ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    สำหรับผู้ที่แจ้งความประสงค์มาทางข้อความส่วนตัวผมเพื่อขอรับพระที่แจก คงต้องรอให้ผมได้รับพระจากพี่พันวฤทธิ์หลังวันที่27มกราคมจะรีบจัดส่งให้ทุกท่านครับ
     
  2. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ณ วันที่ประสูติเจ้าชายสิทธัตถะมีการเกิดอีก7สิ่งโดยเรียกว่าเป็นสหชาติกันดังนี้
    1 พระนางพิมพา
    2 พระอานนท์
    3 นายฉันนะ
    4 อำมาตย์กาฬุทายี
    5 ม้ากัณฐกะ
    6 ต้นมหาโพธิ์
    7 ขุมทรัพย์ทั้ง4

    มากล่าวถึงการเสด็จกลับพระมหานครกบิลพัสดุ์ของเจ้าชายสิทธัตถะกันต่อ

    พระราชบิดาทรงมีความยินดียิ่งที่ พระนางสิริมหามายาทรงให้กำเนิดราชกุมาร มีลักษณะงดงามถูกต้องตามตำราทรงให้นักพรต ฤาษี ผู้เป็นอาจารย์มาทำนายพระชะตาในอนาคตแห่งราชกุมารว่าเป็นเช่นไร มีท่านอสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือ หัวเราะและร้องไห้ ที่หัวเราะเพราะว่าได้พบแล้วผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ส่วนที่ร้องไห้เพราะเสียดายที่แก่ชราแล้วไม่สามารถอยู่จนได้รับฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์ คำทำนายนี้ได้รับคำยืนยันจากดาบสอีกท่านคือ โกณฑัญญะ ซึ่งทำนายว่าพระองค์จะสละราชสมบัติ ออกผนวชเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ส่วนท่านอื่นๆก็ทำนายต่างไปโดยว่าจะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ์ ที่ยิ่งใหญ่ครองดินแดนกว้างใหญ่หาใครเทียบเทียมได้

    พระเจ้าสุทโธทนะทรงพระประสงค์ให้พระราชกุมารเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ทรงสร้างปราสาทสามฤดู สวนอุทยาน สระโบกขรณี เมื่อมีพระชนน์ครบ16พรรษาทรงให้อภิเษกกับ พระนางยโสธรา หรือ พิมพา ราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ
    เจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาถึง29พรรษา

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพเวียงวังที่เคยรุ่งเรืองสวยงามในอดีตของกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่ฐานและกองอิฐที่ยังไม่ได้ขุดค้นสำรวจอีกมากมาย

    [​IMG]

    สระโบกขรณีที่พระเจ้าสุทโธทนะขุดขึ้นเพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะมีความสุขสำราญปัจจุบันเหลือเพียงแค่ที่เห็นในภาพ



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0981.jpg
      DSCN0981.jpg
      ขนาดไฟล์:
      163.8 KB
      เปิดดู:
      1,470
    • DSCN0987.jpg
      DSCN0987.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162 KB
      เปิดดู:
      1,411
    • DSCN0993.jpg
      DSCN0993.jpg
      ขนาดไฟล์:
      154.6 KB
      เปิดดู:
      1,391
  3. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ก่อนจะกล่าวถึงตอนที่พระเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช เราจะมาดูกันถึงลุมพินีวันในปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาลมีวัดนานาชาติกลับไปสร้างเพื่อนำพระศาสนาพุทธกลับสู่แดนดินถิ่นเดิมโดยมีทั้งวัดทางส่วนของนิกายมหายาน และนิกายหินยานหรือเถรวาท

    วัดแรกที่จะนำเสนอให้ได้ชมภาพประกอบคือวัดไทยลุมพินี เริ่มก่อสร้างปี2538 ปัจจุบันมีท่านเจ้าคุณวีรยุทโธ หรือ พระราชรัตนรังษี ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
    [​IMG]
    พระอุโบสถที่สวยงามเป็นที่มาเที่ยวชมและกราบไหว้ขอพรกับพระสิทธัตถะราชกุมารของชนทุกชาติที่มา ณ ลุมพินีวัน
    [​IMG]

