พุทธศิลป์กับพรพุทธาเวทย์ ตอน พระพุทธสิหิงค์ องค์จริงทุกองค์แต่ไม่ได้มาจากศรีลังกา

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 23 กันยายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    พุทธศิลป์กับพรพุทธาเวทย์ ตอน พระพุทธสิหิงค์ องค์จริงทุกองค์แต่ไม่ได้มาจากศรีลังกา
    [​IMG]
    ในจำนวนพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง พระพุทธสิหิงค์น่าจะเป็นพระที่มีประวัติความเป็นมาซับซ้อนสับสนที่สุด ประการแรกมีหลายองค์ นอกจากพระพุทธสิหิงค์องค์หลัก ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์แล้ว ยังมีพระพุทธสิหิงค์ที่เชียงใหม่ ที่นครศรีธรรมราช ที่จังหวัดตรัง (ถูกขโมยไปแล้ว) และที่วัดโคกขาม สมุทรสาคร พระพุทธสิหิงค์ทุกองค์ ต่างก็อ้างว่า เป็นพระพุทธสิหิงค์องค์จริง สร้างขึ้นในลังกา

    โรม บุนนาค เขียนเรื่องการเดินทางของพระพุทธสิหิงค์ไว้ในหนังสือมิติลี้ลับสุดมหัศจรรย์ (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) ว่า

    ตำนานพระพุทธสิหิงค์ของโบราณ เล่ากันไว้หลายสำนวน สำนวนที่กล่าวขานกันมาก พระโพธิรังสี พระภิกษุแห่งล้านนา แต่งเป็นภาษาบาลีไว้ เมื่อ พ.ศ.1985 ศ.ร.ต.ท.แสงมนวิทูร แปลเป็นภาษาไทย กรมศิลปากรจัดพิมพ์ไว้ในเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2506

