รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ทั้งหลาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tinnakorn1978, 23 ธันวาคม 2011.

  1. tinnakorn1978

    tinnakorn1978 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +28
    ผมได้ฝึกสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงๆจังๆมาประมาณ 5 ปีครับ เริ่มจาก 15 นาทีก่อน จน ณ ปัจจุบัน สามารถนั่งได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อาการของสมาธิเป็นดังนี้ครับ ผมเริ่มต้นด้วยอาณาปาณสติ หรือบางครั้งเริ่มด้วยการสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร, อาการวัตตาสูตร จิตสามารถเข้าสมาธิได้ภายใน 15 นาทีแรก และจะคลายออกจากสมาธิในช่วง 45-60 นาที และเริ่มพิจารณาธรรม กายานุสติ, อสุภะ, ขันธ์ 5, ไตรลักษณ์ และกลับเข้าสู่สมาธิตามเดิมสลับไปมาจนครบ 2-3 ชั่วโมง

    คำถามครับ
    1. ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ, ได้ยินเสียงคนรอบข้างชัดเจน ไม่ดังไม่เบามาก และไม่รำคาญในเสียง รู้สึกเฉยๆ จิตจับอยู่ที่ลมหายใจ จมูก กลางอก ท้อง เป็นปกติ บางครั้งจิตก็คลายจากการจับลมหายใจไปเฉยๆ พอนึกขึ้นได้ก็กลับมาจับลมหายใจใหม่ (ในกรณีอาณาปาณสติ), กรณีสวดพระคาถาก็เป็นเช่นกัน หายไปเฉยๆสักพัก นึกได้ก็กลับมาสวดใหม่ ถูกๆผิดๆ บางครั้งมีอาการนิ่งตรงรู้สึกว่ามีแต่หัวตัวหายไปเป็นบางครั้ง อาการเช่นนี้คืออะไร ขอท่านผู้รู้ช่วยตอบที
    2. อาการที่เรียกว่า ปิติ หายไป เมื่อปฏิบัติมาได้ประมาณ 2 ปี (ตัวสั่น หมุนไป หมุนมา, ขนลุก) ตอนนี้ไม่เกิดขึ้นแล้ว อันนี้เกิดขึ้นได้ใช่มั้ยครับ
    3. ช่วงชั่วโมงที่ 2-3 จิตไม่สามารถเข้าสมาธิได้ต่อหรือลำบากมาก ต้องเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว และปวดขามากครับ เหมือนขามันจะแตกจะขาดออกจากกัน ทำไงดีเป็นอย่างนี้มาปีกว่าแล้ว ไม่สามารถไปต่อได้ ต้องพักการนั้งหันไปเดินจงกรมบ้าง พอกลับมานั้งใหม่รู้สึกว่าอิ่ม ไปต่อไม่ได้เหมือนกัน
    4. ยิ่งปฏิบัติมาก รู้สึกว่ามีปัญหาเข้ามาในชีวิตมากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะเรื่องงานแก้ไขอะไรก็ไม่ได้ ต้องอดทนอย่างเดียว กับคำดูถูกคำตำหนิของหัวหน้างาน พยายามปลงให้ได้ แต่ก็เป็นทุกข์ใจมาก แก้ไม่ได้สักทีเรื่องนี้

    ขอบคุณผู้เจริญในธรรมทุกท่านครับ
     
  2. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    1. ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ, ได้ยินเสียงคนรอบข้างชัดเจน ไม่ดังไม่เบามาก และไม่รำคาญในเสียง รู้สึกเฉยๆ จิตจับอยู่ที่ลมหายใจ จมูก กลางอก ท้อง เป็นปกติ บางครั้งจิตก็คลายจากการจับลมหายใจไปเฉยๆ พอนึกขึ้นได้ก็กลับมาจับลมหายใจใหม่ (ในกรณีอาณาปาณสติ), กรณีสวดพระคาถาก็เป็นเช่นกัน หายไปเฉยๆสักพัก นึกได้ก็กลับมาสวดใหม่ ถูกๆผิดๆ บางครั้งมีอาการนิ่งตรงรู้สึกว่ามีแต่หัวตัวหายไปเป็นบางครั้ง อาการเช่นนี้คืออะไร ขอท่านผู้รู้ช่วยตอบที

