พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 8 พฤษภาคม 2011.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    งานลงรักปิดทองของช่างรัก ซึ่งนับวันจะเหลือผู้มีฝีมือลดน้อยลงไปและได้รับการถ่ายทอดจากสถาบันการศึกษาสู่เยาวชนรุ่นหลัง

    ลวดลายไทยสีเหลืองทองอร่ามตัดกับสีดำมันวาว เป็นงานลงรักปิดทองศิลปลายรดน้ำ รังสรรค์ผลงานโดยช่างรัก งานลงรักปิดทองจัดเป็นงานปราณีตศิลปของไทย จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่แขนงช่างรัก มีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากครั้งบรรพบุรุษแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสมัยใด สัญนิฐานว่าพัฒนาจากงานช่างรักเมื่อครั้งสมัยสุโขทัย เป็นราชธานีมีการลงรักปิดทองพระพุทธรูป ต่อมานำมาตกแต่งประดับสิ่งของเครื่องใช้ สำหรับพระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูงจนถึงชาวบ้านธรรมดา และเป็นเครื่องใช้ในพระศาสนา

    แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนช่างที่ลดน้อยลงไป มีการแก้ปัญหา สิ่งของมาทดแทนและคุณภาพความคงทนจะลดลง

    วิธีการปิดทองที่นำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน

    อุปกรณ์
    1.พู่กันทาสีน้ำมันคละเบอร์ ตามเนื้อผิวงาน
    2.พู่กันขนกระต่ายให้ในการปัดฝุ่นหรือเก็บฝุ่นทอง
    3.สำลี
    4.สี น้ำมัน FLEX (สีแดงและสีเหลือง /เป็นสีแห้งช้า(กว่าสีน้ำมันทั่วไป)และมีความมันวาวไม่ต้องผสมอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัวก่อน
    5.สีรองพื้นกันสนิม(สีเทา)ในกรณีที่องค์พระหรือพื้นผิวยังไม่ได้ทำอะไรเลย
    6.ทองคำเปลวแท้จะมีหลายขนาดและหลายเกรดนะครับ(ระวังทองต่อ หรือทองสองสีนะครับ)
    8.ทินเนอร์ ไว้ล้างสีล้างพูกัน/แปรงสีน้ำมัน
    9.ทดสอบเวลาที่สี flex แดงและ flex เหลือง แห้งสนิท(สำคัญ)

