อุเบกขาอย่างไรจึงไม่ใช่อุปาทานซ้อนหลอกจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้ตามหา, 3 กันยายน 2013.

  1. ผู้ตามหา

    ผู้ตามหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +818
    ผมได้นั่งสมาธิพิจารณาธรรมในเช้าวันนี้ประมาณชั่วโมงกว่า แล้วติดตรงการพิจารณาการมีสติรู้เท่าทันปฏิฆะกันระหว่างอายตนะภายนอกและภายในอันมีวิญญาณไปรับรู้ เมื่อวิญญาณรับรู้แล้วมีสติรู้เท่าทันและปล่อยวางเกิดอุเบกขา ปัญหาที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้นคือ แล้วอารมณ์อุเบกขาอย่างไรจึงไม่ใช่เกิดจากอุปาทานมาซ้อนหลอกจิตว่านี่คืออุเบกขา ผมพยายามพิจารณาจนฟุ้งซ่านไม่กล้าตอบเอาคำตอบใดคำตอบหนึ่งจากการพิจารณา กลัวว่าเป็นอุปาทานอีก ผู้รู้ท่านใดผ่านมาแล้วช่วยตอบด้วยนะครับ อนุโมทนาด้วยครับ
     
  2. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ส่วนตัวผม วางอุเบกขา ตามแนวทางของ กฎแห่งกรรม ครับ

    ไม่พยายามไปละเมิดกรรมของท่านอื่น ไม่ว่าท่านนั้นจะอยุ่ในภพภูมิไหน

    ก็คือต้องมีสติรู้ทันจิตด้วย พยายามคิดก่อนที่จะทำให้ได้
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    อนุโมทนาใน"ความเพียรพยายามละอกุศล"(สัมมาวายามะ)

    ที่พูดมานั้น ยังเป็นความเพียรพยายามระลึกรู้ให้เท่าทัน

    เนื่องจากยังปล่อยวิญญาณ(แจ้งในอารมณ์)ไปรับรู้ (ต้องรู้โดยไม่รับ=เท่าทัน)

    สิ่งที่ต้องพิจารณา คือการปล่อยวางนั้นเกิดจากความรู้สึกนึกคิด หรือ

    ปล่อยวางเพราะมาเกาะ(วิจารณ์)อยู่ที่องค์"ภาวนา"แทน

    ที่พูดมานั้นยังเป็นขั้นตอนที่ต้องทำให้ชำนิชำนาญเป็นวสี

    เพราะยังต้องปล่อยวางอีก จนสติปริสุทธิง คืออุเบกขาที่ปราศจากอารมณ์

    ส่วนอารมณ์อุเบกขา ยังเป็นอารมณ์นั้น มีอุปาทานซ้อนอยู่

    ขั้นตอนแรกที่เป็นสาระสำคัญที่ควรต้องทำให้สำเร็จนั้น

    คือ"รู้จักประคองจิตของตน" ให้เป็น นั่นคือสาระสำคัญที่จะพัฒนาต่อไปได้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ต้องเอา โพฌชงค์ มาพิจารณา ด้วยความเป็น เหตุปัจจัย

    การพิจารณาด้วยความเป็นเหตุปัจจัย หมายถึง เราเพียรเฉพาะที่เหตุ

    แล้ว ผล นั้นให้มันเป็นไปตาม ศรัทธาที่จะแนบแน่นเข้ามาว่า มันเกิดเอง !!!

    ถ้า ศรัทธาง่อนแง่น มันจะไป ห่วงผล ว่าเกิดหรือไม่เกิด ก็จะทำให้คลาด
    จากการเพียร(ที่เหตุ) แล้ว ไปสาระวนอยู่กับ การทำผล ซึ่งปล่อยไปเรื่อยๆ
    ก็จะกลายเป็น คนศรัทธาเสีย เจอเพื่อนมนุษย์ก็จะพลอยไล่ด่าเขา ไล่ว่าเขา
    ว่า เพียรผิด ทำผิด สู้ กู ไม่ได้ กูทำผลให้เกิดได้

