้งหมด ไม่ควรเข้าไปยึดไปหมายมั่นทั้งนั้น

    เรียนรู้เรื่องจิตเพื่อปล่อยวาง

    สิ่งที่เรียกว่าจิตหรือเจตสิกนี้ พระศาสดามิใช่ให้เรียนเพื่อให้ติด ท่านให้รู้ว่าจิตหรือเจตสิก เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น มีแต่ท่านให้ปล่อยให้วางมัน เมื่อเกิดมาก็รับรู้ไว้ รับทราบไว้ ตัวจิตนี่เอง มันถูกอบรมมาแล้ว ถูกให้พลิกออกจากตัวนี้ เกิดเป็นสังขารปรุงไป มันก็เลยมาปรุงแต่งเรื่อยไป ทั้งดีทั้งชั่วทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดเป็นไป สิ่งทั้งหลายเหล่านี้พระศาสดาให้ละ แต่ต้องเรียนรู้อย่างนี้เสียก่อน จึงจะละได้ ตัวนี้เป็นตัวธรรมชาติอยู่อย่างนี้ จิตก็เป็นอย่างนี้ เจตสิกก็เป็นอย่างนี้

    อย่างมรรค ปัญญาอันเห็นชอบ เห็นชอบแล้วก็ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เหล่านี้เป็นเรื่องของเจตสิกทั้งนั้น ออกจากผู้รู้นั่นเอง เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้ ถ้ารู้ชอบ ดำริชอบ อย่างอื่นก็ชอบไปด้วย เหมือนกับแสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน มันเกิดจากผู้รู้อันนี้ ถ้าจิตนี้ไม่มี ผู้รู้ก็ไม่มีเช่นกัน มันคืออาการของพวกนี้

    ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้รวมแล้วเป็นนามหมด ท่านว่าจิตนี้ก็ชื่อว่าจิต มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัว มิใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขา ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม มิใช่ตัวตนเราเขา ไม่เป็นอะไร ท่านให้เอาที่ไหน เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขันธ์ห้า ท่านให้วาง

    สมถะและวิปัสสนาอยู่ด้วยกัน

    ฉะนั้น ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว วิปัสสนาอยู่ปลายท่อนทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายท่อนไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือสองข้าง ถ้ายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองก็จะขึ้นด้วย อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง และเมื่อจิตสงบแล้ว ความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะ คือสมาธิธรรม ทำให้จิตเป็นสมาธิมันก็สงบ ถ้าความสงบหายไปก็เกิดทุกข์ ทำไมอาการนี้จึงให้เกิดทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัยแน่นอน มันจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อมีความสงบแล้วยังไม่จบ พระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่ พรหมจรรย์ไม่จบ มันไม่จบเพราะอะไร เพราะมันยังมีทุกข์อยู่ ท่านจึงเอาตัวสมถะ ตัวสงบนี่พิจารณาต่อไปอีก ค้นหาเหตุผล จนกระทั่งท่านไม่ติดในความสงบ ความสงบก็เป็นสังขารอันหนึ่ง ก็เป็นสมมุติ เป็นบัญญัติอีก ติดอยู่นี่ก็ติดสมมุติ ติดบัญญัติ เมื่อติดสมมุติ ติดบัญญัติ ก็ติดภพ ติดชาติ ภพชาติก็คือความดีใจในความสงบนี่แหละ ก็เป็นภพอีก เกิดอยู่อย่างนี้ ภพชาติเกิดขึ้นมา ทำไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้

    ขันธ์ห้าหรือความสงบยึดติดไม่ได้

    ท่านจึงพิจารณา ภพชาติเกิดเพราะอะไร เมื่อยังไม่รู้เท่าสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่านให้ยกเอาเรื่องจิตสงบนี้ขึ้นมาพิจารณาเข้าไปอีก สังขารที่เกิดขึ้นมาสงบหรือไม่สงบ พิจารณาเรื่อยไปจนได้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เหมือนก้อนเหล็กแดง ขันธ์ห้าเหมือนกับก้อนเหล็กแดง เมื่อมันแดงรอบแล้ว ไปจบตรงไหนมันจึงจะเย็นได้ มีที่เย็นไหม เอามือแตะข้างบนดูซิ ข้างล่างดูซิ แตะข้างโน้นข้างนี้ดูซิ ตรงไหนที่มันเย็น เย็นไม่ได้เพราะก้อนเหล็กมันแดงโร่ไปหมด ขันธ์ห้านี้ก็ฉันนั้น ความสงบไปติดไม่ได้ จะว่าความสงบเป็นเรา จะว่าเราเป็นความสงบไม่ได้ ถ้าเข้าใจว่าความสงบเป็นเรา เข้าใจว่าเราเป็นความสงบ ก็เป็นก้อนอัตตาอยู่นั่นเอง ก้อนอัตตาก็เป็นตัวสมมุติอยู่ จะนึกว่าเราสงบ เราฟุ้งซ่าน เราดี เราชั่ว เราสุข เราทุกข์ อันนี้ก็เป็นภพเป็นชาติอยู่อีก เป็นทุกข์อีก ถ้าสุขหายไปก็กลายเป็นทุกข์ ถ้าความทุกข์หายไปก็เป็นสุข ก็ต้องเวียนไปนรกไปสวรรค์อยู่ ไม่หยุดยั้ง

    พระศาสดาเห็นอาการจิตของท่านเป็นอย่างนี้ นี่แหละท่านว่าภพยังอยู่ ชาติยังอยู่ พรหมจรรย์ยังไม่จบ ท่านจึงยกสังขารขึ้นพิจารณาตามธรรมชาติ เพราะมีปัจจัยอยู่นี่ จึงเกิดอยู่นี่ ตายอยู่นี่ มีอาการที่เคลื่อนไหวไปมาอยู่นี่ ท่านจึงยกสิ่งนี้พิจารณาไป ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงของขันธ์ห้า ทั้งรูปทั้งนามสิ่งทั้งหลายที่จิตไปคิด ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามเป็นจริง ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัสว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายตามใคร จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะมันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง

    พระศาสดาจึงให้มองดูจิตของเรา เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบก็มิได้ดีด้วย ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบก็มิได้ร้ายด้วย เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจนแล้ว รู้ว่าสภาวะเหล่านี้ไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้รอบรู้ของท่านอยู่อย่างนี้

    ไม่ดีใจไม่เสียใจคือไม่เกิดไม่ตาย

    ตัวผู้รู้นี้รู้ตามความเป็นจริง ผู้รู้มิได้ดีใจไปด้วย มิได้เสียใจไปด้วย อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย ตัวที่เกิดที่ตายนั่นแหละเป็นวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่หยุด

    เมื่อจิตผู้ปฏิบัติเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องสงสัย ภพมีไหม ชาติมีไหม ไม่ต้องถามใคร พระศาสดาพิจารณาอาการสังขารเหล่านี้แล้วจึงได้ปล่อยวางสังขาร วางขันธ์ห้าเหล่านี้ เป็นเพียงผู้รับทราบไว้เฉยๆ มันจะดีขึ้นมา ท่านก็ไม่ดีกับมัน เป็นคนดูอยู่เฉยๆ ถ้ามันร้ายขึ้นมา ท่านก็ไม่ร้ายกับมัน ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันขาดจากปัจจัยแล้ว รู้ตามความเป็นจริง ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เกิดไม่มี ตัวนี้ก็เป็นผู้รู้ยืนตัว ตัวนี้แหละเป็นตัวสงบ ตัวนี้เป็นตัวไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ตัวนี้มิใช่เหตุ มิใช่ผล ไม่อาศัยเหตุ ไม่อาศัยผล ไม่อาศัยปัจจัย หมดปัจจัย สิ้นปัจจัย นอกเหนือเกิดตาย นอกสุขเหนือทุกข์ นอกดีเหนือชั่ว หมดเรื่องจะพูด ไม่มีปัจจัยส่งเสริมแล้ว เรื่องที่เราจะพูดว่าจะติดในสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องจิตหรือเจตสิก

    ฉะนั้นเรื่องจิตหรือเรื่องเจตสิกนี้ ก็เป็นเรื่องมีจริงอยู่ เป็นจริงอย่างนั้น แต่พระศาสดาเห็นว่ารู้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้ารู้แล้วเชื่อสิ่งเหล่านั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร หาความสงบไม่ได้ รู้แล้วท่านให้วาง ให้ละ ให้เลิก เพราะจิตเจตสิกนี่เองนำความผิดมาให้เรา นำความถูกมาให้เรา ถ้าเราฉลาดก็นำความถูกมาให้เรา ถ้าเราโง่ก็นำความผิดมาให้เรา เรื่องจิตหรือเจตสิกนี้มันเป็นโลก พระศาสดาก็เอาเรื่องของโลกมาดูโลก เมื่อรู้โลกได้แล้วท่านจึงว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก เมื่อท่านมาดูสิ่งเหล่านี้จึงเป็นอย่างนี้

    ปฏิบัติที่จิต

    ฉะนั้น เรื่องสมถะหรือเรื่องวิปัสสนานี้ ให้ทำให้เกิดในจิตเสีย ให้เกิดในจิตจริงๆ จึงจะรู้จัก ถ้าไปเรียนตามตำราว่าเจตสิกเป็นอย่างนั้นๆ จิตเป็นอย่างนั้นๆ ก็เรียนได้ แต่ว่าใช้ระงับความโลภ ความโกรธ ความหลงของเราไม่ได้ เพราะเรียกไปตามอาการของความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโลภมีอาการอย่างนั้นๆ ความโกรธมีอาการอย่างนั้นๆ ความหลงมีอาการอย่างนั้นๆ ไปเล่าอาการของมันเท่านั้น ก็รู้ไปตามอาการ พูดไปตามอาการ รู้อยู่ฉลาดอยู่ แต่ว่าเมื่อมันเกิดกับใจเรา จะเป็นไปตามอาการหรือไม่ เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจมากระทบ มันก็เกิดเป็นอาการขึ้นกับใจเรา เราติดมันไหม เราวางมันได้ไหม อาการที่ไม่ชอบใจนั้นเกิดขึ้นมาเรารู้แล้ว ผู้รู้เอาความไม่ชอบใจไว้ในใจหรือเปล่า หรือว่าเห็นแล้ววาง

    ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วยังเอาไว้ในใจของเรา ให้เรียนใหม่ เพราะยังผิดอยู่ ถ้ามันยิ่งแล้วมันวาง ให้ดูอย่างนี้ ดูจิตของเราจริงๆ มันจึงจะเป็นปัจจัตตัง ถ้าจะพูดไปตามอาการของจิต อาการของเจตสิกว่ามีเท่านั้นดวง เท่านี้ดวง อาตมาว่ายังน้อยเกินไป มันยังมีมาก ถ้าเราจะไปเรียนสิ่งเหล่านี้ให้รู้แจ้งแทงตลอดหมดนั้น ไม่แจ้งมันจะหมดอย่างไร มันไม่หมดหรอก หมดไม่เป็น

    ฉะนั้น เรื่องการปฏิบัตินี้จึงสำคัญมาก การปฏิบัติอาตมามิได้ปฏิบัติอย่างนั้น ไม่รู้ว่าจิตว่าเจตสิกอะไรหรอก ดูผู้รู้นี่แหละ ถ้ามันคิดชังท่านมหา ทำไมจึงชัง ถ้ามันรักท่านมหา ทำไมจึงรัก อย่างนี้แหละ จะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ไม่รู้ จี้เข้าตรงนี้ จึงแก้เรื่องที่มันรักหรือชังนั่นให้ออกจากใจได้ จะเป็นอะไรก็ตาม ถ้าทำจิตอาตมาให้หยุดรักหรือชังได้ จิตอาตมาก็พ้นจากทุกข์แล้ว จะเป็นอะไรก็ช่าง มันสบายแล้ว ไม่มีอะไรมันก็หยุด เอาอย่างนี้จะพูดให้มากๆ ก็ช่างเขา มากก็ตาม มากก็จะมาอยู่ตรงนี้ และมันไม่มากไปไหน มันมากออกจากตรงนี้ น้อยก็น้อยออกจากตรงนี้ เกิดก็เกิดออกจากนี่ ดับก็ดับอยู่นี่ มันจะไปไหน ท่านจึงให้นามว่าผู้รู้ อาการที่ผู้รู้รู้ตามความเป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงแล้ว มันก็รู้จิตหรือรู้เจตสิกนี่แหละ

