ปุจฉา-วิปัสสนา เรื่องสมาธิภาวนา (พระราชสังวรญาณ : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cochiga, 9 พฤศจิกายน 2006.

  1. cochiga

    cochiga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +228
    ปุจฉา-วิปัสสนา เรื่องสมาธิภาวนา (พระราชสังวรญาณ : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

    ถาม เมื่อยังไม่ได้ทำสมาธิภาวนานอนหลับแล้วไม่ค่อยฝัน แต่เมื่อฝึกหัดทำสมาธิภาวนาแล้ว นอนหลับแล้วมักจะฝันดี เพราะเหตุใด<O:p</O:p
    ตอบ การภาวนาเป็นอุบายที่ทำให้จิตเกิดมีสมาธิ โดยปกติผู้ภาวนาจะเป็นบริกรรมภาวนาก็ตาม หรือพิจารณาอะไรก็ตามหรือดูลมหายใจก็ตาม มันเป็นอุบายให้จิตเกิดมีสมาธิ วาระแรกของความเกิดมีสมาธิแห่งจิตนั้น คือการนอหลับ เช่น อย่างเราภาวนาแล้วมีอาการเคลิ้มๆลงไป เหมือนจะนอนหลับ แล้วก็เกิดเป็นความหลับขึ้นมา เมื่อหลับตาลงไปแล้วมันหลับไม่สนิท จิตกลับตื่นเป็นสมาธิอ่อนๆ ในเมื่อจิตมีสมาธิอ่อนๆ จิตมีลักษณะครึ่งหลับครึ่งตื่น แล้วก็มีความรู้สึกว่า มีความสว่างเรืองๆ จิตส่งกระแสออกไปข้างนอก จึงเกิดนิมิตฝันขึ้นมา อันนี้มันเกิดสืบเนื่องมาจากการฝึกปฏิบัติสมาธิในขั้นต้นๆ เพราะในตอนนี้สติสัมปชัญญะ ยังไม่มีพลังเพียงพอที่จะประคับประคองจิต ให้อยู่ในสภาวะที่เป็นสมาธิอย่างแน่วแน่ได้ เพราะเมื่อหลับลงไปแล้ว ความรู้สึกมันรู้สึกลอยๆคว้างๆไป จะว่าหลับก็ไม่ใช่จะว่าตื่นก็ไม่ใช่ มันอยู่ครึ่งหลับครึ่งตื่นแล้วก็ทำให้เกิดฝัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม การฝึกสมาธิจำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิอย่างเดียวหรือไม่<O:p</O:p
    ตอบ ไม่จำเป็นนอกจากเราจะทำเป็นพิธีการเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ถ้าเรานอนสมาธิก่อนหลับ โดยทำใหเราหลับง่ายเข้า ถือเป็นสมาธิหรือไม่<O:p</O:p
    ตอบ ถือเป็นสมาธิเหมือนกัน อันนี้ดีที่สุด ถ้าฝึกทำสมาธิเวลานอน ถ้านอนหลับลงไปแล้ว จิตเกิดเป็นสมาธิเวลานอนสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตจะดีมากขึ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ขณะนั่งสมาธิมีภาพเหตุการณ์เกิดขึ้น จะทราบได้อย่างไรว่า สิ่งนั้น ภาพนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หรือนึกคิดขึ้นเอง เช่นครั้งหนึ่ง ขณะนั่งสมาธิ มีคนรู้จักที่ตายไปแล้วมาปรากฏ ทั้งๆที่ไม่เคยนึกถึงเขามาก่อน อยากทราบว่า ภาพนี้เป็นจริงหรือไม่ ถ้าจริงเกิดขึ้นได้อย่างไร<O:p</O:p