    ดังนั้น

    พิจารณาความเป็น โพชฌงค์ เน้นตรง ปัสสัทธิ ซึ่งเป็น ปัจจัยต้นๆ ของ อุเบกขา

    ถ้า คุณมีอุเบกขา แต่ ใจกระดี้ กระด้า กูเก่ง กูทำได้ มีกู กายไม่รำงับ จิตก็ไม่ได้
    ทำลาย ( การปล่อยจิต ปล่อยวิญญาณ ที่คุณ เอะใจ นั่นแหละ ) มันก็ไม่เรียกว่า
    มี ปัสสัทธิ ....ถ้าไม่มีปัสสัทธิ มหากุศลจิต เช่น มุทุตา ปคุณตา กัมมันยุตา ฯ มัน
    จะไม่จริง จะโดน มารมันแอบซ้อนกล หลอกให้เข้าใจ กายเบาจิตเบาผิดฝาผิดตัว
    คือมันจะไป คว้าเอา " ฌาณฤาษี -- กดกิเลส" มาแทน " สัมมาสมาธิ -- มุ่งวิจัยกิเลศ
    และ หมุนทำลาย!! "

    ลองดูนะ

    ถ้าทำถูก จะเห็นเลยว่า ไตรลักษณ์ญาณสัมปยุติ ตลอดสายเป็นอย่างไร

    อุเบกขาเอง ก็จะมี ไตรลักษณ์ญาณสัมปยุติด้วย คือ ตามเห็น ความเกิด
    ดับ ของเวทนาปราณีตได้ด้วย หาก ตามเห็นการเกิดดับของเวทนา
    ปราณีตได้ เราก็จะเรียกว่า รู้เห็นอุบายนำเวทนาออก

    เพราะ รู้เห็นอุบายนำเวทนาออก ก็จะไม่ไป กลัวอุเบกขา หลอกหลอน
    เลยแม้แต่น้อย

    พ้นจากการประครอง การเพ่ง การรักษาอุเบกขาอย่างควาย !!

    แต่จะเพียรกลับไปที่ เหตุ เร่งการภาวนาตรง เจริญส่วนเหตุ พอ

    จนเป็น สัญญาอันเดียว แล้ว ตามเห็น เหตุเกิด เหตุดับ เพื่อดับ
    ความโง่ในการ อมเหตุ เพราะได้ทราบแม้แต่ อุบายการนำ เหตุ ออก

    เหตุดับ ก็รู้ว่า เหตุดับ การดับของเหตุ ผลก็ไม่ต้องกล่าวถึง ศรัทธาย่อม
    หมุนถล่มทลายไปเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2013
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อุเบกขาอย่างที่ใน สังขารุเปกขาญาณ จึงไม่เป็นอุปาทานหลอกหลอนตนเอง
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....ขอเสริม นิดนึงครับ การมีสติระลึกรู้เท่าทัน ตรงปัจจุบันขณะ อันที่จริงมันเป็นการระลึกรู้ นั่นก็คือมันเป็นการตามรู้ นั่นเอง แต่เป็นการตามรู้ หรือรู้เท่าทันอย่าง มีสติ เป็นธรรมชาติ เมื่อรู้เท่าทัน ปฎิฆะ หรือ โทสะแล้ว ก็ มีสติระลึกรู้ต่อไป ว่า เรามีวิจิกิจฉาเกิดต่อมาความอึดอัดฟุ้งซ่านนั่น ก็เป็น ปฎิฆะหรือโทสะเล็กเล็ก นั้นเอง....เราก็ระลึกรู้เท่าทันไป.....จะเห็นสิ่งหนึ่งคือความไม่เที่ยงของสภาพธรรม หรืออาจจะนับว่าเป้นสัมมาทิฎฐิเล็กเล็กก็ได้....เมื่อเจริญไปเรื่อยเรื่อย สัมมาทิฎฐิหรือปัญญาก็บริบูรณ์ได้ เมื่อมีสัมมาทิฎฐิ มีสัมมาสติ มีสัมวายามะ(อย่างที่ท่านธรรมภุติกล่าว)โดยเป็นธรรมชาติ การดำเนินชีวิตที่ถูกทาง หรือ อริยะมรรค อาจจะสมบูรณ์ได้ ในวันนึง ครับ....(ทางดับทุกข์)
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    คิดอย่างไรก็ไม่มีทางรู้ เพราะสิ่งที่พยายามไปคิดให้ออก มันละเอียดกว่าการจะรู้ได้ด้วยความคิด

