สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    @@ พระคุณของครู--- (เล่าโดยคุณจีราภา เศวตนันท์)@@

    [​IMG]


    เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของข้าพเจ้า มิได้ต้องการให้เป็นการโอ้อวด แต่มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่ง 2 ประการ คือ

    ประการแรก เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติธรรมจริงๆ เพื่อให้ผู้อื่นที่ได้ปฏิบัติเข้าถึงและพบปัญหาแบบเดียวกันเข้าใจ สามารถแก้ไขตนเองได้ทัน เพราะบางทีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ด้วย ถ้าตนเองไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ก็อาจแก้ปัญหาไม่ถูกต้องตามแนวทาง ทำให้เกิดผลเสียหนักขึ้นได้ การทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดมากๆ ต้องระวังอย่างยิ่ง ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ที่ไม่อาจแก้คืนหรือแก้คืนได้ยาก เช่น อาจพลาดแล้วถูกภาคมาร (กิเลสมาร) ยึดสุดละเอียดไป ทำให้หลง ไม่เห็นกิเลสละเอียด ทำให้กาย วาจา ใจ เบี่ยงเบนไปจากธรรมฝ่ายสัมมาทิฏฐิไปทีละน้อย จนไม่รู้สึกตัว แล้วจะถูกทำลายธาตุธรรมไปในที่สุด

    ประการที่สอง เป็นการยืนยันว่าธรรมกายเป็นของจริง ขอให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงป๋า ทราบและมั่นใจได้เลยว่า วิชชาธรรมกายที่หลวงป๋าสอน ตามพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) นั้น เป็นธรรมะของจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว ย่อมได้ผลจริง

    ขอพวกเราจงภูมิใจเถิดว่า เรานั้นไม่เสียชาติเกิดเลย ที่ได้มาเป็นลูกหลานของหลวงป๋า เพราะการสอนของท่าน เปิดใจกว้างเสมอ ไม่เคยปิดบังวิชชา เรียกว่าเปิดกันจนหมดตัวหมดใจเลยทีเดียว แต่เฉพาะศิษย์กับครูเท่านั้นนะ ท่านถึงจะให้เห็น เพราะท่านถือว่าจำเป็นในการสอน เพื่อที่ศิษย์จะได้เข้าใจถูกต้อง ครบถ้วน ตามจริง ไม่ถือว่าเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม ถือว่าเป็นการสอน

    ทุกครั้ง ในการสอนธรรมะ ข้าพเจ้าเห็นกายของท่านใสเป็นแก้ว ฉัพพรรณรังสีปกคลุมไปทั่วบริเวณลานธรรม บางครั้งเห็นมีอาสนะเป็นพญานาค 7 เศียร นั่นหมายถึงท่านเป็นธาตุธรรมที่แท้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รัศมีที่เปล่งออกมาหมายถึงความเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่เคยแบ่งว่าใครเป็นพระหรือมาร และข้าพเจ้าเห็นด้วยตัวเองว่า เมื่อถึงตอนแผ่เมตตาด้วยความบริสุทธิ์ใจของท่าน แม้แต่ไฟนรกยังดับ ทั่วทั้งจักรวาลมีแต่เสียงสาธุ นี่คือการสอนธรรมะในแต่ละครั้งของท่าน เพราะฉะนั้นที่วัดหลวงพ่อสดฯ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสทำวิชชาทุกวันตลอดเวลา (เรียกว่า วิชชาเป็น) ที่นั่นจึงเป็นศูนย์รวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอณูของวัดหลวงพ่อสดฯ เป็นเหมือนเกล็ดเพชรระยิบระยับอยู่เต็มพื้นที่ แต่เมื่อดูด้วยตาธรรมกายแล้ว จะเห็นเป็นองค์พระมากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรเสียอีก

    จากจุดเริ่มต้นในวิชชาชั้นสูง ที่หลวงป๋าเปิดใจให้กับศิษย์ซึ่งมีความรู้แค่หางอึ่ง ยังไม่ลึกซึ้งในวิชชาธรรมกายเท่าไรนัก จึงทำให้ข้าพเจ้าผู้ที่เป็นคนที่นับถือศาสนาอื่นมาก่อน เริ่มศรัทธาในศาสนาพุทธ และด้วยความเมตตาที่ท่านมีให้แก่ศิษย์ ท่านจะคอยประคับประคองในเรื่องวิชชา ไม่ให้เดินออกนอกลู่นอกทาง

    อยู่มาวันหนึ่งข้าพเจ้าเกิดสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมทุกครั้งที่นั่งธรรมะเสร็จแล้ว แผ่เมตตา ไม่เคยเห็นพ่อแม่ ญาติพี่น้องของเราที่เสียชีวิตไปแล้วมาอนุโมทนาบุญเลย จึงกราบเรียนให้ท่านทราบ ท่านก็ให้ความกระจ่างมาว่า เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไปอยู่สุดขอบจักรวาลโน่น วิธีช่วยน่ะมี แต่การช่วยคนนอกศาสนา ไม่เหมือนกับช่วยชาวพุทธที่อยู่ในนรกนะ เพราะต้องแลกด้วยบุญบารมี (หมายถึงบุญบารมีของท่านที่สร้างมา จะต้องถูกตัดทอนลดลงไป) ฉะนั้นให้เลือกมา 1 คน จะเอาใคร ข้าพเจ้าก็ขอเลือกแม่ ท่านเริ่มทำสมาธิ ให้ข้าพเจ้าทำสมาธิตามไปด้วย ในระหว่างที่เดินวิชชาอยู่นั้น จะเห็นท่านเดินนำหน้าไปคอยอยู่แล้ว เราก็เข้ากลางตามท่านไป ความรู้สึกเวลานั้นไม่เหมือนกับนั่งสมาธิแล้ว เหมือนกับว่าเข้าไปในมิติของแดนสนธยาเลย ยิ่งเดินก็ยิ่งมืด เห็นแต่หลวงป๋าองค์เดียว เพราะรัศมีกายท่านสว่างมาก แต่บริเวณนั้นมืดหมด ในที่สุดท่านก็บอกว่า ถึงแล้วนะ ให้เรียกชื่อแม่ 3 ครั้ง ท่านว่าแม่มาแล้ว ข้าพเจ้ามองไปที่เท้าของหลวงป๋า เห็นแม่นั่งยองๆ ผิวหนังขาดวิ่น ผมเป็นกระเซิง เห็นสภาพของแม่แล้วน้ำตาไหลด้วยความสงสาร เสียงหลวงป๋าดังขึ้นทันที เข้ากลางเอาไว้ เพราะจิตเริ่มส่าย ภาพของแม่เริ่มเลือนๆ ถ้าคุมสติไม่อยู่ คงต้องเริ่มต้นกันใหม่ เข้ากลางอยู่พักหนึ่ง เมื่อใจเริ่มเป็นปกติ ท่านก็ให้เรียกแม่อีก ครั้งแรกแม่ทำท่าตกใจเมื่อเห็นข้าพเจ้า เพราะเราเป็นองค์พระอยู่ หลวงป๋าให้เรียกแล้วให้บอกว่าเราเป็นลูกชื่ออะไร เมื่อแม่จำได้ก็ร้องไห้ ขออธิบายเรื่องความจำของแม่สักนิด คนที่ตายไปแล้ว ถ้าสมัยมีชีวิตอยู่ไม่เคยฝึกสมาธิ ตายไปก็จำอะไรไม่ได้ เหมือนกับที่เราเกิดมาจากไหน เป็นอะไรมาก่อน เราก็ไม่รู้ ต้องมาฝึกสมาธิถึงจะรู้อดีตได้ แต่ที่แม่จำได้ก็เพราะหลวงป๋าคุมอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดท่านก็ให้แม่รับไตรสรณาคมน์ โดยการให้ข้าพเจ้าเข้ากลาง แล้วถ่ายทอดเสียงของหลวงป๋าไปยังแม่ เมื่อแม่รับไตรสรณาคมน์แล้วก็กราบ 3 หน เป็นการยอมรับในบวรพระพุทธศาสนา แล้วหลวงป๋าก็ใช้ให้จักรแก้วเป็นพาหนะ ส่งแม่ไปยังสวรรค์ ก็ช่วยได้แค่ดาวดึงส์เท่านั้น เพราะบุญของแม่มีน้อย แถมยังทำบุญกับศาสนาของตัวเองโดยการฆ่าสัตว์ใหญ่ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษว่า เมื่อตายไปจะได้ขี่วัวขี่แพะ ขึ้นสวรรค์ไม่ต้องเดินให้ลำบาก เพราะความเมตตาของหลวงป๋าในครั้งนั้น ทำให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งในความกรุณาของท่านเป็นยิ่งนัก จะไม่มีวันลืมพระคุณของท่านได้เลยในชาตินี้ จึงขอมอบกายถวายชีวิตแด่บวรพระพุทธศาสนาตราบเท่าชีวิตจะหาไม่และทุกภพทุกชาติไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

    ... ท่านเคยบอกว่า จำไว้นะ เมื่อเป็นคนของหลวงพ่อแล้ว (หมายถึง หลวงพ่อสด) ท่านจะไม่ทิ้ง เพราะถ้าหลงไปตามสิ่งที่มารเขานำมาล่อ จะถูกภาคมารยึดสุดละเอียด หลังจากนั้นเขาจะให้ความสมบูรณ์ทุกอย่าง เป็นต้นว่า ทรัพย์สมบัติหรืออะไรต่อมิอะไรก็ได้ทั้งนั้น เพื่อทำให้เราหลง แต่พอหมดประโยชน์กับเขาแล้ว ทีนี้แหละ ความเดือดร้อนนานัปการจะทับทวีเป็น 10 เท่า 100 เท่าเลยทีเดียว ได้ยินเช่นนั้นแล้ว ความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อวิชชาธรรมกาย เปี่ยมล้นขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก ชี้ให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของหลวงป๋าที่มีต่อศิษย์ ถ้าเราตั้งใจทำวิชชา ทีนี้ทุกครั้งที่นั่งต่อหน้าท่าน ก็ต้องระวังตัว ไม่กล้ากระดิกใจออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด ท่านจะพูดกับข้าพเจ้าเสมอว่า จงร่วมกันสร้างบารมี

    ท่านผู้ท่านที่รักทั้งหลาย ความลับของหลวงป๋าในธาตุธรรมขององค์ต้นของหลวงพ่อสด ยังมีอีกมากมาย ท่านที่เป็นลูกศิษย์ทั้งหลายจงรีบตักตวงวิชชาให้มากที่สุดเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่าให้ต้องเสียใจภายหลังเมื่อไม่มีท่านแล้ว ความเป็นธาตุธรรมที่แท้จริงนั้น เปรียบเสมือนความศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้นใครก็ตามที่คิดไม่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อท่าน ขอบอกได้เลยว่า ท่านผู้นั้นเมื่อตายไป มีที่อยู่แน่นอนคือนรกภูมิ จะเป็นขุมไหนก็เลือกได้ตามสบายเลย เผลอๆ ยังไม่ทันจะตาย กรรมก็ตามทันเสียแล้ว พิสูจน์กันเอาเองก็แล้วกัน ผู้ทำวิชชาจะรู้ดีว่า อาจารย์ของเขาเป็นอย่างไร

    พูดถึงเรื่องรู้จิตรู้ใจ มีเรื่องขำๆ หลายเรื่อง จะเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบสัก 2 เรื่อง เรื่องแรกมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ท่านเล่าถึงชีวิตฆราวาส สมัยหนุ่มๆ ท่านทำกับข้าวเก่ง ตำน้ำพริกก็เก่ง น้ำพริกใส่อะไรท่านตำอร่อยทั้งนั้น เราก็คิดในใจ เก่งจังเลย เราเป็นผู้หญิงแท้ๆ ตำเป็นแต่น้ำพริกกะปิ แต่เราก็ตำอร่อย เสียงท่านหัวเราะแล้วบอกว่า เออ น้ำพริกกะปิเอ็งอร่อย ข้าพเจ้าหยุดคิดทันที ทับทวีองค์พระอย่างเดียวเลย

    เรื่องที่สอง มีครั้งหนึ่งนั่งรถจากกรุงเทพฯ ไปวัดหลวงพ่อสดฯ กับท่าน พอรถเลี้ยวเข้าวัด พญานาคองค์ใหญ่ที่ดูแลวัดหลวงพ่อสดฯ อยู่ ก็ขึ้นมาล้อมโบสถ์ ข้าพเจ้าเห็นแล้วไม่กล้าพูด กลัวจะโดนดุ เพราะมีทั้งพระทั้งโยมเต็มรถ หลวงป๋าพูดขึ้นมาลอยๆ ว่า “ไอ้นิด พรรคพวกเขาขึ้นมาต้อนรับ” แล้วท่านก็ชี้มือไปทางโบสถ์ คนในรถเป็นงงที่อยู่ดีๆ หลวงป๋าพูดขึ้นมาลอยๆ ถามกันใหญ่ อะไรอยู่ไหน ท่านหัวเราะชอบใจ พญานาคที่ปรากฏนั้นเป็นกายละเอียด ผู้ที่ไม่มีตาในจึงไม่เห็น

    เรื่องต่างๆ ที่เล่ามา เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าประสบมากับตัวเองในปีแรกเท่านั้น ปัจจุบัน 10 ปีแล้วที่อยู่ในสำนักนี้มา ไม่รู้จะอธิบายเป็นคำพูดได้อย่างไร ถึงความเชื่อมั่นและศรัทธาในวิชชาธรรมกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) นำมาสอน แล้วหลวงป๋านำมามาถ่ายทอดต่อ ที่เป็นของจริง พิสูจน์ได้ แม้องค์พระธรรมกายก็สัมผัสได้

    ครั้งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าทำวิชชาชั้นสูง เข้าไปในธาตุธรรมสุดละเอียด ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อสด ได้ยินเสียงของท่านดังขึ้นมาว่า “ผู้ที่เป็นหลักสำคัญในการเผยแพร่วิชชาธรรมกายที่เป็นของจริงของแท้ในขณะนี้มีอยู่ 2 องค์ คือ ท่านเจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงป๋า และเสริมชัย” เมื่อนำมาพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่าเป็นจริงอย่างนั้น ดูได้จากการเผยแพร่วิชชาธรรมกายที่ถึงพร้อมด้วยเนื้อหาวิชชา ทั้งทางเอกสาร หนังสือ และนิตยสาร ทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ จนวิชชาธรรมกายเป็นที่รู้จักกันทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื้อหาการสอนวิชชาธรรมกายชั้นต้น กลาง สูง ของทั้ง 2 องค์ มีความละเอียดลึกซึ้งยิ่งนัก ดังตัวอย่างที่เล่าให้ทราบข้างต้น

    ถ้าไม่ได้หลวงป๋า ผู้เขียนก็อาจหลงทาง ถูกภาคมารยึดสุดละเอียดไปแล้วก็ได้ ในปัจจุบันไม่ได้ยินว่ามีใครสอนเนื้อหาวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ลึกซึ้ง เปิดวิชชาเต็มที่เช่นนี้ ท่านผู้อ่านที่สงสัยสามารถพิสูจน์ได้จากคำสอนของท่านทั้งสอง แม้แต่ชาวต่างประเทศที่มาอบรมพระกัมมัฏฐานที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ก็สามารถปฏิบัติจนได้วิชชาธรรมกายชั้นสูง สามารถเห็นนิพพาน ภพ 3 โลกันต์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นจริงอย่างไรได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องหลับตาเดาผิดๆ ถูกๆ ดังนั้น เมื่อเรามีบุญวาสนาได้พบพระที่แท้ สะอาดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เป็นธาตุธรรมที่แท้ของต้นธาตุต้นธรรม คือ หลวงพ่อภาวนาและหลวงป๋าของเราแล้ว จงอย่าปล่อยให้โอกาสอันงามที่จะได้ศึกษาวิชชาชั้นสูงที่ลึกซึ้งนี้หลุดไป