    ตอบ ภาพนี้เป็นทั้งจริงและไม่จริงถ้าหากว่านิมิตนั้นในเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นจริง ก็เป็นเรื่องความจริง แต่ถ้านิมิตมันเกิดขึ้นแล้วไม่จริง ก็ไม่จริง อันนี้สุดแท้แต่จิตของเราจะปรุงเป็นมโนภาพขึ้นมา ถ้าหากว่าจิตของเรามีความมั่นคงเพียงพอมีสติสัมปชัญญะเพียงพอ นิมิตที่เกิดขึ้นนั้น มันก็เป็นความจริงแต่ส่วนมากภาพนิมิตในขั้นต้นๆนี้ มักจะเกิดขึ้นในระยะที่เราบริกรรมภาวนา แล้วรู้สึกว่าจิตมันเคลิ้มๆเกิดสว่างจิตมันลอยเคว้งคว้าง สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก แล้วก็เกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา อันนี้ให้ทำความเข้าใจว่า เป็นนโมภาพเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งสำคัญมั่นหมายว่าเป็นความจริงถือว่าเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นอารมณ์อันหนึ่งเราอาจจะกำหนดรู้ภาพนิมิตอันนั้นอาจจะแสดงให้เรารู้ในแง่กรรมฐาน ได้แก่อสุภกรรมฐาน เป็นต้น ก็ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม การปฏิบัติที่ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ จะใช้พร้อมกับการเพ่งกสิณ เช่น สีเขียว เป็นต้น ได้หรือไม่<O:p</O:p
    ตอบ อันนี้แล้วแต่ความถนัด หรือความคล่องตัวของท่านผู้ใด การภาวนาเป็นการนึกถึงคำพูดคำหนึ่ง คือ พุทโธ แต่การมองสีเขียว เพ่งสีเขียวเป็นเรื่องของตา เป็นเรื่องของสายตา จะใช้พร้อมกันกับ พุทโธๆ ไปด้วยก็ได้ ไม่ขัดข้อง แต่ว่าถ้าจะภาวนาพุทโธแล้วลมหายใจควรจะคู่กับ พุทโธ เป็นเหมาะที่สุด เพราะว่าเมื่อภาวนา พุท พร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออก โดยปกตินักภาวนาเมื่อจิตสงบลงไปลมหายใจเป้นเครื่องรู้ จะได้ตามลมเข้าไปสู่ความสงบอย่างละเอียดนิ่งจนถึงอัปปนาสมาธิ จะใช้ลมหายใจพร้อมกับนึกกำหนดอานาปานุสสติก็ได้ ลมปราณ คือลมหายใจ อานาปานุสสติ ก็คือ ลมหายใจเป็นอันเดียวกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม เมื่อจิตติดอยู่ปีติ และความสุข มีอยู่บ่อยๆครั้งจนไม่อยากจะถอนออกจากสมาธิ จะมีอุบายแก้ไข ได้อย่างไร<O:p</O:p
    ตอบ ในขั้นนี้ ยังไม่ต้องการอยากจะให้ใช้อุบายแก้ไขเพราะจิตที่มีปีติและความสุข ตามที่ท่านว่านี้ ยังไม่มั่นคงเพียงพอให้พยายามฝึกให้มีปีติ มีความสุข ให้มันอยู่ในขั้นที่เรียกว่า ได้ฌานสมาบัติ อันนี้เป็รความรู้สึกสัมผัสเพียงนิดหน่อย อยากจะเปลี่ยนอะไรทำนองนี้ ดำเนินให้จิตมีความสงบ มีปีติ มีความสุขบ่อยๆเข้ามันจะได้เกิดมีความชำนาญในการเข้าออกสมาธิ แล้วถ้าจะอยากให้จิตมีสภาพเปลี่ยนแปลง ให้คอยจ้องเวลาจิตถอนออกจากสมาธิ ในเมื่อหมดปีติ หมดความสุขในสมาธิแล้ว เกิดความคิดขึ้นมา ทำสติตามรู้ความคิดนั้น หรือจะหาอะไรมาพิจารณาก็ได้ เพื่อเป็นการฝึกจิตให้รู้จักการพิจารณา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม เวลานั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม จะลงสู่ความสงบแล้วมีนิมิตเสียงดังมาก เช่นดังเปรี้ยง เหมือนฟ้าผ่า หรือเสียงก้องมาแต่ก็มีสติรู้ไม่ตกใจ ถ้าเหตุกาณ์นี้เกิดขึ้นจะปฏิบัตอย่างไร<O:p</O:p