    จิต หรือเจตสิกนี้มันหลอกลวงไม่หยุดสักที เราก็ไปเรียนอาการที่มันหลอกลวงนั่นเอง ทั้งเรียนเรื่องมันหลอกลวง ทั้งถูกมันหลอกลวงเราอยู่นั่นเอง จะว่าอย่างไรกัน ทั้งๆ ที่รู้จักมัน มันก็ลวงทั้งๆ ที่รู้ มันเรื่องอย่างนี้ คือเรื่องเราไปรู้จักเพียงชื่อของมัน อาตมาว่าพระพุทธเจ้าไม่ประสงค์อย่างนั้น ทรงประสงค์ว่าทำอย่างไรจึงจะออกจากสิ่งเหล่านี้ได้ ท่านให้ค้นหาเหตุของสิ่งเหล่านี้ขึ้นไป ฉะนั้น อาตมาปฏิบัติโดยไม่รู้จักมาก รู้จักเพียงว่า ศีลเป็นมรรค งามเบื้องต้นคือศีล งามท่ามกลางคือสมาธิ งามเบื้องปลายคือปัญญา สามอย่างนี้ดูไปดูมาก็เป็นอย่างเดียวเท่านั้น แต่ถ้าจะแยกออกเป็น 3 อย่างก็ได้

    ปัญญามาก่อนศีล สมาธิ

    การรักษาศีล ปัญญาต้องมาก่อน แต่เราพูดว่ารักษาศีลก่อน ตั้งศีลก่อน ศีลจะสมบูรณ์อย่างนั้นจะต้องมีปัญญา ต้องค้นคิด กายของเรา วาจาของเรา พิจารณาหาเหตุผล นี่ตัวปัญญาทั้งนั้น ก่อนที่จะตั้งศีลขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญา

    เมื่อพูดตามปริยัติก็ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อาตมาพิจารณาแล้ว การปฏิบัตินี้ต้องปัญญามาก่อน มารู้เรื่องกายวาจา ว่าโทษของมันเกิดขึ้นมาอย่างไร ปัญญานี้ต้องพิจารณาหาเหตุผลควบคุม กายวาจาจึงจะบริสุทธิ์ได้ ถ้ารู้จักอาการของกายวาจาที่สุจริตทุจริตแล้ว ก็เห็นที่ปฏิบัติ ถ้าเห็นที่ปฏิบัติแล้ว ก็ละสิ่งที่ชั่ว ประพฤติสิ่งที่ดี ละสิ่งที่ผิด ประพฤติสิ่งที่ถูกเป็นศีล ถ้ามันละผิดให้ถูกแล้วใจก็แน่วแน่เข้าไป อาการที่ใจแน่วแน่มั่นคง มิได้ลังเลสงสัยในกายวาจาของเรานี้เป็นสมาธิ ความตั้งใจมั่นแล้ว เมื่อตั้งใจมั่นแล้ว รูปเกิดขึ้นมาเสียงเกิดขึ้นมา พิจารณามันแล้ว นี่เป็นกำลังตอนที่สอง เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เกิดขึ้นมาบ่อยๆ ได้พิจารณาบ่อยๆ ด้วยอาการที่เราตั้งใจมิได้เผลอ จึงรู้อาการของสิ่งเหล่านี้ มันเกิดตามความเป็นจริงของมัน เมื่อรู้เรื่อยๆ ไปก็เกิดปัญญา เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ตามสภาวะของมัน สัญญาจะหลุด เลยกลายเป็นตัวปัญญา จึงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา คงรวมเป็นอันเดียวกัน

    ถ้าปัญญากล้าขึ้น ก็อบรมสมาธิให้มั่นคงขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นคงขึ้นไป ศีลก็มั่น ก็สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อศีลสมบูรณ์ขึ้น สมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น ปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน สมกับพระศาสดาตรัสว่า มรรคเป็นหนทาง เมื่อสามอย่างนี้กล้าขึ้นมาเป็นมรรค ศีลก็ยิ่ง สมาธิก็ยิ่ง ปัญญาก็ยิ่ง มรรคนี้จะฆ่ากิเลส โลภเกิดขึ้น โกรธเกิดขึ้น หลงเกิดขึ้น มีมรรคเท่านั้นที่จะเป็นผู้ฆ่าได้
     
  13. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    พักจากการปฏิบัติบ้างอะไรบ้างก็ดีนะ ยิ่งถ้าปฏิบัติออกทะเลหลวงแล้ว ระวัง หลงทางกลับมาไม่ได้ พักบ้างอะไรบ้างก็ดีนะ เอามาให้อ่าน เผื่อเป็นการผ่อนคลาย
     
  14. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    มรรคกับศีล สมาธิ ปัญญา

    ข้อปฏิบัติอริยสัจจ์ คือ ที่ท่านว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือข้อปฏิบัติอยู่ในใจ คำว่าศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นอยู่นี้ ที่นับมือให้ดูนี้ มิใช่ว่ามันอยู่ที่มือ มันอยู่ที่จิตอย่างนั้นต่างหาก

    ทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา เป็นอยู่อย่างนั้น มันหมุนอยู่ตลอดกาล ตลอดเวลา อาศัยรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อะไรเกิดขึ้นมา มรรคนี้จะครอบงำอยู่เสมอ ถ้ามรรคไม่กล้า กิเลสก็ครอบได้ ถ้ามรรคกล้า มรรคก็ฆ่ากิเลส ถ้ากิเลสกล้ามรรคอ่อน กิเลสก็ฆ่ามรรค ฆ่าใจเรานี่เอง ถ้ารูป เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้นมาในใจ เราไม่รู้เท่ามัน มันก็ฆ่าเรา มรรคกับกิเลสเดินเคียงกันไปอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติคือใจ จำเป็นจะต้องเถียงกันไปอย่างนี้ตลอดทาง คล้ายมีคนสองคนเถียงกัน แท้จริงเป็นมรรคกับกิเลสเท่านั้นเอง ที่เถียงกันอยู่ในใจของเรา มรรคมาคุมเราให้พิจารณากล้าขึ้น เมื่อเราพิจารณาได้ กิเลสก็แพ้เรา เมื่อมันแข็งมาอีก ถ้าเราอ่อน มรรคก็หายไป กิเลสเกิดขึ้นแทน ย่อมต่อสู้กันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะมีฝ่ายชนะ จึงจะจบเรื่องได้ ถ้าพยายามตรงมรรค มันก็ฆ่ากิเลสอยู่เรื่อยไป ผลที่สุด ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในใจอย่างนี้ นั่นแหละคือเราได้ปฏิบัติอริยสัจจ์

    ทุกข์เกิดขึ้นมาด้วยวิธีใด ทุกข์ก็เกิดมาจากเหตุ คือสมุทัยเป็นเหตุ “เหตุอะไร” เหตุคือศีล สมาธิ ปัญญา นี้อ่อน มรรคก็อ่อน เมื่อมรรคอ่อน กิเลสก็เข้าครอบได้ เมื่อครอบได้ก็เป็นตัวสมุทัย ทุกข์ก็เกิดขึ้นมา ถ้าทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ตัวที่จะดับสิ่งเหล่านี้ก็หายไปหมด อาการที่ทำมรรคให้เกิดขึ้นคือศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อศีลยิ่ง สมาธิยิ่ง ปัญญายิ่ง นั่นก็คือมรรคเดินอยู่เสมอ มันจะทำลายตัวสมุทัย คือ เหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้ ระหว่างที่ทุกข์เกิดไม่ได้ เพราะมรรคฆ่ากิเลสอยู่นี้ ในระหว่างกลางนี้ตรงจิตที่ดับทุกข์ ทำไมจึงดับทุกข์ได้ เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญายิ่ง คือมรรคนี้ไม่หยุด อาตมาว่าปฏิบัติอย่างนี้ เรื่องจิต เรื่องเจตสิกไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน มันมารวมอยู่นี่ ถ้าจิตพ้นสิ่งเหล่านี้ก็แน่แล้ว มันจะไปทางไหน ไม่ต้องไปไล่มันมาก

    ต้นกะบกต้นนี้ใบเป็นอย่างไร หยิบมาดูใบเดียวเท่านั้นก็เข้าใจได้แล้ว มันมีสักหมื่นใบก็ช่างมัน ใบกะบกเป็นอย่างนี้ดูใบเดียวเท่านี้ ใบอื่นก็เหมือนกันหมด ถ้าจะดูลำต้นกะบกต้นอื่น ดูต้นเดียวก็รู้ได้หมด ดูต้นเดียวเท่านั้น ต้นอื่นก็เหมือนกันอีกเช่นกัน ถึงมันจะมีแสนต้นก็ตาม อาตมาดูเข้าใจต้นเดียวเท่านั้นก็พอแล้ว อาตมาคิดว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้

    มรรคเป็นเหตุ ความสงบเป็นผล

    ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่ามรรค อันมรรคนี้ยังมิใช่ศาสนา อีกซ้ำยังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาต้องการอย่างแท้จริงเลย แต่ก็เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไป เหมือนกับที่ท่านมหามาจากกรุงเทพฯ จะมาวัดหนองป่าพง ท่านมหาคงไม่ต้องการหนทาง ต้องการถึงวัดต่างหาก แต่หนทางเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านมหา ที่จะต้องมา ฉะนั้น ถนนที่ท่านมหามานั้นมันไม่ใช่วัด มันเป็นเพียงถนนมาวัดเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องมาตามถนน จึงจะมาถึงวัดได้

    ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ถ้าจะพูดว่านอกศาสนาแต่ก็เป็นถนนเข้าไปถึงศาสนา เมื่อทำศีลให้ยิ่ง สมาธิให้ยิ่ง ปัญญาให้ยิ่งแล้ว ผลคือความสงบเกิดขึ้นมา นั่นเป็นจุดที่ต้องการ เมื่อสงบแล้วถึงได้ยินเสียงก็ไม่มีอะไร เมื่อถึงความสงบอันนี้แล้วก็ไม่มีอะไรจะทำ ฉะนั้นพระศาสดาจึงให้ละ จะเป็นอะไรก็ไม่ต้องกังวล อันนี้เป็นปัตจัตตังแล้วจริงๆ มิได้เชื่อใครอีก

    หลักของพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีอะไร ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีปาฏิหารย์อย่างอื่นทั้งหลายทั้งปวง สิ่งเหล่านี้พระศาสดามิได้สรรเสริญ แต่มันก็อาจทำได้ เป็นได้ สิ่งเหล่านี้เป็นโมหธรรม พระศาสดาไม่สรรเสริญ ท่านสรรเสริญผู้ที่ทำให้พ้นจากทุกข์ได้เท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติ อุปกรณ์เครื่องปฏิบัตินั้นได้แก่ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา จะต้องฝึกหัดอย่างนี้

    อันนี้คือทางดำเนินเข้าไป ก่อนจะถึงได้ต้องมีปัญญามาก่อนนี้เป็นมรรค มรรคมีองค์แปดประการ รวมแล้วได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ากิเลสหุ้มขึ้นมาก็เกิดไม่ได้ ถ้ามรรคกล้าก็ฆ่ากิเลส สองอย่างเท่านี้ที่จะต่อสู้กันไปตลอดจนปลายทางทีเดียว รบกันไปเรื่อย ไม่มีหยุด ไม่มีสิ้นสุด

    การปฏิบัติต้องอาศัยความอดทน

    อุปกรณ์เครื่องปฏิบัติ ก็เป็นของลำบากอยู่ ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้น ต้องทำเอง ให้มันเกิดมาเอง เป็นเอง