    พระประธานปางสิทธัตถะราชกุมาร ที่ทำการออกแบบจนสำเร็จเป็นเวลาเกือบสองปี มีบารมีของพระมหาจักรพรรดิ์บารมีเต็มเพื่อรอแต่การตรัสรู้เท่านั้น

    [​IMG]

    ชาวเนปาลท้องถิ่นมากราบไหว้ขอพรเป็นประจำเช่นกัน

    [​IMG]

    ทางคณะทุนนิธิฯได้มอบปัจจัยไปถวายเป็นผ้าป่าที่วัดไทยลุมพินีแดนประสูติของพระพุทธองค์ ท่านทั้งหลายรู้แล้วโมทนาบุญใหญ่นี้ตามกำลังใจของท่านเถิด

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0001_5.jpg
      DSCN0001_5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.4 KB
      เปิดดู:
      2,257
    • DSCN0995.jpg
      DSCN0995.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.9 KB
      เปิดดู:
      1,494
    • DSCN1001.jpg
      DSCN1001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.8 KB
      เปิดดู:
      1,300
    • DSCN1006.jpg
      DSCN1006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89 KB
      เปิดดู:
      1,325
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มกราคม 2008
  4. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ในวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2551 นี้
    ทางโอ๊ตจะมีเพื่อนไปร่วมบุญอีก 3 ท่าน รวมโอ๊ตและภรรยาแล้วก็ 5 คนครับ

    โมทนาบุญกับทุกท่านครับ
    น้องโอ๊ต
     
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    เมื่อวานนี้(21 ม.ค. 2551) ได้รับเงินบริจาคของคุณโสระ 2,500 บาท
    ก็ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    ส่วนน้องโอ๊ตและเพื่อนๆก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมาร่วมสร้างบุญกุศล
    กันนะครับ มาเยอะก็ไม่เป็นไรครับจะได้ช่วยกันถวายอาหารพระเพราะครั้งนี้ก็ตั้งใจถวายอาหารพระตั้ง 120 รูป ก็ 2 ชั้นของตึกแหละครับ
    โมทนาบุญในกุศลครั้งนี้ด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  6. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เมื่อวานนี้(21 ม.ค. 2551) ได้รับเงินบริจาคของคุณโสระ 2,500 บาท
    ก็ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ


    เงินจำนวน 2500 บาทที่ทำบุญกับทุนนิธิฯมีผู้ฝากมาร่วมดังนี้ครับ
    พี่ใหญ่ร่วมทำบุญ 500 บาท
    คุณสงวนชัย อัครวิทยาภูมิ 1000 บาท
    คุณวิศัลย์ ณ ระนอง 1000 บาท

    โมทนากับทุกๆท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มกราคม 2008
  7. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วัดนานาชาติที่ลุมพินี ประเทศเนปาล วัดที่สองที่จะนำภาพมาให้ชมกันคือ วัดของประเทศจีน
    วัดนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากทางรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
    หมอกที่เนปาลลงจัดมาก เกือบเที่ยงวันแล้วยังมองเห็นแค่ลางๆครับ
    [​IMG]
    พระประธานในอุโบสถเป็นศิลปจีนแบบมหายาน

    [​IMG]

    [​IMG]

    รูปปั้นเทพเทวาต่างๆตามความเชื่อแบบจีน


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN1007.jpg
      DSCN1007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.1 KB
      เปิดดู:
      1,234
    • DSCN1015.jpg
      DSCN1015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.1 KB
      เปิดดู:
      1,336
    • DSCN1013.jpg
      DSCN1013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.6 KB
      เปิดดู:
      1,263
    • DSCN1010.jpg
      DSCN1010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144 KB
      เปิดดู:
      1,278
    • DSCN1009.jpg
      DSCN1009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146 KB
      เปิดดู:
      1,274
    • DSCN1017.jpg
      DSCN1017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.7 KB
      เปิดดู:
      93
  8. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    วัดสุดท้ายที่ได้ไปชมมาคือวัดของชาวธิเบตมาชมภาพกัน จะมีรูปมากกว่าวัดอื่นๆเพราะเป็นศิลปที่แปลกไม่มีให้เห็นกันบ่อย
    [​IMG]

