ศาสนธรรม “รูป & นิพพาน” พระพุทธเจ้านิพพานแล้วยังมีรูปได้อย่างไร?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชาไม่รู้, 23 เมษายน 2009.

  1. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    ศาสนธรรม “รูป & นิพพาน”




    นอกจากพระอาจารย์มั่น เคยได้พบเห็นพระพุทธเจ้าและพระสาวกแล้ว ยังมีหลวงพ่อฤษีลิงดำที่เห็นพระพุทธเจ้าได้อีกด้วย ทำให้เกิดข้อสงสัยของสมเด็จพระสังฆราชขึ้นมาครั้งหนึ่ง ซึ่งได้ถามพระอาจารย์มั่นขึ้นมาว่าพระพุทธเจ้านิพพานแล้วจะเห็นได้อย่างไร อนึ่ง นิพพาน เป็นสัจธรรม เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ในแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น เป็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ค้นพบ หนึ่งนั้นคือ นิพพาน ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่เรื่องโกหก เลื่อนลอย หรืออุดมคติที่ไม่มีอยู่จริง นิพพานเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นจากทุกข์แล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่เข้าถึงสภาวธรรมระดับนิพพาน ย่อมมีการเวียนว่ายตายเกิดได้ต่อไป และยังมีทุกข์ได้ต่อไป นี่คือ นิพพาน ในความหมายตามพระไตรปิฎก แต่นิพพาน ในความหมายตาม “สมมุติบัญญัติ” หรือตามศัพท์แล้ว แปลว่า “สูญ” สำหรับผู้ปรารถนานิพพานมากๆ เขาไม่รู้มาก่อนว่านิพพานคืออะไร มีสภาวะอย่างไร ก็จะเข้าใจได้เพียงแค่สมมุติบัญญัติที่ว่านิพพานแปลว่าสูญ ดังนั้น เมื่อเขาละสังขารตายลงหากปรารถนานิพพาน ก็จะพิจารณาแต่ความสูญไปของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าอะไร ก็จะศรัทธาที่จะพิจารณาลงไปในความสูญเท่านั้น หากมีกรรมน้อย ชำระกรรมทั้งดีและชั่วจนเบาบางแล้ว ก็จะยังผลให้เข้าสู่ภาวะนิพพานได้ แต่ในกรณีที่พิจารณาที่ความไม่สูญ ความมีตัวมีตน ก็ไม่อาจนิพพานได้ เช่น ไปเห็นนิมิตพระพุทธเจ้าแล้วยึดเอาว่านี่ละนิพพาน ฉันถึงแล้ว อย่างนี้ ไม่ได้นิพพานจริง เพราะนิพพานเป็น “อนิมิตนิพพาน” คือ นิพพานไม่มีนิมิตหมายเหตุบอกใดๆ นิพพานไปอย่างนั้นเอง




    พระพุทธเจ้าที่ปรากฏให้เห็นได้ทั้งที่นิพพานแล้วนั้นคืออะไร?

    การที่หลวงปู่มั่นก็ดี หลวงพ่อฤษีลิงดำก็ดีเห็นพระพุทธเจ้าได้ทั้งที่นิพพานแล้วนั้น เพราะท่านเห็น “รูป” ไม่ได้เห็น “นิพพาน” ในแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น มีหลักธรรมส่วน “ปรมัตถธรรม” อยู่ อันได้แก่ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน ในขณะปฏิบัติจิตขั้นสูงจนเห็นสภาวธรรมแท้นั้น จะเห็นปรมัตถธรรมได้ ตั้งแต่ในส่วนจิตก่อน เมื่อดูจิตจนแจ้งในจิต ก็จะเห็นสภาวธรรมที่เรียกว่า “เจตสิก” ซึ่งละเอียดยิ่งกว่าต่อไป จากนั้น ก็จะเริ่มเรียนรู้และเห็น “รูป” เมื่อเข้าใจสภาวธรรมของรูปผ่านแล้ว จึงเห็นแจ้งในนิพพานจริง ซึ่งสภาวธรรมสุดท้าย อันเป็นปรมัตถธรรม หรือธรรมเนื้อแท้ สัจธรรมตัวสุดท้ายนั้น ไม่มีซึ่ง รูป, จิต, หรือแม้แต่เจตสิก เลย เพราะนิพพานก็คือนิพพาน ไม่ใช่จิต, เจตสิก หรือรูปแต่อย่างใด ดังนั้น ท่านนักปฏิบัติจิตทั้งหลายที่เห็นรูปพระพุทธเจ้า แล้วยึดเอาว่านั่นคือนิพพาน ก็คือ ความเข้าใจผิด รูปก็คือรูป, นิพพานก็คือนิพพาน แต่ท่านเหล่านั้นบรรลุอรหันตผลได้ด้วยความศรัทธาในรูปนั้น คือ เชื่อว่านิพพานมีจริง และเข้าถึงได้ด้วยมรรควิธีใด คือ เมื่อถึงภาวะนั้นแล้ว ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรแล้ว เพราะเชื่อว่านิพพานมีจริง จึงละความอยากใดๆ ความยึดมั่นใดๆ และมีจิตมั่นตรงต่อนิพพานในที่สุด นี่ถือได้ว่าบรรลุอรหันตผลเหมือนกัน




    รูปพระพุทธเจ้าที่ปรากฏขึ้นต่อหน้านักปฏิบัติจิตนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?

