ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและแสง กับสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย innertruth, 26 พฤศจิกายน 2016.

  1. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    อยากสอบถามผู้รู้ครับ ผมไม่รู้ว่าตนเองปฏิบัติถึงไหนแล้ว แต่ก็ไม่ได้สนใจ ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ ตามกำลัง เวลาผมนั่งสมาธิพอสงบระงับความฟุ้งซ่าน นิ่งสบาย ที่นี้เวลาได้ยินเสียงอะไรแว้บขึ้นมา (เป็นเฉพาะเสียงแว้บๆ เช่น เสียงไม้แตก เสียงแอร์ที่ดังขึ้นมาแว้บแรก เสียงหมาเห่า) จะมีแสงสีขาว (ไม่ชัดมาก) แว้บขึ้นมาเหมือนแฟลชของกล้องถ่ายรูปแล้วหายไป ผมก็เฉยๆ ตกใจบ้างบางครั้ง แต่ก็ปฏิบัติต่อไป ตามมีตามเกิด คำถามคือ จริงๆแล้วอาการนี้มีนัยจะอะไรที่เราควรเข้าใจ เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติต่อไหมครับ ขอบคุณครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ดีแล้ว. ที่เหนแสงมันเกิด. แล้วก้ดับ. ไม่วิ่งตามแสงไป

    ให้เอา สภาวะหลังเหนแสง. เอาตรงนั้นมาทำการรู้ ว่าจิตอยู่กับกาย

    ไม่ส่งจิตออกนอก

    แล้วเอาจิตที่ สบายๆ. ตรงนั้นเปนจิตส่งใน

    ที่นี้ ต้องมีศิลปนิดนึง. ตอนจิตสงบ เพราะสงัด
    ตรงนี้เฝ้นหา. รสที่มีคุณอันเกิดจากจิต สงบ สงัดนิดนึง
    เอาให้พอเหนว่า. จิตมีปิติ ให้ปิติกำเริบนิดนึง แต่อย่า
    ให้อาบกาย จนกายมันชัดจนตกจากสมาธิ

    ถ้าทำถูก จะไม่เกิดสุข โชย เย็น กายเบา จิตเบา

    แล้วทำการรู้สภาวะที่เหมือนไม่ได้อะไรมา. ไม่เสียอะไรไป

    แต่จิตก้ไม่ส่งใน. ไม่ส่งนอก


    ระวัง. สิ่งกระซิบหลอกว่า. เพื่ออะไร. อย่าให้มันชวนเราตอบ

    แช่ตรงนั้นให้นานๆ.

    ถ้าทำได้ ค่อยกลับไป. กระตุ้นปิติ กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เหนควรว่ามีประโยชน์
    ในการเปิดผัสสะ นามรูปเหล่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2016
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    แสงแวป

    ต้องบอกด้วยว่า. ตอนที่ สงบ. สบาย. เพราะไปจดจ่อ. อารมณ์ อย่างไร

    เช่น. ความแปรปรวนของกองลม การไหวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเนื่องกับกาย

    หรือ. ความไหวเนื่องกับนามธรรมภายในกาย

    หรือไปยก. สิ่งที่นิ่งๆ ท่ามกลางนามกาย

    ที่นี้ ถ้าสงบ. จากการตามเหนความแปรปรวน. แสงจะเปนจิตมันเก็บฌาณ
    อันนี้ไม่ต้องฝืน. แต่ก้อย่าออกจากสมาธิเรวไป. จะปวดหัว

    ถ้าสงบเพราะเพ่งสิ่งนิ่งท่ามกลางนามกาย. อันนี้ไม่เอา เว้นแต่ จะไม่มาถาม
    (ถ้าไม่เปนเหตุให้เกิดนิวรณ์ ก้ไม่ห้าม)

    ถ้าไม่เข้าสองส่วนนี้ ก้ลองกลับไปอ่านข้างบน

    ถ้างง. รออุบายธรรมอื่น.
     
