ทำยังไงจึงจะฝึกภาวนาได้โดยไม่มีความอยากนำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จอมมารหิมะขาว, 12 ตุลาคม 2017.

  1. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    อยากสอบถามทุกท่านครับ ว่าจะฝึกยังไงให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีความอยากนำ หรือบังคับจิต เพราะไม่ว่าจะฝึกยังไง วางใจให้กลางๆ แต่ผมก็รู้สึกถึงความอยากบางๆในการฝึกทุกครั้งอยู่ดี

    แม้ในระหว่างวันผมก็เห็นการอยากเข้าไปแทรกแซงกริยาจิตอยู่แว่บนึง ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี (กริยาจิตทางลบจะเห็นชัดกว่า)

    ผมรู้ว่าจิตที่ฝึกมาดีแล้ว นำมาใช้งานได้ แต่อีกด้านมันก็เป็นการสร้างภพชาติ หรือวิบากทางจิตไปในตัว ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ตามที่ ปรารภเนี่ยะ เข้าไปกำหนดรู้ ความอยากปฏิบัติแล้ว

    ก็ พิจารณาไปตามความเป็นจริง อยากปฏิบัติก็ ให้กำหนดรู้เข้ามาตรงๆ

    เผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้

    ทีนี้ เวลากำหนดรู้ โลภะมูลจิต ทันแล้ว ตัวต่อไปที่ จิตจะนำออก
    มากให้ กำหนดรู้ต่อคือ ความเคืองใจ ความโสมนัส โทมนัส

    อาการกระปอดกระแปด จะภาวนายังไง จะภาวนายังไง ก็นี่แหละ
    กำหนดรู้ โทษะมูลจิต อาการที่เป็นเรื่อง ความเร็ว ความไว ความยิ๊บ
    แย๊บปฏิภาณ

    แถม

    พอกำหนดรู้ ความโสมนัส โทมนัส จะกินไวไว ลำดับความละเอียด
    ที่จะเอามากำหนดรู้ ให้ไว แต่ไม่รีบ ไม่เพียร ไม่พัก จะเป็น โมหะมูลจิต

    ลองเอาไปดูนะ มันมาเป็นชุด

    วรรคแรกที่คุณ จำแนกแสดงออกมา ตรงนั้น โลภะมูลจิต กำหนดรู้อยู่

    วรรคสองที่คุณเกริ่นอีก ตรงนี้เป็น กลุ่มโทษะมูลจิต

    วรรคสุดท้ายที่ตบสรบจุป ตรงนี้เป็นเรื่องโมหะมูจิต

    ให้กำหนดรู้ ความเกิด ความดับ การส่งต่อของ อกุศลมูลจิต3

    จะจงใจ หรือ ไม่จงใจ จะเป็นเรื่อง คนมีความพากเพียร
    จะบริหาร ให้สมควรแก่ธรรม สามัญผลที่สมควรแก่การใช้สอน
    ผู้อื่นให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน หากมี ก็จะปรากฏ แต่ถ้า ไม่มี
    เหตุให้ต้องใช้นำใครเข้ามรรคผล แล้วไปเที่ยวแสดง ก็ ปิดนิพพาน
    สถาณเดียว เว้นแต่จะข้ามห้วยไปแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความอยาก มี ๒ อย่าง คือ ๑. ความอยากทำในสิ่งที่ดีงาม (เรียก กุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ) ๒. อยากในทางไม่ดี (เรียก ตัณหาฉันทะ)

    อยากปฏิบัติธรรม อยากเอาธรรมมาปฏิบัติ อยากทำกรรมฐาน อยากนั่งทำสมาธิ อยากเดินจงกรม เป็นต้น นี่เรียกธรรมฉันทะ (ความอยากในทางที่ดีงาม)
     
  4. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,962
    ค่าพลัง:
    +1,481
    มรรคมีองค์ 8
     
  5. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,962
    ค่าพลัง:
    +1,481
    ทำตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งนั้นแล้วความ...อะไรมันจึงไม่ใช่เหตุผลจะมาถาม
     
