เรียนถามท่านผู้มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติ และศีลข้อ 3

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jikkiijang, 10 พฤษภาคม 2015.

  1. jikkiijang

    jikkiijang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    215
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +335
    เป็นไปได้ไหมว่า ผู้ที่ปฏิบัติถือศีล 5 ทั้งที่ยังมีสามี-ภรรยา และยังละศีลข้อที่ 3 ไม่ได้ จะสามารถ ถึงขั้นโสดาบัน หรือมีอภิญญาต่าง ๆ ได้ไหมครับ ท่านผู้รู้ ช่วยชี้แนะแนวทาง การปฏิบัติ และคำแนะนำเพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติเพื่อหนทางแห่งการหลุดพ้นด้วยครับ
     
  2. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    คุณเข้าใจศีลข้อกาเมฯ ถูกต้องตรงทางรึเปล่าครับ. คำถามนี้ไปดูเรื่อง นางวิสาขาได้ แล้วทำความเข้าใจศีลข้อกาเมฯให้กระจ่าง จะหมดคำถามครับ
     
  3. jikkiijang

    jikkiijang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    215
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +335
    ผมลองอ่านประวัตินางวิสาขาแล้ว ถึงแม้ว่านางวิสาขาจะมีลูกมีหลานมากมาย แต่ก็ยังไม่อาจรู้ได้ว่านางวิสาขายินดีในกามหรือเปล่า หรือแค่ยอมสนองความต้องการของสามีเฉย ๆ ก็ยังตอบปัญหาคาใจไม่ได้เลย เป็นไปได้ไหมว่า ผู้ปฏิบัติยังมีความต้องการและยินดีในกาม (กับสามี-ภรรยา) แล้วปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้วจะสามารถหลุดพ้นได้
     
  4. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ท่านจะเอาหลุดพ้นรึถามแค่พระโสดาบันกันแน่ครับ ท่านถามตอนแรกคือพระโสดาบัน แต่ตอนนี้หลุดพ้น เอายังงี้ ทำสังโยชน์10ถ้าทำได้3ข้อแรกคือพระโสดาบัน ทำข้อ4-5ได้เบาบางคือพระสกทาคามี ดับสังโยชน์เบื้องต่ำได้5ข้อคือพระอนาคามี ดับได้ทั้ง10ข้อคือพระอรหันต์
    ส่วนกามที่ท่านว่านั้นคือข้อ4ในสังโยชร์10มีทั้งวัตถุกาม และกามตัณหาครับ
    ท่านก็พิจารณาเองครับจะเอาแบบไหนแค่ไหน สิ่งสำคัญต้องทำได้ครับ สาธุ
     
  5. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ถ้าสามี หรือ ภรรยา อนุญาติ ก็ได้ครับ

    -อย่างในพระไตรปิฏกมีเรื่องน่าง นางอุตตรา กับ นางสิริมา
    ซึ่งนางอุตตรา จ้าง นางสิริมา(หญิงโสเภณี) มาทำหน้าที่ภรรยาแทนตนเอง ดูแลสามี

    -พระอินทร์ มี มเหสี 4 คน บรรลุเป็น โสดาบัน ได้

    แต่ก็ไม่รู้ว่าสมัยก่อน เขาต้องไปสืบถามเรื่องราวให้ดููยุ่งยากแบบสมัยนี้หรือเปล่านะครับ แบบที่คนสมัยนี้ เขานิยามกัน เช่น ว่าก่อนจะไปละเมิดใคร หญิงนั้น มีพ่อแม่ ญาติ มีคนหวงรักษา อะไรต่อไรมั้ย
    แม้ หญิง-ชาย นั้นจะไม่มีคู่หมั้น คู่ครองก็ตาม

    ถึงแม้จะไปซื้อบริการ ก็ต้องถามว่า เต็มใจทำมั้ย มีคนคอยหวงมั้ย
    แต่ก็แปลกไม่ใช่อาชีพบังคับ (ถ้าแบบเป็นเชลย เป็นทาส แบบสมัยก่อน แล้วไม่เต็มใจ ถูกบังคับข่มขู่ ก็ว่าไปอย่าง)

