เสียงธรรม คำสอนตั๊กม้อว่าด้วย พุทธะ โลหิตะสูตร

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 10 พฤษภาคม 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    LpTugmor.jpg
    คำสอนตั๊กม้อว่าด้วย พุทธะ โลหิตะสูตร

    Suvinai Pornavalai
    Published on Jun 16, 2018
    ความเป็นมาของ... พระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม่อ)

    THE BACKGROUND
    Feb 2, 2020
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2020
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    พระโพธิธรรม(ตั๊กม้อ)ผู้ให้กำเนิดนิกายฌาน(เซ็น)ในจีน
    zen25.jpg

    ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นชาวอินเดียครับ เล่ากันว่าเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียแคว้น หนึ่งทีเดียวนะครับ ก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นท่านเป็นนักรบที่เก่งกาจมาก ต่อมาไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงออกบวชเสียยังงั้นแหล่ะ บางทีท่านอาจจะได้ดวงตา เห็นธรรมหรือไม่ก็เบื่อการรบราฆ่าฟันกันเต็มทีจึงออกบวชเพื่อแสวงหาความสงบสุขทางใจบ้าง น่ายกย่องนะครับ

    คำว่า “ปรมาจารย์ตักม้อ” นั้นเป็นคำเรียกในภาษาจีนครับ “ปรมะ” หรือ “ปรมา” นั้นมาจาก คำว่า “บรม” ซึ่งแปลว่า “ยิ่งใหญ่” ดังนั้นคำว่า ปรมาจารย์ตักม้อ จึงหมายถึง อาจารย์หรือครูผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีนามว่า “ตักม้อ” นั่นเอง คำว่าตักม้อนี้ชาวจีนเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโม” เพราะนามเดิมของท่านในภาษาอินเดียเรียกว่า “ตะโมภิกขุ” (ภาษาไทยเรียกท่านว่า พระโพธิธรรม) พอไปอยู่เมืองจีนจึงกลายเป็น “ตักม้อ” ไป ครั้นพอมาถึงเมืองไทยก็มีผู้เติม “ไม้ตรี” เข้าไปอีกตัวหนึ่งจึงกลายเป็น “ตั๊กม้อ” ไปด้วยประการฉะนี้ ต่อไปนี้ผมจึงขออนุญาตเรียกนามท่าน ปรมาจารย์ตักม้อในหนังสือเล่มนี้ว่า “อาจารย์ตั๊กม้อ” ก็แล้วกันนะครับ ฟังแล้วค่อยคุ้นหูเป็นสำนวนแบบไทยๆ สักหน่อย

    เนื่องจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อเป็นชาวดินเดียจึงมีผิวกายดำคล้ำและมีเส้นผมหยิกงอ ดังนั้น ภาพของท่านในสายตาของชาวจีนจึงดุร้ายน่ากลัวราวกับโจรผู้ร้ายทีเดียวเชียวละครับ ภาพการ์ตูนของผมก็เลยต้องวาดให้มีลักษณะดุดันตามไปด้วย แต่ความจริงแล้วอาจารย์ตั๊กม้อท่าน เป็นคนดีเป็นฝ่ายธรรมะครับ ถ้าไม่ดีจริงคงไม่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาและไม่สามารถเดินทางไปเผยแพร่ธรรมะในประเทศจีนจนแพร่หลาย เป็นที่เคารพยกย่องของชาวจีนเป็น จำนวนมากมานานนับเป็นพันๆปีทีเดียว แสดงว่าคนดีนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างหน้าตาสวยงามเสมอไป คนรูปชั่วใจดีมีถมไป ส่วนคนที่รูปงามแต่จิตใจชั่วร้ายก็มีมากเหมือนกัน ต้องคอยระวังกันให้ดีก็แล้วกันนะครับ
    เล่ากันว่า เมื่อท่านตั๊กม้อมาถึงเมืองจีนนั้น เป็นช่วงเวลาที่ประเทศจีนได้นับถือพุทธมหายานอย่างกว้างขวางแล้ว พระโพธิธรรมหรือพระอาจารย์ตั๊กม้อได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่ ซึ่งองค์ฮ่องเต้ก็ได้ตรัสถามท่านว่า

    ๑) พระองค์ทรงสร้างโบสถ์วิหารเป็นอันมาก ทรงมีพระบรมราชโองการให้จารึกพระไตรปิฎกแพร่หลายไปทั่วเขตแดนของพระองค์ ทรงให้ความอุปถัมภ์แก่ภิกษุ และภิกษุณีเป็นอันมาก จึงทรงมีพระประสงค์จะทราบว่า การกุศลนานาประการนี้จะให้ผลยังไง?

