คำพระศาสดานั้นจริงที่สุดและความเข้าใจผิดของชาวพุทธ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย wisakha, 3 มีนาคม 2014.

  1. wisakha

    wisakha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +210
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=sH0A-KqMJb4]พุทธวจน-ความเข้าใจผิดของชาวพุทธ - YouTube[/ame]
     
  2. wisakha

    wisakha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +210
    ท่อนที่พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติเรื่องการเอาพระธาตุมาเป็นเครื่องวัดความเป็นพระอรหันต์เลย ในเวลาช่วงที่ 1.35:58 (นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ดิฉันได้ฟังมาตั้งแต่ต้น แต่ท่อนนี่ที่พระคุณเจ้าบรรยาย ก็เพิ่งได้รู้เหมือนกันว่าพระศาสดาไม่ได้บัญญัติเอาไว้
     
  3. วีระชัยมณี

    วีระชัยมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,128
    ค่าพลัง:
    +2,548
    ผมเองไม่ได้ฟังที่ลงไว้นะครับ
    แต่ความเห็นผมนะครับ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเรื่องพระธาตุ ว่าเป้นเกณฑ์อรหันต์แน่นอนครับ เพราะเรื่องพระธาตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ เป็นอรหันต์แล้ว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปกติเท่านั้น ท่านไม่ตรัสเพราะไม่เกิดประโยชน์
    ดังเช่นเรื่องอิทธิฤทธิ์ของพระอรหันต์ แม้จะเป็น สุกขวิปัสสิโกก็มีฤทธิ์ได้ครับ เพราะเกิดจากอรหัตฤทธิ์ ซึ่งเกิดขึ้นเอง เมื่อเป็น อรหันต์ครับ

    อีกอย่างครับ การที่กระดูกเป็นพระธาตุนั้น ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์เท่านั้น เรื่องนี้เท่าที่ผมพอทราบ ผุ้ใดที่มีศีลบริสุทธิ์ ผู้นั้นกระดูกก็จะบริสุทธิ์ไปด้วยครับ แม้ยังไม่บรรลุธรรม ก้เป็นพระธาตุได้เช่นกันครับ เพราะศีลคือสิ่งฟอก

    กราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ หากสิ่งใดผมกล่าวผิดขอได้โปรดงดโทษด้วยเถิด เพราะเป็นแค่ คนที่ได้ยินท่านอื่นเล่ามาครับ
     
  4. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,882
    อธิบายคำกล่าวของคุณ alek222

    พระอรหันต์แบบสุขวิปัสสโก เป็นพระอรหันต์ที่ไม่มีตาทิพย์ หูทิพย์ คือไม่มีฤทธิ์
    แต่ส่วนที่จะทำให้มีอภิญญาได้ คือ ของเก่าส่งผลมาต้องเคยฝึกทางนี้มาก่อน
    ครูบาอาจารย์บางสายเรียกว่า เป็นพระอรหันต์แบบ "แห้งแล้ง" เพราะทำอะไรไม่ได้แบบสายอื่น
    เช่น มีครั้งนั้นยักษ์ผ่านพระสารีบุตรได้เอาตะบองตีเข้าที่ศีรษะท่าน พระสารีบุตรท่านไม่เห็นนะ รู้แค่ว่าปวดหัวนิดหน่อย
    ส่วนยักษ์ก็โดนสูบลงนรกตอนนั้นทันทีเพราะทำร้ายพระอรหันต์ จนพระโมคคัลลานะได้มาถามว่าปวดหัวมากไหมโดนยักษ์ตีหัว
     
  5. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


    ๗. อาณิสูตร
    [๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า
    ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา
    โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
    จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
    แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
    อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก
    ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
    ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
    [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว
    อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน
    ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา
    กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ
    ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
    จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒.
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    ��ö��� �ѧ�ص��ԡ�� �Էҹ��ä �ͻ����ѧ�ص�� �ҳ��ٵ� ˹�ҵ�ҧ��� � �� �
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    ��úѭ �����ûԮ� �� ����
    ��úѭ ����ص�ѹ��Ԯ� ���� � �ѧ�ص��ԡ�� �Էҹ��ä
     

แชร์หน้านี้

Loading...