"ล็อกเก็ตพุทโธคลัง-แม่บุญเรือน" บรรจุเกศาคุณแม่บุญเรือน เพื่อสร้างพระผงพระนเรศวร 5000 องค์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย สายครูบา, 27 มกราคม 2015.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    งานบุญสืบเนื่อง บารมีสมเด็จพระนเรศวร

    ล็อกเก็ต "สมเด็จเจ้าฟ้านเรศวรราชาธิราช"

    บรรจุอิฐพระสถูปพระนเรศเมืองหาง พม่า


    a.jpg

    a.jpg

    จองร่วมบุญองค์ละ 500 บาท เพื่อระดมปัจจัยสร้าง

    พระผงพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    รุ่น บรมจักรพรรดิราช (ยกยอดฉัตรพระเจดีย์) หลังยันต์มหาจักรพรรดิล้านนา

    เพื่อถวายพร้อมพระมหามัยมุนี ณ วัดอุทัยธาราม เวียงแหง

    จำนวน 5,000 องค์ พร้อมกล่อง เป็นราชสักการะ ราชกุศล

    มวลสารหลักคือ อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวร เมืองหาง ประเทศพม่า

    และมวลสารสำคัญอื่นๆ อีกมากมายทั้งสายไทย ล้านนา ไทใหญ่ พม่า

    ขอเชิญร่วมบุญ ร่วมสร้างบารมี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เพื่อแผ่นดินไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9491.JPG
      IMG_9491.JPG
      ขนาดไฟล์:
      165.2 KB
      เปิดดู:
      6,478
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2017
  2. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    สถูปสมเด็จพระนเรศวร เมืองหาง ประเทศพม่า อดีตและปัจจุบัน

    [​IMG]

    ได้รับมอบอิฐพระสถูปมาเพิ่มเติมเพื่อสร้างพระผงสมเด็จพระนเรศวร
    เนื้ออิฐพระธาตุแสนไห และสถูปเมืองหาง ในครั้งนี้


    [​IMG]
     
  3. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    แล้วคำอธิษฐานก็เป็นจริง

    ด้วยพระบารมีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    ได้รับมอบ "อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองหาง" เพื่อบรรจุในล็อกเก็ตรุ่นนี้ อิฐพระสถูปนี้ได้รับมา 2 ทางด้วยกันคือ จากผู้สร้าง พระกริ่งนเรศวร รุ่นบูชาคุณแผ่นดิน และพระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ ของหลวงตาม้า ซึ่งได้รับก้อนอิฐจากหลวงตาม้าที่ท่านได้ไปอัญเชิญมาจากซากสถูปเมืองหาง ประเทศพม่า ผ่านการอธิษฐานจิตจากหลวงตามานาน พระที่สร้างจากอิฐพระสถูปนี้เป็นที่โด่งดังและต้องการของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง และอีกส่วนหนึ่ง(ก้อนใหญ่) ได้รับอนุเคราะห์จากพระอาจารย์มหาอนุพงษ์ ส่งมอบให้พร้อมกับผงอิฐพระบรมธาตุแสนไห (อิฐพระสถูปได้รับบารมีจากผู้ใกล้ชิดเจ้ายอดศึกนำมามอบให้) เพื่อจัดสร้างล็อกเก็ต และสร้างพระผงถวายวัดปางป๋อ ในคราวนี้
    [/CENTER]

    หลวงตาม้า กับ อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวร

    ท่านเล่าว่า "อิฐก้อนนี้เป็นอิฐของพระสถูปบรรจุอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่เมืองหางประเทศพม่า โดยท่านได้ไปอันเชิญมาเอง เมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีมาแล้วปัจจุบันไม่มีหลักฐานให้พบอีกแล้ว เพราะว่าทหารรัฐบาลพม่าทำลายจนหมดสิ้นแม้แต่เศษอิฐก็นำรถไถทิ้งลงแม่น้ำสาละวิน ด้วยความเคียดแค้นเพราะทหารฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาว ไทยใหญ่ได้ทั้งนี้เพราะเมื่อชนกลุ่มน้อยทำศึกกับฝ่ายทหารพม่าทุกครั้งเขาจะทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่สถูปเมืองหาง"

    และหลวงตาได้เคยกล่าวไว้ว่า "อิฐพระสถูปเมืองหางนี้ ก้อนเดียวก็มีอานุภาพมากเหลือล้นเป็นสื่อถึงพระญาณสมเด็จพระนเรศวรได้ดีกว่าการทำพิธีบวงสรวงใหญ่ๆเสียอีกไม่เชื่อใครมีพลังจิต จะลองจับพลังดูเอาก็ได้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2015
  4. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    งานวิจัย พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช งานวิเคระห์ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่ได้รับการยกย่องทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ตลอด 50 พรรษาของพระองค์ได้แผ่ขยายพระบรมเดชานุภาพ ทรงนำกองทัพเข้าประจัญบานในการรบ จนเป็นที่ครั่นคร้ามของอริราชศัตรู เอกสารชาติตะวันตกบันทึกว่า การปกครองในรัชกาลของพระองค์เข้มงวดที่สุดในประวัติศาสตร์สยามพระองค์ทรงประหารหรือสั่งประหารชีวิตผู้คนมากกว่า 50,000 คน ทั้งนี้ไม่นับผู้ล้มตายในการทำสงคราม
    อาณาจักรอังวะเกือบล่มสลาย หากพระองค์ไม่สวรรคตเสียก่อน ขณะเดินทางกรีฑาทัพทหาร 200,000 คนเพื่อเข้ายึดครองศูนย์กลางอำนาจของพม่าในขณะนั้น
    แต่ประเด็นพื้นที่สวรรคตของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้กลับคลุมเครือไม่ชัดเจน โดยเฉพาะพงศาวดารไทยที่บันทึกมาแต่ครั้งสมัยอยุธยาซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดให้ชำระขึ้นใน พ.ศ.2223 เป็นการบันทึกภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคตแล้วเพียง 75 ปี (สมเด็จพระนเรศวรฯสวรรคตในปี พ.ศ.2148) นับได้ว่าเป็นพงศาว ดารไทย ที่บันทึกใกล้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในบรรดาพงศาวดารไทย ด้วยกัน โดยได้บันทึกพื้นที่สวรรคต มีชื่อว่า “ เมืองหลวง ” ตำบล ทุ่งดอนแก้ว… (หมดฉบับแรกเพียงเท่านี้ส่วนฉบับที่สองยังหาไม่พบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงปัจจุบัน)
    ซึ่งยังไม่ทราบว่า “เมืองหลวง” คือเมืองอะไร? ตั้งอยู่ที่ไหน? เพียงแต่ทราบว่าตั้งอยู่ระหว่าง เมืองเชียงใหม่ กับ แม่น้ำสาละวิน และเมืองนาย(ในพม่า)
    แต่มาวันนี้ได้มีหลักฐานของพงศาวดารพม่า ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยมาแต่ครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีจดหมาย ไปถึงหมอแฟรงค์ เฟอร์เตอร์ ซึ่งใกล้ชิดกับผู้ดูแลหอสมุดแห่งชาติพม่า (ขณะนั้นพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ)ให้ช่วยคัดลอกพงศาวดารพม่าในส่วนที่บันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับไทยและล้านนา เมื่อได้ฉบับคัดลอก ซึ่งเขียนเป็นภาษาพม่ามาแล้วจึงให้ชาวพม่าที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯแปลมาเป็นภาษาไทยและได้ทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 ทรงวินิจฉัย แต่ทรงวินิจฉัยได้ไม่นานนักก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453…
    พงศาวดารพม่าถูกเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดย ถูกเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาหลายครั้ง..จนเวลาล่วงเลยไปเกือบ 100 ปี จึงมีการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2545 ภายใต้ชื่อเรื่องว่า “มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า” โดยพม่าได้บันทึกพื้นที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรไว้ชัดเจน ดังนี้
    ……..ครั้นจุลศักราช 974 พระเจ้าอยุธยา พระนเรศ ทรงเสด็จยกกองทัพ 20 ทัพ ยกมาทางเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ ครั้นเสด็จมาถึง “เมืองแหน” แขวงเมืองเชียงใหม่ ก็ทรงประชวรในเร็วพลัน ก็ สวรรคต ในที่นั้น.. (พระนเรศ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
    และพม่าให้ความสำคัญกับ “เมืองแหน” ในด้านเส้นทางเดินทัพ โดยบันทึกไว้ถึง 3 ครั้ง 3 เหตุการณ์ แต่ละเหตุการณ์มีความสำคัญในการทำศึกสงคราม และเป็นเส้นทางเดินทัพทั้งสิ้น ตลอดช่วงระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี ตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนองแผ่อำนาจยึดครองเชียงใหม่ และอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. 2112 จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าตากสิน กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าออกจากอยุธยา และออกจากเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2317 โดยพม่าบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญไว้ดังนี้ (ดูแผนที่ประกอบ)
    ครั้งที่ 1 ปีจ.ศ.929 ออกญาธรรมราชา(ขุนพิเรนทรเทพ)เจ้าเมืองพิษณุโลก มีใบบอกไปยังพระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)ว่าเจ้าเมืองเลียงเชียง(ล้านช้าง)ยกทัพหมายเข้าตีเมืองพิษณุโลก พระเจ้าหงสาวดีจึงจัดทัพเจ้าประเทศราชเงี้ยว(ไทใหญ่) จำนวน 6 ทัพ ทหาร 6 หมื่นคน ม้า 6 พันตัว ช้าง 6 ร้อยเชือก โดยมีรับสั่งให้ยกทัพไปทาง ”เมืองนาย” ครั้นกองทัพมาถึง “เมืองแหน” เป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเลียงเชียงทราบว่ากองทัพหงสาวดี ยกมาช่วยจึงรีบถอยหนี พระเจ้าหงสาวดีจึงมีท้องตราให้เรียก 6 กองทัพกลับ
    ครั้งที่ 2 ปี จ.ศ. 974 พระเจ้าอยุธยา พระนเรศ ทรงเสด็จยกกองทัพ 20 ทัพ ยกมาทางเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ ครั้นเสด็จมาถึง “เมืองแหน ”แขวงเมืองเชียงใหม่ ก็ทรงประชวรในเร็วพลัน ก็สวรรคตในที่นั้น…
    ครั้งที่ 3 ปี จ.ศ.1127 ในขณะซึ่งพญาฉาปัน(พญาจ่าบ้าน) กับพญากาวิละไปเข้ากับอยุธยานั้น ฝ่ายหัวเมืองขึ้นเชียงใหม่ 57 หัวเมือง ก็กระด้างกระเดื่องแข็งเมืองขึ้นทุกๆเมืองแล้ว พญาฉาปันพูดกันพระยาตากแสน(พระเจ้าตากสิน)ว่า ถ้าในเวลานี้ เราตีเชียงใหม่ก็จะได้โดยง่ายแล้วพระยาตากแสนจัดพลทหาร 4-5 หมื่นคน ยกมา ครั้นเห็นกองทัพสีหะปะเต๊ะ (เนเมียวสีหบดี)ก็มิได้หยุดตรงเข้าตีตลุยเข้าไป ฝ่ายกองทัพสีหะปะเต๊ะ ทนฝีมือไม่ได้ ก็แตกถอยหนี ไปทาง ”เมืองแหน” และจนต้องถอยไปอยู่ “เมืองนาย”
    จะสังเกตเห็นว่าการบันทึกทั้ง 3 เหตุการณ์ “เมืองแหน”เป็นเส้นทางเดินทัพทั้งสิ้น แต่พงศาวดารฉบับเดียวกันบันทึก เมืองหาง (พม่า เรียกชื่อ เมืองหาง เป็นเมืองหัน ว่า.อยู่นอกเส้นทางเดินทัพ และให้ความสำคัญน้อย เพียงแต่สั่งให้เกณฑ์ทหารจำนวนหนึ่ง เพื่อสมทบเข้ากองทัพพม่า ไปทำสงครามกับ อยุธยา ในปี พ.ศ. 2308 ..ดังนี้
    …จ.ศ.1127 ฝ่ายสีหะปะเต๊ะ แม่ทัพที่ยกไปตีทางเชียงใหม่นั้น ได้รับท้องตราพระบรมราชโองการว่า ให้สีหะปะเต๊ะ ยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา จึงจัดให้เจ้าเมืองหัน(หาง) ทัพ 1 เจ้าเมืองปั่น ทัพ 1 …รวม 10 ทัพ มีพลทหาร 8,000 คน..มอบอาญาสิทธิ์ให้ ศรีศิริราชสังจัน เป็นแม่ทัพ คุมพลทหารยกล่วงหน้าไปทางบกก่อน..