  4. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอบคุณมากครับ ตอนภาวนาจริงๆแล้วเห็นสามส่วน แต่ไม่แน่ใจว่าถูกด้วยหรือไม่ คือ กาย 1 (เห็นกายโปร่งๆ รวมๆ ไม่เห็นอวัยวะภายใน) จิต 1 (มีก้อนกลางหน้าอก ตอนแรกติดตรงนี้ อยากให้หาย ตอนนี้มองมันเฉยๆ เห็นว่าเราบังคับมันไม่ได้ วางลง สบายขึ้นเยอะ) และผู้รู้ 1 (อันนี้ไม่แน่ใจว่าเรียกว่าผู้รู้หรือเปล่า) มันสงบ แต่จะรู้ 3 ตัวนี้ ตอนภาวนา ไม่รู้ทำผิดไหม เหมือนต้องคอยเตือนตัวเองให้รู้รวมๆ อย่าไปจ้องสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือจริงๆควรเอาอันใดอันหนึ่งยกมาเป็นอารมณ์ครับ? ขอบคุณมากครับ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ดี อธิบายออกมาแบบนี้ จะชัดขึ้น

    อันดับแรก ไม่ว่าจะภาวนาได้หรือไม่ได้ยังไง เห็นหรือไม่เห็นอะไร

    สิ่งที่ ควรทบทวน คือ ปฏิปทาที่ใช้ มันจะมีสองส่วน คือ ไม่ปล่อย ก็เพ่ง

    ปล่อย จะเป็นการอนุโลม ซึ่งจะกระทบกับ สภาวะธรรมหลากหลาย ซึ่งจะต้อง
    กำหนดรู้ทุกขโดยอนุโลมตามปัญญาธรรม เท่าที่มี เพื่อแหวก หรือ ทำลายอาสวะ

    เพ่ง จะเป็นปฏิโลม เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เพื่อเป็น ปฏิปักษ์กับสิ่งที่
    สำคัญว่าเกิดปัญหา เอาไว้ย้อมจิตย้อมใจตัวเองด้วยกองกุศล

    ปล่อย ที่อนุโลมด้วยปัญญา จะจัดเป็น วิปัสสนา ซึ่ง ปัญญาจะเป็นตัวที่
    ทำให้เกิดความเป็น กลางในการเห็นสภาวะธรรม ความเป็นกลางตัวนี้
    ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ต่อ สังขาร3 เฉพาะหน้า

    ปล่อย ที่อนุโลมด้วยโดนหลอก โดนกิเลสหลอก จะเรียก กามสุขัลกลิมัถายุโยค
    เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ที่ไม่ควรเสพ

    เพ่งที่เป็นไปเพื่อปฏิปักษ์ต่ออกุศลธรรม ที่เกิดเฉพาะหน้า ก็จะถือว่า จิตยังข้อง
    กับ โยคะกรรม ต้องอาศัยวนเวียนใน อภิสังขาร .....ไม่ว่าอะไร บัณฑิตย่อม
    ชมเชย แต่ไม่เอาตรงนี้ สิ่งที่ควรทำควรจะเป็น วิปัสสนา ตรงโน้น จะเป็นการ
    เจริญปัญญา....ทำจนกว่าจะแยกได้ว่า อย่างไร สมถะพื้นๆ กับ สมาธิ(จิตตั้งมั่น
    ประกอบด้วยปัญญา) จึงจะอนุโลมให้ เพ่งจนหัวแตก ส้นแตก ก้นแตก เอา
    ชีวิตเข้าแลก จะไม่ห้ามอีกเลย

    เพ่งที่สำคัญว่าเป็นปัญญา ปัญญาจะเกิดเองโดยไม่ต้อง ฝึกหัดวิปัสสนา จะ
    เรียกว่า ทำตนให้ลำบาก อัตกลิมัตถานุโยค เป็นส่วนสุดอีกด้านที่ไม่ควรเสพ

    จะเห็นว่า

    สมัยใดควรเพ่ง ก็ให้เพ่ง ไม่ใช่เพ่งเพราะสำคัญว่าจะเกิด ปัญญา

    สมัยใดควรวิปัสสนา ก็ให้วิปัสสนา ปล่อยได้ แต่อย่าให้เป็นกิเลสพาปล่อย

    ทีนี้ ปฏิปทาทุกชนิด เป็น อวิชชา ที่เอาไว้ตามเห็น ความไม่เที่ยง
    ของปฏิปทานั้นๆ .....เพื่อ.....เพื่อให้จิตพ้นไปจาก โยคะกรรมทุกชนิด

