พิธีบวงสรวง"เจ้าพ่อแสนเมือง" ประเพณีเก่า-คู่ชาวน้ำหนาว

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 19 กรกฎาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พิธีบวงสรวง"เจ้าพ่อแสนเมือง" ประเพณีเก่า-คู่ชาวน้ำหนาว

    คอลัมน์ สดจากหน้าพระ

    มานิตย์ นีรคุปต์



    [​IMG]อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอำเภอขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบของภูเขา มีประชากร 21,365 คน แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนมากมีอาชีพในทางเกษตรและหาของป่า พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

    เดิมอำเภอน้ำหนาวเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในการปกครองของ อ.หล่มเก่า ประชาชนดั้งเดิมเป็นชาว อ.หล่มเก่า ที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตามลำน้ำพุงและมาตั้งรกรากอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำพุง เมื่อชุมชนหนาแน่นจึงได้พากันอพยพมาหาที่ดินทำกินที่ตำบลน้ำหนาว และอยู่กันมาเป็นเวลากว่า 200 ปี

    ประเพณีและวัฒนธรรมจึงหนักไปทางล้านช้าง ซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิม และประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนคือ ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อแสนเมือง ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของ "ชาวล้านช้าง"

    นายแสง ยศสุพรหม อายุ 72 ปี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น "จ้ำ" ซึ่งพจนานุกรมฉบับมติชน ให้ความหมายว่า เป็นคำนาม หมายถึง "ผู้ติดต่อกับผีหรือวิญญาณ หรือหมอผี"
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ตนได้รับตำแหน่งเป็นจ้ำประจำศาลเจ้าพ่อแสนเมือง หรือเจ้าปู่แสนเมือง โดยสืบต่อจากตระกูล ซึ่งเป็นต่อๆ กันมาตั้งแต่รุ่นทวด รุ่นปู่ เมื่อมาถึงตนจึงเป็นชั้นลูก และคนต่อไปอาจจะเป็นลูกของตน หรือเหลน สุดแท้แต่ใครจะมีความสามารถสานต่อ ทุกปีของวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 8 ชาวบ้าน อ.น้ำหนาว จะพากันมาทำพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อแสนเมือง โดยแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ นางรำ ที่ประดับประดาด้วยธงผ้าสีแดง เดินทางมายังศาลเจ้าพ่อแสนเมือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำหนาว"

    แต่ละครอบครัวจะนำไก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ติดมาด้วย ครอบครัวละ 1 ตัว และผู้เป็นหัวหน้าตำบล หรือกำนัน จะเป็นผู้นำตัวตุ่น (มีลักษณะคล้ายหนูนา อาศัยอยู่ในดิน กินพืช หัวมันเป็นอาหาร) มาด้วย ตำบลละ 1 ตัว เพื่อนำมาเซ่นไหว้เจ้าปู่ หรือเจ้าพ่อแสนเมือง ส่วนผลไม้จะเป็นข้าวโพด แตงไทย ซึ่งใครมีก็นำมาด้วย

    นายแสงเล่าว่า เมื่อทุกคนนำเครื่องเซ่นไหว้มาพร้อมกันแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่ เชือดไก่ ฆ่าตุ่นก็ทำไป ส่วนผลไม้นำมารวมกัน เมื่อถึงเวลา 11.00 น. ทุกคนก็จะมารวมตัวกันนั่งหน้าศาลเจ้าปู่ นางรำของแต่ละหมู่บ้านก็จะพากันร่ายรำ ให้เจ้าปู่ชม ชายฉกรรจ์ก็จะไปทำหน้าที่จุดพลุ ปั้งไฟ เป็นการถวายเจ้าปู่ <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    "จากนั้นจะได้ทำหน้าที่พาชาวบ้านกล่าวคำปฏิญาณว่า ทุกคนจะเคารพศรัทธา เชื่อฟังเจ้าปู่ทุกอย่าง จะเป็นคนดีอยู่ในศีลในธรรม ถ้าใครทำไม่ดี คิดร้ายต่อบ้านเมืองขอให้เจ้าปู่ลงโทษ เสร็จพิธีปวงสรวงแล้วทุกคนจะนำไก่ไปปรุงเป็นอาหารเลี้ยงกันต่อหน้าศาลเจ้าปู่ จะไม่มีใครนำเอาไก่ที่เซ่นไหว้กลับไปกินที่บ้านเป็นอันขาด มีผู้ฝ่าฝืนไม่ทำตาม แอบเอาไก่และของเซ่นไหว้ไปกินที่บ้าน ถูกเจ้าปู่ลงโทษ อาเจียนออกมาเป็นเลือดสดๆ อย่างทันตาเห็น จนไม่มีใครกล้าทำอีก" นายแสงกล่าว

    นายแสงยังเล่าต่อว่า เจ้าพ่อแสนเมืองเดิมเป็นทหารเอกของเจ้าผู้ครองแคว้นล้านช้าง เคยยกทัพมาตีไทยทางด้านจังหวัดเลย และได้เสียชีวิตลงที่บ้านด่านซ้าย ปัจจุบันคือ อ.ด่านซ้าย ก่อนที่จะเสียชีวิตท่านได้เป็นผู้ควบคุมไพร่พล ก่อสร้างพระธาตุศรีสองรักจนสำเร็จ ผู้คนนับถือมากจึงได้สร้างศาลเจ้าพ่อแสนเมืองไว้ที่ อ.ด่านซ้าย เมื่อปู่ ย่า ตา ทวด ของพวกตนอพยพมาอยู่ อ.น้ำหนาว เกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคห่า และฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดการแห้งแห้งอดอยากมาก จึงได้ไปพากันอัญเชิญเจ้าพ่อแสนเมืองให้มาช่วยเหลือ และก็เป็นจริง ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้าน อ.น้ำหนาวมีแต่ความสุข มีฝนตกลงมาตลอดทั้งปี โรคห่าก็หายไป

    นายขาว คำมาตร นายอำเภอน้ำหนาว เล่าว่า ประชาชนที่นี่จะพากันยึดถือ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนมาก อย่างเช่น วันพระ ขึ้นและแรม 15 ค่ำ หรือที่ชาวบ้านพากันเรียกว่า "วันพระใหญ่" พวกเขาจะหยุดทำงาน หยุดการฆ่าสัตว์ หยุดการทำความชั่วทั้งปวง จะพากันไปทำบุญไหว้พระที่วัดใกล้บ้านเป็นประจำ แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่คนที่นี่ก็ยังยึดมั่นอยู่จนถึงทุกวันนี้

    ความเชื่อ ความศรัทธา และความเคารพนับถืออย่างมากของคนไทย ไม่ว่าภาคใด นับเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ยากที่จะมีสิ่งอื่นมาแทรกได้
    จากนสพ.ข่าวสด

    ถ้าทุกคนยังยึดมั่น เชื่อถืออย่างมั่นคง
     
  2. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    อนุโมทนาสาธุครับ... กับการระลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ท่านได้เสียเลือดเสียเนื้อรักษาประเทศให้เรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...