    พระโพธิธรรมถวายพระพรว่า “ไม่มีอะไร”

    ๒) ถ้าเช่นนั้น หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นยังไง?

    พระโพธิธรรมถวายพระพรว่า “หลักธรรมของพุทธศาสนา คือ การไม่มีอะไร”

    ๓) ถ้าเช่นนั้น ตัวพระโพธิธรรมเองที่มาอยู่ตรงหน้าองค์ฮ่องเต้เวลานี้ คืออะไร?

    พระโพธิธรรมถวายพระพรว่า “ไม่มีอะไรเหมือนกัน”
    บางตำนานกล่าวว่า องค์ฮ่องเต้ไม่เข้าใจคำตอบของท่านตั๊กม้อเลยค่ะ แต่บางตำนานก็กล่าวว่า องค์ฮ่องเต้ทรงเลื่อมใสมาก จึงทำให้เกิดหลักในลัทธิมหายานจีนขึ้นอีกหลักหนึ่ง คือ สุญญตา คือ การไม่มีอะไร

    ข้อนี้พระโพธิธรรมอธิบายว่า ข้อธรรมสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ สูญ หรือ ไม่มีอะไรเลย หมายถึง การทำจิตให้พ้นจากความปรารถนาทั้งปวง จนไม่มีความต้องการสิ่งใดเหลืออยู่ในดวงจิต

    การทำบุญตราบใดที่ยังหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ตน ก็ไม่ใช่บุญแท้ องค์ฮ่องเต้ทรงสร้างวัดมากมาย สร้างพระไตรปิฎก บำรุงภิกษุภิกษุณี การทำบุญมากถึงเพียงนี้แต่ยังหวังผลสำหรับพระองค์เอง ย่อมไม่ใช่บุญแท้ ถ้าทรงมีพระประสงค์ที่จะให้เป็นบุญแท้ ก็ต้องไม่ทรงหวังผลตอบแทนใดๆ แก่พระองค์เอง

    ดังนั้น ที่ท่านตั้๊กม้อตอบคำถามแรกขององค์ฮ่องเต้ว่า ไม่มีอะไร หรือ ไม่มีผลอะไร ก็เพื่อให้การบำเพ็ญบุญขององค์ฮ่องเต้ได้ผลสูงสุดนั่นเองค่ะ

    ทางญี่ปุ่นนับถือองค์พระโพธิธรรมหรือปรมาจารย์ตั๊กม้อมาก เรียกกันว่า ดารูมะ หรือ Daruma และเป็นเหตุให้เกิดตุ๊กตาล้มลุกแบบที่คนสมัยนี้เอามาทำเป็นตุ๊กตาของเล่น หรือเป็นของนำโชค แต่สมัยก่อนเค้าทำเป็นปริศนาธรรมค่ะ หมายถึงให้เป็นเครื่องเตือนใจว่า ผู้ประพฤติธรรมนั้นไม่มีวันล่มจม เปรียบเสมือนตุ๊กตาที่ล้มแล้วก็ลุกขึ้นมาเองได้

    เพื่อนชาวญี่ปุ่น ซึ่งเคยบวชเป็นมิโกะอยู่ในเทวสถานพระแม่ไดเบนไซเทนบอกว่า คำว่า ดารูมะ ในความคิดของคนญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะหมายถึงพระอาจารย์ตั๊กม้อแล้ว ยังหมายถึง ธรรมะ อีกด้วย เพราะคำว่า Dharma ในภาษาสันสกฤต ญี่ปุ่นก็ออกเสียงว่า ดารูมะ เหมือนกันค่ะ