    แล้ว เฝ้นดีๆ นมสิการดีๆ ต้องมี โยนิโสมนสิการเท่านั้น ถึงจะ เห็นสภาวะ
    ทีพ้นการปรุงแต่ง วิราคะ วิสังขาร นั้นมีอยู่ .......ต้องมี มรรค8 ถึงจะเห็น
    สภาวะทีพ้นการปรุงแต่ง วิราคะ วิสังขาร นั้นมีอยู่

    พอมั่นใจตรงนี้แล้ว คราวนี้ นอกจากหัวแตก ส้นแตก ก้นแตก ก็จะยุส่ง
    ให้เล่นอภิญญาสารพัด ตามแต่ที่ ธรรมฉันทะ มันแสดงตัว ซึ่ง ผู้ภาวนา
    จะเห็นเองถึงการ ทำให้เป็นพหุลีกตา ใน ผัสสะ นั้นๆ เพือก่อ อายตนะเฉพาะทาง[ เพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น
    เพราะ ประโยชน์ตนจะเป็นเรื่อง สัลลเลขา การขัดเกลากิเลส สิ้นอาสวะ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2016
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ส่วนที่3 ให้ ใช้ใจรู้สึก รับรู้การมีอยู่ แต่ไม่ต้องไป สำคัญ มั่นหมาย

    ส่วนที่3 หากปรากฏ แล้ว ไม่สำคัญมั่นหมาย อุปทานขันธ์จะไม่เกิด

    ถ้าไป สำคัญมั่นหมาย สังเกตดีๆ มันจะมี อัตาวทุปาทานเกิดก่อน
    แล้ว เอาส่วนที่3 กร่อนทำลายลงให้กลายเป็น ของเที่ยง

    เราจะอาศัยเห็นความไม่เที่ยง


    อวิชชา มันจะหลอกให้ บัญญัติสิ่งเที่ยงขึ้นมา เพื่อหลอกทำลายการภาวนา


    บอกแบบนี้แล้ว อย่าไป ตั้งท่าว่า จะไม่สำคัญ จะไม่บัญญัติ
    มันจะเกิด อวิชชา หลอกซ้ำซ้อน ทันที

    ดังนั้น ตรงเนี่ยะ จิตมีโยนิโสมนสิการ ก้รู้ จิตไม่มีโยนิโสมนสิการก็ให้รู้
     
  7. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอบคุณครับ เหมือนหนังสือเล่มไหนครับ? เผื่อหาอ่านอาจตรงจริต

    คำภาวนาเคยลองแล้วไม่แนวครับ พุทโธ เคยลอง ผมว่าดูร่างกายง่ายกว่าสำหรับผม ดูกายรวมๆเห็นลมหายใจเข้าออกรวมๆ พุทโธแล้วอึดอัด เหมือนฝืนธรรมชาติ ดูกายจะสบาย ชัดและไม่ฟุ้งครับ
     
  8. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    อาการแปลกๆตะหงิดๆยังไงครับ รบกวนอธิบายเพิ่มได้ไหมครับ?
     
  9. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอบคุณคุณนิวรณ์ครับ อันนี้ยากไปผมไม่เข้าใจอ่ะ. แต่ตอนดูร่างกายรวมๆ จะเหนมันทำงานของมันไป แต่รู้แค่นี้ ไม่เกิดไตรลักษณ์. ปัญญายังไม่ถึงครับ แต่ขอบคุณมากครับ สักวันคงเข้าใจ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ดูกาย. จะเหนไตรลักษณ์ ยาก

    จริงๆ ไม่ยาก ที่ยาก เพราะไปเหน กาย แบบร่างมะนุด

    กาย ภาษาบาลี แปลว่า. ประชุมกัน. ก่อร่างขึ้นมา

    มหาภูตรูปสี่ ดิน. น้ำ. ลม ไฟ มันเคี่ยวกันเข้ามา เปน อาการ32

    ลำพัง ดิน น้ำ ลม ไฟ จะก่อรูปเปนหัวใจ เส้นเลือดมูถกรีสผิวหนังผมและฟัน ไม่ได้

    ถ้าไม่มี พยัญชนะที่วิจิตร. สิ่งที่วิจิตร. ก้คือ. จิต

    ลำพัง จิต กับ ดินน้ำ ลมไฟ จะก่อรูปร่างตั้งอยู่ไม่ได้ หากไม่เกิดเวทนา

    พอมีเวทนา. ก้มีตัณหา. พอมีตัณหา. อุปทายรูป ก้ก่อขึ้นมา. และ. แปรปรวนเปนนิจ
    ตามกรรม กลุ่มกรรม(เผ่าพันธ์ ตะกูล)