    ละทิ้งความคิดทั้งหมด

    นักปริยัติชอบสงสัย เช่น เวลานั่งสมาธิ ถ้าจิตสงบปั๊บ เอ มันเป็นปฐมฌานละกระมัง ชอบคิดอย่างนี้ พอนึกอย่างนี้ จิตมันถอนเลยถอนหมดเลย เดี๋ยวก็นึกว่าเป็นทุติยฌานแล้วกระมัง อย่าเอามาคิด พวกนี้มันไม่มีป้ายบอก มันคนละอย่าง ไม่มีป้ายบอกว่า “นี่ทางเข้าวัดหนองป่าพง” มิได้อ่านอย่างนั้น มันไม่บอก มีแต่พวกเกจิอาจารย์มาเขียนไว้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตยฌาน มาเขียนไว้ทางนอก ถ้าจิตเราเข้าไปสงบถึงนั้นแล้วไม่รู้จักหรอก รู้อยู่แต่ว่ามันไม่เหมือนปริยัติที่เราเรียน ถ้าผู้เรียนปริยัติแล้วชอบกำเข้าไปด้วย ชอบนั่งคอยสังเกตว่า เอ เป็นอย่างไร มันเป็นปฐมฌานแล้วหรือยัง นี่มันถอนออกแล้ว ไม่ได้ความ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันอยาก พอตัณหาเกิด มันจะมีอะไร มันก็ถอนออกพร้อมกัน นี่แหละเราทั้งหลายต้องทิ้งความคิดความสงสัยให้หมด ให้เอาจิตกับกายวาจาล้วนๆ เข้าปฏิบัติ ดูอาการของจิต อย่าแบกคัมภีร์เข้าไปด้วย ไม่มีคัมภีร์ในนั้น ขืนแบกเข้าไปมันเสียหมด เพราะในคัมภีร์ไม่มีสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

    ผู้ที่เรียนมากๆ รู้มากๆ จึงไม่ค่อยสำเร็จ เพราะมาติดตรงนี้ ความจริงแล้วเรื่องจิตใจอย่าไปวัดออกมาทางนอก มันจะสงบก็ให้มันสงบไป ความสงบถึงที่สุดมันมีอยู่ ปริยัติของอาตมามันน้อย เคยเล่าให้มหาอมรฟัง เมื่อคราวปฏิบัติในพรรษาที่ ๓ นั้น มีความสงสัยอยู่ว่าสมาธิเป็นอย่างไรหนอ คิดหาไป นั่งสมาธิไป จิตยิ่งฟุ้ง ยิ่งคิดมาก เวลาไม่นั่งค่อยยังชั่ว แหม มันยากจริงๆ ยิ่งยากยิ่งทำไม่หยุด ทำอยู่อย่างนั้น ถ้าอยู่เฉยๆ แล้วสบาย เมื่อตั้งใจว่าจะทำให้จิตเป็นหนึ่งยิ่งเอาใหญ่ มันยังไงกัน ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

    ต่อมาจึงคิดได้ว่า มันคงเหมือน……….ใจเรานี้กระมัง ถ้าว่าจะตั้งให้หายใจน้อย หายใจใหญ่ หรือ………พอดี ดูมันยากมาก แต่เวลาเดินอยู่ไม่รู้ว่าหายใจเข้าออกตอนไหน ในเวลานั้นดูมันสบายแท้ จึงรู้เรื่องว่า อ้อ อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เวลาเราเดินไปตามปกติมิได้กำหนดลมหายใจ มีใครเคยเป็นทุกข์ถึงลมหายใจไหม? ไม่เคย มันสบายจริงๆ ถ้าจะไปนั่งตั้งใจเอาให้มันสงบ มันก็เลยเป็นอุปาทานยึดใส่ ตั้งใส่ หายใจสั้นๆ ยาวๆ เลย ไม่เป็นอันกำหนด จิตเกิดมีทุกข์ยิ่งกว่าเก่า เพราะอะไร เพราะความตั้งใจของเรากลายเป็นอุปาทานเข้าไปยึด เลยไม่รู้เรื่อง มันลำบากเพราะเราเอาความอยากเข้าไปด้วย

    สภาวธรรม เกิดเอง เป็นเอง พอดี

    วันหนึ่งขณะที่เดินจงกรมอยู่ เวลาประมาณห้าทุ่มกว่า รู้สึกแปลกๆ มันแปลกมาแต่ตอนกลางวันแล้ว รู้สึกว่าไม่คิดมาก มีอาการสบายๆ เขามีงานอยู่ในหมู่บ้าน ไกลประมาณสิบเส้นจากที่พักซึ่งเป็นวัดป่า เมื่อเดินจงกรมเมื่อยแล้ว เลยมานั่งที่กระท่อม มีฝ่าแถบตองบังอยู่ เวลานั่งรู้สึกว่าคู้ขาเข้าเกือบไม่ทัน เอ๊ะ จิตมันอยากสงบ มันเป็นเองของมัน พอนั่งจิตก็สงบจริงๆ รู้สึกตัวหนักแน่น เสียงเขาร้องรำอยู่ในบ้าน มิใช่ว่าจะไม่ได้ยิน ยังได้ยินอยู่ แต่จะทำให้ไม่ได้ยินก็ได้ แปลกเหมือนกัน เมื่อไม่เอาใจใส่ก็เงียบไม่ได้ยิน จะให้ได้ยินก็ได้ ไม่รู้สึกรำคาญ ภายในจิตเหมือนวัตถุสองอย่างตั้งอยู่ไม่ติดกัน ดูจิตกับอารมณ์ตั้งอยู่คนละส่วน เหมือนกระโถนกับกาน้ำนี่ ก็เลยเข้าใจว่า เรื่องจิตเป็นสมาธินี่ ถ้าน้อมไปก็ได้ยินเสียง ถ้าว่างก็เงียบ ถ้ามันมีเสียงขึ้นก็ดูตัวผู้รู้ ขาดกันคนละส่วน

    จึงพิจารณาว่า “ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ มันจะใช่ตรงไหนอีก” มันเป็นอย่างนี้ไม่ติดกันเลย ได้พิจารณาอย่างนี้เรื่อยๆ จึงเข้าใจว่า อ้อ! อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เรียกว่า สันตติ คือ ความสืบต่อ ขาดมันเลยเป็นสันติ แต่ก่อนมันเป็นสันตติ ทีนี้เลยกลายเป็นสันติออกมา จึงนั่งทำความเพียรต่อไป จิตในขณะที่นั่งทำความเพียรคราวนั้น ไม่ได้เอาใจใส่ในสิ่งอื่นเลย ถ้าเราจะหยุดความเพียรก็หยุดได้ตามสบาย เมื่อเราหยุดความเพียร เจ้าเกียจคร้านไหม เจ้าเหนื่อยไหม เจ้ารำคาญไหม เปล่า ไม่มี ตอบไม่ได้ ของเหล่านี้ไม่มีในจิต มีแต่ความพอดีหมดทุกอย่างในนั้น

    ประสบการณ์การรู้ธรรม ๓ วาระ

    ถ้าเราจะหยุดก็หยุดเอาเฉยๆ นี่แหละ ต่อมาจึงหยุดพัก หยุดแต่การนั่งเท่านั้น ใจเหมือนเก่ายังไม่หยุด เลยดึงเอาหมอนลูกหนึ่งมาวางไว้ ตั้งใจจะพักผ่อน เมื่อเอนกายลงจิตยังสงบอยู่อย่างเดิม พอศีรษะจะถึงหมอน มีอาการน้อมในใจไม่รู้มันน้อมไปไหน แต่มันน้อมเข้าไป น้อมเข้าไป คล้ายกับมีสายไฟอันหนึ่งไปถูกสวิตช์ไฟเข้า ไปดันกับสวิตช์อันนั้น กายก็ระเบิดเสียงดังมาก ความรู้ที่มีอยู่นั้นละเอียดที่สุด พอมันผ่านตรงจุดนั้นก็หลุดเข้าไปข้างในโน้น ไปอยู่ข้างในจึงไม่มีอะไร แม้อะไรๆ ทั้งปวงก็ส่งเข้าไปไม่ได้ ส่งเข้าไปไม่ถึง ไม่มีอะไรเข้าไปถึง หยุดอยู่ข้างในสักพักหนึ่ง ก็ถอยออกมา คำว่าถอยออกมานี้ ไม่ใช่ว่าเราจะให้มันถอยออกมาหรอก เราเป็นเพียงผู้ดูเฉยๆ เราเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้น อาการเหล่านี้เป็นออกมาๆ ก็มาถึงปกติจิตธรรมดา

    เมื่อเป็นปกติดังเดิมแล้ว คำถามก็มีขึ้นว่า “นี่มันอะไร?” คำตอบเกิดขึ้นว่า “สิ่งเหล่านี้ของเป็นเอง ไม่ต้องสงสัยมัน” พูดเท่านี้จิตก็ยอม เมื่อหยุดอยู่พักหนึ่งก็น้อมเข้าไปอีก เราไม่ได้น้อม มันน้อมเอง พอน้อมเข้าไปๆ ก็ไปถูกสวิตช์ไฟดังเก่า ครั้งที่สองนี้ร่างกายแตกละเอียดหมด หลุดเข้าไปข้างในอีก เงียบ ยิ่งเก่งกว่าเก่า ไม่มีอะไรส่งเข้าไปถึง เข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมันพอสมควร แล้วก็ถอยออกมาตามสภาวะของมัน ในเวลานั้นมันเป็นอัตโนมัติ มิได้แต่งว่า จงเป็นอย่างนั้น จงเป็นอย่างนี้ จงออกอย่างนี้ จงเข้าอย่างนั้น ไม่มี เราเป็นเพียงผู้ทำความรู้ ดูอยู่เฉยๆ มันก็ถอยออกมาถึงปกติ มิได้สงสัย แล้วก็นั่งพิจารณาน้อมเข้าไปอีก ครั้งที่สามนี้โลกแตกละเอียดหมด ทั้งพื้นปฐพี แผ่นดิน แผ่นหญ้า ต้นไม้ ภูเขา โลก เป็นอากาศธาตุหมด ไม่มีคน หมดไปเลย ตอนสุดท้ายนี้ไม่มีอะไร

    เมื่อเข้าไปอยู่ตามปรารถนาของมัน ไม่รู้ว่ามันอยู่อย่างไร ดูยาก พูดยาก ของสิ่งนี้ไม่มีอะไรจะมาเปรียบปานได้เลย นานที่สุดอยู่ในนั้น พอถึงกำหนดเวลาก็ถอนออกมา คำว่า ถอน เราก็มิได้ถอนหรอก มันถอนของมันเอง เราเป็นผู้ดูเท่านั้น ก็เลยออกมาเป็นปกติ สามขณะนี้ใครจะเรียกว่าอะไร ใครรู้ เราจะเรียกอะไรเล่า

    พลิกโลกพลิกแผ่นดิน

    ที่เล่ามานี้เรื่องจิตตามธรรมชาติทั้งนั้น อาตมามิได้กล่าวถึงจิต ถึงเจตสิก ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น มีศรัทธาทำเข้าไปจริงๆ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เมื่อถึงวาระที่เป็นอย่างนี้ออกมาแล้ว โลกนี้ แผ่นดิ้นนี้มันพลิกไปหมด ความรู้ความเห็นมันแปลกไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ในระยะนั้นถ้าคนอื่นเห็น อาจจะว่าเราเป็นบ้าจริงๆ ถ้าผู้ควบคุมสติไม่ดีอาจเป็นบ้าได้นะ เพราะมันไม่เหมือนเก่าสักอย่างเลย เห็นคนในโลกไม่เหมือนเก่า แต่มันก็เป็นเราผู้เดียวเท่านั้น แปลกไปหมดทุกอย่าง ความนึกคิดทั้งหลายทั้งปวงนั้นเขาคิดไปทางโน้น แต่เราคิดไปทางนี้ เขาพูดมาทางนี้ เราพูดไปทางโน้น เขาขึ้นทางโน้น เราลงทางนี้ มันต่างกับมนุษย์ไปหมด มันก็เป็นของมันเรื่อยๆ ไป

