เสียงธรรม บทสวดเพื่อดับไฟจากราคะ โลภะ โทสะ โมหะ

ในห้อง 'บทสวดมนต์' ตั้งกระทู้โดย ธัมมนัตา, 29 สิงหาคม 2012.

  1. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    อาทิตตปริยายสูตร สวดเพื่อดับความร้อนจากไฟราคะ โลภะ โทสะ โมหะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. KRIDROCKER

    KRIDROCKER Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +95
    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  3. I want to know

    I want to know Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +45
    มหาโมทนาสาธุครับ.
     
  4. สุโขสุขี

    สุโขสุขี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    914
    ค่าพลัง:
    +1,470
    อนุโมทนา ครับ
     
  5. ก้อนหิน

    ก้อนหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +238
    แปลว่า อะไรครับ เพราะร้อน เลยทุกข์ งั้น เพราะทุกข์ จึงมีสมุทัย ฉะนั้น บทสวดลดโลกร้อน แปลตามตวามเข้าใจ...........
     
  6. ๒ อัฐ

    ๒ อัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    333
    ค่าพลัง:
    +140
    อนุโมทนาครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  7. กล้าไม้

    กล้าไม้ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  8. Ddream

    Ddream Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +37
    อนุโมทนา สาธุ ค่ะ สงบจริง ๆ
     
  9. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    มีคำแปล ตรง ๆ ตามพระสูตร


    จักขุง อาทิตตา
    ตา เป็นของร้อน

    รูปังอาทิตตา
    รูป เป็นของร้อน

    จักขุวิญาณัง อาทิตตา
    การรับรู้จากการเห็นรูป เป็นของร้อน

    จักขุงสัมผัสโส อาทิตตโต
    การที่ตาสัมผัสกับรูป เป็นของร้อน

    หู-เสียง จมูก -กลิ่น ลิ้น- รส กาย- กายสัมผัส ใจ -เรื่องราว

    ก็ทำนองเดียวกัน

    เวลาโกรธ เวลามีราคะ หรือเวลาที่รู้ว่าชอบ หรือไม่ชอบอะไร
    สวดและน้อมจิตตามความหมายไป
    ความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจจะค่อยๆลดลงๆ

    สาธุ
     
  10. aakasa

    aakasa สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุ
     
  11. รุทรักษะ

    รุทรักษะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +18
    ขอบคุณค่ะ การรู้ความหมายทำให้เข้าใจธรรมมากขึ้น และสงบขึ้นค่ะ
     
  12. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,354
    "อาทิตตปริยายสูตร" บทสวดมนต์แปลของวัดท่าซุง



    พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้


    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติ
    คะยาสีเส สัทธิง ภิกขุ สะหัสเสนะ
    ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ

    ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยาพร้อมด้วยพระภิกษุพวกที่เคยเป็นชฎิลประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ฯ ในการครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติภิกษุเหล่านั้น ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ


    สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง
    กิญจะ ภิกขะเว สังพัง อาทิตตัง

    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงในโลกนี้ เป็นสาเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ชื่อว่าเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง
    รูปา อาทิตตา
    จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง จักขุสัมผัสโส อาทิตโต
    ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง

    ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    รูป เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อตาได้เห็นรูปทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะตาได้เห็นรูป ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    เกนะ อาทิตตัง
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
    อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    อาทิตตันติ วะทามิ

    เร่าร้อนเพราะอะไร
    เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้ตาได้เห็นรูปที่ถูกใจนั้นอีก , ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้เห็นรูปที่ไม่ถูกใจ ,ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่ารูปที่ถูกใจนั้นจะมีให้เห็นอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุก ๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา,
    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้รูปที่ถูกใจนั้นเกิดขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้รูปที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดขึ้นมาอีก, ใจเร่าร้อนเพราะรูปที่ถูกใจนั้นจะต้องเสื่อมสลายไป, เร่าร้อนในใจ เพราะความโศกเศร้าคิดถึงรูปที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันไฝ่ฝันหารูปที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากรูปที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในรูปที่ถูกใจนั้น , เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะได้รูปที่ถูกใจนั้นกลับคืนมา , เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญเสียความหวังในรูปที่ถูกใจนั้น,
    เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ตา และ รูป เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    โสตัง อาทิตตัง
    สัททา อาทิตตา
    โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง โสตะสัมผัสโส อาทิตโต
    ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง

    หู เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    เสียง เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน



    เกนะ อาทิตตัง
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
    อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    อาทิตตันติ วะทามิ