    [​IMG]
    ซุ้มประตูและพระอุโบสถของวัดธิเบตมีศิลปคล้ายจีนผสมอินเดียครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพพระประธานและเหล่าโพธิสัตว์หรือเทพต่างๆของชาวธิเบต

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ศิลปต่างๆที่อยู่ในพระอุโบสถและภายนอกแสดงถึงความเชื่อต่างๆ รวมถึงภพภูมิของการทำกรรมดีกรรมชั่วดังรูปสุดท้ายนี้ แสดงนรกและสวรรค์ แถมมีคล้ายพระราหูของเมืองไทยอมโลกนี้ไว้เช่นกัน

    [​IMG]

    รูปนี้ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรแต่หมุ่นได้หนักมาก หมุ่น1รอบถือว่าได้สวดมนต์ที่เขียนไว้1จบครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0001_4.jpg
      DSCN0001_4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      153.5 KB
      เปิดดู:
      1,258
    • DSCN1024.jpg
      DSCN1024.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.2 KB
      เปิดดู:
      1,198
    • DSCN1018.jpg
      DSCN1018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104 KB
      เปิดดู:
      1,257
    • DSCN1029.jpg
      DSCN1029.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.5 KB
      เปิดดู:
      1,218
    • DSCN1031.jpg
      DSCN1031.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172 KB
      เปิดดู:
      1,365
    • DSCN1021.jpg
      DSCN1021.jpg
      ขนาดไฟล์:
      157.9 KB
      เปิดดู:
      1,456
    • DSCN1030.jpg
      DSCN1030.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121 KB
      เปิดดู:
      1,226
    • DSCN1034.jpg
      DSCN1034.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.4 KB
      เปิดดู:
      1,201
    • DSCN1032.jpg
      DSCN1032.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.8 KB
      เปิดดู:
      1,231
  9. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]
    ตามรอยบาทพระพุทธองค์ ประสบการณ์11วันในแดนพุทธภูมิ

    ข้าพเจ้าขออนุญาตินำเรื่องราวพุทธประวัติโดยย่อประกอบภาพสถานที่จริงในปัจจุบันให้เห็นถึงกฎของ อนิจัง ทุกขัง อนัตตา คือความเกิดมา ตั้งอยู่ และดับไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา รวมถึงเกร็ดความรู้ต่างๆในดินแดนภารตระชน และการนำพระพุทธศาสนาในประเทศไทยไปสู่พุทธภูมิในปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและการเผยแพร่ ปรินิพพาน เป็นตอนสุดท้าย

    หากแม้นข้อมูลใดผิดพลาดคลาดเคลื่อน ข้าพเจ้ากราบขอขมาพระรัตนตรัยและกัลยาณมิตรทั้งหลายด้วยครับ

    หลังจากพาชมสวนลุมพินีวันและกรุงกบิลพัสดุ์ในตอน ประสูติ และวัดนานาชาติในประเทศเนปาล จากนี้เราจะมารับทราบเรื่องราวต่อไปคือการ ตรัสรู้
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    เมื่อวานนี้ (22 ม.ค. 2551) ผมได้โอนเงินจากทุนนิธิ ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร เข้าไปที่ บัญชีของพระธงชาติที่อาพาธด้วยโรคมะเร็งกระดูก ตามที่ลงในกระทู้ของคุณเพชรจำนวน 2,000 บาท เรียบร้อยแล้วนะครับ ซึ่งเงินจำนวนนี้อยู่ในส่วนของเงินที่เบิกออกมาจำนวน 14,000 บาท ที่จะนำไปใช้ทำบุญในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (27 ม.ค. 2551) ก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งจิตร่วมกันโมทนาบุญนี้ด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ตรัสรู้

