ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ตอบ 2 คนพร้อมกัน นะครับ

    ของคุณ jadeprawit

    การให้ฝึก "เปิดเปลือกตา และ ปิดเปลือกตาลง" ลงนั้น เพื่อฝึกให้เกิดความคุ้นเคยกับสภาวะที่เรียกว่า "หลับ กับ ตื่น" ว่าต่างกันอย่างไร เพียงแค่ "ปิด-เปิด" เปลือกตานั้น "เป็นของง่าย" ไม่ว่าใครก็ทำได้ เพียงแต่ "จะทำหรือไม่" เท่านั้นเอง

    ผู้ที่ "ทำ" ก็จะรู้ได้ว่า "หลับตา แต่ ตื่นอยู่" มีสภาวะอย่างไรที่สำคัญที่สุดคือ ตรงนี้เป็น "ธรรมานุปัสสนา มหาสติปัฏฐาน" เบื้องต้น

    "การหลับตา" แล้วทำความรู้สึก "หลับ แต่ รู้อยู่" ถือเป็นการพักผ่อน แล้วฝึก "ขยายสภาวะหลับ ให้ท้่วทั้งตัว" ก็เป็น "ความรู้สึกทั้งตัว" ชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ
    "การปิดเปลือกตาลง" ก็จะรู้ได้ว่า "สภาวะตื่นในขณะที่ไม่ต้องมองอะไร" เป็นอย่างไร เช่นเดียวกัน "ขยายสภาวะตื่นให้เป็น ความรู้สึกทั้งตัว" ก็จะเป็น "ธรรมารมณ์" อีกชนิดหนึ่ง เช่นกัน

    เมื่อทำได้ แล้วอยู่ในสภาวะของ "ธรรมารมณ์ชนิดเดียว อย่างต่อเนื่อง" ก็จะทำให้ "มหาสติ ทรงตัวอยู่ภายใน อรูปฌาน" ได้เลย (รับประกันได้ว่า การฝึกแบบนี้ ยังไม่มีในตำราอื่นในขณะนี้ แต่ต่อไป อาจจะมี เพราะได้แนวทางมาจากโพสท์นี้) (ตรงนี้เป็นการฝึก "มหาสติครองอรูปฌาน" เบื้องต้น)

    เมื่อคุ้นเคยกับสภาวะของ "ธรรมารมณ์" แล้ว หากมีโอกาสฝึกต่อหน้า ก็จะได้ให้ฝึก "เดินจิตแบบ เอกัคตา สู่ เอกัคตา" (ในชั้น อรูปฌาน สู่ อรูปฌาน) จนถึงชั้น "จิตเปล่งรังสี" อันเป็นสภาวะของ "อาภัสสระพรหม" ที่เป็น "จิตเก่าแก่ เดิมแท้" ที่เป็นเบื้องต้น แรกเริ่มในการเข้าสู่ "วัฏฏะสงสาร" นี้ และถือว่าเป็นการ "เติมน้ำมันให้เต็มถัง" ก่อนที่จะตลุยเข้าสู่ขั้นตอนของ "วิปัสสนา กรรม-ฐาน" ต่อไป

    ของคุณ jadeprawit ให้ใช้แนวทาง "หลับแต่รู้ทั้งตัว" กับ "ตื่นและรู้ทั้งตัว" เป็นแนวทางในการฝึก "สร้างความรู้สึกให้ได้ทั้งตัว" ไปเลย นะครับ

    =======================================================================

    ของคุณ เมิล

    ช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเป็น "ปัฏฐาน นอกตัวดู" (อยู่กับรู้ และ ตัวดูถูกรู้) ภพภูมิย่อมครอบงำตัวดู แต่มาไม่ถึงสภาวะรู้"

    ตัวที่รู้อยู่เป็นคนละส่วนกับตัวที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นการกระทำก็เหมือนเดิมเป็นปกติ แต่ข้างในส่วนที่รู้อยู่ ก็รู้อยู่อย่างเดิมนะคะ

    +++ คำว่า "ตัวที่รู้อยู่" นี้ "ต้องใช้ภาษาให้ตรงกับ สภาวะ ที่แท้จริงของมัน"

    +++ ดังนั้น "ตัวที่รู้อยู่" นี้ "ยังมีสภาพเป็นตัว อยู่หรือไม่" หาก "ไม่มีสภาพเป็นตัว" ก็อย่านำคำว่า "ตัว" เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ "ผู้ที่เดินตามมาภายหลัง จะเดินตามไม่ได้"

    +++ "ตัวที่รู้อยู่เป็นคนละส่วนกับตัวที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ" ภาษาตรงนี้ ยังเป็น "ตัวสองตัว" อยู่ หากมีผู้ฝึกใหม่ มาอ่านตรงนี้เข้า "อะไรจะเกิดขึ้น" การใช้ภาษาที่ไม่ตรงตามอาการที่แท้จริงนี้ "ถือว่าเป็นการ ปิดกั้้นทางเดิน ของผู้อื่นหรือไม่" ให้พิจารณาให้รอบคอบด้วย

    *** จะเปลี่ยนภาษาให้ "ตรงกับอาการ" เสียใหม่ดังนี้

    *** สภาวะรู้อยู่เป็นคนละส่วนกับ ตัวที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ (ผู้รู้ ที่เป็นจุดหย่อม ที่หลวงตามหาบัวกล่าวไว้) ดังนั้นการกระทำก็เหมือนเดิมเป็นปกติ แต่ข้างในส่วนที่รู้อยู่ ก็รู้อยู่อย่างเดิมนะคะ ***

    +++ คำตอบคือ "ถูกต้อง" ในขณะนั้นเป็น "วิมุติญาณทัศนะ" (เห็นการ หลุดออก พ้นออก) มาจากตัวดู แต่ปล่อยให้ ตัวดู มันทำงานของมันไปตามเรื่อง และ "รู้" ความเป็นไปของมัน

    พอเราอยู่-ย้าย ให้บ่อยขึ้น ก็จะเป็น "ปัฏฐาน อยู่กับรู้" เองใช่ไหมคะพี่

    +++ ใช่ และควรฝึกปัฏฐาน "อยู่-ย้าย" กับสภาวะธรรมอื่น ๆ ประกอบกันไปด้วย สิ่งที่จะได้จากตรงนี้คือ "ไม่มีความ หลง ในทุกสถานการณ์" นั่นเอง

    เมื่อคืนก็ฝึกย้ายมาอยู่กับรู้ในฝันอีกแล้วคะ

    +++ ดีแล้วครับ ฝึกให้ "รู้แจ้ง" ในหลาย ๆ สภาวะก็จะทำให้ รู้กว้างมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
     
  2. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    กราบสวัสดีค่ะอาจาร์ย

    ฝึกปัฏฐาน "อยู่-ย้าย" กับสภาวะธรรมอื่น ๆ .......จะถามอย่างไรดี ถ้าเราอยู่-ย้าย จนเป็นวสี

    การฝึกแบบนี้จะทำให้เรา.........และต่อยอดไปทำ.......อานิสงค์คือ......