    ท่านมหาลองไปทำดูเถอะ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปดูไกลอะไรหรอก ดูจิตของเราต่อๆ ไป มันอาจหาญที่สุด อาจหาญมาก นี่คือเรื่องกำลังของจิต เรื่องกำลังของจิตมันเป็นได้ถึงขนาดนี้

    ทางแยกของวิปัสสนากับอิทธิปาฏิหาริย์

    นี่เป็นเรื่องกำลังของสมาธิ ขณะนี้ยังเป็นกำลังของสมาธิอยู่ ถ้าเป็นสมาธิชั้นนี้มันสุดของมันแล้ว มันไม่สะกด มันไม่เป็นขณะ มันสุดแล้ว ถ้าจะทำวิปัสสนาที่นี่ คล่องแล้วจะใช้ในทางอื่นก็ได้ ตั้งแต่บัดนี้ต่อไปจะใช้ฤทธิ์ ใช้เดช ใช้ปาฏิหาริย์ ใช้อะไรๆ อาจใช้ได้ทั้งนั้น นักพรตทั้งหลายเอาไปใช้ ใช้ทำน้ำมนต์น้ำพร ใช้ทำตะกรุด คาถาได้หมดทั้งนั้น ถึงขั้นนี้แล้วมันไปของมันได้ มันก็ดีไปอย่างนั้นแหละ ดีเหมือนกับเหล้าดีกินแล้วก็เมา ดีไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้

    ตรงนี้เป็นที่แวะ พระศาสดาท่านก็แวะตรงนี้ นี่เป็นแท่นที่จะทำวิปัสสนาแล้วเอาไปพิจารณา ทีนี้สมาธิไม่ต้องเท่าไร ดูอาการภายนอกเลย ดูเหตุผลพิจารณาเรื่อยไป ถ้าเป็นอย่างนี้ เราเอาความสงบนี้มาพิจารณา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบอารมณ์ แม้จะดี จะชั่ว สุข ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บเอา ลูกไหนเน่าเราไม่เอาเอาแต่ลูกที่ดีๆ ไม่เปลืองแรง เพราะไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วง คอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น

    วิปัสสนาคือพิจารณาให้เกิดปัญญา

    ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาแล้วเอาความรู้มาให้เราหมด มิได้ไปปรุงแต่งมัน ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ มันมาเอง เรามีความสงบ มีปัญญา สนุกเฟ้น สนุกเลือกเอา ใครจะว่าดี ว่าชั่ว ว่าร้าย ว่าโน่น ว่านี่ สุข ทุกข์ ต่างๆ นานา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นกำไรของเราหมด เพราะมีคนขึ้นเขย่าให้มะม่วงหล่นลงมา เราก็สนุกเก็บเอา ไม่กลัว จะกลัวทำไม มีคนขึ้นเขย่าลงมาให้เรา ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เปรียบเหมือนมะม่วงหล่นลงมาหาเรา เราเอาความสงบมาพิจารณาเก็บเอา เรารู้จักแล้ว ลูกไหนดี ลูกไหนเน่า เมื่อเริ่มพิจารณาสิ่งเหล่านี้ อาการที่พิจารณาออกจากความสงบเหล่านี้แหละเรียกว่าปัญญา เป็นวิปัสสนา ไม่ได้แต่งมันหรอกวิปัสสนานี้ถ้ามีปัญญา มันเป็นของมันเอง ไม่ต้องไปตั้งชื่อมัน ถ้ามันรู้แจ้งน้อยก็เรียกว่า วิปัสสนาน้อย ถ้ามันรู้อีกขนาดหนึ่งก็เรียกว่าวิปัสสนากลาง ถ้ามันรู้ตามความเป็นจริง ก็เรียกว่าวิปัสสนาถึงที่สุด เรื่องวิปัสสนานี้อาตมาเรียกปัญญา การไปทำวิปัสสนาจะทำเอาเดี๋ยวนั้นๆ ทำได้ยาก มันต้องเดินมาจากความสงบ เรื่องมันเป็นเองทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องเราจะไปบังคับ
     
  15. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    หน้าที่ของเราคือทำความเพียร

    พระศาสดาจึงตรัสว่า เรื่องของเป็นเอง เมื่อเราทำไปถึงชั้นนี้แล้วเราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเรา แต่เราไม่หยุดทำความเพียร จะช้าหรือเร็วเราบังคับไม่ได้ เหมือนปลูกต้นไม้ มันรู้จักของมัน มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เมื่อทำแล้วจึงเกิดผลขึ้นมาเหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย รักษาแมลงให้มันเท่านั้น นี่เรื่องของเรา นี่เรื่องศรัทธาของเรา ส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปถึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ ผิดเรื่อง เราต้องให้น้ำ เอาปุ๋ยใส่ให้

    ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบาย จะถึงชาตินี้ก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็ตาม เรามีศรัทธาอย่างนี้แล้ว มีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้ จะเร็วหรือช้านั้นเป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเรา ทีนี้ก็รู้สึกสบาย เหมือนขับรถม้า ก็มิได้เอารถไปก่อนม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า ถ้าไถนาก็เดินก่อนควาย หมายความว่าใจมันเร็วมาก ร้อนมาก ทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เดินก่อน ต้องเดินตามหลังควาย

    ข้าเอาน้ำให้กิน เอาปุ๋ยให้กิน กินไปเถอะ มดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้า เท่านั้นแหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเอง เมื่อมันงามแล้ว เราจะบังคับว่าแกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าทำ เราจะเป็นทุกข์เปล่าๆ มันจะเป็นของมันเอง เมื่อมันเป็นดอกแล้ว เราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้ อย่าไปบังคับมัน ทุกข์จริงนา ทุกข์จริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเรารู้จักหน้าที่ของเรา ของเขา หน้าที่ของใครของมัน จิตก็จะรู้หน้าที่การงาน ถ้าจิตไม่รู้หน้าที่การงาน ก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเอง ให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้น นั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาทั้งนั้น

    ถ้ารู้อย่างนี้คิดอย่างนี้ รู้ว่ามันหลงมันผิด รู้อย่างนี้แล้ว ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องบุญ วาสนา บารมี ต่อไป เราก็ทำของเราไป ไม่ต้องกลัวว่าจะนาน ร้อยชาติ พันชาติ ก็ช่าง มันจะชาติไหนก็ตาม ปฏิบัติสบายๆ นี่แหละ

    รู้ความจริงแล้ว ทำผิดไม่ได้

    จิตถ้าตกกระแสแล้วไม่กลับ ความชั่วนิดหน่อยนั้นพ้นแล้ว โสดา (โสดาบันบุคคล = พระอริยชั้นต้น) ท่านว่าจิตน้อมไปแล้ว ท่านจึงว่าพวกเหล่านี้จะมาสู่อบายอีกไม่ได้ มาตกนรกอีกไม่ได้ จะตกได้อย่างไร จิตละบาปแล้ว เห็นโทษในบาปแล้ว จะให้ทำความชั่วทางกายวาจาอีกนั้นทำไม่ได้ เมื่อทำบาปไม่ได้ ทำไมจึงจะไปสู่อบาย ทำไมจึงจะไปตกนรกได้ มันน้อมเข้าไปแล้ว เมื่อจิตน้อมเข้าไป มันก็รู้จักหน้าที่ รู้จักการงาน รู้จักปฏิปทา รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา รู้จักกายของเรา รู้จักจิตของเรา รู้จักรูปเรา นามเรา สิ่งที่ควรละวาง ก็ละไป วางไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสงสัย

    เห็นอสุภะในทุกคน

    นี่เรื่องที่อาตมาได้ปฏิบัติมา ไม่ใช่ว่าจะไปทำให้มันละเอียดหลายสิ่งหลายประการ เอาให้ลมละเอียดอยู่ในใจนี้ ถ้าเห็นรูปนี้ขอบรูปนี้เพราะอะไร ก็เอารูปนี้มาพิจารณาดูว่า เกสาคือผม โลมาคือขน นขาคือเล็บ ทันตาคือฟัน ตะโจคือหนัง พระพุทธเจ้าให้เอาพวกนี้มาพิจารณาย้ำเข้าไป แยกออก แจกออก เผามันออก ลอกมันออก ทำอยู่อย่างนี้ เอาอยู่อย่างนี้ จนมันไม่ไปไหน มองพวกเดียวกัน เช่น พระเณรเวลาเดินบิณฑบาต เห็นพระเห็นคน ต้องกำหนดให้เป็นร่างผีตายซากผีตายเดินไปก่อนเรา เดินไปข้างหน้า เดินไปเปะๆ ปะๆ กำหนดมันเข้า ทำความเพียรอยู่อย่างนั้น เจริญอยู่อย่างนั้น เห็นผู้หญิงรุ่นๆ นึกชอบขึ้นมา ก็กำหนดให้เป็นผี เป็นเปรต เป็นของเน่าเหม็นไปหมด ทุกคนไม่ให้เข้าใกล้ ให้ในใจของเราเป็นอยู่อย่างนี้ ถึงอย่างไรมันก็ไม่อยู่หรอก เพราะมันเป็นของเปื่อย ของเน่า ให้เราเห็นแน่นอน

    พิจารณาให้มันแน่ให้มันเป็นอยู่ในใจอย่างนี้แล้ว ไปทางไหนก็ไม่เสีย ให้ทำจริงๆ เห็นเมื่อใดก็เท่ากับมองเห็นซากศพ เห็นผู้หญิงก็ซากศพ เห็นผู้ชายก็ซากศพ ตัวเราเองก็เป็นซากศพด้วยเหมือนกัน เลยมีแต่ของอย่างนี้ทั้งนั้น พยายามเจริญให้มาก บำเพ็ญให้อยู่ในใจนี้มากขึ้นอีก อาตมาว่ามันสนุกจริงๆ ถ้าเราทำ แต่ถ้าไปมัวอ่านตำราอยู่มันยาก ต้องทำเอาจริงๆ ทำให้มีกรรมฐานในตัวเรา

    อย่ามักง่ายข้ามขั้นตอน

    การเรียนอภิธรรมนั่นก็ดีอยู่ แต่จะต้องไม่ติดตำรา มุ่งเพื่อรู้ความจริง หาทางพ้นทุกข์จึงจะถูกทาง เช่น ในปัจจุบันมีการสอน การเรียนวิปัสสนาแบบต่างๆ หลายๆ อาจารย์ อาตมาว่าวิปัสสนานี่มันทำไม่ได้ง่ายๆ จะไปทำเอาเลยไม่ได้ ถ้าไม่ดำเนินไปจากศีล ลองดูก็ได้ เรื่องศีล เรื่องสิกขาบทบัญญัตินี่ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อยแล้ว ไปไม่รอด เพราะเป็นการข้ามมรรค บางคนพูดว่า สมถะไม่ต้องไปทำ ข้าไปวิปัสสนาเลยคนมักง่ายหรอกที่พูดเช่นนั้น เขาว่าศีลไม่ต้องเกี่ยว ก็การรักษาศีลนี้มันยากไม่ใช่เล่น ถ้าจะข้ามไปเลยมันก็สบายเท่านั้นอะไรที่ยากแล้วข้ามไป ใครๆ ก็อยากข้าม

    มีพระรูปหนึ่งบอกว่าเป็นนักปฏิบัติ เมื่อมาขออยู่กับอาตมา ถามถึงระเบียบปฏิบัติจึงอธิบายให้ฟังว่า เมื่อมาอยู่กับผมจะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ ผมถือตามวินัย ท่านพูดว่าท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย อาตมาบอกว่าผมไม่ทราบกับท่าน ท่านเลยถามว่า ถ้าผมจะใช้เงินทองแต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม อาตมาตอบว่าได้ ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้ ท่านจะพูดเอาเฉยๆ เพราะท่านขี้เกียจรักษาของจุกๆ จิกๆ นี่มันยาก เมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้วผมจึงเชื่อ ถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกระทอ (เข่งเล็ก) ลองดู มันจะไม่เค็มจริงๆ หรือ เรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ ไม่ใช่เรื่องพูดเอาคาดคะเนเอา ไม่ใช่ ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้ ท่านจึงลาไป