    ที่สำคัญพงศาวดารพม่าฉบับเดียวกัน ยังได้เขียน “เมืองแหน” กับ “เมืองหัน(หาง) เป็นภาษาเขียนของพม่าไว้แตกต่างกันอย่างอย่างชัดเจน ดังนั้น “เมืองแหน” กับ “ เมืองหัน”(หาง) จึงไม่ใช่เมืองเดียวกัน
    พม่าบันทึกไว้ชัดเจนว่าพระองค์ดำ “สวรรคตที่เมืองแหน” ดังนั้น จึงไม่ใช่สวรรคตที่ “เมืองหัน(หาง)”
    แล้ว “เมืองแหน” ตั้งอยู่ ณ พิกัดใด ? จึงเป็นคำถามที่รอนักปราชญ์ของแผ่นดินเฉกเช่นท่านทั้งหลาย ได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อให้ได้คำตอบ และความเป็นจริงปรากฏ สิ่งที่จะนำเรียนเสนอต่อไปนี้ เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า “เมืองแหน” ที่บันทึกไว้ในพงศาวดารพม่าก็คือ “เมืองแหง” (อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่)
    ดังนั้นจึงยัง ไม่ใช่ข้อสรุป เป็นเพียงจุดประกายทางความคิด เพื่อเชิญชวนผองปวงชนก้าวเข้าสู่ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นสังคมอุดมปัญญาในเบื้องปลาย
    หลักฐานสำคัญที่สนับสนุนว่า “เมืองแหน” คือ “เมืองแหง” (อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่)มีดังต่อไปนี้

    1. หลักฐานเอกสารชั้นต้นประเภทใบบอก หรือ จดหมายเหตุสมัยรัตน โกสินทร์ ตอนต้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เอกสารตำนานล้านนา ที่จารึกลงในใบลาน เอกสารชาวตะวันตก ตลอดจนเหตุการณ์พิเศษที่เฉพาะเจาะจงเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอเวียงแหง เรียงลำดับจากใกล้ตัว ไปหาไกลตัว ดังนี้


    1.1 พ.ศ.2545 กองกำลังไม่ทราบฝ่ายบุกโจมตีฐานทหารประเทศเพื่อนบ้าน ณ ช่องทางหลักแต่ง(อ.เวียงแหง)จนฐานแตกละลายรวมทั้งฐานอื่นตลอดแนวชายแดน เหตุการณ์ลุกลามบานปลายเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างชนชาติ
    1.2 พ.ศ.2517 รัฐบาลไทย แจ้งให้กองกำลังไม่ทราบฝ่ายย้ายฐานบัญชาการออกจากแนวพรมแดนไทย
    1.3 พ.ศ. 2501 มีการจัดตั้งกองบัญชาการไม่ทราบฝ่ายติดชายแดน อ.เวียงแหงตลอดจนคณะผู้ก่อตั้งดื่มน้ำสาบานที่ “ท่าผาแดง” และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดินทางตรวจราชการชายแดน ณ อ.เวียงแหง มีเหรียญสมเด็จพระนเรศวร รุ่น 1 (พ.ศ.2501)


    1.4 พ.ศ.2440 บันทึกการตรวจราชการมณฑลลาวเฉียง ของ ปิแอร์ โอร์ต ผู้ช่วยด้านกฎหมายของเจ้าพระยาอภัยราชา(โรลัง จักแมงส์)ในรัชกาลที่ 5 เดินทางขึ้นมาเชียงใหม่ ในฐานะผู้แทนสยามมีอำนาจเต็มในการพิจารณาคดีทหารสยาม ที่เชียงใหม่ ทำร้ายร่างกาย รองกงสุลอเมริกาประจำเชียงใหม่ และมีหน้าที่ตรวจราชการการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อรายงานต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้บันทึกว่า ..เชียงใหม่ มีเมืองในสังกัด 10 เมือง โดยเฉพาะแอ่งพื้นที่ ”เมืองแหง” มีถึง 2 เมือง คือ 1.เมืองแหงเหนือ 2.เมืองแหงใต้ 3.เมืองฝาง 4. เมืองเชียงราย 5.เมืองเชียงแสน 6.เมืองปาย 7.เมืองแม่ฮ่องสอน 8.เมืองขุนยวม 9.เมืองยวม(อ.แม่สะเรียง) 10.เมืองงาย(อ.เชียงดาว)
    1.5 พ.ศ. 2438 เรื่อง “เมืองแหงวิวาทเมืองปาย ร.ศ.114” ในสมัยพระเจ้าอินทร วิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 โดยเจ้าเมืองปาย (อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน) ฟ้องกล่าวโทษเจ้าเมืองแหง (อ.เวียงแหง เชียงใหม่) ว่าเป็นแหล่งซ่องสุมโจรไปปล้นสดมภ์ราษฎรเมืองปาย และประการสำคัญกล่าวหาว่าเจ้าเมืองแหงก่อการกบฏต่อราชอาณา จักรสยาม โดยนำกองทัพพม่าเข้ามาจะรบชิงเอาเมืองปายและเมืองงาย(อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่) จนข้าหลวงใหญ่ผู้รักษาราชการมณฑลลาวเฉียงทำหนังสือรายงานต่อสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และทูลเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงวินิจฉัยแก้ไขปัญหาของ “เมืองแหง”
    1.6 พ.ศ.2432 เรื่อง “รายงานระยะทางในราชการตรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ร.ศ.108” โดยคณะของพระวิภาคภูวดล (James Fitzroy McCarty)เจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรกของประเทศไทย เดินทางด้วยช้างสำรวจพระราชอาณาเขตชายแดนล้านนาเป็น ครั้งแรก จากเชียงใหม่มุ่งสู่ทิศเหนือ จรดฝั่งแม่น้ำสาละวินที่ ท่าสงิ (ในพม่า) จากนั้นวกไปทางตะวันออกแล้วล่องใต้ผ่านเมืองทา เมืองแหงเหนือ เมืองแหงใต้ ซึ่งรายงานระบุว่าเมืองแหง มีประชากรประมาณ 300 คน..
    1.7 พ.ศ.2424 เรื่อง “ A Thousand Miles on an Elephant in the Shan States“โดย Holt S.Hallett วิศวกรสำรวจสร้างทางรถไฟผ่านเชียงใหม่ ไปสู่ประเทศจีน บันทึกขณะเดินทางถึงบริเวณพื้นที่อำเภอแม่แตงว่า.. คนพื้นเมืองในยุคนั้น กล่าวถึง “เมืองแหง” ว่าเป็นเมือง “โบราณ” และกำลังจะถูกลืมเลือน…
    1.8 พ.ศ.2417 เรื่อง “ให้จัดการรักษาเขตแดนตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2417” โดยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้มีศุภอักษรทูลเกล้าฯถวายรายงานในรัชกาลที่ 5 ความว่า “เชียงใหม่ได้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ที่สยามทำกับประเทศอังกฤษ ซึ่งปกครองพม่า ในขณะนั้นแล้ว โดยเชียงใหม่ได้จัดตั้งกองกำลังประจำรักษาด่านทั้ง 8 ช่องทางที่ราษฎร ใช้เดินทางติดต่อค้าขายกับพม่า และ 1 ใน 8 ช่องทางนั้นมีช่องทาง “เมืองแหง” รวมอยู่ด้วย แต่ขณะนั้นเมืองแหงเป็น “เมืองร้าง”จึงจัดให้คนเมืองกื้ด (ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง )จำนวน 50 คนไปดูแลรักษาด่าน คุ้มครองผู้เดินทางค้าขายและปราบปรามโจรผู้ร้าย..
    1.9 พ.ศ.2408 เรื่อง “หนังสือและคัดบอกเมืองเชียงใหม่ “ระบุว่า สมัยพระเจ้ากาวิโรรส สุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 สั่งให้เจ้าบุญทาและข้าไพร่ไปรักษา “ เมืองแหง ” และให้แผ้วถางเส้นทางตลอดสาย ไปยังพม่าจรดฝั่งแม่น้ำสาละวิน ที่ “ท่าผาแดง” (ใกล้กับสบจ้อด) เพื่อเชื่อมเส้นทางฝั่งพม่า และได้รับเจ้าพม่ามาประทับแรม ณ เมืองเชียงใหม่..
    1.10 พ.ศ.2388 เรื่อง “คำให้การท้าวสิทธิมงคล” ซึ่งเป็นข้าราชบริพารในพระเจ้าพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 4 ไปสืบราชการลับและถูกจับขังคุกในพม่า ณ “เมืองนาย” เป็นเวลา 1 ปีเศษ ต่อมาไดัรับการปล่อยตัวกลับสู่เชียงใหม่ และเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อให้ปากคำต่อ พระยาจุฬาราชมนตรี ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2388 ความว่า ..เส้นทางจากเมืองนาย(ในพม่า) มายังแม่น้ำคง (สาละวิน) มี 5 เส้นทาง และพม่ากลัวเส้นทางสายเมืองนาย – เมืองปั่น – ท่าผาแดง – ซึ่งจะผ่าน “เมืองแหง” ตรงสู่เมืองเชียงใหม่ มากที่สุด เพราะเป็น เส้นทางใหญ่ เดินง่าย และใกล้เมืองเชียงใหม่ มากที่สุด พม่ากลัวกองทัพเชียงใหม่จะไปตีพม่าทางนี้ พม่าจึงตั้งด่านที่ “เมืองปั่น” และ “ท่าผาแดง” โดยจัดให้ทหาร ลาดตระเวณตลอดเวลา
    1.11.พ.ศ.2327 เรื่อง “ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ “ บันทึกว่า สมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 สั่งให้เจ้าอุปราชธรรมลังกา ยกกำลังทหาร 500 คน ไปเข้าตีกวาดต้อนเทครัวราษฎร จากเมืองจวด(จ้อด) เมืองแหน ลงมาใส่ไว้ในเมืองเชียงใหม่
    1.12 พ.ศ.2317 พม่าบันทึกไว้ในมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า ความว่า..พญาจ่าบ้าน กับพญากาวิละไปเข้าฝ่ายอยุธยา ขับไล่แม่ทัพพม่าสีหะปะเต๊ะ ออกจากเชียงใหม่ สีหะปะเต๊ะ ทนฝีมือไม่ไหว ก็แตกถอยหนีมายัง “เมืองแหน” และจนต้องถอยมาอยู่ “เมืองนาย”