    เจ้าชายเสด็จออกผนวช
    เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเสพสุขอยู่กับปราสาทสามฤดูจนเกิดความจำเจ ชวนสารถีทรงรถม้าประพาสไปนอกเวียงวัง ได้พบกับเทวฑูตทั้ง4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย นักบวช ทรงเกิดความสังเวชสลดในพระทัยใคร่อยากออกบวชเป็นสมณะ
    ในวันที่พระนางพิมพาให้กำเนิดพระราชโอรสคือพระราหุล คืนนั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยจะออกบวช ได้เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพาและพระราหุล ทรงจะขออุ้มพระโอรสเป็นครั้งสุดท้ายก่อนออกทรงผนวช แต่พระนางพิมพาทรงบรรทมกอดพระราหุลอยู่ จึงตัดสินพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรส เสด็จออกจากห้องบรรทม ลงจากปราสาทเสด็จไปพบนายฉันนะ สารถี และทรงม้า กัณฑกะ เสด็จออกจากพระราชวังในยามราตรี พ้นเขตนครกบิลพัสดุ์ เข้าเขตแดนแค้วนโกศลและแค้วนวัชชี ครั้นเวลาใกล้รุ่ง ทรงม้าข้ามแม่น้ำอโนมานที ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที ทรงเสด็จประทับลงบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ เปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์เป็นผ้าของนักบวช และทรงตั้งจิตอธิษฐานถือเพศบรรพชิต ทรงให้นายฉันนะนำเครื่องทรงกษัตริย์กลับพระนครพร้อมกับม้ากัณฑกะ ด้วยความอาลัยรักในเจ้าชายสิทธัตถะม้ากัณฑกะ ได้ตายลงก่อนถึงเขตประตูพระนครกบิลพัสดุ์
    [​IMG]
    ภาพชายชราชาวเนปาลถ่าย ณ เขตวังโบราณในกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบัน คงพอจะเห็นได้ถึงเทวฑูตทั้ง4 คือ ความแก่ ที่พระเจ้าชายสิทธัตถะทรงพบเห็น

    [​IMG]

    นักวิชาการลงความเห็นว่าเป็นประตูเมืองกบิลพัสดุ์ด้านที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกทรงผนวช

    [​IMG]

    มองออกไปไกลๆมีเนินดินในภาพ คืออนุสรณ์ที่ทำไว้ให้กับ ม้ากัณฑกะ มาตายลง ณ ที่ตรงนี้ ทางการเนปาลยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ คงเป็นเพียงเนินดินไว้เป็นหลักฐานการมีอยู่จริงของประวัติการออกบรรพชาของพระพุทธองค์

    ม้ากัณฑกะ และ นายฉันนะ เป็นสหชาติ กับพระพุทธองค์ คือเกิดวันเดียวกัน หลังจากม้ากัณฑกะตายลงได้ไปเกิดเป็นเทวบุตรชื่อ กัณฑกะเทพบุตร อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN0989.jpg
      DSCN0989.jpg
      ขนาดไฟล์:
      150.5 KB
      เปิดดู:
      1,409
    • DSCN0991.jpg
      DSCN0991.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.4 KB
      เปิดดู:
      1,224
    • DSCN0983.jpg
      DSCN0983.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138 KB
      เปิดดู:
      1,595
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มกราคม 2008
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ขอแสดงยอดเงินที่ไดรับบริจาคล่าสุดก่อนไปทำบุญวันอาทิตย์นี้ดังนี้นะครับ

    ยอดที่ถอนเงินออกมาทำบุญ 14,000 .-

    [​IMG]


    ยอดคงเหลือหลังจากถอนทำบุญ 30,182.32 .-

    [​IMG]


    ยอดบริจาคคงเหลือล่าสุด 22 ม.ค. 2551
    โดยมีผู้บริจาคอีก 2,200 บาท ดังนี้
    1.คุณอิทธิพัทธ์ เบญโชติเดช
    ค่าเลือด 500 .-
    ค่ายาเวชภัณฑ์ 500 .-
    ภัตตาหาร 500 .-
    2.คุณโชติรส เบญโชติเดช
    ค่าเลือด 500 .-
    3.ร้านเตียง้วนเฮียง 200 .-

    [​IMG]

    [​IMG]


    ยอดบริจาคคงเหลือล่าสุด 32,382.32 บาท

    ก็ขอให้ตั้งจิตร่วมโมทนาบุญร่วมกันนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    วันนี้ผมและครอบครัวได้บริจาคทรัพย์เข้า บัญชี "ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร"(pratom foundation)
    เพื่อร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส) บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9


    วันที่................. เวลา .......... หมายเลข
    24/01/08 ...... 07:14 ........A242B283