  6. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,962
    ค่าพลัง:
    +1,481
    อย่าคิดเยอะ....ถึงไม่ใช่ก็ยอมรับมันสิว่าเรายังไม่ได้ทำตนเองมาอยู่ในตำแหน่งนั้น พิจารณาสิแล้วตอนนี้เราอยู่ตำแหน่งไหนอย่าเพ้อเจ้อเหมือนกับอีกหลายคนเวลาที่มีน้อยจะมีค่ามากและมากมาย....กลับลงที่นั่นคือปัจจุบันแต่พิจารณาเอาเพราะมันเป็นสิ่งเดียวกันในวิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิธีใช้ทั้งทางโลกอละทางธรรม
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    อย่าไปคาดหวังอะไร และที่สำคัญคือ
    อย่าไปตั้งใจครับ การตั้งใจไม่ใช่ไม่ดี
    แต่ว่ามันจะเป็นการปิดกั้นตัวเราเอง
    คือปิดกันใจเรานั่นหละครับ
    ให้เปลี่ยนมาเจริญสติแทน
    เพื่อเอาตัวนี้ เข้าไปควบคุมพฤิตกรรมความคิด
    ควบคุมพฤติกรรมของจิต
    ให้จิตค่อยๆละ ค่อยๆคลาย ความคิดอยากเหล่านั้นครับ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คนจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

    ถ้าไม่ตั้งใจทำ ก็เลิกเถอะครับ คิกๆๆ ชาตินี้ต่อให้ทำฮานทำการอะไรอื่นก็ไม่สำเร็จ ไปไม่รอด เพราะไม่ตั้งใจทำ เหยียบขี้ไก่ไม่ฟ่อ

    ขว้าง วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ทิ้งไปเลย
     
  9. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อย่าได้กังวลไปเลยครับ ขอยก โอวาทปาติโมกข์

    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

    ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
    ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
    ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ
    กุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํ
    เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ

    การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
    การบำเพ็ญแต่ความดี 1
    การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    อนูปวาโท อนูปฆาโต
    ปาติโมกฺเข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
    ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค
    เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

    การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
    ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
    ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
    ที่นั่งนอนอันสงัด 1
    ความเพียรในอธิจิต 1
    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    และขอยกอีกอย่างให้พิจารณานะครับ

    ในสัมมาทิฏฐิสูตร พระสารีบุตรอธิบายนัยะของสัมมาทิฐิไว้ ดังนี้

    1. รู้ชัดอกุศลและรากเหง้าแห่งอกุศล และรู้ชัดกุศลและรากเหง้าแห่งกุศล
      อกุศล คืออกุศลกรรมบถ 10 รากเหง้าของอกุศล คือโลภะ โทสะ โมหะ
    2. รู้ชัดอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาหาร
      อาหารคือ อาหาร ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ เหตุแห่งอาหาร คือ ตัณหา
      ความดับแห่งอาหาร การดับตัณหา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาหาร คือ มรรคมีองค์แปด
    3. รู้ชัดทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
      ทุกข์คือ การเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา
      ความดับแห่งทุกข์ การดับตัณหา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์แปด
    4. รู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
      เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ คือ การเกิด ความดับแห่งชราและมรณะ คือ การดับความเกิด ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ คือ มรรคมีองค์แปด
    5. รู้ชัดชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติ
      เหตุเกิดแห่งชาติ คือ ภพ ความดับแห่งชาติ คือ การดับภพ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติ คือ มรรคมีองค์แปด
    6. รู้ชัดภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ
      เหตุเกิดแห่งภพ คือ อุปาทาน ความดับแห่งภพ การดับอุปาทาน และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คือ มรรคมีองค์แปด
    7. รู้ชัดอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน
      เหตุเกิดแห่งอุปาทาน คือ ตัณหา ความดับแห่งอุปาทาน คือ การดับตัณหา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คือ มรรคมีองค์แปด
    8. รู้ชัดตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหา
      เหตุเกิดแห่งตัณหา คือ เวทนา ความดับแห่งตัณหา คือ การดับเวทนา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหา คือ มรรคมีองค์แปด
    9. รู้ชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา
    10. รู้ชัดผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะ
    11. รู้ชัดอายตนะ 6 ประการ เหตุเกิดแห่งอายตนะ 6 ประการ ความดับแห่งอายตนะ 6 ประการ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอายตนะ 6 ประการ
    12. รู้ชัดนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูป
    13. รู้ชัดวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
    14. รู้ชัดสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร
    15. รู้ชัดอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับแห่งอวิชชา และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอวิชชา
    16. รู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ
    ยกมาสองอย่างเพื่อให้พิจารณา สัมมาทิฏฐิ ทำให้ความ กังวลหายไปได้ครับ การู้ชัดคือรู้เหตุรู้ผล รู้เหตุชัดเช่นไรผลก้เช่นกันครับหวังว่าความกังวลนั้นจะหายไปนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2017
  10. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    ตอบ
    1. ใช้ความอยากเพื่อละความอยาก เช่นมี พระคุณเจ้าบางท่าน ท่านกล่าวแต่ก่อนท่านอยากเป็นพระอรหันต์ ท่านทำความเพียรเร่งปฏิบัติ ผ่านไปหลายปี แต่ปัจจุบันนี้ท่านไม่อยากเป็นแล้ว
    2. จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้, สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี

    ...อนุโมทนาบุญ...
     
  11. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณ คุณนิวรณ์ คุณมาจากดิน คุณkenny2 คุณnopphakan คุณสมิง สมิง สมิง คุณงูๆปลาๆ มากครับที่มาร่วมแนะนำ

    ส่วนตัวผมมองว่า ถ้าจิตเรายังไม่มีความเป็นกลางด้วยตัวมันเอง ที่ไม่เกิดจากการไปบังคับ กดทับ แทรกแซง ผมคงก้าวต่อไปเรื่องปัญญายาก เพราะมันจะกลายเป็นคิดนึก วิเคราะห์ แทนที่่จะเป็นการเห็นตามความเป็นจริง แต่การจะเป็นกลางคงไม่สามารถไปเร่งรัดด้วยตัวเอง ต้องเกิดจากการเดินแฉล่บไปทางซ้ายที ขวาที จนจิตมันเริ่มเรียนรู้ได้เอง

    ปัญหาที่ผมคาใจคือ ผมรู้สึกว่าถ้าผมหยุดการแสวงหา หยุดดิ้นรน หยุดการเข้าไปกระทำ หยุดดัดแปลงจิต จะทำให้จิตมันเป็นกลางมากขึ้นหรือไม่ อยากให้ทุกท่านแลกเปลี่ยนความเข้าใจของผมจุดนี้ ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่

    สมัยก่อนผมเคยฝึกสมาธิทุกวันจนจิตมีแต่ความเฉย ไม่หือ ไม่อือกับอารมณ์ อะไรกระทบก็เฉย นิ่งไปหมด ระหว่างวันในหัวก็เงียบ ว่างๆ ไม่มีอะไร สติทันอาการผิดปกติไปจากว่าง ตัดเลย (แต่ไม่ทุกเรื่องนะครับ เรื่องละเอียดๆ หรือเรื่องเล็กๆน้อยๆที่รวมเป็นก้อนเดียวกับจิต ยังไม่ทันบ้าง แต่เรื่องหยาบๆนี่โอเค) เห็นสภาวะนู่นนี่นั่นเยอะไปหมด แต่การพัฒนาปัญญาไม่เกิด จนเริ่มเอะใจ และใช้เวลาเป็นปีแก้ไขอาการติดสภาวะนิ่ง ว่างแบบนี้ จนกลับมามีจิตปกติ เลยอยากจะขอคำแนะนำว่า ผมควรไปต่อยังไง
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ให้มาสังเกตุเพิ่มเติมว่า เหตุเกิดเพราะอะไร อย่าพึ่งไปดับนะครับ
    (ส่วนมากเราจะรู้ตอนที่มันเกิดแล้ว และก็ไม่ได้ปรุง)
    และเกิดตอนไหน(หาให้เจอ)
    และให้มาสังเกตุว่า มันดับไปตอนไหน
    (ส่วนมากเราจะลืมว่ามันดับไปตอนไหน เพราะไปเรื่องอื่นแล้ว)
    และให้มาสังเกตุอีกว่า มันดับเพราะอะไร
    (ส่วนมากเราแค่รุ้สึกลืมๆเรื่องนั้นไปแล้ว จะไม่ทันว่ามันดับไป)
    แล้วก่อนจะหลับตานอน และลืมตาก่อนตื่นนอน
    ให้มาพิจารณาว่า เราพลาดเพราะอะไร พลาดตรงไหนที่ผ่านมา
    จะย้อนให้รู้ ถึงเหตุที่เกิดเพราะอะไร เวลาที่เหตุเกิดตอนไหน
    ย้อนรู้ดับเพราะอะไร ย้อนรู้ว่าดับไปตอนไหน
    มันถึงจะเริ่มเป็นปัญญาญานขึ้นมาได้ครับ
    ตรงนี้จะต่างกับปัญญาทางธรรมตรงที่
    ปัญญาทางธรรมนั้น แม้เราวางได้เร็ว
    จนรู้สึกว่าเรื่องนั้นเฉยๆ แต่พอเวลาผ่านไป
    เรื่องแบบนั้นก็กลับเกิดขึ้นมาได้อีก....
    แต่ปัญญาทางธรรม ถ้ามีเกิดขึ้นแล้ว
    เรื่องนั้น มันจะไม่ผุดขึ้นมาอีก
    ในอนาคตนั่นเองครับ
    นี่คือ ขั้นต่อไป ลองไปสังเกตุเพิ่มเติม
    ดูด้วยตัวเองนะครับ.....

