อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    สวัสดีครับคุณนอร์

    พักทานข้าวหรือยังครับนี่
     
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    ดูจากรูปน่าจะเป็นช่วงที่ท่านถ่ายหลังปี พ.ศ. 2500 ลงมานะครับ

    หลวงปู่ปานมรณภาพ กรกฏาคม 2481 ครับ
     
  3. ชนะ_มาร

    ชนะ_มาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +345

    ทานเรียบร้อยล่ะคับ...ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับพี่วรรญ ^^
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,494
    ค่าพลัง:
    +53,107
    ปีพุทธศักราช 2443 ณ หมู่บ้านแม่เทย อ.ลี้ จ.ลำพูนในปัจจุบันนี้ สมัยนั้นความเจริญยังย่างกรายมาไม่ถึง ทุรกันดารไปเสียทุกอย่างเพราะยังเป็นบ้านป่าหย่อมเล็ก ๆ เพียง 9 หลังคาเรือนตั้งอยู่โดยมีความทะมึนของขุนเขาลำเนาไพรเป็นรั้วรอบ

    จากคำบอกเล่า แม่เทยสมัยนั้นตกยามค่ำคืนเสียงส่ำสัตว์น้อยใหญ่ร้องระงมรอบบ้าน ไม่ว่าเสือ, ช้าง, เก้ง, กวาง คละเคล้ากันไปได้ยินถนัด ท้ายหมู่บ้านเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ของผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่งอาศัยอยู่ แม้จะยากจนแต่ก็มีความสุขตามประสาคนหนุ่มสาวที่มักมองโลกเป็นความน่าบันเทิงเริงรมย์ยิ่งอยู่ในระยะข้าวใหม่ปลามันความฝันนั้นมักบรรเจิดยิ่งนัก ฝ่ายผัวมีเชื้อสายชาวลัวะชื่อ เมา และเมียชื่อ จันตา เขาทั้งสองดำรงชีพ แบบชาวบ้านป่าทั้งหลาย ด้วยการทำไร่ปลูกผักหักฟืนไปวัน ๆ โดยหาจุดหมายเพื่อความเป็นปึกแผ่นไม่ค่อยมั่นใจนักเพราะความยากจน สมัยนั้นไม่มีการทำนาเพราะยังไม่มีการบุกเบิก แต่จะพากันปลูกข้าวไรแทน ได้ผลบ้างไม่ได้บ้างแต่ที่แน่นอนไม่พอกินไปตลอดปี ซึ่งถ้าหากข้าวเปลือกที่กักตุนหมด อาหารหลักที่รับช่วงต่อจากข้าวก็คือกลอย กลอยเป็นพืชใช้กินหัวจัดอยู่ในตระกูลเผือกมันมีหัวอยู่ในดิน ชาวบ้านป่าจะเที่ยวขุดมากักตุนไว้ในฤดูของมัน ซึ่งสมัยนั้นชุกชุม โดยเอาหัวกลอยที่ขุดมาได้นั้นปลอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบาง ๆ นำมาตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ได้นาน ๆ เวลาจะกินก็ใช้วิธีนึ่งจนสุก แล้วแปรเป็นอาหารทั้งรูปข้าวและของหวาน โดยจะเอาคลุกน้ำอ้อยน้ำตาล โดยขูดมะพร้าวผสมก็กินอร่อย หรือจะกินกับประเภทกับ เช่น ผัก เนื้อ ก็ได้ดีเหมือนข้าว หลายท่านในภาคเหนือเราในปัจจุบันที่มีอายุ 40 - 50 ปี เคยกินกลอย และหลายท่านอีกเช่นกันที่เติบใหญ่มาด้วยการกินกลอยเป็นอาหารหลัก แม้กระนั้น เจ้ากลอยนี้แม้จะเป็นอาหารแต่จะกินสุ่มสี่สุ่มห้า โดยไม่ใช้ฤดูกาล ไม่ได้เป็นอันขาด ขืนกินเข้าไปเป็นเมาเบื่อทันที จากผู้ชำนาญในด้านนี้ ท่านบอกว่าฤดูที่กินได้เริ่มตั้งแต่เดือน 11 เหนือ (เดือน ใต้) ไปจนถึงเดือน 6 (เดือน 3 ใต้ ) ตอจากนั้นกลอยก็จะเฉา ขืนกินนอกจากฤดู ดังกล่าวก็จะเกิดอาการเบื่อเมา ซึ่งก็ตุนแรงพอดู และหากเกิดอาการดังกล่าวนี้ ท่านว่าให้กินน้ำผึ้งน้ำอ้อยหรือน้ำตาลให้มาก ๆ จะทำให้เกิดอาเจียนและหายเบื่อเมาได้ แต้ถ้าท่านไม่อยากเสี่ยง หากจะกินกลอยโดยไม่เกิดอาการเบื่อเมาแน่นอน ท่านก็ว่าหากนึ่งสุกแล้ว ทอลองให้สุนัขกินก่อนหากสุนัขกินหรือไม่กิน ก็เป็นกลอยที่ท่านจะกินหรือกินไม่ได้เช่นกัน

    กลอยในฤดูปกติจะไม่มีพิษ และไม่แสลงโรค แต่ถ้าเริ่มกินในระยะ 3 - 4 วันแรก จะมีอาการอ่อนเพลียบ้างแต่หลังจากนั้นร่างกายก็จะปรับตัวแข็งแรงขึ้นเหมือนกินข้าวแต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือคนกินกลอยโดยทั่วไปมักใจคอหงุดหงิด โกรธง่าย ใครพูดผิดหูไม่ค่อยได้ และมักไม่กลัวใครเห็นจะเป็นเพราะอานุภาพของกลอย ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกว่านชนิดหนึ่งด้วยกลอยกินเปลืองกว่าข้าวโดยเทียบอัตรา ข้าวนึ่งหนึ่งไหครอบครัวหนึ่งกินอิ่มแต่ถ้ากินกลอยจะต้องนึ่งถึงสองไหจึงจะอิ่มพอ และลักษณะคนกินกลอยที่เหมือนกันเมื่อกินนาน ๆ คือท้องใหญ่แต่ไม่อ้วน

    วันกำเนิด
    ในวันจันทร์ เดือน 7 เหนือ ปีกัดเป้า (ปีฉลู) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนเมษายน 2443 อันเป็นวันมหาสงกรานต์ คำเมืองเรียกว่าวันปากปีครอบครัวของ นายเม่านางจันตา ก็มีโอกาสต้อนรับชีวิตเล็ก ๆ ชีวิตหนึ่งซึ่งลือตาขึ้นมาดูโลกในวันนี้ นับเป็นสายเลือดและพยานรักคนแรกและคนเดียวของพ่อเม่าแม่จันตาเพื่อให้เป็นมงคลตามวัน ทั้งสองจึงตั้งชื่อทารกน้อยนั้นว่า "จำปี"

    ชีวิตวัยเยาว์
    ดังกล่าวแล้วว่า ครอบครัวท่านเป็นครอบครัวชาวบ้านป่าค่อนข้างยากจน อาหารการกินจึงขาดแคลน มีแต่ผักกับกลอยเป็นอาหารหลัก เด็กชายจำปี จึงมีร่างกายบอบบาง พุงค่อนข้างป่องเพราะโรคขาดอาหาร จึงมักเจ็บออดแอด แต่ก็ไม่ร้ายแรงนัก "จำปี" มีแววฉลาดแต่ยามเล็ก ๆว่านอนสอนงาย และเรียนรู้ประสบการณ์จากป่า ความสงบของธรรมชาติมาตลอดชีวิต แม้จะยากจนแสนเข็ญ ครอบครัวนี้ก็ยังคงมีความสงบสุข ยิ่งมีลูกน้อยเป็นสื่อสายใจ พ่อเม่า แม่จันตา ก็ยิ่งมุมานะทำงาน เพื่อสร้างอนาคตให้เด็กน้อยจำปีขึ้นอีกเท่าตัว เด็กชายจำปี คงไม่เข้าใจการต่อสู้ของพ่อแม่นัก คงยังมีความร่าเริงสนุกไปตามประสาเด็ก ๆ และความน่ารักอันไร้เดียงสาของเขามันหมายถึงความรักของพ่อแม่ที่ทุ่มเทให้ลูกน้อยจนสุดหัวใจ แม้ทั้งสองร่างกายจะเปื้อนเหงื่อกว่าชีวิตประจำวันจะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อใกล้ค่ำย่ำสนธยา แต่ใบหน้าไม่เคยว่างรอยยิ้มอย่างเป็นสุข เมื่อเห็นลูกน้อยโผผวาเข้าหาอ้อมกอด นี้คือความรักของพ่อแม่ทุกคนในโลกที่มีต่อลูกน้อย