    ขั้นตอน
    1.ล้างคราบไขมันต่าง ๆบนองค์พระให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรืออื่น ๆ ที่ไม่ทำให้ผิวขององค์พระเสียหายแล้วปล่อยให้แห้ง
    2.พ่น สีรองพื้นเทากันสนิมให้ทั่ว (เขย่ากระป๋องให้เนื้อสีกระจายตัว อย่าพ่นให้เยิ้มพยายามพ่นสีให้กระจายทั่วได้น้ำหนักเท่า ๆ กันแล้วปล่อยทิ้งให้แห้ง 2-3 วัน)
    3.ลงสีรองพื้นก่อนลงสีปิดทอง
    3.1.ใช้สี flex แดง(อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัว)
    3.2.หา ช้อนหรือวัสดุอื่นที่ตักสีได้ ตักสีแบ่งจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นกะให้ได้ปริมาณที่ทาได้ทั่วอย่าลืมปิด กระป๋องสี flex ให้แน่น (เพราะอากาศจะเข้าทำให้สีแห้งเป็นเม็ดสีได้)
    3.3.ใช้ พู/แปรงจุ่มสีพอประมาณ(อย่าให้เยิ้ม)ทาสีให้ทั่วพิ้นผิวที่ต้องการทา เกลี่ยสีให้มีน้ำหนักเท่า ๆ กันบางๆไม่ต้องรีบร้อน โดยสังเกตว่าถ้าทาสีหนาจะทำให้รายละเอียดหายไป เช่น ลวดลายผ้า /พระเนตร/ พระโอษฐ์ เป็นต้น แล้วปล่อยให้สีแห้งทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 3-4 วัน
    4.ลงสี flex เหลืองเพื่อปิดทอง
    4.1.ใช้สี flex เหลือง(อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัว)
    4.2 .หา ช้อนหรือวัสดุอื่นที่ตักสีได้ ตักสีแบ่งจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นกะให้ได้ปริมาณที่ทาได้ทั่วอย่าลืมปิด กระป๋องสี flex ให้แน่น (เพราะอากาศจะเข้าทำให้สีแห้งเป็นเม็ดสีได้)
    4.3.ใช้ พู/แปรงจุ่มสีพอประมาณ(อย่าให้เยิ้ม)ทาสีจากด้านบน(เศียร)ลงมาด้านล่าง(ฐาน ล่าง)เกลี่ยสีให้มีน้ำหนักเท่า ๆ กันบางๆไม่ต้องรีบร้อน เสร็จแล้วทิ้งไว้อย่างต่ำ 4 ชม.
    5.ปิดทอง
    5.1.ตรวจ สอบพื้นผิวสี -ให้ใช้หลังนิ้วแตะทดสอบ สีจะต้องไม่ติดนิ้ว หรือเหนียวจนรู้สึกได้ว่านิ้วมือติด จนกระทั่งรู้สึกว่าแห้งแต่ยังมีความรู้สึกว่ามีความชื้นเวลาปิดทอง ทองคำเปลวจะไม่จมจะเกิดมีความมันวาวเป็นประกายของเนื้อทองคำ (ห้ามให้สีแห้งผาดจะทำให้แผ่นทองไม่ติด)
    5.2.ปิด แผ่นทองคำเปลว ที่ผิวองค์พระโดยเริ่มจากส่วนฐานขึ้นด้านบน ให้แผ่นทองเกยทับกันเล็กน้อย ในส่วนที่เป็นลวดลายให้ปิดทับลงไปอีก 1 แผ่น โดยปิดให้ทั่ว
    5.3.ใช่พู่กันไล่ผิวแผ่นทองบางๆจากด้านบนรอบด้านลงมาด้านล่าง (อาจจะเว้นช่วงเม็ดศกไว้ทำทีหลังก้อได้)
    5.4.พยายามไล่แผ่นทองที่ปิดพร้อมกับตรวจสอบผิวและปิดทองซ้ำ ณตำแหน่งที่ยังไม่ถูกปิดให้เรียบร้อย
    5.5. ส่วน เศษทองคำเปลวที่หล่นยังใช้ปิดได้ โดยใช้ พู่กัน (เบอร์เล็ก) แตะแล้วนำมาปิด ณ ที่ยังไม่ถูกปิดให้เรียบร้อยบริเวณที่ต้องการ หรือผงทองให้กวาดเก็บใส่ในตลับสามารถนำมาถมปิดในจุดตำแหน่งเล็กๆ
    5.6.เมื่อปิดทั่วบริเวณที่ต้องการและเก็บงานเรียบร้อยแล้วทิ้งไว้ 1 คืน
    5.7 .วันต่อมาต้องกรวดทอง โดยใช้สำลีปั้นเป็นก้อนกลมกดลูบเบาๆให้ทั่วให้เนื้อทองเนียนสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน

    หมายเหตุ หากใช้รักแท้ และมีความหนืดมากเกินไป ใช้นำ้มันตั๋งอิ้วเป็นตัวทำละลาย นำ้มันสนก้อดีแต่มีกลิ่นนิดๆ

    source: กมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
    เว็บบอร์ด พลังจิต ดอทคอม


    งานลงรักปิดทอง สืบสานมรดกไทย | Thai AdvertisingEtc
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    [​IMG]

    ที่มา New Page 1

    ภาพขณะบูรณะด้วยการเตรียมพื้นรักดำครับ

    “...ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธรูปมานักแล้ว ไม่เคยรู้สึกปลื้มใจจำเริญตาเท่าพระพุทธชินราชเลย ที่ตั้งอยู่ในที่เหมาะนักหนา วิหารพอเหมาะกับพระ มีที่ดูได้ถนัด และองค์พระก็ตั้งต่ำได้ตลอดองค์...”

    จากคำสรรเสริญของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ชื่นชมในความงามของพระพุทธชินราช นั้นถือเป็นสิ่งที่ยืนยันในความงามของพระพุทธชินราชที่คนทั่วไปต่างลงความเห็นว่า นี่คือพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในเมืองไทย

    พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ที่มีทรวดทรงสมส่วน สวยงาม มีพระพักตร์รูปไข่ อิ่มเอิบ สมบูรณ์ ดูแล้วสบายใจ เพราะเหมือนกับว่าพระพุทธชินราชยิ้มให้เราอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบอื่นที่ช่วยส่งให้พระพุทธชินราชดูงดงามที่สุดในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น พระขนงที่โก่ง พระเกตุมาลาที่เป็นเปลวเพลิง พระวรกายที่อ่อนช้อย รวมไปถึงบรรยากาศภายในวิหารที่ดูขลึมขลังก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยเสริมความงามของพระพุทธชินราช

    สำหรับเรื่องความงามของพระพุทธชินราชนั้น ความดีความชอบและเครดิตต่างๆก็คงจะต้องยกให้กับช่างผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยอดีต และผู้ที่บูรณะซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน แต่ถ้าหากมองย้อนไปถึงตำนานความเชื่อ ในการสร้างพระพุทธชินราชแล้ว ก็ต้องยอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่พระพุทธชินราชออกมางดงามหมดจดไม่น้อย

    พระพุทธชินราชฝีมือมนุษย์หรือเทวดา

    ตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่า ในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก (พระยาลิไท) หลังจากสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยพระยาลิไท ได้ระดมสุดยอดช่างฝีมือในสมัยนั้น ทั้งจากเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก และสุโขทัย เพื่อมาร่วมกันสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์

    จวบจนถึงวันที่พฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 317 ก็ถือเป็นเวลามงคลในการทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ทั้ง 3 พระองค์จนเสร็จสมบูรณ์

    แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการแกะพิมพ์ออกมา มีพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาเท่านั้นที่ทองออกมาสมบูรณ์มีน้ำทองแล่นติดตลอด สวยงามทั้ง 2 องค์

    แต่สำหรับพระพุทธชินราชนั้นปรากฏว่าทองไม่สมบูรณ์เนื่องจากทองแล่นไม่ติดเต็มองค์ สร้างความแปลกประหลาดให้กับช่างและผู้อยู่ในพิธีเป็นอย่างมาก

    หลังจากนั้นช่างก็ทำการสร้างหุ่น และเททองหล่ออีก 3 ครั้ง แต่เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์พระ

    พระยาลิไทเมื่อเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ก็ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เทวดาช่วยดลใจให้ทำการเททองพระพุทธชินราชสำเร็จตามพระประสงค์ จากนั้นก็ให้ช่างปั้นหุ่นเพื่อเททองอีกครั้งหนึ่ง

    ในครั้งนี้จู่ๆก็มีชีปะขาว มาจากไหนไม่รู้มาช่วยปั้นหุ่น ช่วยเททองหล่อพระพุทธรูป อย่างแข็งขัน โดยไม่พูดจากับใคร

    “ช่วงปิดทองนี่ถือว่าเป็นช่วงที่ยากที่สุด เพราะถ้าปิดไม่เป็นและไม่เข้าใจขั้นตอนก็จะออกมาดูไม่ดี สำหรับช่างที่ทำในขั้นตอนนี้จึงถือว่าสำคัญมาก คือช่างจะต้องทำด้วยจิตวิญญาณของความเป็นช่าง ใส่ใจและประณีตทุกรายละเอียด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำเอาเร็วเพื่อจะได้ไปรับงานอื่นต่อ แต่สำหรับช่างที่มาทำงานในครั้งนี้ต่างก็เป็นช่างฝีมือดีจากกรมศิลปากร ซึ่งก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร” จารุวรรณกล่าว