    1.13 พ.ศ.2148


    1.13.1 หลักฐานจาก Zinme Yazawin (พงศาวดารเชียงใหม่)ฉบับบันทึกในสมัยพระเจ้านรธามังช่อซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ และตรงกับปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพจากพระนครอยุธยา มาแรมทัพที่เชียงใหม่ เป็นเวลา ๑ เดือน โดยพระเจ้านรธามังช่อ ได้ถวายพระธิดาแด่สมเด็จพระนเรศวรฯ และพระเจ้านรธามังช่อ ก็ร่วมเสด็จไปกับทัพหลวงมุ่งหน้าไปเมืองอังวะ ด้วย....โดยบันทึกว่าเชียงใหม่ มีเมืองขึ้นอยู่ในสังกัดจำนวน ๕๗ เมือง และมี “เมืองแหงหลวง”(อ.เวียงแหง)เป็นเมืองขนาดกลางอยู่ด้วยในขณะนั้น ซึ่งจะไปสอดคล้องกับ “เมืองหลวง” ซึ่งเป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรสวรรคต ในพงศาวดารอยุธยาฉบับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทย ต่างยอมรับว่าบันทึกได้เที่ยงตรงที่สุดในบรรดาพงศาวดารไทยด้วยกัน
    “เมืองแหงหลวง” กับ “เมืองหลวง” เป็นชื่อที่ถูกบันทึกใกล้เคียงกันมากที่สุด โดยอาลักษณ์ผู้บันทึก อาจจะพลั้งพลาดหรือหลงลืม หรือละไว้โดยเป็นที่เข้าใจในสมัยนั้นก็สุดที่จะคาดเดา จากชื่อเต็ม “เมืองแหงหลวง” จึงเขียนเป็น “เมืองหลวง” เมืองที่สมเด็จพระนเรศวร สวรรคต เมื่อ วันจันทร์ 25 เมษายน พ.ศ. 2148


    1.13.2 พม่าบันทึกไว้ในมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า ความว่า
    ..จ.ศ.974 พระเจ้าอยุธยา พระนเรศ ทรงเสด็จยกกองทัพ 20 ทัพ ยกมาทางเชียงใหม่ จะไปตีเมืองอังวะ ครั้นเสด็จถึง “เมืองแหน” แขวงเมืองเชียงใหม่ ก็ทรงประชวรในเร็วพลัน “ ก็สวรรคต ” ในที่นั้น..


    1.14 พ.ศ.2124 เรื่อง “ตำนานราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่” บันทึกว่า ในปี พ.ศ.2124 “เมืองแหง” ยังไม่ได้แต่งตั้งเจ้าฟ้าขุนกินเมือง... เวียงเธริง(เทิง) 1 เวียงเชียงของ 1 เวียงเมืองสาด 1 เวียงเมืองแหง 1…
    1.15 พ.ศ.2112 พม่าบันทึกไว้ในมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า ความว่า
    …จ.ศ.929 ออกญาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) เจ้าเมืองพิษณุโลก มีใบบอกไปยังพระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) ว่าเจ้าเมืองเลียงเชียง(ล้านช้าง) ยกทัพหมายเข้าตีเมืองพิษณุโลกพระเจ้า หงสาวดีจึงจัดทัพเจ้าประเทศราชเงี้ยว(ไทใหญ่) จำนวน 6 ทัพทหาร 6 หมื่นคน ม้า 6 พันตัว ช้าง 600 เชือก โดยมีรับสั่งให้ยกทัพไปทาง “เมืองนาย” ครั้นกองทัพมาถึง “เมืองแหน” เป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเลียงเชียงทราบว่า กองทัพหงสาวดี ยกมาช่วย จึงรีบถอยหนี พระเจ้าหงสาวดี จึงมีท้องตราให้เรียก 6 กองทัพกลับ

    1.16 พ.ศ.2101 เรื่อง “ตำนานพื้นเมืองลานนาเชียงใหม่” พม่าจัดทัพเจ้าประเทศราช ไทใหญ่ 19 เจ้าฟ้า ยกพลทหาร 9 หมื่นคน ข้ามแม่น้ำสาละวินที่ “ท่าผาแดง”แล้วแยกออกเป็น 3 ทัพ
    ทัพที่ 1 ไปทางเมืองปาย(อ.ปาย )
    ทัพที่ 2 ไปทางเมืองแหง(อ.เวียงแหง)
    ทัพที่ 3 ไปทางเมืองเชียงดาว(อ.เชียงดาว)
    พระเจ้าพม่า สั่งสำทับคาดโทษ โดยจะตัดศีรษะแม่ทัพเสียบประจานหากไม่สามารถเคลื่อนทัพมาบรรจบในวันเดียวกันที่เมืองเชียงใหม่ และในที่สุดกองทัพทั้ง ๓ ก็เคลื่อนพลมาสนธิกำลังได้ในวันเดียวกัน และเข้าทำการโจมตีเพียง ๓ วันก็ยึดครองนครเชียงใหม่ เมืองราชธานีของอาณาจักรล้านนาที่เจริญรุ่งเรืองมานานกว่า ๒๖๒ ปีก็ถึงกาลล่มสลายตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าในสมัย พระเจ้าบุเรงนอง

    2. หลักฐานเชิงนิรุกติศาสตร์ โดยจิตร ภูมิศักดิ์ นักปราชญ์แห่งสังคมไทย วิเคราะห์ภาษาเขียนของพม่า ว่า ได้รับอิทธิพลมาจากภาษามอญ
    เช่น ภาษาไทยคำว่า “เม็งราย” พม่าจะเขียนเป็น “รามัญ”
    คำว่า “หาง” พม่าจะเขียนเป็น “หัน”
    คำว่า “แหง” พม่าจะเขียนเป็น “แหน”
    ดังนั้น เมือง “แหง”(ภาษาไทย) กับเมือง “แหน”(ภาษาพม่า) คือ ชื่อเมืองเดียวกัน

    3.หลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์
    3.1 แผนที่สมัยใหม่ ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียมและภูมิรัฐศาสตร์ทำให้มองเห็นภาพอาณาบริเวณ ตั้งแต่ เมืองอังวะ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่ เมืองนาย (เป็นศูนย์กลางอำนาจของ ไทใหญ่ ทางภาคใต้ และตามหลักฐานของท้าวสิทธิมงคล(สมัยรัชกาลที่ ๓)ซึ่งถูกพม่าจับขังคุกที่ ”เมืองนาย“ ให้การว่า “เมืองนาย” บังคับ 17 หัวเมืองไทใหญ่ ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ สาละวิน และครอบคลุมพื้นที่บริเวณ”เมืองปั่น” มายังแม่น้ำสาละ วิน ณ จุดท่าข้ามหลัก 2 ท่าข้าม คือ “ท่าศาลาหรือท่าซาง” แล้วตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านเมืองต่วน จากนั้น หักลงใต้ผ่านเมืองหาง มาเชียงดาว ถึงเชียงใหม่ อีกท่าข้ามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปั่น คือ “ท่าผาแดง”ตามสายน้ำจ้อด น้ำทา สู่ “เมืองแหง”ล่องตามสายน้ำแม่แตง ผ่านเมืองคอง(อ.เชียงดาว) มาออกที่เมืองกื้ด (อ.แม่แตง) ลัดเลาะตาม ลำห้วยแม่ขะจาน ผ่านบ้านช้าง บ้านแม่ขะจาน มายังพระธาตุจอมแจ้ง (ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง)เข้าสู่ อ.แม่ริม ถึงเชียงใหม่
    จากแผนที่สมัยใหม่ตลอดจนภาพถ่ายดาวเทียมทำให้มองเห็นภาพชัดเจนว่า “เมืองแหง”(อ.เวียงแหง) ตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทะแยงมุมระหว่าง “เมืองนาย” (ในพม่า)กับเมืองเชียงใหม่ ถ้ามองในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ “เมืองแหง”เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ของเชียงใหม่และพม่า เพราะพม่าสามารถบังคับหัวเมืองไทใหญ่ มารวมไพร่พลที่”เมืองนาย”แล้วเคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำสาละวิน ณ “ท่าผาแดง”แล้วแยกเป็น 3 ทัพ เคลื่อนมาทาง อ.ปาย สายหนึ่ง เคลื่อนมาทาง “เมืองแหง”(อ.เวียงแหง)ล่องตามสายน้ำแม่แตงสายหนึ่ง และเคลื่อนมาทาง อ.เชียงดาว ล่องตามสายน้ำแม่ปิง สายหนึ่ง ดั่งหลักฐานในตำนานพื้นเมืองลานนาเชียงใหม่ บันทึกไว้ว่า พระเจ้าบุเรงนองได้เคยใช้เส้นทางนี้ เคลื่อนไพร่พลถึง 90,000 คน เพื่อมายึดครอง นครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2101


