สัมมาทิฏฐิสูตรในอีกมุมเพื่อลดความเป็นมิจฉาทิฐิ (บอกตัวเอง...ไม่ได้บอกใครนะ) อ่านแล้วจะรู้สึกดี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฟ้ากับเหว, 16 พฤษภาคม 2021.

  1. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    เรื่องนี้ค่อนข้างยาวครับ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยากแก่การสุ่มเดาครับ ค่อยๆอ่านนะครับ อ่านไม่จบวันหลังค่อยอ่านอีกก็ได้
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

    (๑๑๐) ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับที่พระเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี.ครานั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า คุณ.ภิกษุเหล่านั้นรับสนองคำของ
    ท่านพระสารีบุตรแล้ว.ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้

    ด้วยเหตุกี่ประการนะ คุณ พระอริยสาวกจึงจะเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นทรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
    ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนว่า ใต้เท้าครับ กระผมทั้งหลายมาจากที่ไกลมากก็เพื่อจะฟังอรรถาธิบายภาษิตนี้ ในสำนักของใต้เท้า ขอได้โปรดกรุณาเถิดขอรับ ใต้เท้าเท่านั้นแหละ เข้าใจแจ่มแจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ภิกษุทั้งหลายพึงอรรถาธิบายของใต้เท้าแล้ว จักพากันทรงจำไว้
    .ท่านพระสารีบุตรกล่าวเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้คุณทั้งหลายจงพากันตั้งใจฟัง ผมจักกล่าวให้ฟัง. ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับคำเตือนของท่านพระสารีบุตรเถระว่า พร้อมแล้ว ใต้เท้า.

    (๑๑๑) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้ชัดกุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศล เพียงเท่านี้แหละคุณ อริยสาวกชื่อว่ามี ความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน บรรลุพระสัทธรรมนี้ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

    อกุศลและรากเหง้าอกุศล
    อกุศลคืออะไรเล่า คุณ ? อกุศล คือ ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๑อทินนาทาน (การลักของเขา) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ( การประพฤติผิดในกาม) ๑ มุสาวาท (พูดเท็จ) ๑ ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๑ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ ) ๑ สัมผัปปลาปา (พูดเพ้อเจ้อ) ๑ อภิชฌา (ความเพ่งเล็ง ) ๑ พยาบาท ( ความปองร้ายเขา) ๑ มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิดเป็นถูก) ๑ นี้ละคุณ อกุศล.อกุศลมูลเป็นอย่างไรเล่า คุณ ? อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    นี่ละคุณ เรียกว่ารากเหง้า อกุศล

    กุศลและรากเหง้ากุศล
    กุศลคืออะไรเล่า คุณ ? กุศล คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก ปาณาติบาต ๑ จากอทินนาทาน ๑ จากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ จากมุสาวาท ๑จากปิสุณาวาจา ๑ จากผรุสวาจา ๑ จากสัมผัปปลาป ๑ อนภิชฌา(ความไม่เพ่งเล็ง) ๑ อัพยาบาท (ความไม่ปองร้ายเขา) ๑ สัมมาทิฏฐิ( ความเห็นถูกต้อง) ๑ นี้ละคุณ เรียกว่า กุศล.รากเหง้ากุศลเป็นอย่างไรเล่า คุณ ? รากเหง้ากุศล คือ อโลภะอโทสะ
    อโมหะ
    นี้ละคุณ เรียกว่า รากเหง้ากุศล

    คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้อกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้กุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศลอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเธอจะละกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือ ราคะ (ราคานุสัย) บรรเทากิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ปฏิฆะ (ปฏิฆานุสัย) ถอนกิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือ ทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ได้ (มานานุสัย ) ละอวิชชาได้ทุกอย่างยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียวด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.