    ถ้าจิตภาวณา กำหนดคำภาวณา ใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะในตอนทำสมาธิ หรือตอนสวดมนต์ก็ตาม ถ้าจิตหยั่งลงสู่ทุติยฌาน คำภาวณาจะหายไปเอง เป็นของธรรมดาๆ ถ้าหากในสมาธิ ไม่กำหนดคำภาวณา แค่กำหนดเอาลมหายใจเฉยๆ เมื่อจิตสูง ทุติยฌาน จิตจะเลิกสนใจลมหายใจไปเฉยๆ เป็นของปกติ ให้ประคองจิตเอาไว้ ในความรู้สึก ถ้าลมหายใจปรากฏในส่วนลึกๆ ก็ดูลม ดูเฉยๆ อย่าไปพยายามหายใจ ถ้าลมใหายใจไม่ปรากฏ ให้ประคองจิต กำหนดสติจับในความว่างนั้น

    2. อาการที่เรียกว่า ปิติ หายไป เมื่อปฏิบัติมาได้ประมาณ 2 ปี (ตัวสั่น หมุนไป หมุนมา, ขนลุก) ตอนนี้ไม่เกิดขึ้นแล้ว อันนี้เกิดขึ้นได้ใช่มั้ยครับ

    ปีติหายไปแน่ ถ้าสมาธิเร็วมาก มันจะข้ามปีติไปเลย ปรากฏในระยะหลังๆ ไม่รู้สึกถึงปีติ เป็นของปกติ เนื่องด้วยว่าเราชินกับสมาธิ จนเหมือนมันจะไม่มีอะไรแปลกใหม่อีกแล้ว ปีติจึงไม่ปรากฏ เป็นของปกติ


    3. ช่วงชั่วโมงที่ 2-3 จิตไม่สามารถเข้าสมาธิได้ต่อหรือลำบากมาก ต้องเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว และปวดขามากครับ เหมือนขามันจะแตกจะขาดออกจากกัน ทำไงดีเป็นอย่างนี้มาปีกว่าแล้ว ไม่สามารถไปต่อได้ ต้องพักการนั้งหันไปเดินจงกรมบ้าง พอกลับมานั้งใหม่รู้สึกว่าอิ่ม ไปต่อไม่ได้เหมือนกัน

    จิตคนเรา พอมันเต็มที่ในตัวของมัน มันคลายออกจากสมาธิออกมาเอง ถ้ามันคลายออกเอง มันจะเข้าไม่อยากเข้าไปอีก เพราะมันเต็มอิ่มของมันแล้ว เป็นเรื่องปกติ
    ไอ้เรื่องเจ็บปวด เป็นมาร มันมาขวาง ขอให้เร่งความเพียรขึ้น ยิ่งเก่งเท่าไหร่ ก็ยิ่งโดนขวางมากขึ้นเท่านั้น

    4. ยิ่งปฏิบัติมาก รู้สึกว่ามีปัญหาเข้ามาในชีวิตมากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะเรื่องงานแก้ไขอะไรก็ไม่ได้ ต้องอดทนอย่างเดียว กับคำดูถูกคำตำหนิของหัวหน้างาน พยายามปลงให้ได้ แต่ก็เป็นทุกข์ใจมาก แก้ไม่ได้สักทีเรื่องนี้


    ยิ่งเก่งเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีมารมารบกวนมากขึ้นเท่านั้น 1.เพื่อทดสอบกำลังใจ 2.เราจะหนีเค้าพ้นแล้ว เค้าก็จะเร่งขวางทางเรา 3.เทวดาเค้ามาทดสอบ หรือ 4.อสุรกายแถวๆนั้น เค้าไม่ชอบ สมาธิ ไปกระทบ ทำให้พวกเค้าลำบาก เจ็บปวด เค้าจึงกวน

    เป็นไปได้หลายกรณี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2011
  3. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ข้อ 3 ขอเสริมนิดนึง
    จิตมันเข้าสมาธิเต็มกำลังแล้ว จิตก็จะมีพลังมาก
    จิตจะฟุ้งมาก ยิ่งจิตมีกำลังเท่าไหร่
    จิตจะยิ่งฟุ้งหนักกว่าคนไม่มีสมาธิ