    สมัยนี้บางคนต้องจำใจทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่เต็มใจเกือบทั้งนั้น เพราะเงิน
    ขนาดพนักงานประจำ บางคนยังเบื่องาน ,ไหนจะพวก กรรมกร แบกหาม
    หรือก่อสร้าง ที่ตากแดดทั้งวัน
    แต่ก็ต้องด้วยเหตุผลสรุปโดยรวม คือเงิน (ใครๆก็อยากอยู่สบายกันทั้งนั้น)

    แต่ในความเห็นของผม ศีลข้อ 3 ละเมิด เช่นการไป ข่มขืน หรือ มีชู้ (โดยคู่ครองเขาไม่รู้ ไม่อนุญาติ)
    และไม่ไปล่วงเกิน บุคคล อายุต่ำกว่า ตามที่กฏหมายกำหนดเกณท์ไว้
     
  6. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ศีลข้อ3กาเมฯ ไม่ผิด ลูก. เมีย ผู้อื่น. รวมถึงหญิงที่มีคู่หมั่นหมายแล้ว
    คำว่า ลูก ผู้อื่น หมายความว่า ลูกใครก็ตามที่มีบิดา มารดา. และบิดา มารดาไม่อนุญาติถือผิด ลูกผู้อื่นครับ. ส่วนอายุนั้นต่อให้หญิงนั้นจะอายุ50ก็ยังมีบิดา มารดาเหมือนเดิมมิเปลี่ยนแปลงครับ
    ทีนี้ถ้าหญิงนั้นบิดา มารดาเสียขีวิตทั้งคู่ ก็ต้องไปที่ผู้ปกครองเลี้ยงดูครับ ถ้าเค้าอนุญาติก็จบครับ และถ้าผู้ปกครองอนุญาติให้ดูแลตนเองหญิงนั้นก็จะมีสิทธิในตนเต็มที่ครับ
    ส่วนหญิงที่ขายเรือนกายก็ต้องให้ บิดา. มารดาอนุญาติเหมือนกันครับเหตุเพราะ คำว่าผิดลูกผู้อื่นคือบิดา มารดาไม่อนุญาติแล้วเราไปล่วงจึงผิด. ถ้าอนุญาติไม่ผิด คิดว่าคงเข้าใจนะครับ
    ส่วนสามี ภรรยา ก็เหมือนกันครับ ถ้าอนุญาติไม่ผิด ถ้าไม่อนุญาติผิดครับ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ปฏิบัติให้ถึงภาวะนิวรณ์สงบแล้ว จขกท.ก็พอมองเห็นทางออกด้วยตนเองว่าความพอดีอยู่ตรงไหน

    อันที่จริงระดับศีล 5 ไม่ได้ให้ละเลิกกิจกรรมคู่ผัวตัวเมีย ใครมีคู่ครองของตนเองและยังมีเรี่ยวแรงอยู่ก็เอาไปเลยครับ คิกๆๆ นี่พูดจริงๆนะ(deejai)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นำตัวอย่างความสุขที่ไม่อิงอามิส (ไม่อาศัยกาม) กับ ความสุขที่อิงอามิส (อาศัยกาม) ของผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งเทียบเคียงให้ดู (ตัดมา)

    ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน ...แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า....กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

    จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว จนรู้สึกว่ากายหายไป คือ ไม่มีกาย ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

    "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ...ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน ในโลกกลับไม่รู้"

    จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจ คำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

    ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์ คือมีความรู้พร้อมอยู่

    จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌาณหรือเปล่านี่ ปฐมฌาณเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    สวัสดีครับคุณทั้งชีวิต....คิดล้านล้าน:cool:

    อภิญญา สำหรับคนผิดศีลธรรมข้อกาเม มันอาจมีตามมาจากชาติเก่าได้ แต่จะปิดตนเองในชาตินี้ไปเลยครับ....โดยปกติของการผิด ต้องผิดเพราะมีเจตนากระทำแล้ว ตนเองเดือดร้อนและคนอื่นเดือดร้อน