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลาย มีศรัทธาพร้อมด้วยปัญญา แยกแยะผิดถูกได้ถูกต้อง จงพิสูจน์ด้วยตนเอง อย่าให้น้อยหน้าชาวต่างประเทศที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมา จนได้วิชชาธรรมกายชั้นสูงไป ธรรมะเป็นของสูง เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด จงรักษาไว้ตราบเท่าที่ชีวิตจะหาไม่ ทุกภพทุกชาติไป ตราบเท่าเข้าสู่นิพพาน ขอความสันติสุขจงบังเกิดแก่ชาวโลกทั้งหลาย จงรักกันเสมือนกับเป็นสายเลือดเดียวกัน อย่างเช่นหลวงป๋ารักเราทุกคน

    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1DD8F~1.JPG
      _1DD8F~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.9 KB
      เปิดดู:
      1,181
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    กรรมชั่ว เหมือนสุนัขไล่เนื้อ





    กรรมที่เป็นบาปอกุศลหรือกรรมชั่ว
    หรือที่เรียกว่าทุจริต
    เราอาจจะได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว
    ในอดีตชาติในการเวียนว่านตายเกิด...
    อยู่ในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    กรรมนี้ไม่ได้หายไปไหน
    ติดตามให้ผลเหมือนสุนัขไล่เนื้อ
    ที่เคยยกตัวอย่างนั่นเอง
    ทีนี้มีอยู่ว่า
    เรานี้ถูกสุนัขอย่างนั้นแหละไล่ตามกัด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เข้ามาในภพชาตินี้มันก็เปรียบเสมือนว่า
    กรรมที่เป็นฝ่ายทุจริตหรือบาปอกุศลต่างๆ
    มันเหมือนสุนัขไล่เนื้อหลายประเภท
    หลายตัว ไม่ใช่ตัวเดียว
    มันนับไม่ถ้วน มาเป็นฝูงเลย
    ฝูงนี่ฝูงใหญ่ซะด้วย
    แล้วก็มีทั้งตัวที่มีกำลังมาก
    มีกำลังน้อย
    ฝีตีนเร็ว ฝีตีนช้า
    ดุมาก ดุน้อย
    ทีนี้ถามว่า
    ถ้าอย่างนั้นเราอยู่เฉยๆ
    เกิดมานี้ไม่ทำล่ะ ดีก็ไม่ทำชั่วก็ไม่ทำ
    เป็นยังไง
    เหมือนกับเรายืนอยู่เฉยๆ
    ในเมื่อสุนัขไล่เนื้อมันวิ่งมาที่จะมากัดเรา
    เรายืนอยู่เฉยๆก็แปลว่า
    สุนัขไล่เนื้อตัวใดที่มีกำลังแรงอาจงับทัน
    งับได้มาก ได้น้อย ท่านนึกวาดภาพเอาละกัน
    อยู่เฉยๆเนี่ยถ้าจะมองในแง่ธรรมดา
    ก็คือไม่ดีไม่ชั่ว
    แต่ถ้ามองให้ดีเป็นโมหะ หลง
    เพราะไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง
    ถ้าเรารู้จริงแล้ว เราอยู่เฉยๆไม่ได้
    ต้องละชั่ว ต้องทำดี ทำใจให้ใส
    ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
    ข้อนี้ต้องทำอย่างนี้
    ..........................
    พระเทพญาณมงคล
    (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    (เทศนาธรรมเรื่อง...ความตระหนี่)
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    [​IMG]



    ไฟล์เสียงหลวงปู่สด เป็นคำภาวนา "สัมมาอะระหัง"
    โหลดได้เลยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    เสียงหลวงป๋า (พระเทพญาณมงคล- เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี)
    นำกรรมฐานเบื้องต้น 55 นาที
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 สิงหาคม 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    โอวาทพระเดชพระคุณเจ้าสมเด็จพระวันรัต

    นักปฏิบัติสำนักวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัด
    ธนบุรี ได้นำหนังสือสมถวิปัสสนากรรมฐานมาให้อ่าน บรรยาย
    โดยนายโสภณ ชื่นชุ่ม ท่านผู้นี้ข้าพเจ้ายังไม่เคยรู้จัก เมื่อ
    อ่านตลอดแล้วเพียงคร่าวๆ ให้เกิดความเข้าใจว่า ผู้เขียน
    คำบรรยายมีภูมิธรรมสูงอย่างน่าเลื่อมใส และเข้าใจว่าคงเป็น
    นักปฏิบัติด้วย จึงพูดได้ลึกซึ้งสุขุม ถ้าเพียงแต่มีความรู้อย่าง
    เดียว คงเขียนคำบรรยายไม่ได้อย่างนี้ ต้องเป็นผู้มีลักษณะ
    ดังบาลีว่า ชานตา เป็นผู้รู้ธรรมด้วย ปสฺสตา เป็นผู้เห็นธรรม
    ด้วย เพราะธรรมดาบุคคลจะพูดถึงสิ่งอันใด ถ้าได้เห็นสิ่งนั้นมา
    ก่อนแล้ว ย่อมพูด ถึงสิ่งนั้นได้ถูกต้อง หรือ ใกล้ชิดกับความ
    จริง

    สมัยปัจจุบันนี้ สำนักกรรมฐานมีหลายสำนัก แต่ละ
    สำนักก็มุ่ง จุดหมายปลายทางอย่างเดียวกัน แต่วิธีปฏิบัติ ก็
    น่าจักเริ่มต้นต่างกัน แล้วแต่อุปนิสัยของบุคคล จะเหมาะแก่
    อารมณ์ของกรรมฐานแบบไหน ไม่จำเป็นต้องยกตนข่ม
    ท่าน ผู้ยกตนข่มท่านนั้น แสดงว่าถูกมานะทิฏฐิเข้าครอบงำ
    เสียแล้ว ควรที่จะส่งเสริมกันเพื่อสันติธรรม ไม่ใช่นำตน ไปสู่
    ดงกิเลส

    อันศีลธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม ยากนักที่จะ
    น้อมนำเข้ามาสู่ตัวเราได้ เพราะธรรม 3 ประการนั้น ย่อมเป็น
    ไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ความบริสุทธิ์นั้น
    ย่อมเกิดมีแก่บุคคลได้ยาก เพราะบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีจิต
    เศร้าหมอง ด้วยอำนาจสัญญาวิปลาส ความสำคัญผิด 4
    ประการ คือ

    1. สุภสัญญา ความสำคัญในอารมณ์ไม่งามว่าสวยงาม
    2. สุขสัญญา ความสำคัญในทุกข์ว่าสุข
    3. นิจจสัญญา ความสำคัญในอารมณ์ที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
    4. อัตตสัญญา ความสำคัญในอารมณ์ที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน

    เพราะมีความสำคัญผิดในอารมณ์อย่างนี้ ย่อมมีความ
    ประมาท มัวเมา ระเริงหลงติดอยู่ใน ความงาม ด้วย อำนาจ
    กิเลส

    ติดอยู่ใน สุข ไม่หาอุบายแก้ทุกข์
    ติดอยู่ใน ความเที่ยง ไม่นึกถึง อนิจจธรรม
    ติดอยู่ใน ตน ยึดถือว่า เป็นสัตว์ เป็นคน เป็นเรา
    เป็นเขา ด้วยอำนาจทิฏฐิมานะนี้ จัดเป็นวิปลาส
    ทำให้ดำเนินไปในทางที่ผิด จัดว่า เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง

    จิตที่เศร้าหมองจะผ่องใสได้ ก็ต้อง
    อาศัย “สมถวิปัสสนากรรมฐาน” เช่นกล่าวไว้ในหนังสือนี้
    เป็นแนวทางอย่างดี ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงพระธรรม และ
    มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ได้อย่างแท้จริง

    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย
    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล
    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก ต้องลงมือปฏิบัติธรรม
    ด้วย เหมือนคนปรารถนาเป็นเศรษฐีมีเงินทองมาก มิใช่เป็น
    เศรษฐีได้เพียงคิดเอา นึกเอา หรือ พูดเอา ต้องลงมือ
    ประกอบกิจการด้วย ความเพียร ความอดทน จึงจะเข้าถึง
    ฐานะเป็นเศรษฐีได้

    หนังสือนี้เป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติอย่างดียิ่ง ขอ
    อนุโมทนาแก่ท่านผู้เขียน ที่ได้เสียสละเวลาเขียน เพื่อ
    ประโยชน์แก่ผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม อย่าลืมว่า จิตที่
    เศร้าหมองนั้น จะชำระให้สะอาดได้ มีทางเดียว คือ เจริญ
    พระกรรมฐานตามแนวปฏิบัติในหนังสือนี้




    [​IMG]
    สมเด็จพระวันรัต
    วัดพระเชตุพนๆ
    14 มกราคม 2508



    ----------------------------------------------------------------


    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี

    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน
    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง
    มา

    อีกวิธีหนึ่ง เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ หรือ ปฐมมรรคที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวง
    ใส แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน
    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส
    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วธรรมกายนั่งบน
    นั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน แล้วเอาตาธรรมกายที่
    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น
    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา
    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ
    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา
    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน
    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง
    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง
    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง
    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน
    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา
    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ
    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ
    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน
    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม
    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา
    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน
    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต
    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน
    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว
    ไปมากนัก

    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม
    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย แต่ในด้านการปฏิบัติ เรา
    จะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ มิฉะนั้นแล้ว
    วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง

    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่

    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที

    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด

    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา

    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก

    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน
    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ
    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่
    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ
    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน

    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง
    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ
    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น
    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ
    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน
    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ
    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ
    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา
    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้
    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ
    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า
    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา

    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ
    กตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดย
    การปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย ประการหนึ่งเท่านั้น

    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัส
    สนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)

    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะ
    มาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้ เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะ
    ต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    การปฏิบัติกรรมฐานโดยทั่วไป


    เมื่อเราจะเริ่มฝึกหัดเจริญกรรมฐานใหม่ๆ ท่านอาจารย์
    มักสอนให้เรากำหนดลมหายใจ บางทีก็ให้บริกรรมภาวนา
    ด้วย การกำหนดลมหายใจนี้ เรียกว่า อานาปานสติ แต่การ
    เจริญอานาปานสติที่แท้นั้น ใช้ วิธีนับลมหายใจเข้าออกเป็น
    อารมณ์ จนแลเห็นลมหายใจเข้าออกเป็นดวงๆ ต่อจาก
    นั้น ก็บำเพ็ญเพียรต่อไปจนบรรลุขั้นรูปฌาน เช่นเดียวกับสม
    ถกรรมฐานอื่นๆ นอกจาก อาโลกกสิณ และ อากาศกสิณ
    การเจริญอานาปานสติ ไม่อาจประกันได้ว่า ผู้ปฏิบัติจะมี
    ความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างจริงใจ เพราะเมื่อถึง
    อุปจารสมาธิ กรรมฐานจะเข้าสู่ทางหลายแพร่ง เพื่อเป็นการ
    ป้องกันไม่ให้สานุศิษย์มีจิตใจแปรเปลี่ยนไป ในทางที่จะตัดหน
    ทางขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน ในโอกาสข้างหน้า สำนักต่างๆ จึง
    แนะนำให้ใช้คำบาลีที่มีความหมายถึงพระบรมศาสดา หรือ พระ
    พุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ กล่าวคือ พุทโธ บ้าง อรหัง
    บ้าง นะโมพุทธายะ และ ยะธาพุทโมนะ บ้าง ด้วยเหตุ
    นี้ การเจริญกรรมฐานโดยมาก จึงเป็นพุทธานุสติกลาย ๆ

    ด้านพุทธานุสติ มีผู้เข้าใจว่า อริยบุคคลจึงจะเจริญพุ
    ทธานุสติได้ถึงขั้นอุปจารสมาธิ ไม่อาจจะเจริญให้สูงขึ้นไป
    ถึง อัปปนาสมาธิ ได้ ในทางปฏิบัติ เมื่อได้ดวงแล้ว
    สมาธิจะยึดวัณณกสิณ หรือ อาโลกกสิณเป็นอารมณ์ แล้ว
    เข้าถึง อุปจาระ และ อัปปนาได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น
    อริยบุคคล เมื่อถึงขั้นอุปจารสมาธิ อาจารย์อาจแนะนำให้
    อธิษฐาน จิต หันไปยึดเอาสัญลักษณ์ ของพระพุทธ
    ศาสนา เช่น พระพุทธรูปเป็นอารมณ์กรรมฐาน

    มีผู้เข้าใจผิดเหมือนกันว่า การภาวนาว่า พุทโธ
    หรือ อรหัง เป็นอารมณ์ ไม่อาจเจริญกรรมฐานได้ถึงขั้น
    วิปัสสนา อันที่จริง เมื่อปฏิบัติได้ปฏิภาคนิมิตแล้ว ก็ไม่ต้อง
    ภาวนา พุทโธ หรือ อรหัง อีกต่อไป เมื่อชำนาญใน
    ปฏิภาคนิมิต อุปจารสมาธิก็เกิด ที่จุดนี้เอง เป็นจุดที่จะนำสมาธิ
    ไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปใช้ในการเจริญวิปัสสนา ถ้าผู้ใด
    เจริญ ได้ถึงอัปปนาแล้ว ก็จำต้องถอยลงมาที่อุปจารสมาธินี้
    เช่นเดียวกัน การขึ้นวิปัสสนาของสมาธิ อาจกระทำได้ 3
    ทางด้วยกัน คือ

    1. น้อมใจไปเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์
    2. เจริญฌานสมาบัติ โน้มใจเข้าสู่มรรคผล ตามแบบของ
    วิปัสสนา แบบโบราณ
    3. เจริญสมาธิให้ได้ รูปฌาน และ อรูปฌาน แล้วถอยลงมา
    ขั้น อุปจารสมาธิ แล้วขยายนิมิตให้ใหญ่ขึ้นๆ จนมอง
    ไปทางซ้าย ขวา ก็ยังไม่สุดองค์พระ

    นิมิตในตอนนี้มีสองอย่าง คือ เป็นสีเหลืองอย่าง
    หนึ่ง กับ สีขาวอีกอย่างหนึ่ง สีเหลืองเป็นนิมิตของผู้มี
    ศรัทธาจริต สีขาวเป็นนิมิตของผู้มีอภิญญา ต่อจากนี้ ผล
    ของการปฏิบัติคล้ายกับ สำนักวิปัสสนาแบบธรรมกาย

    ก่อนจะผ่านข้อนี้ไป ขออธิบายว่า ฌาน นั้นมีความ
    หมายอยู่สองประการ เป็นการเพ่ง ประการหนึ่ง เป็นการดับ
    กิเลสหรือดับทุกข์ ชั่วครั้งคราว อีกประการหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบไตรลักษณ์( วิปัสสนาญาณ16)


    มีหลายท่านที่จะพยายามยกย่อง การเจริญวิปัสสนาแบบ
    ไตรลักษณ์ว่า เป็นการเจริญวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน การ
    ยกย่องเช่นนี้รู้สึกว่า ออกจะมีนโยบายรุกรานมากไปสักหน่อย
    ทั้งนี้เพราะ ....