    สำหรับวิธีการลงรักเพื่อบูรณะองค์พระพุทธชินราชนั้น ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ในรอบ 100 ปีจะเกิดขึ้นสักครั้ง โดยธราพงศ์คนเดิม ได้บอกว่าตนกำลังค้นหาหลักฐานอยู่ว่าการบูรณะพระพุทธชินราชด้วยวิธีแบบนี้ครั้งล่าสุดอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 6

    และนอกจากการใช้เทคนิคโบราณแล้ว การบูรณะพระพุทธชินราชก็จำเป็นที่จะต้องขอขมาลาโทษเพราะช่าง จำเป็นต้องปีนป่ายองค์พระ กับเรื่องนี้ ธราพงศ์ ได้เล่าว่า

    “ก่อนที่จะทำการบูรณะองค์พระ ก็ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ด้วยการนุ่งขาวห่มขาว พร้อมๆกับบอกว่าจะเข้าพื้นที่ไปทำงาน มีการขอขมาลาโทษ เพราะว่าช่างต้องปีนป่ายไปตามตัว ตามตัก ตามไหล่ขององค์พระ ซึ่งช่างส่วนมากที่มาทำต่างก็ถือว่าต่างได้บุญบารมีที่ได้มีโอกาสมารับใช้องค์พระพุทธชินราช”

    และด้วยความที่ในรอบร้อยปีคนทั่วไปจะได้มีโอกาสเห็นพระพุทธชินราชเป็นสีดำทั่วทั้งองค์ ก็ทำให้มีคนเดินทางไปสักการบูชาองค์พระพุทธชินราชมากขึ้น

    “ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นแต่องค์พระพุทธชินราชเป็นสีทองอร่าม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ทำการบูรณะพระพุทธชินราชได้เปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งก็สวยงามไปอีกแบบ และในรอบร้อยปีจะมีสักครั้ง ทำให้ช่วงนี้มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาสักการะพระพุทธชินราชมากขึ้นเป็นพิเศษทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้เห็นพระพุทธชินราชองค์ดำสักครั้งในชีวิตเป็นบุญตา” วินัย ชาญวิชัย ไวยากิจกร ฝ่ายประชาสัมพันธ์วัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหารกล่าว

    และด้วยความที่พระพุทธชินราชถูกยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในเมืองไทย ทางทีมช่างอาจถูกคาดหวัง หรือถูกหลายคนนำเอาความงามของพระพุทธชินราชที่ทำการบูรณะใหม่ไปเปรียบเทียบ กับพระพุทธชินราชก่อนการบูรณะ

    เรื่องนี้จารุวรรณได้บอกว่า เมื่อบูรณะออกมาแล้วองค์พระพุทธชินราชก็ยังคงออกมาเป็นสีทองเหลืองอร่ามสวยงามดังเดิม แต่จะมีบ้างก็ตรงอุปทาน เพราะหลังจากนี้อาจจะไม่มีการใช้สปอร์ตไลท์ไฟแรงสูงส่ององค์พระเหมือนเช่นแต่ก่อน ทั้งนี้ก็เนื่องจากความร้อนจะส่งผลทำให้องค์พระนั้นล่อนง่าย ซึ่งนี่ก็ถือเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธชินราชหลังการบูรณะ

    แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นกันในปัจจุบันล่าสุดก็คือองค์พระพุทธชินราชที่เป็นสีดำ หรือเป็นองค์ดำ ที่ในรอบ 100 ปี โอกาสเช่นนี้จะมีสักครั้ง สำหรับพุทธศาสนิกชนหากได้ไปเมืองสองแควก็น่าจะหาโอกาสไปสักการะพระพุทธชินราชองค์ดำสักครั้ง ซึ่งถึงแม้ว่าพระพุทธชินราชจะดูแปลกออกไปจากที่เราๆท่านๆ เคยเห็น แต่ว่าในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์นั้นยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    พระพุทธชินราช นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปที่ถูกยกให้สวยงามที่สุดในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ชาวพิษณุโลกนิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่”