    นี้แหละ คือกำลังของปัญญาละ
     
  4. YOMI_NK

    YOMI_NK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +91
    การฟุ้งซ่านไม่ใช่ปัญญาครับ...เป็นนิวรณ์คับ ให้ปลงนิวรณ์ครับแล้วจะสงบลงได้ ถ้าไม่ได้ให้ปลงตายคับก็จะคลายไปเอง...การปลงตายหรือปลงสังขารได้บุญมาก ถ้าจิตเบามีความสุขเวลานั้นสามารถแผ่กุศลไปถึงคนอื่นได้คับ แพ่ไปเรื่อยๆ ปัญหาในชีวิตต่างๆก็จะค่อยๆดีขึ้นคับ. ^__^ หากท่านเข้าถึงระดับฌาน4 อรูปฌาน4 ได้ ให้ท่านหาอาจารย์สอนครับ..เลยจากนี้ไปควรมีอาจารย์คอยช่วยคับ...เลยจากอรูปฌาน4 จะเข้าวัฎตะกิเลสทั้งหลายในก้นบึ้งในจิตหรือที่ตกตะกอนอยู่ในจิตจะขึ้นมา ถ้ายังไม่พร้อมที่จะขึ้นไปให้อฐิฐานจิตลงปฐมฌาน(หากเข้าถึงฌาน 8 แล้ว..หรือที่เรียกเนวะสัญญา...ส่วนอาการจะจุกที่คอ ลมขึ้นหัว รู้สึกเบาถึงขีดสุด ให้ปลงแล้วลงปฐมใหม่นะคับ)

    การลงปฐมใหม่ให้ปลงเนวะสัญญา เนวะสัญญาไม่เที่ยงหนอ เนวะสัญญาไม่เทียงหนอ เนวะสัญญาไม่เที่ยงหนอ ขออฐิฐานจิตลงสู่ปฐมฌานหนอ เพ่งจิตไปเหนือสะดือสองนิวคับ เดี๋ยวเข้าปฐมฌานใหม่จะเกิดวิตกวิจาร จะฟุ้งๆหน่อย ปลงไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ขึ้นไปถึงแนวะอีกรอบคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2011
  5. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
    การเข้าสมาธิได้ภายใน 15 นาทีแรก แสดงว่าเจริญกรรมฐานได้ก้าวหน้าดีครับ แต่ไม่สามารถเข้าได้นานดังทีต้องการ หรือบางครั้งก็หลุดออกมาจากสมาธิ ลองปฏิบัติดังนี้ครับ

    1.เมื่อใจสงบได้ยินเสียงเบาๆลงทุกที ให้พยายามหยุด ณ จุดนั้นให้ได้ครับ

    2.เมื่อพยายามหยุดจุดนั้นได้ ก็ให้ดำรงไว้ หรือรักษาไว้เล็กน้อย(ไม่ควรเกิน5 นาที)

    3.เมื่อครบ(กะระยะเวลาเอาครับ) ให้รีบถอยออกจากสมาธิครับ ฝึกทำบ่อยๆ คุณจะชำนาญในวสีทั้ง5 ครับ

    4.เมื่อทำได้บ่อยๆ ก็เปลี่ยนใหม่ เมื่อใจสงบแล้ว ให้พยายามอธิษฐานด้วยภาวะในความสงบนั้น เช่น อธิษฐานอยากเห็นอะไรสักอย่าง (ร่างกายของเรา หรืออื่นๆครับ) รอสักพัก นิมิตนั้นจะเกิดขึ้นครับ ถ้านิมิตเกิดขึ้นแสดงว่าได้ญาณตัวแรกแล้วครับ เขาเรียกว่าทิพย์จักขุญาณครับ

    5.ใช้ความสามารถของญาณตัวแรกนั้น แสดงนิมิตเจริญปหานวิธีตัดสิ้น "สัญญา"ต่างๆก่อนครับ อย่าเพิ่งไปเจริญพระไตรลักษณ์เพราะข้ามขั้นตอนไปไกลจะเจริญกรรมฐานลำบากครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  6. YOMI_NK

    YOMI_NK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +91
    นิวรณ์ (อ่านว่า นิ-วอน) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป

    นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
    1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
    2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
    3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
    5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ
    ความฟุ้งซ่านอยู่ในข้อ 4 นะคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2011
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    เรื่องงานที่โดนตำหนิต่างๆ ให้พิจารณาตามนี้ครับ