    3.2 ด้านอุทกวิทยาของแม่น้ำสาละวิน ถ้าดูตามแผนที่ จะสังเกตเห็นว่า แม่น้ำสาละวิน ไหลเป็นเส้นตรงจากเหนือสู่ใต้ตามแรงดึงดูดของโลก เมื่อใกล้ถึงชายแดนไทยมีแนวเทือกเขาแดนลาวขวางกั้นทอดตัวตามแนวทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก เป็นผลให้แม่น้ำสาละวิน ค่อยๆเปลี่ยนทางเดินเฉียงไปทางทิศตะวันตก ประกอบกับ ณ จุดท่าข้าม”ท่าผาแดง” มี “เกาะ” อยู่กลางแม่น้ำ ดังนั้น การข้ามแม่น้ำจึงทำได้ง่ายกว่าเพราะเป็นการข้าม 2 ช่วงสั้นๆ กล่าวคือ ช่วงแรกยาวประมาณ 130 เมตรจากนั้นจึงเดินบนตัวเกาะซึ่งกว้างประมาณ 100 เมตร และช่วงที่ 2 ยาวประมาณ 30 เมตร รวมระยะทางประมาณ 230 เมตร จึงเป็นการข้ามแม่น้ำสาละวินจริง 130 เมตร และเดินบนตัวเกาะอีก 100 เมตร
    ส่วน“ท่าศาลา” นี้อยู่ตรงจุดแม่น้ำสาละวินไหลเป็นเส้นตรง อีกทั้งไม่มี “เกาะ”ตรงจุดท่าข้าม เมื่อสอบถามอดีตหนุ่มศึกหาญ(ทหารขบวนการกู้ชาติไทใหญ่) ซึ่งเคยข้ามทั้ง 2 ท่าข้าม เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน ท่านจัดลำดับท่าข้ามที่ปลอดภัยที่สุดคือ “ท่าผาแดง” ซึ่งจะผ่านไปยัง”เมืองแหง” และที่ปลอดภัยรองลงไป เนื่องจาก กระแสน้ำไหลเชี่ยวมากกว่า คือ “ท่าศาลา” ซึ่งจะผ่านไปยัง “เมืองหาง


    3.3 ด้านโบราณคดีของ“เมืองแหง” เมืองแหงเป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันยังปรากฏคูน้ำ คันดิน ล้อมรอบเมือง และมีวัดร้างมากกว่า 50 แห่ง โดยเฉพาะวัดป่าสัก พบฐานเจดีย์ วิหาร ศาลา บนเนื้อที่มากกว่า 40 ไร่ เหนือวัดนี้ห่างไปประมาณ 1 กิโล เมตร ยังพบวัดร้างวัดกำแพงงาม พร้อมเจดีย์ยอดหัก ความสูงประมาณ 6 เมตรพร้อมแนวกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน โดยนักโบราณคดี ต่างชี้ว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 (พ.ศ.2100-2200) ในบริบท ที่สร้างขึ้นมา ณ เวลานั้นอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะด้านศิลปกรรมของเจดีย์อาจได้รับอิทธิพลแบบสุโขทัย นอกจากนี้มีวัดที่มีพระสงฆ์กว่า 20 วัด พระธาตุ 9 องค์ ที่สำคัญได้แก่ พระธาตุแสนไห พระธาตุเวียงแหง พระพุทธรูปสำคัญเก่าแก่ ตลอดจนโบราณวัตถุ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งนักโบราณคดีได้พบเครื่องมือหินกระเทาะของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ที่ถ้ำหินปูน ใกล้กับเมืองโบราณประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งแสดงว่าบริเวณแอ่งเวียงแหง เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานแล้วกว่า 5,000 ปี


    3.4 ผลการวิจัยด้านโบราณคดี จากคณะมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สุ่มตัวอย่างของอิฐวัดร้างในพื้นที่อำเภอเวียงแหง มาวิเคราะห์ลักษณะจุลสัณฐานของอิฐ(Petrographic Microscope) และใช้วิธีการศึกษาแบบ(thin section)ทางกล้องจุลทรรศน์ พบว่ามีเพียงอิฐ จากวัดพระธาตุแสนไห เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่มีการผสมแกลบข้าว เหมือนกับการทำอิฐอยุธยา(สมัยอยุธยา)จึงสันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้อาจได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอิฐที่มีการผสมอินทรีย์วัตถุเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา อีกทั้งยังพบว่าอิฐวัดพระธาตุแสนไหแห่งนี้ มีรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งมีการก่ออิฐขึ้นรูปเป็นเสาทรงกลม ซึ่งแตกต่างจากวัดร้างอื่นๆ ในอำเภอเวียงแหง อย่างสิ้นเชิง


    3.5 จุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร (ดูแผนที่ประกอบ) อ.เวียงแหง เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการสะกัดกั้นมิให้พม่าข้าศึกยกพลเคลื่อนทัพมาประชิดติดคอหอยเมืองเชียงใหม่ เพราะหากข้าศึกครอบครองพื้นที่เวียงแหงแล้ว เหลือระยะทางตรงเพียงประมาณ 90 กิโลเมตร ก็จะถึงเชียงใหม่ หรือประมาณ 2 วันเดินเท้า ของทหารสื่อสารโบราณ อีกทั้งในปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ช่องทางหลักแต่ง อ.เวียงแหง มีความเข้มข้นมากกว่าช่องทางกิ่วผาวอก อ.เชียงดาว ซึ่งทางการเปิดเป็นจุดผ่อนปรน เพื่อเดินทางเข้าสู่เมืองหางได้ ในขณะที่ช่องทางหลักแต่ง อ.เวียงแหง ถูกปิดตาย ไม่มีการเจรจาใดๆทั้งสิ้น ใต้พื้นแผ่นดินยังคงหนาแน่นไปด้วยวัตถุระเบิดจากกองกำลังทหารของประเทศเพื่อนบ้าน




    ประกอบกับปัจจัยในการทำสงครามนั้น นอกจากความสามารถของแม่ทัพนายกอง ไพร่พลทหาร ยุทธศาสตร์การรบ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเสบียงอาหารสำหรับเลี้ยงทหารทั้งกองทัพด้วย
    เนื่องจากเส้นทางจากเชียงใหม่ ไปถึง “เมืองนาย”(ในพม่า ) โดยผ่านเส้นทาง “เมืองแหง” จะสั้นกว่า เส้นทางผ่าน “เมืองหาง” ไม่น้อยกว่า 60 กิโลเมตร หรือประหยัดเวลาในการเดินทางถึง 3 วัน ของการเดินทัพสมัยโบราณ(มีค่าเฉลี่ย เดินทางได้ประมาณวันละ 20 กม.)
    ถ้าคิดโดยเฉลี่ยทหาร 1 คน ต่อข้าวสาร 1 ลิตร ต่อ 1 วัน จะประหยัดข้าวสารได้ถึง 300,000 ลิตร หรือ 15,000 ถัง (จากฐานทหารในกองทัพหลวงสมเด็จพระนเรศวรฯ 100,000 คน) ดังนั้นในด้านยุทธศาสตร์การทหาร เส้นทางผ่าน “เมืองแหง” จะย่นย่อระยะ เวลาการเดินทางไม่น้อยกว่า 3 วัน ประหยัดเสบียงอาหารประเภทข้าวสาร ไม่น้อยกว่า 300,000 ลิตร



    จากหลักฐานที่นำเสนอ ทั้งด้านเอกสารใบบอก จดหมายเหตุ พงศาวดารอยุธยา คัมภีร์ล้านนา พงศาวดารพม่า บันทึกชาวตะวันตก หลักฐานทางนิรุกติศาสตร์ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยแผนที่สมัยใหม่ ภาพถ่ายดาวเทียม ภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ อุทกศาสตร์ ยุทธศาสตร์การทหาร ตลอดจนหลักฐานด้านโบราณคดี โดยนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เชื่อมโยงหลากหลายมิติ
    จึงได้ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า “เมืองแหน” ที่บันทึกไว้ในพงศาวดารพม่า เป็นเมืองเดียวกันกับ “เมืองแหง” (อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่)ในเมื่อพงศาวดารพม่าบันทึกว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สวรรคต ณ “เมืองแหน” ดังนั้นในความหมายเดียวกัน ก็คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จสวรรคต ณ “เมืองแหง” (อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่)
     
  5. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    วาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ที่ “เวียงแหง”

    [​IMG]