    TRANSFER 300 บาท


    โมทนาบุญกับทุกท่านครับ
    น้องโอ๊ต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  14. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE borderColor=#cccccc height=26 width=20 align=center bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#f7f7f7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>พระป่า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="94%" align=center bgColor=#f7f7f7 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=61>พระภิกษุในพระพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายคันถธุระ และฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระ ศึกษาพระปริยัติธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ และสั่งสอนผู้อื่นต่อไป พระภิกษุฝ่ายนี้เมื่อศึกษาแล้วจะเกิดปัญญาที่เรียกว่า สุตตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้จากภายนอกโดยการฟังการเห็นเป็นต้น ส่วนใหญ่พระภิกษุฝ่ายคันถธุระ มักจะอยู่ที่วัดในเมืองหรือหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้เพื่อตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และได้ใช้ความรู้นั้น ๆ สั่งสอนผู้อื่นได้ง่าย ได้บ่อยครั้งและได้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน

    อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจังโดยเน้นที่การฝึกจิตในด้านสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาในลักษณะของภาวนามยปัญญา อันเป็นความรู้ที่แท้จริงตามหลักของพระพุทธศาสนา เป็นปัญญาที่เกิดจากภายในผุดเกิดขึ้นเองเมื่อได้ปฏิบัติสัมมาสมาธิ จนถึงระดับหนึ่งคือ จตุตถฌานแล้วกระทำในในให้แยบคายน้อมไปไปสู่ที่ใต้ต้นวิชชาสาม ซึ่งจะเป็นความรู้ตามความเป็นจริงในระดับหนึ่ง ตามกำลังความสามารถของผู้ปฏิบัตินั้น ๆ อันเป็นหนทางนำไปสู่ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา แสวงหาสถานที่ เพื่อให้เกิดสัปปายะแก่ตนเองที่จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาอย่างได้ผล จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายอรัญวาสี หรือพระป่า หรือพระธุดงค์

    ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปจะเป็นพระป่า พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำชับให้ภิกษุสาวกของพระองค์ ให้ออกไปสู่โคนไม้ คูหาหรือเรือนร้าง เพื่อปฏิบัติสมาธิภาวนา ​

    พระพุทธเจ้าประสูติในป่า คือที่ป่าลุมพินีวัน ณ เขตติดต่อแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ตรัสรู้ที่ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ในป่าริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เขตกรุงสาวัตถี แคว้นมคธ ทรงแสดงพระปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี และเข้าสู่ปรินิพพานที่ป่าในเขตกรุงกุสินาราย ตลอดระยะเวลา ๕๑ ปี พระพุทธเจ้าได้ทรงจาริกไปสั่งสอนเวไนยสัตว์ และเสด็จประทับอยู่ในป่า เมื่อมีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาสร้างวัดถวายก็จะสร้างวัดในป่า เช่น เชตวัน เวฬุวัน อัมพวัน ลัฏฐิวัน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน อันธวัน และนันทวัน เป็นต้น คำว่าวันแปลว่าป่า พระพุทธองค์จะประทับอยู่ในวัดดังกล่าวตอนช่วงพรรษา ปีหนึ่งไม่เกินสี่เดือน นอกจากนั้นจะเสด็จจาริกนอนตามโคน​








    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ที่มา เว็บธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  15. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    พระป่าของไทย
    พระป่าของไทย หมายถึงพระที่อยู่ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับ พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นผู้ที่บรรพชาอุปสมบทถูกต้องครบถ้วนตามพระธรรมวินัย ไม่ผิดกฏหมายของบ้านเมือง บวชด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและบริสุทธิ์ใจในบวรพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วก็มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียร ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การพ้นจากวัฏสงสาร ทำให้พ้นจากกองทุกข์ อันเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา

    ในสมัยสุโขทัยต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยา เรามีพระภิกษุฝ่ายคามวาสี เน้นทางด้านคันถธุระ และฝ่ายอรัญวาสีเน้นทางด้านวิปัสสนาธุระ ดังจะเห็นได้ในประวัติศาสตร์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่กระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ได้ชัยชนะ แต่แม่ทัพนายกองหลายคนกระทำการบกพร่องได้รับการพิจารณาโทษ สมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วและคณะ ได้เสด็จมาแสดงธรรมเพื่อให้ทรงยกโทษประหารแก่ แม่ทัพนายกองเหล่านั้น โดยยกเอาเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ผจญพญามาร ในคืนวันที่ จะทรงตรัสรู้มาเป็นอุทาหรณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปิติโสมนัส ซาบซึ้งในพระธรรมที่สมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว ทรงแสดงยิ่งนักตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา" และได้ทรงพระราชทานอภัยโทษประหารแก่แม่ทัพนายกองเหล่านั้น