    แล้วจะเข้าใจได้เองว่า กิริยาคลายตัวเองได้ของจิต
    โดยที่ไม่ต้องใช้วิธีการใดๆไปกระทำให้คลายตัว
    ในระหว่างวันนั้น เป็นอย่างไร ต่างจาก
    การใช้กำลังสมาธิข่มอย่างไร
    ได้ด้วยตัวเราเองต่อไปข้างหน้าครับ
     
  13. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +952
    ส่วนตัวผมมองว่า ถ้าจิตเรายังไม่มีความเป็นกลางด้วยตัวมันเอง ที่ไม่เกิดจากการไปบังคับ กดทับ แทรกแซง ผมคงก้าวต่อไปเรื่องปัญญายาก เพราะมันจะกลายเป็นคิดนึก วิเคราะห์ แทนที่่จะเป็นการเห็นตามความเป็นจริง แต่การจะเป็นกลางคงไม่สามารถไปเร่งรัดด้วยตัวเอง ต้องเกิดจากการเดินแฉล่บไปทางซ้ายที ขวาที จนจิตมันเริ่มเรียนรู้ได้เอง

    ตอบ การที่จิตจะเป็นกลางได้ต้องใช้เวลา ครับ (ค่อย ๆ ทำไป)

    ปัญหาที่ผมคาใจคือ ผมรู้สึกว่าถ้าผมหยุดการแสวงหา หยุดดิ้นรน หยุดการเข้าไปกระทำ หยุดดัดแปลงจิต จะทำให้จิตมันเป็นกลางมากขึ้นหรือไม่ อยากให้ทุกท่านแลกเปลี่ยนความเข้าใจของผมจุดนี้ ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่

    ตอบ อยากทำให้จิต เป็นกลางมากขึ้น (อย่าลืมจิตต้องมีกำลัง)
    1. ปกติ คือ เป็นธรรมชาติ อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด (กิเลส) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    2. ปัจจุบัน คือ เป็นปัจจุบันขณะ ไม่เอาเรื่องที่เกิดก่อนนี้ หรือเป็นเมื่อวานนี้มาพิจารณา
    3. ปล่อยวาง เป็นกลางทางด้านอารมณ์ ไม่ยึด กดข่ม บังคับใด ๆ (เห็นสภาพตามความเป็นจริง)
    ...เชื่อว่า ๓ อย่างนี้ เมื่อทำให้มาก ๆ สติ ปัญญา จะเกิดขึ้นมากอย่างแน่นอน และเมื่อสติปัญญาเกิดขึ้นมากความเป็นกลางวางเฉย ก็จะค่อย ๆ เกิดตามมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน
    จนมีกำลังสามารถตัดกิเลสได้


    สมัยก่อนผมเคยฝึกสมาธิทุกวันจนจิตมีแต่ความเฉย ไม่หือ ไม่อือกับอารมณ์ อะไรกระทบก็เฉย นิ่งไปหมด ระหว่างวันในหัวก็เงียบ ว่างๆ ไม่มีอะไร สติทันอาการผิดปกติไปจากว่าง ตัดเลย (แต่ไม่ทุกเรื่องนะครับ เรื่องละเอียดๆ หรือเรื่องเล็กๆน้อยๆที่รวมเป็นก้อนเดียวกับจิต ยังไม่ทันบ้าง แต่เรื่องหยาบๆนี่โอเค) เห็นสภาวะนู่นนี่นั่นเยอะไปหมด แต่การพัฒนาปัญญาไม่เกิด จนเริ่มเอะใจ และใช้เวลาเป็นปีแก้ไขอาการติดสภาวะนิ่ง ว่างแบบนี้ จนกลับมามีจิตปกติ เลยอยากจะขอคำแนะนำว่า ผมควรไปต่อยังไง

