รู้กาย รู้ใจ ใครๆ ก็รู้ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 7 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    <font size='4'><font color='#ff0000'><b>เมื่อเรามารู้จักการรู้กาย-ใจของตน แต่กลับไม่สามารถหักห้ามความรู้สึกนึกคิด และการกระทำของกาย-ใจตนได้ การรู้กาย-ใจนั้น ก็ไม่ต่างไปจากคำสั่งสอนของศาสนาอื่นที่มีทั่วๆ ไป หรือของนิกายต่างๆ ที่มีอยู่ทุกวันนี้</b></font>

    คำสอนที่มีปรากฏอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ เรามักได้ยินจนเจนหู ฟังจนขึ้นใจว่า ให้หันมารู้กาย-ใจของตนก็เพียงพอแล้วสำหรับการปฏิบัติธรรม โดยมักอ้างไปว่า นี่คือธรรมอันเป็นสายกลาง ไม่หย่อนยานไป ไม่เคร่งเครียด หรือแข็งๆ ทื่อๆ จนเกินไป เป็นสำนวนที่คนรุ่นใหม่ยอมรับได้แบบง่ายๆ ว่าสบายๆ และลัดสั้น ไม่ทำให้ตนเองต้องเกิดความลำบากกาย-ใจ เพียงแค่รู้ทันกาย-ใจก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องลงมือปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา หรือเดินจงกรมให้เกิดความยุ่งยากลำบากกาย-ใจตนเอง

    ทั้งๆ ที่การปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนาและการเดินจงกรม ด้วยความพากเพียรพยายามนั้น เป็นหลักธรรมสำคัญต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ย่อมทำให้จิตของตน มีสติสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวซัดส่ายไปมาตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามากระทบ

    ใครๆ ก็มักชอบอ้าง <b>"วลี"</b> แค่ <b>"รู้กาย-ใจ"</b> เพราะรู้สึกว่าเป็นคำที่ <b>"ใช่"</b> ฟังแล้วเท่ดี ไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนาหรือเดินจงกรมให้ยากลำบากเลย เนื่องจากมีอาจารย์บางท่าน ชอบแอบอ้างนำมาใช้ในเวลาเทศน์สอน เพื่อเป็นการประกาศตนว่าได้เข้าถึงธรรมแล้ว อันเป็นธรรมสายกลาง

    เมื่อผู้ใหม่ได้รับฟังคำสั่งสอนนั้น แล้วทดลองนำมาปฏิบัติดู ก็ให้รู้สึกเป็นเช่นนั้นจริง ยิ่งในช่วงแรกๆ รู้สึกว่า เบากาย เบาใจ ได้ดีตามสมควรแก่ธรรมนั้น จึงเป็นการส่งเสริมให้ <b>"วลี"</b> นี้ฮิตติดตลาด เป็นเพราะความมักง่าย ติดสบาย ชอบลัดสั้น เพิ่มขึ้น อันเป็นปรกติของปุถุชนบุคคลทั่วไป

    แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ความหมายของคำว่า <b>"รู้กาย-ใจตนเอง"</b> โดยความเป็นจริงแล้ว การรู้กาย-ใจตนนั้น ล้วนเป็นคำสอนที่มีปรากฏอยู่ทั่วไปของทุกๆ ศาสนา และลัทธิต่างๆล้วนสั่งสอนให้รู้จักการสำรวมระวัง ในกาย วาจา ใจของตน ที่เรียกว่า <b>"สังวรอินทรีย์"</b> อันเป็นสภาวะธรรมขั้นพื้นฐานทั่วไปที่ทำให้บุคคลเป็นคนดี

    ซึ่งแตกต่างไปจากศาสนาพุทธโดยสิ้นเชิง ในพระพุทธพจน์ ทรงใช้คำว่า <b>"พิจารณากายในกาย"</b> โดยอาศัย <b>"ใจพิจารณา"</b> ซึ่ง <b>"ใจ"</b> เป็นหนึ่งในอายตนะภายใน ๖ ประการ อันเป็นช่องทางในการรับรู้ธรรมารมณ์ต่างๆ

    การ <b>"พิจารณากายในกาย"</b> นั้นคือ การกำหนดรู้ลงไปที่กาย ซึ่งเป็น <b>" สติปัฏฐาน"</b> คือการระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งของสติอย่างต่อเนื่องเนืองๆ จนเข้าถึงระดับฌาน ใน "สัมมาสมาธิ" เมื่อกำหนดรู้แล้วว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ควรละเหตุแห่งทุกข์นั้น เป็นสภาวะธรรมแท้ที่ละเอียด ลึกซึ้ง เข้าถึงได้ยาก เป็นการ "รู้เท่าทันกาย-รู้เท่าทันใจ" ตนเอง ย่อมดีกว่าการรู้ทันกาย-ใจ ของตน แบบที่ยังหยุดไม่เป็น ทำให้เย็นไม่ได้