    พระพุทธองค์ทรงประทานมหาสติปัฏฐานสูตรแก่
    ชาวโลก ในฐานะเป็นของกลาง

    ไม่ว่าวิปัสสนาแบบไหน ก็มี
    โอกาสได้แอบอิงมหาสติปัฏฐานสูตรได้ทุกประเภท


    การเจริญ
    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เป็นการเจริญกรรมฐาน เพื่อหวัง
    ปัญญาวิมุตติ คนทั้วไปคิดว่าสามารถบรรลุมรรคผลได้ง่ายกว่า
    การเจริญ
    วิปัสสนาแบบอื่น

    แต่ก็ได้เพียงผลอันสืบมาแต่ปัจจัยภายนอก ไม่มุ่ง

    อภิญญา ไว้ประดับสติปัญญา นอกเสียจากว่า จะกลับมาเจริญกรรมฐาน เพื่อหวัง
    เจโตวิมุตติอีกครั้ง หรือมีของเก่าเคยฝึกมาในอดีตกลับมาปรากฏหลังจากบรรลุ
    ปัญญาวิมุตติ ตัดกิเลสได้แล้ว

    โดยทั่วไป การเจริญวิปัสสนามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

    1. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
    2. เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    3. เจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา

    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์นี้ อาจอธิบายวิปัสสนาได้
    สองนัย นัยหนึ่งอธิบายโดยแสดงการเจริญอย่างมีสมถะเป็น
    เบื้องต้น และอีกนัยหนึ่งอย่างมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น แต่ใน
    ที่นี้ จะอธิบายทั้งสองนัยนี้พร้อมกัน ในแง่การปฏิบัติ
    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีวิปัสสนาญาณอยู่ 16 ญาณ
    ญาณทั้ง 16 นี้ใกล้ชิดกันมาก ยากต่อการอธิบาย ฉะนั้น จึง
    ปรากฏว่า ไม่ว่าตำราไหนก็ตำรานั้น พากันลอกวิสุทธิมรรคกัน
    มาเป็นแถวๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะกลัวจะถูกหาว่าเก่งกว่าพระ
    อรหันต์ มีแต่ตำราของพระสังฆราชไก่เถื่อน และ แบบ
    เวียงจันทน์เท่านั้น ที่อธิบายความเข้าใจ แต่ก็อธิบายไว้สั้นๆ
    อ่านไม่ค่อยเข้าใจ การกำหนดอิริยาบถและสัมปชัญญะเพื่อ
    เจริญวิปัสสนานั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการกำหนดเสียง เพราะ
    ถ้ากำหนดด้วยสัมผัสอย่างอื่น อาจมีอารมณ์ลวงเกิดขึ้นได้

    วิปัสสนา 16 ญาณ ได้แก่

    1. นามรูปปริจเฉทญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่า กาย
    นั้นอยู่ส่วนหนึ่ง จิตนั้นอยู่อีกส่วนหนึ่ง

    2. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่ากาย
    นั้นเป็นผู้ทำการเคลื่อนไหว ส่วนจิตเป็นผู้บังคับบัญชาการ
    เคลื่อนไหวของกาย หรืออีกนัยหนึ่ง เห็นหรือกำหนดรู้ว่ากาย
    นั้นเป็นอนิจจัง ส่วนจิตซึ่งขณะนี้ยังนับเนื่องในวิญญาณนั้นคง
    ที่ ไม่ว่ากายจะเป็นรูปมนุษย์และสัตว์ เห็นและกำหนดรู้ว่า
    การมีกายนี้เกิดขึ้นทำให้มีความทุกข์ และกายไม่ใช่ตัวตนของ
    เรา เป็นเพียงผลของตัณหาและกรรม

    3. สัมมสนญาณ คือการกำหนดรู้และเห็นกายและจิตได้
    ตามความเป็นจริง และกำหนดรู้เห็นว่ากายและจิต สามารถ
    แยกจากกันได้

    การปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ จะกำหนดรู้ญาณนี้ได้
    ว่า กายภายในนั้น เปรียบเหมือนถ้ำที่กักขังจิตไว้ ส่วนจิตดิ่ง
    อยู่ตรงกลางถ้ำกายภายใน ตามความเป็นจริงนั้นเป็นรูปถุง ปาก
    ถุงอยู่ตรงส่วนบนของลิ้นปี่ แล้วโค้งตามชายโครงไปตาม
    สีข้าง แล้วโค้งตามลำตัวห่างจากสีข้างเข้าไปประมาณครึ่งนิ้ว
    ลงไปยังท้องน้อย บรรจบกันเป็นรูปถุง ส่วนจิตนั้นลอยอยู่ตรง
    กลาง จิตตามความเป็นจริงในที่นี้คือ มหาภูตรูป พร้อมด้วยจิต
    และวิญญาณและดวงอากาศธาตุ ตรงจุดนี้เป็นจุดที่วิชชา
    ธรรมกายเริ่มต้น โดยเดินไปคนละทิศ คือเดินไปทางทิศตรงกัน
    ข้าม การแทงตลอดลึกเข้าไปในปัจจัยภายใน ตามวิธีปฏิบัติ
    ในวิชชาธรรมกายมากเท่าใด วิปัสสนาญาณเช่นที่เกิดใน
    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ก็เกิดสูงขึ้นเท่านั้นพร้อมกันไปด้วย

    นักปฏิบัติตามแบบของวิชชาธรรมกาย จะสามารถเห็น
    ญาณนี้ ได้โดยละเอียด ญาณนี้แปลกกว่าญาณอื่นอีก 13
    ญาณถัดไป กล่าวคือ ญาณนี้ต้องเห็นเสียก่อน จึงจะกำหนดรู้
    ได้อย่างละเอียด ญาณทั้งสามญาณที่กล่าวมาแล้วนี้
    เห็นและกำหนดรู้พร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ นักปฏิบัติโบราณจึง
    กำหนดว่า วิปัสสนาญาณเริ่มตั้งแต่ สัมมสนญาณ

    สมมุติว่าในขณะปฏิบัติอยู่นั้น เกิดปวดฟันขึ้นมา และได้
    หันไปกำหนดที่การปวดฟันนั้น จะรู้สึกว่าฟันและการปวดออกไป
    อยู่ทางหนึ่ง จิตอยู่อีกทางหนึ่ง ความเจ็บปวดไม่เกาะอยู่ที่จิต
    คือไม่มีความเจ็บเลย นี่เป็นการกำหนดรู้เวทนาในเวทนา
    เป็นการกำหนดรู้ทั้งเวทนาภายในและเวทนาภายนอก การ
    กำหนดที่การปวดฟันนี้ ต้องมีตัวรู้ตามไปด้วยทุกขณะ มิ
    ฉะนั้นจะปวดมากขึ้น

    นิมิตวิมาน ปราสาท เทพ พรหม และสิงสาราสัตว์ที่ได้
    เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ ถ้าจะปรากฏให้เห็น ก็จะปรากฏนอกขอบ
    ถุง ในทางปฏิบัติจะต้องสละคืนนิมิตเหล่านี้ และสละคืนตัวถุง
    ด้วย ให้ความรู้สึกเกาะอยู่ที่จิตอย่างเดียว นิ่งอยู่ได้สำเร็จ
    ญาณต่อไปก็เกิดขึ้น

    4. อุทยัพพยญาณ คือ ญาณกำหนดรู้การเกิดดับของกายและ
    จิต ได้แก่ จิตเต้นถี่เร็วเข้าๆ คล้ายกระแสความถี่ของวิทยุ
    หรือคล้ายฝนตกจั้กๆ ทำท่าจะดับ ว่างเปล่าไป ญาณนี้ทาง
    สมถะก็อาจปฏิบัติได้ แต่ ที่ไม่เป็นวิปัสสนาก็เพราะ ไม่ได้
    เห็นกายและจิต จึงไม่มีเชื้อของ นิพพิทาญาณ

    5. ภังคญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ความดับ หรือ แตกสลาย
    ของกายและจิต เมื่อจิตเต้นถี่เร็วๆเข้า กายก็ดับว่างเปล่า
    ไป ญาณนี้เป็นที่เริ่มต้นของคำว่า จิตว่าง ไม่มีการเห็นตั้งแต่
    ญาณนี้เป็นต้นไป กล่าวคือ แต่ญาณนี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์

    มีข้อสังเกตว่า กายหรือรูปได้ดับไปแล้วอย่างเด็ดขาด
    วิปัสสนาญาณต่อไป จะไม่มีอาการที่สืบมาแต่กาย โดยกาย
    เป็นใหญ่เกิดขึ้นเลย ถ้ามีอาการเกี่ยวกับกาย โดยกายเป็นใหญ่
    เกิดขึ้น อาการนั้นเป็นอาการของปีติ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
    ญาณต่อไป เป็นการแยกนาม หรือ เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ ออกจากมหาภูตรูป จิตจึงเริ่มมีความหมายใหม่
    ว่า นามรูป

    6. ภยตูปัฏฐานญาณ คือการกำหนดรู้ว่านามรูปเป็นภัยที่น่า
    กลัว ได้แก่ อาการรู้สึกกระสับกระส่ายอย่างแรง ญาณนี้เป็น
    ญาณแรกใน 6 ญาณ ที่แสดงอาการของทุกข์ใน
    วิปัสสนา ญาณนี้จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    7. อาทีนวญาณ คือการกำหนดรู้โทษของนามรูป เนื่องจาก
    อาการกระสับกระส่ายของญาณที่ 6 ผู้ปฏิบัติจะมีความรู้สึกอึด
    อัด คล้ายถูกขังอยู่ในห้องเล็กๆ ที่มีอากาศน้อย ญาณนี้เป็น
    ญาณที่สองที่แสดงอาการของทุกข์ และจะกำหนดรู้ได้ชัดใน
    เที่ยวที่สอง

    8. นิพพิทาญาณ คือการกำหนดรู้ความเบื่อหน่ายในสังขาร
    ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิต พร้อมกับรู้สึกว่าชีวิตเราเกิด
    มานี้ เป็นอนิจจัง ไม่มีความแน่นอนเป็นแก่นสารอะไรเลย มีแต่
    ความทุกข์ ถ้าไม่ต้องเกิดเสียได้ ก็จะไม่มีทุกข์อีกต่อไป เป็น
    การรู้ว่าจิตมีธรรมอื่นๆยิ่งกว่า หรือเป็นการกำหนดรู้จิตในจิต ใน
    เที่ยวที่สอง ญาณนี้จะปรากฏขึ้นระหว่างอาการของทุกข์แวบ
    เดียว เพื่อให้กำหนดรู้ สมุทัย ญาณนี้เป็นญาณที่สาม ที่
    แสดงอาการของทุกข์

    ญาณนี้จะกำหนดรู้ ปฏิจจสมุปบาทธรรม รวมทั้งรู้ว่า
    ถ้าดับตัณหาและอุปทานเสียได้ ก็จะเป็นการดับทุกข์

    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือการกำหนดรู้ความปรารถนา ใคร่จะ
    หลุดพ้นไปจากทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สึกอึดอัด จิตนั้นก็เริ่ม
    พยายามดิ้น เพื่อจะออกไปนอกตัว คล้ายปลาที่อยากออกไป
    จากแห ญาณนี้เป็นญาณที่สี่ ที่แสดงอาการของทุกข์ จะ
    กำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    10. ปฏิสังขาญาณ คือการกำหนดรู้ความพยายามจะให้พ้นไป
    จากทุกข์ ได้แก่การกำหนดรู้ว่า เมื่อพยายามอย่างนิ่มนวลไม่
    สำเร็จ จิต ก็ดิ้นแรงขึ้น แต่ภังคญาณเป็นต้นมา กายได้
    ดับลงสนิทแล้ว จิตจึงมีความเป็นใหญ่ ฉะนั้น เมื่อจิตดิ้น
    กายก็ดิ้นตามไปด้วย การดิ้นของจิต เพื่อหนีจากทุกข์นี้ มี
    ความรุนแรงถึงกับดิ้นปัดๆ ในอาการเช่นเดียวกับปลาติดแหแล้ว
    ดิ้น และจะมีกลิ่นสาบออกมาจากตัวด้วย ญาณนี้เป็น ญาณที่
    ห้า ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    11. สังขารุเปกขาญาณ คือการกำหนดรู้การวางเฉยของนาม
    รูป เมื่อพยายามจะออกไปจากกองทุกข์นี้ไม่สำเร็จ ก็ปล่อย
    ไปตามเรื่อง หรือวางเฉยเสีย บางท่านว่าเหมือนความรู้สึกต่อ
    สตรี ที่ได้หย่าขาด จากกันแล้ว นี่เป็นการรู้นิโรธในความ
    หมายว่าเป็นการดับทุกข์ ในทางปฏิบัติจะเห็นญาณนี้แวบเดียว
    แต่ก็สามารถทำให้ทุกข์มหาศาลในวิปัสสนาดับลงได้โดยฉับ
    พลัน ญาณนี้ เป็นญาณสุดท้าย ที่แสดงอาการของทุกข์ จะ
    กำหนดรู้ได้ในเที่ยวที่สอง

    นิโรธในวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีความหมายแต่เพียงว่า
    เป็นการดับทุกข์ ส่วนนิโรธในความหมายว่า ทำให้แจ้งแห่ง
    สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ตามสัจจกถาปฏิสัมภิทามรรคนั้น มี
    อยู่แต่ในวิชชาธรรมกาย และ วิปัสสนาแบบโบราณเท่านั้น


    12. อนุโลมญาณ คือการปล่อยไปตามวิถีแห่งอารมณ์นิพพาน
    จะมีปัญญาแนะให้รู้ว่า มีญาณวิถีเกิดขึ้น เพื่อจะช่วยให้ข้ามไป
    ยังฐานะใหม่ พ้นไปจากทุกข์ของโลกนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติยังเสีย
    ดายโลกียวิสัย ก็จะไม่กล้าเกาะญาณวิถีนี้ไป แต่ถ้าเบื่อหน่าย
    ชีวิตในสภาพปัจจุบันนี้ ก็จะ มีปัญญา แนะให้ยอมเป็น ยอม
    ตาย เกาะญาณวิถีนี้ไป

    สำหรับผู้เคยปฏิบัติทางสมถะมาก่อน ญาณวิถีที่เกิดขึ้นใน
    ตอน นี้ จะมีอาการดูดหนุบๆ ถ้ามีสติไม่ตกใจมาก ก็จะชะงัก
    อยู่นิดหนึ่ง แล้วข้ามโคตรปุถุชนไป ถ้าตกใจมากก็ไม่อาจจะ
    ข้ามไปได้

    13. โคตรภูญาณ คือการกำหนดรู้การข้ามโคตรปุถุชน เมื่อ
    ตัดสินใจ เกาะญาณวิถีต่อไป ญาณวิถีจะพากระโดดข้าม
    โคตรปุถุชน

    14. มัคคญาณ ได้แก่ ระยะทางจากจุดที่เริ่มตัดสินใจเกาะ
    ญาณวิถี กระโดดข้ามโคตรปุถุชน มาถึงจุดที่ญาณวิถีกระโดด
    มาถึงที่หมาย อาการของมรรคที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ มีผู้นำ
    ไปผูกเป็นสำนวนว่า เป็นการข้ามไปยังฝั่งขวา ที่ระบุว่าเป็นฝั่ง
    ขวา เพราะในพระพุทธศาสนานิยมการเวียนขวา