    (๑๑๒) ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันชมเชยอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระสารีบุตร สูงขึ้นไปอีกว่า ใต้เท้าขอรับ ยังมีเหตุ (ปริยาย) อย่างอื่นอีกบ้างไหม ที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    อาหารวาระ
    (๑๑๓) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอาหาร เหตุเกิดของอาหาร ความดับของอาหาร และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของอาหารเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกก็ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ถามว่า อาหารคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหาร คืออะไร ? ตอบว่า คุณ อาหารมี ๔ อย่างเหล่านั้น เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ดำรงชีพอยู่ได้ หรือเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่กำลังแสวงหาที่เกิด

    .อาหาร ๔ อย่าง คืออะไร ? คือ กวฬิงการาหาร (อาหารเป็นคำ ๆ) หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร ( อาหารคือผัสสะ) ๑ มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือกรรม) ๑ วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) ๑ เพราะตัณหาเกิด อาหารจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อาหารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร คือ

    (๑) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง (ชอบ)
    (๒) สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง (ชอบ)
    (๓) สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง (ชอบ)
    (๔) สัมมาวาจา การเจรจาถูกต้อง (ชอบ )
    (๕) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง (ชอบ)
    (๖) สัมมาวายามะ ความพยายามถูกต้อง (ชอบ)
    (๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง (ชอบ)
    (๘) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง (ชอบ)

    คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร, ความดับแห่งอาหาร และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหารอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิฆานุสัยได้ ถอนทิฏฐิมานะว่า เรามีได้ละอวิชชาได้ โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวก ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นทรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.

    (๑๑๔) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร ว่าดีแล้ว ใต้เท้า ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรสูงขึ้นไปว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ใต้เท้า ฯลฯ

    สัจจวาระ
    (๑๑๕) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เพียงเท่านี้แหละ คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้วก็อะไรเล่า คุณ เป็นทุกข์ ? ความเกิดบ้าง เป็นทุกข์ ความแก่บ้าง เป็นทุกข์ ความตายบ้าง เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจบ้าง เป็นทุกข์ การประจวบกับคนหรือสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ การพลัดพลากจากคนหรือสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ แม้ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง การไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งอุปาทาน ( ความยึดมั่น) ทั้ง ๕ เป็นทุกข์นี้เรียกว่า ทุกข์ ละ คุณ. เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ตัณหานี้ให้เกิดในภพใหม่ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่) ๑ภวตัณหา (ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ) ๑ วิภวตัณหา ( ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่) ๑ นี้เรียกว่าเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ละ คุณ.ความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ความดับตัณหาทั้ง ๓ นั่นแหละเพราะคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสลัด ความสละคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัยไยดีซึ่งตัณหาทั้ง ๓ นั้น นี้เรียกว่า ความดับทุกข์(ทุกขนิโรธ) ละ คุณ.ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ อริยาษฎางคิกมรรคนี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ) ละ คุณ.คุณ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยบรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ออกได้ ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดแล้ว เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ดังนี้

    (๑๑๖) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้าครับ ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหาสูงขึ้นไปกะท่านสารีบุตรว่า ใต้เท้าครับ ยังมีอีกหรือไม่ ? เหตุ (ปริยาย)แม้อย่างอื่นที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ชรามรณวาระ
    (๑๑๗) ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ แม้เพียงเท่านั้นแหละคุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้
    ถามว่า ชราและมรณะคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะคืออะไร ?ตอบว่า ความแก่แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ความคร่ำคร่า ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายของสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา ( ความแก่ ).การเคลื่อนที่ การย้ายที่ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆการแตกทำลาย การสูญหาย การม้วยมรณ์๑ การถึงแก่กรรม การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งซากศพ การขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ (ความตาย).เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
    ขอทิฏฐิอันเป็นกุศลเกิดมีแต่ผู้เพียรเพื่อพ้นจากวัฏสังสารวัฏ ตามสมควรแก่ฐานะ
     
  2. ลุงโจฮันผี

    ลุงโจฮันผี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2021
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +345
    อินทรียาสังวร + ละความเพลิน(นันทิ) + ปฏิจจสมุปบาท
     
  3. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ลุงหาต่อให้ผมหน่อยสิ พอดีผมค้นเจอในโพสต์เก่าเมื่อน่าจะ สิบกว่าปีที่แล้ว ที่ลุงกล่าวมันยังมีอีก ที่ผมโพสต์ ก็ยังไม่จบพระสูตรนี้ เป็นอรรถกถาธิบาย
     
