กฎแห่งกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย aaatiti, 24 กรกฎาคม 2020.

  1. aaatiti

    aaatiti สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2020
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +7
    กฎแห่งกรรม คือ กฎที่แสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของการกระทำใดๆ ของมนุษย์ กล่าวคือ ใครกระทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม บุคคลผู้กระทำนั้นจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ เสมอ มิได้เกิดจากการดลบันดาลจากอำนาจของพระเจ้าองค์ใด และไม่มีใครมารับผลของกรรมแทนบุคคลอื่นได้


    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่ง ชื่อว่า ปุพพังคสูตร ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ว่า...

    “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างเหนือโลกหล้า ย่อมมีแสงเงินแสงทองจับขึ้นที่ขอบฟ้า เป็นนิมิตเบื้องต้นให้เห็นก่อน ฉันใด

    ก่อนที่กุศลธรรมทั้งหลายจะบังเกิดขึ้น ย่อมมีสัมมาทิฐิเป็นนิมิตเบื้องต้นให้เห็นก่อน ฉันนั้น"

    กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎของธรรมชาติ คือ ธรรมฝ่ายใดเกิดขึ้นในใจก็ทำกรรมฝ่ายนั้น เกิดกุศลธรรมก็ประกอบกุศลกรรม เกิดอกุศลธรรมก็ประกอบอกุศลกรรม อย่างนี้เรียกว่า ธรรมชาติ กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต คือ ประกอบเหตุอย่างนี้ต้องไปมีผลอย่างนั้น ประสบผลอย่างนี้เพราะประกอบเหตุมาอย่างนั้น กรรม คือ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ จะดีหรือชั่ว เจตนาหรือไม่ จะน้อยหรือมาก ทุกเพศทุกวัย ล้วนมีผลทั้งสิ้นที่ไม่มีผลไม่มีเลย ผลบางอย่างปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น บางอย่างเห็นผลตอนตายไปแล้ว กฎแห่งกรรมนี้ไร้ความปรานี ไม่มีข้อยกเว้นให้กับใครๆ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดก็ตามในโลก จะอยู่บนดิน บนน้ำ บนอากาศ ดวงจันทร์ ดวงดาว ก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์นักสร้างบารมีก็ยังต้องเสวยวิบากกรรม เพราะกรรมติดตามตัวเราไปทุกที่ทุกสถานเหมือนเงาติดตามตัว เมื่อเรายังหนีตัวเราไม่พ้น เราก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้นเหมือนกัน กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อะไรบางอย่างในโลกที่มนุษย์สมมติกันขึ้นมา ยังหลีกเลี่ยงเปลี่ยนแปลงได้ ปีนี้ใช้อย่างนี้ปีหน้าเปลี่ยนไปอีกอย่าง แต่กฎแห่งกรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น [size=1pt]แทงบาคาร่าออนไลน์ขั้นต่ำ 10 บาท[/size]

    “ ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ทำดีได้ชั่วไม่มี ทำชั่ว ได้ดีก็ไม่มี”

    กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ ไม่รู้อันตราย ถ้ารู้แล้วเอาตัวรอดปลอดภัยได้ แม้ยังไม่หมดกิเลส แต่ก็จะมีชีวิตอยู่ในสังสารวัฏได้อย่างปลอดภัยไม่พลัดไปสู่อบายภูมิที่มีความทุกข์ทรมานมาก จะท่องเที่ยวสร้างบารมีอยู่เพียงสองภพภูมิ คือ มนุษยโลกกับเทวโลก ซึ่งการศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างถ่องแท้จะทำให้เราดำเนินชีวิตด้วยการสั่งสมบุญบารมีมากกว่า ส่วนที่จะผิดพลาดน้อย ผิดจะไม่ค่อยมี แต่จะมีอยู่เพียงแค่พลาดพลั้ง เผอเรอ ประมาทเลินเล่อ แม้เวลาตายก็จะตายเป็น พร้อมที่จะตายอย่างถูกหลักวิชชาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า [size=1pt]แทงบาคาร่าขั้นต่ำ 10 บาท[/size]

    “ จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
    เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้ เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ ” *


    กฎแห่งกรรม ผู้ทำกรรมชั่ว หากช่วงเวลาก่อนตาย จิตใจเศร้าหมอง ทุคติเป็นที่ไป

    กล่าวโดยสรุป คือ ตัดสินกันช่วงเวลาก่อนตายว่าจิตขณะนั้นผ่องใสหรือหมอง ถ้าจิตผ่องใสเพราะสิ้นระแวงก็ไปสบายไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ใจใสขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่สั่งสมไว้ แต่ถ้าจิตหมองมัวก็ต้องไปอบาย ใจหมองขึ้นอยู่กับบาปอกุศลที่เคยกระทำไว้ ซึ่งจะต้องศึกษาต่อไปว่า อะไรเป็นบุญกุศล อะไรเป็นบาปอกุศล หากไม่ศึกษาก็จะไม่ทราบว่าควรยึดถือใครเป็นเกณฑ์เป็นต้นแบบในการประกอบบุญกุศล เกณฑ์ของบุญกุศลจะต้องเอาท่านผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง เอาความรู้ความเห็นคำสั่งสอนคำแนะนำของท่านเป็นหลัก เพราะท่านที่หมดกิเลสแล้วทำอะไรไม่หวังผลตอบแทน ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ มีแต่คุณประโยชน์ และคุณงามความดีล้วนๆ พอจับหลักได้ก็ทำตามนั้น คือ ทำแต่กุศลกรรม บุญก็เกิด เมื่อบุญเกิดก็ละอกุศลกรรมได้ บุญจะทำหน้าที่กลั่นจิตใจให้ผ่องใส ดังนั้นเราต้องการผลอย่างไรก็ทำเหตุอย่างนั้น เพราะชีวิตหลังความตายไม่มีการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชีวิตในปรโลกของสัตวโลกเป็นอยู่ด้วยบุญและบาป ดีและชั่วเท่านั้น ไม่ใช่ตัดสินที่ความรวย หล่อ สวย เก่ง เฮง ไม่ใช่อย่างนั้น [size=1pt]เดิมพันบาคาร่าออนไลน์ขั้นต่ำ 10 บาท[/size]

    พระพุทธศาสนาใช้คำเรียก กฎแห่งกรรม ว่า “ กรรมนิยาม” คือ ความแน่นอนของกรรม หมายความว่า กรรมที่เกิดจากการตัดสินใจทำลงไปแล้วย่อมให้ผล การเกิดผลของกรรมทั้งดีและชั่ว เรียกว่าวิบาก ซึ่งมีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว ท่านจึงเรียกกฎเกณฑ์แห่งวิบากกรรมว่า “ กฎแห่งกรรม” ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

    “ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้” **
     

แชร์หน้านี้

Loading...