    15. ผลญาณ คือการกำหนดรู้ จุดที่ญาณวิถีกระโดดข้ามมา
    ถึงที่หมาย การปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกาย จะทำให้สามารถเห็น
    ผลญาณ คือ อายตนะนิพพาน อีกด้วย

    16. ปัจจเวกขณญาณ ต่อจากผลญาณ จะมีภวังค์คั่นอยู่หน่อย
    หนึ่ง แล้วจะมีญาณบอกให้รู้ว่า มีปัญญาได้อะไรมาแล้วบ้าง
    การปฏิบัติในเที่ยวแรก วิปัสสนาญาณจะเกิดแต่สัมมสนญาณ
    ขึ้นมาตามลำดับ จนถึงภังคญาณ ข้ามไปกำหนดรู้
    นิพพิทาญาณ แล้วก็อนุโลมญาณ ต่อไป ก็บรรลุมรรคผล
    เป็นการได้ อนิจจสัญญา ในเที่ยวนี้จะกำหนดรู้สมุทัยและมรรค
    ได้ชัดเจน มีข้อสังเกตว่าการปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์
    นี้ จะต้องมีศีล ต้องสละคืนสมาธิ ต้องมีสติอยู่เสมอ คือให้
    มีตัวรู้ตามติดญาณไปทุกขณะ แล้วตัวรู้นี้จะกลายเป็น
    ปัญญา ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะเกิดขึ้น
    ในระหว่างการปฏิบัติ

    การจะเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เที่ยวสองได้
    นิพพิทาญาณจะต้องมีกำลังถึงกับแผ่เป็นวงกลม ออกไปนอก
    ตัว ราว 1 ศอก กำลังสมาธิในตอนนี้ เท่ากับกำลัง
    สมาธิขั้น อรูปฌาน นิพพิทาญาณหรือ ตัวอนิจจัง หรือ
    สมุทัยนี้ จะเป็นพื้นของวิปัสสนาญาณตลอดการปฏิบัติใน
    เที่ยวสอง การปฏิบัติจะเจริญขึ้น ตามลำดับ จนถึงภังค
    ญาณ แล้วก็จะกำหนดรู้ทุกข์ใน ภยตูปัฏฐานญาณ และ
    อาทีนวญาณ จะกำหนดรู้ นิพพิทาญาณ นิดหนึ่ง แล้วก็จะรู้
    อาการของทุกข์ ต่อไป ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขา
    ญาณ และ สังขารุเปกขาญาณในที่สุด ซึ่งแสดงว่าทุกข์ใน
    วิปัสสนานั้นใหญ่หลวงนัก ต้องใช้ญาณถึง 6 ญาณ จึงจะ
    กำหนดรู้อาการของทุกข์ได้ครบ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนว
    ญาณ และ นิพพิทาญาณ เป็นการกำหนดรู้ทุกข์

    ส่วน มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปก
    ขาญาณ เป็นการกำหนดรู้ความพยายามให้พ้นทุกข์

    อาการของทุกข์เป็นสภาวะที่ไม่อาจจะทนทานได้ที
    เดียว จะระงับอย่างไรก็ไม่ได้ แม้จะพยายามใช้สมาธิระงับก็
    เข้าไม่ถึง พอทุกข์แรงจนถึงขีดสุด ก็จะกำหนดรู้นิโรธใน
    สังขารุเปกขาญาณ แล้วก็อนุโลมไปตามญาณวิถี ต่อจากนั้น
    ก็จะกำหนดรู้อนัตตา ในความหมายว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา
    และ ทุกข์เป็นสภาพที่ไม่อาจบังคับบัญชาได้ ซึ่งเท่ากับเป็น
    ปัญญาผ่าน มัคคญาณ ผลญาณไปด้วยในตัว และเป็นการ
    ปรากฏของ อนัตตสัญญา

    มีข้อสังเกตว่า จะต้องผ่านการปฏิบัติในเที่ยวแรกเสีย
    ก่อน จึงจะสามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้ชัดเจน และ ใน
    เที่ยวที่สองนี้ จะได้ผ่านอริยสัจ 4 อีกครั้ง ทำให้สามารถ
    กำหนดรู้อริยสัจ 4 ได้ชัดขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเห็นธรรมใน
    ธรรม นิโรธมีอยู่แล้วที่สังขารุเปกขาญาณ และ
    นิพพิทาญาณ แต่นิโรธทั้งสองแห่งเป็นนิโรธที่ยังหยาบอยู่

    สำหรับการปฏิบัติในเที่ยวสาม ท่านผู้รู้แนะให้แต่
    เพียงว่า นิพพิทาญาณ จะเป็นเจ้าเรือนอยู่ตามเดิม
    ตามที่อธิบายมาข้างต้นว่า การปฏิบัติในเที่ยวแรก ได้
    ข้ามวิปัสสนาญาณไปสองแห่ง ไม่ได้กำหนดรู้วิปัสสนาญาณ
    รวม 5 ญาณนั้น ไม่ได้หมายความว่า ญาณนั้นๆไม่ได้เกิด
    ขึ้น ถ้าอาจารย์ผู้ควบคุมตรวจสอบอารมณ์กรรมฐานดู จะรู้
    ว่า อันที่จริง ญาณนั้นเกิดขึ้นแต่ไม่ชัด ผู้ปฏิบัติจึงไม่อาจรู้
    ได้ ต้องปฏิบัติเที่ยวที่หนึ่ง สามารถกำหนดรู้สาเหตุแห่งทุกข์
    ได้แล้ว จึงสามารถรู้ทุกข์ได้ชัด

    ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมถภาวนามาแล้วอย่างโชกโชน
    ย่อมผ่านอาการกายดับ จิตว่างมาแล้วอย่างนับครั้งไม่ถ้วน
    ถ้ามีอะไรผิดสังเกต จิตจะรีบกลับไปนิ่งอยู่ที่ศูนย์ที่ตั้งจิตโดย
    อัตโนมัติทันที ส่วนมากเห็นกายในกายและ จิต หรือ สัมมสน
    ญาณแล้ว การที่ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะไปอธิษฐาน
    จิตเสีย ถ้าเผอิญเกาะจิตนิ่งอยู่ ไม่คิดอะไรเลย ได้นานพอ
    เพียง ก็อาจบรรลุมรรคผลได้ ในกรณีพระสาวกที่บรรลุ
    มรรคผลได้โดยฉับพลันก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่เลื่อมใสพระ
    ธรรมข้อหนึ่งข้อใดนั้น ศรัทธาในพระธรรมเอิบอาบซาบซ่าน
    ไปทั่วกายอย่างลึกซึ้ง จนทำให้ความรู้สึกย้อนกลับมาดูกาย
    และจิตทันที เมื่อนิ่งอยู่ที่นั่น อุทยัพพยญาณ และ ภังค
    ญาณ หรืออาการจิตว่างก็เกิด แล้วนิพพิทาญาณก็จะเกิดตาม
    มาโดยรวดเร็ว ถ้าจิตละเอียดมากอยู่แล้ว ก็อาจบรรลุมรรค
    ผลขั้นต่ำ สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติสมถภาวนามาบ้าง ถ้าเปลี่ยน
    ศูนย์ที่ตั้งจิตมาตั้งอยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้ว แล้วหยุด
    อธิษฐานจิต อาจจะบรรลุมรรคผลได้เร็วกว่าการตั้งจิต
    อยู่ที่ศูนย์อื่น

    ถ้าเริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อน แล้วหันมา
    ปฏิบัติวิปัสสนา เรียกว่า เป็นการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็น
    เบื้องต้น ถ้าเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงแล้ว ความ
    สามารถทางสมถะเกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ เรียกว่า การเจริญ
    สมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    เมื่อได้ อุทยัพพยญาณ แล้ว จะมี วิปัสสนูปกิเลส
    เกิดขึ้น 10 ประการ คือ

    1. โอภาส เห็นแสงสว่างมากผิดปกติ สามารถเห็นที่
    ต่างๆได้ ถ้าได้ปัญจมฌานแล้ว อาจ
    เห็นได้ถึงพรหม
    2. ปีติ ขนลุก และ รู้สึกวาบๆไปทั่วตัว ลมพัด
    ไปทั่ว กายเป็นละลอก มีอาการตัวจะ
    ลอยขึ้น และ มีความเย็นเยือกวาบลงไป
    กลางกาย แล้วแผ่ไปทั่วตัว คล้ายน้ำ
    โกรกชะโงกผา
    3. ปัสสัทธิ รู้สึกว่าร่างกายโปร่ง เบา สงบมาก
    มีความเย็นอย่างละเอียดเนียนๆ
    4. อธิโมกข์ มีศรัทธาแก่กล้า อยากให้คนทั้งโลกมา
    เจริญวิปัสสนา
    5. ปัคคหะ มีความเพียรอยากปฏิบัติวิปัสสนา อย่าง
    หามรุ่ง หามค่ำ
    6. สุข เป็นอุปกิเลสที่เกิดต่อจากปัสสัทธิ คือ
    เมื่อสงบแล้ว ก็มีความรู้สึกเป็นสุข ชนิด
    ที่ไม่อาจจะหาได้ในโลกนี้
    7. ญาณ ทำวิปัสสนาญาณได้คล่องผิดกว่าปกติ
    8. อุปัฏฐาน กำหนดสติได้คล่องแคล่วทุกอิริยาบถ
    9. อุเบกขา วางเฉยไม่ยินดียินร้ายในเรื่องอะไรเลย
    10. นิกันติ ความอยาก หยุดเพียงอุปกิเลสอย่าง
    หนึ่งอย่างใด ก็ตาม

    ที่กล่าวมาข้างต้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ อาจทำให้สำคัญ
    ผิดไปว่า ตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว หรือไม่ ก็หลงเพลิดเพลิน
    อยู่ในอารมณ์เหล่านี้ จนไม่เป็นอันปฏิบัติสืบต่อไป
    ตามมติของสำนักวัดมหาธาตุ ผู้ปฏิบัติได้ญาณ 16 ญาณนี้
    ครั้งหนึ่งจะบรรลุมรรคผลขั้นโสดาบัน ถ้าได้สองครั้งจะบรรลุ
    มรรคผลขั้นสกิทาคามี ถ้าสามครั้งได้อนาคามี สี่ครั้งได้
    อรหัตผล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรลุมรรคผล โดยการเจริญ
    วิปัสสนาแบบนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า มีดังต่อไปนี้

    1. ต้องมีศีล
    2. ต้องสละคืนสมาธิ
    3. ต้องมีสติอยู่เสมอ คือ ให้มีตัวรู้ ตามติดญาณไป
    ทุกขณะแล้วตัวรู้นี้ จะกลายเป็น ปัญญา
    4. ต้องพยายามพิจารณา อุทยัพพยญาณ ให้เห็น
    ลักษณะของ อนิจจัง ทุกขัง หรือ อนัตตา
    5. ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส
    (ข้อนี้ใช้เฉพาะการปฏิบัติในครั้งแรกเท่านั้น)

    เมื่อครั้งพุทธกาล มีการบรรลุมรรคผลกันโดยฉับพลัน
    เป็นจำนวนมาก ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะเข้าใจว่าผู้บรรลุมรรคผล
    ได้โดยฉับพลันเหล่านั้น มีเงื่อนไขอยู่หลายประการ เช่น

    1.ด้วยอภินิหารของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    2.ตนเองได้สร้างบุญบารมี หรือ มีนิสัยมาแล้วในชาติก่อน
    อย่างแก่กล้า
    3.บุคคลชั้นกษัตริย์และพราหมณ์ ได้เจนจบไตรเพทมาแล้ว
    ส่วนมากได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ถ้าได้คำแนะนำที่ถูก
    ต้องอาจบรรลุอาสวักขยญาณได้ทันที
    4.พระพุทธองค์สามารถทราบได้ว่า ในชาติก่อนบุคคลเหล่า
    นั้นได้เคยมีความสลดใจในอาการอย่างไร หรือ เคยใช้
    อารมณ์อะไรมาเป็นกรรมฐาน จึงต่อกรรมฐานให้แก่บุคคลผู้
    นั้นในอารมณ์เดียวกับที่ได้เคยมีมาในกาลก่อน
    5.เป็นผู้ที่ได้ประสบกับความไม่เที่ยง และ ความทุกข์อย่าง
    รุนแรงในโลกนี้ เพียงแต่แนะให้เข้าใจ ลักษณะอนัตตา
    ก็อาจหลุดพ้นได้

    ด้วยเหตุนี้ ผู้บรรลุมรรคผลโดยฉับพลัน จึงมีหลาย
    ประเภท บางท่านก็เป็น สุกขวิปัสสก คือ บรรลุปัญญาวิมุตติ
    บางท่านบรรลุ เจโตวิมุตติ บางท่านก็บรรลุทั้งสองทางหรือ
    ประกอบด้วย จตุปฏิสัมภิทา

    ผู้สำเร็จมรรคผล ชั้นโสดาบัน สามารถอดทนต่อ
    ความทุกข์ยากได้ดี อย่างน้อยจะรู้สึกตนว่าโชคดี ไม่เสียทีที่ได้
    เกิดมาพบพระพุทธศาสนา บัดนี้ตนเองได้ประสบชัยชนะต่อ
    ทุกข์แล้ว เป็นอันหวังได้ว่า ชีวิตในชาติหน้า ไม่มีทางจะตก
    ต่ำ พระโสดาบันอาจทำความผิดเล็ก น้อยได้ ถ้าเป็นผู้เห็น
    ทุกขลักษณ์ชัด จะมีกามราคะเบาบางมาก แต่ความรู้สึกทาง
    อารมณ์ยังมีอยู่ ส่วนผู้ที่เห็นชัดในด้านอนิจจัง และอนัตตา
    อาจมีชีวิตครองเรือนบ้าง เพราะกามราคะถูกตัดไปไม่มาก
    กามราคะของพระสกิทาคามี จะเบาบางลงไปอีก ขนาดมอง
    เห็นของสวยของงาม โดยจิตใจไม่เคลื่อนที่ แต่ความรู้สึก
    ทางอารมณ์ยังมีอยู่บ้างในยามเผลอ ถ้าได้มรรคผลทางทุกข
    ลักษณ์ ความรู้สึกทางอารมณ์จะสงบลงไป แต่ยังอาจเกิด
    ขึ้นได้ ต้องบรรลุมรรคผลชั้นอนาคามี กามราคะจึงจะหมดไป
    อย่างเด็ดขาด

    ในปัจจุบันนี้มักจะมีการพูดกันอย่างหนาหูว่า มนุษย์
    ผู้หญิงหรือผู้ชายก็คือ โครงกระดูกที่หุ้มด้วยหนัง หรือ ถุงที่
    บรรจุสิ่งปฏิกูล ฟัง ๆ ดูอาจเข้าใจไปได้ว่า ผู้พูดเป็นผู้ปลงตก
    แล้ว เพราะสำนวนนี้ถอดมาจากวิสุทธิมรรค ขอแนะนำว่าอย่า
    ได้ไปหลงลมเป็นอันขาด จะเสียตัว อารมณ์ของผู้ละกาม
    ราคะได้อย่างแท้จริงนั้น คือ ผู้ที่มองเห็นความงามอ่อนช้อย
    หรือ ความงามที่บาดตา มองเห็นความงามที่เยือกเย็น หรือ
    ความงามที่ยั่วยวน ด้วยอารมณ์อันว่างเปล่า ถ้าเห็นมนุษย์เป็น
    โครงกระดูกได้จริงๆ ก็เป็นเพียงผู้มีความสามารถทางสมาธิสูง
    เท่านั้น เมื่อใดกามราคะเกิดขึ้น ตัณหาจะรุนแรงยิ่งกว่าคน
    ธรรมดา คนจำพวกนี้แหละที่สำคัญนัก ต้องนำโครงกระดูกมา
    พิจารณา ให้เกิดความสังเวชสลดใจใน อนิมิตตสมาธิ กาม
    วิตก พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก จึงจะหลุดพ้นไปได้ หรือ
    ถ้าบุญบารมีถึง อาสวกิเลสอาจสิ้นไปด้วย อาการหลุดพ้นจาก
    กามวิตก เสมือนความโล่งใจ เมื่อสามารถถอดแหวนที่คับนิ้ว
    ออกมาได้ หากแต่ในกรรมฐาน เป็นความเบาระคนไปด้วย
    ความสุขสงบ เมื่อพ้นมาจากพันธนาการของตัณหา
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    การเจริญวิปัสสนาแบบโบราณ