    พ.ศ.700 พระราชาสามองค์ พระอรหันต์ 20 องค์ และนาค 1 ตน ของลังกา ประชุมหารือกันสร้างพระพุทธปฏิมา (รูปจำลองของพระพุทธเจ้า) พระราชาและ พระอรหันต์ ติดขัดไม่มีผู้ใดเคยเห็นองค์จริงของพระพุทธองค์ แต่นาคซึ่งมีฤทธิ์บอกว่าเคยเห็น เนรมิตตนเป็นพระพุทธองค์นั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์แก้วพระราชาสั่งให้ช่างปั้นหุ่นพระพุทธเจ้าด้วยขี้ผึ้ง แล้วสั่งให้ช่างหล่อออกมา ระหว่างการหล่อ ช่างคนหนึ่งทำไม่ถูกพระทัย พระราชาทรงตวัดหางกระเบนถูกนิ้วมือนายช่าง ผลจึงปรากฏว่าเมื่อหล่อออกมาเสร็จ นิ้วพระหัตถ์นิ้วหนึ่งขององค์พระมีตำหนิพระราชาหารือกันว่า จะซ่อมแซมนิ้วพระหัตถ์ พระพุทธปฏิมาเสียใหม่ แต่พระอรหันต์ทักท้วงว่า ในภายภาคหน้า พระพุทธรูปองค์นี้ จะไปอยู่ชมพูทวีป และจะลอยทวนน้ำขึ้นไปอยู่ต้นลำน้ำ พระราชาองค์หนึ่ง ในประเทศนั้น จะเป็นผู้ซ่อมแซมนิ้วพระหัตถ์องค์พระปฏิมาให้เรียบร้อยสมบูรณ์เองสามพระราชาคล้อยตาม สั่งให้ช่างขัดแต่งพระพุทธรูปจนงดงาม เนื่องจากพุทธลักษณ์ องค์พระปฏิมาเหมือนราชสีห์ จึงให้ขนานพระนามว่า พระพุทธสิหิงค์อีก 800 ปีต่อมา พ.ศ.1500 มีพระราชาพระนามว่า ไสยรงค์ แปลว่า พระร่วงองค์ประเสริฐ ครองสมบัติกรุงสุโขทัย ปกครองดินแดนจากเหนือจนใต้ถึงเมืองนครศรีธรรมราช วันหนึ่งพระร่วงเสด็จ ไปถึงนครศรีธรรมราช ได้ทราบว่ามีพระพุทธปฏิมางดงามมาก อยู่ที่เกาะสิงหล พระร่วงส่งสาส์นไปขอ พระราชาสิงหลซึ่งรู้คำพยากรณ์ของ 20 พระอรหันต์ อยู่แล้ว จึงยินดีถวายให้
    ตำนานเล่าตอนนี้ว่า เรือขบวนที่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ แล่นจากสิงหลมานครศรีธรรมราช ระหว่างทางเกยหินโสโครกจมอยู่กลางทะเล ลูกเรือจมน้ำตายหมด แต่พระพุทธสิหิงค์ได้สำแดงปาฏิหาริย์ ลอยน้ำไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช พระร่วงอัญเชิญต่อไปประดิษฐานไว้ยังกรุงสุโขทัยสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) กรุงสุโขทัยอ่อนแอ พระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยายึดสุโขทัยได้ ส่งขุนหลวงพระงั่วไปครองสุโขทัย แต่ก็ทรงพระเมตตาให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 มาครองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาที่ 4 อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาพิษณุโลกด้วยจนเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 ทิวงคต พระเจ้าอู่ทองจึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
    ในช่วงเวลาที่พระพุทธสิหิงค์อยู่กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าณาณดิส แห่งเมืองกำแพงเพชร วางแผนส่งแม่หลวงผู้เป็นพระราชมารดามาถวายพระเจ้าอู่ทอง ใช้อุบายอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปเมืองกำแพงเพชร เจ้ามหาพรหม ผู้ครองเมืองเชียงราย เกิดความอยากได้พระพุทธสิหิงค์ ยกทัพมาเจรจาหว่านล้อมกัน พระเจ้าญาณดิสก็ยอมถวายให้
    เจ้ามหาพรหมก็อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปทำพิธีฉลอง ที่หัวเกาะดอนแทน กลางลำแม่น้ำโขง หน้าเมืองเชียงแสนเนื่องจากพระพุทธสิหิงค์มีตำหนิที่นิ้วพระหัตถ์ เจ้ามหาพรหมจึงตัดนิ้วพระหัตถ์นั้น และซ่อมเสริมให้เรียบร้อยสมบูรณ์ด้วยทองคำ การซ่อมนิ้วพระหัตถ์ และที่ประดิษฐานเกาะดอนแท่น แม่น้ำโขง จึงสมตามคำทำนายของ 20 อรหันต์ เมื่อครั้งหล่อองค์พระที่ลังกา ทุกประการพระพุทธสิหิงค์ถูกยื้อไปแย่งมา จนเมื่อ พ.ศ.2338 อยู่ที่เชียงใหม่ เมื่อสมเด็จกรมพระ ราชวังบวรฯ ยกทัพขึ้นไปช่วยเจ้าเชียงใหม่ที่ถูก พม่าล้อม ตีกองทัพพม่าแตกพ่ายไป ตอนกลับได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานไว้ที่พระราชวังบวร โดยทรงอุทิศพระราชมณเฑียรองค์หนึ่งถวาย พระราชทานนามว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เมื่อกรมพระราชวังบวรสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้อัญเชิญไปไว้ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงรัชกาลที่ 4 โปรดให้อัญเชิญกลับไปไว้ที่พระราชวังบวรตามเดิม ทรงดำริที่จะนำไปเป็นพระประธานในโบสถ์วัดพระแก้ววังหน้า ที่กรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ 3 สร้างไว้แต่ขณะซ่อมแซมโบสถ์ มีการเขียนภาพตำนานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่ผนังโบสถ์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระพุทธสิหิงค์จึงยังคงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนถึงวันนี้
    ประเด็น พระพุทธสิหิงค์ องค์ไหนจริง องค์ไหนปลอม อาจารย์พิเศษ เจียรจันทร์พงษ์ ยืนยันว่าทุกองค์เป็นพระพุทธสิหิงค์จริง เพียงแต่ก็ทราบกันดีว่า พระพุทธสิหิงค์เชียงใหม่สร้างขึ้นที่ล้านนา พระพุทธสิหิงค์นครศรีธรรมราชสร้างที่ภาคใต้ ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่กรุงเทพฯสร้างขึ้นที่สุโขทัย

