ฉลองผ้าป่าวรรณคดี หาทุนแต่งบ้านมหากวี"สุนทรภู่"

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 29 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,491




    [​IMG]

    บ่ายจวนเย็นของวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งแขกรับเชิญและที่ไม่ได้รับเชิญ ต่างไปพร้อมหน้าพร้อมตากันในงาน "สุนทรภู่ มหากวีกระฎุมพี พระอภัยมณี วรรณคดีการเมือง แปลงสนามรบ เป็นสนามรัก ต้านฝรั่งล่าเมืองขึ้น" ซึ่งจัดขึ้น ณ วัดเทพธิดาราม วัดประจำรัชกาลที่ 3 ถนนมหาไชย ที่ซึ่งสุนทรภู่เคยบวชและจำพรรษาอยู่หลายปี

    ที่ว่ามีทั้งแขกรับเชิญและไม่ได้รับเชิญ ไล่เรียงกันไปตั้งแต่ผู้เป็นวิทยากร *อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์* จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน *อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว* ปราชญ์อิสระเมืองเพชรบุรี *ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร* คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย *อาจารย์บุญเตือน ศรีวรพจน์* สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร *อาจารย์ศานติ ภักดีคำ* คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ *นิรมล เมธีสุวกุล* พิธีกรสาวจากรายการทุ่งแสงตะวัน ช่อง 3 รวมไปถึงนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจเรื่องราวของมหากวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้นี้

    ก่อนเข้าสู่เนื้อหาเรื่องราวปาฐกถาพิเศษของอาจารย์นิธิ เป็นรายการเรียกน้ำย่อยด้วยการบรรเลงดนตรีวงปี่พาทย์โหมโรง ขับลำคำกลอน สุนทรภู่ "รำพันพิลาป" โดย *เทวี-ขวัญกมล บุญจับ* สองแม่ลูกนักร้องเสียงรางวัล เจ้าของโรงเรียนประสาทวิทยาอนุชน

    เนื้อหาของเพลงที่บรรเลงตลอดงานได้ความรู้จากผู้จัดงานว่า เป็นผลงานการประพันธ์ของ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" อาทิ เพลงบางกอก เพลงท่าช้าง เพลงแร้งวัดสระเกศ-เปรตวัดสุทัศน์ เพลงบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ เพลงโอ่งอ่างมหากาฬ ไปจนถึงเพลงคลองมหานาค ยังมีอีกมากมาย

    ใครที่ไม่เคยได้ยินเพลงเหล่านี้ ไปในงานถามกันแทบทั้งนั้น อย่างเพลงบางกอก เนื้อหาบอกเล่าความเป็นมาของคำว่า "บางกอก"

    "มะกอก ลูกดก ตกคลอง สองฝั่ง

    ชุมชน ชื่อดัง บางมะกอก แต่นั้นมา

    บางมะกอก มีวัดมะกอก ตั้งแต่ยุค อยุธยา

    เนิ่นนาน กาลเวลา เรียกบางกอก รู้กันดี
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขุดคลองลัด บางกอก เกิดเมือง ธนบุรี

    สืบกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ เรียก Bangkok Thailand"

    หลังฟังดนตรีเพลิดเพลิน แล้วจึงเริ่มปาฐกถาพิเศษ โดยอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว พร้อมด้วยผู้เสวนาคนอื่น ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร อาจารย์ บุญเตือน ศรีวรพจน์ อาจารย์ศานติ ภักดีคำ ฯลฯ

    อาจารย์นิธิกล่าวยกย่องสุนทรภู่ว่า เป็นศิลปินคนแรกๆ ที่สร้างลักษณะเฉพาะของ "นิราศ" เป็นรูปแบบค่อนข้างใหม่กว่าในอดีต และเขียน "กวี" เพื่ออ่าน ซึ่งกวีในสมัยนั้นจะกล่าวถึงชนชั้นสูงไม่ค่อยกล่าวถึงชนชั้นศักดินา (ชนชั้นนำ) หรือในปัจจุบันคือคนชั้นกลาง ที่พอมีอันจะกิน