    หลายๆ คนอาจจะมีความทุกข์เพราะเห็นว่าคนอื่นทำชีวิตของเราพินาศ ทำชีวิต
    ของคนที่เรารักพินาศบ้าง ซึ่งความทุกข์นี้เผาใจอยู่ตลอด ความเป็นจริงเราอยู่ใน
    โลกที่ใครจะทำอะไรเราก็ได้ อยู่ดีๆ ก็อาจจะมีคนมาทำร้ายเรา เอาชีวิตเราก็ได้
    ไม่สามารถจะป้องกันได้เลย
    พระพุทธองค์ทรงแสดงอุบายนำความอาฆาตออกดังนี้

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ
    ๑. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๒. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๓. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๔. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๕. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๖. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๗. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้บำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๘. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๙. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วคิดอย่างนี้ว่า เขาจักบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
    จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
    ๑๐. บุคคลย่อมไม่โกรธ ในฐานะอันไม่สมควร
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่างนี้เหล่านี้แล."
     
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    การที่จิต กลับมาพิจารณากาย เคียงไปกับ วิหารธรรม(อานาฯ สวดมนนต์ฯ)
    ก็เรียกว่า จิตมันย้อนกลับมาทำ "สมถะ" ที่ชื่อว่า กายคตาสติ

    ลองสังเกตเพิ่ม มันจะมารู้กาย เฉพาะที่ มันกำลังแสดงอาการแปรปรวน เปลี่ยนแปลง
    ควบคุมไม่ได้ พ้นการบัคับบัญชา เรียกว่า มันชักชวนคุณมาน้อมดู ไตรลักษณ์ แต่
    คุณยังน้อมขึ้นส่การพิจารณาไตรลักษณ์ไม่ได้ ซึ่ง จะน้อมมาดูก็ได้ หรือ กลับไป
    ที่ วิหารธรรมให้แน่นก่อน ค่อยกลับมาพิจารณาไตรลักษณ์อีกทีก็ได้ เพราะว่า

    จิตของคุณ เวลาหลุดจาก วิหารธรรม หากมันย้อนมา ดูกายดูใจ นี่ เรียกว่า อินทรีย์
    ภาวนาชั้นเลิศอยู่แล้ว ถ้าเป็นคนอื่น วิ่งไปนู้น ไปดู เทดว อิน พรหม ยมยักษ์ หรือ
    ไปเป็นดวงๆ นี่มันส่งออก ลืมกายลืมใจ ก็จะถือว่า อินทรีย์ภาวนาน้อย

    ส่วนการจมเหลือแต่หัว ก็อ่านข้อ 2


    ตรงนี้ก็ขึ้นกับว่า วิหารธรรม ยังมีอยู่ไหม หากมีอยู่ ก็แปลว่า ไปติด สิ่งที่ละเอียดกว่า ปิติ
    สุข อาการเดิมๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ให้พิจารณาไป หากวันใดพร่อง หรือ ขี้เกียจในการ
    อยู่ในวิหาร อะไรที่ว่าไม่เห็น ข้ามแล้ว มันก็กลับกรอกได้อีก เดี๋ยวกไปเห็นอีก เรียกว่า

    เสื่อมจากคุณอันวิเศษ อันนี้ให้ระลึกนะ ไม่ได้บอกว่า ให้ทำเพื่อเอาคุณวิเศษให้เที่ยง

    พอเราเผลอจะทำให้คุณวิเศานั้นเที่ยง เราก็เผลอรักษา เพ่งให้มันอยู่ มันก็เลยเหลือ
    แต่หัว เหลือแต่จุดที่เราหมายมั้นปั้นมือ เรียกว่า ไปติด ภพละเอียด แทนที่จะแค่อาศัย
    ระลึก ตัณหามันย้อมจิตติด เลยทำให้เกิดการยึดภพชาติ แทนการเห็น ภพ ชาติ เขา
    เกิดดับ ไม่เที่ยง


    อันนี้ก็เหมือนกัน ภาษาพระ รู้สึกท่าจะเทศนาว่า กิเลสมันรำคาญ จะภาวนาก็มัวแต่
    ยึดสมถะ ไม่ยอมขึ้นวิปัสสนากับเขาเสียที กิเลสมันเลยสอนธรรมะ พาเราเข้าวิปัสสนา
    บ้าง เช่น อริยะบทปิดบังทุกข์ นี่เราเปลี่ยนอริยาบท เพื่ออะไร เพื่อปิดบังทุกข์ เพื่อ
    หนีทุกข เพื่อปรุงสุข ปรุงการภาวนา .....เห้อ ให้กิเลสมันสอนเสียได้ เสียรังวัดหมด

