เรื่องเด่น วัดถาเอ่อร์ วัดโบราณในมณฑลชิงไห่

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 10 พฤศจิกายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    วัดถาเอ่อร์ วัดโบราณในมณฑลชิงไห่



    0b8ade0b988e0b8ade0b8a3e0b98c-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b983e0b899e0b8a1.jpg

    วัดถาเอ่อร์ตั้งอยู่บนเนินเขาดอกบัว ตำบลหลู่ซาร์ อำเภอหวงจง มณฑลชิงไห่ อยู่ห่างจากเมืองซีหนิง เมืองเอกของมณฑลนี้ประมาณ 25 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 6 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนานิกายวัชรยานหรือตันตรยาน ของนิกายหมวกเหลืองของชาวพุทธ ชาวทิเบตส่วนใหญ่

    วัดถาเอ่อร์ เป็นพระอารามขนาดใหญ่ มีห้องโถงใหญ่น้อย 52 ห้อง พระเจดีย์จำนวนมาก ห้องสวดมนต์และห้องพักสงฆ์ 9,300 ห้อง รวมพื้นที่ใช้สอย 450,000 ตารางเมตร ตัวอาคารก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมฮั่นผสมทิเบต วัดนี้เป็นที่ประสูติของชงคาปา หรือ จงขะปะ ผู้ก่อตั้งนิกายหมวกเหลืองของพุทธศาสนานิกายวัชรยานทิเบต และเป็นคลังพุทธศิลป์โดยเฉพาะที่มีการใช้อัญมณีมาประดับองค์พระพุทธรูป​

    วัดนี้ประกอบด้วย วิหารหลวง หรือ “วิหารหลังคาทองคำ” ที่ภาษาจีนเรียกว่า ต้าจินหว่าซื่อ และมีวิหารบริวารรายล้อมอีกหลายหลัง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปแทนองค์พระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตลอดจนรูปปั้นพระโพธิสัตว์ซึ่งมีมากมายแตกต่างกันไป

    8ade0b988e0b8ade0b8a3e0b98c-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b983e0b899e0b8a1-1.jpg

    ลักษณะวิหารภายในวัดถาเอ่อร์ จะมีลักษณะวิหารคล้ายคลึงกัน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ “ตง” หรือ ไม้เครื่องเรือนที่วางบนคานสำหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก ซึ่งศิลปะเรือนไม้ของจีนและทิเบต นอกจากไม่ปิดตงแล้วยังทาสีฉูดฉาดอวดความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวัดถาเอ่อร์ โดยสีหลักที่ใช้ในศิลปะทิเบตล้วนเกี่ยวข้องกับศาสนา คือ สีขาว แทนความหมายถึง ความกรุณา สีแดง หมายถึง ปัญญา สีเหลือง คือ ความอ่อนโยน สีน้ำเงิน แทน จิตวิญญาน และสีดำ คือ อำนาจ

    8ade0b988e0b8ade0b8a3e0b98c-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b983e0b899e0b8a1-2.jpg

    วิหารหลังคาทองคำของวัดถาเอ่อร์ซื่อ เป็นสถานที่ที่ประดิษฐานสถูปเงินประดับเพชรนิลจินดาวาววาม เชื่อกันว่า จุดที่ตั้งของวิหารหลังคาทองคำนี้คือ เป็นสถานที่ตัดสายสะดือของพระจงขะปะ หลังประสูติแล้ว ซึ่งตามตำนานเล่าว่า ต่อมามีต้นโพธิ์งอกขึ้นจากจุดดังกล่าว โดยโพธิ์มงคลต้นนี้มีใบสะพรั่งนับแสนใบ แต่ละใบมีรูปพระพุทธรูปนั่งอยู่บนสิงห์โตปรากฎอยู่ จนเป็นที่มาของชื่อวัดในภาษาทิเบตว่า “คุมบุม” แปลว่า รูปพระแสนองค์ ภายในบรรจุสรีระสังขารของท่านจงขะปะ เล่ากันว่า ในระหว่างที่ท่านจงขะปะ ไปเรียนพุทธศาสนาที่ทิเบต ท่านจงขะปะไม่ได้กลับไปเยี่ยมโยมแม่ที่บ้านเป็นเวลา 6 ปี จนโยมแม่คิดถึงจึงส่งจดหมายพร้อมเส้นผมสีขาว เพื่อให้กลับบ้านพบกันสักครั้ง ท่านจงขะปะตอบว่า ยังกลับไปเยี่ยมบ้านไม่ได้ เพราะมีงานสำคัญที่ต้องทำให้บรรลุ โดยส่งภาพตนเองและภาพพระพุทธรูปที่นั่งอยู่บนสิงโต ท่านแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการเรียนพระพุทธศาสนาให้คุณแม่และพี่สาวทราบ พร้อมระบุในจดหมายว่า หากก่อสร้างเจดีย์ที่ประกอบด้วยรูปพระพุทธเจ้านั่งอยู่บนสิงโตนับแสนตัวและให้ต้นโพธิ์ที่งอกขึ้นมาเองในจุดที่ตัดสายสะดืออยู่ตรงกลาง ก็เท่ากับได้พบหน้ากันทุกวัน

    8ade0b988e0b8ade0b8a3e0b98c-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b983e0b899e0b8a1-3.jpg

    โยมมารดาท่านจงขะปะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงสร้างเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาเมื่อปี ค.ศ. 1379 ก่อนที่จะมีการสร้างวัดขึ้นภายหลัง คือปีค.ศ. 1560

    วัดถาเอ่อร์ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพุทธศิลป์สามสาขา” คือ 1. จิตรกรรมฝาผนัง 2. การเย็บปักผ้าพระบฎ ซึ่งเป็นภาพ “ถังข่า”ชนิดหนึ่ง และ3. การปั้นและแกะสลักเนยจามรีเป็นรูปดอกไม้คล้ายพานบายศรีถวายเป็นพุทธบูชา หรือ “ตอร์มา”ซึ่งหากมีโอกาสไปชมแล้ว จะประทับใจในฝีมือละเอียดประณีต และสีสันอันสดใส​

    8ade0b988e0b8ade0b8a3e0b98c-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893e0b983e0b899e0b8a1-4.jpg

    ในวัดถาเอ่อร์ สิ่งที่วิหารทุกหลังมีเหมือนกันหมดคือ “กงล้อมนตรา” ที่มีสีและขนาดแตกต่างกันไป สำหรับผู้แสวงบุญได้หมุนเพื่อทำสมาธิและเป็นตัวช่วยสวดมนต์ให้ได้มากจบ ด้วยเชื่อว่าเป็นวิธีการสั่งสมอานิสงส์ผลบุญให้ไปถึงนิพพานได้


    ขอขอบคุณที่มา
    http://thai.cri.cn/221/2017/11/10/228s260377.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...