    ปี ๒๑๔๘ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงพบว่าพระเจ้าอังวะเริ่มสั่งสมกำลังที่ภาคเหนือของพม่า และเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ จากการได้หัวเมืองไทใหญ่แถบลุ่มน้ำสาละวินไปสวามิภักดิ์ เป้าหมายของพระองค์ก็เปลี่ยนจากตองอูมาเป็นอังวะทันที ด้วยทรงดำริว่าในระยะยาวหากปล่อยให้อังวะเป็นปึกแผ่นมากไปกว่านี้ อังวะจะเป็นอันตรายแก่อยุธยายิ่งไปกว่าตองอู
    สมเด็จพระนเรศวรตัดสินพระทัยกรีธาทัพใหญ่ ๑ แสนไปโจมตีอังวะ หากคราวนี้ไม่ทรงเสี่ยงกับเส้นทางเดินทัพเดิมที่ต้องผ่านหัวเมืองมอญ แต่ทรงเปลี่ยนไปเดินทัพในพระราชอาณาเขตแทน โดยเคลื่อนทัพขึ้นไปทางภาคเหนือซึ่งปลอดภัยจากการถูกโจมตีแนวหลัง แล้วไปหยุดบำรุงรี้พลที่เชียงใหม่ ๑ เดือน ก่อนจะโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพหน้าไปเมืองฝางแล้วเกณฑ์กำลังเพิ่มจากหัวเมืองไทใหญ่เพื่อให้ทัพหน้ามีกำลังพลถึงแสนคน
    ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ผมออกเดินทางจากอำเภอแม่ริมพร้อมกับอาจารย์ชัยยง ไชยศรี ใช้ถนนหลวงสาย ๑๐๗ มุ่งหน้าไปทางอำเภอเชียงดาว พอออกจากตัวอำเภอก็เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเก่าที่วิ่งลงไปเลียบลำห้วยแม่ขะจานและลัดเลาะไปตามหุบเขาลึก
    ห้าปีที่ผ่านมา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ท่านนี้ได้เสนอทฤษฎีประวัติศาสตร์ “พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอยู่ที่เมืองแหง” หรืออำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ แทนที่จะเป็น “เมืองหาง” ในพม่า ซึ่งเป็นข้อเสนอที่สั่นสะเทือนวงวิชาการไทยอยู่ไม่น้อย ด้วยข้อมูลชุดที่คนไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าร่ำเรียนกันมา ก็คือข้อมูลที่บอกว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพออกจากเชียงใหม่แล้ว ได้เสด็จต่อไปยังเมืองหาง และสวรรคตที่นั่นในปี ๒๑๔๘
    การที่ผมติดตามอาจารย์ชัยยงลัดเลาะลำห้วยแม่ขะจานขึ้นไปตามสายน้ำแม่แตง นัยหนึ่งคือการย้อนรอยเส้นทางที่สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพครั้งสุดท้ายตามข้อสันนิษฐานใหม่
    ปัจจุบัน เส้นทางสายที่ว่านี้ตัดผ่านป่ารกชัฏกับตำบลเล็ก ๆ ในหุบเขา ๒ แห่ง แล้วตรงเข้าสู่อำเภอเวียงแหง คิดเป็นระยะทางจากเชียงใหม่ ๙๒.๕ กิโลเมตร
    อาจารย์ชัยยงเล่าว่าได้พบเส้นทางนี้จากการค้นคว้าข้อมูลมาตั้งแต่ประมาณปี ๒๕๔๔ และค่อนข้างชัดเจนขึ้นเมื่อมีการเปิดกว้างข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของ Google Earth ซึ่งสามารถนำมาประกอบกับแผนที่ทหารมาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ และเมื่อนำข้อมูลการเดินทางค้าขายและเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณมาพิจารณาร่วม ข้อสันนิษฐานที่ตั้งไว้เกี่ยวกับพื้นที่สวรรคตที่เมืองแหงก็ยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น เพราะข้อมูลและภาพถ่ายดาวเทียมนั้นสอดคล้องกันอย่างอัศจรรย์จนสามารถหักล้างข้อมูลที่ว่าสมเด็จพระนเรศวรสวรรคตที่เมืองหางได้เกือบสมบูรณ์
    “จากเชียงใหม่ไปอังวะมีเส้นทางซึ่งเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา ๒ เส้นทางที่ใช้เดินทัพได้ เส้นทางที่ ๑ เป็นเส้นทางตามสายน้ำแม่ปิงผ่านอำเภอเชียงดาวไปสู่ช่องกิ่วผาวอก เข้าสู่แดนไทใหญ่ เส้นทางที่ ๒ คือถนนสายเก่าที่เรากำลังใช้อยู่นี้ ซึ่งอาศัยที่ราบริมสายน้ำแม่แตงเดินทางไปท่ามกลางภูเขาสูง สู่เมืองกื๊ด เมืองคอง และเมืองแหง เป้าหมายของสมเด็จพระนเรศวรต่อจากเมืองแหงคือผ่านช่องหลักแต่ง ทะลุไปเมืองเต๊าะ ไปเมืองทาซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองร้าง แล้วก็จะถึงบริเวณสบจ๊อด (บริเวณที่แม่น้ำจ๊อดไหลลงแม่น้ำสาละวิน) แล้วไปข้ามฝั่งที่ท่าผาแดง ที่นั่นแม่น้ำจะกว้างราว ๗๐ เมตร เป็นจุดที่แม่น้ำแคบที่สุดของแถบนั้น ข้ามน้ำที่นั่นแล้วจึงไปเมืองปั่น เมืองนาย แล้วก็ไปเมืองลางเคอ จากเมืองลางเคอก็ทะลุสู่เมืองอังวะ ซึ่งผมเชื่อว่าทรงใช้เส้นทางนี้มากกว่าเส้นทางแรก”
    ส่วนกรณีสวรรคตที่เมืองหางนั้น ถ้าพิจารณาตามพงศาวดารส่วนใหญ่ที่บันทึกว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพหน้าไปก่อนพระองค์ถึง ๗ วัน โดยไปรวมพลที่เมืองฝาง ถ้าดูตามแผนที่ หากทัพหลวงอยู่ที่เมืองหางขณะพระองค์สวรรคตจริงก็เท่ากับทัพหลวงอยู่เหนือขึ้นไปจากเมืองฝางอันเป็นที่ตั้งทัพหน้า ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้เพราะผิดหลักการทำสงคราม
    การยกทัพครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวรปรากฏอยู่ใน พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ เพียง “ครั้งนั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว” ด้วยหมดเล่มเสียก่อน (คาดว่าพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ มีอีกเล่มหนึ่งแต่ยังค้นหาไม่พบจนถึงทุกวันนี้) เราจึงไม่รู้ว่าพระนเรศวรสวรรคตที่นั่นหรือไม่ ขณะที่ มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ครั้นจุลศักราช ๙๗๔ พระเจ้าอยุทธยาพระนเรศทรงเสด็จยกกองทัพ ๒๐ ทัพ ยกมาทางเมืองเชียงใหม่จะไปตีอังวะ ครั้นเสด็จมาถึงเมืองแหนแขวงเมืองเชียงใหม่ก็ทรงประชวนโดยเร็วพลันก็สวรรคตในที่นั้น”
    ทั้งนี้อาจารย์ชัยยงได้ตั้งข้อสังเกตว่าพระราชพงศาวดารไทยฉบับที่ชำระขึ้นหลังฉบับหลวงประเสริฐฯ อาจเกิดความผิดพลาดในการออกเสียงเมืองแหง ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะระยะเวลาได้ผ่านมานานนับศตวรรษ แต่อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงนี้ก็ยังรอการพิสูจน์ต่อไป
    ทุกวันนี้เวียงแหงเป็นอำเภอเล็ก ๆ อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนหนึ่งติดชายแดนไทย-พม่า ลักษณะภูมิศาสตร์ของตัวอำเภอเป็นที่ราบโอบล้อมด้วยหุบเขาทั้ง ๔ ด้าน ถ้านั่งรถจากตัวอำเภอเลยขึ้นไปทางเหนือราว ๑๐ นาทีก็จะพบทุ่งนาแห่งหนึ่งซึ่งทางด้านตะวันออกนั้นมีเนินสูง และที่ยอดเนินนั้นเอง เป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุแสนไห สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเวียงแหง
    อาจารย์ชัยยงระบุว่าจุดนี้น่าจะเป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงยั้งทัพอยู่ก่อนสวรรคต
    “เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงเมืองแหง ผมคิดว่าพระองค์ไม่ได้ประทับที่คุ้มเจ้าเมือง แต่น่าจะทรงเดินทัพไปที่ ‘ทุ่งดอนแก้ว’ จากการคำนวณ หลังออกจากเชียงใหม่พระองค์หยุดที่นั่นพอดีในคืนที่ ๖ ผมจึงตีความอย่างนี้ครับ ‘ทุ่ง’ คือ นาที่เราเห็น ‘ดอน’ คือ เนิน ‘แก้ว’ หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือพระธาตุแสนไห นอกจากนี้ในบริเวณเดียวกันยังมีการค้นพบบ่อน้ำช้างศึกด้วย ซึ่งแสดงว่าเคยมีกองทัพมาหยุดพักอยู่ที่นี่”
    หากเรื่องนี้เป็นความจริง เมื่อ ๔๐๑ ปีก่อน วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๑๔๘ ทัพหลวงของสมเด็จพระนเรศวรก็น่าจะหยุดอยู่ที่ “เมืองแหง ตำบลทุ่งดอนแก้ว” และเพลานั้นเอง สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงประชวรเป็นฝีระลอกขึ้นที่พระพักตร์ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว
    สองวันต่อมา ม้าเร็วถูกส่งไปเมืองฝางแจ้งข่าวพระอาการประชวรให้สมเด็จพระอนุชาทรงทราบ
    ๒๐ เมษายน ๒๑๔๘ ม้าเร็วจากเมืองฝางกลับมาถึงทัพหลวง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นเฝ้าพระอาการพระเชษฐา ทัพหน้าที่เมืองฝางหยุดเคลื่อนทัพ
    ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถทรงอัญเชิญพระบรมศพกลับสู่กรุงศรีอยุธยา ก่อนจะถวายพระเพลิงอย่างยิ่งใหญ่ในกาลต่อมา


    จากเพจ คนรักประวัติศาสตร์ไทย
     
  6. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    พระธาตุแสนไห กับ การสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]


    จากข้อสันนิษฐานและการวิเคราะห์จากข้อมูลชุดใหม่ดังกล่าว พบว่าสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศนั้นอาจจะเป็นบริเวณ "พระธาตุแสนไห" ซึ่งอยู่ติดกับ "ทุ่งดอนแก้ว" ตามที่พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ และจากข้อมูลชุดใหม่ที่กล่าวว่าทุ่งดอนแก้วคือบริเวณที่เป็น "ท่งนา" มีเนินหรือ "ดอน" ณ ที่นั้นต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือ "แก้ว" และอีกประการหนึ่งชื่อของพระธาตุ "แสนไห" นั้นอาจจะมาจาก "แสนไห้" หรือคนนับแสนร่ำไห้ต่อการสวรรคตของพระองค์ก็เป็นได้ ดูจะมีน้ำหนักกว่าตำนานที่กล่าวว่าใต้พระธาตุมีทองคำอยู่แสนไห ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีของโบราณสถานวัดพระธาตุแสนไห พบว่ามีการก่อสร้างตามศิลปะอยุธยาอยู่หลายจุด และที่สำคัญพบว่าก้อนอิฐที่ใช้ก่อสร้างนั้น เป็นอิฐที่มีส่วนผสมของแกลบซึ่งเป็นวิธีทำอิฐของชาวอยุธยาแตกต่างจากของล้านนา และพบที่บริเวณพระธาตุแสนไหเพียงจุดเดียว จึงมีน้ำหนักความเป็นไปได้ของสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศอาจจะเป็น ณ บริเวณแห่งนี้


    การณ์ดังนี้คณะผู้จัดสร้างพระถวาย จึงจะได้นำอิฐพระธาตุแสนไห มาบรรจุหัวใจของพระมหามัยมุนี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า และเพื่อให้พระมหามัยมุนีองค์นี้เป็นศูนย์รวมใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ สักการะบูชาของคนทั้งสองแผ่นดิน​
     
  7. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    แต่อย่ากระนั้นเลย ในเมื่อยังไม่มีหลักฐานที่ฟันธงถึงสถานที่สวรรคตที่แน่ชัด ว่าจะเป็นสถานที่ใด ทั้งที่เมืองหาง และเวียงแหง ทางผู้จัดสร้างล็อกเก็ตจึงได้นำเอาทั้ง "อิฐพระสถูปเมืองหาง" และ "อิฐพระบรมธาตุแสนไห" ตลอดจน "อิฐพลับพลาที่ประทับ" ณ พระธาตุแสนไห นำมาจัดสร้างล็อกเก็ตรุ่นนี้ เพื่อเชิดชูเกียรติแห่งพระองค์ท่าน และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน มหาราชผู้อยู่ในดวงใจของคนไทยทุกคน
     