    ศีลข้อสาม หมายถึง ล่วงละเมิดสิทธิของคนอื่น(กรณีที่เขาเหล่านั้นยังมีอัตตายึดอยู่ในของของเขา ) หรือล่วงละเมิด แต่เพื่อแย่งชิงเพื่อสนองความอยากในตน ก็ผิด
    หรือ ล่วงละเมิดเพราะเจตนาร้าย หรือไม่ได้ทำแล้วเกิดประโยชน์ แก่คนอื่น นี่ล้วนคือกรรม....แต่ข้อกาเม มันหนักกว่า เพราะมันกระทบ ต่ออย่างอื่นด้วย...เช่น จิตใจของ สามีภรรยา ลูก ครอบครัวคนอื่นด้วย....มันสามารถปิดนิพพานในชาตินี้ได้เลย

    ดังนั้น เจตนาและผลที่กระทบ จึงเป็นตัววัด ความร้ายแรงครับ
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ส่วนผู้มี สามีภรรยาเป็นของตนเอง ตามธรรมชาติที่ถูกต้อง...ได้มาถูกต้อง ครองคู่ถูกต้อง รักษากันและกันอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้คู่ครองของตนเองต้อง ผิดหวัง เสียใจ...นี่ก็ไม่ผิกศีลผิดธรรมชาติ แต่อย่างใด...เพราะ ทุกธรรม เมื่อเกิดธรรมดี การรักษาธรรมนั้น เพื่อประโยชน์แห่งตน นั้นสำคัญที่สุดครับ
     
  11. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ใครว่าการปฏิบัติ ธรรมคือการทำเพื่อตนเองคนเดียวล่ะ....ถ้าไม่ทำเพื่อ คนอื่น เพื่อ ญาติ พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกเมีย...เพื่อน...คนอื่น...แล่วการปฏิบัติ มันก็ไม่ต่างจากความเห็นแก่ตัว แล้ว ไม่สนใจคนอื่น นั่นเอง.....ดีไม่ดี คนอื่นพลอยเดือดร้อนไปด้วย....แล่วจะมาบอกว่า ตนเองปฏิบัติธรรม

    มันน่าละอาย..จะตายไป
     
  12. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    สมมุติ ถ้าคุณเดินไปตามถนน แล้วคุณ มองออกว่า สิ่งนั้น สิ่งนี้ ล้วนตั้งอยู่ในควาทประมาท ล้วนพร้อมที่จะเบียดเบียน และสร้างอันตรายกับคุณกรือคนอื่นได้....คุณอยากให้มีแบบนี้หรือเปล่าล่ะ

    หรือต้องการแบบ เดินไปไหนก็ ปลอดภัย สบายกายสบายใจ ไม่มีสิ่งใด เป้นอันตรายกับใคร ได้

    จะเอาแบบไหนครับ ผมเอาแบบ ปลอดภัยครับ มองเห็นอะไร ก็ล้วนแต่เกิด คุณ ความสงบ
     
  13. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    หรือถ้าคุณ ออกไปพบปะผู้คนญาติพี่น้องเพื่อนฝูง

    แล้วคุณพบว่า แต่ละคนล้วนมีแต่ปัญหาของชีวิต หาเงิน งาน ครอบครัวไม่เข้าใจกัน ทุกคนล้วนอยากให้คุณช่วย.... คุณชอบแบบนี้หรือเปล่าครับ

    หรือ พบเจอแต่คน ป่วยเป็นโรค ไม่สบาย อมทุกข์ ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีแต่คนเศร้าหมอง...ชอบแบบนี้ หรือเปล่าครับ
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ต้องเข้าใจว่า ตัวคุณ กับ นาง นางวิสาขา ไม่เหมือนกันนะครับ

    นางวิสาขา บรรลุโสดาบันแล้วครับ

    แต่ตัวคุณยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่

    และต้องเข้าใจด้วยว่า การที่จะมี อภิญญา ใดๆ นั้น ต้องมีสมาธิ ฌาน ครับ

    ดังนั้น ถ้าต้องการจะทำสมาธิ ฌาน ก็ต้องงดเว้นเรื่องของ กาม กิเลส ตัณหาความหยากของตัวเองให้ได้