    ตรงที่พูดมาเรื่อยๆ จนถึง แปรปรวนเปนนิจ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า. เหนกาย(พร้อมการเหนไตรลักษณ์ของภพชาติสาสวะอาสวะ)

    ส่วนเหนกาย. ที่ทำๆกัน. เหนกายเปนร่างกาย. เหนร่างกายแก่หนุ่ม เหนกายตายเน่า
    จะไม่ใช่เหนกาย. เปนการเหนที่ สัตวเดรัจฉานมันก้เหน. ยิ่งเหนยิ่งรักหวงแหน
    (แล้วอาสัย สภาวะหวงแหน นั้นกำหนดรู้อีกที)

    แต่ถ้าเหนกายคือการประชุมกันของขันธ์ เหนแล้วจิตจะงอไปที่จิต. เพราะพยัญชนะ
    ใหญ่นั่นแหละตัวแปรปรวน. ไปตามกมมันสัตตา. เหนแบบนี้ ขนหัวตั้ง. ไม่เมากาย
    เมาจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2016
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    จะเหนว่า ถ้าเหนกายถูก. ก้เหมือนเหน. มันแยกๆ. เหมือนพิจารณาจิตนั่นแหละ

    ส่วนโพสที่ โพสเยอะๆ นั่น. โพสล่วงหน้า. ไว้เฉยๆ

    เพื่อให้เวลา. ได้ยินซ้ำ ในกาลข้างหน้า. จะไดคุ้นเคยกับ การ งง

    แล้ว ยกสภาวะ. งง. เปนสิ่งที่ สติระลึกได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2016
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    นัยยะคือ"จิตทำงานได้เมื่อเห็นแสงหรือเส้นสาย"
    ตีความได้ว่า จิตเคยทำงานได้แบบเห็นแสง(รวมสีต่างๆ)
    หรือจิตเคยทำงานได้เมื่อเห็นเส้นสาย(พวกคลื่นต่างๆ
    รวมทั้งคลื่นพลังงานส่วน
    เสียงเป็นส่วนย่อยของเส้นสาย
    และถ้าไม่ได้ยินเสียงชัดชนิดที่ได้ยินวิญญานคุย
    กันได้เหมือนเราคุยกัน ให้เลิกสนใจทุกกรณี
    และความสามารถในการเห็น
    มักจะมาควบคู่การได้ยินเพราะฉนั้น
    ถ้าไม่ใช่ชนิดที่ว่ากำหนดเห็นวิญญาน
    ได้เหมือนเรามองเห็นคนปกติให้เฉยๆ
    ถ้ามันจะเกิดก็ช่างมันอย่าไปยึด)
    ส่วนอาการที่เล่ามาเป็นเรื่องปกติ
    จิตสงบระดับหนึ่งจะรับรู้ได้เป็นปกติ
    รวมทั้งแสงแว๊บแบบที่เล่าให้ฟังมาครับ
    แม้แสงสว่างมากๆสีขาวแบบคน
    เปิดสปอร์ตไลท์แต่หาต้นแสงไม่เจอ
    และไม่เย็นก็อย่าสนเพราะแค่ปฐมฌาน
    ถ้าตกใจจำเป็นต้องฝืน ๓ ถึง ๔ ครั้งจะผ่านได้
    จิตจะเข้มแข็งขึ้นเอง
    ส่วนถ้าเห็นแสงสีหรือเส้นสาย ห้ามสนใจทุกๆกรณี
    อย่าเก็บมาคิด และค้นคว้าหาคำตอบ
    จะทำให้ความก้าวหน้าทางปฏิบัติเราช้า
    และอาจหลงตัวเองได้
    จนกว่าจะทราบวัตถุประสงค์(
    *****ย้ำว่าวัถตุประสงค์ไม่ใช่ว่ามันคืออะไร
    อย่างไร ทำไม****นะครับ ถ้าไม่ทราบ
    แสดงว่ากำลังสติทางธรรมไม่พอ
    ให้ฝึกเจริญสติให้ต่อเนื่องเพิ่ม)
    สิ่งที่เห็นที่รับรู้สัมผัสได้ด้วยตัวเอง ณ เวลาปัจุบันนั้น
    พูดง่ายๆทราบขณะที่สัมผัส
    หรือลืมตาแล้วรู้เลย ณ เวชานั้นครับ