    ถามไม่ถูกค่ะ อาจาร์ย ประมาณนี้ค่ะ

    ที่ผ่านมานันฝึกหายใจทางตา หู จมูก ปาก (อ่านมาจากหนังสือหลวงพ่อเฟื่อง)การกำหนด
    ความรู้สึกทางอายตนะแบบนี้ ถือว่าเป็นการอยู่ -ย้าย(ไปตามอายตนะ)หรือ แช่ มั้ยคะ
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ฝึกปัฏฐาน "อยู่-ย้าย" กับสภาวะธรรมอื่น ๆ .......จะถามอย่างไรดี ถ้าเราอยู่-ย้าย จนเป็นวสี

    +++ การ "อยู่-ย้าย" เป็น วสี อยู่แล้ว คือ "ย้ายเข้า - ย้ายออก - เพิ่มปรับสภาวะ - ลดปรับสภาาวะ - แช่อยู่กับสภาวะ" แต่เป็นวสีที่นำมาใช้งานทางด้าน "ธรรมะวิจัยยะ" หากเป็นภาษาในหมวด อิทธิบาท 4 ตรงนี้ จะเป็นการทำงานในขั้นตอนของ "จิตตะ" (โอปนยิโก คือ น้อมตนเข้าไป หรือ อยู่-ย้าย "ตน" กับสภาวะธรรมนั้น ๆ นั่นเอง) และเมื่อเข้าใจแล้ว จึงจะได้ "วิมังสา" นั่นแหละ

    การฝึกแบบนี้จะทำให้เรา.........และต่อยอดไปทำ.......อานิสงค์คือ......

    ถามไม่ถูกค่ะ อาจาร์ย ประมาณนี้ค่ะ

    +++ ถามไม่ถูกก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญคือ "ทำให้ถูก" ก็แล้วกัน ลองไปอ่านทวนตั้งแต่แรกมาใหม่ ก็จะเข้าใจเพิ่มมากขึ้นมาเองแหละ

    ที่ผ่านมานันฝึกหายใจทางตา หู จมูก ปาก (อ่านมาจากหนังสือหลวงพ่อเฟื่อง)

    +++ ก็ต้องอ่านและเข้าใจให้ถี่ถ้วนเสียก่อนว่า "วัตถุประสงค์ในการฝึกแบบ หลวงพ่อเฟื่อง" นั้น "อยู่ตรงไหน" เมื่อหาเจอแล้ว ก็ต้องพิจารณาเอาว่า "ถูกจริตกับเรา" หรือเปล่า ลองหาดูนะ

    การกำหนดความรู้สึกทางอายตนะแบบนี้ ถือว่าเป็นการอยู่ -ย้าย(ไปตามอายตนะ)หรือ แช่ มั้ยคะ

    +++ ผมลอง หายใจทาง "ตา หู จมูก ปาก" ดูแล้ว ทั้งแบบ "หายใจพร้อม ๆ กัน ในทุกอายตนะ" และแบบ "หายใจ ทีละอายตนะ" สรุปออกมาได้ว่า "ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ วสี" แม้แต่น้อย

    +++ แต่สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงคือ ในขณะที่ "หายใจพร้อม ๆ กัน ในทุกอายตนะ" จะทำให้ "สามารถ เจอตัวดูหรืออัตตาจิต ได้"

    +++ ลองอ่านค้นดูนะว่า หลวงพ่อเฟื่อง ท่านกล่าวไว้อย่างไรในเรื่องของ "ผู้กำหนด ผู้หายใจ ผู้ดู ผู้รู้ ตัวเรา หรือคำว่า ตน" รวมทั้งวิธีค้นหาของท่านด้วย

    +++ สรุปเบื้องต้นในขณะนี้คือ ในขณะที่ "หายใจพร้อม ๆ กัน ในทุกอายตนะ" จะทำให้ "สามารถ เจอตัวดูหรืออัตตาจิต ได้" ในขณะนี้ สรุปแค่นี้ก่อนนะ
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    จากที่แอบๆ ดูนักเรียนคนอื่นเขาเรียนกัน และฝึกตามบ้าง ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง อานิสงส์ เท่าที่เจอด้วยตนเอง ก็คือ สามารถทำให้ทุกข์ทุกรูปแบบ ทั้งจากกาย และ จากจิต จากการที่มีกรรมต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ นั้นบรรเทา ทุเลาลงไปได้ทั้งหมด หรือ อาจจะหายไปจากจิตเลย ก็เป็นได้ครับ

    สำหรับผู้ที่ฝึกได้แล้ว จะได้อานิสงส์ เยอะกว่าพวกครูพักลักจำแบบผมนะครับ
     
  5. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    แก้้ไขภาษาในโพสต์ #243

    เมิลขอแก้ไขภาษาจากด้านบนที่ถูกต้องตรงตามอาการนะคะ
    "สภาวะรู้" เป็นคนละส่วนกับตัวที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ (ตัวดู)
     
  6. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    วันนี้ฝึกอยู่-ย้าย โดยการดูหนัง Captain American ตอนที่อยู่กับตน การมองเห็นจะfocusไปที่จุด ๆ เดียวที่หน้าจอ ตัวเกร็ง แต่พอย้ายมาอยู่กับรู้ การมองเห็นจะมองเห็นจะกว้างขึ้น เห็นโรงหนังทั้งหมด ตัวไม่เกร็ง (จริง ๆ หายเกร็งตั้งแต่รู้สึกตัวแล้ว) แล้วเมิลก็เริ่มปวดหัวตำแหน่งด้านหลังช่วงกลาง ๆ ไม่ได้เป็นทั้งหัวคะ แค่ช่วงกลม ๆ ตรงหลังหัว รู้สึกว่ามีความร้อนอยู่บริเวณนั้นคะ

    เวลาฝึกย้าย-อยู่ นี้จะรู้สึกเหนื่อยเหมือนกับตอนที่ฝึกเข้า-ออกฐานเหมือนกันไหมคะ คือดูหนังเสร็จรู้สึกเพลียคะ
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    วันนี้ฝึกอยู่-ย้าย โดยการดูหนัง Captain American ตอนที่อยู่กับตน การมองเห็นจะfocusไปที่จุด ๆ เดียวที่หน้าจอ ตัวเกร็ง

    +++ การฝึก อยู่-ย้าย เป็นการ "ฝึกตน" คือเป็นการฝึก "ตัวดู ให้ เข้า-ออก กับสภาวะธรรม"
    +++ หากเปรียบเทียบกับ "การมอง 3 ระดับ" ซึ่งเป็นการ "บังคับตน" ให้ทำการ "ปรับตัวดู ให้ เหมาะกับ สภาวะธรรม"

    +++ "อยู่-ย้าย" จะมี สติ เป็นประธาน (อธิปะติปัจจะโย) ไปมาพร้อมกันกับ ตัวดู (อยู่กับดู) จะเรียกว่า "มีสติ อยู่ภายในตัวดู" ก็ได้
    +++ "มอง 3 ระดับ" มี ตัวดู เป็นประธาน แต่ สติ จะไม่เคลื่อนไปกับตัวดู (อยู่กับรู้) จะเรียกว่า "มีตัวดู อยู่ภายในสติ" ก็ได้

    +++ ให้ฝึก "อยู่-ย้าย" และ "มอง 3 ระดับ" ให้ดี ก็จะรู้ประโยคหนึ่งที่มีในพระไตรปิฏก ในหมวดอภิญญาที่ว่า "เอาจิตไว้ในกาย หรือ เอากายไว้ในจิต" ได้อย่างชัดเจน เพราะทำทั้งสองทางนั่นเอง