    การเจริญวิปัสสนาแบบโบราณมี 3 วิธี

    วิธีแรก เมื่อได้รูปฌาน และ อรูปฌานแล้ว ก็ถอย
    มาเจริญวิปัสสนาตามแบบไตรลักษณ์ วิปัสสนาแบบ
    โบราณ กำหนดญาณไว้เพียง 10 ญาณ มีสัมมสน
    ญาณเป็นเบื้องต้น และมี อนุโลมญาณเป็นญาณสุดท้าย วิธีนี้
    จะได้มรรคผลทางปัญญา แต่เมื่อได้มรรคผลแล้ว อาจย้อน
    มาเดินสมาบัติ เพื่อให้ได้ เจโตสมาธิ อีกได้

    วิธีที่สอง ได้แก่ การแบ่งวิปัสสนาญาณทั้ง
    สิบออกเป็น 5 คู่ แล้วเดินฌานสมาบัติ น้อมจิตเข้าหา
    วิปัสสนาญาณทีละคู่ เป็นอนุโลมปฏิโลมจนบรรลุมรรคผล
    วิธีนี้อาจได้มรรคผลทั้งทางปัญญาและเจโตสมาธิ

    วิธีที่สาม ได้แก่ เดินทางสมาบัติ จนบรรลุปุพเพนิ
    วาสานุสสติญาณ ในระหว่างการเดินทางสมาบัติ ให้อธิษฐาน
    จิตขอให้บรรลุเมืองแก้ว เมื่อได้บรรลุเมืองแก้ว ก็ขอประทาน
    กำแพงแก้ว 7 ชั้น จากพระบรมศาสดา เมื่อได้กำแพงแก้ว 7
    ชั้นแล้ว ก็จะสามารถบรรลุจุตูปปาตญาณได้โดยง่าย ต่อมา
    เมื่อมีความสลดใจในความเวียนว่ายตายเกิดขึ้น ก็จะมีปัญญา
    สามารถประหารตัณหาให้หมดไป แล้วจะมีอาสวัก
    ขยญาณ แจ้งให้ทราบว่ากิเลสได้สิ้นไปแล้ว ไม่ต้องไปเกิดใน
    ภพใหม่อีกต่อไป แต่ถ้าหากยังมีอุปาทานเหลืออยู่ จะบรรลุ
    เพียงอนาคามิผล การบรรลุความหลุดพ้นทำนองนี้ เรียก
    ว่า เจโตวิมุตติ



    --------------------------------------------------------

    มรรค ผล

    เมื่อบุคคลใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ
    แล้ว ก็จะเกิดปัญญามองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ
    มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เรียกว่าญาณขั้นต่าง ๆ (คำว่าญาณนี้เป็นชื่อ
    ของปัญญาในวิปัสสนา ต่างจากฌานซึ่งเป็นขั้นต่าง ๆ ของ
    สมาธิ) จนกระทั่งปัญญาญาณนั้นแก่กล้าจนสามารถทำลาย
    ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อย่างถาวร อันเป็นผลให้กิเลสที่
    เกิดจากความยึดมั่นในขั้นนั้นถูกทำลายลงไปอย่างสิ้นเชิง จิต
    ในขณะที่เห็นแจ้งในความที่ไม่สามารถยึดมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง
    ได้อย่างชัดเจน จนสามารถทำลายกิเลสได้นี้เรียกว่ามรรคจิต
    ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ขณะจิตเดียว คือเกิดอาการปิ๊งขึ้นมาแว๊ป
    เดียว กิเลสและความยึดมั่นในขั้นนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย

    บุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนี้เรียกว่ามรรคบุคคล
    ซึ่งนับเป็นอริยบุคคลประเภทหนึ่ง


    บุคคลจะเป็นมรรคบุคคลแค่เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น
    หลังจากนั้นก็จะได้ชื่อว่าผลบุคคล คือบุคคลผู้เสวยผลจากมรรค
    นั้นอยู่ ไปจนกว่ามรรคจิตในขั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อ
    ทำลายความยึดมั่นและกิเลสที่ประณีตขึ้นไปอีก

    มรรคจิตแต่ละขั้นนั้นจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    แล้วจะไม่เกิดขึ้นในขั้นเดิมซ้ำอีกเลย จะเกิดก็แต่ขั้นที่สูงขึ้นไป
    เท่านั้น เพราะความยึดมั่นในขั้นที่ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่มี
    โอกาสกลับมาให้ทำลายได้อีกเลย


    อริยบุคคล 8 ประเภทนั้นประกอบด้วยมรรคบุคคล
    4 ประเภท และผลบุคคล 4 ประเภท ดังนี้คือ1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น
    เป็นครั้งแรก ที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรค
    บุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่
    กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้
    คือ(ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่ง
    ประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์
    10 ประกอบ)

    - สักกายทิฏฐิ
    - วิจิกิจฉา
    - สีลพตปรามาส

    รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ,
    กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่
    แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่น ๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไป
    เกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย

    2.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโสดาบัน
    คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ

    - พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย
    เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้
    (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียก
    ว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผล
    ให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)

    - อีกไม่เกิน 7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

    - มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน
    จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย

    - มีศีล 5 บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือความบริสุทธิ์ของศีล
    นั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีต ของจิตใจจริง ๆ
    ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือใจสะอาด
    จนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้

    3.) สกทาคามีมรรคบุคคล หรือสกิทาคามีมรรคบุคคล
    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้น
    เป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามีมรรคจิต มรรคจิตในขั้นนี้ ไม่
    สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือน
    มรรคจิตขั้นอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่า
    นั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ ถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มี
    อยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะและปฏิฆะนั้นมี
    กำลังแรงเกินกว่า จะถูกทำลายไปได้ง่าย ๆ

    4.) สกทาคามีผลบุคคล หรือสกิทาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่าน
    สกทาคามีมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่
    สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ ก็จะกลับมาเกิดใน
    กามภูมิอีกเพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ แล้วจะ
    พ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้าย
    ที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก

    คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน
    เปรต อสุรกาย นรก แต่สกทาคามีบุคคลนั้นพ้นจากอบายภูมิไป
    แล้วตั้งแต่เป็นโสดาบัน จึงเกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น

    5.) อนาคามีมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไป
    อีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่าอนาคามี
    มรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ

    - กามฉันทะ
    - ปฏิฆะ


    6.) อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุ
    เป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไป
    เกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น
    (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
    ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผล
    บุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ใน
    สุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัต
    ตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้
    แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น

    สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย

    - อวิหาภูมิ
    - อตัปปาภูมิ
    - สุทัสสาภูมิ
    - สุทัสสีภูมิ
    - อกนิฏฐาภูมิ

    7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไป
    อีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตต
    มรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มี
    กิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป
    ได้แก่

    - รูปราคะ
    - อรูปราคะ
    - มานะ
    - อุทธัจจะ
    - อวิชชา

    8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์
    คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้าย
    ถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่
    พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคง
    ต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบ
    ใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้


    นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ

    - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพาน
    ที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์
    ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง

    - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพาน
    โดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทาง
    ใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้
    อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพาน
    โดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์
    ทั้งปวงนั่นเอง)




    พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า
    ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก
    ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต
    ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย

    โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้
    จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน)
    แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น

    สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง

    อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก
    คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้
    แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว

    พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว
    พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 ตุลาคม 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    ปฏิจจสมุปบาทธรรม ส่วนหนึ่งที่เห็นได้จากญาณพระธรรมกาย


    ขออธิบาย การเกิด การตายให้ทราบล่วงหน้าว่า
    เรามาเกิดอย่างไร และตายไปอย่างไร
    ส่วนการที่จะปฏิบัติ ให้เห็น ให้รู้ได้เอง ต้องรอ
    ไว้เมื่อรู้วิธีแทงตลอดอริยสัจแล้ว

    กายไปเกิด กายมาเกิดเรียกว่า กายสัมภเวสี ๆ วัดด้วย
    ญาณได้สูง 8 ศอก เมื่อมาเกิดจะเข้าไปทางช่องจมูกของ
    บิดา ถ้าเป็นชายเข้าช่องขวา หญิงเข้าช่องซ้าย ตอนนี้กาย
    สัมภเวสี มีชื่อเรียกใหม่ว่าเป็นกายทิพย์ ๆ เข้าไปตั้งอยู่ในศูนย์
    กลางกายบิดา รอกำหนดอยู่ที่นั่น ช้าวันบ้าง เร็ววันบ้าง
    แล้วบังคับบิดาให้ไม่อาจทนอยู่ได้ ต้องวิ่งพล่านเข้าไปหา
    มารดา การสัมผัสจะทำให้เกิดการประกอบกิจร่วมกัน เมื่อ
    แรงปรารถนามีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ดวงใจทั้งสามจะแนบสนิท
    นิ่งแน่นเป็นจุดเดียวกัน ดวงเห็นจำคิดรู้ของบิดาอยู่บน ของลูก
    อยู่กลาง ของมารดาอยู่ล่าง กายทิพย์ของลูกซึ่งนิ่งอยู่ตรง
    สะดือของบิดา จะเข้าศูนย์กลางตัวกลายเป็นดวงกลมโต
    ประมาณไข่แดงของไก่ การดึงดูดต่อจากนั้นจะทำให้ดวงกาย
    ทิพย์ของลูกเข้าสิบ คือลอยขึ้นมาอยู่ที่ฐานที่ 7 หรือเหนือ
    สะดือของบิดาสองนิ้ว โอกาสนี้การดึงดูดจะหนักหน่วงรุนแรง
    ยิ่งขึ้น คล้ายกับการตอกตะปู จนกระทั่งบิดา และมารดาลืม
    ตัวไปกับความเพลิดเพลินจนตากลับ พอบิดามารดาเผลอ
    ตัว กายทิพย์จะเคลื่อนที่จากบิดาเข้าสู่อู่ มดลูกของมารดา
    แล้วก็ไปตั้งอยู่ตรงกลางต่อมเลือดที่ขั้วมดลูก ที่ขั้วมดลูกมีทาง
    เดินของระดู คล้ายหัวนมมีทางเดินของน้ำนม เมื่อกายทิพย์มา
    ปิดทางเดินของเลือด ระดูก็ขาดไป และกลละรูปก็เกิดขึ้น มี
    ขนาดเล็ก และใสสะอาด ประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาที่เหลือติด
    ปลายขนจามรี หลังจากสลัดเสียแล้ว 7 ครั้ง หรือ เท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร บางทีเราเรียกกลละรูปนี้ว่า กำเนิดธาตุธรรม
    เดิมบ้าง พืดเดิมบ้าง ต่อแต่นี้ไป กำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ก็เริ่ม
    งอกงามเจริญขึ้นเป็นลำดับไป การที่ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมให้ลูกบวช
    เณรแทนคุณแม่เมื่ออายุ 12 ขวบ และบวชแทนคุณพ่อเมื่อ
    อายุ 21 ปีนั้น เป็นเพราะลูกได้อาศัยธาตุดิน 21 ประเภทจาก
    มารดา มาประกอบเป็นกายขึ้น อาการตากลับเป็นเคล็ดลับ
    ประการหนึ่งของวิชชาธรรมกาย ถ้าในตอนเริ่มปฏิบัติครั้งแรก
    ไม่อาจทำให้ดวงนิมิตลงไปยังศูนย์กลางกายได้ ต้องทำ
    อาการตากลับ ดวงจึงจะเคลื่อนลงไปได้ สมตามความ
    ปรารถนา

    ส่วนกายไปเกิดนั้น เมื่อกายจะแตก ชีพจะสลาย ดวง
    เห็นจำคิดรู้ จะกลับเข้าข้างในกาย ดึงดูดกันนิ่งแนบหนักเข้า
    จนหัวต่อที่เชื่อมกายมนุษย์กับกายทิพย์ หลุดออกจากกัน เจ้า
    ตัวจะรู้สึกคล้ายมีอะไรดึงดูดจิตอย่างแรงคล้ายถูกกระชาก ตอน
    นี้จะมีสังหรณ์ให้ทราบคติในอนาคต แล้วกาลกิริยาก็เกิดขึ้น มี
    อาการบิดตัวบ้าง สยิวหน้าบ้าง หรือคว้าไขว่บ้าง อย่างใด
    อย่างหนึ่งแล้วก็ลืมตัว ต่อจากนั้นกายทิพย์จะสลายตัว หรือ
    เข้าศูนย์กลาง เป็นวงกลมใสสะอาดเท่าไข่แดงของไข่ไก่
    ลอยอยู่ที่สะดือหรือฐานที่ 6 เมื่อดวงเห็นจำคิดรู้ดึงดูดหนักยิ่ง
    ขึ้น ก็ลอยขึ้นมาอยู่ฐานที่ 7 เมื่อดึงดูดหนักยิ่งขึ้น ก็เคลื่อน
    ถอยกลับไปอยู่ที่ฐานที่ 6 แล้วกลายกลับเป็นกายทิพย์ เดินย้อน
    ผ่านฐานต่าง ๆ ออกไปทางช่องจมูก หญิงช่องซ้าย ชายช่อง
    ขวา ต่อจากนั้น ก็เที่ยว แสวงหาที่เกิดต่อไป ในนามกาย
    สัมภเวสี วิธีไปเกิด ก็ต้องเข้าสิบเข้าศูนย์ เหมือนวิธีมาเกิด
    เหมือนกัน

    ที่อธิบายมาข้างต้นนี้คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม โอกาส
    นี้จะได้เห็นและทราบว่ามนุษย์เรา เวียนเกิดเวียนตาย เดี๋ยวไป
    เกิดในสวรรค์บ้าง ในนรกบ้าง มีความเป็นอยู่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
    เหมือนคนดำน้ำจากที่นี่ แล้วไปโผล่ที่โน่น เปลี่ยนแปลง
    ไปต่างๆ ไม่มีอะไรคงที่แน่นอน ดุจ ดังความฝัน ต้องละทิ้ง
    สมบัติพัสถานบุตรภรรยา หรือสามีที่รักยิ่งไป อย่างน่าเศร้า
    ด้วยผลของเครื่องล่อเครื่องหลง ชีวิตต้องหมุนเวียนไปตาม
    ผลแห่งกรรม อย่างไม่มีทางที่จะขัดขืน จะได้เห็นได้รู้ด้วยตน
    เองว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ
    ไม่มีทางที่จะเป็นตัวของเราเองได้ และไม่ได้ถูกปล่อยให้อยู่
    ตามลำพัง แม้แต่โอกาสเดียว ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง
    อนัตตา ถ้าสามารถดับตัณหาและอุปาทาน โดยการพิจารณา
    ให้บังเกิดความสังเวช ในการเวียนว่ายตายเกิด อวิชชาและ
    กรรมก็จะดับไป ถ้าเห็นเฉพาะตัวเราเอง ก็เป็นปุพเพนิวาสานุ
    สสติญาณ ถ้าเห็นของผู้อื่นและสัตว์ทั้งหลายด้วย เรียกว่า
    จุตูปปาตญาณ