    เนื่องเพราะพระอรหันต์เหล่านั้นยังไม่นิพพาน จึงยังไม่เข้าถึง หรือรับรู้ความละเอียดในสภาวะนิพพานได้ ยังมีขันธ์ห้าอยู่ครบ ยังไม่ดับขันธ์ จึงอาศัยขันธ์ทั้งห้านั่นเองในการปรุงแต่งความเป็นพระพุทธเจ้า แม้บรรลุอรหันต์แล้วแต่ขันธ์ห้ายังมีจึงยังเห็นพระพุทธเจ้าได้ด้วย ขันธ์ห้าของตนเองปรุงแต่งขึ้น คือ สัญญาขันธ์ หรือความจำได้หมายรู้ที่มีอยู่ของตนได้ปรุงขึ้นให้เห็นอย่างนั้น เพราะรูปก็เกิดจากการปรุงแต่งนั่นเอง จึงมีรูปได้ อุปมาอย่างนี้ เราไม่เห็นลม แต่เรารู้ว่ามีลมเมื่อสังเกตจากใบไม้ไหว ถามว่า ใบไม้ไหวคือลมหรือ คำตอบคือ ใบไม้ไหว ก็คือใบไม้ไหว ใบไม้ไหวไม่ใช่ลม แต่เพราะเห็นใบไม้ไหว จึงรู้ว่ามีลม อุปมาก็อย่างนั้น ใบไม้ไหวอุปมาเป็นรูปพระพุทธเจ้า ส่วนนิพพานก็อุปมาเป็นลม เราย่อมไม่เห็นนิพพาน แต่เราเห็นรูปของพระพุทธเจ้าได้ด้วยสัญญาขันธ์ปรุงแต่ง และเราจึงรู้ได้ว่านิพพานมีอยู่จริง แต่พระพุทธเจ้าที่เราเห็นนั้น ก็เป็นเพียง “สัญญาขันธ์” ที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น ถามว่าท่านมีอยู่จริงไหม ก็ต้องถามย้อนกลับว่า แล้วถ้าเราเห็นใบไม้ไหว เราคิดว่า “ลมมีอยู่จริงไหม” ใบไม้ไหวไม่ใช่ลม แต่ลมก็มีอยู่จริงๆ




    จิต, เจตสิก, นิพพาน มีรูปหรือไม่?