    แต่พอย้ายมาอยู่กับรู้ การมองเห็นจะมองเห็นจะกว้างขึ้น เห็นโรงหนังทั้งหมด ตัวไม่เกร็ง (จริง ๆ หายเกร็งตั้งแต่รู้สึกตัวแล้ว)

    +++ เคยฝึก "มอง 3 ระดับ" มาแล้วไม่ใช่หรือ ให้หา "หนัง" ที่ "มันส์ สุด ๆ" ที่มีขีดความสามารถทำให้ "ตัวดู" หลุดไปมาได้ตลอดเวลา มาเป็นอุปกรณ์ในการฝึกได้แล้ว
    +++ ให้ฝึกทั้ง 2 อย่างเพื่อทำการเปรียบเทียบ หากตรงไหนไม่มั่นใจ ให้ rewind กลับมาใหม่ (ถ้ามี DVD) แล้วทำการ "เดินจิตเปรียบเทียบ" เพื่อการ "รู้แจ้ง" ในหนทางทั้งสองแบบ

    แล้วเมิลก็เริ่มปวดหัวตำแหน่งด้านหลังช่วงกลาง ๆ ไม่ได้เป็นทั้งหัวคะ แค่ช่วงกลม ๆ ตรงหลังหัว รู้สึกว่ามีความร้อนอยู่บริเวณนั้นคะ

    +++ เคยได้ยินคำว่า "ใช้พลังจิตมาก ๆ แล้วมันจะเพลีย" มาก่อนมั้ย นั่นแหละ คือ อาการนี้
    +++ ถึงตรงนี้ก็น่าจะรู้ชัดเจนแล้วนะว่า "ตัวดู" นั่นแหละคือ "ตัวพลังจิต" ซึ่งบรรจุ "ตัวจิตตะสังขาร" ไว้ภายใน
    +++ ในขณะที่รู้ว่า "ช่วงกลม ๆ ตรงหลังหัว รู้สึกว่ามีความร้อนอยู่บริเวณนั้น" น้่นแหละ คือ "ตัวดูทั้งตัวกลม ๆ" เลย

    เวลาฝึกย้าย-อยู่ นี้จะรู้สึกเหนื่อยเหมือนกับตอนที่ฝึกเข้า-ออกฐานเหมือนกันไหมคะ คือดูหนังเสร็จรู้สึกเพลียคะ

    +++ ในขณะที่ "ย้าย" อาการ "เพลีย" ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะมีการ "ใช้" พลังจิตในขณะนั้น ๆ
    +++ ในขณะที่ "อยู่" อาการ "เพลีย" ย่อมสูญหายไป เพราะเป็นการ "พัก" พลังจิตในขณะนั้น ๆ
    +++ และในขณะที่ "อยู่" กับอาการ "เพลีย" ย่อมสามารถทำการปรับปรุง (แทรกแซง เพิ่ม-ลด) อาการเพลียนั้นได้
    +++ ยามใดที่ฝึกจน "สติ" ละเอียดดีเพียงพอแล้วก็จะ รู้ ได้อย่างขัดเจนว่า "ไม่มีอะไรนอกเหนือออกไปจาก การฝึก ฐาน กับ วสี 5" ส่วนสิ่งที่แตกต่างกันก็จะมีเพียงแค่ รูปหรือนาม กับ หยาบหรือละเอียด เท่านั้นเอง

    +++ เรายังอยู่ในฐานะที่ "ฝึก" ได้ก็ควรฝึกให้ "รู้รอบ" ยามใดที่ "ไม่มีกายเนื้อเป็นอุปกรณ์" ก็จะได้ไม่ต้องพะวง เพราะสามารถ "อยู่-ย้าย รวมทั้ง ปรับสภาพ" ได้ด้วยตนเอง ส่วนผู้ที่ชอบปล่อยวาง โดยที่ยังทำอะไรไม่เป็นนั้น เมื่อหมดกายเนื้อให้อยู่แล้ว ย่อมล่องลอยไปตามยถากรรมด้วยกันทั้งสิ้น เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยากนะครับ
     
  8. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    +++ "อยู่-ย้าย" จะมี สติ เป็นประธาน (อธิปะติปัจจะโย) ไปมาพร้อมกันกับ ตัวดู (อยู่กับดู) จะเรียกว่า "มีสติ อยู่ภายในตัวดู" ก็ได้

    อ่านประโยคนี้ทำให้เข้าใจเลยค่ะ ขออนุญาตเล่าประสบการณ์ตัวเองตรงนี้เลยนะคะ “ อยู่-ย้าย” ถ้าเรามีสติเป็นประธาน ขณะที่อยู่กับดู และขณะที่ย้ายมา อยู่กับรู้ จะไม่มีอาการเหนื่อย และขณะที่อยู่กับรู้ เราจะรู้ทุกสรรพสิ่งเคลื่อนไหวรวมทั้งกายเนื้อเราด้วย รู้เสียงที่ได้ยินจากทั่วทุกสารทิศ ในขณะนั้นก็จะเห็นอีกอาการหนึ่งคือความว่าง เป็นความว่างที่ว่างจากสัญญาทุกสรรพสิ่งที่เห็นที่ได้ยิน มันเหมือนกับอาการ รู้ทุกสรรพสิ่งที่เคลื่อนไหว+เสียงที่กระทบเข้ามาจากทั่วทุกสารทิศ แต่เป็นรู้ว่าง คือ ว่างแต่รู้ ( ไม่แน่ใจว่าภาษาที่พยายามอธิบายจะถูกต้องหรือเปล่านะ แต่ถ้าคนที่ผ่านสภาวะนี้มาแล้วจะเข้าใจทันที ) ซึ่งตรงนี้แหล่ะที่ ความทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้ กิเลสตัณหาไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าแช่อยู่ในอาการนี้เงียบๆอย่างต่อเนื่องสักพัก เราจะเห็นอีกอาการที่เกิดขึ้น ลักษณะเหมือนสัญญาณที่เชื่อมต่อไปที่กายเนื้อเราถูกตัดขาด ซึ่งในขณะที่อยู่ในสภาวะนี้ เราจะเห็นกายเนื้อเราเคลื่อนไหวเหมือนเราเห็นคนอื่นเคลื่อนไหวอยู่นั่นแหล่ะค่ะ และเคยสังเกตเห็นชัดอยู่ครั้งหนึ่ง ช่วงที่กายเนื้อเราจะกลับมามีความรู้สึก ขณะที่กำลังย้ายเข้า มันเหมือนมีอะไรเล็กๆแตะปะจุกันแค่นิ๊ดเดียวเบาๆ หลังจากนั้นก็กลับมามีความรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นก็ย้ายไปอยู่กับความรู้สึกตัว ย้ายไปอยู่กับดู และสักพักก็ย้ายไปอยู่กับรู้