    จะเห็นว่าสมเด็จพระนพรัตน์วัดป่าแก้ว เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จึงได้ชื่อนี้ และอยู่ที่วัดป่า แต่ก็มิได้ตัดขาดจากโลกภายนอก เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์สมควรที่จะออกมาสงเคราะห์ฝ่ายบ้านเมือง หรืออาจจะกล่าวโดยรวมว่า ฝ่ายศาสนจักรสงเคราะห์ฝ่ายอาณาจักร ท่านก็สามารถกระทำกิจนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎก ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ จะต้องมีความรู้ทางคันถธุระเป็นอย่างดีมาก่อน จะได้ปฏิบัติวิปัสสนาธุระได้อย่างถูกต้องตรงทาง คุณสมบัติข้อนี้ได้มีตัวอย่างมาแล้วแต่โบราณกาล

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระภิกษุที่เป็นแบบอย่างของพระป่าในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีคือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพ ฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งสามท่านมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือ ในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทั้งในประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า สำหรับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระภิกษุที่มีศิษย์เป็นพระป่ามากที่สุดสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ และมรณภาพ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๖ นับจากปี พ.ศ.๒๔๖๐ จนมรณภาพท่านได้ออกสั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด โดยเน้นภาคปฏิบัติที่เป็นจิตภาวนาล้วน ๆ ตามแนวทางพระอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อกล่าวโดยย่อได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    [​IMG]
    ที่มา เว็บธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  16. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ปัจจัยสี่ของพระป่า
    ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตอยู่สำหรับการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้สี่อย่าง พระป่าของไทยได้นำมาประพฤติปฏิบัติจนถือเป็นนิสัยคือ

    ๑. การออกเที่ยวบิณฑบาตมาเลี้ยงชีพตลอดชีวิต การบิณฑบาตเป็นงานสำคัญประจำชีวิต ในอนุศาศน์ท่านสั่งสอนไว้มีทั้งข้อรุกขมูลเสนาสนะ และข้อบิณฑบาต การออกบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคทรงถือเป็นกิจจำเป็นประจำพระองค์ ทรงถือปฏิบัติเพื่อโปรดเวไนยสัตว์อย่างสม่ำเสมอตลอดมาถึงวันปรินิพพาน

    การบิณฑบาต เป็นกิจวัตรที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้บำเพ็ญเป็นเอนกปริยาย กล่าวคือ เวลาเดินบิณฑบาตไปในละแวกบ้าน ก็เป็นการบำเพ็ญเพียรไปในตัวตลอดเวลาที่เดิน เช่นเดียวกับเดินจงกรมอยู่ในสถานที่พักประการหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถในเวลานั้นประการหนึ่ง ผู้ที่บำเพ็ญทางปัญญาโดยสม่ำเสมอ เมื่อเวลาเดินบิณฑบาต เมื่อได้เห็นหรือได้ยินสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสทางทวารย่อมเป็นเครื่องเสริมสติปัญญา และถือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้น ๆ ได้โดยลำดับประการหนึ่ง เพื่อตัดความเกียจคร้านของตนที่ชอบแต่ผลอย่างเดียว แต่ขี้เกียจทำเหตุที่คู่ควรแก่กันประการหนึ่ง และเพื่อตัดทิฏฐิมานะถือตน รังเกียจต่อการโคจรบิณฑบาต อันเป็นลักษณะของการเป็นผู้ขอ

    เมื่อได้อะไรมาจากบิณฑบาตก็ฉันอย่างนั้น พอยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่พอกพูนส่งเสริมกายให้มาก อันจะเป็นข้าศึกต่อความเพียรทางใจให้ก้าวหน้าไปได้ยาก การฉันหนเดียวในหนึ่งวันก็ควรฉันเถิดแต่พอประมาณ ไม่ให้มากเกินไป และยังต้องสังเกตด้วยว่าอาหารชนิดใดเป็นคุณแก่ร่างกาย และเป็นคุณแก่จิต เพื่อให้สามารถปฏิบัติสมาธิภาวนาได้ด้วยดี

