ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ความเสี่ยง 'เศรษฐกิจโลก' ที่ต้องระวัง
    26 พฤษภาคม 2563 | โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร | คอลัมน์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต

    การที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส ถือเป็นภาวะถดถอยทางเศรษฐิจ หรือ Recession ดังนั้นชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกขณะนี้กำลังอยู่ในภาวะถดถอย คำถามคือ ภาวะถดถอยนี้จะนานแค่ไหน และจะแย่กว่านี้หรือไม่ในช่วงครึ่งหลังของปี
    ช่วงนี้ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 เริ่มมีการรายงานออกมาจากประเทศต่างๆ ซึ่งตัวเลขชี้ให้เห็นชัดเจนถึงผลกระทบที่รุนแรงของวิกฤติโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจทั่วโลก การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ในทุกประเทศอุตสาหกรรมหลักออกมาติดลบ เช่น สหรัฐ -4.8% กลุ่มสหภาพยุโรป -3.8% อังกฤษ -2.2% เท่ากับเยอรมนี อิตาลี -4.7% และหนักสุดฝรั่งเศส -5.8% สำหรับเอเชีย การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนไตรมาสแรก -6.8% ญี่ปุ่น -3.4% และไทยที่เพิ่งประกาศตัวเลขอาทิตย์ที่แล้ว -1.8%

    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของปี และช่วงไตรมาส 2 คือเดือน เม.ย.-มิ.ย. การหดตัวของเศรษฐกิจคงจะมีมากขึ้น จากมาตรการล็อกดาวน์เศรษฐกิจที่เกือบทุกประเทศใช้ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะติดลบมากกว่าไตรมาส 1 ในทุกประเทศ และการที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส ถือเป็นภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือ Recession ดังนั้นชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกขณะนี้กำลังอยู่ในภาวะถดถอย คำถามคือ ภาวะถดถอยนี้จะนานแค่ไหน และจะแย่กว่านี้หรือไม่ในช่วงครึ่งหลังของปี

    อาทิตย์ที่แล้ว กรรมการผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ ให้สัมภาษณ์ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาจากหลายประเทศชี้ว่าผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกนั้น รุนแรงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้จะออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม คืออาจติดลบถึง 3% ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกปีหน้ามีความไม่แน่นอน และอาจลากยาวกว่าที่ประเมินไว้

    หมายความว่าการฟื้นตัวแบบตัววีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจไม่เกิดขึ้น ตรงกันข้ามการฟื้นตัวจะใช้เวลาและอาจลากยาวถึงปีหน้า แต่จะยาวแค่ไหนคงขึ้นอยู่ว่าจากนี้ไปจะมีปัจจัยลบอื่นๆ หรือไม่ ที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจ รวมถึงความเข้มแข็งของนโยบายที่ภาคทางการของประเทศต่างๆ จะดำเนินการที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

    ในประเด็นนี้ ถ้าจะเข้าใจง่ายๆ ก็คือ จากจุดนี้ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาใหม่ หลังจากประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้น ควรทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จะไปได้ดีหรือเร็วแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยและความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจจากนี้ไป รวมถึงนโยบายของภาคทางการที่จะออกมา นี่คือ ความเสี่ยง คือจะมีปัจจัยลบอีกหรือไม่ที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจถูกกระทบ ทำให้การฟื้นตัวสะดุดและต้องล่าช้าออกไป

    ในเรื่องนี้ อาทิตย์ที่แล้ว องค์กรเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอร์รัม (World Economic Forum) ได้ออกรายงานผลสำรวจความเห็นนักบริหารความเสี่ยงมืออาชีพทั่วโลก 350 คนว่า ประเมินความเสี่ยงที่จะมากระทบเศรษฐกิจและธุรกิจจากนี้ไปอย่างไร โดยเฉพาะในปีนี้ ซึ่งคำตอบที่ได้คือ สิบความเสี่ยงสำคัญที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญขณะนี้เรียงตามลำดับดังนี้

    หนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ลากยาว สอง ภาวะล้มละลายในภาคธุรกิจทั้งบริษัทใหญ่ และธุรกิจเอสเอ็มอี สาม อุตสาหกรรมสำคัญที่อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้ เช่นธุรกิจการบิน สี่ การว่างงานที่สูงและนาน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ห้า การจำกัดการเดินทางและการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน

    หก ปัญหาหนี้และฐานะการคลังของประเทศ โดยเฉพาะจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังทำกันอยู่ เจ็ด ผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิต แปด วิกฤติเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่จากปัญหาหนี้ที่มีอยู่ เก้า การระบาดของอาชญากรรมไซเบอร์และการขโมยข้อมูล สิบ การระบาดรอบ 2 ของโควิด-19 หรือโรคระบาดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

    ตรวจสอบสถานะ www.เยีhttp://xn--12ca3d6baib0au2g8g.com/ ข้อความไหน อยู่สถานะใด จะได้เงินหรือไม่
    กองทุนบัวหลวง ชูกองผสม SSF พิเศษแบบไม่เสี่ยงมาก

    นี่คือความเสี่ยงที่ภาคธุรกิจกังวล ซึ่งถ้าเกิดขึ้นโดยเฉพาะ ถ้าหลายความเสี่ยงเกิดขึ้นพร้อมกันก็จะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยากและล่าช้าออกไป เป็นความห่วงใยที่มีเหตุมีผล เพราะหลังการผ่อนปรนมาตรการปิดเมือง กิจกรรมเศรษฐกิจคงจะยังอ่อนแอ การว่างงานจะมีมากและในบางประเทศจะยืนอยู่ในระดับสูง

    ขณะที่บริษัทธุรกิจเอง โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีก็ยังอ่อนแอ บางรายสู้ไม่ไหวต้องปิดกิจการ บางอุตสาหกรรมไม่สามารถฟื้นได้ เพราะประชาชนไม่ใช้จ่ายหรือเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้จ่าย เช่น การท่องเที่ยว ซึ่งกระทบธุรกิจการบิน นโยบายควบคุมการระบาดระหว่างประเทศอาจกระทบการเคลื่อนย้ายสินค้าและการเดินทางข้ามพรมแดน กระทบห่วงโซ่การผลิต ทำให้การผลิตมีต้นทุนมากขึ้น หรือมีข้อจำกัดจนขยายการผลิตไม่ได้

    ในบางประเทศการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครัฐ อาจทำให้ฐานะการคลังของประเทศอ่อนแอ และจะกระทบความสามารถในการชำระหนี้ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไม่ฟื้นตัว ในประเทศที่ภาคเอกชนมีหนี้สูง ความอ่อนแอของเศรษฐกิจก็อาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นในภาคเอกชน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกว้างขวางจนเป็นปัญหาเชิงระบบ ก็อาจนำไปสู่การเกิดเป็นวิกฤติการเงินได้

    แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ความเสี่ยงของการกลับมาระบาดรอบ 2 รอบ 3 ของโควิด-19 หรือมีการระบาดในรูปแบบอื่นทำให้ทางการต้องกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองเข้าควบคุมอีก ซึ่งจะกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก

    เหล่านี้คือความเสี่ยงที่จะทำให้กระบวนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากนี้ไปมีความไม่แน่นอนสูง เป็นเรื่องที่ทั้งภาคเอกชนและภาคทางการจะต้องตระหนักและช่วยกันระมัดระวัง เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในกรณีของเราที่ต้องระวังมาก คือการกลับมาระบาดรอบ 2 ของโควิด-19 หลังมาตรการผ่อนคลาย ซึ่งมีให้เห็นแล้วในหลายประเทศในเอเชีย ทำให้เราจะประมาทไม่ได้เพื่อป้องกันไม่ให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจถูกกระทบ

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทำความรู้จัก GDPR หรือ General Data Protection Regulation กฎหมายของสหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) ที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองและบังคับใช้มา 2 ปีแล้ว
    .
    การทำความเข้าใจกฎหมาย GDPR จึงมีความจำเป็นเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล และป้องกันผลกระทบจากกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย
    .
    ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ GDPR กำหนดไว้ ได้แก่ ชื่อ, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, อีเมล, IP Address และข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถสื่อถึงตัวบุคคลได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ ลักษณะทางพันธุกรรม หมายความว่า หากมีอย่างใดอย่างหนึ่งในกลุ่มนี้ เช่น IP Address หลุดสู่ภายนอก เท่ากับว่ามีข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลรั่วไหลด้วย
    .
    อ่านต่อได้ที่: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882376
    .
    .
    กราฟิก: ณัชชา พ่วงพี
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    -------------------------------
    ติดตาม "กรุงเทพธุรกิจ" ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
    Line: https://line.me/R/ti/p/@rvb8351i
    Twitter: https://twitter.com/ktnewsonline
    Website : http://www.bangkokbiznews.com
    Youtube: https://www.youtube.com/user/KrungthepTurakij
    Blockdit : https://www.blockdit.com/bangkokbiznews
    Instagram: https://www.instagram.com/bangkokbiznews

