พลังงานฟรี ที่คนไทยไม่ควรมองข้าม !!!

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เกษม, 25 มีนาคม 2014.

  1. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    แกะรอยข่าว ตอน รถใช้น้ำ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=N88nVs2a97s]แกะรอยข่าว ตอน รถใช้น้ำ - YouTube[/ame]
    อัปโหลดเมื่อ 17 พ.ย. 2009
    บ.คิดดีจัง จก. 02-9398336
    รายการ แกะรอยข่าว ทางTNN24
    ทุกวันอาทิตย์ 17.05-17.30 น.
    สารคดีข่าวคุณภาพเข้ม​
     
  2. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    รถเติมน้ำ รถใช้น้ำ พลังงานทดแทน ไฮโดรเจน สว่างแดนดิน

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=fU4IVhzzDr8]รถยนต์ใช้น้ำ พลังงานทดแทน ไฮโดรเจน - YouTube[/ame]
    อัปโหลดเมื่อ 7 ส.ค. 2010​
     
  3. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    จับขยะไฮโดรเจน ทำโรงไฟฟ้าบริสุทธิ์

    [​IMG]
    พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    รัฐกระพือข่าวไฟฟ้าจะขาดแคลนในช่วงเมษายน กระทำไปเพื่อเหตุผลกลใดก็ตาม...แต่สิ่งที่ตามมาสร้างกระแสตื่นตระหนกให้สังคมไทยไม่น้อย เพราะต้องยอมรับความจริง วันนี้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีไม่ได้ ขาดตกก็ไม่ได้...เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ในบ้านเราทำได้ยากเหลือเกิน โดยเฉพาะไฟฟ้าราคาถูก ต้นทุนต่ำจากถ่านหิน พลังน้ำ นิวเคลียร์ เอ่ยอ้างกันขึ้นมาเป็นถูกต่อต้าน เลยต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติมากจนเอียงข้าง...พม่าหยุดซ่อมท่อส่งก๊าซ ไทยเลยต้องเดือดร้อนเป็นเรื่องธรรมดา

    ยืมจมูกคนอื่นหายใจ...เลยต้องเจออย่างนี้ ครั้นจะสร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้า หันไปพึ่งโรงไฟฟ้าที่เรียกให้ดูดี “ชีวมวล” เพื่อลดกระแสต่อต้าน ทั้งที่ความจริงแล้วก็ต้องเอาเชื้อเพลิงมาเข้าเตาเผา ไม่เพียงแต่ก่อมลภาวะทางเสียง ยังมีควันไอเสียก่อภาวะก๊าซเรือนกระจกให้โลกร้อนอยู่ดี แม้จะสามารถปลูกพืชหมุนเวียนชดเชยได้ก็ตาม

    จะหันไปพึ่งพาไฟฟ้าพลังลม โซลาร์เซลล์จากแสงอาทิตย์ นอกจากต้นทุนค่าไฟฟ้าจะแพงแล้ว ยังเป็นระบบไฟฟ้าที่เอาแน่เอานอนหาความมั่นคงไม่ค่อยได้ แสงอาทิตย์วันหนึ่งให้ไฟฟ้าได้ไม่กี่ชั่วโมง ยิ่งหน้าฝนเมฆมากให้ไฟฟ้าน้อยนิด พลังลมยิ่งไปกันไปใหญ่ให้ไฟฟ้าน้อยแย่กว่าแสงอาทิตย์

    แต่เมืองไทยยังมีพลังงานอีกชนิดที่ให้ไฟฟ้าแน่นอน เป็นไฟฟ้าบริสุทธิ์ ไม่ก่อมลพิษ ไม่ทำให้โลกร้อน มีแต่ทำให้เย็น ที่สำคัญเป็นพลังงานที่ถูกทิ้งให้ลอยเคว้งไปในอากาศมิต่างขยะ และทั้งที่ภาครัฐรู้มาตั้งนานว่าดีและทำได้ แต่ไม่คิดที่จะนำมาก่อประโยชน์ให้กับประเทศชาติจริงจังเสียที นั่นคือ...ขยะก๊าซไฮโดรเจน

    “นโยบายพลังงานของรัฐบาลกำหนดไว้ว่า ปี 2560-2565 จะนำไฮโดรเจนมาผลิตไฟฟ้า 3.5 เมกะวัตต์ มีแต่โครงการวาดฝัน จะทำจริงทำแบบไหน ยังไม่มีรูปธรรมที่จับต้องได้ ทั้งที่บ้านเรามีโรงงานแยกก๊าซ โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โซดาไฟ ผลิตกระจก ปล่อยก๊าซไฮโดรเจนทิ้งทุกนาที เฉพาะโรงงานผลิต

    เอททีลีนของเอสซีจี ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดแค่ 1 โรง ปล่อยทิ้งก๊าซไฮโดรเจนไปชั่วโมงละ 30 ตัน ปีละ 172,800 ตัน รู้ไหมว่าเอามาผลิตไฟฟ้าได้ขนาดไหน ถ้านำมาป้อนโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ได้ถึง 306 โรง จ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ฝนจะตก แดดจะหุบให้ไฟฟ้าคงที่ และไม่ต้องห่วงเรื่องมลพิษ และสิ่งแวดล้อม เพราะของเสียที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าไฮโดรเจนมีแค่น้ำบริสุทธิ์ ที่เรียกกันว่าเอชทูโอ