    ตอบ สมาธิที่ใช้ในการปฏิบัติ (กำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ลงในกฎของไตรลักษณ์)
    1. ขั้นฌาน (จิตมีกำลัง) ถอยอารมณ์ออกมาอยู่ที่อุปจาระสมาธิ มารู้อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด (ธรรมารมณ์) ที่มากระทบใจ หรือ กิเลสที่เกิดขึิ้น เห็นความเป็นจริงในไตรลักษณ์ และต้องเป็น ปกติ ปัจจุบัน และ ปล่อยวาง
    2. อุปจาระสมาธิ มารู้อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด (ธรรมารมณ์) ที่มากระทบใจ หรือ กิเลสที่เกิดขึิ้น เห็นความเป็นจริงในไตรลักษณ์ และต้องเป็น ปกติ ปัจจุบัน และ ปล่อยวาง
    3. ขณิกะสมาธิ หรือสมาธิแบบธรรมชาติ ต้องเข้าใจสภาวะธรรม อย่างมาก รูปนาม มารู้อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด (ธรรมารมณ์) ที่มากระทบใจ หรือ กิเลสที่เกิดขึิ้น เห็นความเป็นจริงในไตรลักษณ์ และต้องเป็น ปกติ ปัจจุบัน และ ปล่อยวาง

    ...อนุโมทนาบุญ...
     
  14. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ส่วนแรกนิวรณ์ยังบดบังคุณอยุ่ ส่วนที่สองคุณต้องทำให้เกิดความเป็นวสีระหว่างการเข้าออกสมาธิหรือการคงสมาธิไว้และออกจาดสมาธิโดยสิ้นเชิง ทั้งสองส่วนจะรวมตัวกันเละเผยส่วนแรกให้กระจ่างครับ พิจารณาความคาดหวัง ผลของการคาดหวัง อย่าไห้มีสิ่งที่หวังไว้ ปล่อยให้ผลเป็นในสิ่งที่เป็นจริงๆ
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ คุณใช้คำว่า "กิริยาจิต" ในการโพสท์ของคุณ ดังนั้น คุณน่าจะรู้จัก "กิริยาอาการของจิต" เป็นอย่างดี เรียบร้อยแล้ว

    +++ ดังนั้น "จะฝึกยังไงให้เป็นไปตามธรรมชาติ" ตรงตามประโยคนี้ ทำได้อย่างเดียว คือ "รู้ กิริยาจิต จน ได้นิสัย" ประการเดียว เท่านั้น
    +++ 1. "ความอยากบางๆ" นั้นจะ "เกิดขึ้นก่อนเสมอ"
    +++ 2. ตรงนี้ "ก่อให้เกิด อาการ เกร็งตัวทางจิต (อย่างบาง ๆ)" ต่อจากนั้น
    +++ 3. ความเป็น "ตน" หรือ "อัตตาจิต" จึงเกิดขึ้นมา "ท่ามกลาง อาการเกร็งนั้น" ตามมาด้วย
    +++ 4. การ "ส่งออก (ดู)" ของอัตตาจิต ไปยังความอยากนั้น ๆ
    +++ 5. ณ ขณะที่ อัตตา ทำการ "จิตส่งออก" อากัปกิริยาอาการที่เรียกว่า "กิริยาจิต" จึงเกิดขึ้น

    +++ หากคุณ "รู้" "กิริยาอาการของจิต" ตามความหมายของ "สายพระป่า หลวงปู่มั่น" ตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการ "เห็น" กิริยาอาการของจิตตามความเป็นจริง (รู้จนกลายเป็นเห็น - ญาณทัศนะ)
    +++ แน่ใจหรือว่า "กิริยาจิต" ตามความเป็นจริงนั้น สามารถแทรกแซงได้ คุณจะเอาอะไรไป แทรกแซงตรง ๆ ที่ กิริยาจิต โดยไม่เกิด "กิริยา ซ้อน กิริยา" ของจิต
    +++ "จิตที่ฝึกมาดีแล้ว ย่อม นำสุขมาให้" และ "ใช้งานได้" ตรงนี้ "ถูกต้อง ตามความเป็นจริง"