    รูปก็คือรูป คือ สิ่งที่เราใช้อายตนะทั้งหกสัมผัสรับรู้ได้ แต่ จิต, เจตสิก, นิพพาน ไม่ใช่รูป จึงไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะครบทั้งหกชนิด แต่รับรู้ได้เพียงอายตนะเดียวคือ “ใจ” เราไม่สามารถมองเห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รับรู้รส, ใช้ผิวสัมผัสถึงจิต, เจตสิก, นิพพาน ได้ สิ่งที่เราสามารถมองเห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รับรู้รส, รู้สึกสัมผัส ได้มีเพียงแต่ “รูป” เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นรู้ได้ด้วย “ใจ” เท่านั้น ใจของมนุษย์นั้นมีพัฒนาการสูง จึงรับรู้ได้ถึงจิต, เจตสิกและนิพพาน ปรมัตถธรรมทั้งสามนี้มีความละเอียดอ่อนมากและไม่มีรูป จึงรับรู้ได้ด้วยอายตนะที่หก หรือสัมผัสที่หกเท่านั้นเอง (อายตนะทางใจ) ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ของท่านตั๊กม้อกล่าวว่าเขาเห็นจิตแล้ว ท่านตั๊กม้อจึงกล่าว่า “ถ้าเธอเห็นจิต มันจะเป็นจิตได้อย่างไร” ความหมายที่อธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ สิ่งที่เขาเห็นเรียกว่า “รูป” ไม่ใช่จิต เพราะจิตไม่ใช่รูป จึงไม่มีรูป จิตและเจตสิก ปรุงแต่งร่วมกันแล้วกำเนิดเป็น “นาม” โดยนามนั้นไม่ใช่ “ปรมัตถธรรม” คือไม่ใช่สัจธรรมเนื้อแท้ เพราะปรุงแต่งร่วมกันกับองค์ประกอบอื่นๆ นั่นเอง จึงไม่เหลือความเป็นธรรมอันบริสุทธิ์ ดังนั้น นาม จึงไม่อยู่ในปรมัตถธรรม รูปและนาม ถูกนำมาพิจารณาในการทำวิปัสสนา โดย “รูป” นั้นเป็นปรมัตถธรรม แต่นามนั้นเป็น “สมมุติธรรม” กล่าวคือ พระพุทธเจ้าได้ตั้งนามด้วยสมมุติและบัญญัติศัพท์ธรรมต่างๆ เรียกชื่อ “จิตและเจตสิก” ที่ปรุงแต่งร่วมกันมาเป็นนามแต่ละนาม เช่น โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริก อันนี้คือ “นาม” เป็นสมมุติบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าใช้ศัพท์ที่ทางโลกสมมุติขึ้นมาเพื่อบัญญัติเป็นมาตรฐานชื่อเรียกในแบบอย่างเดียวกันไว้ ซึ่งนาม “โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริก” นี้ ประกอบด้วยปรมัตถธรรม คือ จิตและเจตสิกผสมปรุงแต่งร่วมกันอยู่หลายชนิด ขอไม่อธิบายในที่นี้ เพราะจะลึกซึ้งมากเกินไป ชื่อยาวๆ ที่เห็นนี้ใช้เอ่ยถึงจิตที่เกิดดับแต่ละดวง ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่างกันออกไป จึงมีชื่อเรียกยาวอย่างนั้น เหมือนชื่อเรียกสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ เอาชื่อเรียกมาจากส่วนผสมของธาตุแต่ละชนิด เช่น CO<SUB>2</SUB> หรือคาร์บอนใดออกไซด์ คือ เอาชื่อ C คือ คาร์บอน บวกกับ O คือ ออกซิเจน ซึ่งมีสองตัว ที่เรียกว่าใด ออกซิเจนมีสองตัวเรียกย่อๆ ว่า ใดออกไซด์ ผสมแล้วได้ “นาม” ว่าคาร์บอนใดออกไซด์ โดยมีธาตุแท้ เป็น ออกซิเจนและคาร์บอน เท่านั้นเอง ขออธิบายแต่เพียงเท่านี้เพื่อไม่ให้สับสนมากเกินไป ผู้ปฏิบัติดู “รูปนาม” ที่เกิดดับ แม้ไม่เข้าใจในรูปนามอย่างลึกซึ้ง ขอเพียงเห็นอนิจจังของรูปนาม แล้วละคลายความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นได้ ก็บรรลุอรหันตผลได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจชื่อนามหรือจำชื่อนามยาวๆ นี้ก็ได้ แต่ในที่นี้ อธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในระดับ “ปริยัติธรรม” เพียงเบื้องต้นเท่านั้นเอง




    ติดรูปราคะสังโยชน์ยังให้ผลเป็นอรหันต์แบบ “ปัญญาวิมุติ” ได้อย่างไร?

    พระอรหันตสาวกที่บรรลุอรหันต์แบบเจโตวิมุติ คือ กำจัดสังโยชน์เกลี้ยงทั้งหมด จึงเข้าใจถึงภาวะนิพพานนั้น จะไม่เหลือรูปราคะสังโยชน์ ละการยึดติดใน “รูป” และ “อรูป” นั้น เป็นด่านสุดท้ายของพระอรหันต์ประเภท “เจโตวิมุติ” แต่สำหรับท่านที่มีปัญญาบารมีมากๆ สามารถเข้าใจถึงสภาวะนิพพานได้โดยที่ยังยึดติดในรูปหรืออรูปได้ เช่น หลวงพ่อฤษีลิงดำ หากยังยึดติดว่านิพพานมีตัว มีรูป มีดินแดน ก็สามารถบรรลุอรหันต์แบบปัญญาวิมุติได้ ไม่จำเป็นต้องขจัดรูปราคะสังโยชน์นี้ ในทางมหายานนับว่าได้ถึงอรหันตผลแล้ว นอกจากนี้ ท่านที่ปฏิบัติธรรมสายธรรมกายบางท่าน ก็เห็นนิพพานเป็นแดน เห็นท่านที่นิพพานแล้วมีรูปกายต่างๆ อย่างนี้ ก็ยังติดใน “รูป” อยู่ จึงยังไม่อาจแยกแยะระหว่างรูปและนิพพานได้ ถึงขนาดประกาศว่า “นิพพานเป็นอัตตา” ก็มี ด้วยความที่ยังเหลืออัตตาในรูปที่ตนได้เห็นนั่นเอง แต่ด้วยศรัทธาในธรรมของพระพุทธเจ้าก็มีจิตมั่นตรงต่อนิพพาน และละ “อวิชชาสังโยชน์” ได้ รู้แจ้งว่านิพพานมีจริง และเข้าถึงได้จริง จึงนับเข้าเป็นอรหันต์ เรียกว่า “อรหันตโพธิสัตว์” เมื่อละสังขารตายลง จิตจะจุติไปตามภาพนิมิตที่ตนเชื่อว่าเป็นนิพพาน ทำให้ไม่ได้ดับขันธปรินิพพาน แต่จุติแล้วปฏิสนธิเกิดเป็นชีวิตใหม่ อนึ่ง ผู้เขียนเคยได้พบกับผู้ถอดกายทิพย์ไปพบหลวงพ่อฤษีลิงดำ ถามท่านท่านก็ตอบว่าท่านเป็น “อรหันตโพธิสัตว์” ขออนุญาตท่านนำไปเผยแพร่ ท่านก็ตกลงให้เผยแพร่