  4. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    เอามาลงต่อก็ได้ครับ ผมจำไม่ได้ว่าเอามาจากที่ไหน และทำไมเขาใช้คำว่า คุณ อันอื่นคือ ดูกร เธอ ภิกษุอะไรประมาณนี้ครับ
     
  5. ลุงโจฮันผี

    ลุงโจฮันผี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2021
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +345
    ที่ว่ามีอีกมันเป็นส่วน สัมมาสังกัปปะ(แก้ๆเขียนผิด) พยายามดำริชอบ
    แต่หลักๆก็ลงที่ 3 ตัวนี้ละในทางปฏิบัติ อย่างเช่นไม่ติดเพลินในเจตสิกท่อนๆ แล้วก็โว้วว้าว เอามาโม้ อะไรแบบนี้ละ
     
  6. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ไม่ใช่คับลุงที่ผมเก็บไว้ได้ มันมีถึงแค่ (๑๑๗) ชรามรณวาระ แต่มีต่ออีก เก็บบทนี้ทั้งบทเอาไว้เลยครับ ดีเผื่อได้ศึกษา ไปพร้อมๆกับทำสมาธิ
     
  7. ลุงโจฮันผี

    ลุงโจฮันผี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2021
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +345
    อือ ถ้าวางจิตลงได้ ก็จะออกทางวิเวก เข้าทางอานาปานสติพอดี
     
  8. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ผมเอามาลงต่อให้แล้วครับ แต่คนละเวอร์ชั่นกันนะครับ แต่ความหมายเหมือนกัน อันนี้มาจาก 84000.org

    ชาติวาร
    [๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
    ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
    ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
    เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-
    *สัทธรรมนี้

    ภวาทิวาร
    [๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
    ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
    เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
    อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
    ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
    เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
    ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    ตัณหาทิวาร
    [๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
    ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
    เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
    โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
    เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ-
    *เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
    กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
    ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
    เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
    แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
    เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
    เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-
    *สัทธรรมนี้.

    นามรูปาทิวาร
    [๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต-
    *รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
    เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
    นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา-
    *นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
    และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
    เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
    ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
    แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    สังขารวาร
    [๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
    ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    อวิชชาวาร
    [๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
    นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
    ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    อาสววาร
    [๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
    อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
    เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี-
    *บุตรแล้วแล.
    จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
    นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
    บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
    บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.
     
  9. ลุงโจฮันผี

    ลุงโจฮันผี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2021
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +345
    ถ้างุดโงๆ วิเวกยังไม่มีไง แต่นั่นละ เขาบอกว่าเป็นอุบายของ Beginer (ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วย มันไม่ลงวิเวก เสียเวลาฝึก)
     
  10. ลุงโจฮันผี

    ลุงโจฮันผี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2021
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +345
    พึ่งฟังคลิปเขาเขียวจบ เห็นท่านว่า ภิกษุ 90% ไม่รู้จักอัปนา เราฟังก็ตกใจสตั้นไป 10 วิ เราไม่รู้ในวงการไงเพราะไม่ได้อยู่ ได้ฟังก็ตกใจ
    ไม่รู้ไปติดด่านงุดโงอยู่รึเปล่า ก็สงสัย
     
  11. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ผมไม่รู้เหมือนที่คนอื่นรู้หรอกครับ ผมไม่ได้บรรลุธรรม ผมเพียงอ่านแล้วพอทำสมาธิ บทที่อ่านก็มาให้เห็น พอเห็นก็มีบ้างครุ่นคิด แม้ไม่บรรลุอย่างน้อยก็ทราบว่า มีทางแต่ก็ยังไม่ถึงเหมือนกันคับ
     
  12. ลุงโจฮันผี

    ลุงโจฮันผี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2021
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +345
    ถ้าอ่านแล้วรู้สึกวิเวก ก็ลุยเลยอย่ารอช้า เม้มปาก

    บรั๊ยยย นอนละ
     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ฆราวาสก็เหมือนกัน

