ยอดธรรม ยอดคาถา (ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ครูบาดาบส สุมโน)

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 13 พฤศจิกายน 2020.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    A.jpg

    ยอดธรรม ยอดคาถา
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ครูบาดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต จ.เชียงราย


    อานิสงส์
    ยอดธรรม ยอดคาถา มีอานิสงส์ อันกล่าวไว้ในกาลก่อนดังนี้

    ๑. ผู้ใดศรัทธา ดำรงไว้ในตนโดยเคารพ ไม่ไปอบายภูมิ คือ ไม่ไปนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
    ๒. มีอายุยืน มีความสุข ถึงแม้เป็นเทวดาแล้ว ก็ไม่พลันจุติ
    ๓. ตายจากมนุษย์ ย่อมไปเกิดสวรรค์ เสวยความสุข เลิศล้ำนักหนา
    ๔. จะเป็นอริยบุคคลในชาติปัจจุบัน มิฉะนั้นจะได้สดับธรรมในสำนักพระอริยเมตตรัยสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลในศาสนาของพระองค์


    อีกประการหนึ่งว่า ผู้ปฎิบัติตามแนวยอดธรรม ยอดคาถา
    ๑. จะเป็นอริยบุคคลในชาติปัจจุบัน
    ๒. ถ้าชาติปัจจุบันยังไม่บรรลุเป็นอริยบุคคล ตายจากชาตินี้จะไปเกิดในแดนสวรรค์ เสวยสุขอยู่จนกว่าพระเมตตรัยสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสจึงจะจุติลงมาเกิด แล้วได้สำเร็จมรรคผลในพระศาสนานั้น
    ๓. ผู้ท่องจำได้ สวดได้ รู้ความหมาย เจริญอย่เนือง ๆ จะมีความสุขสวัสดีมีอายุยืน
    ๔. ผู้ท่องจำได้ สวดได้ แต่ไม่รู้ความหมาย ดำรงไว้ในตนด้วยศรัทธาเคารพ จะไม่ไปอบายฯ


    ข้อเปรียบเทียบอานิสงส์ยอดธรรม ยอดคาถา

    ยอดพระกัณฑ์ไตรอานิสงส์ มากไม่เท่ากับ สุนันทราชอานิสงส์
    สุนันทราชอานิสงส์ มากไม่เท่ากับ อาการวตสูตรอานิสงส์
    อาการวตสูตรอานิสงส์ มากไม่เท่ากับ สการวิชาสูตรอานิสงส์
    สการวิชาสูตรอานิสงส์ มากไม่เท่ากับ ทางเดินแห่งหญิง ชายใหญ่น้อยอานิสงส์
    ทางเดินแห่งหญิง ชายใหญ่ มากไม่เท่ากับ ยอดธรรม ยอดคาถาสูตรอานิสงส์


    เวลาจะภาวนา ให้ว่ายอดธรรม ยอดคาถานี้ก่อนถ้าหลายคนว่าพร้อมกัน

    "ยโขธมฺมํ วรํตสฺส เยชนาเต ชนาวรํ โกจิตฺตํสํ ขตํมุตโต เอโสปารโม ทุกฺขํขโย"

    (ยะโขธัมมัง วรังตัสสะ เยชะนาเต ชะนาวะรัง โกจิตตังสัง ขะตังมุตโต เอโสปาระโม ทุกขังขะโย) ...

    B.jpg

    ยโขธมฺมํ ธรรมใดแล, เป็นธรรมไม่มีที่ภายในและที่ภายนอก, ไม่มีที่ล่วงมาแล้วและที่ยังไม่มาถึง, ไม่มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่, เป็นธรรมกวมทั่ว (คงที่), ผ่องใสปราศจากอารมณ์ต่าง ๆ อันจักพึงติดต้อง, เป็นธรรมว่างเปล่าจากปวงสังขตะที่เกิดดับ ฯ

    วรํตสฺส ธรรมนั้นแล, เป็นธรรมพึงประจักษ์เฉพาะตน, อันบุคคลจักพึงเห็นเอง, คือพระนิพพาน เป็นที่หลุดรอด, ที่เรียกว่าฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยาก. เป็นธรรมธรรมประเสริฐ, อันพระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว ฯ

