คนที่สัมผัสถึงบุญบาปของผู้อื่นได้มีด้วยหรอครับ แล้วเขาเรียกว่าอะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sir-Pai, 30 สิงหาคม 2013.

  1. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    ตามนั้นเลยครับ ขอบคุณมากครับ
     
  2. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    ยถากัมมุตาญาณ
     
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    พระพุทธเจ้าครับน้องไผ่ ..พระองค์ทรงมีพระญานที่ใครอื่นไม่อาจมีได้เรียกว่า..." อาสยานุสยญาณ ".คือ.ญาณหยั่งรู้อนุสัยคือความน้อมใจไปทั้งทางดีทางชั่ว ของสรรพสัตว์..

    อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

    http://84000.org/tipitaka/read/?31/277-283"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  4. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    มีจิ...
    ..............................................
     
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คนที่สัมผัสถึงบุญบาปของผู้อื่นได้มีด้วยหรือครับ แล้วเขาเรียกว่าอะไร
    ความจริงแล้ว คำถามนี้เป็นคำถามที่สามารถตอบได้ในหลายแง่หลายประการ
    คำตอบแรก...
    คำว่าสัมผัส หมายถึง การสัมผัสทางอายตนะทั้งหลายที่มีอยู่ในระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นคนที่สัมผัสถึงบุญบาปของผู้อื่น จึงมีจริงอยู่แล้ว เพราะทุกคนล้วนได้รับการขัดเกลาทางสังคมย่อมรู้จักบุญบาป คือ สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี จึงสามารถสัมผัสถึงการกระทำของผู้อื่นได้อยู่แล้ว ซึ่งก็แล้วแต่ข้อมูลความจำที่มีอยู่สมอง จะคิด จะพิจารณาจะรู้ ว่าสิ่งที่ผู้อื่นได้กระทำไปนั้น เป็นบุญหรือบาป หรือจะได้รับบุญหรือบาป

    คำตอบประการที่สอง.....

    ถ้าคำถามของคุณ ยกเอาการสัมผัส หมายถึง สัมผัสที่หก คือ สัมผัสรู้ได้ โดยไม่ต้องเห็นผู้อื่นกระทำการใดใดมาก่อน ก็สามารถรู้หรือสัมผัสถึงบุญบาปของผู้อื่นได้ ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ รู้จักระลึกชาติ ของผู้อื่นได้นั่นเอง
    ผู้ที่จะสามารถ "รู้จักระลึกชาติ" ของผู้อื่นได้นั้น จักต้องเป็นบุคคลที่บรรลุธรรมในชั้นอริยะบุคคล ตั้งแต่ชั้น โสดาบัน เป็นต้นไป แต่ในชั้นโสดาบัน อาจจะ ระลึกชาติได้ไม่มากนัก ถ้าจะให้ชัดเจนแล้ว บุคคลผู้สามารถสัมผัสถึงบุญบาปของผู้อื่นได้ โดยที่ไม่ต้องเห็นการกระทำของผู้อื่นเลย ต้อง บรรลุธรรม ตั้งแต่ ชั้น "อนาคามี" เป็นต้นไป เพราะ ในชั้น อนาคามี จะคาบเกี่ยวกับชั้น อรหันต์ จึงสามารถ "รู้จักระลึกชาติได้" แม้จะเป็นการระลึกชาติของผู้อื่นก็ตาม
     
  6. gentboy

    gentboy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2011
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +240
    วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้สัตว์เกิดตายได้ดีตกยาก) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น)
    จุตูปปาตญาณครับ
    ฉันใด ภิกษุ
    ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่
    การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
    เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
    ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
    สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย
    ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
    พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
    เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
    เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ
    ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
    สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
    [/SIZE]
    ____________________
    ถูกผิดประการใดขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ
    __________________________________
    อ่านรายละเอียด จุตูปปาตญาณได้ที่ ลิงค์นี้ครับ����ûԮ�������� � - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...