    การพลัดพรากที่ยิ่งใหญ่

    พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่าโลกนี้เป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยงแท้เป็นเครื่องกัดกร่อน ชีวิตมนุษย์ที่อุบัติขึ้นมาหาจุดหมายที่แท้จริงไม่ได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สุขกับโศกมักจะเป็นเครื่องล้อเล่นให้ได้พบเสมอพบกันเพื่อจะจากกันในที่สุด เป็นยอยู่เช่นนี้เหมือนกันทั้งโลก ครอบครัวของหนุ่มเม่าก็เช่นกันจากกัน จากความกรากกรำในงานไร่ และต่อสู้เพื่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ตนรับผิดชอบทำให้เขาล้มเจ็บลง มันเป็นไข้ป่าที่ร้ายแรงซึ่งหลายคนเสี่ยงเอา หากว่าเป็นแล้วก็พึ่งยากลางบ้านต้มกินกันตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หมอกลางบ้านจะแนะนำให้อยู่หรือตายนั่นแล้วแต่บุญกรรม สำหรับหยูกยาทันสมัยไม่ต้องพูดถึง เพราะไกลความเจริญเหลือเกน พูดง่าย ๆ ว่าจากลี้ไปเชียงใหม่ในสมัยนั้นต้องเดินกันเป็นสิบ ๆ วัน สำหรับพ่อเม่าค่อนข้างโชคร้าย ยากลางบ้านประเภทสมุนไพรสกัดโรคร้ายไม่อยู่ อาการมีแต่ทรงกับทรุด แม่จันตาต้องนั่งเฝ้ามิยอมห*าง ด้วยความเป็นห่วงกังวล โดยมีลูกน้อยนั่งอยู่ด้วยนัยตาปริบ ๆ ด้วยคำถามที่ว่า "พ่อเป็นอะไรทำไมจึงไม่ลุกนั่งหอบอ้มลูกเหมือนเก่าก่อน" แม่ก็ได้แต่บอกว่าพ่อไม่สบาย พร้อมกับน้ำตาอาบแก้มกับคำถามสุดท้ายอันไร้เดียงสาของลูก พร้อมกับตั้งความหวังว่าพ่อคงไม่เป็นอะไรมากนักแต่อนิจจา ความตายนั้นไม่คำนึงเวลา และความรู้สึกของมนุษย์เลย แล้ววันนั้นวันที่พ่อเม่าต้องจากทุกคนไปอย่างไม่มีวันกลับมาถึง ท่ามกลางความเศร้าโศกของแม่จันตา และความอาลัยรักของเพื่อนบ้าน พ่อเม่าทิ้งซากที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่บนที่นอนเก่า ๆ ให้แม่จันตาได้ร่ำไห้กอดรัดปิ่มว่าจะขาด ใจตามไปด้วย เด็กชายจำปียังไร้เดียงสาเกินไปนักที่จะเข้าใจว่าความตายคืออะไรด้วยวัยเพียง 4 ขวบ ก็ได้แต่พร่ำถามว่าแม่ร้องไหทำไม? พ่อเกลียดแม่หรือ? ทำไมพ่อจึงไม่พูด? ทุกคนที่เฝ้าดูอยู่จึงได้แต่เบือนหน้าหนีด้วยความสงสาร สะเทือนใจความพลัดพรากจากของรัก คนรักนับว่าเป็นความเจ็บปวดรวดร้าวใจอย่างนี้เอง

    แสงทอง - แสงธรรม
    นับจากพ่อเม่าจากไปแล้ว ก็เหลือแต่สองแม่ ลูกกัดฟันต่อสู้ ชีวิตท่ามกลางบ้านน้อยในห้อมแหนของดงดิบจึงขาดความอบอุ่นอย่างสิ้นเชิงเมื่อความทมึนของราตีมาถึง หลายครั้งที่สองแม่ลูกผวาเข้ากอดกันด้วยใจระทึก เมื่อเสียงนกกลางคืนที่กรีดร้อง เหมือนเสียงสาบแช่งของภูติผี นี่หากพ่อเม่ายังอยู่พ่อก็คงเป็นที่พึ่งปลอบขวัญเหมือนมีกำแพงเพชรคอยกางกั้น เมื่อขาดพ่อโลกนี้เหมือนโลกร้างมีแต่เพียง "จำปี" กับแม่เพียงสองคนและมาถึงคงคณะนี้ "จำปี" เริ่มเติมใหญ่ แม้ร่างจะเล็กแต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมก็หล่อหลอมหัวใจเด็กชายจำปีให้แกร่งดังเพชรและนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นนไหวต่ออุปสรรคเป็นนักสู้ชีวิตที่เข้มแข็งใจกาลต่อมา เด็กชายจำปีกับแม่ช่วยกันต่อสู้ในการดำรงชีพอย่างทรหด จวบจนอายุ 16 ปี แม้จะเป็นวัยรุ่นแต่ความคับแค้นที่ผจญอยู่แทบทุกวันทำให้ "จำปี"ไม่ร่าเริงเหมือนเด็กทั่วไปกลับเป็นอันสงบเสงี่ยมเจียมตัวชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ และความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว

    ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย
    สมัยนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังอยู่ที่วัดบ้านปาง วันหนึ่ง แม่จึงเรียกเจ้าจำปีเข้ามาถาม "ลูกอยากบวชไหม" จำปีตอบว่าอยากบวช แต่ยังห่วงแม่เมื่อลูกบวชแล้วใครดูแล" แม่ตาตอบว่า "อยู่ได้อย่างห่วงเลยอีกประการหนึ่งการบวชนี้เป็นการช่วยพ่อแม่ที่ดีที่สุด เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง เมื่อเห็นลูกนุ้งเหลือง ก็นับว่าเป็นความสุขชื่นใจอย่างเหลือเกิน" และจากคำแนะนำนี้ เด็กชายจำปีจึงถูกแม่พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย และในทันที่นำไปฝากเพียงท่านครูบาเห็นลักษณะเด็กขายจำปีท่านก็รับไว้ทันที่เหมือนดั่งจะมีตาทิพย์มองเห็นว่าเด็กคนนี้ในอนาคตจะต้องยิ่งใหญ่ ในฐานะนักบุญแทนท่านและอีกไม่นานหลังจากร่ำเรียนสวดมนต์ อ่านเขียนอักขระทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองจบแล้วท่านครูบาศรีวิชัย จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร

    สามเณร "ศรีวิชัย"

    ระหว่างเป็นสามาเณรท่านได้ปฏิบัติกิจอันจะพึงมีต่ออาจารย์คือครูบาศรีวิชัยอย่างครบถ้วนท่านจึงเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งชื่อให้เหมือนกับอาจารย์ สามเณรศรีวิชัย สามเณรน้อยได้เฝ้าอุปัฎฐากอาจารย์และร่ำเรียนกัมมัฎฐานและอักษรสัมยจนจบถ้วนด้วยควมสนในพร้อมกับปฏิบัติตามที่พร่ำสอนจนดวงจิตสงบพร้อมกันนั้นบการถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์ จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ครูบาศรีวิชัยไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่งมิได้ขาด ในด้านสถาปัตย์ ท่านจึงนับว่าเป็นหนึ่ง ท่านชำนาญจนถึงขนาดว่าเพียงดินผ่านเสาได้ต้นไหนก็ สามารถรู้ได้ทันที่ว่าเสาต้นไหนกลวงหรือตันทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเสาต้นนั้นจะมีรอยกลวงให้ปรากฏแก่สายตา