    เยชนาเต บรรดามนุษย์ทั้งหลาย, ชนเหล่าใดที่เป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยาก ชนเหล่านั้นมีประมาณน้อย, ส่วนหมู่สัตว์คือ ชนนอกจากนี้ , ยอมเลาะเลียบไปตามชายฝั่ง, คือไปแล้วในอารมณ์ต่าง ๆ, ตามเห็นรูป รส โผฏฐัพพะ เสียง กลิ่นอยู่นั่นแหละเหมือนหลับอยู่, ก็ชนทั้งหลายเหล่าใดประพฤติตามธรรม, ในธรรมที่พระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว, ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักเป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบคคลข้ามได้ยากแสนยากนั้น ฯ

    ชนาวรํ ก็ชนใดทำจิตของตน, ไม่ให้มีที่ภายในและที่ภายนอก, ไม่ให้มีที่ล่วงมาแล้วและที่ยังไม่มาถึง, ไม่ให้มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่, ไม่ให้ตามเห็นอารมณ์ต่าง ๆ, ให้ผ่องใสปราศจากอารมณ์ต่าง ๆ อันมาติดต้อง, ให้ว่างเปล่าจากปวงสังขตะที่เกิดดับ, ชนนั้นจักเป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น ฯ หรือมิฉะนั้นชนใด, เป็นผู้กำหนดรู้อารมณ์อันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง, (มีรูปารมณ์ เป็นต้น) โดยความแยบคายแห่งจิตอยู่เฉพาะ, ชนนั้นก็จักประจักษ์แจ้งอารมณ์ต่าง ๆ, ตามความเป็นจริงที่มันไม่จริง, คือว่างเปล่า, แล้วระอาท้อถอย, เหนื่อยหน่ายคลายวาง, เป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น ฯ

    โกจิตฺตํสํ ก็จิตของเรานี้เล่า, มันเพลินเที่ยวไปแล้วในอารมณ์ต่าง ๆ, ตามเห็นรูป รส โผฏฐัพพะ เสียง กลิ่นอยู่เหมือนหลับอยู่,

    ขตํมตฺโต ไฉนเล่า เราจักเป็นผู้พ้นทุกข์, จิตของเราจักเข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้นได้ ฯ

    เอโสปารโม เหตุนั้นกาลบัดนี้, เราจักทำจิตของเราไม่ให้มีที่ภายในและที่ภายนอก, ไม่ให้มีที่ล่วงมาแล้วและที่ยังไม่มาถึง, ไม่ให้มีทั้งที่กำลังเป็นอยู่, ไม่ให้ตามเห็นอารมณ์ต่าง ๆ, ให้ผ่องใสปราศจากอารมณ์ต่าง ๆ อันมาติดต้อง, ให้ว่างเปล่าจากปวงสังขตะที่เกิดดับ ฯ

    ทุกขํขโย เป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น ฯ หรือมิฉะนั้น, เราจักกำหนดรู้อารมณ์อันใดอันหนึ่งเป็นที่ตั้ง, (มีรูปารมณ์ เป็นต้น) โดยความแยบคายแห่งจิตอยู่เฉพาะ, เพื่อประจักษ์แจ้งอารมณ์ต่าง ๆ, ตามความเป็นจริงที่มันไม่จริง, คือว่างเปล่า, แล้วระอาท้อถอย, เหนื่อยหน่ายคลายวาง, เป็นผู้พ้นทุกข์เข้าถึงฝั่ง, ล่วงวังวนเป็นที่ตั้งอยู่แห่งความตาย, อันบุคคลข้ามได้แสนยากนั้น, ซึ่งเป็นธรรมประเสริฐ, คือพระนิพพานเป็นที่หลุดรอด, ตามที่พระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว...นั้น นั่นแล. ฯ

    "บุคคลใดแม้มาเจริญ คือ สาธยายยอดธรรมยอดคาถานี้อยู่เนือง ๆ บุคคลนั้นจักสบประโยชน์ใหญ่หลวง เป็นผู้มีโชคใหญ่จักไม่เข้าถึงความตาย ความตายจักไม่แลเห็นผู้นั้น จักบรรลุคุณวิเศษอันหาค่ามิได้"