    เรื่องราวของอาจารย์ตั๊กม้อที่เด่นดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมีอยู่มากมายหลายเรื่องผมจะขอเล่า ให้ฟังสักสองสามเรื่องนะครับ แต่ถ้าท่านผู้อ่านอยากจะทราบเรื่องราวให้มากไปกว่าที่ผมเล่าก็ต้องไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมกันเองครับ เรื่องแรกซึ่งเล่าขานเกี่ยวกับความเก่งกล้าสามารถ ของอาจารย์ตั๊กม้อนั้นคือในสมัยแรกที่ท่านเดินทางจากประเทศอินเดียไปยังประเทศจีนนั้นมีอยู่ ตอนหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องเดินทางข้ามลำน้ำแต่ไม่สามารถจะหาเรือนั่งข้ามไปได้ ท่านอาจารย์ตั๊ก ม้อจึงแสดงอภินิหารข้ามลำน้ำด้วยวิธีอันน่าตื่นเต้นพิสดารคือ ท่านหักต้นอ้อท่อนหนึ่งโยนลง ไปในน้ำแล้วโดดลงไปยืนเหยียบอยู่บนต้นอ้อต้นนั้นอาศัยเป็นเรือพาท่านลอยข้ามลำน้ำไปขึ้นยังอีกฝั่งหนึ่งอย่างสบายอารมณ์ ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างพากันแตกตื่นเลื่อมใสในความ สามารถของท่านและเล่าขานเรื่องนี้สืบต่อๆกันมาจนถึงทุกวันนี้

    เรื่องที่สองคือ เมื่อท่านเดินทางไปถึงประเทศจีนใหม่ๆ ชาวจีนที่นับถือพุทธศาสนาในขณะ นั้นยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงหลักธรรมที่แท้จริง ต่างแบ่งแยกกันออกเป็นนิกายต่างๆมากมายและปฏิบัติธรรมผิดออกไปจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นท่านเป็นพระที่เดินทางมาจาก อินเดียซึ่งเป็นแดนพุทธภูมิจึงพากันมาตั้งคำถามและลองภูมิท่านจนรู้สึกรำคาญ ท่านอาจารย์ตั๊กม้อคงอิดหนาระอาใจมากจึงนั่งสมาธิหันหน้าเข้าหาผนังหินในถ้ำไม่ยอมพูดจากับใครเป็นเวลานานถึง 9 ปี เล่นเอาพวกที่ชอบไปอวดรู้ลองภูมิพากันหลบฉากหนีหน้าไปเพราะแตกตื่นในวิธีการนั่งสมาธิแบบพิสดารของพระจากเมืองอินเดีย ส่วนคนที่เลื่อมใสก็พากันเข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนธรรมะกับท่านจนกลายเป็นหลวงจีนวัดเส้าหลินอันมีชื่อเสียงโด่งดังสืบต่อๆกันมานั่นแหล่ะครับ

    เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์ตั๊กม้อใช้วิทยายุทธปราบคนพาลอภิบาลคนดีจนมีคนเคารพเลื่อมใสมากมายทั่วไปในเมืองจีน คือตอนที่ท่านเดินทางธุดงค์จาริกไปทั่วเมืองจีนนั้นได้ช่วยเหลือปราบปรามโจรผู้ร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านด้วยวิชาการต่อสู้อันแปลกพิสดารที่ท่านได้เรียนรู้ไปจากอินเดีย นอกจากนั้นท่านยังได้รวบรวมบันทึกเคล็ดวิชาในการฝึกการต่อสู้อันสุดแสนจะพิสดารต่างๆรวมเข้าไว้เป็นคัมภีร์เล่มหนึ่ง เรียกว่า “คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง”

    คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนบน” บันทึกวิชาฝึกความแข็งแรงของร่างกาย (ฝึกโยคะ) และการต่อสู้ไว้ 72 กระบวนท่า ท่อนที่สองเรียกว่า “คัมภีร์ท่อนล่าง” บันทึกเคล็ดวิชาต้องห้าม (วิชามาร) เอาไว้ 36 ประบวนท่า เคล็ดวิชามารเหล่านี้เป็นแนวทางการ ฝึกวิทยายุทธของคนที่มีความโหดชั่วร้ายซึ่งพ่ายแพ้แก่ฝีมือของท่าน อาจารย์ตั๊กม้อจึงยึดเอามารวมไว้เป็นคัมภีร์ท่อนล่างและกำหนดให้เป็น ”วิชาต้องห้าม” คือห้ามมิให้ฝึก เนื่องจากวิธีการฝึกนั้นผิดทั้งครรลองคลองธรรมและผิดศีลธรรมจึงเก็บซ่อนคัมภีร์ท่อนล่างไว้อย่างมิดชิด ภายหลังจากท่านอาจารย์ตั๊กม้อมรณภาพไปแล้วได้มีผู้ลอก
    พระโพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 ของจีน
    “พระโพธิธรรม” เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย
    ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุกๆศาสนา ตลอดจนวรรณคดีอักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค
    เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง 7 วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27
    พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยิบลูกแก้วยกขึ้นให้ท่านโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น ท่านก็บังเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งแทงตลอดถึงธรรมที่ตนเคยสงสัยมาทั้งหมด กระทั่งสามารถตอบปัญหาธรรมได้หมด เมื่อบรรลุธรรมแล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    พระปรัชญาตาระเถระ เห็นถึงปัญญาบารมีอันสูงล้ำของพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมคณะสงฆ์และประกาศว่า
    “พระโพธิธรรม ได้บรรลุธรรมสมบูรณ์ดีแล้ว ฉันจะมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ และถ่ายทอดธรรมทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ท่านเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ต่อจากฉันไปเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา
    ต่อจากนี้ไป เป็นสิทธิหน้าที่ของท่านที่จะทำให้วิถีธรรมนี้แพร่หลายไปทั่วทุกหนทุกแห่งในโลก และจงเลือกศิษย์ที่บรรลุธรรมตลอดจนมีความรู้ในธรรมที่ มั่นคงดีแล้ว เป็นผู้รับสืบทอด บาตรจีวร สังฆาฏิ และวิถีธรรมตรงนี้อย่างระมัดระวัง อย่าให้ขาดตอนลงไปได้
    ท่านมีบุญญลักษณะ บารมีดีพร้อม และอายุยืนยาวมากกว่าพระสังฆปรินายกองค์ใดๆ หลังจากที่ฉันดับขันธ์ไปแล้วเป็นเวลา 67 ปี แผ่นดินนี้จะเกิดภัยสงครามใหญ่อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
    ท่านจึงควรนำวิถีธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เผยแพร่ไปสู่ประเทศจีนเถิด” ในสำเนียงจีนเรียก พระโพธิธรรมว่า “ตั๊กม้อ”
    ท่านได้เดินทางไปยังเมืองจินหลิงในสมัยของกษัตริย์เหลียงอู่ตี้ เพื่อเผยแพร่พระธรรม แต่ไม่ได้ผลดี จึงเดินทางไปยังทิศตะวันออกไปถึงแคว้นเว่ย และได้ไปถึงวัดเสี้ยวลิ้มที่เขาซงซัว เห็นว่าเป็นที่สงบและเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จึงได้พำนักอยู่ที่วัดนี้ ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อได้นั่งหันหน้าเข้าผนังถ้ำบนเขา เข้าฌาณเป็นเวลา 9 ปี ภายหลังได้ถ่ายทอดธรรมะให้แก่มหาสมณะฮุ่ยเข่อ ซึ่งเป็นศิษย์
    วรยุทธของวัดเส้าหลิน

    มีห้าวิชาที่ถือว่าเป็นยอดวิชาหมัดมวย ห้าวิชานี้มี มวยมังกร-ใช้ฝึกจิตฝึกสติ , มวยพยัคฆ์-ใช้ในการฝึกระดูก , มวยเสือดาว-ใช้ฝึกพลัง , มวยงู-ใช้ฝึกพลังปราณ (ชี่) , มวยกระเรียน-ใช้ฝึกเจ็ง (ในทางการแพทย์จีน ในร่างกายคนเรามีสารสำคัญอยู่ในร่างกายที่เรียกว่าสารจำเป็น)
    วิชามวยทั้งห้าชนิดนี้ ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อเป็นผู้คิดค้นขึ้นมาถ่ายทอดให้กับพระในวัด
    วิชานี้ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียง โดยท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อเป็นผู้คิดค้นขึ้น ท่านตั๊กม้อ เมื่อมาอยู่ที่วัดเสี้ยวลิ้มได้เห็นเหล่าพระเณรขาดความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีอาการง่วงเหงาหาวนอน เวลาฟังท่านบรรยายธรรมก็ไม่มีสมาธิ ท่านจึงได้คิดค้นวิธีการบริหารแก่เหล่าพระเณรในวัด ซึ่งมีทั้งหมด 18 ท่า