    ครูบาเจ้าศรีวิชัยอุปสมบทให้
    ท่านดำเนินชีวิตทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และด้านพัฒนาก่อสร้างควบคู่กันไป จวบจนอายุได้ 22 ปี เป็นสามเณรได้ 6 ท่านครูบาศรีวิชัยจงอุปสมบทให้ แต่เพราะเหตุที่ท่านมีชื่อเหมือนกับอาจารย์เมื่อเป็นภิกษุอาจารย์จึงได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า "อภิชัยขาวปี" ท่านอุปสมบทได้เพียง 2 พรรษา ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ เพื่อที่จะแยกไปมุ่งงานก่อสร้างต่อไป ซึ่งงานก่อสร้างโดยตัวของท่านนั้นจะได้เรียบเรียงตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงงานชิ้นสุดท้ายอึกต่างหากในท้ายเล่ม
    ผจญมาร
    พระอภิชัย เริ่มงานก่อสร้างในสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 24 จนถึงอายุ 35 ลางร้ายก็เริ่มอุบัติ สมัยนั้นใช้เงินตราปราสาททองตรารูปช้างสามหัว และเริ่มมีธนบัตรใช้ควบคู่กันไป ขณะที่กำลังก่อสร้างกุฏิวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน แต่ยังไม่ทันเสร็จปลัดอำเภอลี้สมัยนั้นก็มาสอบถามถึงใบกองเกินการเกณฑ์ทหารจากท่านแต่ท่านไม่มี ตำรวจจึงคุมตัวไปจังหวัดลำพูนและส่งตัวฟ้องศาล เมื่อถูกศาลไต่สวนถึงใบกองเกินว่าทำใมถึงไม่ได้รับทานก็ในการว่าคณะที่เริ่มมีการเกณฑทหารนั้นได้ระบุว่าให้ขึ้นทะเบียนตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ขณะนั้นอายุอาตมาได้ 25 ปี บัดนี้อายุของอาตมาได้ 35 ปีแล้ว จึงนับว่าพ้นการเกณฑ์แล้ว ศาลจึงพักเรื่องนี้ไว้ก่อน
    ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งแรก

    หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านก็ต้องขึ้นศาลอีก และให้ท่านรับใบกองแต่ท่านก็ไม่ได้ไปแจ้งแก่ทางการให้มีการยกเว้นหรืออย่างไร ฉะนั้นท่านจึงมีความผิดให้จำคุก 6 เดือน แล้วให้จัดการสึกท่านออกจากการเป็นพระภิกษุก่อนแต่ท่านก็ยังยืนยันว่าท่านบริสุทธิ์ ท่านเป็นพระทั้งกายและใจ ชีวิตนี้อุทิศให้กับศาสนาแล้ว ทานไม่ยอมเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายของท่านด้วยมือของตัวเองเป็นอันขาด เมื่อยีนยันอย่างนี้ ศาลจึงให้ตำรวจคุมตัวท่านไปหาเจ้าคณะจังหวัดให้จัดการสึกตามระเบียบ แม้การะนั้นท่านก็ยังยืนยันอย่างเด็ดเดียว ที่จะไม่ยอมสึกและเมื่ออภิชัยภิกษุไม่ยอมสึก เจ้าคณะจังหวัดจึงต้องบังคับ โดยให้ตำรวจจับเปลื้องผ้าเหลืองออกจากตัวท่าน จากนั้นก็ตามระเบียบเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจล้นเหลือในสมัยนั้น ก็สวมกุญแจมือท่าน แล้วคุมตัวไปโรงพักเสียคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ก็ถูกส่งเข้าจองจำในเรือนจำของจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นต่อไปซึ่งในนั้นท่านต้องได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส ท่านเล่าถึงชีวิตในคุกตอนนั้นว่าคุกในสมัยนั้นสุดแสนสกปรกยังเป็นคุกไม้พื้นปูกระดาน เวลานอนก็นอนทั้ง ๆ ที่ล่ามโซ่ โดยสอดร้อยกับนักโทษคนอื่น คือข้อเท้าทั้งสองล่ามโซ่ตรวนมีโซ่เส้นใหญ่ สอดร้อยลอดตะขอพ่วงกับนักโทษคนอื่นอีกที เรื่องจะนอนหลับสบายนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะพอล้มตัวนอน ฝูงเลือดนับเป็นร้อย ๆ ตัวอ้วนปี๋เป็นต้องรุมกัดดูดเลือดกิน ให้ยุบยิบไปหมดจะถ่ายหนักถ่ายเบาก็ว่ากันตรงช่องกระดานตรงที่ใครที่มัน เรื่องกลิ่นเหม็นไม่ต้องห่วงคลุ้งไปหมดตลบอบอวลทั้งเรือนจำที่เดียว ชีวิตประจำวันในห้องขังก็คือ พอ 7 โมงเช้าเปิดประตูห้องขังทำงานไม่ทันใจ ถึงเวลา 8 นาฬิกา ผู้คุมเป่านกหวีดเลิกงานทานข้าว ซึ่งข้าวนี่ก็อย่าหวังว่าจะกินให้อิ่มหมีพีมัน และเอร็ดอร่อยไม่มีทาง ข้าวกระติกเล็ก ๆ แกงด้วยหนึ่ง ต้องกินถึง 4 คนพอหรือไม่พอกินก็มีให้เท่านั้น ซึ่งแน่ละเวลากินก็ใช้ความว่องไว ขืนมัวทำสำอางค์ ค่อยเป็นค่อยกินเป็นต้องอด คนอื่นที่เขาไวกินเรียบหมด และกับข้าวแต่ละวันนั้นเลือกไม่ได้ จะมีจำพวกผักเสียแหละเป็นส่วนมาก เช่น ยอดฝักทอง ผักตำลึงเป็นต้น แกงใส่ปลาร้า ค้างปี เหม็นหืน หาความอร่อยไม่มีเลย ถ้าเทให้หมูกินยังสงสัยอยู่ว่ามันจะกินหรือไม่หรือไม่ ข้าวนึ่งที่ใช้รับประทานก็เป็นข้าวเก่าแข็งเหมือนกินก้อนกรวด เป็นข้าวแดงใช้แรงนักโทษนั่นเองช่วยกันตำ จึงดีอยู่หน่อยที่มีวิตามิน กินแล้วแรงดี

    สร้างโรงพยาบาล

    ่ท่านอภิชัยขาวปีทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกไม่นาน ก็ได้ไปเห็นโรงพยาบาลจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นชำรุดทรุดโทรมเหลือเกิน ท่านจึงแจ้งให้กับผู้บัญชาการเรือนจำก็ไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ๆ ก็กลัวว่าจะสร้างไม่ทันเสร็จ เพราะท่านอภิชัยขาวปีติดคุกอยู่แค่ 6 เดือนเท่านั้น จึงไม่อนุญาต ท่านจึงถามว่า "ถ้าสร้างเหมาโรงพยาบาลนี้จะใช้งบประมาณเท่าไร อนึ่งถ้าสร้างภายใน 6 เดือนไม่เสร็จ เมื่อถึงคราวฉลองเมื่อไรก็จะร่วม" ทางจังหวัดก็บอกว่าถ้าไม่มีเงินถึง 1,600 ก็สร้างได้ (ในสมัยนั้นมีค่ามาก) ่ท่านจึงออกเงินส่วนตัวมอบให้ทางจังหวัดเพื่อเป็นทุนสร้างโรงพยาบาลต่อไป เป็นจำนวนเงิน 1,600 บาท ซึ่งหลังจากได้รับทุนแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างทันทีและผลแห่งความดีนั้นทางจังหวัดก็ส่งให้ทางเรือนจำ ให้ไปพำนักอยู่โรงพยาบาลหลังเก่า เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานสร้างโรงพยาบาลพร้อมกันนั้นก็ให้นักโทษชาย 2 คน มาอยู่ด้วยเพื่อปรนนิบัติ ทั้งอาหารกรกินก็ถูกกำชับให้ทำอย่างดีและสะอาดเป็นพิเศษกว่านักโทษทั้งหลาย ท่านก็เลยพ้นจากการทรมานเพราะถูกเลือดยุงกัด นับจากนั้นมา การก่อสร้างก็รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากบรรดาประชาชนทั้งหลายที่เลื่อมใสในตัวท่าน เมื่อทราบข่าวว่าท่านมาเป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาล ก็พากันมาช่วยและทำบุญด้วยอย่างคับคั่งและเงินที่ได้จากการบริจาคครั้งนั้นยังได้ถึง 2,000 พันกว่าบาท เกินกว่าที่กำหนดไว้ถึงสีร้อยบาท