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ตลท.เผย ผลตรวจสอบการซื้อขายเบื้องต้นหุ้น “การบินไทย”ไม่พบความผิดปกติ พร้อมเดินหน้าตรวจสอบเชิงลึกต่อไป
    .
    นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า ตลท.ได้เข้าไปตรวจสอบการซื้อขายหุ้นการบินไทยแล้ว แต่เบื้องต้นยังไม่พบความผิดปกติใดๆ เพราะจากการเข้าไปตรวจสอบข้อมูลแต่ละวันที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นและลดลงต่ำสุด(ซิลลิ่ง-ฟลอร์) พบว่า มีผู้ลงทุนเข้ามาซื้อขายจำนวนมาก และไม่พบการกระจุกตัวของนักลงทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ขณะที่มูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนแต่ละคนก็ไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขายโดยรวม อีกทั้งคำสั่งซื้อขายที่เข้ามา ก็กระจายจากหลายๆ บริษัทหลักทรัพย์
    .
    สำหรับการตรวจสอบครั้งนี้เป็นการตรวจสอบขั้นแรกที่ทำแบบกว้างๆ ซึ่งตลท.จะมีการตรวจสอบเชิงลึกต่อไปว่ามีประเด็นอะไรที่จะต้องเจาะลึกหรือไม่
    .
    แหล่งข่าวตลาดทุน กล่าวว่า ในเดือนเม.ย.ที่ราคาหุ้นTHAI ซิลลิ่งนั้น มีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ในเดือนพ.ค.ที่ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นแรงชนซิลลิ่ง หลังมีข่าวชัดเจนว่าTHAI ต้องเข้าแผนฟื้นฟูนั้น ซึ่งถือว่าไม่ปกติ เนื่องจากการเข้าแผนฟื้นฟูนั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยบวกกับนักลงทุนที่เข้ามาซื้อหุ้น เพราะอนาคตบริษัทจะต้องมีการลดทุน มีผลทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง
    .
    อ่านต่อได้ที่: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882271
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    -------------------------------
    ติดตาม "กรุงเทพธุรกิจ" ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
    Line: https://line.me/R/ti/p/@rvb8351i
    Twitter: https://twitter.com/ktnewsonline
    Website : http://www.bangkokbiznews.com
    Youtube: https://www.youtube.com/user/KrungthepTurakij
    Blockdit : https://www.blockdit.com/bangkokbiznews
    Instagram: https://www.instagram.com/bangkokbiznews

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    บันทึกบทเรียน 'บริหารวิกฤติ' โควิด-19
    26 พฤษภาคม 2563 | โดย ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ | คอลัมน์ สัพเพเหระค้าปลีก

    วิกฤติโควิด-19 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจน้อยใหญ่แล้ว ยังส่งแรงสะเทือนไปถึงการบริหารกระแสเงินสดและหนี้สินขององค์กรด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ คือการตัดสินใจที่รวดเร็ว รวมถึงกระทบต่อพนักงานและลูกค้าให้น้อยที่สุด
    จากความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของประชาชน การจำกัดพื้นที่และการเดินทางเพื่อควบคุมโรคระบาดโดยภาครัฐ ส่งผลโดยตรงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การขาดความต่อเนื่องของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) กระทบต่อเนื่องสู่ภาคการขายสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้า

    สึนามิลูกนี้!! กระทบภาคธุรกิจน้อยใหญ่โดนซัดกันถ้วนทั่ว! ส่งผลต่อการบริหารกระแสเงินสดและหนี้สินขององค์กร โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจครอบครัว สิ่งสำคัญของการบริหารจัดการในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้คือการตัดสินใจที่รวดเร็ว กระทบต่อพนักงาน ลูกค้า ให้น้อยที่สุด

    แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญในช่วงเวลาวิกฤติตามความเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ประกอบด้วย

    การดำเนินการปัญหาเร่งด่วนระยะสั้น
    1.ปรับตัวให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน คงประสิทธิภาพการทำงาน และยังติดต่อลูกค้าได้อย่างไร?

    - เคลื่อนย้ายพนักงานเพื่อตอบสนองต่อวิกฤติการระบาด กำหนดแนวทางในการ Work From Home เน้นความปลอดภัยของพนักงานเป็นหัวใจหลัก

    - นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน เพื่อให้พนักงานทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    - แบ่งพนักงานเป็น 2 กลุ่ม ที่ทำงานทดแทนหรือใกล้เคียงกัน หากมีพนักงานคนหนึ่งในกลุ่มมีอาการหรือติดโควิด ก็จำเป็นต้องให้พนักงานในกลุ่มนั้นทุกคนกักตัว 14 วัน พนักงานอีกกลุ่มมาทำงานทดแทน การจัดพนักงานเป็น 2-3 กลุ่มเหมาะกับงานในคลังสินค้าที่ต้องจัดหาเตรียมส่งของทุกวันตามออเดอร์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการต้องหยุดส่งมอบสินค้า De-risk Supply Chain

    - พิจารณามาตรการช่วยเหลือของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ที่จะได้รับแก่พนักงานตามที่ควร

    - ประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยง และผลกระทบที่มีต่อธุรกิจจากเศรษฐกิจหยุดชะงัก โดยกำหนดการประชุมระดับ Top Executive ทุกวันเพื่อประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาวันต่อวันให้ทันกาล

    - สื่อสารให้มากเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความโปร่งใส

    - ทบทวน Business Discontinuity Plan (BCP) แผนความไม่ต่อเนื่องทางธุรกิจ และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด

    2.เฝ้าระวังเรื่องผลกำไรขาดทุน (P&L) และสภาพคล่องทางการเงิน

    - จัดทำ Scenario สถานการณ์ภาพรวมของตลาด และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลดลงทางรายได้และผลกำไรขาดทุน

    - จัดทำ Scenario สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด Super Worst Case เช่น หากรายได้หดหายมากกว่า 70% มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดยาวจนถึงสิ้นปี สภาพคล่องทางการเงินจะเป็นอย่างไร เรายังคงรักษาสถานภาพของพนักงานได้หรือไม่

    - ประเมินสถานการณ์ยอดขายและสต็อกสินค้า “สัปดาห์ต่อสัปดาห์” อย่างใกล้ชิด

    - สื่อสารกับลูกค้า “ท็อป 20” อย่างใกล้ชิด ถึงความต้องการและการส่งมอบ

    - บริหารค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด งบประมาณที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ อาทิ งบการตลาด เพราะ ไม่ใช่สถานการณ์ที่จะมากระตุ้นดีมานด์ ก็ควรหยุดทันที

    - วางแผนสำหรับการลดต้นทุนที่เร่งด่วนสำหรับการรักษารายได้

    ดำเนินการปัญหาเร่งด่วนระยะกลาง
    - จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ สำหรับการเติบโตในตอนนี้และอนาคตของบริษัท รวมถึงการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์และช่องทางอื่นๆ

    - การสร้างช่องทางดิจิทัล (Digital Channel) เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้มาติดตามผ่านทางช่องทางดิจิทัล เพื่อป้องกันรายได้ และต้องปรับแผนบ่อยขึ้น

    - จัดทำแผนโครงสร้างต้นทุนในอนาคต สำหรับการนำบริษัทเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น และเตรียมพร้อมต่อวิกฤติที่มากขึ้น

    - สร้างแผนปฏิบัติการฉุกเฉินสำหรับทุกๆ ด้านของธุรกิจ

    ดำเนินการปัญหาเร่งด่วนระยะยาว
    ระยะยาว ไม่ใช่แค่วิธีการเชิงรับ แต่ต้องเตรียมพร้อมด้วยวิธีการเชิงรุก

    - คิดค้นกลยุทธ์ที่จะทำให้บริษัทของคุณนั้นทำผลงานได้ดีกว่าคู่แข่งและขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในช่วงเวลาวิกฤติและอนาคต

    - เตรียมวิธีการบรรเทาผลกระทบ สำหรับการถดถอยลงของรายได้หลัก

    - เตรียมพร้อมสำหรับการกลับมาสู่สภาวะปกติ

    - วางแผนและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มากขึ้นกว่าเดิม

    - มีบริการใหม่ๆ ตอบโจทย์โลกคนที่ไม่ออกจากบ้าน และเมื่อทุกอย่างกลับมาราบรื่นจะดึงลูกค้ากลับมาได้อย่างไร

    - สร้างเสถียรภาพในการดำเนินงาน สำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะกลายมาเป็นสถานการณ์ปกติใหม่ในอนาคต

    - สร้างเสถียรภาพของห่วงโซ่สินค้า สำหรับการถดถอยทางภูมิศาสตร์และแรงงาน เช่น การสร้างความมั่นคงในขั้นตอนการผลิตและการแจกจ่ายสินค้า

    เราไม่สามารถทำตัวเหมือนกับว่าเดี๋ยวทุกอย่างก็ผ่านไป เราจะอยู่ในกลุ่มที่คว้าโอกาสของสถานการณ์ตอนนี้! เพราะทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ลงทุนในของเน่า โอกาสทองของนักลงทุน?