    ปล.ท้ายสุดให้เฉยๆและปฎิบัติต่อไป
    เรื่อยๆจนกว่าจะเป็นแบบ
    ที่ข้าพเจ้าเล่าให้ฟังมาก่อนหน้าครับ
     
  13. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    เป็นอาการของจิตที่เป็นสมาธิแล้วถอยออกมาจากอาการที่รวมอยู่นั้นครับ
    ไม่มีอะไรมาก
    เพราะเบื้องต้นจะเจอนิมิตก่อนแล้วค่อยๆหายไปพอรวมเข้าสู่ฐานเบื้องต้น
    ทีนี้พอมีวสีในการเข้านิมิตจะถูกข้ามไปครับ
    แต่ที่ปรากฏอาการนี้เพราะมีสิ่งมากระทบทำให้เกิดการกระเพื่อมครับ
    จิตเลยถอยออกมาสู่ฐานนอกชั่วคราว
    เช่น
    จากรวมสู่ภายในแล้ว
    เสียงกระทบหู จากนั้นก็เกิดขึ้นที่ตา
    แล้วจึงค่อยกลับมารวมสงบที่ภายในหลังจากที่รู้แล้วหรือดับอาการวิจิกิจฉาได้แล้ว
    นิมิตก็หายไป
    ประมาณนี้ครับ
    จัดเป็นไตรลักษณ์ก็ได้ครับเเต่เป็นส่วนหยาบครับ
    ยังมีอีกหลายระดับนะครับ
    ขอให้โชคดี
    อนุโมทนาด้วยครับ
     
  14. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    จิตของเราเหมือนลิง

    จะจับลิงมาฝีก ต้องมีเชือก(สติ)ผูกคอลิงไว้กับหลัก(คำภาวนา)

    จึงจำเป็นต้องมีคำภาวนาเป็นหลักในการประคองจิต
    เช่น ดูลมหายใจ

    เอาอย่างพระพุทธเจ้าท่านบอกไว้แล้ว
    ก่อนตรัสรู้ก็อยู่กับลมหายใจ
    หลังตรัสรู้ก็อยู่กับลมหายใจ...

    เดินตามพระศาสดา...หมาไม่กัด(โดนกิเลสหลอก)..ครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2016
  15. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอบคุณสำหรับ คำแนะนำ อนุโมทนาสาธุ จะเพียรปฏิบัติต่อไปครับ
     
  16. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอขมาหากผมกล่าวอะไรไม่สมควรนะครับ ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะครับ
     
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เป็นอาการของ "จิตส่งออก ไปแตะ (สิ่งเร้า) แล้วกลับคืนสู่ฐานที่ปฏิบัติอยู่ ใน 1 วาระจิต ไป-กลับ" หากสังเกตุกิริยาอาการของจิตตรงนี้ จะพบว่า

    +++ 1. จิตมีอาการ "กระตุกแบบกระพริบ 1 ครั้งต่อ 1 สถานการณ์" ตรงนี้ จะรู้ได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นส่วนที่หยาบที่สุดในกรณีนี้

    +++ 2. สภาพที่ส่งออกไป แท้จริงแล้ว "ไม่ใช่แสงสีขาว" แต่เป็นสภาพของ "ลำโฟกัส ที่โปร่งใส แบบมีสภาพ" (ตรงนี้ใช้ภาษาให้ตรงกับอาการ ยากสักหน่อย สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย) ตรงนี้ ละเอียดกว่า ข้อที่ 1 ตรงนี้ เกิด-ดับ ในวาระจิตเดียว

    +++ 3. ส่วนนี้จะละเอียดที่สุด คือ "ปลายลำโฟกัส ที่วิ่งไปแตะ (จุด touch down) กับสิ่งเร้า" พอแตะแล้ว ก็กลับสู่ "ฐาน" ทันที