    สำหรับการบูรณะพระพุทธชินราชครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จากวันที่บวงสรวง 17 มี.ค.47 ทั้งนี้ผู้ที่สนใจร่วมบริจาคเพื่อบูรณะพระพุทธชินราชสามารถบริจาคได้ที่ ธนาคารนครหลวง สาขาพิษณุโลก ชื่อบัญชี ปิดทองหลวงพ่อพุทธชินราช เลขที่บัญชี 372-2-18466-2 หรือที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ชื่อบัญชี ปิดทองหลวงพ่อพุทธชินราช เลขที่บัญชี 060-1-58717-9
     
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    [​IMG]

    ที่มา New Page 1

    ภาพขณะบูรณะด้วยการเตรียมพื้นรักดำครับ

    “...ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธรูปมานักแล้ว ไม่เคยรู้สึกปลื้มใจจำเริญตาเท่าพระพุทธชินราชเลย ที่ตั้งอยู่ในที่เหมาะนักหนา วิหารพอเหมาะกับพระ มีที่ดูได้ถนัด และองค์พระก็ตั้งต่ำได้ตลอดองค์...”

    จากคำสรรเสริญของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ชื่นชมในความงามของพระพุทธชินราช นั้นถือเป็นสิ่งที่ยืนยันในความงามของพระพุทธชินราชที่คนทั่วไปต่างลงความเห็นว่า นี่คือพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในเมืองไทย

    พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ที่มีทรวดทรงสมส่วน สวยงาม มีพระพักตร์รูปไข่ อิ่มเอิบ สมบูรณ์ ดูแล้วสบายใจ เพราะเหมือนกับว่าพระพุทธชินราชยิ้มให้เราอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ก็ยังมีองค์ประกอบอื่นที่ช่วยส่งให้พระพุทธชินราชดูงดงามที่สุดในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น พระขนงที่โก่ง พระเกตุมาลาที่เป็นเปลวเพลิง พระวรกายที่อ่อนช้อย รวมไปถึงบรรยากาศภายในวิหารที่ดูขลึมขลังก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยเสริมความงามของพระพุทธชินราช

    สำหรับเรื่องความงามของพระพุทธชินราชนั้น ความดีความชอบและเครดิตต่างๆก็คงจะต้องยกให้กับช่างผู้สร้าง ตั้งแต่สมัยอดีต และผู้ที่บูรณะซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน แต่ถ้าหากมองย้อนไปถึงตำนานความเชื่อ ในการสร้างพระพุทธชินราชแล้ว ก็ต้องยอมรับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่พระพุทธชินราชออกมางดงามหมดจดไม่น้อย

    พระพุทธชินราชฝีมือมนุษย์หรือเทวดา

    ตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่า ในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก (พระยาลิไท) หลังจากสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยพระยาลิไท ได้ระดมสุดยอดช่างฝีมือในสมัยนั้น ทั้งจากเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก และสุโขทัย เพื่อมาร่วมกันสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์

    จวบจนถึงวันที่พฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 317 ก็ถือเป็นเวลามงคลในการทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ทั้ง 3 พระองค์จนเสร็จสมบูรณ์

    แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการแกะพิมพ์ออกมา มีพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาเท่านั้นที่ทองออกมาสมบูรณ์มีน้ำทองแล่นติดตลอด สวยงามทั้ง 2 องค์

    แต่สำหรับพระพุทธชินราชนั้นปรากฏว่าทองไม่สมบูรณ์เนื่องจากทองแล่นไม่ติดเต็มองค์ สร้างความแปลกประหลาดให้กับช่างและผู้อยู่ในพิธีเป็นอย่างมาก

    หลังจากนั้นช่างก็ทำการสร้างหุ่น และเททองหล่ออีก 3 ครั้ง แต่เหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์พระ