    โดยทั่วไปแล้ว หุ้นสามัญของบริษัทล้มละลายมักไม่ใช่ตัวเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ แต่ที่พบบ่อยคือ บรรดาเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นกู้ มักได้รับเงินสดคืนบางส่วน บวกกับ “หุ้นใหม่” ของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาหลังบริษัทเดิมล้มละลาย จุดนี้เองคือโอกาสของการลงทุน

    บทความโดย ชัชวนันท์ สันธิเดช | คอลัมน์ VALUE WAY I กรุงเทพธุรกิจ

    ผมแปลหนังสือเรื่อง You Can Be A Stock Market Genius ของ โจเอล กรีนแบล็ตต์ นักลงทุนชั้นเซียน ผู้คิดค้น Magic Formula เขาพูดไว้เกี่ยวกับ “หุ้นของบริษัทล้มละลาย” ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจมากๆ จนอยากบอกต่อ

    การที่บริษัทหนึ่งๆ จะล้มละลาย ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุหลักไม่กี่สาเหตุ เช่น ธุรกิจย่ำแย่ บริษัทขยายธุรกิจมากเกิน มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือบางบริษัทมี “สหภาพแรงงาน” คอยกัดกินผลประโยชน์จนองค์กรล่มสลาย

    ตามกฎหมายล้มละลายของสหรัฐฯ จะมี “chapter 11” ซึ่งให้ความคุ้มครองทางกฎหมายแก่ธุรกิจ ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ระหว่างเจรจาหาข้อตกลงกับเจ้าหนี้ (ล่าสุดได้ยินข่าวว่ามีข้อเสนอให้ใช้ลักษณะเดียวกับมาตรา 11 กับการยื่นขอล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน)

    โดยทั่วไปแล้ว หุ้นสามัญของบริษัทล้มละลายมักไม่ใช่ตัวเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะหลังจากขายทรัพย์สินทอดตลาด ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินเป็น “คนสุดท้าย” ต่อจากลูกจ้าง ธนาคาร ผู้ถือหุ้นกู้ เจ้าหนี้การค้า และสรรพากร เรียกได้ว่าแทบไม่เหลืออะไรติดไม้ติดมือ

    ที่พบบ่อยก็คือ บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลาย รวมทั้งผู้ถือหุ้นกู้ มักได้รับเงินสดคืนบางส่วน บวกกับและจุดนี้เอง คือ “โอกาสลงทุน” โดยเราสามารถเข้าไปซื้อหุ้นของ “บริษัทใหม่” ซึ่งมักเรียกกันว่า “หุ้นกำพร้า”

    ด้วยความที่มันถูกหมางเมิน เนื่องจากผู้ถือหุ้นจำนวนมากคืออดีตผู้ถือหุ้นกู้และเจ้าหนี้ ที่ไม่ได้อยากเป็นเจ้าของบริษัทตั้งแต่ทีแรก อีกทั้งนักวิเคราะห์ก็ไม่สนใจ เพราะมองว่าเป็นหุ้น “มีแผล” “หุ้นใหม่” ของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาหลังบริษัทเดิมล้มละลาย ขณะที่ผู้ถือหุ้นสามัญมักได้รับเป็นวอร์แรนต์กับหุ้นใหม่

    ทันทีที่เข้าตลาด มันจึงถูกเทขายออกมาอย่างหนัก ราคาจึงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และนี่คือโอกาสทำกำไรของเรา

    ผลการศึกษาระหว่างปี 1980 ถึงปี 1993 พบว่า หุ้นล้มละลายใหม่ที่ถูกแจกจ่ายออกไป ทำผลงานได้ดีกว่าดัชนีตลาดที่เกี่ยวข้อง “มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์” ในช่วง 200 วันแรกของการเทรด โดยบริษัทขนาดเล็กมักให้ผลตอบแทนดีกว่าบริษัทขนาดใหญ่

    ก่อนจบ ต้องบอกว่าสถิติข้างต้นมาจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ซึ่งอาจมีความเหมือนหรือต่างจากตลาดหุ้นไทย นี่เป็นจุดที่ควรระวัง

    ใครสนใจอยากเป็น “สุดยอดพญาอีแร้งแห่งปี” ลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมกันดูนะครับ ไม่แน่ว่า “ของเน่า” อาจทำให้รวยได้เหมือนกัน

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ตั๊กแตนทำให้เกิดภัยพิบัติ .. 25 พฤษภาคม 2020

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    รัสเซีย - พายุลมแรงที่พัดถล่ม Yekaterinburg, Sverdlovsk, 25 พฤษภาคม 2563



     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ในเหตุการณ์หิมะถล่มที่มีผู้เสียชีวิต 42 รายในวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ในเขต # Bahçesarayของ #Van ยานพาหนะที่ถูกฝังอยู่ในหิมะได้สัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น # Turkey

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่? 1 พฤษภาคม 2563 | โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ | คอลัมน์ ดร.แดน มองต่างแดน

    เจาะลึกประเด็น พ.ร.ก. 3 ฉบับ กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาแก้ปัญหาและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น จำเป็นสำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้หรือไม่ และจะมีผลต่อเศรษฐกิจมหาภาคอย่างไรบ้าง?
    เมื่อไม่นานนี้ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับ กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งผมได้พิจารณาข้อมูลและมีความคิดเห็นในหลายประเด็นดังนี้

    1.จำเป็นต้องกู้หรือไม่?

    เนื่องจากงบประมาณเดิมไม่เพียงพอ งบปี 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้าน มีแผนใช้จ่ายหมดแล้ว งบกลางมีรายจ่ายที่ผูกพันไว้ใกล้ครบ 96,000 ล้านบาทแล้ว และแม้จะพยายามโอนงบประมาณจากทุกกระทรวงมารวมที่งบกลางก็จะได้น้อยมาก ดังนั้นผมคิดว่าในสถานการณ์นี้รัฐบาลจำเป็นต้องกู้

    1.1) กู้เท่าไรจึงจะเหมาะสม?

    กรอบความยั่งยืนทางการคลังของไทย คือ หนี้สาธารณะต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้มานานมาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้เพดานควรจะต่ำกว่านั้น นักวิชาการบางท่านเห็นด้วยกับผมว่าหนี้สาธารณะไม่ควรจะเกิน 50% ของจีดีพี

    เดือน ก.พ.2563 หนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 41.44% ของจีดีพี เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 52.64% ของจีดีพี แม้ว่ายังต่ำกว่าเพดาน แต่ก็ถือว่าสูงมาก ผมคิดว่าเพียงพอแล้วเพื่อจะไม่กระทบสถานะการคลังในอนาคต

    1.2) เงิน 1.9 ล้านล้านบาท มีผลต่อเศรษฐกิจมหภาคเพียงใด?

    ผมได้ประมาณการโดยมีข้อสมมติ คือ

    - ปี 2562 จีดีพี 16.88 ล้านล้านบาท

    - ปี 2563 เศรษฐกิจจะขยายตัวติดลบ -5.3% (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 25 มี.ค.)

    - ตัวทวีคูณ (Multiplier) ในระบบเศรษฐกิจมีค่า 0.7 (Ramey and Zubairy, 2014)

    จากข้อสมมตินี้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ 2.4%

    2.เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ใช้จ่ายเหมาะสมหรือไม่?