    ช่วงนี้พอดีมีปัญหาทางโลกระหว่างที่บ้านกับการไฟฟ้า เป็นปัญหาที่เราแก้ไขเองไม่ได้ เพราะอยู่ในส่วนของการไฟฟ้าต้องรับผิดชอบแก้ไข แต่ถูกปล่อยปะละเลย ก็เลยโชคดีที่มีโอกาสได้กังเกตุและศึกษาตัวดูอย่างต่อเนื่อง ดูๆแล้วตัวนี้อัตตามันสูงเหมือนกันนะ ตัวดูของเขาก็คิดว่าเขาเก่ง ส่วนตัวดูของเราที่ก่อตัวขึ้นมันก็คิดว่ามันเก่ง แต่เราก็สามารถรู้ทันมันนะ ได้ฟังความคิดของพนักงานพูดแก้ปัญหาไม่ตรงจุด พอเราคิดและกำลังจะอ้าปากพูดแย้งเขา ความคิดก็ดับซะแระ สรุปคือ เบิ๊ดคำสิเว้า เป็นไงล่ะทีนี้ ทางโลกกับทางธรรม มันสวนทางกันจริงๆ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เรื่องของ "สติ ตามระดับของผู้ฝึก" ทั้ง 9 ระดับนั้น เป็นผมเรียบเรียงขึ้นมาเองจาก "ประสพการณ์ส่วนตัว"
    +++ ส่วน ครูบาอาจารย์ ของผมนั้นเป็น "พระธาตุ" กันไปเกือบหมดแล้ว เหลือที่ยัง "ครองขันธ์" กันไม่กี่องค์เท่านั้น นะครับ
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ มีครับ แต่ส่วนใหญ่ มักจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และนัดหมาย วันเวลารวมทั้งสถานที่ในการฝึกร่วมกัน หากเป็นในกรุงเทพ ก็ไปกลับได้สะดวก อาจใช้เวลาฝึก 3-4 ชั่วโมงต่อครั้งก็ได้ แต่หากเป็นต่างจังหวัด ก็ต้องมีการเตรียมตัวกันก่อนล่วงหน้า

    +++ หากมีความประสงค์ที่จะฝึก ควรฝึก "การทำความรู้สึก ทั้งตัว" ให้ได้จากโพสท์ที่ 7 "กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว" ไว้ก่อนล่วงหน้าให้ชำนาญในทุกคนที่เข้าร่วมฝึก เมื่อลงมือฝึกแล้ว ก็ควรที่จะได้เห็น "สภาวะธรรมเบื้องต้น" กันได้ ดังนั้น ควรทำ "ความรู้สึกทั้งตัว" ให้ได้เสียแต่เนิ่น ๆ นะครับ
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "อยู่-ย้าย" จะมี สติ เป็นประธาน (อธิปะติปัจจะโย) ไปมาพร้อมกันกับ ตัวดู (อยู่กับดู) จะเรียกว่า "มีสติ อยู่ภายในตัวดู" ก็ได้

    อ่านประโยคนี้ทำให้เข้าใจเลยค่ะ ขออนุญาตเล่าประสบการณ์ตัวเองตรงนี้เลยนะคะ “ อยู่-ย้าย” ถ้าเรามีสติเป็นประธาน ขณะที่อยู่กับดู และขณะที่ย้ายมา อยู่กับรู้ จะไม่มีอาการเหนื่อย

    +++ "อาการเหนื่อย" นั้นเป็น "สังขตะธรรม" ดังนั้นจึง "เป็นของตัวดู" และ "ไม่สามารถที่จะมีอิทธิพลใด ๆ ต่อสภาวะรู้ ที่เป็น อสังขตะธรรมได้" โดยเฉพาะหลังจากที่ "ย้ายออก" มาจากตัวดูแล้ว

    *** "ตัวดู" คือ "ตัวฌาน" ในหมวด "สมถะสมาธิ" ***

    +++ ในยามใดที่ "ตัวดู" สงบอยู่กับที่ ยามนั้น มันเป็น "เอกัคตารมณ์" ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ฌาน 4" วิธีทำแบบง่าย ๆ คือ "หยุดตัวดู แล้วปล่อยให้มันอยู่อย่างนั้น" จากนั้นจึง "อยู่-ย้าย" เข้าไปในตัวดู ก็จะ "รู้แจ้ง" ได้ว่า "ตัวดูเป็นธรรมารมณ์ ด้วยตัวมันเอง" การที่ "ย้ายเข้าไปอยู่ในธรรมารมณ์" จึงมี "ธรรมารมณ์ เป็นกาย" ที่ผมเรียกมันว่า "กายธรรมารมณ์" นั่นแหละ และกายตัวนี้เท่านั้นที่เป็นบ่อเกิดของการฝึก "ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน"

    +++ ดังนั้น "เฉพาะผู้ที่ฝึกจนถึงตรงนี้แล้วเท่านั้น" จึงมีสิทธิที่จะพูดอย่างอารมณ์ดีต่อผู้ที่ถามว่า "อะไรคือฌาน" โดยให้คำตอบด้วยภาษาง่าย ๆ ได้ว่า "ตัวกู นี่แหละ ฌาน" (กายธรรมารมณ์ ยังเป็น ตัวกูของกู ด้วยเช่นกัน (แต่อยู่ในชั้น รูป-อรูป พรหม) ลอง "ย้ายเข้าไปอยู่" ก็จะชัดเจนได้เอง) ให้เทียบเคียงในหน้าแรกโพสท์ที่ 5 ในกระทู้นี้ "สติ ตามระดับของผู้ฝึก" ตรง สติระดับที่ 5. "อยู่กับตน" ซึ่งเป็นสถานะของ "ผู้ทรงฌาน" ก็จะเพิ่มความชัดเจนยิ่งขึ้น

    +++ ยามใดที่ตัวดู "ย้าย" โดยไม่ได้ "อยู่" (ปัฏฐาน) แบบสั้น ๆ (สัก 1-2 วาระจิต) อาจเรียกได้ว่า "ย้ายลูกเดียว โดยไม่ได้อยู่เลย" ตรงนี้แหละคืออาการที่ "ตกจากเอกัคตา" หรือที่ภาษาชาวบ้านพูดว่า "ตกจากฌาน" นั่นเอง ดังนั้น "อาการเหนื่อย" จึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และให้สังเกตุตรงนี้ให้ดีว่า "อาการเหนื่อยทางจิต" เกิดจาก "ความขัดกันของ สภาวะธรรมารมณ์ ที่ขาด ปัฏฐาน"

    และขณะที่อยู่กับรู้ เราจะรู้ทุกสรรพสิ่งเคลื่อนไหวรวมทั้งกายเนื้อเราด้วย รู้เสียงที่ได้ยินจากทั่วทุกสารทิศ ในขณะนั้นก็จะเห็นอีกอาการหนึ่งคือความว่าง เป็นความว่างที่ว่างจากสัญญาทุกสรรพสิ่งที่เห็นที่ได้ยิน มันเหมือนกับอาการ รู้ทุกสรรพสิ่งที่เคลื่อนไหว+เสียงที่กระทบเข้ามาจากทั่วทุกสารทิศ แต่เป็นรู้ว่าง คือ ว่างแต่รู้ ( ไม่แน่ใจว่าภาษาที่พยายามอธิบายจะถูกต้องหรือเปล่านะ แต่ถ้าคนที่ผ่านสภาวะนี้มาแล้วจะเข้าใจทันที )

    +++ นี่แหละคือ "สภาวะรู้" ที่ "ไร้รูป ไร้นาม" และในขณะนั้น "เป็น สภาวะรู้" ตอนนี้ "รู้แจ้ง" ในคำพูดที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" แล้วนะ