    วันพ้นโทษ

    ครั้นถึงเดือน 9 เหนือ แรม 2 ค่ำ ก็เป็นวันที่ท่านพ้นโทษตามคำพิพากษาครบ 6 เดือนและโรงพยาบาลก็แล้วเสร็จก่อนถึง 10 วัน ในวันที่จะออกจากคุกนั้น ท่านก็ได้ให้ทานแก่พวกนักโทษทั้งหลายเป็นขนมส้มหวานทั้งอาหารทั้งหลายอย่างเหลือเฟือ จนพวกเขาอิ่มหมีพีมันไปตามๆ กันเพราะเมื่อถึงตอนที่ท่านยังถูกจองจำอยู่ในคุกนั้นระยะหลังพวกนักโทษทั้งหลายก็อยู่กินสบายจากของไทยท่านที่ประชาชนผู้เลื่อมใสมาถวายถึงในคุกเป็นประจำทุกวันอย่างมากมาย รวมความว่าผู้เกี่ยวข้องอู่ในเรือนจำทั้งหมดล้วนแล้แต่ได้รับความสบายในด้านอาหารการกินไปตาม ๆ กัน ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดพ้นโทษวันนั้น นักโทษทั้งหลายต่างพากันปริเวทนา บ่นพร่ำว่า เมื่อท่านอออภิชัยขาวปีพ้นโทษไปแล้วพวกเราทั้งหลายยังจะได้อยู่กินอิ่มอย่างนี้อีกหรือแล้วพากันร่ำไห้ ด้วยความอาลัยรักในตัวท่านเสียงระงมเป็นภาพที่สะเทือนใจยิ่งนัก แม้ตัวท่านเองก็แทบกลั้นน้ำไว้ไม่อยู่ พวกเขาพากันมารอที่ประตูคุกเป็นการส่งทางด้วยใบหน้าที่นองไปด้วยน้ำตา และจากปากประตูคุกจนถึงวัดพระธาตุหริภุญชัยมีประมาณระยะทาง 70 วา ก็มีประชาชนมายืนเรียงรายถวายทานกันท่าน ซึ่งก็ได้เป็นเงินถึง 300 บาท พอดีกับเงินที่ซื้อของถวายทานให้แก่นักโทษ เหมือนกับเป็นการยืนยันว่า การทำบุญสนทานนั้นไม่หายไปไหน เมื่อท่านเดินทางไปถึงประตูวัดพระธาตุหริภุญชัย ก็มีพระสงฆ์ 10 รูป มาสวดมนต์เป็นการลดเคราะห์สะเดาะภัยให้ แล้วให้ศีลให้พรให้อยู่ดีมีสุขสืบไป จากนั้นพอถึงเดือน 9 เหนือ แรม 4 ่ค่ำก็ร่วมฉลองโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน

    อุปสมบทครั้งที่ 2
    ในวันที่แล้วเสร็จงานฉลองสมโภชท่านก็เดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ทีวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในครานั้นท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทท่านเป็นภิกษุอีก โดยมีครูบาแห่งวัดนั้นตาเป็นอุปัชฌาย์หลังจากได้กลับมา สู่รมกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านอยู่จำพรรษากับครูบาศรีวิชัยได้ 1 พรรษา ก็ลาอาจารย์จาริกสร้างสถานที่ต่าง ๆต่อไปอีกหลายแห่งทั้งวัดและโรงเรียน และในคราวสร้าง พระเจดีย์ที่บ้านนาหลวง อำเภอตากจังหวัดตากเสร็จแล้วทานก็มุ่งสูแม่สอดโดยเดินทางรอนแรมไปตามป่าเขาลำเนาไพรถึง 4 คืน 4 วันจึงถึงแม่ระมาดและเริ่มงานสร้างถาวรวัตถุอีกมากมาย จากอายุ 36 ถึง 42 ปี

    ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งที่ 2

    ที่แม่ระมาดนี่เอง ก็มีเรื่องน่าเศร้าใจเกิดขึ้นอีกกล่าวคือ เมื่อสร้างโบสถ์แม่ระมาดนั้นเงินไม่พอ ยังขาดอยู่อีก 700 บาท เป็นค่าทองคำเปลว 400 บาท กับค่านวยช่างอีก 300 บาท ท่านก็ปรึกษาเรี่ยไรเอาจากชาวบ้าจนครบด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน แล้วช่วยกันสร้างต่อ จนแล้วเสร็จทันฉลองจนเรื่องการเรี่ยไรนี้ทราบถึงอำเภอ จึงเรียกกำนันไปสอบสวนวา อภิชัยภิกษุ เรี่ยไรจริงหรือไม่ กำนั้นก็รับว่าจริงแต่ด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นงานสร้างโบสถ์ก็หยุดชะงักทางอำเภอก็ว่าเต็มใจหรือไม่ก็ผิดเพราะเป็นพระเป็นเจ้าจะทำการเรี่ยไรไม่ได้ผิดระเบียบคณะสงฆ์ แล้วรายงานเรื่องนี้ไปยังเจ้าคณะจังหวัดต่างๆ จึงตัดสินว่าให้สึกพระอภิชัยเสียท่านจึงจำยอมสึกจากภาวะความเป็นภิกษุอีกครั้งท่ามกลางความสลดหดหู่ของผู้คนที่รู้เป็นเป็นอันมากที่ท่านครธบาของพวกเขาต้องมารับกรรมเพราะทำความดี อย่างไม่ยุติธรรม ทานต้องนุ่งห่มแบบชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง ี่ให้ต้นประดู่แห้งที่ยืนต้นตายซากมานานเป็นแรมปี ณ ที่นี้เองมีเรื่องที่น่าอัศจรรย์สมวรจะบันทึกไว้คือพอท่านเปลี่ยนผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายมาครองผ้าขาวเท่านั้น ต้นประดู่ที่แห้งโกร๋นปราศจากใบก็ผลิตดอกออกใบฟื้นเป็นขึ้นมาอีก ท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของบรรดาประชาชนที่ร่วมขุมนุมอยู่เป็นอันมาก ต่างพากันหลั่งน้ำตา ล้มตัวก้มลงกราบโดยพร้อมเพรียงกันนับเป็นปรากฏการณ์ที่จะไม่เห็นอีกในชีวิต