    1) ส่วนของการคลัง

    ในเรื่อง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ผมมีความกังวล ดังนี้

    - แผนไม่ชัดเจน จะทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงเป้า

    ทั้งมาตรการด้านสาธารณสุขและเยียวยาประชาชน 600,000 ล้านบาท และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท ที่ยังไม่มีรายละเอียด ทำให้เสี่ยงที่จะเป็นเบี้ยหัวแตกที่ไม่เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

    ข้อเสนอ: ต้องเรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีแผนงาน เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ชัดเจน สร้างสรรค์บูรณาการแผนงานลงรายละเอียดในการปฏิบัติ เพื่อให้แน่ใจว่าแผนจะสำเร็จ

    - การขาดข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง จะทำให้ช่วยไม่ถูกคน

    ที่ผ่านมาภาครัฐมักไม่รู้ว่าเป้าหมายของการช่วยเหลืออยู่ที่ไหน เช่น มาตรการแจกเงิน 5,000 บาท คนที่ควรได้ก็ไม่ได้ คนไม่ควรได้แต่กลับได้ เป็นต้น

    ข้อเสนอ: ภาครัฐต้องพัฒนาฐานข้อมูล Big data และ AI เพื่อใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และดำเนินนโยบายภาครัฐ

    - ความรีบเร่ง จะทำให้การดำเนินงานไม่โปร่งใส

    ข้อเสนอ: ภาครัฐต้องใส่รายละเอียดทุกการใช้จ่าย มีใบเสร็จ ลงในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้การดำเนินงานโปร่งใสและตรวจสอบได้จริง

    - การช่วยคนโดยการแจกเงิน จะทำให้คนเคยชิน และ ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม

    ข้อเสนอ: การใช้งบประมาณต้องพัฒนาสังคมและสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนในอนาคตด้วย

    ก. ให้ประชาชนได้มีส่วนเสียสละ 3T (Time Talent Treasure) แลกกับการรับเงินช่วยเหลือ

    ปัจจุบันน่าจะมีคนตกงาน 7 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านคน หากยังยืดเยื้อไปอีก 2-3 เดือน ดังนั้นภาครัฐอาจทำหน้าที่จ้างคนเหล่านี้เพื่อทำงานที่อดีตทำไม่ได้ เช่น

    - ทำให้เมืองสวยงาม โดยการปลูกต้นไม้แบ่งสีตามเขต ที่เกาะกลางถนน

    - ทำให้เมืองสะอาด โดยทำความสะอาดถนน คูคลอง จัดระเบียบที่ทิ้งขยะ

    - ทำให้เมืองปลอดโรค โดยให้คนช่วยทำความสะอาดตามแผนจากส่วนกลางและตามมาตรฐานที่กำหนดและ ให้บางส่วนเป็น “ตำรวจตรวจความปลอดภัยในเชื้อโรค” ดูว่าคนที่เกี่ยวข้องทำตามเช็คลิสต์หรือไม่

    ข. ให้ประชาชนฝึกอบรมในหลักสูตรที่กำหนดไว้ เพื่อแลกกับการรับเงินช่วยเหลือ เพื่อประชาชนจะได้มีความรู้และทักษะใหม่ติดตัวระหว่างที่ตกงาน หรือทำงานที่บ้านในระยะนี้

    www.เยีhttp://xn--12ca3d6baib0au2g8g.com/ ตรวจสอบเงินเยียวยาเกษตร โอนอีก 2 ล้านราย รีบเช็คเลย
    www.เยีhttp://xn--12ca3d6baib0au2g8g.com/ ตรวจสอบเงินเยียวยาเกษตรกร เร่งเช็คสิทธิ์ก่อนชวดเงิน 15,000 บาท
    'ออมสิน' ปล่อย 'สินเชื่อโควิด' 10,000 บาท ใครมีสิทธิ์ขอ 'สินเชื่อ' ได้บ้าง?

    2) ส่วนของการเงิน

    2.1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สถาบันการเงินกู้ช่วย SMEs ไม่เกิน 500,000 ล้านบาท มาตรการในส่วนนี้ ผมคิดว่าเหมาะสมแล้ว

    2.2) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน ไม่เกิน 400,000 ล้านบาท ผมมีความห่วงใยในเรื่องนี้ว่าอาจเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่มีประสิทธิสภาพ เนื่องจาก

    ก. ธปท.ควรเป็นผู้กำกับดูแลการลงไปเป็นผู้ตัดสินใจซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน อาจเอื้อประโยชน์เอกชนบางรายได้แม้ไม่ตั้งใจ หรือ อาจตัดสินใจไม่รอบคอบ เนื่องจาก ขาดข้อมูลเชิงลึกหรือ ขาดเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญ เป็นต้น และถึงแม้จะพยายามให้รอบคอบ โดยการจำกัดวงเงินความเสียหายกำหนดเงื่อนไขตราสารหนี้ที่จะเข้าไปซื้อ และจัดตั้งคณะกรรมการ4 ชุดมาดูแล แต่ในภาคปฏิบัติคณะกรรมการต่างๆ มักมีงานหลายอย่าง มีเวลาจำกัด ต้องอาศัยข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ จึงมีช่องโหว่ที่อาจทำให้การตัดสินใจไม่รอบคอบ

    ข. การที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือที่ชัดเจน ประกาศให้ทราบทั่วกันก็เพียงพอที่จะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนได้ โดย ธปท.ไม่จำเป็นต้องลงไปทำเอง

    ค. แม้ว่า พ.ร.ก.จะให้อำนาจ ธปท.ระยะสั้น 5 ปีที่มีปัญหาโควิดเท่านั้น แต่ 5 ปี ถือว่านานพอที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้

    ง. ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่ เงิน4 แสนล้านบาท ดูแลได้เพียงบางส่วน หากภาครัฐต้องเลือกดูแลก็ต้องเลือกบริษัทที่มีคุณภาพดี ซึ่งบริษัทเหล่านี้น่าจะมีแผนธุรกิจที่นำไปกู้จากธนาคารพาณิชย์ได้อยู่แล้ว

    ในเรื่องนี้ผมเห็นด้วยในเชิงหลักการ แต่ในวิธีการ ผมขอเสนอว่า ภาครัฐอาจขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐและเอกชนให้ช่วยรับผิดชอบโดยตรง ให้เป็นผู้ซื้อตราสารหนี้เองด้วยวิจารณญาณทางธุรกิจเนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์มีผู้เชี่ยวชาญเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องระวังความเสียหาย ขาดทุน ขณะที่ธปท.ควรทำหน้าที่เป็นเพียงสายป่านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมากเท่านั้น

    ตอนนี้แม้ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ขาดสภาพคล่อง แต่อาจไม่มีแรงจูงใจ เนื่องจากกลัวขาดทุนในเชิงธุรกิจ การที่ ธปท.ช่วยรับผิดชอบทางการเงินให้บางส่วน จะเป็นการจูงใจที่ดีที่ช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจง่ายขึ้น แทนที่เดิมจะต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการดำเนินงานด้วยเงินของตัวเองทั้งหมด

    ผมหวังว่าภาครัฐจะรอบคอบ ใช้จ่ายเงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทอย่างดี มีประสิทธิสภาพ บรรเทาความยากลำบากของพี่น้องและทำให้ทุกคนในประเทศได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เนื่องจากเงินก้อนนี้เป็นหนี้สาธารณะที่ทุกคนในชาติต้องร่วมกันรับภาระด้วยกันในอนาคตครับ

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    (May 26) COVID-19: วิกฤตที่ทำให้โลกไม่เหมือนเดิม- สงครามระหว่างมนุษยชาติและ COVID-19 นั้นหนักหนาและยืดเยื้อกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดไว้มาก
    FB_IMG_1590498551410.jpg
    จากที่คิดว่าการระบาดจะจำกัดเฉพาะในจีนแต่กลับระบาดกระจายเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ขณะที่ผลต่อเศรษฐกิจนั้นรุนแรงกว่าที่หลายฝ่ายคาด ล่าสุดองค์กรการเงินระหว่างประเทศ(IMF)คาดว่าวิกฤติ COVID-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกปีนี้หดตัว 3% รุนแรงกว่าวิกฤติการเงินโลกปี 2551 - 2552 ที่หดตัวเพียง 0.1%

    บทความนี้จึงพยายามฉายภาพความแตกต่างของวิกฤติ COVID-19 จากวิกฤติในครั้งก่อน แนวทางการรับมือของประเทศต่างๆ รวมถึงทิศทางของเศรษฐกิจโลก

    COVID-19 กระทบเศรษฐกิจโลกในหลายมิติ
    วิกฤติ COVID-19 แตกต่างจากวิกฤติครั้งก่อนในหลายมิติ มิติแรกคือ “ความลึก”หรือความรุนแรงของการหดตัวที่มากกว่าในอดีต โดยเฉพาะผลพวงจากการปิดเมืองทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักสะท้อนจากตัวเลข GDPไตรมาสที่ 1 ของหลายประเทศที่หดตัวลึกกว่าคาดและมีอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทำลายสถิติทั่วโลก โดยเฉพาะจีนที่ GDP หดตัวครั้งแรกในรอบ 28 ปี และประกาศยกเลิกการกำหนดเป้า GDP

    มิติที่สองคือ “ความชัน” หรือความเร็วในการฟื้นตัวที่มีแนวโน้มช้ากว่าในอดีต จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ในระยะต่อไปยังถูกกระทบจากมาตรการกักกันโรคที่เข้มงวด แม้ล่าสุดจะเริ่มเห็นการผ่อนปรนบ้าง แต่มาตรการ social distancing จะยังคงมีส่วนสำคัญไปจนกว่าจะค้นพบวัคซีนรักษา COVID-19ได้ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีหรือมากกว่านั้น