    ผู้ได้สมาธิอย่างคล่องแคล่ว ตั้งแต่ชั้น จตุตถฌาน เป็น
    ต้นไป จะสามารถถอดกาย หรือ ที่พูดกันติดปากว่า ถอด
    จิตออกไปหาที่อยู่ใหม่ เสียก่อนที่จะตายไปจริงๆได้ การถอด
    จิตนี้ ก็คือ ถอดกายทิพย์ออกไป จากกายเนื้อ กายทิพย์นี้ มี
    ความงดงามและมีรัศมีเรืองรอง กายทิพย์เมื่อออกจากกาย
    เนื้อแล้ว ก็ตรงไปยังวิมานของตน อันเกิดขึ้นสืบแต่บุญบารมี
    ที่ได้สร้างสะสมไว้ นักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่เป็นพระอนาคามี มักไป
    อยู่ชั้นดุสิต ที่วิมานนั้นจะมีบริวารรอท่าอยู่แล้วหน้าสลอน แต่
    บางท่านอาจผิดหวัง เพราะเทวภูมิเฉพาะในชั้นดุสิต ไม่มี
    เทพธิดาเลย มีแต่เทพบุตรเท่านั้น ก่อนจะไปวิมาน ถ้าผู้
    ปฏิบัติหยุดพิจารณากายมนุษย์ของตนเอง จะเห็นว่า ถ้าไป
    เทียบกับความงามของเทพบุตรเทพธิดาแล้ว มนุษย์มีความ
    งามเท่ากับหน้าตาของลิงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีกลิ่นสาบอีก
    ด้วย กลิ่นสาบนี้คล้ายกลิ่นผมเหม็น คล้ายกลิ่นเหงื่อไคลที่
    หมักหมม ซึ่งก็นับได้ว่าใกล้เคียงกัน ส่วนมติของตำราบาง
    ตำราที่ว่ากลิ่นสาบของมนุษย์นั้น คล้ายกลิ่นซากศพหรือสุนัข
    เน่านั้น ไม่ถูกต้อง เพราะกลิ่นเน่ากับกลิ่นสาบไม่เหมือนกัน
    เรื่องความสวยของมนุษย์เมื่อเปรียบกับเทวดา เท่ากับความ
    สวยของลิงนี้ ในพระไตรปิฎกบอกใบ้ไว้แล้ว ในเรื่องของพระ
    นันทะ มนุษย์เราเหม็นสาบนี้เองกระมัง ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่
    เทพธิดาท่านไม่แยแสด้วย ผู้ที่ถอดกายไปเลือกที่อยู่ใหม่นี้
    ต้องหมดเวรกรรมแล้ว จึงจะไปอยู่ที่อยู่ใหม่ได้ตลอดไป ถ้า
    ยังมีเวรอยู่จะต้องกลับมาเมืองมนุษย์อีก จะไปได้แน่ๆก็ตอน
    จวนตาย ซึ่งมักจะรู้ก่อน อย่างน้อย ก็มีเวลาพอที่จะถอด
    จิตออกไปได้ทัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    โลกียจิต


    ในอาณาจักรใจ โอกาสใดที่สามารถทำใจให้เป็นหนึ่ง
    ไม่วอกแวกไปทางไหน เมื่อนั้น พลังทางจิตนี้ เรียกในภาษา
    สมาธิว่า ฌาน แบ่งออกเป็น 8 เป็นรูปฌาน 4 เป็นอรูป
    ฌาน 4

    การจะอธิบายว่าฌานเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อใด นาน
    เท่าใด ท่านว่าเป็นอจินไตย คือ จะอธิบายให้เข้าใจจริงๆ
    หรือ ยอมรับฟังได้โดยยาก จึงจำเป็นต้องกำหนดโดยนิมิต
    นิมิตของรูปฌานเป็นรูปแท่น หรือ แว่นสีขาว มีความละเอียด
    มากกว่ากันตามลำดับ

    นิมิตของ ปัญจมฌาน มีแตกต่างออกไปเป็นสอง
    ประเภท สำหรับผู้ปฏิบัติ ที่กำหนดนิมิตให้อยู่นอกกาย มัก
    ผ่านอารมณ์ของ รูปปัญจมฌาน นิมิตของรูปปัญจฌาน
    เหมือนภาพยนต์จอกว้าง มีแต่ท้องฟ้า ไม่มีสิ่งที่ติดกับแผ่นดิน
    ให้เห็นเลย ความละเอียดชั้นแรกเป็นสีทอง ชั้นที่สองเป็นสี
    ขาว ชั้นที่สามเป็นดวงสีแดงกระจายไป จนแดงเต็มพื้นสีขาว
    ชั้นที่สี่เป็นสีฟ้า พร้อมกับมีปัญญาตามลำดับของอรูปฌาน
    เป็นการเห็น และ รู้อรูปฌาน โปรดดูรายละเอียดในเรื่องนี้
    ในสุภสูตร

    อากาสานัญจายตนะ และ วิญญาณัญจายตนะ ก็รู้ว่า
    อากาศ และ วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้า อากิญจัญญายตนะ
    และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
    ก็รู้ว่าไม่มีอะไรเลยแม้แต่นิดหนึ่ง และจะว่า ไม่มีสัญญา ก็ไม่
    ใช่ มีสัญญา ก็ไม่ใช่

    การเดินฌานขึ้นลงกลับไปกลับมาเรียกว่าสมาบัติ เคยมี
    ผู้กล่าวว่า ถ้าทำสมาบัติได้ 2,000 ครั้ง อภิญญาจะเกิด
    ขึ้น แล้วจะต้องฝึกหัดให้ชำนาญ คือต้องให้มีวสิอีกด้วย ฟัง
    ดูแล้วออกจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยากอยู่สักหน่อย อันที่
    จริงนั้น อภิญญาบางประการเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ปฏิบัติได้ถึงขั้น
    จตุตถฌาน แต่ความแน่นอนมีน้อย ถ้าได้สมาบัติ 8 ความ
    แน่นอนจึงจะเกิดขึ้น การเดินสมาบัตินั้นยากในตอนต้นเท่า
    นั้น ร้อยเที่ยวพันเที่ยว ต่อไปก็เป็นไปตามจังหวะ และแรงดัน
    ทำนองเดียวกับการขี่รถจักรยาน โดยปกติ สมาธินั้นต้องมีการ
    เดินสมาบัติเสมออยู่แล้ว เมื่อเดินบ่อยๆ ก็เข้ามากครั้ง และ
    คล่องขึ้นเอง

    ต่อจากสมาบัติ 8 พระพุทธองค์ได้ค้นพบสมาบัติอีกขั้น
    หนึ่งเรียกย่อๆว่า สมาบัติที่ 9 หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ
    สมาบัติที่ 9 นี้ เป็นการดับวจี กาย และจิต วจีดับมาแต่
    ทุติยฌาน กายดับคือไม่มี ลมหายใจแต่จตุตถฌาน จิตดับ
    เมื่อเข้านิโรธ จะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ ต้องเป็นบุคคลที่มี
    นิพพานเป็นอารมณ์ หรือได้บรรลุมรรคผลแล้ว ซึ่งหมายความ
    ว่า เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่ในวงการพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนา
    อื่น เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธไม่ได้ แม้บางท่านที่อาศัยกำลัง
    สมถะแต่อย่างเดียว ทำตัวแข็งได้วันหนึ่งหรือสามวันก็ไม่ถือ
    ว่าเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์
    ปัญหาต่อไปมีว่า การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นต้องปฏิบัติ
    อย่างไร เมื่อเข้าไปแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ไม่มีผู้ใดเขียน
    ไว้อย่างแจ้ง อย่างมากก็บอกว่า ต้องเข้าเนวสัญญานาสัญญา
    ยตนะสองครั้ง และการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ เป็นการลิ้มรส
    อริยสมบัติเป็นการชั่วคราว ที่พอจะจับเค้าได้บ้างก็ที่กล่าวว่า
    นิโรธสมาบัติวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่เจริญคู่กับสมถะ และมี
    ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคนัทธวิปัสสนา จึงพอสรุปความ
    ได้ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธจะเข้าได้ก็โดยใช้การเจริญสมถะคู่กับ
    วิปัสสนา ตาม ที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามัคค์ หรือ ได้แก่การ
    เดินสมาบัติเข้าไปอยู่ในอายตนนิพพาน หรือเมืองแก้วเป็นการ
    ชั่วคราว ตามวิธีของการเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนาแบบ
    ธรรมกายหรือแบบโบราณนั่นเอง การเข้าไปในเมืองแก้ว จะ
    ต้องใช้สมาธิที่ลึกกว่าสมาบัติ 8 ธรรมดา ประมาณสามเท่า
    โดยวิธีเดินสมาบัติ 8 มีนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างช้าเพียง
    สามรอบครึ่งก็เข้าไปได้แล้ว เมื่อเข้าไปจะรู้และจำได้ แต่เพียง
    เรื่องในอายตนนิพพานเท่านั้น ความเป็นไปของร่างมนุษย์นี้
    เกือบไม่รู้เรื่องเลย จะรู้บ้างก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในกรณีพระ
    สารีบุตรถูกยักษ์ตี การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ จะต้อง
    อธิษฐานจิตขอให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวงก่อน ภัยพิบัติจึงจะ
    ไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่อาจห้าม
    ความตายได้ อย่างการเข้าฌานธรรมดา

    เมื่อพูดถึงวงการปฏิบัติกรรมฐานกันแล้ว ย่อมจะเว้นไม่
    กล่าวถึง สำนักกรรมฐานลพบุรี และสระบุรีเสียไม่ได้ สำนัก
    กรรมฐานทั้งสองแห่งนี้เป็นเครือเดียวกัน วิธีปฏิบัติเบื้องต้นคง
    ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน พอปฏิบัติได้จนสามารถเห็น
    มหาภูตรูป คือ ธาตุทั้งสี่แล้ว ก็อธิษฐานจิตแบ่งอาการ 32
    ของตัวผู้ปฏิบัติออกตามธาตุ เช่น เกศา โลมา ธาตุดิน เป็น
    ต้น ถอยหลังกลับให้เห็นอาการ 32 เหล่านั้นไปกองรวมอยู่
    ในดวงปรมาณูต้นธาตุเดิม เมื่อแยกได้สำเร็จครบถ้วนแล้ว ดวง
    จะหายวับ แล้วปรากฏอดีตภพของผู้ปฏิบัติให้เห็นสองหรือ
    สามชาติ หรือมากกว่านั้น แล้วแต่กำลังกรรมฐานของแต่ละ
    ท่าน นับว่าเป็นกรรมฐานที่แปลกออกไปสำนักหนึ่ง ที่ใช้จตุ
    ธาตุววัฏฐานเป็นบาทให้บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดย
    ใช้อิทธิพลของกสิณเข้าช่วย น่าเสียดายที่ไม่อาจทราบได้ว่า
    สำนักทั้งสองนี้ สามารถจะบรรลุจุตูปปาตญาณได้โดยวิธีใด
    หวังว่าคงจะเปิดเผยในอนาคตไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง

    นอกจากสำนักกรรมฐานสองแห่งที่กล่าวข้างต้น มีสำนัก
    กรรมฐานที่กำลังมีชื่ออีกแห่งหนึ่งคือ สำนักกรรมฐานที่ไชยา
    สังเกตดูจากการบรรยายและเผยแพร่ธรรมของสำนักนี้ แสดง
    ว่าเป็นวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ไม่ได้มุ่งให้บรรลุมรรคผลทาง
    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ

    ในยุคปัจจุบันนี้ นอกจากหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ
    แล้ว มีนักปฏิบัติที่ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งคือ พระอาจารย์มั่น ภูริ
    ทัตตเถระ ท่าน ผู้นี้เกิดที่ บ้านกำบง ตำบล โขงเจียม
    จังหวัด อุบลราชธานี เมื่อ 20 มกราคม 2413 มรณภาพที่
    วัดป่าสุทธาวาส ใกล้จังหวัดสกลนคร แม้ท่านอาจารย์ลีก็
    เป็นศิษย์ของท่านผู้นี้ ในโอกาสปลงศพพระอาจารย์มั่น
    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโทเถระ) ได้เขียน
    คำสดุดีไว้ในลีลาของการสรรเสริญคุณพระอรหันต์ กล่าวกันว่า
    กระดูกของท่านผู้นี้เป็นพระธาตุ แต่เหตุใด จึงเป็นที่รู้จักกัน
    อย่างกว้างขวาง จะว่าเป็นเพราะท่านไม่ใช่พระอรหันต์ชาว
    อินเดียก็ไม่ใช่ เข้าใจว่าคงเป็นเพราะไม่มีทางพิสูจน์นั่นเอง

    การที่จะพิสูจน์ว่ากระดูกนั้นเป็นพระธาตุหรือไม่
    กล่าวกันว่ามีทางพิสูจน์คือ สำรวจดูผู้รักษากระดูกนั้นตามวิธีใน
    วิชชาธรรมกาย ถ้าเป็นพระธาตุ เจ้าของจะปรากฏ ร่างให้
    เห็นเป็นพระภิกษุครองจีวรใสเป็นประกายคล้ายทำด้วยเพชร
    บางกรณีปรากฏกายธรรมของท่านผู้นั้น พระอรหันต์หรือผู้
    สามารถค้นหลักปฏิบัติมาเผยแพร่ให้ประชาชนปฏิบัติ เพื่อ
    บรรลุมรรคผลได้ถูกทางและรวดเร็ว ชื่อว่าเป็น ขุนพลแก้วใน
    กองทัพธรรม ของราชอาณาจักรอันประเสริฐ
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    ขั้นตอนการบรรลุฌาณสมาบัติ(1-8)


    ในอารมณ์แห่งสมถกรรมฐานทั้ง 30 อารมณ์นี้ ก็ยัง
    ให้ผลในการบรรลุฌานสมาบัติแตกต่างกันออกไปอีก ซึ่ง
    สามารถแบ่งออกได้ อีก 4 ประเภทคือ

    ประเภทที่ 1 บรรลุได้ ปฐมฌาน
    อารมณ์ประเภทนี้ได้แก่ อสุภทั้ง 10 อารมณ์ และ อนุสติ 1
    อารมณ์ คือ กายคตาสติ อารมณ์กรรมฐานทั้ง 11 อารมณ์นี้
    สามารถให้ผลสูงสุดแก่ผู้ปฏิบัติเพียงแค่ปฐมฌานเท่านั้น ไม่
    สามารถไปสูงกว่านี้ได้อีก เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่
    น่าเกลียดและหวาดเสียว ทำให้ติดตาติดใจจนลืมได้ยาก เพราะ
    เมื่อฝึกฝนมาจนเกิดความชำนาญดีแล้ว จิตหรือความคิดเกิด
    ความเบื่อหน่าย จึงยากแก่การละออกไปในภายหลัง ซึ่ง
    อารมณ์ปฐมฌานที่ ได้นี้ ก็ได้เพียงอารมณ์วิตก อันเป็น
    อารมณ์เบื้องต้นที่สุดของปฐมฌานเท่านั้นด้วย คือ ไม่
    สามารถยกระดับของจิตให้ขึ้นสู่ อารมณ์วิจาร ได้เลย