  8. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    รับมอบอิฐโบราณ พระบรมธาตุแสนไห จากพระอาจารย์มหาอนุพงษ์

    เพื่อบรรจุในล็อกเก็ตและจัดสร้างพระผง สมเด็จเจ้าฟ้านเรศวรราชาธิราช​


    (ก้อนอิฐเหล่านี้เป็นที่หมายปองของเจ้าทรงร่างทรงพระนะรศวร?กันมาก แต่เมื่อนำไปแล้วกลับที่นั่งร้อน อยู่ไม่ได้ เจอกับอาถรรพ์ต่างๆ นานาจนต้องนำมาคืนพระบรมธาตุที่เดิม)

    [​IMG]

    โบราณสถานวัดพระธาตุแสนไห พบว่ามีการก่อสร้างตามศิลปะอยุธยาอยู่หลายจุด และที่สำคัญพบว่าก้อนอิฐที่ใช้ก่อสร้างนั้น เป็นอิฐที่มีส่วนผสมของแกลบซึ่งเป็นวิธีทำอิฐของชาวอยุธยาแตกต่างจากของล้านนา และพบที่บริเวณพระธาตุแสนไหเพียงจุดเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2015
  9. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    ประวัติการสร้างพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์

    โดยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถ ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยในอดีต ทั้งทรงมีพระบุญญาบารมี พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาลเป็นที่หวาดหวั่น และเกรงขามแก่ข้าศึกศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั้งปวง ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ที่พระองค์ได้ทรงมีบทบาทในการกรีธาทัพไปปราบปรามอริราชศัตรู ต่างได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ หรือสิ่งอนุสรณ์เป็นการยกย่องเทิดทูนพระเกียรติ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ถวายความจงรักภักดี และบำเพ็ญการกุศลบวงสรวงพระวิญญาณของพระองค์ตลอดมา

    สำหรับชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยู่เสมอว่า การที่พวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น เนื่องจากบริเวณบ้านเมืองงาย ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว เป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ทรงยั้งทัพตั้งค่าย เป็นการเตรียมตัวเข้าโจมตีขับไล่อริราชศัตรู โดยมีหลักฐานปรากฏชัดจากไม้รั้วค่ายซึ่งยังมีอยู่มากในบริเวณนั้น ประกอบด้วยพระสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่นอกเขตไทยได้ชำรุดทรุดโทรมและถูกทำลายไป จึงควรจะได้สร้างขึ้นในที่แห่งนี้แทนพระเจดีย์องค์ที่ได้สูญเสียไปนั้น

    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2508 ณ ที่แห่งนี้ และเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ได้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม ซึ่งประดิษฐาน ณ เมืองหาง รัฐไทยใหญ่ สหภาพพม่า ก่อนถูกทำลาย

    นอกจากนั้นในวันที่ 15 มกราคม 2512 ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระสิงห์วรวิหารฯ เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสององค์ ประชาชนได้มาร่วมพิธีและเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างล้นหลาม และประชาชนได้มาสั่งจองพระบูชาฯ พระเครื่องและสิ่งที่สร้างขึ้นในคราวนี้จนหมด สามารถมีทุนเพียงพอในการที่จะนำไปก่อสร้างพระสถูปเจดีย์และพระอนุสาวรีย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2513 ทางจังหวัดได้เรียนเชิญ พลเอก หลวงกัมปนาท แสนยากร องคมนตรี ไปเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์บรรจุแผ่นอิฐและบรรจุพระกริ่ง พระเครื่อง ไว้ในองค์พระสถูปเจดีย์ ในงานนี้ประชาชนได้เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้านำแก้วแหวนเงินทองและสิ่งมีค่าอื่นๆ มาสมทบบรรจุไว้ในองค์พระสถูปนี้อย่างมากมาย และเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2513 จังหวัดได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่ออัญเชิญเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์และพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในวันที่ 12 มกราคม 2514

    [​IMG]

    [​IMG]

    ด้วยเดชาภินิหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอันมีพระสยามเทวาธิราชเป็นอาทิ ขอพระวิญญาณของพระองค์ซึ่งไม่ว่าทิพยวิมานชั้นฟ้าใดๆ ขอได้โปรดทรงรับรู้ในความยึดมั่นกตัญญู จงรักภักดี ของบรรดาชาวไทยทั้งมวลอันมีต่อพระองค์ท่านอย่างไม่มีเสื่อมคลาย และพวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอปฏิญาณต่อดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ว่าพวกเราพร้อมที่จะเจริญรอยตามพระยุคลบาท ในอันที่จะรักษาผืนแผ่นดินไทย ทุดกระเบียดนิ้วซึ่งพระองค์ได้พระราชทานไว้แก่คนทั้งมวล ให้ยืนยงคงอยู่ตราบชั่วฟ้าดินสลาย

    สำหรับตัวสถูปพระเจดีย์ฯ เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม กว้าง 10.30 ม. สูง 25.12 ม. ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และแต่ละด้านของฐานมี่แผ่นศิลาสลักลวดลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ สลับกับแผ่นหินอ่อนที่เล่าพระราชประวัติของพระองค์ และประวัติการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ฯ

    ซึ่งจะมีประชาชนแวะเวียนมากราบไหว้สักการะ องค์พระสถูปเจดีย์ฯ อยู่เสมอ และรอบๆ บริเวณสถูปพระเจดีย์จะมีบรรดาไก่ที่เป็นปูนปั้นตั้งอยู่เต็มบริเวณ เพราะส่วนใหญ่ผู้คนที่มากราบไหว้ มักจะนำไก่มาถวายท่าน ด้วยเชื่อว่าพระองค์รักการชนไก่ และด้านหลังขององค์พระสถูปเจดีย์ฯ จะเป็นที่ตั้งของ "ค่ายหลวงที่ประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" (จำลอง) ที่ทางกรมศิลปากรจัดสร้างขึ้น ซึ่งภายในค่ายจำลอง มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา ประดิษฐานอยู่ให้กราบไหว้
     
  10. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    มวลสารสำคัญที่จะนำบรรจุล็อกเก็ต

    [​IMG]

    มวลสารรวมหัวเชื้อที่ใช้อุดก้นพระกริ่งหัวใจนเรศวร

    [​IMG]

    มวลสารมหามงคลอย่างสูงสุด

    [​IMG]

    ผงจิตลดา ผงพระทนต์ในหลวง จากพระพุทธชินสีทันโตเสฏโฐ(แตกหัก)

    [​IMG]

    ผงไม้บุษบกพระแก้วมรกต กระเบื้อง โมเสค วัดพระแก้ว(คราวบูรณะ)


    [​IMG]

    ผงอิฐพระธาตุแสนไห และ ผงอิฐพระสถูปพระนเศวรเมืองหาง

    [​IMG]

    ผงดิน ใบ และ เนื้อไม้ พระศรีมหาโพธิพุทธคยา อินเดีย

    [​IMG]

    ผงมวลสารรุ่น 5 รอบ หลวงพ่อเกษม เขมโก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9513.JPG
      IMG_9513.JPG
      ขนาดไฟล์:
      427.9 KB
      เปิดดู:
      3,398
  11. Thanitanont Pandphetpinunt

    Thanitanont Pandphetpinunt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +272
    ขอร่วมทำบุญด้วย 2 องค์ครับ
     
  12. Pirunachart

    Pirunachart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +588
    สอบถามข้อมูล

    ขอสอบถามครับ ในรายละเอียดหมายถึง พระกริ่งและล็อกเก็ตองค์ละ 500 หรือเปล่าครับ
    และพระผงพระบรมรูปสมเด็จฯ ที่จะสร้าง ได้เปิดให้สั่งจองหรือไม่ครับ เพราะคุณแม่เป็นผู้หญิงท่านไม่เหมาะแขวนพระกริ่งองค์ใหญ่ๆ ครับ

    รบกวนช่วยให้ข้อมูลด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
     
  13. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    พระกริ่งองค์ละ 1,000 บาท รายละเอียดตามกระทู้นี้ครับ http://palungjit.org/threads/ร่วมบุ...วร-บรรจุอิฐสถูปเมืองหาง-น-14-a.536519/page-10

    ส่วนพระผงขอรอต้นแบบเสร็จจะเปิดจองเนื้อพิเศษอีกครั้งครับผม
     
  14. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    มวลสารสำคัญบรรจุล็อกเก็ต

    [​IMG]

    ยาแดง ส่วนหยิ่นจ่อ ยาวิเศษมีคุณครอบจักรวาล ที่สุดของความหายากสายพม่า ซื้อหากันเป็นหมื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ

    สืบทอดมาแต่พ่อครูหย่วน ลิ่งแสง อ.แม่สอด จ.ตาก พ่อครูผู้มีชื่อเสียง ปฏิบัติเคร่งครัดยิ่งกว่าพระภิกษุเสียด้วยซ้ำ ครูบาดังๆ อาจารย์สายพรายที่ว่าเจ๋ง พอของเข้าตัวเมื่อไร เป็นต้องรีบวิ่งไปหาพ่อครูเพื่อให้ท่านรักษา ท่านเป็นพ่อครูสายยาแดงส่วยหยิ่นจ่อ ยาที่ท่านใช้รักษาและหวงแหนก็คือยาส่วนหยิ่นจ่อ ที่จะได้นำมาบรรจุล็อกเก็ตครั้งนี้


    ตามตำนานยาแดงส่วยหยิ่นจ่อสร้างจากฉัตรวิเศษของพ่อครูสัจจามิน ดังประวัติต่อไปนี้
    ครูบาอาจารย์ในสายวิชาปะฐะมะสิทธิ ถ้านับกันจริงๆมีมากกว่า ๑๐ องค์ แต่ที่นับถือว่าเป็นสุดยอดฝีมือแห่งเมืองม่านหรือพม่ามีแค่ ๑๐ องค์หลัก ๆ จริง ๆ แล้ววิชาสายนี้จะบอกว่าเป็นวิชาเมืองม่านหรือพม่าก็ไม่ถูกต้อง เพราะกำเนิดวิชานี้มีมาแต่ก่อนรวมประเทศเป็นพม่านานนับพันปี เรียกว่ามีมาตั้งแต่อาณาจักรมอญรุ่งเรือง