    พระดาบส สุมโน
    อาศรมไผ่มรกต อ.เมือง จ.เชียงราย


    ภาคที่ ๑

    ความเป็นมาแห่งยอดธรรมยอดคาถา

    พระคณเจ้าดาบส สุมโน ได้แสดงธรรมคาถาเทศนา ณ ที่ถ้ำเจดีย์แก้ว หรือที่อาศรมวิเวกเจดีย์แก้ว (ถ้ำผาตบ) จังหวัดน่าน ในพรรษาศีลที่ ๖ เดือน ๑๑ เหนือ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๘ ค่ำ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ปีมะโรง มีความสำคัญดังต่อไปนี้...
    ก่อนที่จะกำเนิดมาเป็นพระคาถา ยอดธรรม ยอดคาถานี้ขึ้นมาได้นั้น มีสาเหตุเกิดขึ้นจาก ณ บนสวรรค์คือในกาลนั้น ได้มีเทพบุตร ๒ ตน คือ
    ตนหนึ่งมีเครื่องทรงเศร้าหมอง อีกตนหนึ่งมีทิพย์อาสน์ร้อนเพราะใกล้จะถึงเวลาจุติ (เคลื่อน) ก็ให้บังเกิดความกลัวเป็นอย่างยิ่งเพราะไม่อยากจุติจากทิพย์สมบัติในสวรรค์ ภายหลังได้รับอนุเคราะห์จาก "ธรรมโฆษเทพบุตร" ธรรมโฆษเทพบุตร จึงได้เล่าประวัติความเป็นมาแห่งตนจากการได้ดำรงไว้ซึ่งยอดธรรม ยอดคาถา ให้เทพบุตรเหล่านั้นฟัง มีความว่าดังนี้...
    เมื่อก่อนธรรมโฆษตนนี้ชื่อว่า "อุโปสถะเทพบุตร" เมื่อใกล้จะจุติจากสวรรค์ (เรียกว่าหมดบุญ) จึงระลึกได้ว่า เมื่อตนจะหมดบุญแล้ว จะต้องลงไปเกิดยังยมโลก เป็นสัตว์นรกอยู่ถึง ๘ แสน ๔ หมื่นกัปล์จากนรกแล้ว จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดียรฉานอีก ๙ จำพวก ๆ ละ ๕๐๐ ชาติ เมื่อพ้นวิบากจากการเกิดเป็นสัตว์เดียรฉานแล้วก็จะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์พิกลพิการ หูหนวก ตาบอด ง่อยเปลี้ย เสียขา ไม่ครบอาการ ๓๒ อีก ๕๐๐ ชาติ เพราะกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้แล้ว ความชั่วในปางก่อนติดตามทัน เมื่ออุโบสถะระลึกได้ดังนั้นก็ตกใจมีความกลัวเป็นกำลัง ขณะนั้นพอได้ทราบว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าขึ้นมาโปรดสัตว์ชั้นดาวดึงส์ ทรงประทับอยู่ใต้ต้นปริชาติ อุโปสถะจึงน้อมเกล้าเข้าไปขอธรรมะ เพื่อให้ระงับการจุติเสียในขณะนั้น เพื่อจะได้บำเพ็ญกุศลสืบต่อไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้เทศนายอดธรรม ยอดคาถา โปรดอุโปสถะเทพบุตร เมื่ออุโปสถะเทพบุตรได้ยอดธรรม ยอดคาถา โปรดอุโบสถะเทพบุตร เมื่ออุโปสถะเทพบุตรได้ยอดธรรม ยอดคาถา มาดำรงไว้ในตนจึงบันดาลให้อุโปสถะเทพบุตรกลับมีสภาพใหม่และได้นามว่า "ธรรมโฆษเทพบุตร" แต่นั้นมาและมีอายุยืน ไม่ได้จุติลงไปยังยมโลกและโลกมนุษย์ตราบเท่าทุกวันนี้.