    อาจารย์นิธิยังยกย่องสุนทรภู่เป็นมหา "กระฎุมพี" มีใจความว่า สุนทรภู่เป็นกวีของต้นรัตนโกสินทร์ ที่สะท้อนโลกทรรศน์ของกระฎุมพีได้แจ่มชัด ตอบสนองทั้งค่านิยมและรสนิยมของศักดินา งานของสุนทรภู่จึงได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคของชนชั้นวัฒนธรรมและชนชั้นกระฎุมพี

    "ถ้าจะพูดถึงความหมายของ "กระฎุมพี" มีใจความหมายถึง ชนชั้นนำในระบบศักดินาผสมกับชาวจีนและเชื้อสายที่ผสมเป็นจำนวนมากประกอบเป็นคนชั้นสูงของสังคมไทย มีบทบาทในวัฒนธรรมชั้นสูงของสังคม แบบแผนการบริโภคของกระฎุมพีก็จะดู "ไม่แตกต่างจากชนชั้นสูงของในสมัยอยุธยา"

    กล่าวคือ นิยมใช้ของที่ผลิตในต่างประเทศ เพียงแต่ว่าปริมาณของที่บริโภคฟุ่มเฟือยเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมากในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ลักษณะเด่นของพวกกระฎุมพีที่มีต่อโลกรอบตัว คือความมีเหตุมีผล ความลี้ลับ และปฏิหาริย์ต่างๆ การเมืองและศาสนาไม่ค่อยมีเสน่ห์แก่พวกกระฎุมพี งานของสุนทรภู่มีเสน่ห์ในแง่นี้"

    ด้านอาจารย์ล้อมปราชญ์อิสระเมืองเพชรกล่าวถึง "นิราศเมืองเพชร" และประวัติของสุนทรภู่โดยย่อ ว่า *สุนทรภู่* เกิดที่ *วังหลัง* สมัยรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ บิดามารดาชื่ออะไรไม่มีหลักฐาน แต่มีร่องรอยว่ามารดาเป็น "แม่นม" ของลูกเธอ (ในกรมพระราชวังหลัง) พระนามว่า *พระองค์เจ้าจงกล* <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อาจารย์ล้อมบอกว่า สุนทรภู่อยู่กับแม่ในวังหลังตั้งแต่เล็กจนโต เมื่อเป็นเด็กได้เข้าเรียนหนังสือที่สำนักวัดชีปะขาว (หรือวัดศรีสุดาราม) อยู่ในคลองบางกอกน้อย ดังสุนทรภู่ได้เขียนไว้เอง ในนิราศพระประธม สุนทรภู่เกิดที่วังหลังเป็น "ผู้ดี" บางกอก อยู่กับแม่ในเรือนแพรวังหลัง ปากคลองบางกอกน้อย ชีวิตประจำวันย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นย่านคลองบางกอกน้อย และย่านใกล้เคียงที่เป็นชาวสวน สุนทรภู่ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.2398 อายุ 69 ปี ถึงแก่กรรมที่บ้านสวนระมาดในคลองบางกอกน้อย

    *จากนั้นกล่าวถึงนิราศเมืองเพชรว่า "นิราศเมืองเพชร เป็นนิราศที่เป็นปริศนาสำหรับนักศึกษางานของท่านสุนทรภู่ ไม่ทราบว่าท่านแต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อใด และท่านไปเมืองเพชรด้วยเหตุใด"*

    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีความเห็นว่า สุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อครั้งกลับเข้ารับราชการ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านน่าจะออกเดินทางไปเมืองเพชรในหน้าหนาว พ.ศ.2388 โดยอาสาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้ามานั่นเอง และนิราศเรื่องนี้คงเป็นเรื่องสุดท้ายของท่าน เรื่องธุระของท่านนั้นค่อนข้างแน่ เพราะความตอนหนึ่งในนิราศกล่าวถึงธุระของท่านเพียงสองวรรคเท่านั้น

    คือ "ที่ธุระจะใคร่ได้ใจนิยม เขารับสมปรารถนาสามิภักดิ์"