    และที่มาบตาพุดมีโรงงานทิ้งก๊าซไฮโดรเจนเป็นขยะขนาดนี้ อย่างน้อยๆ 3 โรง แล้วทั้งประเทศจะทิ้งกันไปเท่าไร คิดดูแล้วกันถ้าเอามาทำโรงไฟฟ้าจะช่วยแก้วิกฤติพลังงานได้มากขนาดไหน” พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ อดีตเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ผู้ประดิษฐ์เซลล์เชื้อเพลิงชนิด PEMFC ที่สามารถแปลงก๊าซไฮโดรเจนเป็นไฟฟ้าได้สำเร็จเป็นคนแรกของประเทศไทย พูดถึงอีกทางเลือกของการสร้างโรงไฟฟ้าที่ภาครัฐมองข้าม

    ทั้งที่คนไทยสามารถทำเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติให้เสียดุลสมองและการค้า จากแรกเริ่ม โดยการสนับสนุนของ สภาวิจัยแห่งชาติ ประดิษฐ์เซลล์เชื้อเพลิงผลิตกำลังไฟฟ้า 500 วัตต์ ได้สำเร็จเมื่อปี 2549 ถัดมาอีก 2 ปีต่อยอดผลงาน สร้างเซลล์เชื้อเพลิงให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 8 กิโลวัตต์ เพื่อใช้กับรถเก๋งไฟฟ้าขนาด 2 ที่นั่ง และขนาด 10 กิโลวัตต์ สำหรับใช้กับรถโดยสารมินิบัส เพื่อเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาน้ำมันแพง แต่หลังจากนั้นมาประเทศไทยมีปัญหาการเมืองวุ่นวาย...งานและทุนวิจัยพลอยชะงัก

    ล่าสุด พล.อ.ท.มรกต และทีมงาน ได้สร้างนวัตกรรม โรงไฟฟ้ามือถือ แบบ Mobile Unit ขนาดผลิตไฟฟ้า 2 กิโลวัตต์ สำหรับผลิตเป็นไฟฟ้าใช้กันทั่วไป ที่สามารถยกย้ายไปใช้งานในที่ไหนๆได้สะดวก

    โดยเฉพาะเพื่อภารกิจความมั่นคงของทหาร ที่ต้องไปตั้งฐานปฏิบัติการในพื้นที่ป่าเขา ไม่มีไฟฟ้า เพียงยกโรงไฟฟ้าตัวจิ๋วนี้เข้าไป เปิดหมุนวาล์วปล่อยก๊าซไฮโดรเจนแบบเดียวกับหมุนปุ่มวิทยุฟังเพลง จะได้ไฟฟ้าใช้กับหลอดไฟแสงสว่าง 10 ดวง+ชาร์จโทรศัพท์มือถือ+พัดลมขนาด 10 นิ้ว+คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก+วิทยุสื่อสาร+โทรทัศน์จอแอลอีดี...แต่ถ้าอยากจะมีแอร์ใช้ได้ด้วย ต้องเติมโรงไฟฟ้าจิ๋วนี้ไปอีก 1 ชุด

    เป็นการย่อส่วนโรงไฟฟ้าไฮโดรเจนทั้งระบบมาอยู่ในกล่องเล็กๆ ขนาดกว้าง 35 ซม. ยาว 40 ซม. สูง 65 ซม. น้ำหนัก 18 กก. มีทั้งตัวเซลล์เชื้อเพลิง PEMFC เครื่องเพิ่มความชื้นให้ไฮโดรเจนมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น มีถังบรรจุก๊าซไฮโดรเจนแบบเมทัลไฮไดรด์เพื่อความปลอดภัยในการขนย้ายเคลื่อนที่ พร้อมชุดปรับแรงดันไฟฟ้าแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ เรียกว่า มีทุกอย่างพร้อมอยู่ในตัวเสร็จสรรพ

    “ในวงการไฟฟ้าพลังงานบริสุทธิ์ ปล่อยมลพิษน้อย ไม่ทำลายระบบนิเวศ ที่กระทรวงพลังงานมีเป้าหมาย ปี 2560-2565 จะนำพลังลมมาใช้ผลิตไฟฟ้าให้ได้ 800 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์ 500 เมกะวัตต์ ไฮโดรเจน 3.5 เมกะวัตต์

    ไฟฟ้าพลังลมและแสงอาทิตย์สู้ไฟฟ้าไฮโดรเจนไม่ได้ในหลายมิติ แค่เรื่องระบบนิเวศ คนไทยไม่ค่อยรู้ ไฟฟ้ากังหันพลังลมสร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศได้ ยกตัวอย่าง ประเทศเยอรมนี สร้างแรกๆ ก็อยู่ใกล้ชุมชน แต่เพราะใบพัดหมุนเสียงดัง ชาวบ้านนอนไม่หลับ จนเกิดการประท้วง รัฐบาลก็เลยย้ายไปสร้างกังหันลมไฟฟ้าในป่าดำ หรือ Black Forrest ปรากฏว่าต้นไม้ในป่าใบไม้พรุนเป็นรูไปหมด”