    รูปและนาม คือ นิพพานหรือไม่?

    รูปก็คือรูป นามก็คือนาม เมื่อรูปนามดับไปตามหลักอนิจจัง แล้วจิตของเราน้อมไปทางความดับนั้น จิตนั้นย่อมก้าวล่วงลงสู่ความว่างสูญ ก็อาจรู้แจ้งถึงนิพพานได้ จริงอยู่ว่านิพพานแปลว่าสูญ แต่นิพพานเป็น ปรมัตถธรรม จึงเป็นความสูญที่ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย เป็นความสูญที่มีธรรม อันเรียกว่าปรมัตถธรรม หรือธรรมเนื้อแท้ หรือสัจธรรม ธรรมชาติแห่งความสูญนั้นมีอยู่อย่างเป็นสัจธรรมคือธรรมเที่ยงแท้แน่นอน ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา คือ ธรรมที่กล่าวนั้น ไม่เป็นอื่น ไม่แปรเปลี่ยนไป แต่ธรรมนั้นก็มีอนิจจัง เป็นธรรมดา ก็อนิจจังนั้นแหละคือธรรมอันเที่ยง ความแปรเปลี่ยนนั่นแหละที่เที่ยงแท้ แต่นิพพานจะต่างจากธรรมอื่นๆ คือ ไม่มีสภาวะการเวียนว่ายตายเกิดและความทุกข์ก็จะหมดไปเท่านั้นเอง การพิจารณา “รูปนาม” เป็นการนำมาเป็นเครื่องเพ่งพิจารณาเท่านั้น ที่พิจารณานั้นคือ ความเป็นอนิจจังของรูปนาม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จะเพ่งพิจารณาอะไรก็ได้ ก็พิจารณาที่ความเป็นอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา เท่านั้นเอง




    พระวิสุทธิเทพนิพพานหรือยัง?

    ในพระไตรปิฎกได้บันทึกคำว่า “พระวิสุทธิเทพ” ไว้ ในสมัยครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ มีผู้ถามถึงพระวิสุทธิเทพ ท่านก็ไขปริศนาให้ว่าหมายถึงเทวดาที่มีจิตบริสุทธิ์ หมายถึงพระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันตสาวกนั่นเอง การกล่าวถึงพระวิสุทธิเทพในครั้งนั้น กล่าวเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงมีขันธ์ห้าอยู่ครบ ยังไม่ทรงนิพพาน ดังนั้น คำว่าพระวิสุทธิเทพนั้น จึงแปลความหมายได้ว่า หมายถึงเทพที่มีจิตบริสุทธิ์แต่ยังไม่นิพพาน เพราะถ้านิพพานแล้ว ความเป็นคน, สัตว์, เทวดา หรือเทพ ก็ไม่มีอีก หมดไป นิพพานไปหมดแล้ว ไม่มีอย่างอื่นให้อาลัยอยาก อาลัยยึดมั่นถือมั่นคว้าไว้ ปรุงไว้ โหยหาได้อีก ดังนั้น คำว่า “พระวิสุทธิเทพ” ต้องหมายถึงว่าท่านยังไม่นิพพาน ถ้านิพพานแล้วไม่เรียกเป็นเทพอะไรอีก เช่น กายทิพย์ที่พระอรหันต์ถอดออกไปเที่ยวในโลกทิพย์ ก็นับเรียกได้ว่าเป็น “วิสุทธิเทพ” แต่ถ้าเราเห็นรูปกายของท่านใดที่นิพพานแล้ว ให้รู้ว่านั่นไม่ใช่พระวิสุทธิเทพ ไม่ใช่เทพ, ไม่ใช่เทวดา, ไม่ใช่สัตว์, ไม่มีชีวิต, ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด จึงไม่ใช่อะไรอีก นอกจาก “รูป” ที่เราเองปรุงแต่งขึ้นจากสัญญาขันธ์ของเรา อันอาจมีธรรมระดับนิพพานเป็นเหตุให้จิตเราหยั่งรู้ แปลออกมาเป็น “รูป” นั้นๆ ได้ เหมือนเวลาที่เราเห็นใบไม้ไหวก็อย่าสำคัญหมายว่าใบไม้ที่ไหวคือลม ลมก็คือลม มีอยู่จริง แต่ใบไม้ไหวก็คือใบไม้ไหว นิพพานก็คือนิพพาน ไม่มีนิมิต ไม่มีรูป รูปก็คือรูป แต่รูปบางรูปสำคัญหมายถึงความมีอยู่จริงของนิพพานได้เหมือนกัน เช่น รูปกายทิพย์ของพระพุทธเจ้า