    เร่าร้อนเพราะอะไร
    เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้หูได้ยินเสียงที่ถูกใจนั้นอีก , ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ยินเสียงที่ไม่ถูกใจ, ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่าเสียงที่ถูกใจนั้นจะมีให้ฟังอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่าง จะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไปเสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา,
    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้เสียงที่ถูกใจนั้นเกิดขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้เสียงที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก , ใจเร่าร้อนเพราะเสียงที่ถูกใจนั้นจะต้องเลือนหายไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงเสียงที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันไฝ่ฝันหาเสียงที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากเสียงที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในเสียงที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้เสียงที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในเสียงที่ถูกใจนั้น,
    เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า หู และ เสียง เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    ฆานัง อาทิตตัง
    คันธา อาทิตตา
    ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง
    ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต
    ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง

    จมูก เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    กลิ่น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน ฯ


    เกนะ อาทิตตัง
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
    อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    อาทิตตันติ วะทามิ

    เร่าร้อนเพราะอะไร
    เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้จมูกได้ดมกลิ่นที่ถูกใจนั้นอีก, ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ดมกลิ่นที่ไม่ถูกใจ, ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่ากลิ่นที่ถูกใจนั้นจะมีอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุก ๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไปและต้องสลายไปเป็นธรรมดา
    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้กลิ่นที่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้กลิ่นที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก , ใจเร่าร้อนเพราะกลิ่นที่ถูกใจนั้นจะต้องจางหายไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงกลิ่นที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันไฝ่ฝันหากลิ่นที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากกลิ่นที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในกลิ่นที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้กลิ่นที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในกลิ่นที่ถูกใจนั้น,
    เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า จมูก และ กลิ่น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    ชิวหา อาทิตตา
    ระสา อาทิตตา
    ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง
    ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต
    ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง

    ลิ้น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    รส เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน


    เกนะ อาทิตตัง
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
    อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    อาทิตตันติ วะทามิ

    เร่าร้อนเพราะอะไร
    เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้ลิ้นได้ลิ้มรสที่ถูกใจนั้นอีก , เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ลิ้มรสที่ไม่ถูกใจ, เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่ารสที่ถูกใจนั้นจะมีอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่าง จะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา,
    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้รสที่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้รสที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก , ใจเร่าร้อนเพราะรสที่ถูกใจนั้นจะต้องจางหายไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงรสที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันไฝ่ฝันหารสที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพรากจากรสที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในรสที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้รสที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในรสที่ถูกใจนั้น,
    เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ลิ้น และ รส เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    กาโย อาทิตโต
    โผฏฐัพพา อาทิตตา
    กายะวิญญาณัง อาทิตตัง
    กายะสัมผัสโส อาทิตโต
    ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง

    กาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    สิ่งที่มาถูกต้องสัมผัสกาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน ฯ


    เกนะ อาทิตตัง
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
    อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    อาทิตตันติ วะทามิ

    เร่าร้อนเพราะอะไร
    เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้กายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจนั้นอีก ,เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ, เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่าสิ่งที่ถูกใจนั้นจะมีมาสัมผัสกายตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่าง จะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไปเสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา,
    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้มีสิ่งที่ถูกใจมาสัมผัสกายอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้สิ่งที่ไม่ถูกใจนั้นมาสัมผัสกายอีก , ใจเร่าร้อนเพราะสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นจะต้องเสื่อมสลายไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันไฝ่ฝันหาสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้สิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น,
    เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า กาย และ สิ่งที่มาถูกต้องสัมผัสกาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    มะโน อาทิตโต
    ธัมมา อาทิตตา
    มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง
    มะโนสัมผัสโส อาทิตโต
    ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง

    ใจที่มีความอยาก เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดในเรื่องราวต่างๆ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องราวต่าง ๆทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน
    ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะคิดในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุให้ใจเร่าร้อน ฯ


    เกนะ อาทิตตัง
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
    อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ
    โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
    อาทิตตันติ วะทามิ

    เร่าร้อนเพราะอะไร
    เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะคิดในเรื่องราวที่ถูกใจนั้นอีก , เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะต้องคิดในเรื่องราวที่ไม่ถูกใจ, เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่าเรื่องราวที่ถูกใจนั้นจะมีอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่าง จะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไปเสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา,
    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้มีเรื่องราวที่ถูกใจเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้เรื่องราวที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก , ใจเร่าร้อนเพราะเรื่องราวที่ถูกใจนั้นจะต้องสูญสิ้นไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันไฝ่ฝันหาเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความสูญเสียเรื่องราวที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้เรื่องราวที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในเรื่องราวที่ถูกใจนั้น,
    เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ใจที่มีความอยาก และความคิดในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก
    จักขุสสะมิงปิ นิพพินทะติ
    รูเปสุปิ นิพพินทะติ
    จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ
    จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
    ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอริยสาวกได้ยินได้ฟังเห็นอยู่อย่างนี้แล้ว
    อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมมีความเบื่อหน่าย ตา
    ย่อมมีความเบื่อหน่าย รูปทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่าน เมื่อตาได้เห็นรูปทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น
    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ตาได้เห็นรูปที่ชอบ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงตาและรูปทั้งหลายอีกต่อไป เพราะเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ


    โสตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ
    สัทเทสุปิ นิพพินทะติ
    โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
    ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ

    อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย หู
    ย่อมเบื่อหน่าย เสียงทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น
    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่หูได้ยินเสียงที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงหูและเสียงทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน


    ฆานัสสะมิงปิ นิพพินทะติ
    คันเธสุปิ นิพพินทะติ
    ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
    ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ

    อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย จมูก
    ย่อมเบื่อหน่าย กลิ่นทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น
    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่จมูกได้ดมกลิ่นที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้นจึงไม่อยากคิดถึงจมูกและกลิ่นทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน


    ชิวหายะปิ นิพพินทะติ
    ระเสสุปิ นิพพินทะติ
    ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
    ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ

    อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ลิ้น
    ย่อมเบื่อหน่าย รสทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น
    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ลิ้นได้ลิ้มรสที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงลิ้นและรสทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน


    กายัสสะมิงปิ นิพพินทะติ
    โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ
    กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
    ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ

    อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย กาย
    ย่อมเบื่อหน่าย สิ่งที่มาถูกต้องสัมผัสกาย
    ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น
    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่กายได้สัมผัสกับสิ่งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจหรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงกายและสิ่งที่มาสัมผัสกายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน


    มะนัสสะมิงปิ นิพพินทะติ
    ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ
    มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ
    มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
    ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
    สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ

    อริยสาวกเหล่านั้นย่อมเบื่อหน่าย ใจที่มีความอยาก
    ย่อมเบื่อหน่าย ความคิดเรื่องราวต่างๆ
    ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อใจรู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น
    ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ใจมีอารมณ์ชอบคิดในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงใจที่มีความอยากและความคิดเรื่องราวต่าง ๆ อีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน


    นิพพินทัง วิรัชชะติ
    วิราคา วิมุจจะติ
    วิมุตตัสสะมิง วิมุตตะมีติ ญานัง โหติ ขีณา ชาติ
    วุสิตัง พรัหมะจะริยัง
    กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ

    เมื่ออริยสาวกเหล่านั้น มีความเบื่อหน่ายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่คิดยินดีอยู่ในสิ่งเหล่านั้นอีก ฯ
    เพราะไม่คิดยินดีอยู่ในสิ่งเหล่านั้น จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ฯ
    เมื่อจิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายแล้ว ก็มีความรู้สึกทราบชัดแน่นอนว่า หมดสิ้นความเกิดแล้ว ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปแล้ว เป็นการอยู่ในพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์หมดจดดีแล้ว กิจจะต้องทำคือการตัดกิเลส ก็ได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสอย่างนี้ ก็ไม่มีอีกแล้ว ฯ


    อิทะมะโวจะ ภะคะวา
    อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง
    อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน
    ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ

    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อนอย่างนี้แล้ว ฯ
    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพทุธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ
    ก็ในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารของธรรม อันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อนอยู่นั่นแล
    จิตของภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ก็หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ไม่คิดยินดี ไม่คิดอยากจะเกาะติดอยู่ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์คิดถึงเรื่องราวต่างๆ นั้นอีกต่อไปแล ฯ
     
  13. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    มหาโมทนาค่ะ ลองสวดตามไฟล์เสียงแล้ว พบว่า "หายใจไม่ทัน" T^T
     
  14. jaae222

    jaae222 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +38
    มหาโมทนา ครับ(Verygood)(Verygood)(Verygood)

    อ่านแบบนี้ก็พอเข้าใจ คิดแล้วก็ยิ่งกระจ่างใจ
    แต่ทำไมเวลาทำยากซะเหลือเกิน
     
  15. รัก_jongjarern

    รัก_jongjarern เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +103
  16. นิลขาว

    นิลขาว ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,095
    ค่าพลัง:
    +961
  17. ppf

    ppf สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +1
    สาธุ สุขีอัตตานัง ปริหรันตุ
     
  18. โพธิวิถี

    โพธิวิถี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    150
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +580
    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว งดงามในเบื้องต้น งดงามท่ามกลาง และงดงามในที่สุดรอบ ข้าพเจ้าอภิวาทพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรม

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนาเจ้าของกระทู้ ขอให้เจริญในธรรมถึงที่สุดแห่งธรรมโดยง่าย
     
  19. nachabhol

    nachabhol สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +27
    ຂໍອະນຸໂມທະນາ ສາທຸ
     
  20. totooom

    totooom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +14
    อนุโมทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...