ความวิจิตของจิต

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย NUI, 21 กรกฎาคม 2013.

  1. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    รายละเอียด
    ความวิจิตรของจิต
    เรียบเรียงโดย ศาสตราจารย์ นพ.เชวง เดชะไกศยะ

    จิตวิจิตรได้ด้วยตนเอง หมายถึงจิตเป็นไปด้วยอำนาจของตนเอง ที่กระทำบุญเป็นกุศล ทำบาปเป็นอกุศล เป็นวิบากคือผลของบุญของบาป ซึ่งทำให้สัตว์โลกทั้งหลายแตกต่างกันด้วยอำนาจของกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีต ต่างกันด้วยรูปร่าง ต่างกันด้วยเพศ ต่างกันด้วยสัญญา และคติที่เกิด เป็นต้น

    การสั่งสมกรรมและกิเลสเป็นหน้าที่ของเจตสิกและจิต ที่รับอารมณ์ทั้งหลายแล้วเกิดความพอใจไม่พอใจ ซึ่งแสดงออกมาทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใดก็จะถูกสะสมเก็บไว้ภายในจิตใจไม่มีวันสูญหายไปไหน ย่อมจะติดตามเราไปเหมือนเงาตามตัว ความรู้สึกต่างๆเช่น เบื่อบ่อยๆ หงุดหงิดบ่อย มักโกรธ ทนงตัวถือตัว เป็นต้นเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น ก็จะสั่งสมกำลังอำนาจไว้ในจิตให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    จิตจะรักษาผลของกรรมและกิเลสไว้ไม่ให้สูญหาย จิตจะรักษาการกระทำทางกาย วาจา ใจ เอาไว้ ผลของกรรมจะแนบแน่นอยู่ในขันธสันดานเหมือนยางเหนียวของเมล็ดพืช ยิ่งเป็นผู้โกรธความโกรธจะเพิ่มพูนขึ้น เป็นต้นผลหรือวิบากกรรมนี้จะคอยหาเวลาและโอกาสที่จะแสดงออกเสมอเวลาได้ช่องทาง

    ดังนั้นเองวิบากที่เราเคยทำเหตุไว้ในอดีต จึงคอยส่งผลในปัจจุบันภพตลอดเวลา ให้เราได้รับความทุกข์บ้างความสุขบ้าง ความผิดหวัง สมหวังอยู่ตลอด แต่เราไม่รู้ไม่เข้าใจและสาวไปหาเหตุไม่ได้ เราต้องรับผลของกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เราไม่อยากสูญเสียก็ต้องเสีย สิ่งที่เราไม่อยากได้ก็ต้องได้ ตามผลของกรรม

    จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับลง เป็นปัจจัยอุดหนุนให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้นแล้วก็ดับ และอีกดวงก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับลงติดต่อกันไม่ขาดสาย เกิดดับสืบเนื่องกันเป็นสันตติต่อเนื่องกัน ลงภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่อีกดับอีกเสมอเป็นนิตยกาล มิใช่จะเกิดดับสืบเนื่องกันเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งมอบรับช่วงการงานและกิเลสที่จิตได้รับและเก็บสั่งสมไว้แล้วนั้นต่อไปอีกด้วย นี่จึงเป็นการสืบทอดวิบากกรรม
     
  2. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,137
    การปฎิบัติอบรมจิตนี้เป็นสิ่งสำคัญ เป็นเครื่องประกาศว่า ได้เป็นอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ถ้ายังไม่ได้ปฎิบัติก็ยังไม่ได้ชื่อว่าอริยสาวกผู้สดับแล้ว แต่ชื่อว่าเป็นปุถุชนผู้ยังมิได้สดับ เป็นการแสดงชี้ให้เห็นความสำคัญของการปฎิบัติอบรมทางจิตใจว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติ และเมื่อได้ปฎิบัติอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วอย่างเต็มที่อย่างสิ้นเชิง คือเป็นอรหันตบุคคล ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีจิตอันได้อบรมแล้ว จิตที่ได้อบรมแล้วนี้ย่อมไม่มาเป็นสังขาร คือผสมปรุงแต่งกับธาตุที่ไม่รู้ทั้งหลายอีก หยุดวัฏฏะ คือหยุดวน เพราะเมื่อไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุให้กระทำกรรมก็ไม่ประกอบกรรม เมื่อไม่มีกรรมอันเป็นเหตุส่งวิบาก ก็ไม่มีวิบาก และความไม่มีวิบากนั้นก็เริ่มต้น แต่ไม่มีวิบากขันธ์ คือขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากอีกต่อไป ที่เรียกว่าไ่ม่เกิดอีก เพราะความที่เกิดอีกนั้นเป็นการก่อวิลากขันธ์ขึึ้นอีกต่อไป เมื่อตัดกิเลสออกได้ ก็ตัดกรรมก็ตัดวิบาก จึงหยุดวัฏฏะคือหยุดวน เป็น วิวิฏฏะ คือไม่วน มีความวนไปปราศแล้ว ซึ่งสภาพธรรมดังนี้เรียกว่า "นิพพาน"

    พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (หนังสือจิตตภาวนา)
     

แชร์หน้านี้

Loading...