    ไม่ใช่เพราะพัดลมหมุนแรงจนใบไม้เป็นรู แต่เป็นเพราะหนอนกัดใบไม้เสียพรุน...เนื่องจากนกตกใจเสียงกังหันลมเลยอพยพบินหนีหายไปจากป่า เลยไม่มีนกมากินหนอน ในที่สุดเยอรมนีต้องแก้ปัญหาหันไปสร้างโรงไฟฟ้ากังหันลมตามชายฝั่งทะเลเหนือแทน...ย้ายลงไปสร้างในทะเลกันเลย มิติเรื่องปัญหาการใช้ที่ดินก็เช่นกัน พล.อ.ท.มรกต บอกว่า โรงไฟฟ้าไฮโดรเจนใช้ที่ดินน้อยมาก...โรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ใช้ที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังลมต้องใช้พื้นที่ถึง 20 ไร่...โซลาร์เซลล์ใช้พื้นที่ 17-20 ไร่

    มิติเรื่องประสิทธิภาพความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ใน 1 วัน โซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้แค่ 50% และต้องเป็นวันที่มีแดดจัดไร้เมฆด้วย ถ้าเป็นวันแดดหุบเมฆมากประสิทธิภาพการให้ไฟฟ้าจะต่ำกว่านี้ สำหรับไฟฟ้าพลังลมแม้จะมีลมพัดได้ตลอดวัน แต่บ้านเราลมไม่แรงเหมือนต่างประเทศ ประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าจึงมีแค่ 30% เท่านั้นเอง

    ส่วนไฟฟ้าจากไฮโดรเจนสามารถเดินเครื่องได้ 100% หรือ 24 ชั่วโมงเต็ม แถมยังมีพลังงานให้ใช้ได้ไม่จำกัด ทั้งจากไฮโดรเจนที่ถูกโรงงานปิโตรเคมีปล่อยทิ้งเป็นขยะในอากาศ หรือจะเอาน้ำที่มีอยู่ทั่วไปมาแยกเป็นไฮโดรเจนเอามาป้อนโรงไฟฟ้าใช้เองก็ทำได้

    เห็นชัดข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนมีหลายประการ ตอนนี้มีปัญหาอยู่เพียงประการเดียวที่ยังไม่มีการสร้างในบ้านเรา...นั่นคือผู้มีอำนาจไม่มีนโยบายคิดจะทำจริง ถ้าไม่เป็นห่วงเป็นใยพรรคพวกที่หากินกับถ่านหินมากจนเกินไป...ป่านนี้เมืองไทยคงมีโรงไฟฟ้าบริสุทธิ์ไปตั้งนานแล้ว.

    ไทยรัฐออนไลน์ 13 มี.ค. 2556 05:01

    ที่มา จับขยะไฮโดรเจน ทำโรงไฟฟ้าบริสุทธิ์ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  4. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    รถยนต์ไฮโดรเจน คันแรกของไทย วิ่งฉิวโดยไม่ง้อน้ำมัน

    [​IMG]
    [​IMG]

    ขณะที่ทุกๆ ประเทศ ทั่วโลกกำลังคิดค้นพลังงานทดแทนอย่างขะมักเขม้น ด้านประเทศไทยของเราก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต่างระดมความคิดในการหาทางออกเพื่ออนาคต . . .

    และแล้วความพยายามก็เป็นผล เมื่อคนไทยสามารถ ผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนได้เป็นผลสำเร็จ โดยมี พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ เป็นหัวหน้าทีมโครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์พลังงานไฮโดร เจนที่แยกจากน้ำ และทีมวิจัยอีก 14 ชีวิต ภายใต้ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นเนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

    อวดสายตาผู้คนไปเมื่อวันก่อนที่ทำเนียบ ก่อนการประชุม ครม. โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจ และทดลองขับรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงคันแรก ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยขนาด 4 ที่นั่ง ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สร้างความฮือฮาได้ไม่น้อย

    เส้นทางของรถยนต์คันนี้มีความเป็นมาอย่างไร หัวหน้าทีมวิจัยวัย 75 ปี แต่ยังมีไฟอยู่ เล่าให้ฟังว่า ใช้เวลาในการคิดค้นกว่า 7 ปี ตั้งแต่สมัยที่น้ำมันเริ่มมีราคาสูงขึ้น จากการศึกษาเทคโนโลยีของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ อย่างประเทศแคนาดา มีการทดลองในรูปแบบต่างๆ และสะสมความรู้เอาไว้ รวมทั้ง มีทีมงานที่ทุ่มเทตั้งใจทำงานกันทุกคน จนมาเริ่มลงมือทำอย่างจริงจังหลังจากที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสนใจและให้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 14 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา

    [​IMG]

    หัวใจในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฮโดรเจนอยู่ที่ เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นเยื่อบางๆ ใสๆ เหมือนแผ่นกันแสงคล้ายฟิล์มในรถยนต์ เรียกว่า MEA ที่ย่อมาจาก Membrane Electrode Assembly เรียกเป็นภาษาไทยว่า เยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอน โดยทั้ง 2 ด้านของ MEA จะประกอบด้วยแผ่นไบโพลา (Bipola Plate) ที่ทำจากแกร์ไฟต์ ประกอบเรียงกันเป็นเซลล์เชื้อเพลิง 1 สแตค (Stack) โดยแผ่นไบโพลา จะทำหน้าที่ส่งไฮโดรเจนเพื่อเข้า ไปแยกที่ MEA ให้เป็นไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ และทำหน้าที่รวมกับออกซิเจนทำให้เกิดเป็นน้ำออกมา