    ๒. การถือผ้าบังสุกุลจีวรตลอดชีวิต ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญพระมหากัสสปะว่า เป็นผู้เลิศในการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

    ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ถูกทอดทิ้วไว้ตามป่าช้า เช่นผ้าห่อศพ หรือผ้าที่ทิ้งไว้ตามกองขยะ ซึ่งเป็นของเศษเดนทั้งหลาย ไม่มีใครหวงแหน พระภิกษุเอามาเย็บติดต่อกันตามขนาดของผ้าที่จะทำเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ ได้ประมาณแปดนิ้วจัดเป็นผ้ามหาบังสุกุล ผ้าบังสุกุลอีกประเภทหนึ่งที่เป็นรองลงมา ผู้ที่มีจิตศรัทธานำผ้าที่ตนได้มาด้วยความบริสุทธิ์ไปวางไว้ในสถานที่พระภิกษุเดินจงกรมบ้าง ที่กุฏิบ้าง หรือทางที่ท่านเดินผ่านไปมา แล้วหักกิ่งไม้วางไว้ที่ผ้า หรือจะจุดธูปเทียนไว้ พอให้ท่านรู้ว่าเป็นผ้าถวายเพื่อบังสุกุลเท่านั้น

    ๓. รุกขมูลเสนาสนัง ถือการอยู่โคนไม้ในป่าเป็นที่อยู่อาศัย มหาบุรุษโพธิสัตว์ก่อนทรงตรัสรู้ในระหว่างที่แสวงหาโมกขธรรมอยู่หกปี ก็ได้มีความเป็นอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำพระสาวกให้เน้นการอยู่ป่าเป็นส่วนใหญ่ จำทำให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้ากว่าการอยู่ที่อื่น

    ๔. การฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตลอดชีวิต เป็นการฉันยาตามมีตามได้ หรือเที่ยวแสวงหายาตามป่าเขา อันเกิดตามธรรมชาติเพื่อบรรเทาเวทนาของโรคทางกายเท่านั้น
    [​IMG]


    ที่มา เว็บธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  17. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    กิจวัตรของพระป่า
    กิจวัตรที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นแนวปฏิบัติของพระป่า ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำมีอยู่สิบประการคือ
    ๑. ลงพระอุโบสถในอาวาสหรือที่ใด ๆ มีพระภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไป ต้องประชุมกันลงฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก ๑๕ วัน (ครึ่งเดือน)
    ๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพตลอดชีวิต
    ๓. ทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นทุกวัน เว้นแต่เจ็บไข้อาการหนัก พระป่าจะทำวัตรสวดมนต์เอง ไม่ได้ประชุมรวมกันทำวัตรสวดมนต์เหมือนพระบ้าน
    ๔. กวาดเสนาสนะ อาวาส ลานพระเจดีย์ ลานวัด และบริเวณใต้ต้นมหาโพธิ ถือเป็นกิจวัตรสำคัญ เป็นเครื่องมือขจัดความเกียจคร้านมักง่ายได้เป็นอย่างดี พระวินัยได้แสดงอานิสงส์ไว้ ห้าประการ คือ หนึ่งในห้าประการนั้นคือ
    ผู้กวาดชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินตามคำสั่งสอนของพระศาสดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะทำลายขันธ์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    ๕. รักษาผู้ไตรครองคือ สังฆาฏิ จีวร และสบง
    ๖. อยู่ปริวาสกรรม
    ๗. ปลงผม โกนหนวด ตัดเล็บ
    ๘. ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอาจารย์
    ๙. แสดงอาบัติคือ การเปิดเผยโทษที่ตนทำผิดพระวินัยที่เป็นลหุโทษ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทราบ และสัญญาว่าจะสำรวมระวังมิให้เกิดทำผิดเช่นนั้นอีก
    ๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่ ด้วยความไม่ประมาท คือ พิจารณาสังขาร ร่างกาย จิตใจ ให้เป็นของไม่เที่ยงถาวรที่ดีงามได้ยาก ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายทางปัญญาอยู่ตลอดเวลาในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