    ตอบ ถ้าเหตุกาณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ขอให้ถืว่าสิ่งนั้นคือเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ จะเป็นสีแสงเสียงหรือรูปนิมิตอะไรต่างๆก็ตาม ให้ถือว่าเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่งระลึกของสะติ ประคองจิตทำสติไว้ให้ดี แล้วผลดีจะเกิดขึ้น อย่าไปตกใจ หรือไปแปลกใจกับสิ่งเหล่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม เวลานั่งสมาธิ ก็ใช้คำบริกรรมคือ สมถะตลอด แต่เวลาเดินจงกรมใช้พิจารณากายที่เดิน กำหนดสติกับการเดิน ทั้งสองควบคู่กันไป จะสมควรหรือไม่<O:p</O:p
    ตอบ อันนี้สมควร แล้วแต่อุบายของท่านผู้ใด บางทีถ้าหากว่าจิตมันต้องการบริกรรมภาวนา ก็บริกรรม ถ้าต้องการจะกำหนดรู้อิริยาบถ ก็กำหนดรู้อิริยาบถ ถ้ามันจะต้องการค้นคิดพิจารณา ก็ให้มันคิดค้นพิจารณา อย่าไปขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางทีมันอาจจะสงบขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่าไปฝืน ปล่อยมันให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน หน้าที่ของเรามีแต่ทำสติกำหนดตามรู้เท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม เมื่อทำสมาธิแล้ว จิตไม่ค่อยสงบ มักจะน้อยใจว่าตนเองว่าไม่มีวาสนาบารมี<O:p</O:p
    ตอบ อย่าไปคิดอย่างนั้นสิ ในเมื่อจิตไม่สงบก็ทำเรื่อยไปทำสติรู้และพิจารณาว่ามันไม่สงบเพราะอะไร ค่อยแก้ไข และพากเพียรพยายามทำให้มากๆเข้า เดี๋ยวมันก็เกิดความสงบขึ้นมาเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ทำสมาธิภาวนานั้น ที่เราภาวนา พุทโธ นั้น จะต้องเอาจิตไปกำหนดไว้ที่ไหน เช่น ไว้ที่คำว่า พุทโธ หรือทำจิตรู้ไว้ตรงหน้าเฉยๆ หรือตามลมหายใจ<O:p</O:p
    ตอบ พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ พุทโธ แปลว่า ผู้ตื่น พุทโธ แปลว่า ผู้เบิกบาน การภาวนาพุทโธ เอา รู้ ไปไว้กับคำว่า พุทโธๆๆ นี้เป็อารมณ์เครื่องรู้ของจิต เป็นคำพูดคำหนึ่ง แต่ถ้าเราเอาตัวรู้สึกสำนึกไปไว้ที่ พุทโธ แปลว่า เอาพุทโธไปไว้กับคำว่า พุทโธ ทีนี้เวลาเราภาวนาพุทโธ จะเอาจิตไปไว้ที่ไหนก็ได้ เช่น จะไม่เอาไว้ หรือจะเอาไว้ไม่ตั้งใจเอาไว้ที่ไหน เราก็กำหนดรู้ลงที่จิต ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั้น ความรู้สึก สภาวะรู้ คือ พุทธะ ผู้รู้ พร้อมกับนึก พุทโธๆๆ คำว่าพุทโธไม่ใช่ผู้รู้ เป็นแต่เพียงอารมณ์ของผู้รู้การทำสติให้รู้อยู่กับพุทโธ การทำสตินั้นคือตัวผู้รู้ แล้วเอาตัวผู้รู้มานึกถึงคำพูดว่า พุทโธ เอาพุทโธไว้ที่จิต เอาจิตไว้ที่พุทโธ บางท่านก็บอกว่า เอาจิตไว้ที่ลมหายใจเข้าออก บางท่านก็สอนให้กำหนดรู้ที่ปลายจมูก