    มารตามรังควาน

    ไม่นานจากนั้น ท่านพร้อมกับผู้ติดตาม ก็มุ่งกลับสู่อำเภอลี้ โดยรอนแรมมาเป็นระยะเวลา 10 วัน 10 คืน ก็เดินทางมาถึงอ.ลี้ พักอยู่ที่กลางทุ่งนาบ้านป่าหก ได้ 4 คืน นายอำเภอลี้ จึงให้ตำรวจมาขับไล่ไม่ให้อยู่โดยไม่มีเหตุผล ด้วยความใจดำเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงมาพักอยู่กลางทุ่งนาบ้านแม่ตืน ณ ที่นี้ก็ถูกทางอำเภอกลั้นแกล้งอีก โดยรายงานไปทางจังหวัดว่าชีประขาวปีนำปืนเถื่อนมาจากแม่สอดมาถึง 1,000 กระบอก หลังจากรับรายงานจึงมีบัญชาให้นายร้อยตำรวจ 2 คนกับพระครู 2 รูป ขึ้นมาทำการตรวจค้นไต่สวน ท่านว่า "ไม่เป็นความจริงหรอก อาตมาเดินทางผ่านมาตั้ง 2 จังหวัดแล้ว ยังไม่เห็นมีใคร กล่าวหาเช่นนี้เลยถ้าท่านไม่เชื่อก็เชิญค้นดูเองเถิด" ตำรวจทั้งสองก็ค้นสัมภาระของคณะติดตามดูก็พบปีนแก๊ป 1 กระบอก แต่ปรากฏว่าเป็นปืนมีทะเบียนของชาวบ้านผู้ติดตามคนหนึ่งจึงไม่ว่าอะไร จากนั้นก็ไปค้นจนทั่วลามปามเข้าค้นถึงในวัดแม่ตืนจนพระณรแตกตื่นเป็นโกลาหล แต่ก็ไม่พบ อะไรอีกจึงพากันเดินทางกลับด้วยความผิดหวังก่อนกลับก็ไปต่อว่าต่อขานทางอำเภอลี้เสียจนหน้าม้านหาวาหลอกให้เดินทางมาเสียเวลาเปล่า เหนื่อยแทบตาย (เพราะสมัยนั้นไม่มีรถยนต์แม้แต่คันเดียว) ทางนายอำเภอจึงจำเป็นต้องออกค่าเดินทาง พร้อมสะเบียงอาหารให้คณะนายตำรวจ ดังกล่าวเดินทางกลับ เสร็จจากเรื่องที่กล่าวหานั้นแล้วทานพร้อมกับคณะก็เดินทางจากแม่ตืนไปหาท่านครูบาเจ้าศรีชัย ที่วัดพระนอนปูคา บ้านแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ ระหว่างทางพักที่วัดห้วยกานคืนหนึ่ง เมื่อเข้าเขตกิ่งบ้าโฮ่ง ชาวบ้านก็พาตำรวจมาดักจับอีกด้วยข้อหาอำไรไม่แจ้ง แต่ตำรวจก็จับไม่ไหวเพราะคนตั้งมากมาย ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรจึงล่าถอยไป ท่านจึงไปพักที่วัดดงฤาษีคืนหนึ่ง แล้วมุ่งไปทางบ้านหนองล่อง ณ ที่นี้ก็ถูกคณะข้าหลวงดักจับอีก แต่ก็จับไม่ไหวอีกเช่นกัน

    ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มาขอพบ
    เมื่อถึงวัดท่าลี่ คณะที่พักอยู่ที่ศาลา ในตอนเย็น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จึงเข้าไปสอบถาม

    ผู้ว่าฯ "ทานอยู่บ้านใด เกิดที่ไหน"

    ครูบาฯ "เดิมอาตมาอยู่บ้านแม่เทย อ.ลี้ ลำพูนนี่เอง"

    ผู้ว่าฯ "อ้อท่านก็เป็นคนเมืองเราเหมือนกัน ก่อนมาถึงที่นี่ท่านไปไหนมา"

    ครูบาฯ "อาตมามาจากพม่า"

    ผู้ว่าฯ "ไปอยู่นานไหมๆ"

    ครูบาฯ "5ปีแล้ว"

    ผู้ว่าฯ "อือม์ ก็ไม่เห็นมีเรื่องอะไรดังเขาเล่าลือ แต่ก็มีอีกอย่างของให้ท่านเสียค่าประถมศึกษา 8 บาท ให้กับทางอำเภอเสีย ตามระเบียบที่ทางการกำหนดไว้ หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไร"

    ขณะนั้นกำนันกับชาวบ้านที่ร่วมชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นได้ยินจึงช่วยกันบริจาคให้ท่าน ได้เงิน 15 บาท ทานจึงมอบให้กับนายตำรวจคนหนึ่งที่มากับผู้ว่าฯไป แต่ก็นับว่าเป็นคราวเคราะห์ของตำรวจคนนั้น ซึ่งพอรับเงินไปได้สักครู่ก็ไปทำหานเสีย จึงต้องควักกระเป๋าตัวเงินจ่ายแทนไปตามระเบียบ

    หลังจากที่พักที่ท่าลี่คืนหนึ่งแล้ว ท่านพร้อมคณะก็ขนของข้ามแม่น้ำปิงไปขึ้นรถ ไปจนถึงวัดพระนอนปูคาแล้วอยู่ร่วมฉลองวิหารพระนอนปูคา ร่วมกับท่านครูบาศรีวิชัยจนแล้วเสร็จ แล้วก็กลับมาหมายจะมาจำพรรษที่วัดแม่ตืน อ.ลี้อีก แต่นายอำเภอจอมเห*้ยม ก็สั่งกำนันมาไล่ไม่ให้อยู่เป็นอันขาด ท่านจึงสุดแสนที่อัดอั้นตันใจและรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่ถูกจองล้างจองผลาญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    สร้างวัดพระบาทตะเมาะ
    ก็พอดีท่านคิดได้ว่ามีญาติทางพ่อของท่านเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลดอยเต่า จึงให้คนไปบอกให้มาพบท่าน เมื่อกำนันมาถึงแล้วท่านก็ถามว่า "อาตมาจะไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะได้หรือไม่" กำนันดอยเต่าจึงไปปรึกษากับทางอำเภอ ๆ จึงบอกว่า ดีแล้ว ให้ไปบอกท่านให้มาอยู่เร็วๆ เถิด ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ไปอยู่พระบาทตะเมาะ โดยสร้างอารามขึ้นที่นั้นด้วยความร่วมมือทั้งฝ่ายนายอำเภอและป่าไม้อำเภอไปจองที่กว้าง 500 วา ยาว 500 วา และที่พระบาทะเมาะนี้เองท่านได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทหนึ่งหลังมีเจดีย์ตั้งอยู่บนวิหารถึง 9 ยอด นับเป็นศิลปะที่งดงาม ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งท่านจะไปเที่ยวชมได้นับเป็นวิเวกสถานที่เหมาะกับผู้ใฝ่หาความสงบที่เหมาะมากอีกแห่งหนึ่ง

    ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

    แต่ด้วยวิญญาณของนักพัฒนาท่านก็อยู่จำพรรษาที่พระบามตะเมาะไม่นาน ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยกำลังสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เชียงใหม่อยู่ท่านจึงพากะเหรี่ยง 500 คน ขึ้นไปช่วยทำถนนขึ้นดอยสุเทพร่วมกับอาจารย์จนแล้วเสร็จ จึงกลับลงมาพักกับอาจารย์ที่วัดพระสิงห์

    อุปสมบทครั้งที่ 3
    ที่วัดพระสิงห์นี้ ท่านครูบาศรีวิชัยก็อุปสมบทให้ท่านเป็นภิกษุอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าท่านไม่มีบุญพอที่จะอยู่ในผ้าเหลืองได้นาน ๆ ก็พอท่านครูบาศรีวิชัย ก็ต้องเกิดคดีต่าง ๆ นานา ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ คงทิ้งให้ท่านอยู่รักษาวัดพระสิงห์แต่เพียงผู้เดียว

    ครองผ้าขาวครั้งที่ 3

    ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงในตัวอาจารย์ของท่านยิ่งนัก แล้วก็มีมารมาผจญอีกจนได้เมื่อ มหาสุดใจ วัดเกตุการามกับท่านพระครูวัดพันอ้นรูปหนึ่งมาหลอกว่าให้ท่านสึกเสีย เพราะมิฉะนั้นท่านจะเอาครูบาศรีวิชัยจำคุก ท่านจึงสึกเป็นชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งสุดท้ายแล้วออกจากวัดพระสิงห์กลับไปพักที่วัดบ้านปางด้วยความเหงาใจ แต่ท่านก็ไม่ละทิ้งงานก่อสร้าง จึงได้สร้างกุฏิที่วัดบ้านปางอีก 1 หลัง แล้วกลับไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะตามเดิม


    สูญเสียอาจารย์

    ชีวิตท่านช่วงนี้ คงมุ่งอยู่กับงานก่อสร้างไม่หยุดหย่อน จากที่นี่ย้ายไปที่นั่นไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งครูบาศรีวิชัยพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวหาท่ามกลางความดีใจของสาธุชนทั้งหลาย แต่ความดีใจนั้นคงมีอยู่ได้ไม่นานท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้อาพาธหนัก แล้วถึงแก่มรณภาพลงในที่สุด ยังความโศกาอาดูรให้เกิดแก่มหาชนผู้เลื่อมใสโดยทั่วไป ลานนาไทยได้สูญเสียนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ หากจะเอาเสียงร้ำไห้มารวมกันแล้วใช้เสียงแห่งความวิปโยคนี้คงได้ยินไปถึงสวรรค์ท่านเองในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ก็มีความเศร้าโศกเสียใจมิใช่น้อยแต่ก็ปลงได้ด้วยธรรมสังเวชโดยอารมณ์กัมมัฏฐาน แล้วทำทุกอย่างในฐานะศิษย์จะพึงมีต่ออาจารย์ด้วยกตเวทิตาธรรม ท่านจึงสร้างเมรุหลังหนึ่งกับปราสาทหลังหนึ่งพร้อมห*บบรรจุศพ เพื่อเก็บไว้รอการฌาปนกิจต่อไปที่วัดบ้านปางซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพท่านครูบาศรีวิชัยอีกไม่กี่ปีต่อมาหลังจากมรณภาพไม่นาน
    สร้างวัดผาหนาม ที่พำนักในปัจฉิมวัย
    วัดคืนยังคงหมุนไป พร้อมกับความเป็นนักก่อสร้างนักพัฒนาของท่านก็ยิ่งลือกระฉ่อนยิ่งขึ้น เมื่อขาดท่านครูบาศรีวิชัยผู้คนก็หลั่งไหลกันมาหาท่านอย่างมือฟ้ามัวเดินในฐานะทายาททางธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัยผลงานระยะต่อมาเมื่อได้รับพลังอย่างท่วมท้นขึ้น จึงยิ่งใหญ่เป็นลำดับ และกว้างขวางหากำหนดมิได้โดยไม่เคยว่างเว้น จนถึงพุทธศักราช 2470 อายุสังขารของท่านเริ่มชราลงแล้วคือมีอายุ 76 ปี แต่ท่านยังคงแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ อาจจะด้วยอำนาจผลบุญที่ได้บำเพ็ญมาก็ได้ จึงสมควรจะสร้างสถานที่สักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมในปัจฉิมวัย ก็พอดีชาวบ้านผาหนามซึ่งอพยพจาก อ.ฮอด หนีภัยน้ำท่วมมาอยู่ที่บ้านผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพ่อน้อยฝน ตุ่นวงศ์ เป็นประธาน พร้อมกับชาวบ้านได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างอารามใกล้เชิงดอยผาหนาม เพื่อเป็นที่พึ่งกายใจและประกอบศาสนกิจ ท่านก็รับนิมนต์ พร้อมกับชอบใจสถานที่ดังกล่าวและ ตั้งใจว่าจะเป็นสถานที่สุดท้ายเพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติธรรมของท่านจึงพร้อมใจกับคณะศรัทธาบ้านผาหนามและศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศก่อสร้างเป็นอารามขึ้นจากนั้นจนมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมายและท่านถือที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้มีได้หมายความว่าท่านจะงดมิไปสร้าง หรือพัฒนาที่อื่นอีก แต่ยังคงไปเป็นประธานสร้างสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่กับงานสร้างวัดผาหนามอีกตั้งหลาย ๆ แห่ง
    แล้วในปี 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งฮ่าม แห่งจังหวัดลำปาง ก็ได้มานิมนต์ท่าน เพื่อไปเป็นประธานในการก่อสร้างอีก ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้องด้วยความเมตตาอันมีอยู่อย่างหาขอบเขตไม่ได้ของท่าน แม้ตอนนั้นท่านจะชราภาพมากแล้ว คือมีอายุถึง 83 ปี ก็ตาม ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวของท่านว่าท่านเหนื่อยอ่อนแค่ไหน แต่ด้วยใจที่แกร่งเหมือนเพชรท่านคงไม่ปริปากบ่นเป็นประธานให้ที่วัดสันทุ่งฮ่ามไม่นานคณะศรัทธาจากวัดท่าต้นธงชัย จ.สุโขทัยก็ได้มานิมนต์ท่านอีก เพื่อเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร

    วันนั้นเป็นวันที่ 2 มีนาคม 2520 ตอนนั้น ท่านเหนื่อยอ่อนมากแล้วท่านได้บอกผู้ใกล้ชิดว่าท่านอยากกลับอารามผาหนาม เหมือนดั่งจะรู้ตัวของท่านว่าไม่มีเวลาในการโปรดที่ไหนอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีใครล่วงรู้ถึงข้อนี้ก็หาไม่ คงพาท่านมุ่งสู่สุโขทัยอีกต่อไป และเมื่อถึงวัดท่าต้นธงชัย ได้เพียงวันเดียว ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งตรงกับเดือน 6 เหนือ แรม 14 ค่ำ เวลา 16.00 น. ท่านได้ได้จากไปอย่างสงบ ข่าวการจากไปของท่านกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ ทุกคนตกตะลึง ต่างพากันช็อคไปชั่วขณะมันเหมือนสายฟ้าที่ฟาดเปรี้ยงลงบนกลางใจของทุกคน ที่เลื่อมใสเคารพรักในตัวท่าน แล้วจากนั้น เสียงร่ำไห้ก็ระงมไปทุกมุมเมืองพวกเขาได้สูญเสียร่มโพธิ์แก้วอันร่มเย็นไพศาลไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ ตั้งแต่นี้จะหาครูบาเจ้าที่มีความเมตตาอันหาของเขตมิได้และยิ่งใหญ่ปานนี้ แต่แรกมีหลายคนไม่เชื่อและตะโกนว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านยังอยู่และจะต้องอยู่ต่อไป ต่อเมื่อได้รับการยืนยันว่าท่านสิ้นแล้ว สิ้นแล้วจริง ๆ ก็ทุ่มตัวลงเกลือกกลิ้งร่ำไห้พิลาปรำพันอย่างน่าเวทนายิ่งนัก โอ้...ท่านผู้เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ป่านนี้ท่านคงเป็นสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ที่สะพรั่งพร้อมด้วยทิพยวิมาณอันเพริดแพร้วใหญ่โดสุดพรรณนาด้วยผลบุญแห่งการบำเพ็ญมาอย่างใหญ่หลวงเหลือคณา คงเหลือแต่ผลงานและประวัติชีวิตอันบริสุทธิ์ทิ้งไว้แด่อนุชน ได้ชื่นชม และเสวยผลเป็นอมตะชั่วกาลปาวสาน


    [​IMG] [​IMG]
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,494
    ค่าพลัง:
    +53,107
    [​IMG] [​IMG]

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือหลวงพ่อรุ่ง ติสสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ พระคณาจารย์นามกระเดื่องแห่งเมื่องสมุทรสาคร มีนามเดิมว่า รุ่ง พ่วงประพันธ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา พุทธศักราช ๒๔๑๖ เป็นบุตรชายคนเดียวของ คุณพ่อพ่วง - คุณแม่กิม นามสกุล พ่วงประพันธ์