    ยอดธรรม ยอดคาถา มี ๑๖ คำ ดังนี้...
    "ยโขธมฺมํ วรํตสฺส เยชนาเต ชนาวรํ"

    ยอดธรรม ยอดคาถาแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ๆ ละ ๔ บท ท่านแสดงว่าไว้
    ยะโขธัมมัง ประกอบไปด้วยพยัญชนะบทความ ๖๔ คำ
    วะรังตัสสะ " ๖๔ คำ
    เยชะนาเต " ๑๓๕ คำ
    ชะนาวะรัง " ๔๗๒ คำ
    รวมเป็นพยัญชนะบทความ ๗๓๕ คำ

    ความเป็นมาแห่งยอดธรรม ยอดคาถา

    วรรคที่ ๒ คือ "เยชนาเต ชนาวรํ"

    สมเด็จพระอริยะเมตตรัยเจ้าให้ยอดธรรม ยอดคาถา วรรคที่ ๒ แก่ธรรมโฆษเทพบุตรในชั้นดาวดึงส์ แล้วจึงเล่าชาติกำเนิดของพระองค์
    ปางเมื่อเกิดเป็นกษัตริย์ชื่อว่า "สังขะจักร" มีปราสทาทประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว มณีแก้ว มาในวันหนึ่งจึงใคร่ได้ยินคำว่า "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" เมื่อผู้ใดบอกข่าวคำนี้ให้ทราบข้าพเจ้าจะยกราชสมบัติทั้ง ๔ ชมภูทวีปให้ครอบครอง มีวันหนึ่งได้มีเณรน้อยองค์หนึ่งเดินเข้ามาในพระราชวังที่กษัตริยสังขะจักรประทับอยู่ระหว่างทางมีชาวเมืองทั้งหลายกล่าวร้ายหาว่า เป็นบ้าบ้าง เป็นยักษ์บ้าง เป็นอมนุษย์บ้าง และตามที่กล่าวร้าย เณรน้อยเข้าไปในพระราชฐาน กษัตริย์สังขะจักรจึงได้ห้ามไว้แล้ว จึงไต่ถามเณรว่า
    กษัตริย์สังขะจักร เณรเป็นยักษ์จริงหรือ หรือเป็นมนุษย์เราชาวเมืองไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
    เณร ตอบว่า เป็นมนุษย์
    กษัตริย์สังขะจักร ถามว่า เป็นลูกเต้าเหล่าใคร
    เณร ตอบว่า เป็นลูกของพระสงฆ์
    กษัตริย์สังขะจักร ได้ฟังคำที่ต้องการมานั้น จึงบังเกิดความปิติยินดี สลบไปนาน เมื่อฟื้นขึ้นมาแล้ว จึงไต่ถามเณรต่อไปว่า พระสงฆ์เป็นลูกของใคร
    เณร ตอบว่า เป็นลูกของพระพุทธ
    กษัตริย์สังขะจักร เมื่อได้ยินคำนี้อีกก็บังเกิดความปิติยินดียิ่งขึ้น จึงสลบไปอีกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อฟื้นขึ้นมาก็ถามต่อไปว่า พระพุทธเป็นลูกของผู้ใด
    เณร ตอบว่า พระพุทธเป็นองค์สัมพพัญญูตรัสรู้ด้วยตนเอง
    กษัตริย์สังขะจักร ได้ยินดังนั้นก็สลบไปเป็นครั้งที่ ๓ เพราะได้ยินคำที่กล่าวจริงของเณรน้อย เป็นความต้องการตามที่ตนปรารถนา อยากจะได้ยินได้ฟังมาครบถ้วน เมื่อฟื้นขึ้นมาแล้วก็ขอยกเอาราชสมบัติให้เณรน้อยครอบครอง