    พระยาลิไทเมื่อเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ก็ตั้งจิตอธิษฐานขอให้เทวดาช่วยดลใจให้ทำการเททองพระพุทธชินราชสำเร็จตามพระประสงค์ จากนั้นก็ให้ช่างปั้นหุ่นเพื่อเททองอีกครั้งหนึ่ง

    ในครั้งนี้จู่ๆก็มีชีปะขาว มาจากไหนไม่รู้มาช่วยปั้นหุ่น ช่วยเททองหล่อพระพุทธรูป อย่างแข็งขัน โดยไม่พูดจากับใคร

    “ช่วงปิดทองนี่ถือว่าเป็นช่วงที่ยากที่สุด เพราะถ้าปิดไม่เป็นและไม่เข้าใจขั้นตอนก็จะออกมาดูไม่ดี สำหรับช่างที่ทำในขั้นตอนนี้จึงถือว่าสำคัญมาก คือช่างจะต้องทำด้วยจิตวิญญาณของความเป็นช่าง ใส่ใจและประณีตทุกรายละเอียด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำเอาเร็วเพื่อจะได้ไปรับงานอื่นต่อ แต่สำหรับช่างที่มาทำงานในครั้งนี้ต่างก็เป็นช่างฝีมือดีจากกรมศิลปากร ซึ่งก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร” จารุวรรณกล่าว

    สำหรับวิธีการลงรักเพื่อบูรณะองค์พระพุทธชินราชนั้น ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ในรอบ 100 ปีจะเกิดขึ้นสักครั้ง โดยธราพงศ์คนเดิม ได้บอกว่าตนกำลังค้นหาหลักฐานอยู่ว่าการบูรณะพระพุทธชินราชด้วยวิธีแบบนี้ครั้งล่าสุดอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 6

    และนอกจากการใช้เทคนิคโบราณแล้ว การบูรณะพระพุทธชินราชก็จำเป็นที่จะต้องขอขมาลาโทษเพราะช่าง จำเป็นต้องปีนป่ายองค์พระ กับเรื่องนี้ ธราพงศ์ ได้เล่าว่า

    “ก่อนที่จะทำการบูรณะองค์พระ ก็ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ด้วยการนุ่งขาวห่มขาว พร้อมๆกับบอกว่าจะเข้าพื้นที่ไปทำงาน มีการขอขมาลาโทษ เพราะว่าช่างต้องปีนป่ายไปตามตัว ตามตัก ตามไหล่ขององค์พระ ซึ่งช่างส่วนมากที่มาทำต่างก็ถือว่าต่างได้บุญบารมีที่ได้มีโอกาสมารับใช้องค์พระพุทธชินราช”

    และด้วยความที่ในรอบร้อยปีคนทั่วไปจะได้มีโอกาสเห็นพระพุทธชินราชเป็นสีดำทั่วทั้งองค์ ก็ทำให้มีคนเดินทางไปสักการบูชาองค์พระพุทธชินราชมากขึ้น

    “ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นแต่องค์พระพุทธชินราชเป็นสีทองอร่าม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ทำการบูรณะพระพุทธชินราชได้เปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งก็สวยงามไปอีกแบบ และในรอบร้อยปีจะมีสักครั้ง ทำให้ช่วงนี้มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาสักการะพระพุทธชินราชมากขึ้นเป็นพิเศษทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้เห็นพระพุทธชินราชองค์ดำสักครั้งในชีวิตเป็นบุญตา” วินัย ชาญวิชัย ไวยากิจกร ฝ่ายประชาสัมพันธ์วัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหารกล่าว

    และด้วยความที่พระพุทธชินราชถูกยกย่องให้เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในเมืองไทย ทางทีมช่างอาจถูกคาดหวัง หรือถูกหลายคนนำเอาความงามของพระพุทธชินราชที่ทำการบูรณะใหม่ไปเปรียบเทียบ กับพระพุทธชินราชก่อนการบูรณะ