    "เมื่อไฮโดรเจนผ่านเข้ามาจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยอาศัยแผ่นไบโพลาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดอิเล็ก ตรอนอิสระที่เป็นกระแสไฟฟ้าเคลื่อนผ่านตัวนำไฟฟ้าส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ และเมื่ออิเล็กตรอนไหลวน ครบวงจรจะกลับมารวมกับไฮโดรเจนประจุบวกและออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดเป็นน้ำออกมา ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่เกิดมลพิษและก่อให้เกิดเสียงดังของเครื่องยนต์แต่อย่างใด"

    พล.อ.ท.มรกต กล่าวถึงประสิทธิภาพของรถให้ฟังว่า มีการติดตั้งมอเตอร์ให้ขับเคลื่อนเพลาล้อแทนเครื่องยนต์ โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 8 กิโลวัตต์ ที่ติดตั้งอยู่ ส่วนหน้ารถ ลักษณะตัวรถขึ้นรูปจากโครงเหล็ก และตัวถังหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาส มีที่นั่งเป็นเบาะหนัง

    "โดยรถจะใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 4 กิโลวัตต์ จึงมีกระแสไฟฟ้าเหลือพอที่จะนำไปใช้กับระบบทำความเย็น และเครื่องเสียงภายในรถอีกด้วย และบรรจุไฮโดรเจน 900 ลิตร น้ำหนัก 70 กรัม ใส่ถังไว้ด้านหลังของตัวรถ สามารถวิ่งได้ระยะทาง 40 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 20-30 นาที จะต้องมีการเติมไฮโดรเจนใหม่อีกครั้ง ซึ่งการขับเคลื่อนของรถไฮโดรเจนจะวิ่งเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับพลังงานของมอเตอร์ที่ใส่เข้าไป สำหรับรถไฮโดรเจนคันนี้จะมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 4 ปี เพราะเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอนจะเสื่อมต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ แต่แผ่นไบโพลายังใช้ได้อยู่"

    ด้านแหล่งที่มาของไฮโดรเจนนั้น เฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งมีโรงงานทำแก้ว โรงงานเม็ดพลาสติก โรงงานแยกแก๊ส มีการปล่อยไฮโดรเจนรวมกันแล้วชั่วโมงละประมาณ 20 ตัน ทิ้งไปในอากาศ ไม่มีการนำมาใช้หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถนำมากักเก็บไว้ใช้กับรถไฮโดรเจนได้อย่างน้อยกว่าแสนคัน

    รถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้ ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 6 ของโลก ที่สามารถผลิตออกมาใช้งานได้จริงบนท้องถนน หลังจากที่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ผลิตสำเร็จมาแล้ว

    [​IMG]

    "หากมีการนำมาใช้ในรถยนต์ทั่วไปเพื่อขับเคลื่อนบนท้องถนน จำเป็นต้องมีการติดตั้งตัวถังไฮโดรเจนให้บรรจุก๊าซไฮโดรเจนได้มากขึ้น สำหรับป้อนเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนเป็นพลังงานไฟฟ้าในระยะทางที่ไกลขึ้น ยอมรับว่ารถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้มีต้นทุนการผลิตรวมแล้วประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากในอนาคตภาครัฐมีการสนับสนุนให้เป็นพลังงานทางเลือกที่ต้องศึกษาพัฒนาต่อไป เชื่อว่าต้นทุนการผลิตจะลดลงได้"

    หลังจากที่ผลิตรถยนต์ไฮโดรเจน ขนาด 4 ที่นั่ง ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว มีการต่อยอดเพิ่มขึ้น โดย นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมวุฒิสภา มีข้อสรุปว่า รถยนต์ไฮโดรเจนยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ และต้นทุนยังแพงอยู่ จึงมีแนวคิดในการสร้างเป็นรถประจำทางหรือรถเมล์สาธารณะ ขนาด 20 ที่นั่ง ขึ้นไป เพื่อให้บริการประชาชนน่าจะดีกว่า จึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมขึ้น โดยมี ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน เป็นประธาน และได้งบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 20 ล้านบาท

    "ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 11 กิโลวัตต์ เพื่อนำมาใช้กับรถประจำทาง ขนาด 20 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน โดยใช้คันละ 3 สแตค มีต้นทุนสแตคละประมาณ 3 ล้านบาท ฉะนั้นต้นทุนของรถอยู่ที่เกือบ 10 ล้านบาท ราคานี้เป็นของเทคโนโลยีใหม่ที่ต้นทุนยังสูงอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่มีเทคโนโลยีมารองรับมากกว่านี้ราคาแผงเซลล์เชื้อเพลิงอาจลดลงอยู่ที่ราคาประมาณล้านกว่าบาทต่อคัน ด้านตัวรถต้นทุนอยู่ที่ 1 ล้านบาท จึงถือว่ารถเมล์ 1 คัน ตกอยู่ที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เมื่อติดตั้งไฮโดรเจนด้านบนของตัวรถจะอยู่ที่ราคา 5 ล้านบาท ซึ่งราคารถเมล์ที่ใช้กันอยู่นี้ก็ อยู่ที่ราคาประมาณนี้ แต่ก่อมลพิษและเสียงดัง ถ้าน้ำมันขึ้นก็เก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก แต่รถเมล์ไฮโดรเจนไม่ส่งผลกระทบ ดังกล่าว"