    ตัวกษัตริย์สังขะจักรก็ออกเดินทางด้วยเท้าเข้าป่า เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ปุพผารามวิหาร เป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์ จนเท้าแตกเดินไม่ได้ จึงคลานไปด้วยเข่าต่อไป จนเข่าและเนื้อแตกสุก คลานไม่ได้ จึงกลิ้งไป ถัดไป จนหน้าอกแตกเป็นเลือด จึงร้อนไปถึงเทวราช พระเทวราชจึงได้นิมิตรแปลงตัวลงมาขับข้อสวนทางมา แล้วคนขับล้อก็บอกให้กษัตริย์สังขะจักรหลีกทางไป กษัตริย์สังขะจักรก็ไม่ยอมหลีกกลับบอกให้คนขับล้อว่า ท่านจงหลีกไปเถิด คนขับล้อก็ไม่ยอมหลีกแล้วก็ถามว่า ท่านจะไป ณ ที่ใด คนที่คลานก็ตอบว่า ข้าพเจ้าจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ท่านจงหลีกไปเถิด เมื่อคนขับล้อได้ยินดังนั้น จึงบอกให้กษัตริย์ผู้คลานและเลือดเต็มตัวนั้นขึ้นล้อไปด้วย จะไปส่งถึงที่ ๆ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ระหว่างทาง มีผู้หญิงนำเอาอาหารมาให้บริโภคเมื่อบริโภคแล้วแผลตามเนื้อตามตัวก็กลัวหาย โดยผู้ขับล้อคือ พระอินทร์ ผู้ที่นำเอาอาหารที่เป็นทิพย์มาให้บริโภคก็คือ พระนางสุชาดา พระมเหสีของพระอินทร์นั่นเอง ซึ่งจากนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าองค์ชื่อ " พระศิริมามิ่งโมรี" พระพุทธเจ้าศิริมามิ่งโมรี จึงเทศนาธรรมอันมีชื่อว่า "ยอดธรรม ยอดคาถา" มีเนื้อความว่า

    ยโขธมฺมํ วรํตสฺส ซึ่งแปลเป็นภาษามนุษย์ว่าดังนี้
    ยะโขธัมมัง ธรรมใดแล เป็นธรรมที่ไม่มีภายใน ๑
    และที่ภายนอก ๑ ไม่มีที่ล่วงมาแล้ว ๑
    และที่ยังไม่มาถึง ๑ ไม่มีกำลังเป็นอยู่ ๑
    เป็นธรรมกวมทั่ว ๑ ผ่องใสปราศจากอารม์ต่าง ๆ
    กอันจักถึงติดต้อง ๑ เป็นธรรมว่างเปล่า จากปวงสังขตะที่เกิดดับ ๑
    วะรังตัสสะ ธรรมนั้นแลเป็นธรรม จักพึงประจักษ์เฉพาะตน ๑
    อันบุคคลจักพึงเห็นเอง ๑ เป็นธรรมประเสริฐ ๑
    อันพระตถาคตเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว ๑
    วรรค ๔ ตัวแรก ยะโขธัมมัง แปลได้ ๖๔ คำ
    วรรค ๔ ตัวที่สอง วะรังตัสสะ แปลได้ ๖๔ คำ


    ภาคที่ ๒

    เมื่อกษัตริย์สังขะจักรได้ฟังและได้นำยอดธรรม ยอดคาถา นี้มาคิดทบทวนดูคำแปลดังนี้แล้ว ก็ได้มาคิดคำนึงถึงยอดธรรม ยอดคาถาที่พระพุทธเจ้าเทศนามานี้เป็นยอดธรรม ยอดคาถา อันหาค่ามิได้จึงคิดว่าจะหาสิ่งใดมาถวายเป็นพุทธบูชายิ่งกว่านี้มิได้ อันธรรมนี้สูงสุดยิ่งกว่าศีรษะของตนเอง เมื่อเปรียบเทียบศีรษะกับยอดธรรม ยอดคาถานี้แล้ว ศีรษะของตนไม่มีอะไรจะมีค่าเทียบได้ จึงสละตัดศีรษะของตนเองถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าในกาลนั้น
    เมื่อกษัตริย์สังขะจักรสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรโพธิสัตว์อริยเมตตรัย สถิตย์อยู่ในชั้นดุสิตสัคคาลัยพิภพ ขณะที่เล่าให้ธรรมโฆษเทพบุตรฟัง ณ บัดนั้น พระโพธิสัตว์อริยเมตตรัยจึงได้ต่อพระคาถาให้อีก ๘ คำ คือ เยชะนาวะรัง รวมเป็น ๑๖ คำ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้ท่องบ่นในธรรมคาถาที่เพิ่มอีก ๘ คำหลังนี้ ก็จะได้ถึงความหลุดพ้นจากทุกข์นานาประการ หรือมิฉะนั้นจะได้ไปเกิดในศาสนาที่ท่านลงมาตรัสเป็นพระอริยเมตตรัยเจ้า (ศรีอารย์) นั่นเอง (รวมความยอดธรรม ยอดคาถา ๑๖ คำนี้ ทั้งหมดได้ ๗๓๕ คำ ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือยอดธรรม ยอดคาถา ที่ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน ได้จัดให้ศรัทธา ณ ที่ถ้ำจักรพรรดิ์ (ผากั๊บ) บ้านอิม ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ นั้นแล้ว หรือทีได้นำมาจัดพิมพ์รวมไว้อยู่ในข้างหน้าเล่มนี้แล้ว