    มิติสุดท้ายคือ “ระดับ” หรือศักยภาพทางเศรษฐกิจที่อาจปรับลดลง ที่ผ่านมา COVID-19 ทำให้ภูมิทัศน์โลกเปลี่ยนไปอย่างมาก ที่เห็นได้ชัดเจนคือภาคการท่องเที่ยว โดยข้อมูลจาก The International Air Transport Association(IATA) ชี้ว่าความต้องการเดินทางของผู้โดยสารลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้รายได้ของสายการบินที่สะท้อนจาก revenue passengerkilometres (RPKs) เดือน มี.ค.2563 ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 52.9% เทียบกับปีก่อน และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ สายการบิน โรงแรม หรือแม้แต่ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงมาอยู่ที่ 20 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่การชะงักของเศรษฐกิจภายในประเทศก็ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและอาจรุนแรงถึงขั้นทำลายห่วงโซ่อุปทานของบริษัทที่ยังอยู่รอดไปด้วย รวมถึงคนอาจตกงานเพิ่มขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจบอบช้ำยากที่จะฟื้นตัว

    มาตรการรับมือต้องใหญ่พอ

    เมื่อวิกฤติครั้งนี้หนักหนาที่สุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจึงต้องมีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน ธนาคารกลางทุกประเทศได้พร้อมใจกันลดดอกเบี้ยนโยบายและออกมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่อง

    ขณะที่“บาซูก้า” การคลัง ไม่ว่าจะเป็นของสหรัฐฯ ไทย หรือสิงคโปร์ ก็มีขนาดใหญ่ถึง 12% 10% และ 7.8%ของ GDP ตามลำดับซึ่งขนาดมาตรการของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของตัวเอง แต่กรอบของมาตรการมีทิศทางที่คล้ายกัน ได้แก่
    (1)รับมือกับโรคระบาดในรูปแบบการสร้างนวัตกรรมป้องกันโรค อาทิ การพัฒนาชุดตรวจที่รวดเร็วแม่นยำ และการตรวจเชิงรุกในเกาหลีใต้ การสร้างระบบติดตามผู้ติดเชื้อจากฐานข้อมูลประกันสุขภาพการตรวจคนเข้าเมืองและข้อมูลศุลกากร(Big Data) ในไต้หวัน ตลอดจนงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนในสหรัฐฯ

    (2)ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและจำกัดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ อาทิ การให้ความช่วยเหลือธุรกิจการบินในสหรัฐฯ ให้มีเงินพอจ่ายพนักงานโดยสายการบินที่รับความช่วยเหลือ ห้ามเลิกจ้างพนักงานภายในเวลาที่กำหนด มาตรการช่วยค่าแรงให้ภาคธุรกิจของกลุ่มยูโร เพื่อรักษาการจ้างงานและการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ขาดรายได้จากการกักตัวของสิงคโปร์

    (3)ฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ มาตรการกระตุ้นระยะสั้น อาทิการเพิ่มงบสนับสนุนการท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์ การอุดหนุนเงินช่วยเหลือสำหรับซื้อรถคันแรกในจีนและมาตรการระยะยาวเพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจ อาทิ การกระตุ้นให้ธุรกิจในออสเตรเลียลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อนำมาลดภาษี การเพิ่มงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในเยอรมนี
    เตรียมรับมือกับโลกใหม่หลังวิกฤติ

    สำหรับทิศทางเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปในระยะสั้น มีประเด็นที่ควรติดตาม คือ การผ่อนปรนมาตรการและความเสี่ยงของการระบาดรอบ 2 เพราะหากเกิดการระบาดอีกระลอก มาตรการปิดเมืองที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยก็จะหยุดชะงักและเปล่าประโยชน์ทันที อย่างไรก็ดี เมื่อโลกยังต้องหมุนและคนยังต้องเดินทางการเปิดเมืองจึงจำเป็นแต่ต้องเป็นไปอย่าง “รอบคอบและค่อยเป็นค่อยไป” โดยชั่งน้ำหนักระหว่างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงการแพร่เชื้อเป็นสำคัญ

    ในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในหลายด้านคงเกิดขึ้น แม้หลายประเทศจะพยายามเดินหน้าให้การใช้ชีวิตกลับมาเป็นปกติและทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ แต่การเดินหน้าโดยยึดติดกับความคิดหรือแนวทางเดิมๆ อาจไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไป การทำความเข้าใจกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงและลงทุนเพื่อรองรับเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น โดยหากเปรียบประเทศเป็น “คน” หลังหายป่วยก็คงจะฟื้นตัวได้เร็วช้าไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพตั้งต้น “คนแข็งแรง” ก็จะกลับมาลุกขึ้นวิ่งได้เร็วกว่า เช่นเดียวกับเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานเสถียรภาพเข้มแข็งและมีแหล่งที่มาของการขยายตัวที่สมดุลก็จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าเศรษฐกิจที่มีความเปราะบางและพึ่งพาอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากเกินไป และจะดียิ่งขึ้นถ้าความสมดุลนั้นเติบโตไปในแนวทางที่สอดคล้องกับโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป

    COVID-19 เป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน การ์ดต้องไม่ตก เราต้องรักษาวินัยในการทำ social distancing ต่อไป ขณะที่ภาครัฐต้องแน่ใจว่าทุกภาคส่วนที่กำลังเดือดร้อนจะได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอและทั่วถึงรวมถึงเตรียมพร้อมรับมือกับโลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

    โดย ธีรภาพ แพ่งสภา
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค
    ดร.ทิพย์ประภา เหรียญเจริญ
    เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค

    [บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย]

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650284?utm_source=category&utm_medium=internal_referral
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    (May 26) เปิดใจผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เผยรูปแบบการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังโควิดเป็นแบบ 'W' ที่ไม่เคยมีมาก่อน
    PSX_20200526_201151.jpg
    เรื่องเด่นเย็นนี้ มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษกับ คุณวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด 19 จะเป็นอย่างไร ซึ่งก็ได้คำตอบที่น่าสนใจว่า รูปแบบการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิด จะเป็นรูป W ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน

    วันนี้หลายประเทศบอกว่าไม่ขอตั้งเป้า จีดีพี ปีนี้ ซึ่ง คุณวิรไท อธิบายว่า ไม่ใช่แค่ไม่ตั้งเป้าและไม่สามารถคาดการณ์ได้เลย เนื่องจากมีปัจจัยที่เป็นความไม่แน่นอนสูง ตอนนี้ตัวเลขจึงไม่สำคัญ ที่สำคัญคือ ต้องดับไฟแต่ต้นลม ควบคุมไม่ให้โรคระบาด เพราะถ้าการระบาดยังบานปลายวิกฤตทางสาธารณสุขจมีผลกระทบแรงทันทีกับเศรษฐกิจซึ่ง จีดีพี ปีนี้คิดว่าจะหดตัวมากกว่าร้อยละ 5.3 แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปมาถึงเท่าไร ถึงเราจะมีประเมินอีกทีในรอบเดือย มิ.ย. ซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับภาครัฐด้วยว่าจะออกมาตรการอะไรมา ขึ้นกับสถานการณ์การระบาดทั้งในและนอกประเทศด้วย

    ถ้ามองแบบทางเศรษฐศาสตร์ การฟื้นตัวรอบนี้ไม่เคยมีการพูดถึงมาก่อน คือ รูปแบบตัว W นั่นคือ ลงเร็ว ฟื้นเร็ว ขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากไม่รู้ว่าจะมีการระบาดระลอก 2 และ 3 หรือไม่
    Source: ช่อง 3
    https://ch3plus.com/news/program/189904
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    (May 26) WHOเตือนชาติติดเชื้อลดอย่าวางใจ เสี่ยงเจอจุดพีครอบ2หากผ่อนคลายล็อกดาวน์เร็วเกิน: องค์การอนามัยโลกเตือนในวันจันทร์(25พ.ค.) ประเทศต่างๆที่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19) กำลังลดลงเรื่อยๆ อาจยังเผชิญกับ "จุดสูงสุดรอบ 2 อย่างทันทีทันใด" หากผ่อนคลายมาตรการสกัดการแพร่ระบาดเร็วเกินไป
    PSX_20200526_201355.jpg
    ดอคเตอร์ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก(WHO) กล่าวระหว่างแถลงสรุปทางออนไลน์ ว่าโลกยังคงอยู่ท่ามกลางระลอกคลื่นแรกของการแพร่ระบาด และแม้กำลังลดลงในหลายประเทศ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ เอเชียใต้และแอฟริกา

    ส่วนผู้แทนพิเศษรายหนึ่งประจำองค์การอนามัยโลก เตือนเช่นกันว่าในขณะที่จนถึงตอนนี้แอฟริกายังรอดพ้นจากสถานการณ์แพร่ระบาดเลวร้ายของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่ทางองค์การอนามัยโลกกังวลว่าทวีปแห่งนี้อาจเจอ "โรคระบาดใหญ่เงียบ" หากว่าพวกผู้นำประเทศต่างๆไม่ได้ให้ความสำคัญลำดับต้นๆกับการตรวจเชื้อ