    รถเมล์ไฮโดรเจนจะแตกต่างจากรถเมล์ทั่วไปคือ มี 6 ล้อ ด้านละ 3 ล้อ มี 2 เพลา เพลาละ 8 กิโลวัตต์ รวมเป็น 16 กิโลวัตต์ เพื่อให้ขับได้แรงขึ้น เร็วขึ้น และมีสมรรถนะสูงขึ้น วิ่งด้วยความเร็ว 60 กม.ต่อชั่วโมง ที่เลือกรถขนาด 20 ที่นั่ง เพราะต้องการให้เกิดการคล่องตัวในการใช้งาน หากโครงการผ่านการพิจารณางบประมาณ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ในการปรับปรุงให้สมบูรณ์ ออกใช้งานได้จริง เพราะตัวรถเมล์ไม่ได้มีส่วนประกอบที่ซับซ้อนแต่อย่างใด

    [​IMG]

    ส่วนด้านสถานีเติมไฮโดรเจน และเรื่องกฎหมายรองรับการผลิต รวมทั้งการนำมาใช้งานจริงบนท้องถนน คงเป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลต้องพิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป

    พล.อ.ท.มรกต ฝากความหวังไว้ว่า "เมื่อทำเป็นรถเมล์ไฮโดรเจนออกมาได้แล้ว ใช้งานได้จริง อยากให้รถต้นแบบทุกคัน ถูกเผยแพร่วิทยาการในส่วนนี้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีความสนใจ เพื่อจะได้ต่อยอดในส่วนต่างๆ ต่อไป เพื่อให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ดีขึ้น ราคาต้นทุนจะได้ถูกลง โดยอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนจะได้เป็นความรู้ที่มีการต่อยอดกันต่อไปในเชิงพาณิชย์ และที่สำคัญเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย"

    ผลงานชิ้นโบแดงนี้ ช่วยสร้างศักยภาพให้กับประเทศ และคนไทยไปแล้วในสายตาของชาวโลก คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากขาดการสนับสนุนในเชิงสร้างสรรค์ และจริงใจ!

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เดลินิวส์
    โดย : จุฑานันทน์ บุญทราหาญ

    ที่มา www.kapook.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2014
  5. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    สารคดี - เชื้อเพลิงแห่งอนาคต

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ptcwZrpsURk]สารคดี - เชื้อเพลิงแห่งอนาคต - YouTube[/ame]
    เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ค. 2013​
     
  6. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    เตาพลังงานชีวมวลพกพา

    [​IMG]

    เตา Biomass เตาพลังงานชีวมวลพกพา พลังงาน(เกือบ) เกือบไร้ขีดจำกัด

    สวัสดีครับ Prepper ทุกท่านกลับจากสงกรานต์แล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ มีเรื่องแผ่นดินไหว วันที่ 11เมษายน มาให้เขย่าขวัญกันอีกแล้ว แต่ก่อนแผ่นดินไหวกับคนไทยยังไม่คุ้นกันสักเท่าไหร่นะครับ จนหลังเกิดซึนามิทางใต้และที่ญี่ปุ่นเป็นต้นมา ผมว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องการเตรียมพร้อมภัยพิบัติกันมากขึ้นครับ เห็นได้ว่าร้านขายอุปกรณ์แคมป์ปิ่งเริ่มมีการจัดชุด Survival Kitให้ลูกค้ากันเยอะเลย ซึ่งในชุดก็ประกอบไปด้วย เต๊นท์ เครื่องประกอบอาหาร เตาสนาม ชุดกรองน้ำ และอีกมากเท่าที่ทางร้านจะจัดจำหน่ายอยู่ ผมก็เห็นดีด้วยครับที่ Prepper ชาวไทยจะมีชุดSurvival Kit กันทุกๆบ้าน ทุกๆคนสนับสนุนให้จัดชุดแบบนี้กันเยอะๆครับ ความสูงที่เหมาะสมในการวางหม้อคือ สูงจากเปลวไฟราวๆ 1 นิ้ว

    กลับมาที่เรื่องที่นำมาฝากกันในวันนี้ครับ ผมได้เปิดเวปไซท์ของต่างประเทศที่มีการพูดคุยกันเรื่อง Sustainable Survival (การยังชีพในระยะยาว) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆสำหรับพวกเรา มันเริ่มจากว่า หากเกิดภัยพิบัติอะไรสักอย่างไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์ แล้วโลกที่เราอยู่นั้นมันไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว ระบบไฟฟ้าล่ม ประปาล่ม ขาดความช่วยเหลือเป็นเวลานานๆ หรือมันไม่มีใครมาช่วยเราอีกแล้ว มันจะเป็นอย่างไร (นึกถึงหนังซอมบี้ที่กลุ่มคนต้องเอาตัวรอดกันเองเป็นชุมชนเล็กๆ) เราลืมชุด BOB ไปได้เลยครับ เพราะอาหารก็จะหมด น้ำมันเชื้อเพลิงหมด ถ่านไฟฉายที่เตรียมมาก็หมด เหลือให้ใช้ได้ไม่กี่อย่างใน set เท่านั้น ทีนี้ต้องหาอาหารธรรมชาติ หรือปลูกผักปลูกพืชกินเอง แต่แล้วก็มีคนแนะนำเรื่อง เทคโนโลยีเตาที่ใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงขึ้นมา เพราะในระยะยาวนั้น เราสามารถหาไม้ได้ง่ายกว่าน้ำมัน หรือแก๊สกระป๋องมากครับ ทีนี้การทำให้ไม้นั้นนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องมีเทคนิคนิดหน่อย โดยใช้เทคโนโลยีแสนง่ายที่ชื่อGasification หรือ การแปลงสภาพเป็นแก๊สของไม้ฟืนที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงนี่เอง มันเป็นยังไงมาดูกัน จะเห็นได้ว่ามีไฟพุ่งออกมาจากบริเวณ Gas vent hole เหมือนกับเตาแก๊ซหุงต้มตามบ้านเลยครับ