    การกำหนดรู้ลงไปที่ฐานที่ตั้งของสติ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ที่เรียกว่า <b>"สติปัฏฐาน ๔"</b> นั้น เป็นการสร้างสัมมาสติแบบต่อเนื่องเนืองๆ ด้วยการเพียรเพ่งภาวนากรรมฐาน (ฐานที่ตั้งแห่งการงานทางจิต) กำหนดรู้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตเข้าถึงระดับฌาน อันเป็น "สัมมาสมาธิ" หนึ่งในอริยมรรค ๘

    การจะเข้าถึง <b>"ฌาน"</b> อันเป็น <b>"สัมมาสมาธิ"</b> ดังกล่าวนั้น เราต้องมีความพากเพียรพยายามปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา โดยการนั่งคู้บัลลังก์ หรือการเดินจงกรมอย่างต่อเนื่องจริงจัง ถึงขั้นอดนอน ผ่อนอาหารเพื่อความก้าวหน้าในทางปฏิบัติธรรม เพียรทบทวนทางเดินของจิต ในการเข้าสมาธิ อยู่ในสมาธิ และออกจากสมาธิ

    จิตของผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นสิ่งแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไม่เที่ยง ในขันธ์ทั้งหลาย ว่าล้วนเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้ จิตของผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมสงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เข้าสู่ฌาน

    ขณะนั้นจิตมีสติ สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เพราะสลัดคืนความยึดมั่นถือมั่นได้ชั่วคราว เป็นกิริยาจิตที่รู้เท่าทันกาย-ใจ ไม่ซัดส่ายหวั่นไหวไปมาตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ประชิดจิตตน เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องฝึกฝนอบรมจิตด้วยความพากเพียรพยายาม เพื่อให้จิตมีความชำนาญในการเข้า-ออกฌาน จนเป็นวสี

    <b>ความพากเพียรพยายาม</b> เป็นสภาวะธรรมที่ขาดไม่ได้เลยในพระพุทธศาสนา ความพากเพียรพยายาม หรือการเพียรเพ่งที่ถูกต้อง เราเรียกว่า "สัมมา" นั้น เป็นสภาวะธรรมที่อยู่ท่ามกลางระหว่าง "กามสุขัลลิกานุโยค" กับ "อัตตกิลมถานุโยค"

    เราสามารถตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียงได้จากพระพุทธพจน์ ใน "อริยมรรค ๘" อันมี "สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ" ซึ่งล้วนเป็นความพากเพียรพยายาม หรือการเพียรเพ่งทั้งสิ้น ไม่ใช่ "อัตตกิลมถานุโยค" อย่างที่มีบางคนเคยกล่าวอ้างไว้

    พระพุทธองค์ยังทรงเน้นย้ำไว้ในพระสูตรต่างๆ อีกมากมาย ดังนี้<br><font color='#0000ff'><b>"ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท(เกียจคร้าน)
    อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
    นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ"</b></font>

    ในบางครั้งท่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านมักอบรมบุคคลผู้ยังใหม่อยู่ว่า ถ้ายังไม่สามารถเข้าถึงธรรมแท้ที่ทำให้จิตมีสติสงบตั้งมั่นแล้ว ก็ให้พยายามรู้ทันกาย-ใจของตนไว้เท่าที่จะระลึกได้ เมื่อถึงคราวอันสมควร ให้กำกับโดยความเพียรพยายามเต็มที่ใน อินทรีย์ ๕ พละ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ซึ่งเป็นสภาวะธรรมเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค

    ผิดไปจากปัจจุบันนี้ ที่นำเอาการรู้ทันกาย-ใจมาแอบอ้างกัน ให้รู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมนั้นง่ายๆ สบายๆ และลัดสั้น ฟังดูเหมือนใช่แต่ไม่ใช่ มีการสอนเพียงว่า การรู้ทันกาย-ใจตนเองนั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการหลุดพ้น ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่สร้างอะไรทั้งสิ้น เพราะเหตุใกล้จะทำให้สติเกิด แล้วปัญญา (สัญญา) ก็เกิดขึ้นตามมาเอง