    ไรอันบอกว่าโรคระบาดต่างๆบ่อยครั้งที่มาในลักษณะระลอกคลื่น ซึ่งนั่นหมายความว่าการแพร่ระบาดของหวนคืนมาอีกรอบในช่วงปลายปีนี้ ในประเทศต่างๆที่การแพร่ระบาดระลอกแรกลดน้อยถอยลงแล้ว นอกจากนี้แล้วยังมีโอกาสที่อัตราการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหากว่ามาตรการต่างๆที่กำหนดออกมาเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดระลอกแรกนั้นถูกยกเลิกเร็วเกิน

    "เมื่อเราพูดถึงความคลาสิกของระลอกสอง บ่อยครั้งที่เราหมายถึงก็คือระลอกแรกของโรคระบาดเอง และจากนั้นมันจะโผล่ขึ้นมาอีกครั้งในอีกไม่กี่เดือนถัดมา และสิ่งนี้อาจกลายเป็นจริงสำหรับหลายประเทศในช่วงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า" ไรอันกล่าว

    "เราจำเป็นต้องตระหนักว่าโรคติดต่อนี้สามารถทะยานขึ้นได้ทุกเมื่อ เราไม่สามารถทึกทักไปว่า เพียงเพราะว่าโรคระบาดกำลังอยู่ในช่วงขาลง แล้วมันจะดิ่งลงไปเรื่อยๆ เรามีเวลาหลายเดือนสำหรับเตรียมพร้อมรับมือระลอกคลื่นที่ 2 บางทีเราอาจเผชิญกับจุดพีคที่ 2 ของคลื่นนี้"

    เขาบอกว่าประเทศต่างๆในยุโรปและอเมริกาเหนือ "ควรเดินหน้าบังคับใช้มาตรการด้านสุขภาพและทางสังคมต่อไป เช่นเดียวกับมาตรการเฝ้าระวัง มาตรการตรวจโรคและมียุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมเพื่อรับประกันว่าเราจะอยู่ในวงโคจรขาลงต่อไป และเราจะไม่เผชิญกับจุดพีครอบ 2 อย่างทันทีทันใด"

    คำเตือนนี้มีขึ้นในขณะที่หลายประเทศในยุโรปและรัฐต่างๆของสหัรฐฯค่อยๆทยอยผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งกำหนดออกมาเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่อีกด้านหนึ่งมันได้ก่อความเสียหายแก่เศรษฐกิจอย่างรุนแรง

    Source: ผู้จัดการออนไลน์
    https://mgronline.com/around/detail/9630000054530

    - World Health Organization warns of ‘second peak’ in areas where coronavirus is declining: https://www.cnbc.com/2020/05/25/who...in-areas-where-coronavirus-is-declining.html-
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วิถีใหม่ต้องปรับตัว!
    นายจ้างส่งสัญญาณปริญญาตรีล้าสมัย เสี่ยงตกงานเพิ่ม

    สภาองค์กรนายจ้างเตือนตลาดแรงงานเตรียมเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่รับวิถีใหม่ หรือ New Normal จากผลกระทบโควิด-19 จับตาตลาดแรงงานใหม่ 6.34 แสนคนที่ 63.2% จบปริญญาตรีในสาขาที่ล้าสมัยไม่ตรงความต้องการของตลาด เสี่ยงตกงานมากขึ้น เช่นเดียวกับแรงงานสูงวัยเป็นเป้าให้ยื่นสมัครใจออกพุ่ง หลังธุรกิจต้องลดขนาดองค์กรลง แรงงาน Gen Z จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/business/detail/9630000054551

    #newnormal #วิถีใหม่ #วิกฤตโควิด

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นายกเล็กสุดทน!! เรียกร้อง ปธน.บราซิล ลาออก
    รับผิดชอบปล่อยโควิด-19 คร่าชีวิตผู้คนเป็นเบือ

    ซีเอ็นเอ็น - นายกเทศมนตรีของเมืองแห่งหนึ่งในบราซิล ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) หนักหน่วงที่สุด เรียกร้องให้ประธานาธิบดี ฌาอีร์ โบลโซนารู ลาออกจากตำแหน่ง ระบุ ผู้นำรายนี้ต้องร่วมรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตจำนวนมหาศาลภายในประเทศ

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/around/detail/9630000054482

    #วิกฤตโควิดบราซิล #brasil #covid

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ที่ปรึกษานายกฯ UK เมินลาออก
    หลังถูกจับได้ฝ่าฝืนล็อกดาวน์ ต้องสงสัยติดโควิด-19

    รอยเตอร์ - ผู้ช่วยคนสนิทที่สุดของ บอริส จอห์น นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ในวันจันทร์ (25 พ.ค.) ขัดขืนเสียงเรียกร้องให้ลาออกต่อข้อกล่าวหาละเมิดมาตรการล็อกดาวน์สกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ด้วยการขับรถหลายร้อยกิโลเมตรจากลอนดอนไปยังทางเหนือของอังกฤษ ไปหาครอบครัว ทั้งที่ในตอนนั้นตนเองอยู่ในข่ายต้องสงสัยติดเชื้อโควิด-19

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/around/detail/9630000054515

    #ที่ปรึกษานายกอังกฤษ #อังกฤษ #UK

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สุดเวทนา!!
    สาววัย 18 ป่วยลมชักตั้งแต่ 5 เดือน สมองพิการเท่าเด็ก 2 ขวบ
    แม่ต้มน้ำข้าวผสมนมประทังชีวิต

    บุรีรัมย์ - สุดเวทนา สาววัย 18 ปี ชาวกระสัง จ.บุรีรัมย์ ป่วยลมชักสมองพิการพัฒนาการเท่าเด็ก 2 ขวบ ฐานะยากจน พ่อทำงานต่างจังหวัดเจอพิษโควิด-19 ขาดรายได้ แม่อาศัยเบี้ยคนพิการและบัตรประชารัฐซื้อข้าวสาร นมกล่อง ต้มข้าวผสมนมใส่ขวดให้ลูกดูดกิน วอนช่วยเหลือ

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/local/detail/9630000054385

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ญี่ปุ่นมีแผนที่จะเปิดกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจอีกครั้งอย่างเป็นขั้นตอน หลังจากที่มีการยกเลิกภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ

    เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม นายอาเบะ ชินโซ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินใน 5 จังหวัดสุดท้ายจากทั้งหมด 47 จังหวัด โดย 5 จังหวัดดังกล่าวคือกรุงโตเกียวและจังหวัดรายรอบ 3 จังหวัด ตลอดจนจังหวัดฮอกไกโด ทางเหนือสุดของประเทศ

    นายอาเบะกล่าวว่าญี่ปุ่นจะสร้างวิถีชีวิตแบบใหม่ในยุคสมัยของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

    ผู้นำญี่ปุ่นชี้ว่าความเสี่ยงของการติดเชื้อไม่สามารถทำให้ลดลงเป็นศูนย์ได้ แม้ว่าหลังจากการยกเลิกภาวะฉุกเฉินก็ตาม

    รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ เป็นช่วง ๆ ช่วงละประมาณ 3 สัปดาห์ ขณะเดียวกันก็จะประเมินยอดการติดเชื้อและความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อในแต่ละภูมิภาคของประเทศ

    จะมีการอนุญาตให้จัดคอนเสิร์ตและงานนิทรรศการต่าง ๆ โดยจำกัดจำนวนของผู้เข้าชม รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าข้อจำกัดเหล่านี้จะผ่อนคลายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

    สำหรับการแข่งขันกีฬาอาชีพ เช่น การแข่งขันเบสบอลและฟุตบอลเจ-ลีก สามารถเริ่มแข่งขันได้ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน โดยในช่วงแรกจะไม่มีผู้เข้าชมการแข่งขัน จำนวนของผู้เข้าชมจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในภายหลัง

    รัฐบาลญี่ปุ่นยังมีแผนที่จะอนุญาตให้มีการจัดงานกีฬาไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม โดยเริ่มวันที่ 1 สิงหาคม หากจำนวนของผู้เข้าชมน้อยกว่าประมาณร้อยละ 50 ของความสามารถในการรองรับผู้ชมของสถานที่นั้น ๆ

    สถานที่ออกกำลังกายและร้านคาราโอเกะจะได้รับอนุญาตให้เปิดทำการอีกครั้งในวันที่ 1 มิถุนายน แต่ต้องมีการดำเนินมาตรการ เช่น การควบคุมจำนวนของลูกค้า

    มีการขอให้สถานแสดงดนตรีสดและสถานบันเทิงยามค่ำคืน เช่น บาร์ ปิดทำการต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญกำลังศึกษามาตรการป้องกันการติดเชื้อสำหรับสถานที่เหล่านี้ น่าจะมีการอนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเปิดทำการอีกครั้งในวันที่ 19 มิถุนายนเป็นอย่างเร็ว