    ตัวสังขารขันธ์เอง ทำให้ตายอย่างไร มันก็จะไม่มีทางเข้าใจในเรื่องนี้ได้
    กลไกที่จิตจะรู้ และ วาง ตรงนี้ได้ จะอยู่พ้นจากการคิดไปแล้ว และเข้าถึงได้โดยการมีสติรู้ไปเรื่อยๆ พอมันถึงเอง ก็จะเข้าใจเอง

    พอจิตมันเข้าใจแล้ว มันจึงค่อยมีกระบวนการย้อนกลับมาแปล โดยสังขารขันธ์

    ดังนั้นแล้ว ให้มีสติระลึกรู้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องปรุงแต่ง เดี๋ยวก็ถึงที่หมายและเข้าใจเอง
     
  8. (อโศก)

    (อโศก) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +445
    ที่คุณพูดมา เดี๋ยวผมขอโยงเข้าหาทฤษฏีผสมกับประสบการณ์ให้ดูนิด ที่ว่าอุเบกขาตัวนี้แท้ที่จริงแล้วก็คือ ความรู้สึกสดๆ นั้นเอง ซึ่งไม่เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกตัวภายใต้ความคิดยังไม่ใช่
    นี้คือ ภาวะใจปกติของมันเองที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ ส่วนที่อาจารย์รุ่นหลังเรียกว่า อุเบกขาเวทนา ก็เป็น คนละตัวกับอุเบกขาในฌาน ๔ ซึ่งเป็นอุเบกขาแห่งจิต มีใจความว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปแล้วแต่ปางก่อน (ฌาน๓) มีแต่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ด้วยอำนาจของอุเบกขาเป็นภาวะสมดุลของมันซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเวทนา
    ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ก็จะหลงอาจจะไปยึดเอา เวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข มาเป็นอุเบกขา ซึ่งไม่ใช่


    มันคือ ความรู้สึกตัวสดๆ ที่รู้ในทุกอย่าง เช่น ในการเคลื่อนไหวของกายของจิต ต่างหาก สังเกตว่าทุกสิ่งรู้ได้ด้วยความรู้สึกตัว สัมผัสด้วยความรู้สึก เช่น ดินนั้นคืออะไรที่หนักๆ แค่นๆ แข็งๆ น้ำคือสิ่งที่ไหลซึมซาบเอิบอาบ ลมคือสิ่งที่พัดผัน จิตนั้นมีอาการต่างๆ ซึ่งสัมผัสได้ด้วยจิตที่สติถูกบูรณาการแล้ว จิตมีอาการอย่างไร สติก็ทันท่วงทีอย่างนั้น เมื่อจิตแปรรูปปรับเปลี่ยนธาตุต่างๆ เคลื่อนไหวคิด จิตมีอาการอย่างไรก็รู้เห็นโดยอาการนั้นๆ มิใช่เป็นภาพของความคิด อย่างนี้เรียกว่า “หยั่งรู้” เกิดการหยั่งรู้คือสัมผัสแก่นธาตุ ไม่ใช่ความคิดนึก
    โดยปกติทั่วไปมีความรู้สึกตัวอยู่ แต่ที่รู้สึกไม่ได้ก็ด้วยอำนาจครอบงำของความคิด ทั่วไปคิดอยู่ตลอดเวลาทั้งหลับทั้งตื่น พลังของความคิดนั้น คนทั่วไปไม่รู้ ที่บอกว่าไม่เห็นคิดอะไรเลย ก็เพราะไม่รู้จักความคิดนั้นเอง

    ความรู้สึกตัวล้วนๆ นี้ ยิ่งบริสุทธิ์เท่าไรก็จะยิ่งสัมผัสทุกข์ได้ก่อนเท่านั้น ก่อนที่จะมานั่งนึกคิดว่ามีเหตุมีทุกข์ด้วยซ้ำไป มันสัมผัสอาการทุกข์ก่อน ก่อนที่ความคิดจะเข้าไปแทรกว่าอันนี้เป็นเหตุ อันนี้เป็นผล ก็แก้ก็จัดการแบบฉับพลันทันท่วงที เพราะ ถ้าไม่ฉับพลัน ความคิดก็แทรกเข้าไปแล้ว