    ผลของการติด “รูป” ทำให้เกิดการเผยแพร่ธรรมะบิดเบือน
    การติดในรูปราคะสังโยชน์ ทำให้เกิดการเผยแพร่ธรรมะที่บิดเบือนไปเล็กน้อย เช่น การกล่าวว่า “นิพพานเป็นอัตตา” เป็นต้น หรือ การกล่าวว่า “นิพพานมีดินแดน” นิพพานแล้วยังมีรูปกายทิพย์เป็นแก้วอย่างนั้นอย่างนี้เป็นต้น การที่เราเอา “รูปราคะสังโยชน์” เหล่านี้ มาสำคัญหมายเป็น “นิพพาน” ทำให้เราไม่ได้นิพพาน อุปมาเหมือนการไปสำคัญหมายเอาว่าใบไม้ไหวคือลม เราย่อมไม่เข้าถึงลมที่แท้จริงเป็นแน่แท้ เมื่อยามละสังขารตายลง จิตก็จะระลึกนึกถึงภาพนิมิตก็ดี, รูปพระพุทธเจ้าก็ดี, รูปแดนนิพพานก็ดี สุดท้าย ก็ไม่ได้นิพพาน เพราะติดใน “รูป” ใน “นิมิต” เหล่านี้นั่นเอง การที่สมเด็จพระสังฆราชถามพระอาจารย์มั่นว่า “พระพุทธเจ้านิพพานแล้วจะเห็นได้อย่างไร” นั้นก็เพื่อบ่งบอกว่า “นิพพานแล้วย่อมไม่เห็น เพราะนิพพานไม่ใช่รูป” สิ่งที่เห็นได้เรียกว่ารูป แต่นิพพานไม่ใช่รูป จึงมองไม่เห็นแม้จะใช้ตาทิพย์ก็ตาม ในขณะที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่าถ้าเจอพระพุทธเจ้า ให้ฆ่าพระพุทธเจ้าก่อน ความหมายของท่านก็คือ การไม่ไปยึดติดในรูปกายทิพย์ที่เราเห็นเป็นพระพุทธเจ้านั่นเอง เพื่อมุ่งจิตไปสู่นิพพานอย่างเดียวไม่เป็นอื่น ปัจจุบันหลายท่านกำลังเอา “พระวิสุทธิเทพ” มาเป็นสินค้าตัวใหม่ให้กับพุทธพาณิชย์ เอามาโปรโมทให้ศรัทธายึดมั่นถือมั่นเหมือนเทพองค์ใหม่กันต่อไป นี่คือ ผลพวงจากความเข้าใจผิดในนิพพานและรูป ที่บทความฉบับนี้จำเป็นต้องเขียนขึ้นแม้จะค้านความเชื่อของท่านก็ตาม
     
  2. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    <DIR>ท่านที่เห็นรูปกายทิพย์พระพุทธเจ้าแล้วเกิดสงสัยว่าพระพุทธเจ้านิพพานแล้วเห็นได้อย่างไร
    </DIR>
     
  3. ชาไม่รู้

    ชาไม่รู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +878
    <DIR>คำตอบคือ

    <DIR>รูปนั้นเกิดจากสัญญาขันธ์ปรุงแต่งขึ้น เหมือนเวลาเราเห็นใบไม้ไหว เราก็รู้ว่ามีลม แต่เราไม่เห็นลมหรอก

    นิพพานเราก็ไม่อาจเห็นได้ แต่เราเห็นรูปกายพระพุทธเจ้าที่นิพพานไปแล้ว อันเกิดจากสัญญาขันธ์ของเราปรุงแต่งขึ้นมาเอง ก็ทำให้รู้ได้ว่านิพพานมีอยู่จริง

    แต่ถ้าเรายึดติดรูปกายที่เราเห็น เท่ากับเราไปสำคัญหมายว่า "ใบไม้ไหวก็คือลม" ทั้งที่จริงแล้ว ใบไม้ไหวก็คือใบไม้ไหว ลมก็คือลม