    [​IMG]
    Gasification กับ Biomass

    วิชาการกันสักนิดนะครับแล้วจะเข้าใจว่ามันต่างจากก่อกองไฟธรรมดายังไง ผมขอพูดถึงไบโอแมสก่อน Biomass หรือชีวะมวลหมายถึงพลังงานที่ถูกเก็บในรูปของสารอินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ชานอ้อย แกลบ ซึ่งพลังงานชีวะมวลนั้นสามารถนำมาแปรรูปให้เป็นพลังงานความร้อนได้โดยการให้ความร้อน หรือแปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้แบบ ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืช เป็นต้น งานนี้ Biomass ก็คือฟืนนี่เอง

    [​IMG]
    หลักการทำงานของเตา Gasification คือทำให้อากาศเย็นเข้าผสมกับแก๊ซร้อนที่กลั่นตัวออกมาจาก Gasification Zone ที่บริเวณ Gas Combustion Chamber ครับ

    ส่วน Gasification คือการเปลี่ยนสภาพสถานะของ Biomass จากของแข็งให้เป็นก๊าซไวไฟ อย่าง คาร์บอนมอนน็อกไซ และ มีเทน เป็นต้น ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการใช้ความร้อน แต่มันแตกต่างจากการเผาไหม้(Combustion) โดยสิ้นเชิง เพราะการเผามีกระบวนการเดียวจำได้ไหมครับที่เคยบอกไว้ในเรื่อง Tinder และหารเลือกใช้ ไฟ คือ เชื้อเพลิง+อ็อกซิเจน+ความร้อน ซึ่งเป็นการทำปฏิกริยาเพียง 1 ขั้นตอน แต่การ Gasification มีสองขั้นตอนคือ ความร้อน+เชื้อเพลิง ทำให้ปลดปล่อยก๊าซไวไฟออกมา แล้วก๊าซจะนำไปใช้งานต่อในเครื่องจักรอื่นๆ หรือปั่นเครื่องเทอร์ไบน์ หรือผสมกับอ็อกซิเจนกลายเป็น ไฟที่เผาไหม้ได้หมดจด มลภาวะต่ำ(เพราะถูกเผารอบที่สอง) และใช้เชื้อเพลิงได้ประหยัดกว่าครับ

    เตา Gasification จึงถูกออกแบบมาใช้งานครับ มันมีขนาดเล็กและให้ความร้อนได้มีประสิทธิภาพกว่าการก่อกองไฟปรกติประหยัดเชื้อเพลิง และสะอาดมีควันน้อยกว่าหรือแทบไม่มีเลยครับ ขั้นตอนการทำผมไม่ได้ถ่ายไว้แต่จะอธิบายโดยละเอียดนะครับ ไม่ได้ทำยากเลย

    อุปกรณ์
    1.กระป๋องอลูมิเนียมขนาดใดก็ได้ ผมใช้ขนาด 4 นิ้ว ใช้กระป๋องนมก็ได้ ขอให้มีความสูงกว่า 5-6 นิ้วขึ้นไป
    2.กระป๋องอลูมิเนียมอีกใบที่มีขนาดเล็กกว่าใบแรก 2 นิ้ว นี่คือส่วนเผาไหม้หลัก
    3.สว่านกับดอกขนาด 8 มม. หรือ มีดปลายแหลม

    ขั้นตอน แค่นี้เองครับรายการอุปกรณ์ตัวอย่างนี้ผมใช้เพียงมีดเล่มเดียวกับกระป๋องผงกาแฟสองไซส์กับมีดเล่มนึง จำลองสถานการณ์ว่าเป็นของที่เก็บได้จากกองขยะ และมีอุปกรณ์เพียงมีดพับ ขั้นตอนไม่รู้จะอธิบายยังไงครับ ดูในภาพได้เลยครับ เคล็ดลับคือ รูที่เจาะนั้นควรมีความสมมาตรกัน แบ่งครึ่งกระป๋องและเจาะให้เท่าๆกันรอบด้าน และสม่ำเสมอครับ หากทำได้ถูกต้อง เราไม่จำเป็นต้องใช้อะไรในการยึดให้กระป๋องเล็กมันยึดกับกระป๋องใหญ่เลยครับ ตัดช่องให้พอดี แล้วมันจะยัดลงไปแน่นสนิทดี

    [​IMG]
    ส่วนประกอบของ Gasification Stove มีเท่านี้เองครับ

    [​IMG]
    งอลิ้นที่ตัดออกมาให้เป็นตัวล็อกไม่ให้ Inner STOVE หลุดเข้าไปครับ

    การใช้งาน ให้เราแบ่งไม้เป็น 3 ขนาดครับ ขนาดแรกใหญ่สุดขนาดสักหัวแม่มือ ไว้ใช้ใส่เป็นไม้เชื้อเพลิงหลัก เรียงในแนวตั้งในกระป๋องด้านใน 4-5 แท่งก่อนพอหลวมๆ ขนาดต่อมาเล็กสักครึ่งหนึ่งใส่ในช่องว่างและหักวางตามขวาง สำหรับวางเชื้อไฟ และสุดท้ายเชื้อไฟจะใช้ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง หรือไม้ซี่เล็กๆก็ได้วางสุมๆกันตามขวาง อย่าให้แน่นเกินนะครับ เดี๋ยวอากาศไม่ผ่านไฟจะไม่ติด