    +++ 4. ณ ขณะที่ จิตแตะ "หากรู้เท่าทัน" จะรู้ได้เองว่า จิตมันเข้าใจว่า "สิ่งตกกระทบนั้น เป็นอะไร" ใน 1 วาระจิต แล้วกลับสู่ฐาน

    +++ 4. หาก "อยู่กับฐาน" ได้มั่นคงดี กิริยาอาการทั้งหมด จะเปรียบประดุจคล้ายกับ "ไส้เทียน กับ ปลายเปลวเทียน" คือ

    +++ 5. กายที่เป็น "ฐานตั้งมั่น เปรียบประดุจ ใส้เทียน" ส่วน "ปลายเปลวเทียน เปรียบประดุจ ปลายโฟกัสที่ จิตส่งออกไปแตะสัมผัสกับสิ่งเร้า ตามทิศทางต่าง ๆ ที่ตกกระทบเข้ามา"

    +++ ณ จุดนี้ การแจงรายละเอียด ก็น่าจะพอสมควรแก่ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณนะ

    +++ ส่วนที่คุณถามมา คำตอบก็คือ "คุณเริ่ม เห็น ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า กรรม-ฐาน ว่ามีอาการเป็นอย่างไรบ้างแล้ว"

    +++ ปรากฏการณ์ที่ผมแจงออกไป ทางสายพระป่าหลวงปู่มั่น ท่านจะเรียกว่า เห็น "กิริยาจิต" หรือจะเรียกว่า เห็น "วาระจิต" ก็ได้ แต่นับเป็น "1 กิริยา 1 อาการ"

    +++ เมื่อชำนาญมากยิ่งขึ้น ก็จะเริ่มเข้าใจถึงสิ่งที่ หลวงปู่ดูลย์ กล่าวไว้ว่า "จิตส่งออกคือสมุทัย และ จิตเห็นจิตเป็นมรรค"

    +++ การเห็น "กิริยาจิต" เป็นการเห็น "กรรม-ฐาน" เบื้องต้น ก่อนที่จะไปสู่ "ภูมิวิปัสสนา กรรม-ฐาน" เต็มตัว นะครับ

    +++ ตามอาการที่คุณกล่าวมานั้น เรียกว่า "รู้จนกลายเป็นเห็น" กายโปร่งใส 1 จุดที่ถูกดู 1 และ ผู้ดู 1 การใช้ภาษาของผมตรงนี้ "ตรงกับอาการ" ที่เกิดขึ้นกับคุณหรือไม่

    +++ ถูกต้องแล้ว ไม่ผิด

    +++ ตรงนี้ ถูกต้องแล้ว

    +++ ให้ทำ ตัวผู้ที่กำลัง "ดู" ให้ถูกรู้ หากทำได้ "ให้แยกมันออก ให้ไกลที่สุด เท่าที่จะทำได้" แล้วจะ พัฒนาไปได้อีกไกลมาก ๆ

    +++ คุณ "เลยระดับของ คำบริกรรม มาไกลแล้ว" เข้าสู่ระดับของ ผลลัพธ์ของ อานาปานสติ ที่เป็น กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เรียบร้อยแล้ว

    +++ ไม่เชื่อ ลองทำการ "รู้รวมของคุณ" แล้ว "รู้กาย+ลมหายใจ" ก็จะรู้ได้เองว่า คุณผ่านเรื่อง "กองลมทั้งหมดมาเรียบร้อยแล้ว" ลองทำดูก็รู้ได้เอง หรือไม่ก็ คุณรู้ตรงนี้มาเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว นะครับ
     
  18. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ innertruth อ่านข้อความ
    หรือจริงๆควรเอาอันใดอันหนึ่งยกมาเป็นอารมณ์ครับ? ขอบคุณมากครับ


    +++ ให้ทำ ตัวผู้ที่กำลัง "ดู" ให้ถูกรู้ หากทำได้ "ให้แยกมันออก ให้ไกลที่สุด เท่าที่จะทำได้" แล้วจะ พัฒนาไปได้อีกไกลมาก ๆ