    ฟังดูแล้วน่าจะ "ใช่" แต่แท้จริงแล้ว "ไม่ใช่" เป็นแค่การสะดุ้งต่อเหตุใกล้ รู้ว่าตนเองได้เผลอตัวไปแล้ว เป็นเพียงแค่ "สัญญาอารมณ์" ตัวหนึ่งเท่านั้น ในช่วงแรกๆ นั้นมีการสะดุ้งต่อเหตุใกล้บ่อย แต่พอเริ่มคุ้นชินต่อเหตุใกล้นานเข้า จนกลายเป็น "ถิรสัญญา" จะรู้สึกว่าเฉยได้ เกิดจากการเปลี่ยนอารมณ์ ไม่ใช่ปล่อยวางอารมณ์ เป็น "เฉยโง่" ที่ยังมีอารมณ์ครุกรุ่นอยู่ภายในจิตตน

    <font color='#ff0000'><b>สรุปว่า การรู้ทันกาย-ใจ หรือที่เรียกว่าสำรวม กาย วาจา ใจนั้น มีการสอนกันในทุกๆ ศาสนา ทุกๆ ลัทธิ เป็นเรื่องดีที่สอนให้บุคคลเป็นคนดีในสังคมคนหนึ่ง</b></font>

    <font color='#0000ff'><b>แต่ไม่ควรนำมาปนเปเข้ากับพระพุทธศาสนา ที่เป็นสภาวะธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง เข้าถึงได้ยาก จะเข้าถึงได้แต่บัณฑิตผู้มี "ปัญญา" เท่านั้น</b></font>

    ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการตรึก จนความรู้สึกนึกคิดนั้นตกผลึก ผลที่ได้เป็นเพียงแค่ "สัญญา" ไม่ใช่ "ปัญญา" เป็นแค่ความรู้สึกนึกคิดที่หลอกตนเองว่า "เฉย" ได้แล้ว

    ย่อมแตกต่างจาก <b>"อุเปกขา สติปาริสุทธิง"</b> ฌานที่ ๔ แห่ง "สัมมาสมาธิ" ในอริยมรรค ๘ อันเป็นสภาวะธรรมที่จิตบริสุทธิ์ มีสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวกุมเฉยอยู่ เป็นการวางเฉยที่เป็นผลอันเกิดจากจิตปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ออกไปหมดในขณะนั้น ... สาธุ</font>

    <font color='#0000ff' size='4'><b>เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
    ธรรมภูต</b></font>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2016
  2. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สวัสดีครับท่านพี่ธรรมภูติ ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบเจอจนกระทั่งวันนี้ เกือบสิบปีแล้วสินะ ยังสบายดีอยู่ใช่ไหมครับ

    บทความด้านบนเขียนได้ดีมาก เห็นได้ถึงปัญญาทางธรรมที่ลึกซึ้งรอบคอบขึ้น แต่ยังติดตรงการตำหนิสายพระปราโมทย์อยู่นะ บางครั้งการรู้กายใจแบบนั้นมันก็เป็นทางผ่านของบางคน การปฏิบัติธรรมผมมองว่าคล้ายการทำวิจัย แนวทางมันมีอยู่แล้ว แต่มันไม่ลึกซึ้ง มันต้องลองผิดลองถูก ที่ว่าลองผิดเพราะคิดว่ามันถูก พอถึงจุดหนึ่งก็จะรู้เองว่าไม่ใช่ ตราบใดที่ยังไม่ทิ้งความเพียร

    เดิมทีผมก็ใช้วิธีดูกายใจตามกำลัง จนพบว่ากำลังไม่พอ ต้องอบรมกรรมฐานเพิ่ม ด้วยการนั่งสมาธิ เดินจงกรม เคลื่อนไหวมือ (ถูกจริตกับแนวทางหลวงพ่อเทียน) แต่มันก็ต้องผ่านบางขั้นตอนมาก่อนจึงจะเข้าใจว่ามันไม่ใช่ ทางสายกลางไม่ใช่หลักธรรมที่จะเข้าใจได้ง่าย ด้วยการอ่านหรือฟังหรือพิจารณาตาม ต้องอาศัยเวลาบ่มเพาะมากน้อยตามบุญวาสนา

    ทุกวันนี้หลักธรรมถูกบิดเบือนไปมาก บุคคลที่เข้าใจก็น้อยมากยิ่งกว่า นั่นเป็นกรรมของสัตว์ ระยะหลังวงการศาสนามีประเด็นร้อนๆ เกิดขึ้นมาให้เห็นบ่อยๆ กฎพระไตรลักษณ์แสดงให้เห็นตลอดเวลา

    แค่เข้ามาทักทาย ฝากสวัสดีพี่ธรรมสวณังด้วยนะครับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...