    ที่มา เว็บธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  18. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ธุดงควัตรของพระป่า
    ธุดงค์ที่พระผู้มีพระภาคให้ปฏิบัติเพื่อขจัดกิเลสที่ฝังอยู่ภายใจจิตใจของปุถุชน มีอยู่ ๑๓ ข้อ ดังนี้
    ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒. เตจีวริกังคะ ถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร
    ๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๔. สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร เพื่อเป็นความงามในเพศสมณะในทางมรรยาท สำรวมระวังอยู่ในหลักธรรม หลักวินัย
    ๕. เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร เพื่อตัดกังวลในเรื่องการฉันอาหารให้พอเหมาะกับเพศสมณะให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่รบกวนคนอื่นให้ลำบาก
    ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ฉันเฉพาะในบาตร เพื่อขจัดความเพลิดเพลินในรสอาหาร
    ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามฉันภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร
    ๘. อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ๙. รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ข้อนี้ตามแต่กาลเวลาและโอกาสจะอำนวยให้
    ๑๐. อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ข้อนี้ก็คงตามแต่โอกาส และเวลาจะอำนวยให้
    ๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติให้เหมาะกับเวลาและโอกาส
    ๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะแล้วแต่เข้าจัดให้ มีความยินดีเท่าที่มีอยู่ไม่รบกวนผู้อื่น อยู่ไปพอได้บำเพ็ญสมณธรรม
    ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการ ยืน เดิน นั่ง อย่างเดียว ไม่นอนเป็นวัตร โดยกำหนดเป็นคืน ๆ ไป

    ที่มา เว็บธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    เครื่องบริขารของพระป่า
    เครื่องบริขารของพระป่า ตามพระวินัยกล่าวไว้มีสองชนิด คือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็ก ปัจจุบันใช้บาตรเหล็กที่ระบมด้วยไฟ เพื่อป้องกันสนิม

    สบงหรือผ้านุ่ง จีวรหรือผ้าห่ม และสังฆาฏิ เป็นบริขารที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ ผ้าเหล่านี้พระป่าจะทำกันเองตั้งแต่การตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำแก่นขนุนเรียกว่า ย้อมด้วยน้ำฝาด

    บริขารอื่นนอกจากบริขารแปดแล้ว ก็มีกลดพร้อมมุ้งกลด ในฤดูฝนสามารถใช้แทนร่มในเวลาออกบิณฑบาต นอกจากนี้ก็มีผ้าอาบน้ำฝนใช้นุ่งอาบน้ำ ผ้าอาบน้ำฝนนี้จะใช้หินแดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาฝนเป็นสีสำหรับย้อม ผ้าที่ย้อมด้วยหินแดงนี้ จะมีสีแดงเป็นส่วนใหญ่ หินแดงนี้ยังใช้ผสมกับสีแก่นขนุนเพื่อย้อมสบงจีวร และสังฆาฏิได้อีก นอกจากนี้ผ้าปูที่นอน ผ้านิสีทนะสำหรับใช้ปูนั่ง ผ้าอังสะ ผ้าเช็ดหน้าเช็ดปาก ย่ามสำหรับใส่ของ เมื่อถึงเวลาออกเที่ยววิเวกตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ ท่านจะซักย้อมผ้าของท่านเพื่อให้สีทนทาน บางทีไปนานสองสามเดือน ก็จะเคี่ยวแก่นขนุนเก็บติดตัวไปด้วย


    ที่มา เว็บธรรมจักร
     
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ร่วมสักการะพระบรมสารีริกธาตุโลก
    ณ เมืองโบราณ สมุทรปราการ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ ชวนชาวพุทธศาสนิกชนสักการะพระบรมสารีริกธาตุโลก พุทธอาณาจักรเมืองโบราณ ไหว้พระธาตุ 8,800 องค์ ชมเมืองโบราณ มหัศจรรย์เมืองไทย ไหว้พระ 9 วัด รับปีหนู ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค.- 3 ก.พ. 51 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

    เมืองโบราณและจังหวัดสมุทรปราการ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยได้จัด
     

แชร์หน้านี้

Loading...