    หนึ่งในบรมครูที่กล่าวได้ว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการสูงสุดในบรรดาครูทั้ง ๑๐ แม้ว่าท่านจะไม่ใช่ครูท่านแรก และยังมีฐานะเป็นศิษย์บรมครูพู่พู่อ่องด้วย แต่ท่านก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นประธานแห่งองค์ครู และเป็นผู้ทรงบุญญาธิการชั้นสูง ทั้งนี้เพราะอะไรเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าบรมครูท่านนี้ได้สั่งสมบุญบารมีเพื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นองค์ศาสดาเอกของโลก ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองทำหน้าที่กอบกู้สรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ในภายภาคหน้า โดยฐานะของท่านตอนนี้ท่านจึงเป็นองค์พระโพธิสัตว์ และเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ไม่แปรผัน เป็นหน่อเนื้อแห่งพระโพธิญาณ ด้วยปณิธานแห่งองค์ท่านและบุญบารมีที่สั่งสมมานี้จึงทำให้ท่านอยู่ในฐานะแห่งประธานของคณะบรมครูทั้ง ๑๐ ท่านดังกล่าวนี้คือ “เจ้าสัจจะยามินหน่อเนื้อแห่งพระโพธิญาณ”

    ตำนานขององค์เจ้าสัจจะยามินนั้น กล่าวไว้ว่าเมื่อท่านถือกำเนิดมานั้นมีสิ่งพิเศษติดตัวท่านมาสามประการคือ

    ๑ มีลายสวัสดิกะอยู่ที่ฝ่ามือของท่าน อันเป็นลายลักษณ์ของพระธรรมจักรแห่งบรมศาสดา ผู้มีลายนี้ติดตัวแต่กำเนิดถือว่าบำเพ็ญบารมีในพระโพธิญาณมานับชาติไม่ถ้วน

    ๒ มียาทิพย์อยู่ในมือของท่านเมื่อท่านถือกำเนิดมาแล้ว เทพยดานำเอายาวิเศษมาใส่ไว้ในฝ่ามือของท่าน

    ๓ เมื่อท่านไปไหนมาไหนจะบังเกิดฉัตรกั้นแดดกั้นลมบังให้ท่านเป็นฉัตรทิพย์ประจำองค์ท่าน

    ท่านเป็นถึงราชบุตรของกษัตริย์บูดอเอ เมื่อท่านเกิดมามีคุณวิเศษปานฉะนี้ บรรดาพระชายาท่านอื่น ๆ ของกษัตริย์ก็ย่อมอิจฉาเป็นธรรมดา และพยายามใส่ร้ายโดยว่าจ้างท่านโหราให้ใส่ร้ายว่าเจ้าสัจจะยามินเป็นกาละกิณีต่อบ้านเมืองต้องประหาร

    เมื่อเงินมีอำนาจ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ท่านโหรเห็นแก่เงินเลยยุยงกษัตริย์บูดอเอว่าลูกของพระองค์จะทำให้บ้านเมืองพินาศเป็นกาลากิณี ทั้ง ๆที่พระองค์ทรงรักลูกคนนี้มาก แต่เมื่อโดนแผนยุยงปลุกปั่นเช่นนี้ก็จำใจสั่งให้ทหารเอาลูกชายสุดที่รักไปประหาร เรื่องที่กำลังเป็นกำลังตายของเจ้าสัจจะยามินนั้น ถูกล่วงรู้โดยญาณทิพย์ของบรมครูพู่พู่อ่อง บรมครูพู่พู่อ่อง ท่านทราบตั้งแต่พระโพธิสัตว์ลงมาอุบัติและมีญาณทัศนะล่วงรู้ความเป็นไปทั้งหมดของเจ้าสัจจะยามิน ทันทีที่เจ้าสัจจะยามินถูกพามาถึงลานประหาร เมื่อเพชรฌฆาตกำลังเงื้อดาบ ทันใดนั้นพู่พู่อ่องก็ปรากฏกายขึ้นบนท้องฟ้าสร้างความตะลึงพึงเพริดแก่ทุกคนทุกสายตาในที่นั้น พริบตาเดียวด้วยฤทธิ์เหนือโลกของบรมครูพู่พู่อ่อง ก็ทำให้เครื่องพันธนาการทั้งหมดที่รัดเจ้าสัจจะยามินหลุดออกแล้วท่านครูพู่พู่อ่องก็มาลอยลงมาอุ้มเจ้าสัจจะยามินไปเลี้ยงดูพร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาปะฐะมะสิทธิ ในดินแดนลับแลหรือบุพเพวิหทวีป จนเจ้าชายสัจจะยามินสำเร็จเป็นผู้เศษอีกท่านหนึ่งและกลายมาเป็นหนึ่งในบรมครูทั้ง ๑๐ แห่งสายวิชาปะฐะมะสิทธิตราบจนถึงปัจจุบัน

    มีเรื่องเล่าอีกว่า เจ้าสัจจะยามิน นั้นเป็นผู้รักความสันโดษความสงบ แต่ในเมื่อท่านมีบุญญาธิการไปไหนมาไหนเกิดฉัตรวิเศษกางกั้นท่านเป็นอัศจรรย์ เวลาไปไหนมาไหนก็จะมีชาวบ้านมาแห่ห้อมล้อมหน้าล้อมหลังเพื่อมาชมบารมี ใคร ๆ ก็อยากเห็นผู้มีบุญที่สำคัญคืออยากเห็นฉัตรทิพย์ของท่านสัจจะยามินก็เลยแห่กันมา

    ท่านเจ้าสัจจะยามินเมื่อพิจารณาดูแล้วเห็นว่าเมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ชีวิตก็ยากจะหาความสงบได้ ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจหักฉัตรทิพย์ของท่าน บางตำนานเล่าว่าท่านไปรบกับผู้วิเศษอีกท่านนึง ชักเอาฉัตรทิพย์มาแทนดาบตีกันจนฉัตรทิพย์หัก ตำนานเรื่องฉัตรทิพย์หักนี้ต่อมาบรมครูที่รับวิชาจากเจ้าสัจจะยามินรุ่นต่อมาได้นำเอาฉัตรทิพย์จากเศษที่หักมานั้นนำมาฝนเพื่อเป็นส่วนผสมสำคัญในการสักยาแดง และเหตุนี้เองจึงทำให้วิชาสายสักยาแดงมีความเข้มขลังยิ่งนัก

    วิชาสายยาแดงจึงเป็นวิชาที่มีเอกลักษณ์มีตำนาน การสักยาแดงในสายวิชานั้นมีทั้งที่มาจากตำนานฉัตรทิพย์ของเจ้าสัจจะยามิน เซยากีหรือปรอทวิเศษจากสายวิชาของพู่พู่อ่อง และว่านยาต่างๆแล้วแต่ว่าศิษย์ผู้นั้นจะมีวาสนาบารมีมาขนาดไหนก็จะได้ตัวยามหาคุณอันวิเศษพิสดารมาเป็นส่วนหนึ่งของสูตรยาสัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9516.JPG
      IMG_9516.JPG
      ขนาดไฟล์:
      494.4 KB
      เปิดดู:
      4,414
  15. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    มวลสารสำคัญบรรจุล็อกเก็ต

    [​IMG]

    ผงวิเศษทั้ง ๕ จากพระมหาอนุพงษ์
    ผงอิธะเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และ ผงตรีนิสิงเห


    [​IMG]

    ผงพุทธคุณรวมสายไทใหญ่-พม่า จากพระมหาอนุพงษ์

    [​IMG]

    ผงดินจากกรุพระธาตุนาดูนและผงแร่บางไผ่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9518.JPG
      IMG_9518.JPG
      ขนาดไฟล์:
      395 KB
      เปิดดู:
      3,032
    • IMG_9517.JPG
      IMG_9517.JPG
      ขนาดไฟล์:
      450.5 KB
      เปิดดู:
      3,096
    • IMG_9519.JPG
      IMG_9519.JPG
      ขนาดไฟล์:
      519.7 KB
      เปิดดู:
      3,003
  16. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    มวลสารสำคัญบรรจุล็อกเก็ต

    [​IMG]

    ผงส้มป่อยมนต์สายไทใหญ่เวียงแหง จากพระมหาอนุพงษ์

    [​IMG]

    ผงส้มป่อยผสมว่านยาสายไทใหญ่เชียงตุง สร้างหัวผีลู(เวสสุวรรณ)
    จากเจ้าสย่าอูวิจัยยะ สังฆนายกอันดับ๒ สายไทใหญ่ เชียงตุง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9515.JPG
      IMG_9515.JPG
      ขนาดไฟล์:
      555.3 KB
      เปิดดู:
      3,040
    • IMG_9514.JPG
      IMG_9514.JPG
      ขนาดไฟล์:
      399.6 KB
      เปิดดู:
      3,298
  17. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    [​IMG]

    ตัวอักขระไทใหญ่ที่ปรากฏอยู่บนล็อกเก็ตนั้นแปลจากพระนามของพระนเรศวรว่า

    "สมเด็จเจ้าฟ้านเรศวรราชาธิราช"

    โดยมีเค้าต้นแบบมาจากเหรียญตองโข่ที่โด่งดัง และหายากมาก (ของแท้รุ่น1 นะครับ)
     
  18. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    [​IMG]

    เหรียญสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช รุ่น "ตองโข่" เป็นการเรียกของทหารกองทัพเมืองไต เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดย"หนุ่มหาญศึก" กับ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น จำนวน 1,000 เหรียญ (บ้างก็ว่า 2,000 เหรียญ แบ่งกันฝั่งละ 1,000 เหรียญ )

    เหรียญของสมเด็จพระนเรศวร ตองโข่ ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญนี้ ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย สร้างให้เจ้าหนุ่มศึกหาญ เจ้าไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2503 เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมงคลภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยพระเกจิคณาจารย์ล้วนชื่อดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในสมัยนั้นมาก มาย
    พิธีมงคลพุทธาภิเษกครั้งแรกมีขึ้นที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กทม. ต่อมาได้ทำพิธีอีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร ณ พระราชวังจันทน์ (สถานที่ประสูติ)

    เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น "ตองโข่" เป็นการเรียกของทหารกองทัพเมืองไต เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดย"หนุ่มหาญศึก" กับ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น จำนวน 1,000 เหรียญ (บ้างก็ว่า 2,000 เหรียญ แบ่งกันฝั่งละ 1,000 เหรียญ )

    เหรียญของสมเด็จพระนเรศวร ตองโข่ ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญนี้ ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย สร้างให้เจ้าหนุ่มศึกหาญ เจ้าไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2503 เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมงคลภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยพระเกจิคณาจารย์ล้วนชื่อดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในสมัยนั้นมาก มาย
    พิธีมงคลพุทธาภิเษกครั้งแรกมีขึ้นที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กทม. ต่อมาได้ทำพิธีอีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร ณ พระราชวังจันทน์ (สถานที่ประสูติ)

    เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น "ตองโข่" เป็นการเรียกของทหารกองทัพเมืองไต เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดย"หนุ่มหาญศึก" กับ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น จำนวน 1,000 เหรียญ (บ้างก็ว่า 2,000 เหรียญ แบ่งกันฝั่งละ 1,000 เหรียญ )

    เหรียญของสมเด็จพระนเรศวร ตองโข่ ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญนี้ ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย สร้างให้เจ้าหนุ่มศึกหาญ เจ้าไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2503 เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมงคลภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยพระเกจิคณาจารย์ล้วนชื่อดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในสมัยนั้นมาก มาย
    พิธีมงคลพุทธาภิเษกครั้งแรกมีขึ้นที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กทม. ต่อมาได้ทำพิธีอีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร ณ พระราชวังจันทน์ (สถานที่ประสูติ)


    เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น "ตองโข่" เป็นการเรียกของทหารกองทัพเมืองไต เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดย"หนุ่มหาญศึก" กับ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น จำนวน 1,000 เหรียญ (บ้างก็ว่า 2,000 เหรียญ แบ่งกันฝั่งละ 1,000 เหรียญ )

    เหรียญของสมเด็จพระนเรศวร ตองโข่ ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญนี้ ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย สร้างให้เจ้าหนุ่มศึกหาญ เจ้าไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2503 เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมงคลภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยพระเกจิคณาจารย์ล้วนชื่อดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในสมัยนั้นมาก มาย
    พิธีมงคลพุทธาภิเษกครั้งแรกมีขึ้นที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กทม. ต่อมาได้ทำพิธีอีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร ณ พระราชวังจันทน์ (สถานที่ประสูติ)

    เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น "ตองโข่" เป็นการเรียกของทหารกองทัพเมืองไต เหรียญนี้เป็นการร่วมมือกันสร้างระหว่างผู้นำกองทัพเมืองไต โดย"หนุ่มหาญศึก" กับ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรีของไทยในสมัยนั้นและยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้น



    เหรียญของสมเด็จพระนเรศวร ตองโข่ ปัจจุบันนี้ หายากมาก เพราะไม่มีการทำขึ้นมาอีก เหรียญนี้ ฯพณ ฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย สร้างให้เจ้าหนุ่มศึกหาญ เจ้าไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2503 เหรียญนี้ได้ผ่านพิธีมงคลภิเษกถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยพระเกจิคณาจารย์ล้วนชื่อดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนในสมัยนั้นมาก มาย
    พิธีมงคลพุทธาภิเษกครั้งแรกมีขึ้นที่วัดราชบพิธสถิตสีมาราม กทม. ต่อมาได้ทำพิธีอีกครั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก (วัดใหญ่ ) และพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร ณ พระราชวังจันทน์ (สถานที่ประสูติ)

    ***ขอบคุณข้อมูลจาก...ร้านบารมีหลวงพ่อ พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    สมเด็จพระนเรศวรฯ กับไทใหญ่ ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย

    ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชนกลุ่มน้อยกับทางฝ่ายไทย จนไทใหญ่ต้องสังเวยชีวิตไปหมื่นกว่าศพนี้ ยังมีเรื่องราวต่อเนื่องมาอีก ในช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงทำสงครามประกาศอิสรภาพจากการยึดครองของพม่า ครั้งนั้นทหารไทใหญ่ได้เป็นกำลังพลสำคัญ เป็นเพื่อนตายร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่มากับทหารไทย ต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติไทย กอบกู้เรียกคืนแผ่นดินจากการยึดครองของพม่า ดังมีหลักฐานทางฝ่ายไทย ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงในสมัยที่ไทยยังเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรฯ นั้น "ประกอบไปด้วยปัญญาหลักแหลมลึกซึ้ง ทั้งการสงครามก็องอาจกล้าหาญ นานไปเห็นจะเป็นเสี้ยนศัตรูต่อเมืองหงสาวดีเป็นมั่นคง" พระเจ้าหงสาวดีจึงอ้างว่ากรุงอังวะเป็นกบฏขอให้สมเด็จพระนเรศวรฯ ยกทัพไปช่วยพม่าปราบกบฏ แต่ขณะเดียวกันก็ลอบส่งแม่ทัพพม่าคือ "นันทสุ" กับ "ราชสังคราม" เข้ามากวาดต้อนผู้คนจากเมืองกำแพงเพชรไปเป็นกำลังทัพ เพื่อตัดกำลังสมเด็จพระนเรศวรฯ ทั้งยังวางแผนลอบสังหารสมเด็จพระนเรศวรฯ อย่างแยบยล

    ประวัติศาสตร์ช่วงนี้เองที่ระบุไว้ชัดเจนว่า คนไทใหญ่ที่ถูกนันทสุกับราชสังครามกวาดต้อนครัวไปเป็นกำลังฝ่ายพม่านั้น ไม่ยอมสยบและสู้รบแข็งขืนเต็มสามารถ ดังที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม หน้า ๑๕๑-๑๕๒ ว่า "ขณะนั้นพระยากำแพงเพชรส่งข่าวไปถวายว่า ไทใหญ่เวียงเสือ เสือต้าน เกียกกาย ขุนปลัด มังทราง มังนิ่ววายลองกับนายม้าทั้งปวงอันอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร พาครัวอพยพหนี พม่ามอญตามไปทัน ได้รบพุ่งกันตำบลหนองปลิงเป็นสามารถ พม่ามอญแตกแก่ไทใหญ่ทั้งปวงๆ ยกไปทางเมืองพระพิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทราบดังนั้น ก็ให้ม้าเร็วไปบอกแก่หลวงโกษา และลูกขุนอันอยู่รักษาเมืองพระพิษณุโลกว่าซึ่งไทใหญ่หนีมานั้นเกลือกจะไปเมืองอื่นให้แต่งออก (อายัด) ด่านเพชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาตระการ แสเซาให้มั่นคงไว้ อย่าให้ไทใหญ่ออกไปรอด หลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงทราบดังนั้น ก็แต่งออกไปกำชับด่านทางทั้งปวงตามรับสั่ง ฝ่ายไทใหญ่ก็พาครอบครัวตรงเข้ามาเมืองพระพิษณุโลก หลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงก็รับพิทักษ์รักษาไว้ นันทสุกับราชสังครามมีหนังสือมาให้ส่งไทใหญ่ หลวงโกษา และลูกขุนผู้อยู่รักษาเมืองพระพิษณุโลกก็มิได้ส่ง"

    และเมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ ทราบข่าวเรื่องกษัตริย์พม่าใช้แผนลวงพระองค์เรียกให้ยกทัพมาปราบกบฏเพื่อลอบสังหาร สมเด็จพระนเรศวรฯ เจ้าก็ได้ทรง "ตรัสแก่มุขมาตยาโยธาทั้งปวงว่า เราหาความผิดมิได้ ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีคิดร้ายแก่เราก่อนนั้น อันแผ่นดินพระมหานครศรีอยุธยากับแผ่นดินหงสาวดี ขาดจากทางพระราชไมตรีกัน เพราะเป็นอกุศลกรรมนิยมสำหรับที่จะให้สมณพราหมณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน แล้วพระหัตถ์ก็ทรงพระสุวรรณภิงคารหลั่งอุทกธาราลงเหนือพื้นพสุธาดล จึ่งออกพระโอษฐ์ ตรัสประกาศแก่เทพยเจ้าทั้งหลายอันมีมหิทธิฤทธิ์และทิพจักขุทิพโสต ซึ่งสถิตอยู่ทุกทิศานุทิศจงเป็นทิพพยาน ด้วยพระเจ้าหงสาวดีมิได้ตั้งอยู่โดยคลองสุจริตมิตรภาพขัตติยประเพณีเสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริตคิดจะทำภยันตรายแก่เรา ตั้งแต่วันนี้ไป กรุงพระมหานครศรีอยุธยากับเมืองหงสาวดีมิได้เป็นสุวรรณปัถพีเดียวกันดุจหนึ่งแต่ก่อน ขาดจากกันแต่วันนี้ไปตราบเท่ากัลปาวสาน"

    ส่วนทหารและประชาชนไทใหญ่ที่เข้ามาอยู่ในอารักขาของทางไทยนั้น ทางพม่าได้ขอให้ส่งกลับไป ซึ่งบรรพชนทหารไทยคือหลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงผู้อยู่รักษาเมืองนั้น

    "ก็นำบรรดานายไทใหญ่เข้าเฝ้า จึ่งบังคมทูลว่า มีหนังสือนันทสุ ราชสังคราม ซึ่งมาตั้งอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร มาให้ส่งไทใหญ่และครัวซึ่งหนีมาอยู่ ณ เมืองพระพิษณุโลก ข้าพเจ้าตอบไปว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จอยู่ ซึ่งจะส่งไปนั้นยังมิได้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทราบดังนั้นก็ตรัสให้มีหนังสือตอบไปว่าธรรมดาพระมหากษัตราธิราชผู้ดำรงทศพิธราชธรรมนั้น อุปมาดังร่มพระมหาโพธิ์อันใหญ่ และมีผู้มาพึ่งพระราชสมภาร หวังจะให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งนันทสุกับราชสังครามจะให้ส่งไทใหญ่ไปนั้น ไม่ควรด้วยคลองขัตติยราชประเพณีธรรม"

    พระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ของสมเด็จพระนเรศวรฯ ต่อประชาชนไทใหญ่เช่นนี้เองที่ยังจารึกอยู่ในจิตใจของทหารไทใหญ่ ทำให้ทหาร SSA เคารพบูชาสมเด็จพระนเรศวรฯ ในฐานะประดุจศูนย์รวมแห่งความเชื่อ ความศรัทธาในความกล้าหาญและพระเมตตาธรรมของพระองค์มาถึงปัจจุบัน
     
  20. Pirunachart

    Pirunachart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +588
    ขอจองร่วมทำบุญล็อกเก็ต 1 องค์ครับ โอนเงินให้พรุ่งบ่ายๆ และบัญชีที่โอนคือ
    ไทยพาณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ 566-481898-4 KRITCHANAT KAMMARATSURIYAWONG ใช่ไหมครับ แล้วสาขาอะไรครับ ประเภทบัญชีอะไร
    และต้องบวกค่าจัดส่งเท่าไหร่ EMS หรือลงทะเบียนครับ

    ขอบคุณครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...