เรื่องเด่น สภามีมติตั้ง ‘พระราชปริยัติกวี’ อธิการบดี มจร

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 24 กรกฎาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    0b895e0b8b4e0b895e0b8b1e0b989e0b887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a2.jpg

    เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการประชุมสภามหาวิทยาลัย โดยมีวาระสำคัญ คือการเสนอชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งอธิการบดี มจร แทนพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธัมมจิตโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ที่ดำรงตำแหน่งนี้ต่อเนื่องกันมา 5 สมัยติดต่อกัน ทั้งนี้ ที่ประชุมสภา มจร มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สัมมาปัญโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง ในฐานะรองอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มจร โดยหลังจากนี้ จะนำชื่อขึ้นกราบทูลสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร) เพื่อทรงทราบ และทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งต่อไป

    แหล่งข่าวจากมจร. เปิดเผยว่า ที่มีการเปลี่ยนอธิการบดีมจร เนื่องจาก พระพรหมบัณฑิต ครบวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีวาระละ 4 ปี และไม่ต้องการรับการสรรหาอธิการบดีอีก เนื่องจากดำรงตำแหน่งอธิการบดีมายาวนานติดต่อกัน 20 ปีแล้ว อยากเห็นมจร เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงไม่รับการสรรหาอีก ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิตได้ชี้แจงในที่ประชุม มจร ว่า ระยะนี้เป็นโอกาสสำคัญที่จะวางมือได้ ถ้าต้องรออีกสมัย รองอธิการบดีที่จะมาบริหารงานต่อก็จะอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ก็ 50 กว่าปีแล้ว ถ้าวางมือตอนนี้ ก็จะสานต่อทันกับเจเนชั่นต่อไปได้ทัน ทั้งนี้พ.ร.บ. มจร พ.ศ.2540 กำหนดวาระอธิการบดีคราวละ 4 ปีโดยไม่จำกัดวาระ คือ สามารถเข้ารับการสรรหาต่อไปได้เรื่อยๆ โดยไม่จำกัดวาระ ที่พ.ร.บ.มจร พ.ศ.2540 บัญญัติไว้แบบนั้น เพราะสมัยนั้นการหาพระที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งอธิการบดี ได้ยาก กฎหมายจึงได้ไม่จำกัดวาระอย่างไรก็ตามที่ประชุมมจร มีมติให้พระพรหมบัณฑิต รักษาการอธิการบดีจนกว่าสมเด็จพระสังฆราช จะมีพระบัญชาแต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ และเมื่อพระพรหมบัณฑิต ไม่ได้เป็นอธิการบดีแล้ว ท่านจะยังคงสอนหนังสือที่คณะพุทธศาสตร์ มจร เหมือนเช่นเดิม

    แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ทั้งนี้การสรรหาอธิการบดีมจร จะใช้ระบบการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา เมื่อสรรหาได้ใครแล้ว ก็นำเข้าที่ประชุมมจร พิจารณาเห็นชอบ สำหรับพระราชปริยัติกวี เป็นพระที่ตรงไปตรงมา จนกล่าวกันว่าท่านคือไม้บรรทัด ทั้งนี้ท่านยังเก่งด้านวิชาการและภาษาอังกฤษโดยเคยเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการอธิการบดีมจร ในการแปลพระไตรปิฎกฉบับมจร ด้วย

    895e0b8b4e0b895e0b8b1e0b989e0b887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a2-1.jpg
    พระพรหมบัณฑิต

    สำหรับประวัติและผลงานพระราชปริยัติกวี, ศ.ดร.

    พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมปญฺโญ/ วันจันทร์) ศาสตราจารย์ Ph.D.
    วัน/เดือน/ปี เกิด : ๒๘ กันยายน ๒๕๐๓ อายุ ๕๘ พรรษา ๓๕
    ภูมิลำเนา : ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
    ที่อยู่ปัจจุบัน : วัดปากน้ำ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
    สถานที่ทำงาน : สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    ตำแหน่งปัจจุบัน : รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    เลขาธิการสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง
    ตำแหน่งทางวิชาการ : ศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาควิชาพระพุทธศาสนา
    คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    วุฒิการศึกษา

    [​IMG]
    [​IMG]

    – พ.ศ. ๒๕๒๘ เปรียญธรรม ๙ ประโยค กองบาลีสนามหลวง
    – พ.ศ. ๒๕๓๑ ศึกษาศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    – พ.ศ. ๒๕๓๔ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    – พ.ศ. ๒๕๓๗ Doctor of Philosophy (Pali & Buddhist Studies), BHU, India

    ประสบการณ์/ประวัติการทำงานใน มจร
    – เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สำนักเรียนวัดปากน้ำ
    – พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นเจ้าหน้าที่ประจำกองวิชาการ
    – พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นรักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ
    – พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ
    – พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นอาจารย์
    – พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นรักษาการรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    – พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นรักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    – พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    – พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์
    – พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (สมัยที่ ๒)
    – พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์
    – พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
    – พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ (สมัยที่ ๒)
    – พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์
    – พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ (สมัยที่ ๓)

    งานวิชาการ ผลงานแปลและแต่งหนังสือทางวิชาการ
    – พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์, พัฒนาการแห่งความคิดแบบอินเดียโบราณ , กรรมและการเกิดใหม่, พุทธทัศนะเบื้องต้น, ปรัชญาแห่งนาครชุน, พระพุทธศาสนามหายาน,พระพุทธศาสนามหายาน : พัฒนาการและสารัตถธรรม, พุทธปรัชญา : สาระและพัฒนาการ, คัมภีร์วิมุตติมรรค, ลังกาวตารสูตร, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร
    ผลงานการเรียบเรียง
    – คู่มือปฐมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย, คู่มือการเรียนการสอน วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๕, ประมวลการสอนธรรม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, พระพุทธศาสนาในจีน ทิเบต เวียดนาม ญี่ปุ่น, กฎแห่งความรัก (ปรัชญาความรักในพระพุทธศาสนา)
    บทความทางวิชาการ
    – บทวิเคราะห์วัชรยาน ตอนที่ ๑-๕ (บทความทางวิชาการ), นาคารชุนกับปัญหาว่าด้วยกาล ภาวะและอภาวะ, แนะนำพระวินัยปิฎก, ปรัชญามาธยมิกะ, สืบค้นตรรกวิทยาในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา, วิพากษ์ทางสายกลางของอริสโตเติลกับมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาเถรวาท, พระวินัย : กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม กำเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป, สถานการณ์ฯ พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน, เจดีย์ในพระพุทธ-ศาสนา, นิพพาน : อัตตาหรืออนัตตา, วิพากษ์แนวคิด : พระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่, พระพุทธศาสนาแบบธิเบต : วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม”, ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : วิเคราะห์จากหนังสือ “ทางสายกลางของการศึกษาไทย”, พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ, พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณ-สมถะ ๗ : ศึกษาแนวการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย, การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ, ความเข้มแข็งของสถาบันสงฆ์ ปริมาณหรือคุณภาพ, อานิสงส์ของการบริจาคอวัยวะตามหลักพระพุทธศาสนา:กรณีการบริจาคไต, ทางสายกลาง: วิธีบริหารจัดการชีวิตสู่ความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา, ศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก
    เอกสารประกอบการสอน
    – พุทธปรัชญา, วิชาปรัชญาจีนและญี่ปุ่น, วิชาจริยศาสตร์
    งานวิจัย
    -การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
    -พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    -บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเพิ่มพลังบริหาร
    บรรณาธิการ
    – มหาบัณฑิตสัมมนา : บทความสัมมนาทางวิชาการ, พระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่
    เกียรติคุณที่ได้รับ – รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์(เสมาธรรมจักร) ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา

    895e0b8b4e0b895e0b8b1e0b989e0b887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a2-2.jpg

    ขอบคุณภาพ วิกิพีเดีย

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/education/news_1056847
     

แชร์หน้านี้

Loading...