    +++ ส่วนคำถาม "แต่อีกด้านมันก็เป็นการสร้างภพชาติ หรือวิบากทางจิตไปในตัว" ตรงนี้ ขอบอกตามตรงว่า
    +++ ผู้ถาม "ยังไม่รู้จัก กิริยาจิต" ตามความเป็นจริง คำถามแบบนี้จึงเกิดขึ้นมาได้

    +++ หากผู้ถาม รู้จัก "กิริยาจิต" ตามนัยยะ ในการโพสท์ของผู้ถามแล้ว
    +++ ผู้ถามย่อม "รู้" ว่า ในยามที่ "การเกร็งตัวทางจิต" ไม่เกิด
    +++ "กิริยาจิต" ย่อมไม่สามารถที่จะ เกิด ขึ้นมาได้เลย

    +++ ในยามที่ "ไร้ กิริยาจิต และ ความเกร็งตัวของจิต" ภพชาติ รวมทั้ง วิบากทางจิต จะเป็น "โมฆะกรรม" ทั้งหมด
    +++ หากผู้ถาม รู้จัก "กิริยาจิต" อยู่บ้าง ก็ควรที่จะ "ทำความรู้จัก และ คุ้นเคยกับ อาการเกร็งตัวทางจิต" ที่เป็น "แดนเกิดของ กิริยาจิต"

    +++ ส่วนคำถามว่า "จะฝึกยังไง" ในระดับนี้ นั้น
    +++ คำตอบก็มีเพียงแค่ "รู้" อาการที่ "กลุ่มหมอกฝ้า เริ่ม กระจุกตัวเข้ามา กลายมาเป็น อาการเกร็งตัว ก่อนที่ อัตตา จะกำเนิด"
    +++ จากนั้น "ฝึก" ทำความคุ้นเคยในการ "สลาย จางคลาย กลุ่มหมอกฝ้านั้น ๆ"
    +++ จนกว่า "มันจะเกิดก็ตาม มันจะดับก็ตาม" ทั้งหมด มันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับคุณเลย

    +++ ขอให้ มีความเจริญรุดหน้าในทางธรรม จนพ้นออกมาจาก "วงจร เกิด/ดับ" ได้ในชาตินี้ นะครับ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตอบรวมวิธีทำ ไว้แล้วใน "โพสท์ก่อนหน้านี้" นะครับ
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ปัญญา เดินแล้วนี่ !!

    ถ้าสามารถพูดออกมาได้ว่า " ตนติดนิ่ง " อันนี้ ปัญญาเดินแล้ว

    ปัญญา ถ้าเดินแล้ว ไม่เผลอเพลิน " นิกันติ " ในความ นิ่ง ที่อกุศลไม่เกิด
    ก็กลับไป ทำสมถะ กองเดิมที่ใช้อยู่ ต่อไปเลย

    เวลาทำ สมถะ มันจะต้องเกิด สภาวะติดนิ่ง อกุศลไม่เกิด ......นี่เป็น สภาวะธรรมหนึ่ง
    เสร็จแล้ว ก็มีปัญญาอันยิ่ง ที่จะไม่เอา " เฉยโง่ " ....จนเห็ย สภาวะติดนิ่งมันดับ

    ติดเฉยเกิด เพราะ ทำสมถะ
    ติดเฉยดับ เพราะ เหตุในการทำสมถะ .....มันดับ ( ห้ามจงใจดับ ห้ามเอากิเลส
    มาง้าง แต่ อารมณ์สมถะมันเติมลงต่อไม่ได้ มันอิ่ม มันจะดับของมันเอง )

    สมถะดับแล้ว ถ้า โง่บาทโซะ จะหยุดทำสมถะ ....เดี๋ยวเถอะ.......

    ดังนั้น ติดเฉยจะเกิด ติดเฉยจะดับ อย่าหยุดทำ สมถะ กองนั้น ต้องมีวิหาร
    ธรรมไปเรื่อยๆ

    ถ้า สมถะ หยุด เพราะ กิจกรรม หน้าที่ทางโลก ....อันนี้ ไม่เอานะ

    ถ้า เวลาทำกิจ เดิน ยืน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทำกิจในโลก แล้ว อ้าง
    เป็นเวลาที่ทำสมถะ ไม่ได้ อันนี้ แปลว่า ขี้โม้ !!

    ที่พระพุทธองค์ตรัส เหตุเกิด ผลเกิด เหตุดับ ผลดับ พระพุทธองค์
    หมายเอา กองกุศลมันดับ พอหยุดสมถะ ....เดี๋ยวเถอะ............