    ติดตามรายละเอียดของข่าวอื่น ๆ ได้ที่นี่
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    • เกาะคีฟวาลินาในรัฐอะแลสกาของสหรัฐ พื้นที่ 4.23 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 374 คน ซึ่งมีชาวอินูเพียต (Inupiat) อาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่จะเป็นเกาะแห่งแรกที่ต้องเผชิญหายนะโลกร้อน เพราะพวกเขาซึ่งใช้ชีวิตบนเกาะแห่งนี้มานานหลายร้อยปีกำลังจะจมน้ำทะเล และต้องอพยพหนีตายภายในปี 2568

    • สหรัฐอเมริกาสร้างความผิดหวังให้กับชาวโลกด้วยการถอนตัวจากความตกลงปารีสที่จะช่วยยับยั้งหายนะจากปัญหาโลกร้อน ส่วนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ยังพยายามปฏิเสธว่าปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องหลอกลวงและเมื่อรัฐบาลของเขามีรายงานเตือนหายนะจากโลกร้อนเขาดันบอกว่า "ผมไม่เชื่อมันหรอก"

    • ทรัมป์อาจจะไม่รู้ว่าที่ปลายสุดด้านตะวันตกของสหรัฐอเมริกากำลังมีเกาะๆ หนึ่งที่จะจมน้ำไปตลอดกาลภายในปี 2568 เพราะระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่เกาะแห่งนี้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำแข็งขนาดใหญ่คือขั้วโลกเหนือก็ยังไม่รอด

    • เกาะแห่งนี้คือคีฟวาลินา (Kivalina) ในรัฐอะแลสกา พื้นที่ 4.23 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 374 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอินูเพียต (Inupiat) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใช้ชีวิตในแถบขั้วโลกเหนือ พวกเขาใช้ชีวิตบนเกาะแห่งนี้มานานหลายร้อยปี

    • คีฟวาลินามีลักษณะแบนราบไม่สูงไปกว่าระดับน้ำทะเลมากนัก แต่ที่มันไม่จมทะเลไปเพราะที่ผ่านมาน้ำทะเลไม่ได้สูงขึ้นและโลกยังไม่ร้อนมากนัก ในยุคก่อนๆ ตามปกติแล้วเกาะคีฟวาลินาจะมีแผ่นน้ำแข็งหนาปกคลุมชายฝั่งช่วยป้องกันการกัดเซาะของคลื่นลมได้อย่างดี

    • แต่อะแลสกาเป็นพื้นที่ที่อุณหภูมิร้อนมากขึ้นกว่าพื้นที่อื่นๆ ของสหรัฐอเมริกาถึง 2 เท่า และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา น้ำแข็งอาร์กติกละลายอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจทำให้ชายฝั่งไม่มีผืนน้ำแข็งปกคลุมอีกต่อไป เมื่อเกิดพายุฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวคลื่นลมก็เข้าซัดทำลายชายฝั่งพร้อมกับน้ำทะเลที่โถมเข้ามาท่วมแผ่นดินลงไปเรื่อยๆ

    • กรมยุทธโยธาของกองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยเหลือชาวคีฟวาลินาด้วยการสร้างกำแพงป้องกันตามชายหาดในปี 2551 แต่มันเป็นแค่มาตรการยับยั้งชั่วคราว เพราะหากโลกยังร้อนจัดและน้ำแข็งยังละลายรวดเร็ว อะไรก็ช่วยเกาะแห่งนี้ไม่ให้จมทะเลไม่ได้ ชาวเกาะยังพบกับปัญหาการล่าสัตว์ไม่ได้ จึงต้องกินอาหารที่ซื้อมาเก็บตุนไว้

    • ดังนั้น แผนการขั้นสุดท้ายคือการอพยพชาวเกาะคีฟวาลินาจากถิ่นกำเนิดออกไปยังสถานที่ปลอดภัยกว่าโดยห่างจากชุมชนเดิมถึง 12 กิโลเมตร แต่ยังมีการศึกษาสถานที่อื่นๆ เป็นทางเลือกด้วย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการอพยพสูงถึง 125 - 400 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว ยังไม่นับผลกระทบด้านจิตใจที่ต้องย้ายจากดินแดนของบรรพบุรุษ

    • ชาวเกาะต่างก็ทราบดีว่าชะตากรรมของพวกเขาเกิดจากภาวะโลกร้อนเป็นเหตุ ในปี 2551 ชาวเกาะคีฟวาลินาและชนเผ่าพื้นเมืองอะแลสกาในพื้นที่จึงฟ้องร้องบริษัท Exxon Mobil Corporation กับบริษัทน้ำมันอีก 8 แห่ง บริษัทพลังงาน 14 แห่ง และบริษัทถ่านหินอีก 1 แห่ง ในข้อหาที่บริษัทเหล่านี้มีส่วนทำให้ก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากถูกปล่อยออกมาจนเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งคุกคามการดำรงอยู่ของชุมชน

    • คดีความนี้ฟ้องร้องกันที่ศาลรัฐบาลกลางในซานฟรานซิสโกเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 และเรียกค่าเสียหายในการอพยพชาวเกาะ 400 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ศาลสั่งยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองและต้องแก้ไขโดยฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายรัฐบาลไม่ใช่โดยฝ่ายตุลาการ

    • ชาวเกาะคีฟวาลินาต้องทนรับชะตากรรมและพยายามปรับตัวนานหลายปี แต่พวกเขายังไม่ยอมแพ้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 พวกเขาพร้อมกับชนเผ่าในรัฐลุยเซียนาที่ประสบปัญหาเดียวกัน จึงร้องเรียนไปยังสหประชาชาติเพื่อกล่าวหาว่ารัฐบาลสหรัฐไม่ปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านอย่างเพียงพอ เพราะปล่อยให้บ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาต้องจมทะเลไปทีละน้อย

    • ชนเผ่าเหล่านี้หวังว่าผู้ตรวจสอบของสหประชาชาติจะจี้ให้รัฐบาลกลางสหรัฐทำอะไรสักอย่าง เพราะไม่ใช่แค่อเมริกาเหนือเท่านั้นที่ต้องดิ้นรนกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่มันเป็นปัญหาของชาวโลกทุกพื้นที่

    ข้อมูลจาก
    • Coastal erosion unites village of Kivalina and Louisiana tribes in UN complaint
    • The Alaskan village set to disappear under water in a decade
    • Kivalina, Alaska. In Wikipedia, The Free Encyclopedia

    ภาพจาก
    https://en.wikipedia.org/wiki/Kivalina,_Alaska#/media/File:Kivalina_2.jpg

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    • หายนะจากน้ำมือมนุษย์และธรรมชาติยังไม่จบง่ายๆ ในปีนี้ที่สหรัฐอเมริกากำลังถูกรุกรานโดยฝูงจักจั่นที่มากกว่าถึงหลักล้านล้านตัว (Trillions) ขณะที่ก่อนหน้านี้แอฟริกาประสบภัยคุกคามจากตั๊กแตนหลายพันล้านตัวบุกทำลายพืชผลการเกษตรจนทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร

    • ตามปกติจักจั่นจะฝังตัวเองในดินและโผล่ขึ้นมาโบยบินตามฤดูกาลทุกปี แต่มีสายพันธุ์หนึ่งที่ฝังตัวในดินนานนับสิบปี คือ Magicicada หรือ Periodical cicadas มันจะอยู่ในดินจนเป็นตัวเต็มที่นานถึง 13 - 17 ปี

    • ระหว่างนั้นมันจะกินสารอาหารจากพืชตระกูลต้นสนเลี้ยงชีวิต และคาดว่ามันคงเชื่อมนาฬิกาชีวิตของพวกมันกับวงจรชีวิตของต้นไม้ เมื่อพบว่าถึงเวลาแล้วก็จะตื่นจากจำศีลพร้อมๆ กันราวๆ เดือนพฤษภาคม

    • เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งก็คืออากาศที่อุ่นได้ที่มันจะโผล่ขึ้นมาจากดินพร้อมๆ กันเป็นล้านล้านตัวเพื่อผสมพันธุ์แล้ววางไข่ เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นในเวลา 2 เดือนพวกมันจะตายไปทิ้งไข่ไว้ในดินรอที่จะกลับมาเหนือผืนโลกอีก 13 - 17 ปีข้างหน้า

    • ยังมีหลายเรื่องที่ยังเป็นปริศนาเกี่ยวกับจักจั่นพันธุ์นี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าที่พวกมันต้องฝังตัวในดินนานๆ แล้วโผล่ขึ้นมาพร้อมๆ กันหลังจากผ่านไป 17 ปีก็เพื่อหลีกเลี่ยงสัตว์นักล่าด้วยการออกมาพร้อมๆ กันจนสัตว์นักล่ากินพวกมันไม่ทัน

    • การคืนชีพของจักจั่น Magicicada เรียกว่าครอก (Broods) จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งบังเอิญที่ปีนี้มันจะเกิดครอกใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง แม้ว่าจะเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ทุก 17 ปี และครั้งนี้บังเอิญเกิดขึ้นพร้อมกับการระบาดของโควิด-19