    ทีนี้ สติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องของการคิดเอา แต่อาศัยความคิดและความรู้ตัวทันท่วงทีต่อการเกิดการคิดหรือการเคลื่อนไหวของอินทรีย์ต่างๆ สัมผัสได้ทางจิต ความรู้สึกตัวนี้แหละไม่จำเป็นต้องมานั่งนึกว่ามันเป็นอนัตตาได้อย่างไรไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จุดนี้ได้โยงมาสู่สิ่งสำคัญอันหนึ่งที่ว่า เมื่อจิตสงบแล้วให้พิจารณาว่ามันไม่เพียงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะมันเป็นอยู่แล้ว เป็นกฎธรรมชาติที่เป็นเองอยู่แล้ว

    ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2013
  9. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    พูดง่าย-ทำยาก

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


    ๗. ธรรมสูตร
    [๒๖๕]
    เมื่อภิกษุกล่าวว่า ผู้นี้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม
    เพื่อพยากรณ์ด้วยธรรมอันสมควรใด ธรรมอันสมควรนี้
    ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ดังนี้

    1.ชื่อว่าย่อมกล่าวธรรมอย่างเดียว ย่อมไม่กล่าวอธรรม

    2.อนึ่ง เมื่อภิกษุตรึก ย่อมตรึกถึงวิตกที่เป็นธรรมอย่างเดียว
    ย่อมไม่ตรึกถึงวิตกที่ไม่เป็นธรรม

    ภิกษุเว้นการกล่าวอธรรมและเว้นการตรึกถึงอธรรมทั้ง ๒ นั้น
    เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฯ

    ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรมอยู่
    ระลึกถึงธรรมอยู่เนืองๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
    ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี
    ให้จิตของตนสงบอยู่ ณ ภายใน ย่อมถึงความสงบอันแท้จริง ฯ

    จบสูตรที่ ๗

    _______________________________________________________________

    ดูๆไปแล้ว อุเบกขา ใน ความหมายนี้

    แปลความได้ว่า
    อุเบกขา เป็นการรักษา ความถูกต้อง
    ทั้งการพูดและการคิด ให้อยู่ในสัมมาทิฐิ เอาไว้ได้ ด้วย สติสัมปชัญญะ

    แล้ว รวมทั้งเป็นผู้รู้ว่า-ตนเป็นผู้สมควรแก่ธรรมเหล่าไหน ควรกระทำได้ เท่าไร-อย่างไร ในธรรมเหล่านั้น

    ฟังดูง่ายๆ....แต่ทำตามได้ยาก!

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ปฏิบัติ ไม่เข้าใจในสาระแห่งธรรมที่สมควรต่อตน
    จาก ความยาก จึงอาจจะกลายเป็น ความเข้าใจผิดในธรรม ไปเลย ก็ได้


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2024
  10. ผู้ตามหา

    ผู้ตามหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +818
    อนุโมทนาสาธุและขอบคุณทุกคำตอบครับ ผมได้คำตอบแล้วครับ พอดีได้ฟังเทศน์ของหลวงพ่อท่าน ท่านบอกว่าอารมณ์อุเบกขาที่เป็นอุปาทานจิตจะหนักไม่สบายกระวนกระวายแม้ในสมาธิ ถ้าเป็นอุเบกขาแท้จิตจะเบาเหมือนรู้ทันและไม่เกาะติดเหมือนธรรมดา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ครับ
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การรู้จากการฟัง กับการรู้โดยจิตรู้เอง ต่างกันมาก ขอให้เจริญสติไปเรื่อยๆ แล้วจิตจะเห็นได้ด้วยตนเองครับ
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" อานนท์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ(อนุตตราภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า อารมณ์ทึี่เกิดขึ้นนี้แก่เรา เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง(สงขต) เป็นของหยาบหยาบ(โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น( ปฎิจสมุปนน)แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและปราณีต กล่าวคือ"อุเบกขา"ดังนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่........................อานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป้นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป้นที่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน ส่วนอุเบกขายังคงเหลืออยู่..........อานนท์ นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัยนี้ ในกรณีแห่งรูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ(ในกรณีแห่งเสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โพฐฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และธัมมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณท์อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณืนั้นนั้น )---อุปริ.ม.14/542-545/856-861...
     

แชร์หน้านี้

Loading...