    ศีลและสมถะต้องทำให้มาก

    เรื่องศีล เรื่องธุดงควัตร พวกเราต้องพยายามปฏิบัติ พวกญาติโยมก็เหมือนกัน ถึงปฏิบัติอยู่บ้านก็ตาม พยายามให้มีศีลห้า กายวาจาของเราพยายามให้เรียบร้อย พยายามดีๆ เถอะ ค่อยทำค่อยไป

    การทำสมถะนี้ อย่านึกว่าไปทำครั้งหนึ่งสองครั้งแล้วมันไม่สงบก็เลยหยุด ยังไม่ถูก ต้องทำนานอยู่นะ ทำไมจึงนาน คิดดูสิเราปล่อยมานี่กี่ปี เราไม่ได้ทำ มันว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมัน มันว่าไปทางนี้ก็วิ่งตามมัน ที่นี้จะมาหยุดให้มันหยุดอยู่เท่านี้ เดือนสองเดือนจะให้มันนิ่ง มันก็ยังไม่พอ คิดดูเถิด เรื่องการทำจิตใจให้เราเข้าใจว่า สงบในเรื่อง สงบในอารมณ์ ทีแรกพอเกิดอารมณ์ ใจไม่สงบ ใจวุ่นวาย ทำไมจึงวุ่นวาย เพราะมีตัณหา ไม่อยากให้คิด ไม่อยากให้มีอารมณ์ ความไม่อยากนี่แหละตัวอยาก คือ วิภวตัณหา ยิ่งไม่อยากเท่าไร มันยิ่งชวนกันมา “เราไม่อยากมันทำไมจึงมา ไม่อยากให้มันเป็นทำไมมันเป็น” นั้นแหละเราอยากให้มันเป็น เพราะเราไม่รู้จักใจเจ้าของ แหม เล่นอยู่กับพวกนี้กว่าจะรู้ตัวว่าผิดก็นานโขอยู่ คิดๆ ดูแล้ว โอ เราไปเรียกมันมามันจึงมา ไม่อยากให้มันเป็น อยากให้มันสงบ ไม่อยากให้มันฟุ้งซ่าน นี่แหละความอยากทั้งแท่งละ

    มีสติดูจิต เห็นความคิด เกิดปัญญา

    ช่างมันเถอะ เราทำของเราไป เมื่อมีอารมณ์อะไรมาก็ให้พิจารณามันไป เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทิ้งลงใส่สามขุมนี่เลย แล้วคิดไป พิจารณาไป เรื่องอารมณ์นั้น โดยมากเรามีแต่เรื่องคิด คิดตามอารมณ์ เรื่องคิดกับเรื่องปัญญามันคนละอย่าง มันพาไปอย่างนั้นก็คิดตามมันไป ถ้าเป็นเรื่องความคิดมันไม่หยุด แต่เรื่องปัญญาแล้วหยุดอยู่นิ่งไม่ไปไหน เราเป็นผู้รับรู้ไว้ เมื่ออารมณ์อันนี้อันนั้นมาจะเป็นอย่างนี้อย่างนั้น เรารู้ๆ ไว้เมื่อถึงที่สุดแล้วก็ว่า เออ เรื่องเจ้าคิด เจ้านึก เจ้าวิตกวิจารมานี้ เรื่องเหล่านี้มันไม่เป็นแก่นสารทั้งหมด เป็นเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น ตัดบทมันเลย ทิ้งลงไตรลักษณ์เลยยุบไป ครั้นนั่งต่อไปอีก มันก็เกิดขึ้นอีก เป็นมาอีก เราก็ดูมันไป สะกดรอยมันไป

    เปรียบเหมือนกับเราเลี้ยงควาย หนึ่งต้นข้าว สองควาย สามเจ้าของ ควายจะต้องกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกิน จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของ การปฏิบัติเป็นเหมือนอย่างนี้ไม่ผิด เปรียบเทียบดู เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมัน ควายมันได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอนะ ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง ก็เอาไม้ค้อนฟาดมันจริงๆ มันจะไปไหนเสีย มันจะได้กินต้นข้าวหรือ แต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกัน ถ้าขืนนอนหลับ ต้นข้าวหมดแน่ๆ

    เรื่องปฏิบัติก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ ผู้ใดตามดูจิต ผู้นั้นจักพ้นบ่วงของมาร จิตก็เป็นจิตแล้วใครจะมาดูจิตอีกเล่า เดี๋ยวก็งงงันเท่านั้น จิตอันหนึ่ง ผู้รู้อันหนึ่ง รู้ออกมาจากจิตนั่น รู้จิตเป็นอย่างไร สบอารมณ์เป็นอย่างไร ปราศจากอารมณ์เป็นอย่างไร ผู้ที่รู้อันนี้ท่านเรียกว่าผู้รู้ ผู้รู้จะตามดูจิต ผู้รู้นี้จะเกิดปัญญา จิตนั้นคือความนึกคิดถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไป ถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีกเหมือนกับควายเรานั่นแหละ มันจะไปทางไหนเราก็ดูมันอยู่มันจะไปไหนได้ มันจะไปใกล้ต้นข้าวก็ตวาดมันอยู่ ว่าไม่ฟังก็ถูกไม้ค้อนเท่านั้น ทรมานมันอยู่อย่างนี้

    จิตก็เหมือนกัน เมื่อถูกอารมณ์มันจะเข้าจับทันที เมื่อมันเข้าจับ ผู้รู้ต้องสอน ต้องพิจารณามันว่าดีไม่ดี อธิบายเหตุผลให้มันฟัง มันไปจับสิ่งอื่นอีก มันนึกว่าเป็นของน่าเอา ผู้รู้นี้ก็สอนมันอีก อธิบายให้มีเหตุผล จนมันทิ้ง อย่างนี้จึงสงบได้ จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอาทั้งนั้น มันก็หยุดเท่านั้น มันขี้เกียจเหมือนกัน เพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอ ทรมานมันเข้า ทรมานเข้าไปถึงจิต หัดมันอยู่อย่างนั้นแหละ

    รู้ตัวเองแล้วสบาย

    ตั้งแต่ครั้งอาตมาปฏิบัติอยู่ในป่า ก็ปฏิบัติอย่างนี้ สอนศิษย์ทั้งหลายก็สอนอย่างนี้ เพราะต้องการเห็นความจริง ไม่ต้องการเห็นในตำรา ต้องการเห็นในใจเจ้าของว่า ตัวเองหลุดพ้นจากสิ่งที่คิดนั้นหรือยัง เมื่อหลุดแล้วก็รู้จัก เมื่อยังไม่หลุดก็พิจารณาเหตุผลจนรู้เรื่องของมัน ถ้ารู้เรื่องของมันก็หลุดเอง ถ้ามีอะไรมาอีก ติดอะไรอีก ก็พิจารณาสิ่งนั้นอีก ไม่หลุดไม่ไป ย้ำมันอยู่ตรงนี้ มันจะไปไหนเสีย อาตมาชอบให้เป็นอย่างนั้นในตัวเอง เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู-หิ วิญญูชนทั้งหลายรู้เฉพาะตน ก็ต้องหาเอาจากเจ้าของ ให้รู้จากตัวเองนี้แหละ

    ถ้าเชื่อตัวเองก็รู้สึกสบาย เขาว่าไม่ดีก็สบาย เขาว่าดีก็สบาย เขาจะว่าอย่างไรก็สบายอยู่ เพราะอะไรจึงสบาย เพราะรู้จักตัวเอง ถ้าคนอื่นว่าเราดี แต่เราไม่ดี เราจะเชื่อเขาอย่างนั้นหรือ เราก็ไม่เชื่อเขา เราปฏิบัติของเราอยู่ คนไม่เชื่อตนเอง เมื่อเขาว่าดีก็ดีตามเขา ก็เป็นบ้าไปอย่างนั้น ถ้าเขาว่าชั่ว เราก็ดูเรา มันไม่ใช่หรอก เขาว่าเราทำผิด แต่เราไม่ผิดดังเขาว่า เขาพูดไม่ถูก ก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความเป็นจริง ถ้าเราผิดดังเขา ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีก ถ้าคิดได้ดังนี้รู้สึกสบายจริงๆ มันเลยไม่มีอะไรผิด ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมด อาตมาปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้มันลัดตรงจริงๆ แม้จะเอาธัมมะธัมโม หรืออภิธรรมมาเถียง อาตมาก็ไม่เถียง ไม่เถียงหรอก ให้แต่เหตุผลเท่านั้น

    ให้เข้าใจเสียว่า เรื่องปฏิบัตินี้พระพุทธเจ้าให้วางทั้งหมด วางอย่างรู้ มิใช่ว่าวางอย่างไม่รู้ จะวางอย่างควายอย่างวัว ไม่เอาใจใส่ อย่างนี้ไม่ถูก วางเพราะการรู้สมมติบัญญัติความไม่ยึด

    ยึดไว้ก่อน พอร้อนแล้วก็วาง

    ทีแรกท่านสอนว่า ทำให้มาก เจริญให้มาก ยึดให้มาก ยึดพระพุทธ ยึดพระธรรม ยึดพระสงฆ์ ยึดให้มั่น ท่านสอนอย่างนี้ เราก็ยึดเอาจริงๆ ยึดไปๆ คล้ายกับท่านสอนว่า อย่าไปอิจฉาคนอื่น ให้ทำมาหากินด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง มีวัวมีควาย มีไร่มีนา ให้หาเอาจากของๆ เรานี่แหละ ไม่บาปหรอก ถ้าไปทำของคนอื่นมันบาป ผู้ฟังจึงเชื่อ ทำเอาจากของตนเองอย่างเต็มที่ แต่มันก็ยุ่งยากลำบากเหมือนกัน ที่ยากลำบากนั้นเพราะของเราเอง ก็ไปบ่นปรับทุกข์ให้ท่านฟังอีกว่า มีสิ่งของใดๆ ก็ยุ่งยากเป็นทุกข์ เมื่อเห็นความยุ่งยากแล้ว แต่ก่อนเข้าใจว่ายุ่งยากเพราะแย่งชิงของคนอื่น ท่านจึงแนะให้ทำของๆ ตน นึกว่าจะสบาย ครั้นทำแล้วก็ยังยุ่งยากอยู่ ท่านจึงเทศน์อย่างใหม่ให้ฟังอีกว่า “มันก็ต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าไปยึดไปหมาย มันก็เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าของใครทั้งนั้น ไฟอยู่บ้านเขา ไปจับมันก็ร้อน ไฟอยู่บ้านเรา ไปจับมันก็ร้อนอยู่อย่างนั้น” ท่านก็พูดตามเรา เพราะท่านสอนคนบ้า การรักษาคนบ้าก็ต้องทำอย่างนั้น พอช้อคไฟได้ท่านก็ช้อค เมื่อก่อนยังอยู่ต่ำเกินไปเลยไม่ทันรู้จัก เรื่องอุบายของพระพุทธเจ้าท่านสอนเราต่างหาก หมดเรื่องของท่านมาติดเรื่องของเรา ถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม เอาอุบายทั้งหลายเหล่านี้นั่นแหละมาสอนเรา

    การปฏิบัติคือการฝืนใจตัวเอง

    เรื่องปฏิบัตินี่ อาตมาพยายามค้นคิดเหลือเกิน เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพราะเชื่อตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรค ผล นิพพาน มีอยู่ มันมีอยู่ดังพระองค์ตรัสสอน แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติดี เกิดจากการทรมาน กล้าหาญ กล้าฝึก กล้าหัด กล้าคิด กล้าแปลง กล้าทำ