    +++ อีกประการหนึ่งก็คือ "ไม่มีขันธ์ ก็ยังอยู่ได้" ไม่เห็นแปลกตรงไหน ต่อไปก็จะค่อย ๆ รู้ไปเองว่า "คนธรรมดา ที่มีความเป็นอยู่แบบ ธรรม-ชาติ" เป็นอย่างไร นะครับ

    ซึ่งตรงนี้แหล่ะที่ ความทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้ กิเลสตัณหาไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

    +++ นี่แหละคือ "การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ สภาวะแห่ง ความพ้นทุกข์" นั่นเอง

    ถ้าแช่อยู่ในอาการนี้เงียบๆอย่างต่อเนื่องสักพัก เราจะเห็นอีกอาการที่เกิดขึ้น ลักษณะเหมือนสัญญาณที่เชื่อมต่อไปที่กายเนื้อเราถูกตัดขาด ซึ่งในขณะที่อยู่ในสภาวะนี้ เราจะเห็นกายเนื้อเราเคลื่อนไหวเหมือนเราเห็นคนอื่นเคลื่อนไหวอยู่นั่นแหล่ะค่ะ

    +++ นั่นแหละคือการ "วางขันธ์" ในขณะที่ "ขันธ์ยังทำงานอยู่"

    และเคยสังเกตเห็นชัดอยู่ครั้งหนึ่ง ช่วงที่กายเนื้อเราจะกลับมามีความรู้สึก ขณะที่กำลังย้ายเข้า มันเหมือนมีอะไรเล็กๆแตะปะจุกันแค่นิ๊ดเดียวเบาๆ หลังจากนั้นก็กลับมามีความรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย จากนั้นก็ย้ายไปอยู่กับความรู้สึกตัว ย้ายไปอยู่กับดู และสักพักก็ย้ายไปอยู่กับรู้

    +++ ให้ทำความ "คุ้นเคย" กับวงจรนี้ และตรงนี้คือการ "อยู่-ย้าย" ในระดับขันธ์ (ไม่ใช่ ฌาน หรือ ธรรมารมณ์)

    +++ หากจะศึกษา "ปฏิจจะสมุปบาท" ให้อยู่กับ "รู้" จนกว่า จะมีสภาวะหนึ่งเกิดขึ้นแล้วทำให้ "ไม่รู้" (อวิชชา) จากนั้นให้ "ย้ายกลับมาอยู่กับ รู้" โดยปล่อยให้สภาวะ "ไม่รู้" อยู่อย่างนั้น แล้วปล่อยให้มัน "วิวัฒนาการ" ไปเรื่อย ๆ ด้วยตัวมันเอง โดยที่เรา "เป็นสภาวะรู้" อยู่ตลอดเวลา นั่นแหละคือ "การเห็นปฏิจจะสมุปบาท" ตัวจริง

    ช่วงนี้พอดีมีปัญหาทางโลกระหว่างที่บ้านกับการไฟฟ้า เป็นปัญหาที่เราแก้ไขเองไม่ได้ เพราะอยู่ในส่วนของการไฟฟ้าต้องรับผิดชอบแก้ไข แต่ถูกปล่อยปะละเลย ก็เลยโชคดีที่มีโอกาสได้กังเกตุและศึกษาตัวดูอย่างต่อเนื่อง ดูๆแล้วตัวนี้อัตตามันสูงเหมือนกันนะ

    +++ ก็ตัวนี้แหละที่ผมเรียกมันว่า "อัตตาจิต" ตอนนี้ ชัดเจน แล้วนะ

    ตัวดูของเขาก็คิดว่าเขาเก่ง ส่วนตัวดูของเราที่ก่อตัวขึ้นมันก็คิดว่ามันเก่ง แต่เราก็สามารถรู้ทันมันนะ ได้ฟังความคิดของพนักงานพูดแก้ปัญหาไม่ตรงจุด พอเราคิดและกำลังจะอ้าปากพูดแย้งเขา ความคิดก็ดับซะแระ สรุปคือ เบิ๊ดคำสิเว้า เป็นไงล่ะทีนี้ ทางโลกกับทางธรรม มันสวนทางกันจริงๆ

    +++ ใช่ มันสวนทางกัน ดังนั้น เมื่อต้อง "ประสานงาน หรือ ประสานงา" กับทางโลก ก็ต้อง "อยู่-ย้าย" มาอยู่ข้างใน "ตัวดู" และ

    +++ "อยู่-ย้าย" จะมี สติ เป็นประธาน (อธิปะติปัจจะโย) ไปมาพร้อมกันกับ ตัวดู (อยู่กับดู) จะเรียกว่า "มีสติ อยู่ภายในตัวดู" ก็ได้

    +++ ตรงนี้แหละคือ "วงจรการเรียนรู้ ขากลับเข้าสู่โลก" และ "ก็ต้อง ฝึก เหมือนกัน" เพียงแต่เป็น "คนละวงจร" เท่านั้น
     
  12. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่คะ เมิลมีข้อสงสัยจะถามคะ
    เวลาที่อยู่กับรู้แล้วตัวดูทำงาน เมิลปล่อยให้ตัวดูทำงาน พอเริ่มจะเพลินละ ก็ย้ายกลับมาที่รู้ใหม่ ไม่ได้ดับตัวดู แต่ย้ายออกมาเลย แบบนี้ก็ทำได้ใช่ไหมคะ เป็นวิธีปฎิบัติที่ถูกไหมคะ

    เมิลรู้สึกว่าตอนที่อยู่กับรู้การรับรู้อารมณ์ หรืออาการทางกายที่เกิดต่อเนื่องมาจากอาการทางจิตถึงชัดเจนกว่าตอนที่อยู่กับตน เช่นอาการดีใจ จะรับรู้อาการที่เกิดจากใจจนต่อเนื่องมาถึงอาการกาย ขนลุก พลังงานขึ้นมาที่จมูก การเคลี่อนไหวบนใบหน้า ตอนที่อยู่กับตนสติทรงฌานมันไม่ชัดขนาดนี้ ตอนนั้นมันเหมือนมีอะไรทึบๆกั้นอยู่ไม่ให้เข้ามาที่จิต แต่ตอนที่อยู่กับรู้กับรู้อย่างชัดเจนแต่อยู่กันคนละส่วน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2014
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    พี่คะ เมิลมีข้อสงสัยจะถามคะ
    เวลาที่อยู่กับรู้แล้วตัวดูทำงาน เมิลปล่อยให้ตัวดูทำงาน พอเริ่มจะเพลินละ ก็ย้ายกลับมาที่รู้ใหม่ ไม่ได้ดับตัวดู แต่ย้ายออกมาเลย แบบนี้ก็ทำได้ใช่ไหมคะ เป็นวิธีปฎิบัติที่ถูกไหมคะ

    +++ ทำได้ทุกวิธี "มหาปัฏฐาน เป็น อนันตนัย" หมายถึง "ไม่จำกัดด้วยนัยยะทั้งปวง" ดังนั้นย่อมทำได้ "ทุกวิธี และ ทุกชนิด" และ ไม่มีอะไรผิด เพราะประกอบไปด้วยสภาวะรู้ ตลอดเวลา