    [​IMG]

    เสร็จแล้วจุดไฟได้เลยจากด้านบนครับ เราจะให้มันลามลงด้านล่าง คราวนี้ผมได้ใช้ Tinderหมายเลข 5 ซึ่งเคยลงวิธีทำให้แล้วนะครับใน(วิธีการทำเชื้อไฟสำเร็จรูปที่ดี How to make a good instance tinder) มาฉีกๆออกให้เห็นเส้นใยเล็กๆ แล้วจุดแท่งจุดไฟใส่ เส้นใยเหล่านี้พอโดนประกายไฟจับมันจะลุกติดอย่างรวดเร็ว และอยู่ได้ 2-3 นาที ไม่ต้องรีบครับ ค่อยๆเลี้ยงไฟไปเรื่อยๆจนไม้ฟืนหลักของเราติดไฟพอความร้อนได้ที่แก๊สจะถูกขับออกมาจากเชื้อเพลิงเห็นเป็นควันขาวๆ (ก๊าซไวไฟ) มันถูกดูดลงไปด้านล่างไม้ และไฟมันจะลุกออกมาจากช่องด้านบนที่เจาะไว้ให้อากาศเข้ามาผสม นั้นคือการเผาไหม้ครั้งที่สองของปฏิกิริยา Gasification ครับ ตอนนี้วางหม้อทำอาหาร ต้มน้ำ หรืออะไรตามสะดวกได้เลย ระหว่างนี้จะเร่งไฟก็เติมฟืนได้ตามสะดวกครับ หากหม้อขนาดใหญ่มากก็หาที่พักหม้อไว้ด้วยครับ ให้หม้อสูงกว่าเตาราวๆ 1 นิ้ว จะเป็นระยะที่ไฟมีความร้อนสูงสุดครับ หากวางชิดไฟไป ควันขาวจะกลับมา และไฟจะดับได้

    [​IMG]
    Ferro rod กับ Tinder No.5

    เตาแบบนี้มีข้อดีคือ ใช้งานง่าย หาฟืนเอาดาบหน้า หรือจะเก็บตามทางไปเรื่อยๆ จัดเก็บพกพาได้สะดวก จะสร้างเอาใหม่ก็ได้จากวัสดุที่มีก็ได้ และไม่ต้องบำรุงรักษาเลย หรือ ทำขนาดเล็กๆใส่ห่อยัดลงกระเป๋ายังชีพก็ยังไหว ไม่ต้องคอยพกน้ำมัน กระป๋องแก๊ส และคอยพะวงว่าเมื่อไหร่น้ำมันจะหมด แล้วเตาที่ซื้อมาแพงๆก็จะกลายเป็นเศษเหล็กทันที

    จะเห็นได้ว่า ขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้แบบ Gasification นี้จะมีน้อยมากๆ ครับ เพราะมันถูกเผาด้วยความร้อนสูง และหมดจด เป็นเตาที่สร้างง่าย ประหยัดเชื้อเพลิง หาเชื้อฟืนได้เรื่อยๆไม่จำกัด และใช้อุปกรณ์แสวงเครื่องที่หาได้ทั่วไป สมกับเป็นอุปกรณ์ยังชีพยั่งยืน(Sustainable Survival) สำหรับชาว Prepper จริงๆครับ ทำเป็นเล่นไปนะครับ ระบบGasification เดียวกันนี่แหล่ะ เอาไปสร้างเครื่องปั่นไฟ Biomass และ รถยนต์พลังฟืนBiomass กันสำเร็จมาแล้ว เจ๋งมากๆครับ น้ำมันไม่มีมันไม่ง้อเลย เข้าป่าตัดฟืนมาเติมเตารถก็วิ่งต่อได้เลย แจ่มจริงๆเทคโนโลยีนี้

    [​IMG]
    หากกระบวนการเผาไหม้ถูกต้อง เราจะจุดไฟได้จากด้านบนของเชื้อเพลิงครับ ความร้อนจะถูกดูดลงไปเผาไหม้เอง ไม่ต้องจุดจากข้างล่างขึ้นมาเลย

    Trick การเลือกไม้ทำฟืนนั้นสำคัญครับ ควรเลือกไม้แห้งสนิท ที่ไม่ชื้นมากเกินไป และมีหลายๆขนาด ไม้ที่เนื้อแข็งมากๆ นั้นติดไฟยาก แต่รักษาความร้อนได้นาน กว่าไม้เนื้ออ่อนครับหากจำเป็นให้เก็บไม้ชื้นที่สุดไว้เป็นเชื้อเพลิงที่หลังตอนที่เตาร้อนเต็มที่แล้วครับ

    Credit By WWW.Thaiprepper.Com

    ที่มา เตาพลังงานชีวมวลพกพา
     
  7. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ก๊าซชีวภาพในครัวเรือน+เครื่องปั่นไฟฟ้า