    นะ

    ปัญญาเดินแล้ว การสดับธรรมนี่ เพียงพอแล้ว ปริยัติเต็มแล้ว จึงสมามารถ
    ปรารภถึง "การติดนิ่ง" เป็น สภาวะขวางนิพพาน

    ยกสังเกต "สภาะติดนิ่ง" เกิด แล้วก็ ดับ เอามาเป็น อุบายห่างข้าศึก ภาวนา
    เพื่อย้อนไปหา ตัวต้นตอ ตัวภาชนะ .......

    ถ้า สมามารถเห็น สภาวะติดนิ่งมันดับ โดยไม่จงใจหยุดสมถะ ได้ มันถึงจะรู้ชัด

    ว่า อะไรมันดับ

    คราวนี้ไม่ใช่ เหตุ คือ วิหารธรรม หรือ การหยุดประกอบสมถะ แล้วนะ จะต้อง
    สวนกระแสไปเห็น มหาเหตุ ..........

    พอเห็น มหาเหตุ ดับ ได้นี่ ปัญญาแท้ๆ ถึงจะเดิน .....

    ปัญญาเดิน เนี่ยะ จะไม่อยู่ในภพ ไม่อาศัยในภพ แต่ก็เห็น ภพนั่นแหละดับ

    พอจิตเป็นกลางต่อการปรากฏของ จิต เกิดดับ ก็เล่นไปสิ ภพไหน โคจรได้
    บ้าง โคจรแล้วติดเฉยชนิดนั้น ชนิดนี้ ก็ว่ากันต่อ .......จะเห็นธรรม "ความไม่ประมาท"

    พอเห็นธรรม "ความไม่ประมาท" ชัดๆ คราวเนี่ยะ จะไม่ถามคนอื่นแล้ว เพราะ
    ตัวเอง ตรวจจับซักฟอกตัวเองได้ มีความเป็นกลางโดยธรรม ไม่มี อัสมิมานะ
    ย้อมจิต .....เป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง สติ จะบริสุทธิเพราะมี อุเบกขา นั้น

    ภาวนาต่อไปอีก .......ยังลูกผีลูกคน แต่จะไม่ถามแล้วว่า ภาวนายังไงต่อ

    ถ้ายังต้องถามว่า "แล้วไงต่อ" ก็กลับไปพิจารณา "ความประมาท" ตรวจสอบตัวเองเอาเอง

    ทำแบบนี้ก็จะ อ๋อ ปัญญาอันยิ่งเอง เนี่ยะ มีหรือไม่มี ถ้ามี ก็พอจะ เอะใจ

    เอะใจ

    เอะใจ

    เอะใจ

    น้อมไป ถ้าไม่น้อมไป เอะใจแล้วไม่น้อมไป จะไปโทษใคร หละ ไม่มีใครเขา
    ช่วยถีบเข้า รูเข็ม หลอกนะฮับ

    ฮิวววววววววววววววส์

    เอะใจ เป็นแล้ว จะถามอะไร ภาวนาไปสิ
     
  18. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ฝึกไปเรื่อย ๆ ครับ ฝึกไปนาน ๆ จนมันไม่ได้เห็นสักที สุดท้ายก็สักแต่ว่าทำไปเอง ความอยากนำจะค่อย ๆ หายไป พอความอยากหมด ก็เลิกทำไปเอง
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    image-3507_59E309C5.jpg
     
  20. จอมมารหิมะขาว

    จอมมารหิมะขาว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากครับ

    โอ้ จริงเลยครับ ผมนี่ไม่เคยสังเกตเลยว่ามันดับไปตอนไหน หรือดับเพราะอะไร แค่รู้ว่ามันมีอะไรไม่ปกติ สติมันก็ตัดชัวะเลยครับ บางทีแค่มันไหวๆ กระเพื่อมๆ ยังไม่ทันปรุงเลยว่ามันเรื่องอะไร สติก็ตัดแล้วครับ ต่อไปจะลองเพิ่มการสังเกตุตามที่คุณ nopphakan แนะนำนะครับ รวมถึงลองย้อนดูก่อนนอนและตื่นนอนด้วยครับ ขอบคุณมากเลยครับ

    ส่วนกริยาคลายตัวของจิตนี่คืออะไรหรือคับ ใช่การวางโดยที่จิตเค้าไม่เอาเองใช่หรือเปล่าครับ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...