ตรงที่ลมผ่านเข้า ผ่านออก แล้วก็นึก พุทโธๆๆ ไปเรื่อยอันนี้แล้วแต่ความเหมาะกับจริตของท่านผู้ใดถ้าหากว่าการกำหนดบริกรรมพุทโธ ถ้าเรากำหนดพุทพร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออก จังหวะมันยังห่างอยู่จิตมันส่งกระแสไปทางอื่นได้ ก็ปล่อยลมหายใจเสีย แล้วนึก พุทโธๆๆ ให้มันเร็วเข้าอย่าให้มีช่องว่าง จะเอาไว้ที่ไหนก็ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ขณะทำสมาธิ จะรู้ได้อย่างไรว่า จิตกำลังอยู่ในภวังค์<O:p</O:p
    ตอบ อันนี้เราพึงสังเกตว่าถ้าเราเกิดมีกายเบาจิตเบา กายสลบจิตสงบ กายคล่องจิตคล่อง กายควรจิตควร พึงเข้าใจเถิดว่า จิตของเรา กำลังก้าวเข้าสู่ภวังค์ ที่นี้คำว่า ภวังค์ นี้ หมายถึง ช่องว่างระหว่างที่จิตกำลังบริกรรมภาวนาอยู่ แล้วปล่อยวาง คำภาวนามีอาการวูบลงไป วูบเป็นอาการ เป็นความว่างของจิต ช่วงที่วูบนี้ ไปถึงระยะจิตนิ่ง ช่วนนี้เรียกว่า จิตตกภวังค์ ทีนี้เมื่อจิตตกภวังค์วูบลงไปนิ่งพับ ถ้าไม่หลับ สมาธิเกิด ถ้าจะเกิดความหลับ ก็หลับไปอย่างไม่รู้ตัว แต่ถ้าแบบสมาธิจะเกิด พอนิ่งปั๊บ จิตเกิดสว่าง แสดงว่าจิตเข้าสู่สมาธิ ถ้านิ่งพับ มืดมิดไม่รู้เรื่อง จิตนอนหลับ นี่พึงสังเกตอย่างนี้ จิตที่เข้าสมาธิต้องผ่านภวังค์ไปก่อน ภวังค์คือ ช่องว่างของจิตที่ปราศจากสติ เช่น อย่างเราคิดถึงสิ่งหนึ่ง เช่น คิดถึงแดง แล้วจะเปลี่ยนไปคิดถึงขาว ช่องว่างระหว่างขาวกับแดงนี้ ตรงกลางเรียกว่าภวังค์ สมาธิที่จิตปล่อยวางภาวนามีอาการเคลิ้มๆ แล้วก็วูบ ชั่ววูบเรียกว่า จิตตกภวังค์ เมื่อวูบแล้วนิ่ง มืดมิดไป เรียกว่า จิตหลับ ถ้าวูบนิ่งบั๊บเกิดความสว่างโพลงขึ้นมา จิตเป็นมาธิ พึงทำความเข้าใจอย่างนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ขณะง่วงนอน และต่อสู้กับความง่วงอยู่นั้น จะเป็นโอกาสให้สติกลับรู้ตัวตามทัน หรือไม่<O:p</O:p
    ตอบ ถ้าหากเรามีการต่อสู้ ก็มีความตั้งใจ ในเมื่อมีความตั้งใจ ก็เกิดมีสติรู้ตัว ถ้าความตั้งใจมีพลังเข้มแข็งขึ้น สติก็เข้มแข็งขึ้น เมื่อสติเข้มแข็งขึ้นความง่วงก็หายไป ถ้าสติกับความง่วง สู้ความง่วงไม่ได้ก็กลายเป็นความง่วงแล้วก็หลับไป <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ขณะทำสมาธิเกิดนิมิตขึ้นมาเป็นภาพ จะต้องปฏิบัติหรือกำหนดจิตอย่างไร <O:p</O:p
    ตอบ ในเมื่อทำสมาธิแล้ว จิตสงบลงไปเกิดเป็นนิมิตภาพขึ้นมา ระวังอย่าให้เกิดความเอะใจ หรือแปลกใจกับการเห็นนั้น ให้ประคองจิตอยู่เฉยๆ ถ้าไปเกิดเอะใจหรือทักท้วงขึ้นมา สมาธิจะถอน เมื่อสมาธิถอนแล้วนิมิตหายไป ถ้าใครสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติ นิมิตนั้นจะอยู่ให้เราดูได้นาน และนิมิตนั้นจะเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสะติ บางทีนิมิตนั้นอาจจะแสดงอสุภกรรมฐาน