    ภาคที่ ๓

    พระศรีอริยเมตตรัยเล่าให้ธรรมโฆษเทพบุตร ตอนที่จะมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า
    ธรรมโฆษเทพบุตรได้นำเทพบุตรทั้งหลาย เข้าไปหาพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ ณ ลานพระเจดีย์เกษแก้วจุฬามณี เพื่อสังสรรค์สนทนาในพระธรรมคาถาอยู่เสมอ จึงในวันพระหนึ่งธรรมโฆษเทพบุตรได้ถามถึงการตัดศีรษะถวายพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชานั้นคงจะมีแต่พระศรีอริยเมตตรัยพระองค์เดียวไม่มีผู้ใดอีกหรืออย่างไร พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตตรัย จึงตอบว่าหามิได้ สุระคิระสุทธิเทพบุตรก็ได้ตัดศีรษะถวายพระพุทธเจ้าที่ทรงพระนามว่า "กกุสันโธ" ด้วยเหมือนกัน
    ธรรมโฆษเทพบุตรจึงใคร่ได้ฟังเรื่องราวของสุระศิระสุทธิเทพบุตร พระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์จึงได้เล่าความเป็นมาแห่งเทพบุตรสุระศิระสุทธิเทพบุตรให้ธรรมโฆษเทพบุตรฟังดังนี้
    ปางเมื่อพระสุระศิระสุทธิเทพบุตรเป็นกษัตริย์ครองชมภูทวีปทั้ง ๔ และกอรปไปด้วยทวีปน้อยใหญ่ ๒,๐๐๐ (สองพัน) ทวีป ทรงพระนามว่ามหาปนารถบรมจักรพรรดิ์ มีรัตนะ ๗ ประการคือ มี จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว (เบญจกัลนาณี) ทรงโฉมอันเลอเลิศ ปรินายกแก้ว คฤหบดีแก้ว มณีแก้ว
    วันหนึ่งมหาปนารถบรมจักรพรรดิ์ได้สั่งให้ จักรแก้วไปนำมณีแก้วยังท้องสมุทรมาพันหนึ่ง และแก้วอื่น ๆ ไปนำเอาแก้วชนิดนั้น ๆ แต่ละอย่างจากที่ต่าง ๆ มาเช่นเดียวกัน ได้มาทุกอย่างทุกแห่ง เว้นแต่ขุนคลังแก้วได้ไปพบพระพุทธเจ้า ซึ่งพระนามว่า "กกุสันโธ" เมื่อขุนคลังแก้วได้เข้าไปหาพระพุทธเจ้า ก็เห็นลักษณะรปร่าง ผิวพรรณ สง่าผ่องใส น่าเคารพรักใคร่นับถือ จึงถามว่า "มา น เว" ท่านเป็นใครจึงได้มีลักษณะผิวพรรณงดงามอย่างนี้ พระพุทธเจ้ากกุสันโธก็ทรงตอบว่า เราคือ กกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้ามีคุณวิเศษอย่างไร กกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตอบว่ามี "พุทธคุณ" แล้วก็ทรงแสดงพระพุทธคณคือว่า "อิติปิโส ภควาติ" ขุนคลังได้ยินดังนั้นจึงได้จารึกพระพุทธคุณลงในแผ่นทอง พร้อมด้วยรูปของกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้านำมาถวายพระมหาปนารถบรมจักรพรรดิ์ พระมหาปนารถบรมจักรพรรดิ์ก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงมอบราชสมบัติพร้อมทั้งรัตนะ ๗ ประการ และทวีปใหญ่น้อยให้ขุนคลังครอบครองต่อไป แล้วมหาปนารถบรมจักรพรรดิ์ก็ออกเดินทางด้วยเท้า ไปเฝ้าพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเดินทางเข้าป่าไปถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งจึงได้พักอย่ ณ ที่นั่นทรงตั้งสัตย์อธิฐานเป็นพระภิกษุ เพื่อเข้าไปเฝ้าพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า และอธิฐานขอให้มีเครื่องบริขารพร้อม เครื่องบริขารก็ตกลงมาจึงได้กระทำการบวชตนเองเป็นพระภิกษุ ปฎิบัติธรรม ภาวนา มหาสติปัฎฐาน ๔ จนได้สำเร็จญาณเหาะได้เหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "พระพุทธคุณ" ตามที่ขุนคลังได้จารึกไปให้นั้นตรงกัน และรูปที่จารึกนั้นก็เหมือนกัน จึงเกิดความปิติเห็นคุณประโยชน์ยอดยิ่ง จึงได้ตัดศีรษะถวายเป็นพุทธบูชา และเมื่อพระมหาปนารถบรมจักรพรรดิ์สิ้นชีพก็ได้มาเกิดเป็นสุระศิระ สุทธิเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิตนี้เช่นเดียวกันกับพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ ด้วยองค์หนึ่ง