    คำยืนยันของผู้รู้ขั้นสุดท้าย ไม่มีพระ พุทธสิหิงค์องค์ไหนในประเทศไทย สร้างขึ้นที่เกาะลังกา
    ประวัติตำนานและรูปแบบพระพุทธสิหิงค์จากการศึกษาสรุปได้ว่า ตามประวัติพระพุทธสิหิงค์มาจากลังกาแล้วผ่านนครศรีธรรมราช ละโว้ สุโขทัย อยุธยา ชัยนาท กำแพงเพชร ก่อนจะขึ้นมาสู่ล้านนา แต่จากการศึกษาค้นคว้าของ ศักดิ์ชัย สายสิงห์ พบได้ข้อสรุปว่า ตำนานและรูปแบบของพระพุทธสิหิงค์นั้นน่าจะมาจากล้านนา เพราะพระพุทธรูปคือพระพุทธสิหิงค์ในกลุ่มขัดสมาธิเพชรตามตำนานเกิดขึ้นในล้านนาและน่าจะแพร่หลายลงมายังสุโขทัย อยุธยา และกำแพงเพชร โดยพบหลักฐานคือการค้นพบพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในพระอุระของพระมงคลบพิตรและในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการแสดงให้เห็นลักษณะการผสมผสานทางด้านรูปแบบระหว่างการแสดงลักษณะขัดสมาธิเพชรแบบล้านนาที่ไม่ใช่สายวิวัฒนาการของอยุธยาที่มีพื้นฐานมาจากขอม และจากการค้นพบพระพุทธรูปในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะแสดงให้เห็นว่าอยุธยาได้รู้จักพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร “พระพุทธสิหิงค์” แล้ว อย่างน้อยประมาณต้นหรือกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือการค้นพบพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในนามพระพุทธสิหิงค์คือพระพุทธรูปที่พบที่วัดโกขาม จังหวัดสมุทรสงครามเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรแบบอยุธยาที่เรียกว่าแบบขนมต้ม มีจารึกที่ฐานที่กล่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธสิหิงค์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๓๒เพราะฉะนั้น จึงอาจได้ข้อสรุปอีกอย่างหนึ่งว่า รูปแบบการสร้างพระพุทธสิหิงค์นั้นน่าจะเกิดที่ล้านนาก่อนแล้วจึงแผ่ขยายลงมาสุโขทัย อยุธยา จนถึงนครศรีธรรมราช ไม่ใช่มาจากลังกามาถึงภาคใต้แล้วขึ้นไปทางเหนือตามตำนานที่กล่าวไว้ พระพุทธสิหิงค์องค์แรก(องค์ที่กรุงเทพ) น่าจะเป็นพระพุทธรูปล้านนาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ รูปแบบน่าจะเป็นสกุลช่างสุโขทัย ส่วนองค์ที่ ๒ (ที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่) เป็นศิลปะแบบล้านนาอายุประมาณพุทธศตวรรษที่๑๙- ๒๐ ส่วนองค์ที่ ๓ (พระพุทธสิหิงค์นครศรีธรรมราช) เป็นศิลปะแบบขนมต้นสกุลช่างนครศรีธรรมราชที่ได้รับอิทธิพลการสร้างมาจากศิลปะของอยุธยาผสมล้านนาไล่เลี่ยกับพระพุทธสิหิงค์องค์ที่กรุงเทพ.
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
  2. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    ....ขอบคุณ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...