หรือแสดงความตาย ถ้าแสดงอสุภกรรมฐานให้เราดู เช่น ล้มตายลงไป เน่าเปี่อยผุพังก็ได้อสุภกรรมบาน ได้มรณัสสติ ภ้าจิตของท่านผู้นั้นสำคัญมั่นหมายในพระไตรลักษณ์ภาพนิมิตนี้มันก็ไม่เที่ยง ปรากฏขึ้นมาแล้วมันก็ล้มตายไปตายไปแล้วก็เปลี่ยนแปลงเป็นเน่าเปื่อย ผุพัง สลายตัวไป เสร็จแล้วก็ได้วิปัสสนากรรมฐาน<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น ในเมื่อภาวนาเกิดนิมิตขึ้นมาแล้วอย่าไปดีใจเสียใจกับนิมิตนั้นให้ประคองจิตให้รู้อยู่เฉยๆ ธรรมชาติของนิมิตนี้เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ในเมื่อมันมีการเปลี่ยนแปลงก็ทำให้เรารู้ว่าแม้นิมิตมันก็ไม่เที่ยง หรือเพียงแค่มันเกิดขึ้นแล้วหายไป เกิดขึ้นแล้วมันหายไปมันไปตรงกับคำว่า เกิด-ดับ เกิด-ดับ ที่เรากำหนดรู้กันอยู่ในจิต ความเกิด-ดับ ความคิดมันเกิดขึ้น ความคิดมันดับไปก็คือการเกิด-ดับ นิมิตเกิดขึ้น นิมิตดับไป ก็คือความเกิดดับ สุขมันเกิดขึ้น สุขมันดับไป ก็คือความเกิดดับ ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ดับไป ก็คือความเกิดดับ เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ความเป็นไปของมันอย่างนี้ เราจะได้สติปัญญาดีขึ้น แล้วอาจจะเกิดปัญญา รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขึ้นมาได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม ภาวนาไปจิตเบื่อหน่ายจะทำอย่างไร จิตเศร้าหมองจะทำอย่างไร<O:p</O:p
    ตอบ ความเบื่อเป็นอาการของกิเลสในเมื่อมันเกิดเบื่อ ก็พิจารณาความเบื่อ เอาความเบื่อเป็นอารมณ์ถามตัวเองว่า ทำไมมันจึงเบื่อ เมื่อได้คำตอบนี้แล้ว ถามต่อไปอีกว่า ทำไมๆๆ เพราะอะไรๆๆ ไล่มันไปจนมันจนมุม เอาความเบื่อเป็นอารมณ์ เอาความเบื่อเป็นเครื่องรู้ เราก็พิจารณาหาเหตุผลความเบื่อให้ได้ การพิจจารณษเช่นนี้ก็คือ การพิจารณาวิปัสสนากรรมฐาน<O:p</O:p
    จิตเศร้าหมองก็พยายาม ภาวนาให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ ในเมื่อจิตมันรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันจะหายเบื่อและจะหายเศร้าหมอง <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถาม จิตมันมองเห็นกายเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะมันเกิดทุกข์แล้วก็เบื่อ มันมองเห็นกายเป็นของสกปรก จิตมันรังเกียจ มันเกิดเบื่อจะทำอย่างไร<O:p</O:p
    ตอบ อันนี้เป็นอาการของกิเลส ถ้ามันเกิดอาการอย่างนี้ขึ้นมาแล้วเราขาดสติ ไปถือเอาความเบื่อเป็นเรื่องที่จะมาทำให้จิตของเรามัวหมอง หรือเศร้าหมอง ก็เรียกว่าเราขาดสติ ขาดปัญญา เมื่อเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นมา ต้องพิจารณาจนกว่ามันจะหายเบื่อหน่าย หายเศร้าหมอง<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...