    การทำนั้นทำอย่างไร ท่านให้ฝืนใจตัวเอง ใจเราคิดไปทางนี้ ท่านให้ไปทางโน้น ใจเราคิดไปทางโน้น ท่านให้มาทางนี้ ทำไมท่านจึงฝืนใจ เพราะใจถูกกิเลสเขาพอกมาเต็มที่แล้ว มันยังไม่ได้ฝึกหัดดัดแปลง พระองค์จึงไม่ให้เชื่อ มันยังไม่เป็นศีล ยังไม่เป็นธรรมเพราะใจมันยังไม่แจ้ง ไม่ขาว จะไปเชื่อมันได้อย่างไรได้ ท่านจึงมิให้เชื่อเพราะใจเป็นกิเลส ทีแรกมันเป็นลูกน้องกิเลสอยู่ นานๆ ไปเลยกลายเป็นกิเลส ท่านเลยบอกว่าอย่าเชื่อใจ

    ดูเถิดข้อปฏิบัติมีแต่เรื่องฝืนใจทั้งนั้น ฝืนใจก็เดือดร้อน พอเดือดร้อนก็บ่นว่า แหม ลำบากเหลือเกิน ทำไม่ได้ แต่พระองค์ไม่นึกอย่างนั้น ทรงนึกว่า ถ้าเดือดร้อนนั้นถูกแล้ว แต่เราเข้าใจว่าไม่ถูก เป็นเสียอย่างนี้มันจึงลำบาก เมื่อเริ่มทำเดือดร้อน เราก็นึกว่าไม่ถูกทาง คนเราอยากมีความสุข มันจะถูกหรือไม่ถูกไม่รู้ เมื่อขัดกับกิเลสตัณหาก็เลยเป็นทุกข์เดือดร้อน ก็หยุดทำ เพราะเข้าใจว่าไม่ถูกทาง แต่พระองค์ตรัสว่าถูกแล้ว ถูกกิเลสแล้ว กิเลสมันเร่าร้อน แต่เรานึกว่าเราเร่าร้อน

    พระพุทธเจ้าว่ากิเลสเร่าร้อน เราทั้งหลายเป็นอย่างนี้มันจึงยาก เราไม่พิจารณา โดยมากมักเป็นไปตามกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค มันติดอยู่นี่ อยากทำตามใจของเรา อันไหนชอบก็ทำ อยากทำตามใจ ให้นั่งสบาย นอนสบาย จะทำอะไรก็อยากสบาย นี่กามสุขัลลิกานุโยค ติดสุข มันจะไปได้อย่างไร

    ถ้าหากเอากามความสบายไม่ได้แล้ว ความสุขไม่ได้แล้ว ก็ไม่พอใจ โกรธขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ เป็นโทสธรรม นี่เป็นอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งไม่ใช่หนทางของผู้สงบ ไม่ใช่หนทางของผู้ระงับ

    กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทางสองเส้นนี้ พระพุทธเจ้าไม่ให้เดิน ความสุขพระองค์ให้รับทราบไว้ ความโกรธ ความเกลียด ความไม่พอใจ ก็ไม่ใช่ทางที่พระพุทธเจ้าเดิน ไม่ใช้ทางของสมณะ เป็นทางที่ชาวบ้านเดินอยู่ พระผู้สงบแล้วไม่เดินอย่างนั้น เดินไปตรงกลาง สัมมาปฏิปทานี่ กามสุขัลลิกานุโยคอยู่ทางซ้าย อัตตกิลมถานุโยคอยู่ทางขวา
     
  16. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    เดินทางสายกลางคือสงบ วางสุข วางทุกข์

    ดังนั้น ถ้าจะบวชปฏิบัติต้องเดินทางสายกลางนี้ เราจะไม่เอาใจใส่ความสุขความทุกข์ จะวางมัน แต่รู้สึกว่ามันเตะเรา เดี๋ยวไอ้นี่เตะทางนี้ ไอ้นั่นเตะทางนั้น เหมือนกับลูกโป่งลาง (กระดิ่งที่ทำด้วยไม้) มันฟัดเราทั้งสองข้างเข้าใส่กัน มีสองอย่างนี้แหละเตะเราอยู่ ดังนั้น พระองค์เทศน์ครั้งแรกจึงทรงยกทางที่สุดทั้งสองขึ้นแสดง เพราะมันติดอยู่นี่ ความอยากได้สุขเตะทางนี้บ้าง ความทุกข์ไม่พอใจเตะทางโน้นบ้าง สองอย่างเท่านั้นเล่นงานเราตลอดกาล

    การเดินทางสายกลาง เราจะวางสุข เราจะวางทุกข์ สัมมาปฏิปทาต้องเดินสายกลาง เมื่อความอยากได้สุขมากระทบ ถ้าไม่ได้สุขมันก็ทุกข์เท่านั้น จะเดินกลางๆ ตามทางพระพุทธเจ้าเดินนั้นลำบาก มันมีสองอย่างคือดีกับร้ายเท่านั้น ถ้าไปเชื่อพวกนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าโกรธขึ้นมาก็คว้าหาท่อนไม้เลย ไม่ต้องอดทน ถ้าดีก็ลูบตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้านั่นใช้แล้ว ทางสองข้างมันไม่ไปกลางๆ สักที พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ทำอย่างนั้น ท่านให้ค่อยๆ วางมันไป ทางสายนี้คือสัมมาปฏิปทา ทางเดินออกจากภพ จากชาติ ทางไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีดี ไม่มีชั่ว มนุษย์ทั้งหลายที่ต้องการภพ ถ้าตกลงมาก็ถึงสุขนี่ มันมองไม่เห็นตรงกลางผ่านเลยลงมานี่ ถ้าไม่ได้ตามความพอใจก็เลยมานี่ข้ามตรงกลางไปเรื่อย ที่พระอยู่เรามองไม่เห็นสักที วิ่งไปวิ่งมาอยู่นี่แหละ ไม่อยู่ตรงที่ไม่มีภพ ไม่มีชาติ เราไม่ชอบจึงไม่อยู่ บางทีก็เลยลงมาข้างล่าง ถูกสุนัขกัด ปีนขึ้นไปข้างบนก็ถูกอีแร้ง อีกาปากเหล็กมาจิกกระบาล ก็เลยตกนรกอยู่ไม่หยุดไม่ยั้งเท่านั้น นี่แหละภพ

    อันที่ว่าไม่มีภพ ไม่มีชาติ มนุษย์ทั้งหลายไม่เห็น จิตมนุษย์มองไม่เห็นจึงข้ามไปข้ามมาอยู่อย่างนั้น สัมมาปฏิปทาคือทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าเดินพ้นภพ พ้นชาติ เป็นอัพยากตธรรม จิตนี้วาง นี่เป็นทางของสมณะ ถ้าใครไม่เดินเกิดเป็นสมณะไม่ได้ ความสงบเกิดไม่ได้ ทำไมจึงสงบไม่ได้ เพราะมันเป็นภพ เป็นชาติ เกิดตายอยู่นั่นเอง แต่ทางนี้ไม่เกิดไม่ตาย ไม่ต่ำไม่สูง ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ดีไม่ชั่วกับใคร ทางนี้เป็นทางตรง เป็นทางสงบระงับ สงบจากความสุข ความทุกข์ ความดีใจ ความเสียใจ นี้คือลักษณะปฏิบัติ ถ้าใจเราเป็นอย่างนี้แล้วหยุดได้ หยุดถามได้แล้ว ไม่ต้องไปถามใคร

    นี่แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู-หิ ไม่ต้องถามใคร รู้เฉพาะตนแน่นอนอย่างนั้น ถูกตามที่พระองค์สอนไว้ อาตมาเล่าประวัติย่อๆ ที่เคยทำเคยปฏิบัติมา ไม่ได้รู้มาก ไม่ได้เรียนมาก เรียนจากจิตใจตนเองตามธรรมชาตินี้ โดยทดลองทำดู เมื่อมันชอบขึ้นมาก็ไปตามมันดู มันจะพาไปไหน มีแต่มันลากเราไปหาความทุกข์โน่น เราปฏิบัติดูตัวเองจึงค่อยรู้จัก ค่อยรู้ขึ้น เห็นขึ้นไปเอง ให้เราพากันตั้งอกตั้งใจทำ

    การปฏิบัติต้องตั้งใจและพยายาม

    ถ้าอยากปฏิบัติ ให้ท่านมหาพยายามอย่าคิดให้มาก ถ้าจะนั่งสมาธิแล้วอยากให้มันเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ หยุดดีกว่า เวลานั่งสงบจะนึกว่า ใช่อันนั้นไหม ใช่อันนี้ไหม หยุดเอาความรู้ปริยัติใส่หีบใส่ห่อไว้เสีย อย่าเอามาพูด ไม่ใช่ความรู้พวกนั้นจะเข้ามาอยู่นี่หรอก มันพวกใหม่ เวลาเป็นขึ้นมา มันไม่เป็นอย่างนั้น เหมือนกับเราเขียนตัวหนังสือว่า” ความโลภ” เวลามันเกิดในใจไม่เหมือนตัวหนังสือ เวลาโกรธก็เหมือนกัน เขียนใส่กระดานดำเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นตัวอักษร เวลามันเกิดในใจอ่านอะไรไม่ทันหรอก มันเป็นขึ้นมาที่ใจเลย สำคัญนัก สำคัญมาก

    ปริยัติเขียนไว้ก็ถูก แต่ต้องโอปนยิโก ให้เป็นคนน้อม ถ้าไม่น้อมก็ไม่รู้จักจริงๆ มันไม่เห็น อาตมาก็เหมือนกันไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก เคยสอบปริยัติธรรม มีโอกาสได้ไปฟังครูบาอาจารย์เทศน์ให้ฟัง จนจะเกิดความประมาท ฟังเทศน์ไม่เป็น พวกพระกรรมฐานพระธุดงค์นี่ไม่รู้พูดอย่างไร พูดเหมือนกับมีตัวมีตนจริงๆ จะไล่เอาจริงๆ ต่อมาค่อยทำไปปฏิบัติไปๆ จึงเห็นจริงตามที่ท่านสอน ท่านเทศน์ให้ฟังก็รู้เป็นเห็นตาม มันเป็นอยู่ในใจของเรานี่เอง ต่อไปนานๆ จึงรู้ว่ามันก็ล้วนแต่ท่านเห็นมาแล้ว ท่านเอามาพูดให้ฟัง ไม่ใช่ว่าท่านพูดตามตำรา ท่านพูดตามความรู้ความเห็นจากใจให้ฟัง เราเดินตามก็ไปพบที่ท่านพูดไว้หมดทุกอย่าง จึงนึกว่ามันถูกแล้วนี่ จะอย่างไหนอีก เอาเท่านี้แหละ อาตมาจึงปฏิบัติต่อไป

    คนทำจะได้

    การปฏิบัตินั้นให้พยายามทำ มันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่าง ปล่อยไว้ก่อน เอาเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรก เอาเรื่องเราได้สร้างเหตุนี่แหละ ถ้าทำแล้วผลจะเป็นอย่างไรก็ได้ เราทำได้แล้วอย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผลมันไม่สงบ เราก็ทำได้ ทีนี้ถ้าเราไม่ทำ ใครเล่าจะได้ ใครเล่าจะเห็น คนหานั่นแหละจะเห็น คนกินนั่นแหละจะอิ่ม ของแต่ละสิ่งละอย่างมันโกหกเราอยู่สิบครั้ง ให้มันรู้ก็ยังดีอยู่ คนเก่ามาโกหกเรื่องเก่า ถ้ารู้จักก็ดีอยู่ มันนานเหลือเกินกว่าจะรู้ มันพยายามมาหลอกลวงเราอยู่นี่

    ดังนั้น ถ้าจะปฏิบัติแล้ว ให้ตั้งศีล สมาธิ ปัญญาไว้ในใจของเรา ให้นึกถึงพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เลิกสิ่งทั้งหลายทั้งปวงออกเสีย การกระทำของเรานี้เองเป็นเหตุเกิดขึ้นในภพในชาติหนึ่งจริงๆ เป็นคนซื่อสัตย์กระทำไปเถอะ