    ถ้าจับอาการได้ไม่ทราบเรียกว่า ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รึเปล่าครับ
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ณ ขณะที่เป็น "รู้รวม (สภาวะรู้)"

    +++ 1. ณ ขณะที่ "ตัวผู้ดู" ไม่ได้ส่งออก สงบนิ่งอยู่กับที่ "ตัวดู" จะมีสภาพเป็น อัปปนาสมาธิ และครองสภาพเป็น "เอกัคตารมณ์" อันเป็น "ธรรมารมณ์" หนึ่ง ๆ หากผู้ใดทำการฝึกฝนในช่วงของขั้นตอนนี้ ก็ถือได้ว่า กำลังฝึกอยู่ในช่วงของ ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน

    +++ 2. ณ ขณะที่ "ตัวผู้ดู" ทำการส่งออก (จิตส่งออก) "ตัวดู" จะมีสภาพเป็น "การส่งออกไปเห็น" หากผู้ใดทำการฝึกฝนให้รู้เท่าทัน และ กำลังทำความเข้าใจในช่วงของขั้นตอนนี้ ก็ถือได้ว่า กำลังฝึกอยู่ในช่วงของ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน (หมายเหตุ- ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับ "การเห็น โดยที่จิตไม่มีการส่งออก หรือ ไร้ตัวดู" อันเป็นเรื่องของ "ญาณทัศนะ" ที่เป็นคนละระดับกับขั้นตอนนี้ นะครับ)

    +++ 3. ณ ขณะที่ "ตัวดู" กำลังทำงาน หรือ แม้กระทั่งมีการ "ขยับตัว" รวมทั้งเกิดอาการ เกร็งตัว เตรียมที่จะ ส่งออก-ไม่ออก (จ่อ-ไม่จ่อ ของหลวงตามหาบัว) ณ ตรงนี้เรียกว่า "กิริยาจิต" ตามภาษาของพระป่าสายหลวงปู่มั่น แต่ทั้งหมดต้องอยู่ในสภาวะที่เป็น "รู้รวม (สภาวะรู้)" นะครับ
     
  20. innertruth

    innertruth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอบคุณอาจารย์ธรรม-ชาติมากครับที่แจกแจงรายละเอียดอย่างละเอียด ทำให้ได้กำลังใจในการปฏิบัติขึ้นมาก เหมือนช่วยตอบข้อสงสัย โดยเฉพาะเรื่องสภาวะจิต ที่เร็วมากๆ แต่เข้าใจว่า กำลังสติและสมถฐานไม่แรงพอ เลยไม่สามารถจับสภาวะที่เร็วแบบสายฟ้าแล่บได้ พอได้ฟังคำอธิบายเรื่องการเกิดดับ กับฐานของจิตเริ้มเห็นภาพชัดขึ้น แต่ว่ายังแค่เริ้มต้นมากครับ ผมเองยังห่างไกลมากๆ

    ขอบคุณสำหรับคำชี้แจงเรื่องการภาวนา อานาปานสติ และกายานุสติปัฎฐาน ผมได้มีโอกาสกราบหลวงปู่ท่านหนึ่งท่านได้แนะทางภาวนา แบบดูรวมๆ แล้วรู้สึกตรงจริต เลยปฏิบัติเรื่อยมา แต่ผมไม่ได้นั่งกรรมฐานแบบเป็นชั่วโมงนะครับ อาศัยมีสติระลึกรู้ลมหายใจและกายในชีวิตประจำวัน และก่อนนอน ทำสมาธิตามกำลังที่ทำได้ ผมอาศัยจำเทคนิคที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่านสั่งสอนไว้ และยำมาเป็นแนวของตัวเอง แต่ไม่มีใครคอยชี้แนะครับ ไม่เคยเช็คว่าเราทำไปถึงไหน กราบขอบพระคุณที่ช่วยชี้แนะครับ

    สิ่งที่ผมมักเอาเป็นการสอบอารมณ์คือ การทำงานในชีวิตประจำวันว่าเราสามารถจัดการกับ โทสะ โมหะ ได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเวลาทำงานกับคนหมู่มาก

    กราบขออนุโมทนาที่ชี้แนะนะครับ ได้ความรู้เพิ่ม ขอน้อมไปปฏิบัติต่อตามกำลังครับ สาธุๆๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...