เรื่องเด่น นายกฯศรีลังกายินดี!รัฐลาดักห์รัฐแรกอินเดียประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 8 สิงหาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    e0b8a3e0b8b5e0b8a5e0b8b1e0b887e0b881e0b8b2e0b8a2e0b8b4e0b899e0b894e0b8b5e0b8a3e0b8b1e0b890e0b8a5.jpg

    วันที่ 8 ส.ค.2562 สำนักข่าว DNAINDIA.COM ได้รายงานว่า นายรานิล วิกรมสิงเห นายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีที่รัฐลาดักกลายเป็นรัฐแรกของอินเดียที่จะมีชาวพุทธเป็นประชากรส่วนใหญ่ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 รัฐบาลอินเดียประกาศจัดตั้งลาดักเป็นดินแดนสหภาพแยกจากรัฐชัมมูและกัศมีร์

    ทั้งนี้ข้อมูลจากเว็บจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี รายงานว่า ลาดัก (ลาดัก/บัลติ: ལ་དྭགས; ฮินดี: लद्दाख़; อูรดู: لدّاخ‬‎) หรือ ทิเบตน้อย (อังกฤษ: Little Tibet) เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย ปัจจุบันครอบคลุมตั้งแต่ธารน้ำแข็งเซียเชนของเทือกเขาการาโกรัมไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยทางตอนใต้ ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายอินโด-อารยันและทิเบต ที่นี่เป็นภูมิภาคที่มีประชากรเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ แต่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับทิเบต ลาดักมีชื่อเสียงด้านความสวยงามแห่งขุนเขาและวัฒนธรรมพื้นเมือง

    เดิมลาดักรวมอยู่กับบัลติสถาน (ปัจจุบันขึ้นกับประเทศปากีสถาน) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนบนของหุบเขาสินธุ ทางใต้ติดเมืองซันสการ์และลาเหาล์และสปีติ ทางตะวันออกติดจังหวัดงารีในเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับอักไสชิน (ยาวไปตามเทือกเขาคุนหลุน) ทางตอนเหนือติดกับหุบเขานูบราผ่านช่องเขาคาร์ดุง ส่วนทิศตะวันตกติดกับชัมมู, กัศมีร์ และบัลติสถาน

    ส่วนดินแดนอักไสชินเป็นแดนพิพาทระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน โดยจีนให้อักไสชินขึ้นกับเทศมณฑลโฮตันในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ขณะที่อินเดียให้อักไสชินขึ้นกับลาดักของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ก่อให้เกิดความขัดแย้งเป็นสงครามระยะสั้นเมื่อ ค.ศ. 1962 เพราะทั้งสองต่างอ้างสิทธิเหนือดินแดนอักไสชินและอรุณาจัลประเทศ กระทั่งใน ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 1996 ทั้งสองประเทศลงนามเพื่อกำหนดเส้นควบคุมแท้จริง

    ในอดีตลาดักมีความสำคัญเพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์โดดเด่นและเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญ ทว่าในกาลต่อมาทางการจีนได้ประกาศปิดพรมแดนทิเบตกับเอเชียกลางช่วงปี ค.ศ. 1960 ทำให้การค้าและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศถดถอย กระทั่ง ค.ศ. 1974 รัฐบาลอินเดียได้ให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวในลาดักจนประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็เพราะลาดักตั้งอยู่ในรัฐชัมมูและกัศมีร์อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกองทัพอินเดีย

    ลาดักมีเมืองใหญ่อยู่สองเมืองคือเลห์และการ์คิล รัฐบาลรัฐชัมมูและกัศมีร์ก่อตั้งหน่วยการบริหารขึ้นต่างหากแยกจากหน่วยการบริหารกัศมีร์ โดยมีที่ทำการใหญ่ในเลห์[10] จากการสำรวจสำมะโนครัวใน ค.ศ. 2011 ประชากรส่วนใหญ่ในลาดักนับถือศาสนาอิสลาม (โดยมากเป็นชีอะฮ์) ร้อยละ 46.4 รองลงมาคือศาสนาพุทธแบบทิเบตร้อยละ 39.7, ศาสนาฮินดูร้อยละ 12.1 มีนักเคลื่อนไหวในลาดักเรียกร้องให้ลาดักมีสถานะเป็นดินแดนสหภาพแยกออกจากรัฐชัมมูและกัศมีร์ ด้วยเห็นว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากกัศมีร์ รวมทั้งลาดักเองก็มีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากมุสลิมในกัศมีร์ แต่ทว่าประชาชนในการ์คิลซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมได้ออกมาต่อต้านการยกลาดักขึ้นเป็นดินแดนสหภาพ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/159513
     

แชร์หน้านี้

Loading...