    เมิลรู้สึกว่าตอนที่อยู่กับรู้ การรับรู้อารมณ์ หรืออาการทางกายที่เกิดต่อเนื่องมาจากอาการทางจิตถึงชัดเจนกว่าตอนที่อยู่กับตน เช่นอาการดีใจ จะรับรู้อาการที่เกิดจากใจจนต่อเนื่องมาถึงอาการกาย ขนลุก พลังงานขึ้นมาที่จมูก การเคลี่อนไหวบนใบหน้า

    +++ ในขณะที่ อยู่กับรู้ ย่อมไม่มีความเป็นขันธ์ "บดบัง" จึงย่อม "เห็น" ขันธ์ทั้งหมดตามความเป็นจริง และย่อม "เห็นและแยกต่างหาก" ออกจากขันธ์ (วิมุติญาณทัศศนะ)

    +++ ความชัดเจนทั้งหมด "อยู่ข้างนอกขันธ์" เป็นอาการที่เรียกว่า "มีขันธ์อยู่ข้างใน" และ "สภาวะรู้อยู่ข้างนอก"

    ตอนที่อยู่กับตน สติทรงฌานมันไม่ชัดขนาดนี้ ตอนนั้นมันเหมือนมีอะไรทึบๆกั้นอยู่ไม่ให้เข้ามาที่จิต แต่ตอนที่อยู่กับรู้กับรู้อย่างชัดเจนแต่อยู่กันคนละส่วน

    +++ ตอนที่อยู่กับ "ตน" อันเป็นสภาวะของ "สติทรงฌาน" แต่ยังเป็น "สภาวะของ ฌาน เห็น" (ตัวดูเห็น แต่มี สติ เป็นพี่เลี้ยง) ตัวดู ตัวมันเองเป็น "ธรรมารมณ์" ดังนั้นที่บอกว่า

    +++ "เหมือนมีอะไรทึบๆกั้นอยู่ไม่ให้เข้ามาที่จิต" นั้นคือ "สภาวะอันจำกัดของ ตัวดูเอง" ขีดความสามารถของ "ตัวดู" (ฌาน) สิ้นสุดยุติได้แค่นี้ เพราะ ตัวดูเป็นแค่ "ฌาน ไม่ใช่ ญาณ" ดังนั้น ตัว ธรรมารมณ์ ซึ่ง เป็นตัวดูเอง จึงมีส่วนในการ "บดบังตนเอง" เพียงแต่เป็นสภาวะที่ละเอียดมาก และยากที่จะสังเกตุเห็น
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    การฝึก "มหาปัฏฐาน" ภาคแห่งการใช้ขันธ์

    +++ ผู้ใดก็ตามที่สามารถ "อยู่กับรู้ โดยปล่อยให้ ตัวดูทำงานตามปกติ" ได้แล้ว น่าจะมีขีดความสามารถในการฝึกภาค "มหาปัฏฐาน" โดยใช้ "อธิปะติปัจจะโย" ได้โดยตรง และ ไม่ยุ่งยากเท่าไรนัก และ ภาค "มหาปัฏฐาน" นี้ คือ "ภาคพิสดาร ของ มหาสติปัฏฐาน" นั่นเอง

    ==================================================================================

    +++ การฝึก "มหาปัฏฐาน" คือการฝึก โดยใช้ "สภาวะรู้" ปักหลัก (ปัฏฐาน) ลงไปในกองขันธ์ โดยที่มี "สภาวะรู้ เป็น ใหญ่" (อธิปะติปัจจะโย) และภาคนี้จะเป็น "ภาคของการใช้ขันธ์" โดยตรง

    +++ การฝึก "มหาสติปัฏฐาน" ภาคเบื้องต้น เป็นการฝึกให้ "สติ ครอง กายทั้ง 4" เพื่อให้ได้มาซึ่ง "สติ ที่ทรงตัวอยู่ได้ ด้วยตัวมันเอง" (สภาวะรู้) และ "แยกตัวออกจากกองขันธ์ทั้งหมด" (เรียกว่า วางขันธ์ หรือ ไม่ยึดขันธ์ ทั้งมวล) เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะได้อาการเป็น "ย้ายออกจากขันธ์" รวมทั้ง ขันธ์ทั้งหมด "จะมีอยู่ หรือ จะดับไป" (ดับขันธ์) ย่อมเป็น "เรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับ สภาวะรู้"

    +++ แต่การฝึก "มหาปัฏฐาน" ภาคพิสดารนี้ ไม่ใช่การฝึก "มหาสติปัฏฐาน 4" อีกต่อไป แต่เป็น "การฝึกใช้ มหาสติ ที่ได้มาแล้ว เอามาทำงาน" หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า "ภาคของ การใช้ขันธ์" นั่นเอง

    +++ จะมีลักษณะข้อแตกต่าง ที่เด่นชัดประการหนึ่งคือ การฝึกมหาสติปัฏฐาน 4 จะเป็น "สภาวะรู้อยู่ข้างนอก โดยมี ขันธ์อยู่ภายใน" แต่การฝึก มหาปัฏฐาน จะเป็น "สภาวะขันธ์อยู่ข้างนอก โดยมี สภาวะรู้ ปักหลักอยู่ข้างใน"

    *** เริ่มต้น ***

    +++ 1. อยู่กับ "ดู" (ตน) แต่ "ให้รู้ สภาวะ แห่ง ตน" ในขณะนั้น ให้ละเอียด
    +++ 2. ย้าย ออกมาจาก "ตัวดู" (ตน) และ "เป็นสภาวะรู้"
    +++ 3. ย้ายกลับเข้าไปใน "ตน" (ตัวดู) แต่ "เป็นสภาวะรู้" (ไม่ได้เป็น สภาวะ ตน)

    +++ ขณะนี้ สภาวะรู้ จะคล้ายกับเป็น "ใส้เทียน" ตั้งอยู่ในท่ามกลาง (ปัฏฐาน) "เปลวเทียน แห่ง ตน" ความเป็น ตน (เปลวเทียน) ย่อมทำงานสั่นไหวไปตามสิ่งเร้าตามปกติ แต่ ปัฏฐาน แห่งใส้เทียน กลับ "ปักหลัก" อยู่กับที่ และ "ไม่มีสภาวะแห่งความเป็น ตน หลงเหลืออยู่เลย"

    +++ การบ้าน ให้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 1. อยู่กับตน 2. อยู่กับรู้ 3. ปัฏฐานลงไปในตน

    +++ ได้ผลอย่างไรก็ให้ ส่งการบ้านมาด้วย นะครับ
     
  15. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    ขอฝึกอยู่กับรู้ให้คล่องกว่านี้ก่อนนะคะ จะลองฝึกใช้ขันธ์
    อันที่จริงก็ลองแล้วละ แต่ไม่ชัวร์สภาวะที่เอารู้ไว้ในตน ตอนที่เมิลลองทำอาการคล้าย ๆ เข้าฐานแต่เป็นเอาสภาวะรู้ที่อยู่ข้างนอกมาไว้ข้างในกายให้รู้จากข้างในกายนะคะ
    ไว้นัดฝึกกับพี่อีกทีดีกว่าคะ