    ประเภทที่ 2 บรรลุได้ ตติยฌาน
    อารมณ์สมถกรรมฐานประเภทนี้ มีเพียง 3 อารมณ์ คือ
    เมตตา กรุณา และ มุทิตาอัปปมัญญา ซึ่งให้ผลสูงสุดถึง
    ตติยฌาน คือ ฌานที่ 3 อันประกอบด้วยอารมณ์สุข และ เอก
    คตารมณ์ แต่จะไม่สามารถให้ผล ได้บรรลุ ปฐมฌาน และ
    ทุติยฌาน ซึ่งเป็นอารมณ์ฌานที่ต่ำลงมา ส่วน อุเบกขาอัป
    ปมัญญา นั้น สามารถให้ผลสูงขั้นจตุตถฌาน คือ เอกคตา
    รมณ์เลย โดยฌานที่ต่ำลงมา ไม่สามารถบรรลุผลได้เช่นกัน

    การที่อารมณ์สมถกรรมฐานทั้ง 4 อารมณ์ ดัง
    ที่ได้กล่าวมานี้ ไม่สามารถให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติ ในการบรรลุฌาน
    สมาบัติขั้นต่ำจากที่กำหนดไว้ เนื่องจากเป็นอารมณ์ขั้นสูง
    แต่ไม่ถึงขั้นปรมัตถ์ เพราะการ ที่บุคคลโดยทั่วไป จะมีความ
    เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ได้อย่างสมบูรณ์นั้น จิต
    ของผู้นั้นจะต้องมีความสงบระงับจาก นิวรณธรรมทั้ง 5
    ประการได้แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถยกจิตขึ้นสู่ฌานที่สูงได้
    โดยตรง

    ประเภทที่ 3 บรรลุได้ รูปฌาน
    อารมณ์สมถกรรมฐานประเภทนี้มีทั้งสิ้น 11 อารมณ์ คือ
    กสิณ 10 อารมณ์ และ อานาปานสติอีก 1 อารมณ์ ซึ่ง
    อารมณ์ทั้งหมดในประเภทนี้ สามารถให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติ บรรลุ
    ได้ตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน
    ทั้งนี้เพราะอารมณ์ดังกล่าวนี้ สามารถยกจิตของผู้นั้นให้เข้า
    สู่ อารมณ์องค์ฌานทั้ง 5 ลักษณะ คือ วิตก วิจาร
    ปีติ สุข และเอกคตารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์เต็มระดับ เพราะ
    การใช้กสิณเป็นวิธีการปฏิบัติ ย่อมสามารถประคองจิต ให้เข้าสู่
    อารมณ์ ปฐมฌาน ได้โดยง่าย เพราะ อารมณ์วิตก คือ
    ภาพกสิณที่ติดตาติดใจอยู่นั้น เป็นลักษณะที่เป็นปกติ ไม่ก่อ
    ให้เกิดความหวาดกลัวในภายหลัง ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถละ
    วิตก คือ ความยึดเกาะออกไปได้ จิตก็ถูกยกระดับเข้าสู่
    อารมณ์วิจาร คือ การประคับประคองภาพกสิณนั้นไว้ ซึ่ง
    อารมณ์นี้ก็สามารถละออกได้ โดยปกติเช่นเดียวกัน จากนั้นก็
    เกิด อารมณ์ปีติ ซึ่งจิตจะถูกยกเข้าสู่ ตติยฌาน เป็นขั้นๆต่อ
    ไป ส่วนอารมณ์ของอานาปานสติ เป็นลักษณะลมหายใจ
    เข้าออกของตนเอง ก็ย่อมสามารถละออกได้เช่นเดียวกัน

    ประเภทที่ 4 บรรลุได้ อรูปฌาน
    อารมณ์สมถกรรมฐาน ที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึง
    อรูปฌาน ได้มีทั้งสิ้น 4 อารมณ์ คือ อากาสานัญจายตนะ วิ
    ญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานา
    สัญญายตนะ แต่จะไม่ส่งผลให้บรรลุถึง รูปฌาน เบื้องต้น
    ได้ เช่นเดียวกับ ประเภทที่ 2

    ดังนั้น การจะเลือกใช้ อารมณ์แห่งสมถกรรมฐานทั้ง
    หมด ที่กล่าวมาได้อย่างถูกต้อง และ เหมาะสมต่อตนเองนั้น
    ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางอารมณ์นั้นยากเกินกว่าจะเข้าใจ
    ได้โดยง่าย แต่บางอารมณ์นั้น ก็เหลือวิสัยที่จะปฏิบัติได้
    เช่นการนั่งดูศพ เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาเลือกใช้ว่า อารมณ์ใด
    ที่เหมาะสมแก่ตนเองนั้น ในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับ
    ผู้ที่เริ่มมีความสนใจในเบื้องต้นเป็นอย่างมาก

    แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม
    ต่อตนเองอย่างแท้จริงนั้น มีข้อที่ควรพิจารณาอยู่ 2
    ประการคือ

    1. การปฏิบัติด้วยวิธีการของกสิณ สามารถใช้ได้กับบุคคล
    ทุกจริต และ สามารถให้ผลสูงสุดถึงระดับรูปฌานได้ด้วย

    2. การปฏิบัติด้วยวิธีการของ กสิณ ใช้การเพ่งวัตถุเป็นเครื่อง
    จูงใจ ซึ่งวัตถุนั้นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องการ การ
    ฝึกฝน ในสถานที่และเวลาใดก็ได้ทั้งสิ้น

    หรืออีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า การปฏิบัติด้วยวิธีการ
    ของกสิณ มีความเหมาะสมสำหรับภาวการณ์ในปัจจุบันมากที่
    สุด ในกรณีที่ผู้สนใจในเบื้องต้น ไม่มีความต้องการเลือกใช้
    อารมณ์กรรมฐานอื่นๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    นิมิตที่ใช้บริกรรมภาวนา ถ้าหาดวงแก้วยาก



    หรือ ชอบวัตถุอื่นใดเป็นพิเศษ และไม่เป็นนิมิตที่เป็นโทษ(ทำให้อกุศลจิตกำเริบ)



    ให้ใช้ภาพนิมิตนั้นแทนดวงแก้วได้ครับ







    ขอให้ทำจริง และ สงบได้ เมื่อเพ่งจิต ระลึกถึงสิ่งนั้น ไว้กลางกาย





    ---------------------------------------------------------





    อรูปฌาณในวิถีทางของผู้ปฏิบัติวิชชาธรรมกาย





    1. เมื่อยังไม่ถึงกายธรรม ให้สังเกตุอารมณ์ อันเป็นองค์ฌาณ ด้วยสติสัมปชัญญะสุขุม ละเอียด



    จะประกอบด้วย องค์วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตา ที่เป็นรูปฌาณ ยังต้องอาศัยเพ่งรูปจึงเกิดองค์ฌาณขึ้น



    ถ้าอาศัยกำหนดรู้ สิ่งที่ไม่เป็นรูป แล้วเกิดองค์ฌาณ นั่นคืออรูปฌาณ คือ

    ชองว่าง(อากาศ) ธาตุรู้(วิญญาณ) ความไม่มีอะไรเลย และ ความมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่





    2.เมื่อเข้าถึงกายธรรมและเป็นธรรมกายแล้ว แม้ยังไม่ตัดสังโยชน์



    ธรรมกายเป็นธรรมขันธ์ที่ไม่ใช่รูปและนาม ไม่ใช่กายในภพสาม จึงเห็นได้ในสิ่งที่แม้พรหมก็ไม่สามารถเห็น

    เช่น กายอรูปพรหม อรูปพรหมนั้น แม้จะเพ่งเอาแต่ตัวรู้ ไม่เอารูปกายแห่งมนุษย์ ทิพย์ พรหม ก็จริง แต่ไม่สามารถดับเหตุในเหตุของการเกิดรูปได้

    เมื่อไปกำเนิดในภพอรูปพรหม คนทั่วไปมักเห็นเพียงดวงจิตท่ามกลางความว่าง



    แต่เมื่ออาศัยตาหรือญาณพระธรรมกายมองดู จะเห็นกายอรูปพรหม เพราะ เค้ายังไม่ขาด

    จากความเป็นรูปและนามแห่งขันธ์ห้า แม้เพ่งด้วยอำนาจจิตดับรูปหยาบได้ แต่รปละเอียด

    อันเกิดจากขันธ์ห้า ที่ยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทานอยู่ ยังคงปรากฏให้เห็น เมื่ออาศัยมองดวยญาณพระธรรมกาย



    -------------------------------------------------------------------------------------------------------







    อาศัยพระธรรมกาย เจริญอรูปฌาณ





    1. เข้าถึงพระธรรมกาย ที่ละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ สามารถเพ่งองค์ฌาณตั้งแต่1-8 ให้เกิดเอง กลับไปกลับมาได้ โดยเพ่งที่

    ศูนย์กลางกายของกายธรรมที่สุดละเอียดนั้น



    2.เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว อาศัยญาณพระธรรมกายเพ่งกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของกายโลกียยะแต่ละกาย

    จนเกิดฌาณ1-4 แล้วกลางของเหตุฌาณ1-4 ก็เพ่งอารมณ์อรูปฌาณอีกที

    --------------------------------------------------------------------------------------------------



    หมายเหตุ การแปลภาษาสมมุติ ที่ใช้คำว่าอรูปพรหม ทำไมแปลกันว่า พรหมไม่มีรูป ลืมความหมายที่แท้จริงไป

    ว่า หมายถึง "พรหม ที่กำเนิดจาก การเพ่งกำหนดความไม่มีรูป "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2022
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    เนื้อหาที่ค้นพบ มีมากมาย
    ตราบที่เข้ากลางไปค้น
    ในต้น ๆๆๆๆๆๆๆๆ สุดละเอียดไปเรื่อยๆ





    ...แต่ สิ่งที่ทำ แค่ "หยุด"





    [​IMG]



    ห่ยุด ใน หยุด

    กลาง ของ กลาง


    หยุด ใน กลาง ของกลาง


    หยุด ใน หยุด กลางของหยุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    เดินวิชชาจนใส ปราศจากนิวรณ์แล้วให้พิจารณาอริยสัจจ์4 และวิปัสสนา

    a.gif


    จากภาพ ดวงที่1เป็นดวงธรรมแรกๆประจำกายนั้นๆ เป็นดวงที่ทำให้เป็นกาย
    ดวงที่ 2 คือดวงศีล
    ดวงที่ 3 ดวงสมาธิ
    ดวงที่4 ดวงปัญญา
    ดวงที่5 ดวงวิมุตติ
    ดวงที่6 คือดวงวิมุตติญาณทัศนะ



    __________________________________________________

    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่


    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที


    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด


    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา


    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น


    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก


    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ


    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ


    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      3,245
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์4 เข้ามรรค ผล นิพพาน

    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผล นิพพาน


    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป





    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน

    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน) ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียด

    ปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น

    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สัญโญชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก


    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสัญโญชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสัญโญชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป

    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสัญโญชน์พินาศไปในพริบตา

    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ 4 นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยว่าอริยสัจ 4 ก็มีอริยมรรคมีองค์ 8 และอริยมรรคมีองค์ 8 เล่า ก็มีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน

    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ 5 (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8 และทั้งสติปัฏฐาน 4 อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่

    1.จรณะ 15 ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน 4


    2.โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า

    "จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ..." (สํ.มหา.19/1666-1669/529-530)
    "จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ..."








    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2588 ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.2543) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ 12 และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง




    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3 (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้




    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน

    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ 4 ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า

    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ

    1. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)

    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ

    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้

    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป

    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที

    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง

    ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ 4, ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)

    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์

    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3

    2. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ

    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ

    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ 5 ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง

    โดยเหตุนี้ กายทั้ง 8 คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง

    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น

    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสังโยชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง






    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    ทำไมพระธรรมกายต้องอยู่ในอิริยาบถนั่ง ?

    
    เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายแล้ว ทำไมพระ ธรรมกายต้องอยู่ในอิริยาบถนั่ง จะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน บ้างไม่ได้หรือ ?

    -------------------------------------------------------------
    ตอบ:


    พระธรรมกายที่เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงนั้น เป็นธาตุเป็น ธรรมเป็น คือเป็นวิสุทธิสัตว์ที่มีชีวิต จะปาฏิหาริย์ในอิริยาบถใดก็ได้ แต่ธรรมชาติของธรรมกายนั้น ปกติอยู่ในอิริยาบถประทับนั่ง ปรากฏอยู่ในนิพพานสูตรที่ 3 ว่า “อายตนะ (นิพพาน) นั้น ไม่มีการไป การมา” (ซึ่งหมายความรวมทั้งไม่มีการเดินยืนหรือนอน) จึงเป็นธรรมชาติที่ประทับนั่งอยู่ในอายตนะนิพพาน ซึ่งมีศูนย์กลางตรงกันกับศูนย์กลางกายของผู้เข้าถึงธรรมกายนั้น

    ส่วนที่ช่างปั้นพระปฏิมา ได้ปั้นพระพุทธรูปในอิริยาบถเดิน ยืน นอน หรืออริยาบถอื่นๆ นั้น เข้าใจว่าจะอาศัยจินตนาการพระอิริยาบถต่างๆ และพระลีลาที่งดงามด้วยพระศีลาจารวัตรของพระพุทธเจ้ากายเนื้อ จากพระพุทธประวัติ มาเป็นรูปแบบเพื่อสร้างศรัทธาปสาทะ เช่น ประทับยืน ประทับเดิน ประทับไสยาสน์ ปางห้ามสมุทร ปางลีลา ปางเปิดโลก ปางอุ้มบาตร ฯลฯ เพิ่มเติม เข้ามาจากที่ประทับนั่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    การกลั่นเครื่องไทยทาน ถวายพระพุทธเจ้าบนนิพพาน ได้บุญจริงหรือ ?


    [​IMG]



    การไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง เขาจะกลั่นเครื่องไทยทาน ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร หวานคาว ของสาธุชนทุกท่านขึ้นไปถวายพระพุทธเจ้าบนนิพพาน แล้วสาธุชนก็จะได้บุญใหญ่มหาศาล กล่าวคือ เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้นเลย จริงหรือไม่ครับ ? และวัดปากน้ำกับวัดสระเกศเคยทำไหมครับ ? กรุณาชี้แจงให้สว่างด้วยครับ ?

    -------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องนี้อาตมาขอแยกตอบเป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้คือ

    1.ประเด็นที่ว่า กลั่นเครื่องไทยทานแล้ว นำไปถวายพระพุทธเจ้าในนิพพานนั้น จะถึงหรือไม่ ?
    2.แล้วสาธุชนผู้มาร่วมในการถวายเครื่องไทยทานนั้น จะได้บุญมหาศาล กล่าวคือ แม้จะเคยได้ทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่มีเว้นเลยสักวันเดียว ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้น จริงหรือไม่ ?
    3.ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ และที่วัดสระเกศ เคยทำอย่างนี้บ้างหรือไม่ ?
    อาตมาขอเจริญพรว่า เครื่องไทยทานนั้นไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริงแต่ประการใด แม้จะมีผู้ติดตามดูและเห็นตามได้ก็ตาม ทั้งนี้เพราะ

    ธรรมชาติทุกอย่างในอายตนะนิพพานนั้น เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วน ซึ่งไม่ประกอบด้วยปัจจัย (เช่น ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม) ปรุงแต่ง ที่พระท่านเรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม หรือเรียกว่า “สังขาร” ในภพ 3 นี้แต่ประการใดเลย เพราะฉะนั้น ธรรมชาติใดๆ ที่ เป็นสังขารกล่าวคือที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานอย่างแน่นอน

    ธรรมชาติในอายตนะนิพพานที่ว่าเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม อันไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แม้ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่มีในอายตนะนิพพานนั้น มีหลักฐานในพระไตรปิฎก ในนิพพานสูตรที่ 3 ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้น มีอยู่, ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีแล, อากาสานัญจายตนะก็ไม่ใช่ วิญญานัญจายตนะก็ไม่ใช่ อากิญจัญญายตนะก็ไม่ใช่ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ไม่ใช่ ...” และ “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่..”