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=WDuZzgeMhHY]การทำถังหมักก๊าซชีวภาพในครัวเรือน - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Z2mHt4uTLrA#t=333"]วิธีอัดก๊าซชีวภาพใส่ถังแก๊สในครัวเรือน - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=pr4soNpGD48]เครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส ขนาด 24kW(30kVA) - YouTube[/ame]
    เผยแพร่เมื่อ 18 มิ.ย. 2012​

    งานติดตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าไบโอแก๊ส ขนาด 24kW(30kVA) ใช้เครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลง Nisssan ED33 3,298 cc. 4 สูบ 96 แรงม้า เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลัง ใช้งานกับฟาร์มสุกรขนาด 600 ตัว ที่ ซอย 12 อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

    ติดตามผลงานของ TBG Power ได้
    Thai Biogas Generator
     
  8. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ตะบันน้ำ+แท้งค์เก็บน้ำ+ปั่นกระแสไฟฟ้า

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=iTgatsVbmRE]ตะบันน้ำ พลังงานสะอาด - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=6z2_3jNgbBM]ฐานแท้งน้ำ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=cuzNhK-dHYE]ชุดสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากน้ำประปา - YouTube[/ame]
    เผยแพร่เมื่อ 28 ก.พ. 2013​

    แชร์ความคิดเห็นกันได้ครับ kunakorn446@gmail.com

    ชาคริต เหง้าณี

    ผมขอรายละเอียดอุปกรณ์หน่อยครับผม parkchakirt@gmail.com ขอบคุณมากครับ

    จั๊กเทือ

    ถ้าใครยังอยากได้รูปเล่มของโครงการนี้อยู่ ก็ติดต่อมาได้ที่ perm.10112@gmail.com ครับ
     
  9. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ตะบันน้ำไร้เช็ควาล์ว

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=iTgatsVbmRE]ตะบันน้ำ พลังงานสะอาด - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=rp1r91RT9y8]ตะบันน้ำไร้เช็ควาล์ว เวอร์ชั่นที่1 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1N6LNFycBug]ตะบันน้ำไร้เช็ควาล์วรุ่นขีปนาวุธโทมาเฮาะเวอร์ชั่นที่่2 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=liNgtcQYCNo]ตะบันน้ำไร้เช็ควาล์วเวอร์ชั่นที่3 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=U-KqEIre00M]ตะบันน้ำไร้เช็ควาล์วเวอร์ชั่นที่4 - YouTube[/ame]
    เผยแพร่เมื่อ 13 พ.ค. 2014​

    โดย..ริมใจ อริยปัญญาวิศิษฏ์(เจ้ยศิลป์) 089­-4227992 และ 094-3634260 อย่าปล่อยให้น้ำลอย­นวล(ไหลลงทะเลไปเฉยๆ)made.in.thailand
     
  10. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ตะบันน้ำที่คอกม้าไทยโพนี่ชุมพร

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=OBj4d_YZyxU]ตะบันน้ำที่คอกม้าไทยโพนี่ชุมพร - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=iqLEWs4NinQ]เจ็บกับแสบ ปั๊มน้ำทำเอง 2.MP4 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=uKLd0JnrJrE]กาลักน้ำ - YouTube[/ame]
     
  11. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=3xfti41Lo78"]ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน 1/3 - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=3CSEaobHOsE"]ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน 2/3 - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=524uihopSBM"]ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน 3/3 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=FyfFQRHa2uA]ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน(2) 1/3 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=kYyL-XO2RsE]ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน(2) 2/3 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=FdYW5BPz_eM]ไทยคิดไทยทำ - เตาพลังงานทดแทน(2) 3/3 - YouTube[/ame]
    เผยแพร่เมื่อ 17 ก.ค. 2012
    ศึกษาค้นคว้าและทดลองจนเป็นที่ได้ผลแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลานำไปใช้งานจริง กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบนเกาะเสม็ด​
     
  12. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    กบนอกกะลา พลังงานทดแทน

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=NsxrumS8Ulw]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน 19 nov 10 1 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=4SehsO3rYhM]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน 19 nov 10 2 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=sxwSVG_0pxE]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน 19 nov 10 3 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=cBN5OiNXsHo]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน2 26 nov 10 1 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=tSgQ7JtAneg]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน2 26 nov 10 2 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=HyAr0UgH6UI]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน2 26 nov 10 3 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Y_hvv1tA4jI]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน3 24 Dec 10 1 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Mnuppl75Y6s]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน3 24 Dec 10 2 3 ‏ - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=TawIKKB3Rtc]กบนอกกะลา พลังงานทดแทน3 24 Dec 10 3 3 ‏ - YouTube[/ame]
    เผยแพร่เมื่อ 30 ม.ค. 2014​
     
  13. ิBat of light

    ิBat of light เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2012
    โพสต์:
    687
    ค่าพลัง:
    +842
    .
    เรามารอดูกันดีกว่า ว่าเมืองไทยยุคใหม่ ที่กะลังเกิดขึ้น
    จะให้ความสำคัญกับแหล่งพลังงานใหม่ๆ เหล่านี้อย่างไรกันบ้าง

    เห็นของดีๆ เหล่านี้แล้ว ให้เศร้าใจกับพี่น้องชาวไทยจังเลยนะครับ
    พวกผู้ใหญ่ไก่เขี่ย แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะเกิดนาน
    บริหารประเทศได้ห่วยแตกเหลือเกิน เฮ้อ...


    กระต่ายป่า ข้างวัด / ค้างคาวแห่งแสง

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...