    แต่กิเลสมันสอน ก็อย่าไปเชื่อมันนะ เราต้องปฏิบัติของเรา อย่าให้มันได้คะแนน หรือ
    ได้ชื่อว่า สอนเราหละ เชื่อไม่ได้หลอก คนเชื่อกิเลสนะ นู้นเลย มันจะบอกว่า ไปเซ็นเตอร์
    พอยสิ ไปเซ้นทรัลเวิลดสิ ไปทดสอบภูมิจิตภูมิธรรม เนี่ยะ แบบนี้นะ แพ่มันตั้งแต่ ดำริ
    นั่นแหละ

    เวลาปฏิบัติถูกต้องนะ ภูมิจิตภูมธรรมของเรา จะต้องปราณีต ลึกซึ้ง เรียกว่า แค่
    เกิดการ ขยับของจิตที่เหมือนไฟร้อน(โมหะ โลภะ โทษะ) มันขยับท่ามกลางอกนิด
    เดียว ยังไม่ทันขึนเป็นคำพูด ยังไม่ตัดสินว่าเป็นอะไร จิตเราจะจำสภาวะนั้นได้

    เกิดการกระเพื่อมสั่นไหว ( คล้ายๆ การไหว โคลง ของปิติ แต่จะ ย่ำเฉพาะที่อก
    ย่ำเฉหาพที่หัวจิต(หัวใจก็เรียก) เราจะรู้ทัน แรกๆ เราจะไม่ชอบ เพราะมันเข้า
    ไปเห็น กำพืดของตัวว่า เลวตั้งแต่กำพืด เลวตั้งแต่ระดับDNA เลวตั้งแต่ระดับ
    ธาตุ(จิต) เชียวนะนี่ ก็นะ เราปฏิบัติแทบตาย ก็เพื่อเข้ามาเห็นตรงนี้ เพื่อมาเห็น
    ทุกข์ เพื่อจะได้ เฝ้นหาอุบายนำออก แต่ เรากลับเห็นแล้วเกิด หวงตัวตน เกิด
    ขี้เกียจ ล้มการภาวนา แล้ว ยอมให้มัน ย่ำหัวจิตหัวใจ ต่อไป ชักจูงเราต่อไป
    เกิด กรรมชรูปปักไว้เพื่อนำไปสู่การเกิดต่อไป .....แย่เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2011
  9. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    ท่านผู้รู้ตอบกันไปแยยะแล้ว ผมท่านผู้รู้น้อย ขอถามตรงข้อ 2 หน่อยนึงนะครับ

    คือว่า ปีตีนั้น ความรู้สึกมันจะเหมือนอาบน้ำอุ่นที่กาย ใช่มั้ยครับ

    ทีนี้ คุณบอกว่า คุณละได้แล้ว

    ทีนี้ คุณก็จะต้องเจอ สุข ความรู้สึกมันจะเหมือนน้ำเย็น แต่อยู่ในใจ ไม่ใช่อาบอยู่ที่กายเหมือนปีติ

    ไม่ทราบว่า คุณอยู่ในขั้นนี้หรือป่าว หรือคุณละทั้ง ปีติและสุข ไปในคราวเดียวกันเลยครับ
     
  10. tinnakorn1978

    tinnakorn1978 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +28
    ตอบท่านผู้รู้น้อย ผมเองก็รู้น้อยเช่นกัน จึงไม่สามารถอธิบายได้กระจ่างแจ้งถึงความรู้สึกนั้น ผมเข้าใจว่าอาการของปิติยังมีอยู่ แต่ไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น หลังๆจึงไม่ได้ติดอยู่กับสิ่งนี้ครับ ส่วนสุขนั้นก็ยังเกิดเป็นปกติ บางครั้งก็รู้สึกเฉยๆไม่ใส่ใจกับสุขที่เกิดขึ้นเช่นกัน ผมเข้าใจว่ามันเป็นโลกียะ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจึงหายไปได้เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา อยู่ที่ความผ่องใสของจิตในวันนั้นครับ
    ปล. ขอบคุณสหายธรรมทุกท่านที่ช่วยตอบคำถามครับ
     
  11. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    ป็น
    สรุป เป็นไรก็เป็นครับ ตั้งสัจจะไว้ ว่าจะตายก็ตาย ถ้าตายตอนอยู่ใน ฌาณ เราก็เป็นพรหม ครับ อย่าไปกลัว กับ เวทนา ที่เกิด คิดแค่ว่า ตายเป็นตายวัดใจกันไปเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...