    แต่เครื่องไทยทาน (อันได้แก่ดอกไม้ ธูป เทียน อาหารหวานคาว) ซึ่งถ้าผู้ทรงวิชชานั้น ยังเป็นแค่โคตรภูบุคคล มิใช่พระอริยบุคคลวิชชานั้น ก็เป็นแต่เพียงโลกิยวิชชา แม้จะกลั่น (เครื่องไทยทานนั้น) ให้เห็นใสละเอียดยิ่งกว่าของหยาบที่มีผู้นำมาถวายก็เป็นได้เพียงแค่ของทิพย์ ซึ่งยังจัดเป็น “สังขาร” อันเป็นส่วนประกอบของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่

    เพราะฉะนั้นเครื่องไทยทานนั้น แม้จะกลั่นให้ดูเป็นของทิพย์ ดูเห็นใสละเอียด ก็ตาม ย่อมจะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้เลย

    แม้กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมของผู้กลั่น และผู้นำเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้านั้น ก็ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงไม่ได้ เพราะยังเป็นสังขารที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอยู่อีกเช่นกัน

    แต่มูลเหตุที่ทั้งผู้ทำวิชชาเช่นนั้น และผู้ติดตามดู สามารถเห็นสมจริงได้ว่า เห็นท่านผู้นั้นๆ นำเครื่องไทยทานที่กลั่นใสละเอียดแล้วไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้ ก็เพราะเหตุผล 2 ประการคือ

    1.จิตของผู้ทรงโลกิยวิชชา “ปรุงแต่ง” ขึ้น เป็นมโนมยิทธิ คือ อิทธิฤทธิ์ทางใจ ที่นึกจะ “ให้เห็น” อะไร หรือ “ให้มี” อะไร ที่ไหน ก็จะ “เห็น” หรือ “มี” สิ่งนั้น ด้วยใจที่กำลังทรงโลกิยวิชชานั้นอยู่ได้
    ท่านที่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ลองคิดให้เห็น “ด้วยใจ” เป็นอะไร ณ ที่ใด ก็จะสามารถเห็นได้ นี้เป็นข้อพิสูจน์เบื้องต้น โลกิยวิชชานี้แหละที่ยังจัดเป็น “อภิสังขารมาร” กล่าวคือเป็นคุณธรรมที่ให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นในหมู่ชาวโลกด้วยกัน แต่ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอยู่ มีคุณค่าเหมือนโลกิยทรัพย์ที่มีคุณอนันต์หากรู้จักธรรมชาติของมันและรู้จักใช้ให้เกิดแต่ประโยชน์อันปราศจากโทษ แต่มีโทษมหันต์ถ้าไปหลงติดด้วยตัณหาและทิฏฐิคือความหลงผิดเข้า
    โดยเหตุนี้ ผู้มีปัญญาเขาจึงอาศัยอภิสังขารมารนั้นแหละเป็นฐานของการบำเพ็ญบารมีเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัยไปให้ใสละเอียดเป็นประจำ เพื่อแยกพระแยกมาร กล่าวคือ ใช้ประโยชน์ของโลกิยวิชชานี้แหละเป็นพื้นฐานในการทำวิชชาไปสู่โลกุตตรวิชชาเพื่อความเข้าถึงและเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุด
    หลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร ท่านจึงได้กล่าวกับศิษยานุศิษย์ของท่านเสมอๆ ว่า “เพียงแต่ปฏิบัติได้ธรรมกายในระดับโคตรภูบุคคลนั้น ยังไม่อาจวางใจได้ว่าจะเอาตัวรอดได้”

    2.อายตนะภายใน (กล่าวคือเครื่องรู้เห็นและสัมผัส) ของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบของกายมนุษย์ ไปจนสุดละเอียดของกายธรรม ของท่านผู้กลั่นเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้าและของผู้ติดตามดูนั้น มีศูนย์กลางตรงกันหมดทุกกาย แม้กายในกาย ณ ภายในในระดับโลกิยะ (กายมนุษย์ มนุษย์ ละเอียด, ทิพย์ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหม รูปพรหม ละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด) จะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้ แต่ก็อาศัยที่ว่าอายตนะภายในของกายเหล่านี้ไปตรงกับของ “ธรรมกาย” ที่สุดละเอียด ซึ่งสามารถเข้าไปถึงอายตนะนิพพาน และไปรู้เห็นและสัมผัสอายตนะนิพพานได้ โดยการให้ใจของธรรมกายเจริญภาวนาดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียดเสมอกับอายตนะนิพพาน และอวิชชาทำอะไรไม่ได้ชั่วคราว เรียกว่า “ตทังคนิโรธ” หรือ “วิกขัมภนนิโรธ” กล่าวคือ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส (ชั่วคราว) ภาพที่เห็นด้วยอายตนะภายในของธรรมกายที่สุดละเอียด ซึ่งเข้าถึงและเห็นความเป็นไปในอายตนะนิพพานนั้น จึงเป็นภาพเชิงซ้อนกับเครื่องไทยทานและอาหารที่นำไปถวายที่เป็นทิพย์ จึงให้เห็นสมจริงว่า กลั่นเครื่องไทยทานนำไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้
    อาตมายืนยันโดยหลักฐานในทางปริยัติและหลักปฏิบัติว่า สิ่งที่เป็นสังขารไม่อาจจะเข้าถึงหรือไปสัมผัสถึงอายตนะนิพพานซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดนั้นได้เลย เพียงแต่ว่าความรู้เห็นและสัมผัสของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้น มีศูนย์กลางตรงกันกับของกายในภพ 3 อันให้สามารถเชื่อมต่อหรือสื่อถึงกันได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน จึงต้องพึงสังวรระวังไว้ให้เข้าใจทั้งหลักปริยัติและหลักปฏิบัติให้ถ่องแท้แน่นอน มิฉะนั้นจะถูกอภิสังขารมารหลอกเอาให้เข้าใจไขว้เขวผิดไปได้ จงระลึกไว้เสมอว่าวิชชาในระดับโลกิยะของผู้ที่ไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังจัดเป็นอภิสังขารมาร ซึ่งเป็นความปรุงแต่งให้มีดีเหนือผู้อื่นในระดับโลก แต่ยังมีสภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผู้ใดหลงยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิแล้วเป็นทุกข์
    อานิสงส์ของผู้ไปร่วมถวายเครื่องไทยทานแด่พระพุทธเจ้าเช่นนั้น มีคล้ายๆ กับการถวายข้าวพระพุทธหรือบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ธูปเทียนธรรมดา ในฐานะของผู้ที่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไป แต่มิใช่ว่าจะได้บุญใหญ่มหาศาลยิ่งกว่าการที่เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียวแต่ประการใด เพราะ

    1.จากประเด็นแรก เครื่องไทยทานที่กลั่นเป็นของทิพย์ (โดยผู้ทรงโลกิยวิชชา) ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรมนั้น ไม่ถึงพระนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพ ซึ่งเข้าอนุปาทิเสสนิพพานและไปปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพานแล้วนั้น อย่างแน่นอน
    2.การทำบุญ (ทานกุศล) กับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ กายเนื้อ เป็นมหากุศลหรือบุญกุศลตามส่วน ก็เพราะท่านได้บริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์จากเครื่องไทยทานนั้นเพื่อยังชีวิต (กายเนื้อ) ของท่านให้เป็นไป หรือดำเนินไปได้
    ส่วนพระนิพพานนั้นมิได้ปรารถนาที่จะบริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์ จากเครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้น เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของพระองค์ท่านแต่ประการใดเลย เครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้นจึงมีค่าไม่แตกต่างอะไรจากเครื่องไทยทานธรรมดา ซึ่งมีผู้นำไปบูชาพระพุทธรูปโดยทั่วไป แล้วจะไปเอาหรือได้บุญมหาศาลจากไหน ? และหากหลงผิดคิดว่า ได้บุญมหาศาลเช่นนั้น ก็ยังกลับจะได้ “โมหะ” บาปอกุศลติดตนเป็นของแถมเสียอีก
    จึงขอเจริญพรเพื่อทราบว่า สิ่งที่หล่อเลี้ยงธรรมกายจากสุดหยาบไปจนถึงพระนิพพานที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานถอดกายและอายตนะนิพพานเป็นนั้น มิใช่เครื่องไทยทานอันเป็นอามิสทานของหยาบ ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรม (สังขตธาตุ สังขตธรรม) แต่ประการใด หากแต่เป็น “บุญ” ซึ่งได้กลั่นตัวจนแก่กล้าแล้ว เป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ (ในการปกครองธาตุธรรม) สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ ซึ่งเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม คือธาตุล้วนธรรมล้วนไปจนถึงธาตุธรรมที่สุดละเอียดของอายตนะนิพพานเป็น นั้นแล
    ผู้ทำนิโรธดับสมุทัยและเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่เสมอ เขาทราบเรื่องนี้ดีว่า การทำนิโรธให้แจ้ง และการทำมรรคให้เจริญเท่านั้นจึงเป็นธรรมปฏิบัติที่จะสามารถกำจัดอวิชชา อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-ตัณหา-อุปทาน-และภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ ให้ถึงพระนิพพาน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม) ที่แท้จริงได้
    3.มีปรากฏหลักฐานเอกสารในที่มากแห่งในพระไตรปิฎกว่า บุคคลผู้ทำบุญด้วยใจศรัทธากับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพผู้มีอาสวะกิเลสสิ้นแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ นั้น ได้รับผลบุญในปัจจุบันทันตาเห็นมากมาย... นี่ว่าแต่เฉพาะที่ทำบุญกับพระพุทธเจ้าองค์เดียว กับพระอรหันต์จำนวนหนึ่งเท่านั้น... แล้วถ้าทำบุญกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งประทับเข้านิโรธสมาบัติมาโดยตลอดเช่นนั้นได้ถึงจริงละก็ ป่านนี้ผู้ที่ไปร่วมพิธีถวายเครื่องไทยทานทั้งหลายจะมิได้รับผลบุญในปัจจุบัน และกลายเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีทันตาเห็นกันไปหมดหรือแทบจะหมดทุกคน ยิ่งกว่าตัวอย่างของบุคคลผู้ทำบุญ (ทานมัย) กับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าในสมัยพุทธกาล ละหรือ ?
    ท่านลองถามตัวเองดูซิว่า ตั้งแต่มีการทำบุญเช่นนั้นเป็นต้นมา มีใครร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีขึ้นมาทันตาเห็นบ้าง ? (แม้ผู้ทำบุญไม่ปรารถนาผลบุญเช่นนั้นตอบแทน บุญก็ทำหน้าที่ของเขา เป็นทั้งโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติเองอยู่ดีแหละ)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ต้นธาตุต้นธรรมของวิชชาธรรมกาย เขาจึงไม่ได้ทำเช่นนั้น ที่วัดสระเกศ ซึ่งผู้ให้การอบรมพระกัมมัฏฐานผู้เป็นศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายมา ก็มิได้ทำเช่นนั้น เพราะพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งเป็นต้นวิชชาธรรมกายก็มิได้เคยสั่งสอน หรือแนะนำให้ศิษยานุศิษย์คนใดให้ทำเช่นนั้น และท่านก็ไม่เคยรับรองหรืออนุมัติวิชชาถวายเครื่องไทยทาน โดยการถือว่ากลั่นเป็นของทิพย์นำขึ้นถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน แล้วมีผลเป็นกุศล มหาศาลยิ่งใหญ่กว่าการทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว แต่ประการใดเลย

    แต่ถ้าใครอยากทำ ก็ไม่มีใครเขาห้าม และก็เป็นความดีส่วนหนึ่ง เพียงแต่ความจริงมีอยู่ว่า

    1.ไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริง
    2.ไม่ใช่จะได้บุญใหญ่มหาศาลเช่นนั้น และ
    3.ถ้าทำไปเพราะหลงเข้าใจผิดจะได้ “โมหะ” เป็นบาปอกุศลแถมติดตัวติดใจไปด้วยตามส่วน
    4.ใจ “หยุด” ใจ “นิ่ง” ที่ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกาย ทุกกาย สุดหยาบสุดละเอียด ซึ่งตรงกับศูนย์กลางของพระนิพพาน และอายตนะนิพพานนั้นแหละที่ เป็น บุญใหญ่ กุศลใหญ่ จริงๆ
    5.การทำมรรคให้เจริญ และทำนิโรธให้แจ้งอยู่เสมอ (เท่าที่จะทำได้) นั้นแหละ ที่ดับ “สมุทัย” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชา ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน-ภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ได้จริง และจะสามารถเข้าถึงธาตุล้วน ธรรมล้วน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม) ของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุดได้ และ ให้สามารถรู้ว่าอะไรคือของปลอม ของจริง ตามที่เป็นจริงได้แล



    (ผู้ถาม: สมาชิกชมรมผู้ปฏิบัติธรรม "ลานโพธิ์" วัดบึงบวรสถิตย์ ชลบุรี ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ รุ่นที่ 10 พฤษภาคม 2529 ณ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย(วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1DD8F~1.JPG
      _1DD8F~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.9 KB
      เปิดดู:
      1,055
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2014
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,059
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +70,585
    ....วันๆหนึ่ง สำหรับผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกาย
    ที่สามารถพิศดารกาย สับกาย ซ้อนกาย เดินสมาบัติ เป็นอนุโลม-ปฏิโลม แล้วปล่อยความยินดีในฌาณสมาบัติ จนเข้าถึงอายตนะพระนิพพานได้แล้ว


    ......ใน่ชีวิตประจำวันที่ต้องพบปะ ทำหน้าที่ในสังคม
    ควรแบ่งใจไว้ครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย ไว้ที่กลางของกลาง

    ทันที ที่ดวงธรรมหรือกาย หรือสภาวะธรรมใดๆ ที่ปรากฏ ไม่มีความผ่องใส ขาว ใส
    แต่มีความขุ่นมัว หมอง หรือ เป็นสีต่างๆที่ไม่ใส

    ......ให้ เจริญวิชชาให้ขาว ให้ใส โดยทันที

    เพื่อละ เพื่อดับ กิเลส นิวรณ์ ฯลฯ ที่เข้ามา

    ที่ฟูขึ้น ให้หมดกำลังลง (แม้ชั่วคราว)

    การรู้ การเห็น สภาวะธรรมจะไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อยลง

    ...การศึกษาธรรมที่ละเอียดขึ้นไป ก็จะทำได้ดียิ่งขึ้น


    ........ทำไปเรื่อยๆ จนกว่ามรรคจิต มรรคปัญญา
    จะเจริญจนเข้าเขตอริยมรรค อริยผล หรือ ตามที่
    อธิษฐานจิตเอาไว้


     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...