    การปฏิบัตินั้นแม้จะนั่งเก้าอี้อยู่ก็ตามกำหนดได้ เบื้องแรกไม่ต้องกำหนดมาก กำหนดลมหายใจเข้าออก หรือจะว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อกำหนดให้มีความตั้งใจไว้ว่า การกำหนดลมนี้จะไม่บังคับ ถ้าเราจะลำบากกับลมหายใจแล้วยังไม่ถูก ดูเหมือนลมหายใจสั้นไป ยาวไป ค่อยไป แรงไป เดินลมไม่ถูก ไม่สบาย แต่เมื่อใดลมออกก็สบาย ลมเข้าก็สบาย จิตของเรารู้จักลมเข้า รู้จักลมออก นั่นแม่นแล้ว ถูกแล้ว ถ้าไม่แม่นมันยังหลง ถ้ายังหลงก็หยุด กำหนดใหม่ เวลากำหนดจิตอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเกิดแสงสว่างเป็นปราสาทราชวังขึ้นมา ก็ไม่ต้องกลัว ให้รู้จักมัน ให้ทำเรื่อยไป บางครั้งทำไปๆ ลมหมดก็มี หมดจริงๆ ก็จะกลัวอีก ไม่ต้องกลัว มันหมดแต่ความคิดของเราเท่านั้น เรื่องความละเอียดยังอยู่ ไม่หมดถึงกาลสมัยแล้ว มันฟื้นกลับขึ้นมาของมันเอง

    ทำจิตให้สงบก่อน แล้วจึงพิจารณาอารมณ์

    ให้ใจสงบไปอย่างนี้เสียก่อน นั่งอยู่ที่ไหนก็ตาม นั่งเก้าอี้ นั่งรถ นั่งเรือก็ตาม ถ้ากำหนดเมื่อใดให้มันเข้าเลย ขึ้นรถไฟพอนั่งลงให้มันเข้าเลย อยู่ที่ไหนนั่งได้ทั้งนั้น ถ้าขนาดนี้รู้จักแล้ว รู้จักทางบ้างแล้ว จึงมาพิจารณาอารมณ์ ใช้จิตที่สงบนั่นพิจารณาอารมณ์ รูปบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง โผฏฐัพพะบ้าง ธรรมารมณ์บ้าง ที่เกิดขึ้นให้มาพิจารณา ชอบหรือไม่ชอบต่างๆ นานา ให้เป็นผู้รับทราบไว้ อย่าเข้าไปหมายในอารมณ์นั้น ถ้าดีก็ให้รู้ว่าดี ถ้าไม่ดีก็ให้รู้ว่าไม่ดี อันนี้เป็นของสมมุติบัญญัติ ถ้าจะดีจะชั่วก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อ่านคาถานี้ไว้ด้วย ถ้าทำได้อย่างนี้เรื่อยๆ ไป ปัญญาจะเกิดเอง อารมณ์นั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทิ้งใส่สามขุมนี้ นี้เป็นแก่นของวิปัสสนา ทิ้งใส่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดีชั่วร้ายอะไรก็ทิ้งมันใส่นี่ ไม่นานเราก็จะเกิดความรู้ความเห็นขึ้นมา ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดปัญญาอ่อนๆ ขึ้นมา นั่นแหละเรื่องภาวนา ให้พยายามทำเรื่อยๆ ศีลห้านี้ถือมาหลายปีแล้วมิใช่หรือ เริ่มภาวนาเสีย ให้รู้ความจริง เพื่อละ เพื่อถอน เพื่อความสงบ

    นักปฏิบัติต้องรักษาวินัยและเชื่อฟังอาจารย์

    พูดถึงการสนทนาแล้ว อาตมาสนทนาไม่ค่อยเป็น มันพูดยากอยู่ ถ้าใครอยากรู้จักต้องอยู่ด้วยกัน อยู่ไปนานๆ ก็รู้จักหรอก อาตมาเคยไปเที่ยวธุดงค์เหมือนกัน อาตมาไม่เทศน์ ไปฟังครูบาอาจารย์รูปนั้นรูปนี้เทศน์ มิใช่ว่าไปเทศน์ให้ท่านฟัง ท่านพูดอะไรก็ฟัง ฟังเอา พระเล็กพระน้อยเทศน์ก็ฟัง เราจะฟังก็ฟัง ไม่ค่อยสนทนา ไม่รู้จะสนทนาอะไร ที่จะเอาก็เอาตรงที่ละที่วางนั่นเอง ทำเพื่อมาละมาวาง ไม่ต้องไปเรียนให้มาก แก่ไปทุกวันๆ วันหนึ่งไปตะปบแต่แสงอยู่นั่นไม่ถูกตัวสักที การปฏิบัติธรรมแม้จะมีหลายแบบ อาตมาไม่ติ ถ้ารู้จักตามความหมาย ไม่ใช่ว่าจะผิด แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติแล้วไม่ค่อยรักษาวินัย อาตมาว่าจะไปไม่รอด เพราะมันข้ามมรรค ข้ามศีล สมาธิ ปัญญา บางท่านพูดว่า อย่าไปติดสมถะ อย่าไปเอาสมถะ ผ่านไปวิปัสสนาเลย อาตมาเห็นว่าถ้าผ่านไปเอาวิปัสสนาเลย มันจะไปไม่รอด

    วิธีปฏิบัติของท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์ทองรัต ท่านเจ้าคุณอุบาลี นี่หลักนี้อย่าทิ้ง แน่นอนจริงๆ ถ้าทำตามท่านถ้าปฏิบัติตามท่าน เห็นตัวเองจริงๆ ท่านอาจารย์เหล่านี้ เรื่องศีลท่านพยายามรักษาให้แน่นอนท่านไม่ให้ข้าม การเคารพครูบาอาจารย์ การเคารพข้อวัตรปฏิบัตินั้น ถ้าครูบาอาจารย์บอกให้ทำก็ทำ ถ้าท่านว่าผิดให้หยุดก็หยุดชื่อว่าทำเอาจริงๆ จังๆ ให้เห็น ให้เป็นขึ้นในใจ ท่านอาจารย์บอกอย่างนี้ ดังนั้นพวกลูกศิษย์ทั้งหลายจึงมีความเคารพยำเกรงในครูบาอาจารย์มาก เพราะเห็นตามรอยของท่าน

    ลองทำดูซิ ทำดังที่อาตมาพูด ถ้าเราทำมันก็เห็นก็เป็น ทำไมจะไม่เป็น เพราะเป็นคนทำคนหา อาตมาว่ากิเลสมันไม่อยู่หรอก ถ้าทำถูกเรื่องของมัน เป็นผู้ละ พูดจาน้อย เป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลายทั้งปวง คนพูดผิดก็ฟังได้ คนพูดถูกก็ฟังได้หมด พิจารณาตัวเองอยู่อย่างนี้ อาตมาว่าเป็นไปได้ทีเดียวถ้าพยายาม แต่ว่าไม่ค่อยมีนักปริยัติที่มาปฏิบัติ ยังมีน้อยอยู่ คิดเสียดายเพื่อนๆ ทั้งหลาย เคยแนะนำให้มาพิจารณาอยู่

    ถ้าปฏิบัติแล้วจะรู้ซึ้ง รู้แจ้ง รู้ชัด

    ท่านมหามาที่นี่ก็ดีแล้ว เป็นกำลังอันหนึ่ง แถวบ้านเรา บ้านไผ่ใหญ่ หนองสัก หนองขุ่น บ้านโพนขาว ล้วนแต่เป็นบ้านสำนักเรียนทั้งนั้น เรียนแต่ของที่มันต่อกัน ไม่ตัดสักที เรียนแต่สันตติ เรียนสนธิต่อกันไป ถ้าเราหยุดได้ เรามีหลักวิจัยอย่างนี้ดีจริงๆ มันไม่ไปทางไหนหรอก มันไปอย่างที่เราเรียนนั่นแหละ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ ผู้เรียนไม่ค่อยรู้ ถ้าปฏิบัติแล้วก็รู้ซึ้ง สิ่งที่เราเคยเรียนมาแจ้งออก ชัดออก เริ่มปฏิบัติเสียให้เข้าใจอย่างนี้

    พยายามมาอยู่ตามป่าที่กุฏิเล็กๆ นี้ มาฝึกทดลองดูบ้าง ดีกว่าเราไปเรียนปริยัติอย่างเดียว ให้พูดอยู่คนเดียว ดูจิตดูใจเรา คล้ายๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติจิต ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่นมันคิดนึกต่างๆ นั่นเป็นสังขาร สังขารนี้มันจะปรุงเราต่อไป ระวังให้ดี ให้มันรู้ไว้ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้ว ไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอก มันจะก้าวไปเป็นกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ของพวกนี้มันปรุง นั่นแหละเป็นจิตสังขาร ถ้ามันดีก็ดี ถ้ามันชั่วก็ชั่ว มันเกิดกับจิตของเรา อาตมาว่าถ้าได้จ้องดูมันอยู่อย่างนี้ รู้สึกว่าสนุก ถ้าจะพูดเรื่องนี้อยู่อย่างเดียวแล้วสนุกอยู่ตลอดวัน

    เมื่อรู้จักเรื่องวาระของจิต ก็เห็นมีอาการอย่างนี้ เพราะกิเลสมันอบรมจิตอยู่ อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดจุดเดียวเท่านั้น อันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขก แขกมาพักอยู่ตรงจุดนี้ คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้าง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้ เราจึงเรียกพวกนั้นที่ออกจากจิตของเรามาเป็นเจตสิกหมด

    มีสติรู้ ตื่นอยู่ เฝ้าดูจิต

    ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไร โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหนมีที่นั่งที่เดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน นี่คือพุทโธตัวตั้งมั่นอยู่นี่ ทำความรู้นี้ไว้จะได้รักษาจิต เรานั่งอยู่ตรงนี้แล้วแขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็กๆ โน้น มาทีไรก็มาที่นี่หมด เราจึงรู้จักมันหมด เลยพุทโธอยู่คนเดียว พูดถึงอาคันตุกะแขกที่จรมาปรุงแต่งต่างๆ นานา ให้เราเป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่แหละเรียกว่าเจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านี้เองเราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้วมันก็ไม่มีที่นั่ง มันมาที่นี่มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไรก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ไม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง เพียงพูดกันอยู่ที่นั่นเราก็จะรู้จักหมดทุกคน พวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสาโน้นมันจะมาเยี่ยมเราหมดนั่นแหละ เพียงเท่านี้

    อาตมาว่าธรรมนั้นดูตรงนี้ก็เห็นไปหมด ได้พูด ได้ดู ได้พิจารณาอยู่คนเดียว พูดธรรมะก็อย่างนี้แหละ อาตมาพูดอย่างอื่นไม่เป็น พูดก็พูดไปอย่างนี้ ทำนองนี้ นี่ก็เป็นแต่เพียงพูดให้ฟังเท่านั้น

    ทีนี้ให้ไปทำดู ถ้าไปทำมันจะเป็นอย่างนั้นๆ มีหนทางบอก ถ้ามันเป็นอย่างนั้นให้ทำอย่างนั้น ก็ไปทำดูอีก ถ้าไปทำดูอีกมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องแก้ โน่นแหละจึงจะมีที่บอก ในเมื่อเดินสายเดียวกัน มันต้องเป็นใจจิตท่านมหาแน่นอน ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นมันต้องเกิดขัดข้อง ขัดข้องก็ต้องจี้จุด เมื่อพูดตรงนี้มันไปถูกจิตท่านมหา มันก็รู้จักแก้ ถ้ามันติดอีก ท่านผู้แนะนำก็จะบอก เพราะตรงนี้ท่านก็เคยติดมาแล้ว ก็ต้องแก้อย่างนั้น มันรู้เรื่องกัน ก็พูดกันได้