    น้อยคนจะรู้จัก อัปนาสมาธิ

    ส่วนมาก ลงมาแค่อุปจาระสมาธิ ก็ ออกไปตามนิมิตเสียแล้ว
    รับคำสั่ง บลาๆ
     
  14. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ผมใช้หมดคับเวลาทำสมาธิ ผมใช้ทั้งพุทโธ ทั้งอานาปาณสติ ทั้งผัสสะ ทั้งอายตนะ เพียงแค่อะไรมาก่อนก็ไปอันนั้นเลย แต่ไม่ได้พิจารณาอะไรมากตามที่บอก เพียงให้เกิดความรู้สึกตัวในตำแหน่งที่กำหนดที่ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างเช่น เราหายใจจนได้ยินแต่เสียงลมหายใจ หรือเราหายใจจนลมหายใจมันรวมกับความรู้สึกที่รับรู้ อะไรประมาณนั้น ไม่มีอะไรมากคับ เวลาจะนอนก็ออกแนวๆนั้น
     
  15. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ผัสสะผมคือกายรับรู้ อายตนะก็คือกสิณนั่นแหละ มีครบแต่ทำเฉพาะที่ชอบ ผลลัพธ์ก็คล้ายๆกัน เคยแม้แต่ทำเสร็จออกจากสมาธิแล้ว หลังจากนั้นนอนไม่หลับเลยเป็นวันหรือสองวัน อันนี้แปลกดี เขาว่าปิติ ครองสังขาร ที่จริงมันก็คล้ายฝันนะ แต่คือฝันที่เรากระทำ ถ้ามันกระทำคือฝันจริง แต่ถ้าพ้นจากจุดนี้ได้จริง รับรองว่า จะไม่ง่วงนอนเลย ถ้าเป็นแบบเดียวกันนะ อาการนี้แปลกมาก แต่ในสมาธิจริง ไม่มีอะไรเลย ครั้งแรกที่เจอคือ นึกว่าตัวเองตายแล้ว มันหยุดหายใจเฉยๆ หลังๆ ไม่ต้องสนใจแล้ว ลองทำสิ เมื่อยไหมถ้าอยู่ระหว่างนั้นก็เมื่อยนะ แต่ถ้าเลยจุดนั้นไปแล้ว ไม่มี จะมีอีกทีก็ตอนออกมาจากตรงนั้นแล้ว ดังนั้นต้องเลยจุดนั้นไปให้ได้ แล้วค่อยมาทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ระหว่างนั้นไม่ต้องทำอะไรเลย
     
  16. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ราตรีสวัสดิ์คับทุกๆคน ถ้าไม่มีเหตุต้องพิจารณาอะไร หรือว่าเครียดมาก ลองใช้การทำสมาธิฝึกสติดูคับ พอมันชินก็จะดีกับเราเอง ผมก็รู้เพียงเท่านี้ ที่เหลือก็แบบที่ลุงโจ ว่าไว้
     