    เรารู้ว่ามีลมเพราะอาศัยใบไม้ไหวแต่ถ้ายึดติดว่าใบไม้ไหวเป็นลมเมื่อไร ก็หลงเมื่อนั้น ถ้ายึดติดว่าพระพุทธเจ้านิพพานแล้วยังมีรูปกายทิพย์เป็นพระวิสุทธิเทพเมื่อไร ก็หลงเมื่อนั้น

    นิพพานแล้วไม่เหลือแม้รูปหรืออรูป การที่เรายังเหลือรูปและอรูปในจิตของเรา หมายสำคัญว่าเป็นนิพพาน เพราะอำนาจแห่งรูปราคะสังโยชน์ และอรูปราคะสังโยชน์

    ปรมัตถธรรม มี จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน [SIZE=4][COLOR=#008000]นิพพานไม่ใช่รูป นิพพานคือนิพพาน มี ๑ เดียวไม่เป็นอื่น ที่เราเห็นเป็นรูปก็คือรูป เราเรียกว่าปรมัตถธรรม ๗๒ คือ จิต ๑, เจตสิก ๕๒, รูป ๑๘ และ นิพพาน ๑ [/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][COLOR=#008000][SIZE=4][COLOR=#008000][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][COLOR=#008000][SIZE=4][COLOR=#008000]นิพพานไม่ใช่รูป นิพพานคือนิพพาน มี ๑ เดียวไม่เป็นอื่น ที่เราเห็นเป็นรูปก็คือรูป [/COLOR][/SIZE][SIZE=4][COLOR=#008000]นิพพานไม่อาจเห็นได้ สิ่งที่เห็นได้ไม่ใช่นิพพาน มันคือรูปต่างหาก
    [/COLOR][/SIZE][/COLOR][/SIZE]


    </DIR>

    </DIR>
     
  4. Mcafee.x

    Mcafee.x เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +118
    จะมัวมาศึกษาข้อความของปลาที่เคยเห็นบนบกไปทำไม เห็นไม่เห็น มีไม่มี ทำไมไม่ลองพิสูจน์ดูก่อน ธรรมทั้งหมดเป็นปัจจัตตังใครทำใครก็ได้ เหมือนข้าวใครกินเขาก็อิ่ม
    อนุโมทนาครับ
     
  5. Add-on

    Add-on Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +64
    รู้เขารู้เรา รบร้อยครัง ชนะร้อยครั้ง
     
  6. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    พิจารณาธรรมโดยไม่แยบคายก็เป็นแบบนี้แหละ พอได้ยินว่า "นิพพานสูญ" ก็คิดว่าต้องสูญหมดทุกอย่าง ติดโวหารเกินไป จริงๆแล้ว เจตนาที่ท่านสอนคือ นิพพานนั้นสูญจากกิเลส ตัณหา
    ทีนี้ลองดูว่านิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเป็นอย่างไร ซึ่งปรากฏในพระสูตรหลายแห่ง ล้วนแต่มีทิศทางเดียวกันว่านิพพานมีอยู่ เป็นดินแดนอย่างหนึ่ง เป็นอายตนะอย่างหนึ่ง มีความสว่างไสว ดังหลักฐานต่อไปนี้
    1. นิพพานเป็นเป็นดินแดนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังหลักฐานต่อไปนี้
    พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุถึงไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้วกำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด ดังนี้(จูฬโคปาลสูตร , พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 4 มัชฌิชนิกาย มูลปํณณาสก์)

    2. นิพพานเป็นอมตนคร ดังตัวอย่างต่อไปนี
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว ทรงยังพระมหากรุณาให้เกิดในสัตว์ทั้งหลาย มีพุทธประสงค์จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาแก่พรหมทั้งหลายว่าดูก่อนพรหม ประตูทั้งหลายแห่งอมตนคร เราเปิดสำหรับท่านแล้วละ ขอเหล่าสัตว์ที่มีโสตประสาทจงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด แต่ก่อนเราสำคัญว่าจะลำบากเปล่าจึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่ชำนาญในหมู่มนุษย์.(เล่ม 73 อรรถกถา พระสุตตตันตปิฎก พุทธวงศ์ รัตนะจงกรมกัณฑ์)

    3. นิพพานเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง (อายตนะก็คือสถานที่นั่นเอง
    “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น.
    ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.” ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๒๐๖-๒๐๗


    4. นิพพานนั้นเห็นได้ แต่เห็นได้ยาก
    “ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่า นิพพาน ไม่มีตัณหา. นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย. ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่.” ขุ.อุ..๒๕/๑๕๙/๒๐๗
    ถ้านิพพานเห็นไม่ได้ จะไม่ทรงตรัสว่าเห็นได้ยาก

    5. นิพพานมีความสว่างภายใน
    “ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.” ม.มู.๑๒/๕๕๔/๕๙๖