    เช่นเดียวกับอารมณ์คือเสียง ได้ยินเป็นอย่างหนึ่ง เสียงเป็นอย่างหนึ่ง เรารับทราบไว้ไม่มีอะไร เราอาศัยธรรมชาติอย่างนี้แหละมาพิจารณาหาความจริง จนใจมันแยกของมันเอง พูดง่ายๆ ก็คือ มันไม่เอาใจใส่เอง มันจึงเป็นอย่างนั้นได้ เมื่อหูได้ยินเสียง ดูจิตของเรา มันพัวพันไปตามไหม มันรำคาญไหม เท่านี้เราก็รู้ ได้ยินอยู่แต่ไม่รำคาญ ฉัน อยู่ที่นี่ เอากันใกล้ๆ มิได้เอาไกล จะหนีจากเสียงนั้น หนีไม่ได้หรอก ต้องหนีวิธีนี้จึงจะหนีได้ โดยเราฝึกจิตของเราจนมั่นอยู่ในสิ่งนี้ วางสิ่งเหล่านั้น สิ่งที่วางแล้วนั้นก็ยังได้ยินอยู่ ได้ยินอยู่แต่ก็วางอยู่ เพราะสิ่งเหล่านั้นถูกวางอยู่แล้ว มิใช่จะไปบังคับให้มันแยก มันแยกเองโดยอัตโนมัติ เพราะการละ การวาง จะอยากให้มันไปตามเสียงนั้นมันก็ไม่ไป

    เมื่อเรารู้ถึงรูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหลายเหล่านี้ตามความเป็นจริงแล้ว เห็นชัดอยู่ในดวงจิตของเราว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสามัญลักษณะ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหมดทั้งนั้น เมื่อได้ยินครั้งใดก็เป็นสามัญลักษณะอยู่ในใจ เวลาอารมณ์ทั้งหลายมากระทบ ได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยินนั้น ไม่ใช่จิตของเราจะไม่มีการงาน สติกับจิตพัวพันคุ้มครองกันอยู่ตลอดกาล ตลอดเวลา ถ้าท่านมหาทำจิตให้ถึงอันนี้แล้ว ถึงจะเดินไปทางไหน มันก็ค้นคว้าอยู่นี่ เป็นธรรมวิจัยหลักของโพชฌงค์เท่านั้นเอง มันหมุนเวียนพูดกับตัวเอง แก้ ปลดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีอะไรจะมาใกล้มันได้ มันมีงานทำของมันเอง
     
  17. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    หวังว่าพอจะอ่านรู้เรื่องนะ ที่เหลือก็แวะพักผ่อน หาอ่านหรือหาทำปฏิบัติเอาเองดู คงได้อะไรดีดีบ้างแหละ ผมอ่านผมก็รู้สึกชอบนะ ถ้าเจอกับอันอื่นที่… ไม่รู้เหมือนกัน เพราะมันก็แตกต่างกันตามปัจจัยและเหตุของแต่ละบุคคล
     
  18. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ละสังขารแล้ว
    ประชาสัมพันธ์งานบุญ

    26 ก.ย. 2021

    4143
    share tweet share
    พระครูกิตติปัญญาคุณ (หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร)
    วัดโป่งจันทร์ อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี

    %B2%E0%B8%97-%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%A300-800x1024.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร วัดโป่งจันทร์ อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ละสังขารแล้ว ด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๑.๒๒ น. ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ณ วัดศรีประทุมวนาราม อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น สิริอายุ ๗๕ ปี ๑๐ เดือน ๕ วัน ๕๕ พรรษา

    เกิด วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙
    บรรพชา วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
    บวช วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘

    B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A70-1024x683.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร มรณภาพแล้ว
    %B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-1024x768.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร มรณภาพแล้ว
    B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A71-1024x768.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ละสังขารแล้ว
    B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A72-1024x683.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ละสังขารแล้ว
    น้อมกราบขอขมาพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่สวาท ปัญญาธโรนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะมหาเถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.มหาเถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต.มหาเถเร ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต

    ลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ ขอกราบขอขมาหลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หากเคยทำผิดพลาดล่วงเกินต่อองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ทั้งต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี หรือด้วยความขาดสติรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้
    ขอหลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ท่านโปรดเมตตางดโทษล่วงเกินนั้นด้วยเทอญกราบ กราบ กราบ



    B8%94%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C1.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร วัดโป่งจันทร์ อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี
    %B8%94%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C.jpg
    หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร วัดโป่งจันทร์ อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี
    ◉ กำหนดการ
    พิธีบำเพ็ญกุศลสรีรสังขาร พระครูกิตติปัญญาคุณ (หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโป่งจันทร์ อ.เขาคิฎชกูฏ จ.จันทบุรี ณ วัดศรีปทุมวนาราม ต.บ้านฝาง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

    ○ วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2564
    15.00 น. เคลื่อนสรีรสังขารจากกุฎีไปยังศาลาการเปรียญ
    15.30 น. สรงน้ำสรีรสังขาร (ภายใน)
    18.30 น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
    19.00 น. แสดงพระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อสวัสดิ์ ปิยธัมโม วัดป่าคูขาด อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
    พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสกุล

    ○ วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2564
    7.00 น. ถวายภัตตาหาร
    13.00 น. สรงน้ำสรีรสังขาร
    16.00 น. บรรจุสรีรสังขาร
    18.30 น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
    19.00 น. แสดงพระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อคำสด อรุโณ วัดป่าบ้านเพิ่ม อ.นายูง จ.อุดรธานี
    พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสกุล

    ○ วันจันทร์ที่ 27 กันยายน – 7 ตุลาคม 2564
    18.30 น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
    19.00 น. แสดงพระธรรมเทศนา (ทุกวัน)
    พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสกุล

    ○ วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2564
    7.00 น. ถวายภัตตาหาร
    9.00 น. เคลื่อนสรีรสังขารไปยังเมรุ
    18.30 น.ทำวัตรสวดมนต์เย็น
    19.30 น. แสดงพระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อสุธรรม สุธัมโม วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    หลวงพ่อสามดง จันทโชโต วัดอรัญพรหมาราม อ.ประทาย จ.นครราชสีมา
    พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสกุล

    ○ วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2564
    7.00 น. ถวายภัตตาหาร
    13.00 น. สวดมาติกาบังสกุล จำนวน 200 รูป
    14.00 น. แสดงพระธรรมเทศนา โดย หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    15.00 น. ถวายเพลิงสรีรสังขาร
    18.30 น.ทำวัตรสวดมนต์เย็น
    19.00 น. แสดงพระธรรมเทศนา

    ○ วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2564
    6.00 น. เก็บอัฐิ
    6.30 น. พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาตร (ภายในวัด)
    7.00 น. เจริญพระพุทธมนต์ฉลองอัฐิ พิจารณาผ้าบังสกุล พระสงฆ์ให้พร เสร็จพิธี

    ***หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
    ◉ ติดต่อสอบถาม
    พระครูพิศาลปัญญาคุณ 0862215367
    ครูบาจ่อย 0847936930
    ผู้ประสานงาน 0808549899 (พระอาจารย์นิธิ)
     
  19. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
  20. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    พระคาถาเยธัมมา : หัวใจพระพุทธศาสนา, อิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท
    1 Reply


    buddha.jpg วันนี้เอาของเก่ามาเล่าใหม่ โดยเอาเรื่องที่คิดว่าสั่นที่เคยเขียนลง facebook ไปแล้วมาลงใน blog อีกที วันนี้เอามาทั้งหมด 3 เรื่อง คือ พระคาถาเยธัมมา : หัวใจพระพุทธศาสนา , อิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท และ ความขัดแย้งของหมอดูกับคำทำนายหลายทาง เรื่องอื่นจะทยอยเอามาลงใน blog ให้หมดโดยเร็ววัน


    พระคาถาเยธัมมา : หัวใจพระพุทธศาสนา

    ในบรรดาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เกียวกับพระพุทธศาสนา เท่าที่พอจะมีในเขตสุวรรณภูมิ ก็คงจะเป็นพระคาถา เย ธัมมา โดยจารึกที่พบเป็นจารึกบนแผ่นอิฐ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษามคธ ค้นพบที่จังหวัดสุพรรณบุรี และพระคาถา เย ธัมมา นี้ก็ได้พบที่พระปฐมเจดีย์ด้วยเช่นกัน

    พระคาถาเยธัมมา
    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
    เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ
    เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ

    คำแปล
    ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
    พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
    และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
    พระมหาสมณะเจ้า ทรงสังสอนอย่างนี้

    ความเห็น : จากคำแปลที่ว่ามาคงแสดงให้เห็นได้ว่าพุทธศาสนาที่เผยแพร่มาในยุคแรกๆนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด ไม่มีลัทธิอื่นเจือปน พระคาถานี้ถือเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างย่อแบบหนึ่ง



    อิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท

    อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนา เป็นกฏที่กล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมีเหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับ คือ เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ

    อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจ(กฎ)ของปฏิจจสมุปบาท เป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง เป็นสัจธรรมความจริงแท้ที่สุดของพุทธศาสนา และเชื่อมโยงคำสอนทั้งปวงของพระพุทธเจ้า หลักธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้าล้วนเป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตาทั้งนั้น

    อิทัปปัจจยตา
    อิมสฺมึ สติ อิทํ โหตุ
    อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
    อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
    อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ

    คำแปล
    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

    จากหนังสือ : อิทัปปัจจยตา ของท่านพุทธทาส
    ปล. อะไรคือพุทธ อะไรคือพราหมณ์ , พุทธสอนเหตุผล พราหมณ์สอนศรัทธา



    ความขัดแย้งของหมอดูกับคำทำนายหลายทาง

    1. การทำนายดวงของหมอดูจะทำนายในลักษณะความเป็นไปได้หลายทาง ซึ่งหากว่าอนาคตถูกกำหนดไว้จริง ก็ไม่ควรที่จะมีความเป็นไปได้ที่มากกว่า 1 ทาง ถ้าหากว่าอนาคตถูกกำหนดไว้ด้วยความเป็นไปได้มากกว่า 1 ทาง ก็แสดงว่าไม่ได้ถูกกำหนดไว้จริง เป็นแค่กระบวนการสุ่มความเป็นไปได้ของทางเลือกเท่านั้น
    2. ถ้าหากว่าอนาคตของแต่ละคนถูกกำหนดไว้หลายทางเพื่อจะใช้เป็นทางเลือกจริง แต่ละคนก็ควรมีทางเลือกที่เท่าๆกันทุกๆคน และเมื่อคนหนึ่งทำการเลือกทางเลือกทางใดทางหนึ่งแล้วจะมีผลกระทบกับคนอื่นๆทั้งโลกทันที (เป็นไปได้ว่าอาจจะกระทบทั้งเอกภพเลยก็เป็นได้) โดยทางเลือกของคนอื่นอาจจะถูกเปลียนไปเป็นอย่างอื่นจากผลกระทบดังกล่าว ซึ่งก็แสดงว่าทางเลือกที่มีได้จะเป็น อนันต์ (Infinity) ซึ่งหากว่าทางเลือกมีค่าเป็นอนันต์จริงเราควร นิยามได้ว่า อนาคตไม่ได้ถูกกำหนดไว้ และจะไม่มีใครสามารถรู้คำตอบทั้งหมด (มีค่าอนันต์) นั้นได้
    3. ถ้าหากอนาคตถูกกำหนดไว้จริง ไม่ควรมีการแก้กรรมเกิดขึ้น เพราะถ้าถูกกำหนดไว้ล้วงหน้าอยู่แล้วก็ไม่ควรจะแก้ไขได้ การแก้กรรมหรือพยายามแก้ไขให้อนาคตเปลียนไปจากเดิม จะเกิดผลกระทบตามข้อสองที่กล่าวมา
    4. คำทำนายของหมอดู อ้างว่าเกิดจากการรวบรวมสถิติต่างๆมาใช้ในการทำนาย แต่เท่าที่เคยดูจากหลายๆตำรา กลับพบว่าคำตอบของคำทำนายต่างๆ จะมีอยู่เป็นชุดของคำตอบไม่กี่ชุด ซึงน้อยเกินไปที่จะนำมาใช้ในการทำนายเหตอันซึงเกิดจากผลกระทบหลายๆอย่างได้
    https://www.unzeen.com/article/1360/
     

แชร์หน้านี้

Loading...