  17. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    การอ่านมากฟังมาก อันนี้เป็นสิ่งที่ดีในแง่ของการฝึกสติหรือสมาธิ เพราะว่า ก่อนที่จิตมันจะรวมลงนั้น มันจะมีความฟุ้งซ่านบางอย่างซึ่งจะมีเพียงบางอย่างเท่านั้นที่จะทำให้ทราบ ต่างกับเรื่องฟุ้งซ่านที่เข้ามาปกติในชีวิตประจำวัน อันนี้ก็จุดสนใจ เพราะว่า จุดนี้เรียกสาเหตุ และเหตุผลที่ต้องลดความคิด หรือพูดแบบกำปั้นทุบดินคือ อย่าคิดมาก เพราะว่าในการฝึกสติหรือสมาธินั้นมันจะมีความฟุ้งซ่านมันจะไม่พบว่ามีจุดเริ่มตรงไหนจุดจบตรงไหนเพราะธรรมชาติของการคิดคือ มันจะวนไปเรื่อยๆ เป็นรอบๆ แต่ว่าอ่านมากฟังมากไม่ต้องเอาใช่โต้ตอบใครนะ เพราะว่าประโยชน์แท้จริงมีเพียง เรียนรู้จิตใจตนเอง ถ้าเป็นคนฉลาดจะถามตตนเองว่า เราผิดตรงไหน จะไม่มีวันถามตนเองว่า เราดีตรงไหน เพราะถ้าทำเพื่อสร้างภูมิต้านทานความทุกข์ การวินิจฉัยข้อผิดพลาดภายในจึงเหมาะสม ของใครของมัน ค่อยๆทำไปนะครับ สรุปคือ อ่านมากฟังมากแล้วฟุ้งซ่านดีกว่าไม่อ่านไม่ฟังแต่ฟุ้งซ่านเพราะความคิดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2021
  18. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    เมื่อมีสติดีพร้อมแม้ไม่ใช่เรื่องอันว่าด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในการมีชีวิตปกติ ก็จะรู้โดยธรรมชาติว่า อะไรเป็นเพียงความคิด มโนจินตนาการ อะไรคือความจริงที่เกิดขึ้นตรงหน้า มีแต่ผู้มีสติรู้พร้อมจึงจะเอะใจและระลึกได้ ที่มักเห็นบ่อยๆ คือ คนที่เป็นผู้ประมาท คำว่าประมาท มาจากผลของความคิด พูด กระทำ ส่งผลต่อปัจจุบันโดยตรง เมื่อสติระลึกได้จะมองเห็นมูลเหตุของความผิดพลาด จากภายนอกสู่ภายในและ ภายในสู่ภายในที่ยิ่งกว่า มันแล้วแต่บุคคลในเรื่องนั่น ถ้าไม่หวังจนเกินงามก็เอาแค่เพียงระลึกได้ในชีวิตปกติ ไม่ให้เกิดอกุศลใดในจิต จากอกุศลมูล คือ โลภะ โมหะ และโทสะ ชีวิตก็จะมีแต่เจริญขึ้นไปอย่างแน่นอน
     
  19. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    อาจเป็นเพราะเวลาผมทำสมาธิหรือคือฝึกสติ ไม่ปราถนาอะไรขอเพียงแค่ให้รู้ว่ามีสิ่งที่ต้องรู้ก็พอ บางทีมันก็ไหลไป แต่ก็กลับมาได้ทุกทีเพราะนึกออกว่า อ้าวนี่เรานั่งสมาธิอยู่นี่นา ไม่ได้ไปไหนสักหน่อย
     
  20. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    มันธรรมดานะเพราะคนเราบางคนคิดว่ารู้ทันความคิดตนเองแต่แท้จริงแล้วไม่รู้เลย เพราะเมื่อรู้ทันความคิดตนเองก็ต้องไม่รูสึกสงสัย หรือความทะยานอยากเพราะเรากำลังจับจ้องความคิด เช่น นั่นไง...ว่าแล้วต้องเป็น แต่บางเวลาขณะทำจิตให้สงบเรามักคิดว่านั่นเราแน่เรานิ่งเรารับรู้ทุกสิ่ง(คิดว่าตนเองมีสติพร้อม) มันไม่ผิดแต่ก็ไม่ถูก แต่ความจริงมันไม่ใช่ ซึ่งพิสูจน์กันง่ายๆ ก็นั่นไงเวลาอะไรเกิดขึ้นเราไม่รู้อะไรเลย กลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ แต่นั่นทั้งๆที่มันไม่ได้อยู่เหนือธรรมชาติเลย สิ่งที่เห็นทั้งหมดในระหว่างสมาธิ อาจเป็นสิ่งที่เราเคยเห็นมาในอดีต หรือเคยจินตนาการเอาไว้จากคำบอกเล่าหรือจากการอ่านจากการสัมผัสในชีวิตความเป็นอยู่ของเราอาจเป็นได้ นั่นหมายถึงเรายังไม่สงบพอจะเป็นสมาธิจึงไม่รู้ว่ามันเกิดได้อย่างไร...นี่แหละความจริงของสมาธิ และเมื่อเอาข้อสงสัยต่างๆมาพิจารณาพร้อมทั้งมีสติทันต่อทุกๆสิ่ง ไม่ได้ก็ไม่รู้จะว่าไงแล้ว
    สาธุคั๊บ
     

แชร์หน้านี้

Loading...