    เรื่องนี้จารุวรรณได้บอกว่า เมื่อบูรณะออกมาแล้วองค์พระพุทธชินราชก็ยังคงออกมาเป็นสีทองเหลืองอร่ามสวยงามดังเดิม แต่จะมีบ้างก็ตรงอุปทาน เพราะหลังจากนี้อาจจะไม่มีการใช้สปอร์ตไลท์ไฟแรงสูงส่ององค์พระเหมือนเช่นแต่ก่อน ทั้งนี้ก็เนื่องจากความร้อนจะส่งผลทำให้องค์พระนั้นล่อนง่าย ซึ่งนี่ก็ถือเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธชินราชหลังการบูรณะ

    แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นกันในปัจจุบันล่าสุดก็คือองค์พระพุทธชินราชที่เป็นสีดำ หรือเป็นองค์ดำ ที่ในรอบ 100 ปี โอกาสเช่นนี้จะมีสักครั้ง สำหรับพุทธศาสนิกชนหากได้ไปเมืองสองแควก็น่าจะหาโอกาสไปสักการะพระพุทธชินราชองค์ดำสักครั้ง ซึ่งถึงแม้ว่าพระพุทธชินราชจะดูแปลกออกไปจากที่เราๆท่านๆ เคยเห็น แต่ว่าในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์นั้นยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    พระพุทธชินราช นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปที่ถูกยกให้สวยงามที่สุดในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ชาวพิษณุโลกนิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่”

    สำหรับการบูรณะพระพุทธชินราชครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จากวันที่บวงสรวง 17 มี.ค.47 ทั้งนี้ผู้ที่สนใจร่วมบริจาคเพื่อบูรณะพระพุทธชินราชสามารถบริจาคได้ที่ ธนาคารนครหลวง สาขาพิษณุโลก ชื่อบัญชี ปิดทองหลวงพ่อพุทธชินราช เลขที่บัญชี 372-2-18466-2 หรือที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ชื่อบัญชี ปิดทองหลวงพ่อพุทธชินราช เลขที่บัญชี 060-1-58717-9
     
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายและสรรพชีวิตโดยดีงามด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญกุศลใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงอนุโมทนา ส่วนบุญกุศลนี้ แล้ว ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน พุทธภูมิ อภิเษกพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และได้ช่วยให้ผู้อื่นได้ด้วย

    และขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช และสัมพันธชน ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช และสัมพันธชน จงอนุโมทนาส่วนบุญกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญบุญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนบุญกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข ที่จะพึงได้รับ โดยดีงาม ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาบุญกุศลเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราช และสัมพันธชน จงเป็นสักขีพยานบุกุศลญ ให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอท่านทั้งหลายเมื่อใด ขอให้ท่านทั้งหลายได้อนุโมทนาส่วนบุญกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญกุศลบารมีใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญกุศลบารมีนี้ จงเป็นสรรพพลวปัจจัย ให้ข้าพเจ้า เจริญในพระพุทธการกธรรม ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพาน พุทธภูมิ อภิเษกพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐ และได้ช่วยให้ผู้อื่นได้ด้วยด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพาน พุทธภูมิ อภิเษกพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญกุศลทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ โดยดีงามด้วยเทอญเถิด

    "พุทโธ โพเธยยัง มุตโต โมเจยยัง ติณโณ ตาเรยยัง"
    "เมื่อรู้แล้ว จักช่วยผู้อื่นรู้ด้วย เมื่อพ้นทุกข์แล้ว จักช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ด้วย เมื่อข้ามโอฆะแล้ว จักช่วยผู้อื่นข้ามโอฆะด้วย"

    "เมื่อได้พุทธภูมิแล้ว จักช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิด้วย"


    พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปมาโณ สิทธมัตถุ ๆ ๆ
    สะอาด สว่าง สงบสมดุลย์ เลิศ ประเสริฐ ปราณีต ละเอียด ยิ่งๆๆขึ้นไปเทอญ สัมปะติจฉามิ ๆ ๆ (i)
     

แชร์หน้านี้

Loading...