    คำอธิบายของนักคิดสมัยใหม่ที่นึกเอาเองว่านิพพานต้องสูญจากทุกสิ่งทุกอย่าง มีอะไรไม่ได้เลยทั้งสิ้น ซึ่งความเห็นแบบนี้ก็เคยถกกันในสมัยพุทธกาลแล้ว ลองค้นในยมกสูตรเทียบเคียงได้ ว่าเป็นความเห็นที่ผิด สิ่งที่ดับก็คือขันธ์ 5 เท่านั้น
    นักคิดสมัยใหม่ที่มิได้ปฏิบัติสมาธิภาวนาจนหยั่งสู่กระแสนิพพานได้ ก็ได้แต่ด้นเดาใช้ความคิดไปต่างๆนานา แต่ยิ่งพยายามตีความธรรมะก็ยิ่งเป๋ เพราะพยายามตีความพระสูตรให้เข้ากับความเห็นตนได้ ก็กลับไปขัดกับพระสูตรอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งแสดงว่าตีความกันแบบผิดๆ
    ธรรมะนั้นไม่ต้องอาศัยการตีความ ถ้อยคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ย่อมตรงกับสภาวธรรมที่พระองค์ทรงประสบมาอย่างมากที่สุดอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องตีความให้วุ่นวายแต่อย่างใด
     
  7. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    นิพพาน ย่อมอยู่เหนือสมมติทั้งปวง........ และมี สภาวะโดย "ปรมัตถ์"......ผู้ที่ได้ "มโนมยิทธิ" ย่อมเห็น สภาพพระนิพพาน ได้ ด้วย พุทธบารมี....... นิพพาน ย่อมสูญ จาก กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และ ภพชาติทั้งปวง......ปราศจากการเวียนว่ายตายเกิด......ย่อม ดำรงอยู่เช่นนั้น นิรันดร......

    พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ มี "จิต" หรือไม่......ตอบว่า มี แน่นอน......เมื่อ รูป และ นาม โดยสมมติ นั้น ดับไป โดยไม่เหลือเชื้อ........ย่อมเป็น วิมุติ วิสุทธิจิต อยู่เอง......เป็น สภาพที่เป็น "ปัตจัตตัง" โดยแท้......ปรมัตถธรรมทั้ง 4....ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน ย่อมเป็น วิมุติ ไปหมดสิ้น.......รูป ก็เป็น รูปปรมัตถ์........จิต ก็เป็น จิตปรมัตถ์......มิได้เจือปน ไปด้วยสรรพกิเลสใดๆ เลย.........แม้ ธาตุขันธ์ ก็แปรสภาพเป็น "พระธาตุ" ไปหมดสิ้น....


    นิพพาน ย่อมเป็น นิพพาน.......ไม่เป็นอื่น ไปเลย......ผู้เข้าถึง ย่อมรู้ได้เฉพาะตน นั้นแล.....


    จะด้วย ปัญญาวิมุติ หรือ เจโตวิมุติ.......ก็ย่อมถึง พระนิพพาน เหมือนกัน......ต่างเพียง กระแสของจิตที่เข้าไปสัมผัส เท่านั้น.......ย่อมเห็นประจักษ์ ในสภาวะพระนิพพาน ต่างกัน......คือ เห็นด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ กับ เห็นด้วยจิตอันบริสุทธิ์........แต่ก็ หมดเชื้อ หมดกิเลส เหมือนกัน.....
     
  8. ปอยหลวง

    ปอยหลวง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +22
    ไม่รู้นะครับ แต่ในตอนนี้ผมว่าพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแค่รูปขันเท่านั้นแต่วิญญาณขันยังทรงดำรงอยู่เพราะจาการที่ผมได้นั่งสมาธิกำหนดจิตดูผมรู้สึกว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่ที่ใดสักที่หนึ่งหรือทรงอยู่ในทุกๆที่ในปัจจุบันนี้ และเนื่องจากผมได้มีพระธาตุมาไว้บูชา ยิ่งทำให้จิตผมคิดสนับสนุดความคิดเดิมที่ว่าพระพุทธเจ้ายังทรงอยู่แล้วยิ่งปฏิบัติธรรมมากเท่าใดก็ยิ่งรู้สึกได้ถึงความใกล้ชิดกับำระพุทธองค์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดั่งพระพุทธพจน์ที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา แล้วอีกประการหนึ่ง ผมได้อ่านหนังสื่อพระไตรปิฏก จำไม่ได้ว่าบทไหน เขียนไว้ว่า เมื่อสิ้นพระพุทธศาสนาพระธาตุทั้งหลายในจักวาลจะมารวมกันที่ชมพูทวีปแล้วจะปรากฏเป็นพระพุทธองค์อีกครังหนึ่งแล้วแสดงธรรมโปรถในเวลานั้นใครที่ยังไม่บรรลุก็จะบรรลุ คำถามคือ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้วก็จะไม่มีรูปขึ้นมาอีกได้แล้ว แล้วเหตุใดในช่วงสิ้นพระศาสนายังกลับมีพระพุทธเจ้าทรงมาแสดงธรรมได้อีก
     