    ถ้าจิตยังฟุ้งซ่าน จิตไม่สงบ นิเวรณ์5 กำเริบ จิตก็ย่อมไม่เป็นสมาธิ ฌาน ใดๆ

    ดังนั้นต้องแยกให้ออกครับ

    ในเมื่อ ยังเสพกามอยู่ ก็ไม่มีทาง เป็นไปไม่ได้ ที่จะทำสมาธิ ฌานใดๆ ให้เกิดได้นั้นเอง เพราะจิตไม่สงบฟุ้งซ่านอยู่ นิวรณ์5 กำเริบ ก็ย่อมไม่มีทางเป็นไปไม่ได้ ที่จะเข้าฌาน ใดๆ นั้นเองครับ

    การที่จะเข้า ฌาน สมาธิ ได้นั้น ต้องทำให้จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์5 ไม่กำเริบ ครับ

    .
     
  15. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อภิญญา ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิหรือฌาณ ก็มีอภิญญาได้ครับ...
    ถ้ายังเสพกามอยู่(เสพอยู่แต่ตอนนั่งสมาธิก็คือนั่งสมาธิไม้เอามาเกี่ยวกัน)ทำไมจะทำสมาธิทำฌาณไม่ได้...บางคนเอาการเสพกามมาทำเป็นฌาณเป็นสมาธิก็ได้....อย่าด่วนคิดเอาเองครับ
     
  16. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    การเอาคำท่อง เช่น ไสยศาสตร์ ก็เอาอารมณ์การเบียดเบียนคนอื่นมาท่อง เพื่อให้เกิดสมาธิ เกิดวัวธนู เกิดอาวุธทางจิต เพื่อ ทำร้ายเบียดเบียนกัน...มันยังมีฌาณเกิดขึ้น สมาธิเกิดขึ้น

    ทำไม มันด่วนสรุป ...เอาเองล่ะ

    การกินก็คือการเสพ การมองก้คือการเสพ การจ้อง การเพ่ง ก็คือการเสพ การรู้ การบริกรรม ก็คือการเสพ....
     
  17. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    รู้ไม่หมด รู้ไม่ครบ รู้ไม่ถ้วน....อย่าพึ่งพูดดีกว่ามั่ยครับ

    การตายยังเอามาเป็น อารมณ์สมาธิได้เลย ความเจ็บปวดก็เอามาเป็นอารมณ์สมาธิ ได้เลย

    มันไม่รู้ เลยยาก เลยเป็นไปไม่ได้ ต่างหาก
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สมาบัติ

    คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
    แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ
    เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
    สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
    ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
    ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

    ขณิกสมาธิ


    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
    ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
    จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
    จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
    ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
    ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
    สมาบัติ
    เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

    ฌาน


    ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
    แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
    ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
    ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
    ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
    ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
    ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

    อุปจารสมาธิ


    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
    ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
    เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
    ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
    หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
    ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
    ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
    นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
    ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
    แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
    ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
    จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
    มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
    เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
    ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
    ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
    ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
    เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ


    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
    โดยย่อมีดังนี้
    ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
    ประณีต
    ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
    แทรกแซง
    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
    คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
    เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
    ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
    ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

    เสี้ยนหนามของปฐมฌาน


    เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
    ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
    ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
    เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
    หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
    ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
    ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
    ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
    คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
    ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน
    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
    เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
    ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
    มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
    ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
    อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
    กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
    นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
    ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
    อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
    ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
    เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
    ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
    ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
    ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
    หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
    เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
    จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
    ๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
    โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
    เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
    ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
    พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
    ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
    จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
    สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
    เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
    เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
    หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
    ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
    แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
    ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
    ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
    เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
    เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
    ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
    พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
    วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
    สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
    ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
    จนเสียผลฌาน



    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ตำราใคร ครูบาอาจารย์ที่ไหนสอน สำนักไหนสอน ?

    บางคนเอาการเสพกามมาทำเป็นฌาณเป็นสมาธิก็ได้.



    ไปปฏิบัติให้ถึงก่อนเถอะ พูดแบบนี้ คนรู้จริงเห็นก็ ....

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...