    ช่วงนี้เวลาฝึกอยู่กับรู้ตอนดูหนังเรื่อง Captain Phillip ตอนที่อยู่กับรู้ จะไม่มีอาการอินไปกับหนังเลย แต่เราก็รับรู้ทุกอย่างปกติ แต่วิธีการมองต่างออกไปจากตอนที่อยู่กับตน เวลาที่มองตัวละครแสดงอาการความรู้สึกออกมาทางสีหน้า อาการรับรู้ชัดกว่าตอนอยู่กับตนซะอีก เราจะรู้ถึงอาการขยับของใบหน้าของเขา แววตา ดวงตาเบิงไปมา น้ำเสียง ที่พอประกอบรวมกันแล้วถ้าย้ายกับมาอยู่กับตนเราก็จะอินไปกับเขาได้ ช่วงที่ย้ายกลับมาที่ตน เมิลเริ่มรู้สึกถึงมวลก้อนพลังงานที่รวมตัวกันวนๆ มันจะมีอยู่จังหวะหนึ่งที่รู้สึกได้คะ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ขอฝึกอยู่กับรู้ให้คล่องกว่านี้ก่อนนะคะ จะลองฝึกใช้ขันธ์

    +++ คำศัพท์ "อยู่กับรู้" นั้น เป็นวิธีสื่อภาษาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่ชี้ให้ชัดเจนลงไปว่า "ให้เอา สติ เป็นวิหารธรรม ไม่ใช่ สมาบัติ" แต่ภาษาตามสภาวะธรรมจริง ๆ แล้ว คือ "เป็นสภาวะรู้" แต่ว่า "สภาวะแห่งความ เป็น นั้นไม่ปรากฏ" เท่านั้นเอง

    +++ ผู้ที่จะฝึกในภาค "มหาปัฏฐาน" ได้นั้น ต้องชัดเจนในความ "เป็นสภาวะรู้" มาแล้ว และจะต้องชัดเจนว่า "ตน ไม่ใช่สภาวะขันธ์ ใด ๆ ทั้งสิ้น" และจะต้องชัดเจนอีกด้วยว่า "ขันธ์นั้น มีอยู่ตามความเป็นจริง" ทั้งหมดคือ "ความจริง" ล้วน ๆ เท่านั้น หากผู้ใดนำเอา "ความเชื่อ" มาเป็นองค์ประกอบในการฝึกระดับนี้แล้ว จะไม่มีขีดความสามารถในการฝึกตรงนี้ "ตามธรรมชาติของจิต" ได้เลย

    +++ ดังนั้นตรงนี้เป็นการฝึก "ชั้นสุดท้าย" จากในหน้าแรกของกระทู้นี้ "สติ ตามระดับของผู้ฝึก ในระดับชั้นที่ 9. อยู่กับความเป็นจริง" (สัจจธรรม)

    +++ ขั้นตอนในการเข้า "มหาปัฏฐาน" อย่างง่าย ๆ

    +++ วาระจิตที่ 1. เข้าฐาน กายเวทนา
    +++ วาระจิตที่ 2. ตะจะปะริยันโต มีหนัง (กายเนื้อ) หุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ข้างนอก (ตรงนี้เป็น "ปัฏฐาน" ข้างในขันธ์ กายเนื้อ)(เหมือนกับ กายเวทนาเป็น ไส้เทียน กายเนื้อเป็นเปลวเทียน)
    +++ วาระจิตที่ 3. ขยายกายเวทนาให้ "ชำแรกผ่าน" ขอบเขตของ "กายเนื้อ" เหมือนกับ "เร่ง" แต่ไม่ได้ เร่ง ตรงนี้เป็น "กายจิต" ที่ชำแรกลงไปเป็น ไส้เทียนของ กายเวทนา
    +++ วาระจิตที่ 4. รู้ตัวดู
    +++ วาระจิตที่ 5. จางคลาย ตัวดู ให้ช้าที่สุด จะ "เห็น" ของเขตของ ตัวดู ที่ค่อย ๆ ขยายคลายตัวอย่างช้า ๆ และจะมี "ช่องว่าง" ขั้นเป็น Buffer ว่าง ๆ ระหว่างชั้นของ กายเวทนา กับ ตัวดู ที่กำลังค่อย ๆ ขยายตัวออกไปนั้น (ตัวดูเป็นไส้เทียน Buffer เป็นกายจิต กายเวทนา และ กายเนื้อ แตกชั้นอยู่ต่างหากจากกัน)
    +++ วาระจิตที่ 6. ตัวดูถูกรู้ อยู่ในที่ของมันเอง ในขณะที่ยังกำลังขยายตัวออกไปช้า ๆ ในขณะนี้ "สภาวะรู้ เป็น ปัฏฐาน แห่งไส้เทียน" ตัวดู หรือ กายธรรมารมณ์ (ตัวฌาน) เป็นเปลวเทียน และ ทุกกายจะแตกแยกชั้น ออกจากกัน ซ้อนเหลื่อมกันเป็น ชั้น ๆ อยู่ด้วยกันทั้งหมด แบบปรากฏการณ์ของ "รุ้งกินน้ำ" คล้าย ๆ อย่างนั้น เพียงแต่มี "สภาวะรู้" อยู่ในใจกลาง โดยมี "ขันธ์" ซ้อนกันอยู่เป็น ชั้น ๆ ออกไปจากแกนกลางแห่งสภาวะรู้ เท่านั้น

    +++ ถึงตรงนี้แล้ว ก็คงพอเข้าใจอาการของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ทรง "พิจารณามหาปัฏฐาน" ได้แล้วนะ สรรพสิ่งในพระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องที่เป็นมาแบบลอย ๆ ทุกอย่างมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น

    +++ จากการฝึก "จิตเปล่งรังสี" ที่ผ่านมาก็จะรู้ได้ว่า "ตัวดู" หรือ กายธรรมารมณ์ หรือ อัตตาจิต เป็น "แกนกลาง หรือ ไส้เทียน" แห่งการเปล่งรังสี แต่ในขณะนั้น ตัด "กายอื่น" ออกทั้งหมด

    +++ การฝึก "ปัฏฐาน" ตรงนี้จะต่างกันก็ตรงที่ "รู้กายทั้งหมด" ไม่มีการ ตัด หรือ วาง อะไรทั้งสิ้น

    +++ การเดินจิตตามที่กล่าวไว้ข้างบนนั้น เป็นวิธีที่ "หนักแน่น และเหมาะสม กับผู้ฝึกปฏิบัติ" แต่เมื่อชำนาญแล้ว สามารถทำ "ปัฏฐาน" ได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น "เข้าไปในตัวดู" หรือแค่ "ขันธ์อะไรก็ได้ ที่ถูกรู้" ก็สามารถตั้ง ปัฏฐาน ได้เลย

    อันที่จริงก็ลองแล้วละ แต่ไม่ชัวร์สภาวะที่เอารู้ไว้ในตน ตอนที่เมิลลองทำอาการคล้าย ๆ เข้าฐานแต่เป็นเอาสภาวะรู้ที่อยู่ข้างนอกมาไว้ข้างในกายให้รู้จากข้างในกายนะคะ
    ไว้นัดฝึกกับพี่อีกทีดีกว่าคะ