    พื้อนเพเป็นชาวกรุงเทพ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดน้อยนพคุณ เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักขรสมัยตามธรรมเนียมขิงสัยนั้น จนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้แคล่วคล่องชำนาญเป็นอย่างดี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดน้อยนพคุณ เมื่อวันที่ ๕ พฤษถาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ โดยมี พระอาจารย์ทิม วัดน้อยนพคุณ เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการบัว วัดใหม่ทองเสน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เคลือบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ติสสโร ภายหลังอุปสมบท ได้เดินทางไปพำนักจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ท่ากระบือและได้พัฒนาจนมีความเเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ เมื่อว่างเว้นจากการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ได้ออกปฏิบัติธรรม แสวงหาครูบาอาจารย์ เพื่อศึกษาด้านพระเวทย์วิทยาคมกับพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ หลายองค์ของยุคนั้น เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่นาค วัดสุนทรสถิตย์ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา หลวงปู่รุณ วัดช้างเผือก หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อหล่ำ วัดอ่างทอง หลวงพ่อเว่ง วัดหงษ์อรุณรัศมี ผลแห่งกรรมบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนาเป็นนิจ ทำให้สมาธิจิตแก่กล้าเข็มขลังอธิษฐานจิตปลุกเสกสิ่งใดจึงก่อเกิดอิทธิปาฏิหารย์ อันยากจะหาคำอรรถาธิบายขยายความ ผนวกกับศิลาจาริยาวัตรของท่านงดงาม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทุกหมู่เหล่า กิจด้านการพระศาสนาของท่านไม่เคยบกพร่องและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยจนเป็นที่ว่างใจแห่งคณะสงฆ์ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ต่างๆ ดังนี้

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รับตราตั้งแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศํกดิ์เป็นพระครูชั้นประทวนที่ พระครูรุ่ง

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนาม พระครูไพโรจน์มันตาคม

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิมคือ พระครูไพโรจน์มันตาคม

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระไพโรจน์วุฒาจารย์

    การสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ เรืองเวทย์พุทธาคมยิ่งองค์หนึ่งของเมืองสมุทรสาคร ท่านได้สร้าง

    วัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอยู่เสมอ เช่น พิธีวัดราชบพิตรปี ๒๔๘๑ ,

    พิธีพระพุทธชินราชอินโดจีน ณ วัดสุทัศน์ , และพิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้น

    ประเภทเครื่องรางของขลัง นับเป็นวัตถุมงคลยุคแรก ๆ ของท่าน และมีการสร้างเรื่อยมากระทั่งท่านมรณภาพ มีหลาย ชนิด เช่น

    ๑. ตะกรุดมีเนื้อ ทองคำ นาก เงิน ทองแดง ตะกั่ว และหนังเสือ

    - ตะกรุดชุด ๙ ดอก

    - ตะกรุดสาริกา

    - ตะกรุดมหาอุด

    - ตะกรุดมหารูด

    - ตะกรุดโทนขนาดใหญ่-เล็ก

    - ตะกรุดสามกษัตริย์

    - ตะกรุดหน้าผากเสือ ,

    ๒. ไม้กระดอนสะท้อนสร้างจากไม้กระท้อนที่มีกาฝากขึ้น

    ๓. แหวนพิรอด , แหวนเนื้อโลหะชนิดต่างๆ

    ๔. เสื้อยันต์ มี ๒ สี สีขาวและสีแดง

    ๕. ผ้ายันต์จันทร์เพ็ญ

    - ผ้ายันต์นางกวัก

    - ผ้ายันต์หนุมานใหญ่-เล็ก

    - ผ้ายันต์ตามราศี (มี ๑๒ ราศี ผืนละราศี)

    - ผ้ายันต์พรหม ๖ หน้า

    - ผ้ายันต์หนุมานเชิญธง

    - ผ้ายันต์ตามวัน (มี ๗ วันผืนละ ๑ วัน)

    ๖. รูปถ่าย

    - รูปถ่ายที่ระลึกคล้ายวันเกิด

    - รูปถ่าย กันผี กันคุณ เมตตา ค้าขาย (มีทั้งนั่งหน้ากุฏิและนั่งหน้าโบสถ์)

    - รูปถ่ายแบบยืน

    - รูปถ่ายหลังสมเด็จวัดท่าพูด

    - รูปถ่าย อายุครบ ๘๔ ปี

    ๗. พระปิดตา

    ๘. พระสมเด็จ

    ๙. ผ้าประเจียด เป็นต้น

    ประเภทพระเครื่องและเหรียญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง ทั้งยังมีสนนราคาแพง และหายากยิ่ง ประกอบด้วย

    ๑. เหรียญสุคโต วัดอ่างทอง สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ จัดสร้างด้วยเนื้อเงินกับเมื้อทองแดงเท่านั้น

    ๒. เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สร้างประมาณ ๗,๐๐๐ เหรียญ แบ่งเป็น

    ๒.๑ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง หน้าหนุ่ม ยันต์ตรง แบ่งออกเป็น ๓ บล็อกคือ บล็อกตาขีด , บล็อกตาเม็ด , บล็อกยันต์ไม่มีไข่ปลา ทั้ง ๓ บล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อ ทองคำ , นาก , เงิน , อัลปาก้า , ทองฝาบาตร , ทองแดง (เนื้อเงินและเนื้อทองแดงมีบางเหรียญมีกะไหล่ทองหรือกะไหล่ไฟ)

    ๒.๒ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง หน้าแก่ยันต์หยิก แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยมไม่มีแตก , บล็อกแตก ทั้ง ๒ บล็อก ปลุกเษกพร้อมกัน มีการสร้างด้วยเนื้อ ทองคำ , นาก , เงิน , ทองแดง

    ๓ เหรียญรุ่นสอง หลวงพ่อรุ่ง(หรือที่เรียกว่าหลังพระพุทธ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนินมมีขีด , และบล็อกไม่มีขีด ทั้ง ๒ บล็อกมีการจัดสร้างด้วยเนื้อ เงิน , ทองแดง

    ๔. เหรียญหล่อสามเหลี่ยมพิมพ์พระพุทธ หลวงพ่อรุ่ง สร้างด้วยเนื้อทองผสม สร้างเมื่อปี พ.ศ ๒๔๙๑

    ๕. เหรียญรุ่นสาม หลวงพ่อรุ่ง พัดยศ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

    ๖. เหรียญเสมาออกวัดสวนส้ม หลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยม ฑ.ศ. บี้ , บล็อกธรรมดา มีแต่เนื้อทองแดงกะไหล่ทองเท่านั้น เหรียญนี้ทันหลวงพ่อรุ่งแน่นอนเพราะพระอาจารย์แกละ เจ้าอาวาสวัดสวนส้มได้สร้างไว้ตั้งแต่ ปี ฑ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วจึงนำมาให้หลวงพ่อรุ่งปลุกเษกก่อนหลวงพ่อรุ่งมาณภาพ

    ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อรุ่ง ทุกชนิดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เฉพาะอย่างยิ่ง เหรียญรุ่นแรก เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาครโดยแท้

    พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ได้ถึงแก่มาณภาพเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๐๑.๕๐ น. รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๖๔ พรรษา และพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
     
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    [​IMG]

    (จากหนังสือประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หน้า 30)
     
  7. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,494
    ค่าพลัง:
    +53,107

    สวัสดียามบ่ายครับพี่วรรณ
     
  8. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,494
    ค่าพลัง:
    +53,107
    [​IMG] [​IMG]

    พรุ่งนี้เจอกันใหม่ครับ เด่วต้องไปส่งงานหละ
     
  9. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    สวัสดีครับคุณเอ็ม

    หลวงพ่อโสธรงามครับองค์นี้
     
  10. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448


    พระสมเด็จพุทธชัยสีมา เนื้อผงปี 2511


    พระครูอาคม หรือ หลวงพ่อวิจิตร ได้รวบรวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
    และได้ทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2511(7/3/2511)
    โดย เชิญเกจิอาจารย์ที่เป็นสหธรรมมิกมาร่วมปลุกเสกด้วย เช่น
    หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่หน่าย หลวงพ่อผาง หลวงพ่อคูณ เป็นต้น

    ข้อมูลพอใช้ได้ไหมครับพี่ตี๋


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

     
  11. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    พระ จ.ยะลา
    ลป.ทวด รุ่นปฏิรูปกการศึกษา ปี40

    [​IMG]
    [​IMG]
     
  12. ชนะ_มาร

    ชนะ_มาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +345





    งามมากครับพี่โญ พี่ตี๋...