    ท่านตั๊กม้อได้รจนาคัมภีร์ขึ้นสองฉบับ
    หนึ่งคือ ซือชวยเก็ง (คัมภีร์ล้างไขกระดูก) ได้ถ่ายทอดคัมภีร์นี้ให้แก่ท่านฮุ่ยเข่อ ไม่ได้ถ่ายทอดแก่คนทั่วไปคัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกตามวิถีทางก่อนกำเนิด (เซียนเทียน)
    อีกฉบับหนึ่งคือ เอ็กกึงเก็ง(คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น) ได้ถ่ายทอดให้แก่เหล่าศิษย์ในวัดเสี้ยวลิ้ม และได้มีการถ่ายทอดเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน อี้จินจิงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกฝนกระดูกและเส้นเอ็นให้แข็งแรงเป็นการฝึกตามวิถีทางหลังกำเนิด (โฮ่วเทียน)

    ที่มา ขอขอบคุณ ;- http://buddhakhun.org/main//index.php?topic=10596.0

    ;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;''' EndLineMoving.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2018
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    โอวาท ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ

    Bhodhidham
    Published on Oct 1, 2016
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    พื้นที่ชีวิต : ตามรอยโพธิธรรม ปริศนาแผ่นดินเกิด (24 พ.ค. 61)

    ThaiPBS
    Streamed live on May 24, 2018
    ว่ากันว่าแก่นคำสอนของ "ท่านโพธิธรรม" หรือ "ตั๊กม้อ" คือการชี้ตรงไปที่จิตใจ เพื่อให้เห็นธรรมชาติเดิมแท้ และบรรลุถึงพุทธภาวะ ตามตำนานกล่าวว่าท่านเป็นเจ้าชายจากอินเดียตอนใต้ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปเผยแผ่คำสอนที่ไม่ใช่เพียงแค่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นการปฏิวัติสังคมวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ทั้งในจีน ญี่ปุ่น รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เซ็นแพร่ไปถึง แน่นอนว่าหากปราศจากท่านโพธิธรรม โฉมหน้าของอารยธรรมตะวันออกจะต่างจากที่เราเห็นทุกวันนี้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ออกเดินทางจากอินเดียตอนใต้ ไปยังจีน และญี่ปุ่น รวมระยะทางกว่า 20,000 กิโลเมตร เพื่อไขปริศนา และตามรอยการเดินทางของปรมาจารย์เซนผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    พื้นที่ชีวิต : ตามรอยโพธิธรรม 4 รอยทางอันรางเลือน (14 มิ.ย. 61)

    ThaiPBS
    Streamed live on Jun 14, 2018

    พื้นที่ชีวิตชุดตามรอยโพธิธรรม ได้เดินทางมาถึงตอนสุดท้าย นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่อินเดีย มาประเทศจีน และในสัปดาห์นี้จากจีนสู่ญี่ปุ่น มาร่วมกันค้นหาร่องรอยของเซนที่ท่านโพธิธรรมได้เริ่มไว้จะมีพัฒนาการเป็นอย่างไรในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าในบางมิติ เซนก็ไปไกลมากกว่าจุดตั้งต้นเสียอีก และแม้ว่าท่านโพธิธรรมจะไม่เคยเดินทางมาที่ญี่ปุ่นเลย แต่ในบรรดา 3 ประเทศคืออินเดีย จีน และญี่ปุ่น ที่เราเดินทางตามรอยในครั้งนี้ ญี่ปุ่นกลับเป็นเพียงประเทศเดียวที่ท่านโพธิธรรมยังคงปรากฏกายให้เราเห็นในแทบทุกหัวมุมถนน
     

แชร์หน้านี้

Loading...