    ภาคที่ ๔

    ธรรมโฆษเทพบุตร เห็นว่าพระศรีอริยเมตตรัยมีพระบารมียอดยิ่ง จึงมีความเคารพสักการะยิ่ง และในวันพระต่อมาก็ได้นำเทพบุตรทั้งหลายเพื่อเข้าไปสังสรรค์สนทนาธรรม โดยธรรมโฆษเทพบุตรถามว่า เมื่อใดพระองค์จึงตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศรีอริยเมตตรัยตอบว่า ยังอีกนานคือ จะต้องสร้างบารมีนับอสงไขย คือว่า เมื่อใดเมืองพาราณสี เปลี่ยนชื่อเป็น "มัณฑนคร" และมัณฑนครเปลี่ยนชื่อเป็น "เกตุมลดีศรีมหานคร" แล้วจึงบำเพ็ญพระองค์ให้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอริยเมตตรัย
    ธรรมโฆษเทพบุตร ถามต่อไปว่าจะเสด็จลงไปเกิดในตระกูลไหน พระศรีอริยเมตตรัยตอบว่า จะกำเนิดในตระกูลพราหมณ์คือ "สุพรหมพราหมณ์" เป็นพระราชบิดา และ "พรหมวดีพราหมมณี" เป็นพระราชมารดา พระองค์จะสร้างบารมีโดยการครองคฤหัสถ์ ๔ หมื่นปีก่อน จึงจะได้ตรัสเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์จะมีพระชนมายุ ๘ (แปด) หมื่นปี จึงจะได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ประชาชนก็มีอายุ ๘ หมื่นปีเหมือนกัน
    (สมัยของกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอายุ ๔ หมื่นปี)
    พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๘๐ ปี
    "พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราแสดงปรารถให้พระอานนท์เห็นว่า จะปลงสังขาร ๑๖ ครั้ง ๑๖ แห่ง แต่พระอานนท์ไม่เห็นใจ จึงไม่ได้ขออาราธนาให้อยู่ต่อไปเพื่อสั่งสอนสัตว์โลก มาขอตอนใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงปลงสังขารเสียแล้ว


    (Credit: คัดลอกจากหนังสือ ยอดธรรม ยอดคาถา และความเป็นหาแห่งยอดธรรม ยอดคาถา โดยท่านพระคุณเจ้าหลวงพ่อดาบส สมโน สถานปฎิบัติธรรมบุญแจ่มฟ้า ต.ตะกาศเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ที่ประดิษฐานพระบรมธาตเจดีย์ บุญแจ่มฟ้าจุฬาภาพรรณรังสี)
    Credit: ขอบคุณที่มาจาก: http://forums.apinya.com/…/589-%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%…
    Credit: ต้นฉบับของบทความสามารถเข้าชมได้จากที่นี่: http://www.rabiangdoi.com/arsom/images/ebook/yodtham.pdf
     

แชร์หน้านี้

Loading...