    • ที่ต้องจับตากันให้ดีก็คือแทนที่คราวนี้มันจะเกิดขึ้นเฉพาะในภาคตะวันออก มันยังจะลามไปถึงปีหน้าและจะเกิดขึ้นในภาคกลาง หรือมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา คาดว่าจำนวนจะมากถึงหลักล้านล้านตัว

    • หากนึกไม่ออกลองจินตนาการดูว่าจักจั่นประมาณ 1.5 ล้านตัวสามารถคลานออกมาจากใต้ผืนดินประมาณ 2.5 ไร่

    • โชคดีไปที่จักจั่นจำศีลระยะยาวพวกนี้ไม่เป็นอันตรายต่อพืชผลที่เป็นอาหารของมนุษย์ แต่จะเป็นอันตรายต่อพืชจำพวกกล้วยไม้ พืชไม้เลื้อย และต้นไม้ยืนต้น

    • ปัญหาอีกอย่างคือเสียงดังรบกวนหู เพราะตัวผู้กลุ่มหนึ่งๆ สามารถกรีดเสียงได้ดังมากถึง 90 เดซิเบลเลยทีเดียว การส่งเสียงร้องของตัวผู้ก็เพื่อเรียกตัวเมียมาผสมพันธุ์นั่นเอง

    • แต่ข้อดีของพวกมันคือ เมื่อพวกมันตายพร้อมๆ กันซากของจักจั่นจะสลายตัวบนพื้นดินทั่วไปทำให้เกิดคลังทรัพยากรธาตุอาหารแก่ชุมชนป่าไม้อย่างมหาศาล

    • หลังจากขึ้นมาจากดินในปีนี้และปีหน้า จักจั่นโตเต็มไวจะฝังไข่ไว้ในดินแล้วพวกมันจะเติบโตต่อไปใต้ดินนาน 16 - 17 ปี จนกว่าจะปรากฏตัวอีกครั้งในปี 2580

    • แต่ปัญหาก็คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ อาจจะเปลี่ยนวงจรชีวิตของพวกมันในอนาคต

    • นักวิทยาศาสตร์กังวลกันมานานหลายปีแล้วว่า มีโอกาสที่ภาวะโลกร้อนจะทำให้จักจั่นจำศีลระยะยาวพวกนี้โผล่ขึ้นมาจากดินเร็วกว่ากำหนด 4 ปี และในปี 2560 มีการพบจักจั่นพวกนี้ออกจากจำศีลเร็วกว่ากำหนดในบางพื้นที่ทั้งๆ ที่พวกมันควรจะออกมาในปี 2564

    • ที่น่าตกใจก็คือ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เป็นเรื่องยากที่จะได้ยินเสียงร้องของจักจั่นร้องก่อนจะถึงปลายเดือนพฤษภาคม แต่ในระยะหลังมีรายงานว่าเริ่มได้ยินเสียงจักจั่นตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ซึ่งหมายความว่าฤดูร้อนมาเร็วขึ้นเรื่อยๆ

    ข้อมูลจาก
    • Millions of cicadas are expected to emerge after 17 years underground because, of course, it's 2020
    • Bow, Humans: Trillions of Cicadas Are Going to Rule America
    • As cicadas emerge four years early, scientists wonder if climate change is providing a nudge

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    • ผึ้งบัมเบิล หรือบัมเบิลบี (Bumblebee) เป็นพันธุ์ผึ้งในซีกโลกเหนือ พวกมันก็เหมือนผึ้งในบ้านเราที่ต้องออกไปผสมเกสร ดูดน้ำหวาน แล้วนำกลับมาทำเป็นน้ำผึ้ง ชีวิตของพวกมันจึงขาดดอกไม้ไม่ได้ แต่ฤดูกาลเปลี่ยนไป เกสรไม่เพียงพอ

    • ตามปกติแล้วบัมเบิลบีจะพึ่งพาน้ำหวานจากเกสรอย่างมากสำหรับใช้เป็นสารอาหารที่จำเป็นในการสร้าง "นิคม" หรือรังในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นฤดูใบไม้ผลิจึงสำคัญกับพวกมันมาก เพราะเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยว แต่บางครั้งฤดูดอกไม้บานก็เกิดอาการแปรปรวน ทำให้ผึ้งไม่มีอาหารเสียอย่างนั้น

    • จากการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Science ของนักวิทยาศาสตร์จาก ETH Zurich ในสวิตเซอร์แลนด์พบว่า เมื่อพวกผึ้งขาดแคลนเกสร พวกมันจะไม่รอฤดูกาล แต่จะลงมือ "ตัดแต่งทางชีวภาพ" ด้วยตัวเอง โดยทำการเจาะรูรูปพระจันทร์เสี้ยวเล็กๆ ไว้ในใบไม้ของพืชดอก เพื่อกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอกมากขึ้น

    • ผลก็คือต้นไม้จะผลิดอกเร็วกกว่าปกติเพื่อสนองพวกผึ้ง บางครั้งอาจออกดอกเร็วกว่าปกติถึง 30 วัน และเมื่อต้นไม้เริ่มออกดอกพวกมันก็จะหยุดกัดใบไม้เพื่อกระตุ้น

    • นักวิทยาศาสตร์ยังพบด้วยว่าแม้จะมีต้นไม้ที่ออกดอกอยู่ใกล้เคียงรังของพวกมัน แต่ถ้ายังมีต้นที่อยู่ใกล้กว่าที่ยังไม่ออกดอก บัมเบิลบีก็จะไปรุมเจาะใบกระตุ้นให้ต้นนั้นออกดอก แสดงให้เห็นว่าพวกมันเน้นความสะดวกในการขนน้ำหวานจากต้นที่ใกล้กว่า แทนที่จะบินไปให้ไกลอีกหน่อย

    • นักวิทยาศาสตร์คาดว่ากรดไขมันในน้ำลายของบัมเบิลบีทำให้เกิดปฏิกิริยาในพืชดอก เช่นเดียวกับหนอนผีเสื้อบางชนิด หรือไม่ก็ผึ้งอาจจะปล่อยสารเคมีที่เรายังไม่รู้จักออกมาเพื่อกระตุ้นใบ

    • หรือไม่พวกมันก็อาจมีรูปแบบการทำลายใบที่เฉพาะเจาะจงซึ่งทำให้ต้นเกิดอาการตอบสนอง แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าพวกมันทำเรื่องแบบนี้ได้อย่างไรกันแน่

    • เมื่อนักวิทยาศาสตร์ลงมือทำแบบเดียวกับพวกบัมเบิลบีบ้าง ด้วยการใช้คีมและมีดโกนเจาะใบไม้ในลักษณะเดียวกัน ปรากฎว่าการทดลองของมนุษย์ทำให้ต้นไม้ออกดอกเร็วกกว่าปกติเหมือนกัน แต่ยังช้ากว่าของพวกบัมเบิลบีถึง 25 วัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าอาจมีสารเคมีในตัวผึ้งเกี้ยวข้องด้วย

    • พฤติกรรมนี้ตรงกันข้ามกับผึ้งในบ้าน หรือฮันนี่บี (Honey bee) ที่เป็นผึ้งท้องถิ่นในแถบยูเรเชีย ฮันนี่บีจะไม่สนใจต้นไม้ที่ไม่มีดอกเลย และจะไม่ทำอะไรเพื่อที่จะกระตุ้นทันให้ออกดอก ตรงกันข้ามกับบัมเบิลบีที่จะมารุมกระตุ้นต้นไม้ต้นนั้นทันทีที่มันออกดอกช้าเกินไป

    • นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าทำไมจึงมีแต่บัมเบิลบีเท่านั้นที่ลงมือกระตุ้นต้นไม้ด้วยตัวเองหากมันไม่ออกดอก แต่การค้นพบครั้งนี้มีประโยชน์มากในการทำความเข้าใจกับการปรับตัวของบัมเบิลบีต่อภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลให้พืชเกิดอาการแปรปรวนมากขึ้น เช่น ออกดอกไม่ตรงตามฤดูกาล

    • เพราะการศึกษาล่าสุดพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้จำนวนวันที่อากาศร้อนในยุโรปและอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้น และเป็นการเพิ่มอัตราการสูญพันธุ์บัมเบิลปีในท้องถิ่น

    • บางทีศักยภาพของบัมเบิลบีที่เพิ่งถูกค้นพบอาจถูกนำมาใช้ป้องกันผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อวงจรชีวิตของพืชที่เป็นอาหารของเราในอนาคตก็เป็นได้

    ข้อมูลจาก
    • Bumble bees damage plant leaves and accelerate flower production when pollen is scarce
    • Pollen-starved bumblebees bite 'half-moons' into plants to make them bloom
    • Nature: Bumblebees' 'clever trick' fools plants into flowering
    • Bumblebees Bite Plants to Force Them to Flower (Seriously)
    • Climate change contributes to widespread declines among bumble bees across continents

     

แชร์หน้านี้

Loading...