     
  13. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ใช่เลยครับ....เห็นเนื้อมวลสารหมดเลย ไม่ต้องเข้ากล้องเลยครับ
     
  14. ชนะ_มาร

    ชนะ_มาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +345
    น้อมกราบหลวงปู่สาม ด้วยความศรัทธา..

    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
     
  15. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326

    สวัสดียามเช้าครับพี่วรรณ เห็นภาพนี้แล้วนึกถึงคำสอนหลวงพ่อฤาษีเลย ธรรมะทั้งหมดพระพุทธองค์ทรงปรารภเรื่องเดียวคือขันธ์5
     
  16. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    น้อมกราบหลวงปู่ปาน -/\-
     
  17. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดีน้องโอ๊ตกับคุณตั้นคร๊าบบ
     
  18. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (6)

    บรรพชาเป็นสามเณร

    ครูบาชัยลังก๋า

    เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๒ ปี ด้วยผลบุญที่ท่านได้บำเพ็ญมาตั้งแต่ปางก่อนในอดีตชาติ
    และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ในชาตินี้
    จึงดลบันดาลให้ท่านมีความ เบื่อหน่ายต่อชีวิตทางโลก อันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แห่งนี้
    ท่านจึงได้รบเร้าขอให้พ่อแม่พาท่านไปบวช เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญธรรมะ
    ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบิดามารดาได้ฟัง ก็เกิดความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก
    โยมพ่อจึงนำท่านไปฝากไว้ที่วัดกับหลวงอา และในปีนี้เองโยมพ่อก็เสียชีวิตลง
    หลังจากหลวงปู่มาอยู่วัดได้เพียง ๑ เดือน โยมพ่อของท่านจึงไม่มีโอกาสเห็นท่าน
    "นั่งขดถวายหงายองค์ตีนกินข้าว" จริงตามที่เคยพูดไว้

    หลวงปู่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ๘ เดือน เมื่อท่านอายุย่าง ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘)
    จึงได้บวชเป็นสามเณรกับครูบาชัยลังก๋า (ซึ่งเป็นพระธุดงค์กรรมฐานรุ่นพี่ของครูบาศรีชัย)
    ครูบาชัยลังก๋าได้ตั้งชื่อให้ท่านใหม่หลังจากเป็นสามเณรแล้วว่า
    "สามเณรชัย ลังก๋า" เช่นเดียวกับชื่อของครูบาชัยลังก๋า

    มีความเคารพเชื่อฟัง

    ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ตลอดจนผู้สูงอายุ
    จึงทำให้ครูบาอาจารย์และผู้เฒ่าผู้แก่รักใคร่เอ็นดูมาก
    จนเป็นเหตุทำให้เพื่อนเณรบางคนพากันอิจฉาริษยา หาว่าท่านประจบครูบาอาจารย์
    และถูกกลั่นแกล้งรังแกอยู่เสมอ ระหว่างศึกษาเล่าเรียนภาษาล้านนา
    ท่านมักจะโดนครูที่สอนตีเป็นประจำ อ่านหนังสือแทบทุกตัวอักขระไม่ว่าเล็กๆ น้อยๆ
    เช่น อ่านไม่ออกก็โดนทุบโดนตีเหมือนอย่างวัว อย่างควาย
    บางครั้งโดนตีด้วยแซ่จนเป็นรอยเต็มไปหมด ไม่ว่าจะที่ต่ำที่สูง
    บางทีก็โดนสันขวานทุบตีที่หัว เช่น อ่านหนังสือว่า กะ ขะ ก๊ะ เมื่ออ่านผิดก็โดนตี ๑ ครั้ง

    ท่านเล่าให้ฟังว่า ตาสองข้างลายพร่าไปหมด
    มีอาการเหมือนคนมึนงง ต้องถูกตีถอนพิษอีก ๑ ครั้งจึงจะหาย

    ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว ศีรษะของหลวงปู่จะไม่สวยเนื่องจากมีร่องรอยการถูกตีนี่เอง
    หลวงปู่คิดอยู่ในใจเสมอว่าครูพวกนี้ขาดความเมตตา
    ถ้าท่านได้มีโอกาสเป็นครูเขาแล้วจะค่อยๆ สอน จะไม่ทุบไม่ตีใคร

    เมื่อใดที่ท่านอยู่ห่างจากครูบาอาจารย์เป็นต้องถูกรังแกเสมอ
    ทำให้การอยู่ปรนนิบัติติดตามครูบาอาจารย์เป็นไปอย่างไม่มีความสุข
    เมื่อยามหลับนอนบางครั้งก็โดนเอาทรายมากรอกปากบ้าง เอาไฟเผามือเผาเท้าบ้าง (ไฟเย็น)
    ไปฟ้องก็ไม่ได้ ถูกรุมตี ไปทางครู ครูตี มาหาเพื่อน เพื่อนตี
    เวลาฉันเข้าก็ฉันไม่ได้มากเพราะถูกรังแก ระหว่างฉันอยู่ถูกพระเณรองค์โน้นบ้างองค์นี้บ้าง
    หยิบเอาข้าวเอากับในสำรับไปกิน ท่านถูกกลั่นแกล้งทุกอย่าง
    แต่ก็ด้วยขันติบารมีอย่างยิ่งของท่าน จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ตลอดมา

    ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านกำลังฉันข้าวอยู่ ถูกเพื่อนแกล้งโดยได้นำเอากระโถนของครูบาก๋า
    ซึ่งท่านถ่มน้ำมูกน้ำลายเอาไว้มาวางรวมในสำรับกับข้าวที่ท่านฉัน
    แล้วหัวเราะด้วยความภูมิใจ หลวงปู่ท่านฉันโดยไม่รู้สึกรังเกียจและคิดจะให้พวกเหล่า
    นี้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อครูบาอาจารย์
    ท่านได้นำอาหารบ้างข้าวบ้างจิ้มลงไปในกระโถน แล้วหยิบขึ้นมาฉันอย่างปกติ
    ผู้ที่แกล้งท่านต่างอาเจียนไปตามๆ กันด้วยความรังเกียจ
    และโดยปกติแล้วหลวงปู่มักจะดื่มน้ำล้างกระโถนของครูบาก๋าเป็นประจำ
    โดยการเทน้ำมูกน้ำลายทิ้งเสียก่อนครั้งหนึ่ง
    จากนั้นเอาน้ำเปล่าเทผสมลงไปกับน้ำมูกน้ำลายที่ยังติดคราบกระโถนอยู่
    ก่อนดื่มท่านอธิษฐานจิตขอให้เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งๆ ขึ้นไป

    ด้วยความเคารพกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ และต้องการที่จะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
    เพื่อมรรคผลพระนิพพาน ท่านจึงได้ใช้ขันติและให้อภัยแก่พระเณรเหล่านั้น
    ที่ไม่รู้สัจธรรมในเรื่องกฎแห่งกรรมที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้กล่าวไว้ว่า


    "ทำความดี ได้ดี ทำความชั่ว ผลแห่งความชั่วย่อมตอบสนองผู้นั้น"


    ที่มา: ธรรมจักร
     
  19. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระผงครบรอบ 1 ปีหลวงพ่อมรณภาพ รุ่นนี้มีอย่างน้อย 4 บล๊อกครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2014
  20. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    110
    ค่าพลัง:
    +225,702
    เป็นภาพที่หลวงพ่อเดินทางเข้าพระราชวังพระเพื่อรับพัดยศและหลังจากนั้นเดินทางไปวัดสามพระยาในพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่องค์ท่าน และวันที่หลวงพ่อเดินทางกลับวัดคณะศิษย์ได้จัดขบวนแห่องค์ท่านและได้ร่วมกันแสดงมุทิตาจิตต่อหลวงพ่อ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    (ภาพจากหนังสือ " อนุสรณ์งานสมโภชน์สมณศักดิ์พระราชพรหมยาน " ปกหน้าด้านใน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...