    "นอกจากเรื่องที่สุนทรภู่จะไปเมืองเพชรด้วยเหตุใดแล้ว ยังมีกรณีที่น่าสนใจอีก คือ สุนทรภู่น่าจะมีบรรพบุรุษเป็นชาวเมืองเพชรอีกด้วย การเดินทางไปเมืองเพชรครั้งนี้ คงเป็นครั้งที่สองของสุนทรภู่ และเชื่อว่าสุนทรภู่น่าจะเคยหนีความเศร้ามาจากกรุงเทพฯ เมื่อครั้งยังหนุ่ม ด้วยในคราวนี้ ท่านได้พรรณนาถึงความหลังไว้หลายแห่งด้วยกัน" อาจารย์ล้อมกล่าวทิ้งท้าย

    ด้าน ดร.ตรีศิลป์ อาจารย์บุญเตือน และอาจารย์ศานติ ร่วมกันเสวนานิราศเมืองสุพรรณว่า "นิราศสุพรรณ" แต่งขึ้นในราวปี พ.ศ.2374 ในระหว่างที่สุนทรภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ

    *วัตถุประสงค์ในการเดินทางไปสุพรรณ คือเพื่อไปหาแร่ชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาแปรธาตุชนิดอื่นได้ พูดง่ายๆ คือท่าน "เล่นแร่แปรธาตุ" นั่นเอง*

    นิราศเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง ทำนองจะลบคำสบประมาทว่า ท่านแต่งได้แต่เพียงกลอน ในนิราศเรื่องนี้ จึงพบสุนทรภู่แต่งโคลงกลบทไว้หลายต่อหลายรูปแบบ และโคลงที่มีสัมผัสในเหมือนอย่างกลอน ที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย

    นอกจากนี้ยังพบว่าสุนทรภู่ใช้คำเอกโทษ โทโทษ เปลืองที่สุด!

    ด้วยหมายจะคงความหมายดังที่ต้องการ ส่วนการรักษารูปโคลงเป็นเพียงเรื่องรอง ทำให้ได้รสชาติในการอ่านโคลงไปอีกแบบหนึ่ง เพราะต้องเดาด้วยว่าท่านต้องการจะเขียนคำว่าอะไร การเดินทางครั้งนี้เหนื่อยยากหนักหนาแทบจะเอาชีวิตไม่รอด สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรกลับมา สุนทรภู่ได้เขียนเตือนบุตรหลานทั้งหลาย ในโคลงก่อนบทสุดท้ายของนิราศ คือบทที่ 461 ไว้ด้วย

    หลังการเสวนาสิ้นสุดลง บรรดาผู้เข้าร่วมงานทั้งหลายร่วมกันทอดผ้าป่าวรรณคดี โดยการบริจาคเงินสมทบทุน ซึ่งเงินจากผ้าป่าครั้งนี้จะนำไปตกแต่งบ้านกวี "สุนทรภู่" จัดสร้างขึ้นที่วัดเทพธิดา อาจจะไม่ใช่การสร้างขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการจัดตกแต่งกุฏิที่สุนทรภู่เคยจำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังบวชอยู่วัดเทพธิดาราม ซึ่งเดิมทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของสุนทรภู่อยู่แล้ว และจะมีการเพิ่มเติมทำเป็นศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับประวัติของสุนทรภู่ และเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหากวีผู้นี้

    บรรยากาศงานทอดผ้าป่าวรรณคดีเป็นไปด้วยความคึกคัก มีทั้งนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ให้ความสนใจไปร่วมทอดผ้าป่าครั้งนี้ อย่างมาก

    ผู้ที่สนใจอยากทำบุญผ้าป่าวรรณคดี ยังสามารถบริจาคสมทบทำบุญได้ โดยบริจาคเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า ชื่อบัญชี พระราชวรเมธี (วัดเทพธิดาราม กองทุนสุนทรภู่) หมายเลข 169 074 3750 หรือ สอบถามข้อมูล โทรศัพท์ 0-1430-6730

    ที่มา : [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...