  9. CHOTIYA

    CHOTIYA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +359
    ขอแจมแบบอุตรนิกายหน่อย เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่ดับสนิทไม่เหลือ คือนิรมานกาย(กายเนื้อ) แลพระวิสุทธิจิตสถิตยังพระนิพพาน(กายธรรม)ส่วนที่ยังมีผู้ที่จิตบริสุทธิ์บารมีสูงได้พบเห็นกันอยู่อันนี้เป็นสัมโภคกายคือเป็นพลังพุทธคุณจากการบำเพ็ญทศบารมี ที่พระองค์สละทิ้งไวโปรดสัตว์ ทั้งพระปัจเจกพุทธ แลพระอรหันต ก็จะมีกายทั้งสามเหมือนกัน ลองทำกันไป ทศบารมี สมถและวิปัสสนา ถึงเวลาคุณก็จะได้พบได้เห็นเอง
     
  10. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    จิตนิพพานไม่เอาดี ไม่เอาชั่ว ไม่มีตัว ไม่มีตน ว่างแต่ไม่สูญ
     
  11. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักรักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่
    เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้น ก็จะรับไม่ได้ การเปิดใจรับพระพุทธบารมีไว้คุ้มครองรักษาตนไม่ยากลำบาก ไม่เหมือนการเข็นก้อนหินใหญ่ที่ปิดปากถ้ำ เพียงน้อมใจนึกถึงพระพุทธเจ้าให้จริงจังอยู่เสมอก็จะรับพระพุทธบารมีได้ จะมีชีวิตที่สวัสดีมีสุขสงบได้

    พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่า เมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ และท่านพระอาจารย์องค์นั้นต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว

    พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบารมีได้เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
    มีเรื่องของท่านพระโมคคัลาน์เป็นเครื่องยืนยันรับรอง คือเมื่อปฏิบัติธรรมถึงจุดปรารถนาสูงสุดแล้ว ท่านถูกโจรเจ้ากรรมในอดีตพยายามหาทางทำลายชีวิตของท่าน ท่านพยายามใช้อิทธิฤทธิ์หลบหนี แต่โจรก็ติดตามไม่หยุดยั้ง จนท่านเบื่อหน่ายที่จะหลบหนีต่อไป จึงยอมให้โจรจับได้ และทุบท่านจนร่างกายแหลกเหลว นิพพานในที่สุด เมื่อนิพพานแล้ว ท่านได้รวมร่างเข้าอีกครั้งหนึ่งเหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ แล้วกราบทูลลา เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่านยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์ได้อย่างยิ่ง

    เมื่อมั่นใจในความดำรงอยู่อย่างยั่งยืนนิรันดรแห่งพระพุทธบารมี หรือคุณธรรมของพระพุทธองค์และของครูบาอาจารย์สำคัญทั้งหลาย ที่ท่านไกลแล้วจากเครื่องกิเลสเศร้าหมอง พุทธศาสนานิกทั้งหลายผู้มีสัมมาปัญญา-สัมมาทิฐิ ก็ควรเร่งปฏิบัติพระพุทธศาสนา ให้ได้เป็นคนดีตามลำดับไป ให้เป็นที่ปรากฏประจักษ์ในพระญาณหยั่งรู้ของพระพุทธองค์ ให้พระพุทธบารมีเสริมส่งบารมีของตน จนกว่าตนเองจะสามารถเป็นผู้มีบารมี มีคุณธรรมดำรงยั่งยืนอยู่ได้เช่นท่านผู้เป็นอริยสาวกทั้งหลาย วันนั้นมาถึงเมื่อใด เมื่อไร วันนั้นผู้นั้นก็จะไม่ต้องกังวลที่จะใช้ชีวิตนี้ทำทางหนีมือแห่งกรรม และไม่ต้องกังวลสร้างชีวิตในชาติอนาคตให้สมบูรณ์บริบูรณ์สวยสดงดงามต่อไป

    ...จากบางช่วงบางตอน..

    ..ชีวิตนี้น้อยนัก..

    พระนิพนธ์
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  12. ดับ

    ดับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +533
    ศึกษาได้แต่อย่าหลงนะครับ ระวังพระปริยัติเป็นงูพิษ อย่าว่าแต่ปุถุชนอย่างเราเลย ท่านที่ถือครองผ้ากาสาวภัตรมียศใหญ่โต ยังหลงมีให้เห็นก็มาก เจริญธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...