    +++ ซ้อม ๆ เดินจิตตามที่บอกไว้ข้างบนก่อนก็แล้วกัน กว่าจะกลับจากการเดินทางก็เป็น วันจันทร์หน้า

    ช่วงนี้เวลาฝึกอยู่กับรู้ตอนดูหนังเรื่อง Captain Phillip ตอนที่อยู่กับรู้ จะไม่มีอาการอินไปกับหนังเลย แต่เราก็รับรู้ทุกอย่างปกติ แต่วิธีการมองต่างออกไปจากตอนที่อยู่กับตน เวลาที่มองตัวละครแสดงอาการความรู้สึกออกมาทางสีหน้า อาการรับรู้ชัดกว่าตอนอยู่กับตนซะอีก เราจะรู้ถึงอาการขยับของใบหน้าของเขา แววตา ดวงตาเบิงไปมา น้ำเสียง ที่พอประกอบรวมกันแล้วถ้าย้ายกับมาอยู่กับตนเราก็จะอินไปกับเขาได้ ช่วงที่ย้ายกลับมาที่ตน เมิลเริ่มรู้สึกถึงมวลก้อนพลังงานที่รวมตัวกันวนๆ มันจะมีอยู่จังหวะหนึ่งที่รู้สึกได้คะ

    +++ ยามใดที่ทำ ปัฏฐาน ได้ ในเวลาดูหนัง หนังนั้น อย่างต่ำ จะกลายเป็น "หนัง 5 มิติ" โดนปริยาย แถมยังมี "ความมันส์..." อยู่ข้างนอกสภาวะรู้ อีกต่างหาก ไม่ลองก็ไม่รู้นะ เรื่องแบบนี้
     
  17. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่คะ
    เวลาที่เราเห็นอะไรจากทางหางตา หรือเวลาที่ไม่ได้มองไปตรง ๆ แต่เห็นอะไรแว๊บ ๆ แต่พอหันไปมองตรง ๆ แล้วกลับไม่มีอะไร นี่เป็นเพราะอะไรคะ ต้องทำยังไงหรือเปล่า คุ้น ๆ ว่าพี่เคยเขียนเรื่องแบบนี้ไว้
    เช่น
    เดินผ่านห้องประชุม มองผ่าน ๆ (มองทางด้วย) เห็นเงาดำ ๆ นั่งอยู่ที่เก้าอี้ในห้องประชุม ก็เลยมองไปที่เก้าอี้ตรง ๆ ไม่เห็นอะไร
    อยู่ที่บ้านกำลังจัดของ เห็นทางหาตาเหมือนมีเงาสีขาว เดินออกมาจากห้องนอน (ตรงที่จัดของกับประตูห้องเอียงกัน 45 องศา) หันกลับไปมองตรง ๆ ก็ไม่มีอะไร แบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2014
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เรื่อง "เห็นทางหางตา" นั้น เคยโพสท์ไว้แล้ว ในหน้าที่ 4 โพสท์ที่ 62 หัวข้อในการฝึก "การมอง 3 ระดับ ดูโลกที่กำลังเคลื่อนตัว การมองรังสีของบุคคล"

    +++ โดยเฉพาะในส่วนของ "รังสีของบุคคล" นั้น การ "เปล่งรังสีออกมา" จะเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นกับ "การเข้าปัฏฐาน" ดังนั้นให้ฝึก "การมองรังสีของบุคคล" ให้ชำนาญ เมื่อเจอกันอีกครั้ง ผมจะ "เดินปัฏฐาน" เพื่อเป็นตัวอย่าง แล้วให้ เมิล ดูลักษณะ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของ "ชั้นรังสี" ในขณะที่ผม เข้าปัฏฐาน ในชั้นต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น นะครับ

    +++ ส่วนเรื่องการ "เห็นทางหางตา" นั้น ให้ใช้ "การมองในระดับที่ 3" ก็ได้ หรือ จะใช้การ "ตรึงตัวดู" แล้ว ขยายขอบเขตของตัวดู ออกมาสักครึ่งร่างก็พอ ตรงนี้จะทำให้การ "เห็นทางหางตา" นั้นไม่หายไปไหน (แต่ต้อง "ดับ" จิตส่งออก ไม่ให้กำเริบขึ้นมาด้วย) จากนั้นก็จะสามารถ "สื่อสาร" กันอย่าง "ตรงไปตรงมา" ได้

    +++ และในระหว่าง "สื่อสาร" อยู่นั้น "ขั้นต่ำ" ควรอยู่ใน กายเวทนาสักประมาณ 25% ก็จะเป็นการดี เพราะส่วนใหญ่ "เขาจะไม่รู้ตัว ว่า เราเห็น" หากเราทักทายออกไปก่อนก็ "อาจสร้างความแตกตื่น หรือ หวาดกลัว" ให้กับเขาได้ แล้วมันจะกลายเป็นกรณีที่ กลับตาลปัดกับกรณี "ผีหลอกคน" เพราะในกรณีนี้ เมิล จะอยู่ในกรณีของ "คนหลอกผี" แล้วทำให้ "ผีตกใจกลัว"

    +++ ดังนั้น เมื่ออยู่ใน กายเวทนาสัก 25% แล้ว "ให้ปล่อยจิตแบบ เห็นเพื่อน" กับผีตนนั้นออกไป ก่อนเกิด "การทักทาย" มิฉะนั้นอาจเกิด "การทะเลาะกันได้" และหากมี การทะเลาะกันเกิดขึ้น ให้ "อัดกระแทก" (เร่ง) กายเวทนาให้เต็ม 100% ในขณะจิตเดียว ก็จะเกิดปรากฏการณ์ "จิตคำราม" ตามมา ประดุจราชสีห์เตรียมตะครุบเหยื่อ จะเกิดขึ้น (ทรมาณมานะทิฐิผี)

    +++ จากนั้นให้ "ตรึงตัวดู" ไว้ที่เหยื่อ (ผี) ตนนั้น แล้ว "ถอนหรือจางคลาย ตัวดู" กลับเข้าสู่ กายเวทนาที่ 25% ใหม่ โดยปกติ ทิฐิมานะของผีจะหายไป จากนั้นจะ "สนทนา" หรือ อบรม หรือ เทศนาโปรดสัตว์ อะไรก็ใช้ภาษากันไปตามสะดวก คร่าว ๆ แค่นี้ก่อน นะครับ
     
  19. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    จากประสบการณ์พบว่า กาย 100% นี่โหดมากเลยครับ ผีสู้ไม่ได้เลย ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่อยากใช้กับผีเลย เพราะถึงขั้นสงสารผีกันทีเดียว ผีจะกลัวกาย 100% ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ดังนั้นถ้าเดินจิตแบบคุณธรรมชาติว่า ผีก็คงหนาวแล้วครับ
     
  20. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    อ่านยังไม่หมดค่ะ

    เท่าที่เคยปฎิบัติมา มาติดตรงขั้นที่ แผ่ซ่านเหมือนปล่อยพลังออกไปทุกทิศทุกทาง เหมือนระเบิดพลังงาน

    บางทีทำให้สะดุ้ง

    ตามสติไม่ทัน หลับไปสะอย่างงั้น หรือไม่ก็สติอย่างอ่อน ก็ซ่านอยู่อย่างนั้น

    คืนนี้จะลองอีกครั้ง พรุ่งนี้จะรายงานค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...