ธรรมเพี้ยนกับธรรมะของจริงนั้นต่างกัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พันบุญ, 30 กรกฎาคม 2013.

แท็ก: แก้ไข
  1. พันบุญ

    พันบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +396
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=J2lwHG3WMSI]หลวงปู่เณรคำ ผู้ยั่งรู้ - YouTube[/ame]

    การฟังธรรมจากผู้ที่รู้ผิด แล้วเทศนาสอนแบบผิดๆ แล้วน้อมใจเชื่อนั้นอันตรายมาก

    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    [๑๙] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ... จนกระทั่งตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าในภพโน้นเราเป็นอย่างนั้น ๆ เมื่อสิ้นอายุแล้ว จุติจากภพโน้นไปเกิดในภพนั้น เป็นอย่างนั้น ๆ จนสิ้นอายุ จึงจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เปรียบเหมือนคนที่ะลึกได้ว่า ได้จากบ้านตนไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น ได้ทำอย่างนั้น ๆ แล้วได้จากบ้านนั้นไปยังบ้านโน้น ได้ทำอย่างนั้น ๆ แล้วกลับจากบ้านนั้น มาสู่บ้านของตนตามเดิม ฉะนั้น
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๓ - ๓๒๔

    จุตูปปาตญาณ
    [๒๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ รู้ชัดว่าหมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม ผู้ที่ประกอบอกุศลกรรมด้วย มิจฉาทิฏฐิ ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ นรก ส่วนผู้ที่ประกอบกุศลกรรมด้วยสัมมาทิฏฐิ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนคนที่ยืนอยู่บนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่งกลางพระนคร ย่อมมองเห็นหมู่ชนเบื้องล่าง รู้ได้ว่าคนเหล่านั้นกำลังไปไหนทางไหนอย่างไร ฉะนั้น
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๔ - ๓๒๕

    อาสวักขยญาณ
    [๒๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง มีญาณรู้ชัดว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เปรียบเหมือนคนที่ยืนอยู่บนขอบสระที่มีน้ำใสสะอาด ย่อมเห็นสิ่งต่าง ๆ ใต้น้ำในสระนั้นได้ชัดเจน ฉะนั้น
    แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ท่านเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เรารู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้รู้.
    ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๖

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
    มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย..........

    *อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
    *ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
    *อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้
    *อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
    *อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
    *อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
    *อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ
    *อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน
    *อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้
    *อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม
    เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้
    บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
    เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

    ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความ
    โลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติ
    มั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
    ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด
    โลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน
    ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
    อยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วย
    อุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
    ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า
    ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่
    หาประโยชน์มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
    อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่
    เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการใน
    ปัจจุบันว่าก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่อง
    ให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ
    ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดี
    ทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่
    ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อ
    บุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์
    จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริย
    สาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น
    ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริย
    สาวกนั้นได้แล้ว ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้
    มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้ว
    อย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ
    กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น
    อย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต
    ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้
    ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
    พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก
    ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป
     
  2. พันบุญ

    พันบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +396
    เพิ่มให้อีกนิดต่อไปจะได้รู้ทันอลัชชีที่เข้ามาหากินกับพระพุทธศาสนา
    พวกนี้มักเข้ามาปรากฏตัวแรกๆก็แสดงตัวว่าเป็นอรหันต์แต่พอนานๆไปถึงค่อยปรากฏให้รู้ว่าที่แท้เป็นอรหอย

    หลักตัดสินธรรมวินัย ๘
    . . . . . พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
    เมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
    เพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักษณะตัดสิน
    ธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติคือ:-

    ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
    . . . . . ๑. ความกำหนัด
    . . . . . ๒. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
    . . . . . ๓. ความสั่งสมกิเลส
    . . . . . ๔. ความมักมาก
    . . . . . ๕. ความไม่สันโดษ
    . . . . . ๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    . . . . . ๗. ความเกียจคร้าน
    . . . . . ๘. ความเลี้ยงยาก

    . . . . . พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของ
    พระศาสดา
    . . . . . ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า
    นั่นเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
    . . . . . . . . . . . . . . . สังขิตตสูตร ๒๓/๒๕๕

    หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายธรรมะ)
    . . . . . พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ ใกล้โภคนคร
    ได้ตรัสถึงมหาประเทศ ๔ สำหรับสอบสวนเปรียบเทียบ หลักคำสอนของ
    พระพุทธเจ้า คือ
    . . . . . หากมีภิกษุกล่าวว่า
    . . . . . ๑. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
    . . . . . ๒. ในวัดโน้นมีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
    เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
    . . . . . ๓. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้ผู้ชำนาญ ทรง
    ทรงวินัย นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
    . . . . . ๔. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่องค์หนึ่ง เป็นผู้รู้เป็นผู้ชำนาญ ทรง
    ธรรมทรงวินัย ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม
    นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
    . . . . . เมื่อได้ฟังมาดังนี้ จงอย่าชื่นชมหรือคัดค้าน แต่จงเรียนข้อความและ
    ถ้อยคำเหล่านั้นให้ดี แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตรและเทียบเคียงดูใน
    พระวินัย ถ้าลงและเข้ากันไม่ได้ พึงทราบเถิดว่า นี้มิใช่คำสอนของ
    พระพุทธเจ้า ท่านจำมาผิดแล้วจงทิ้งเสียเถิด
    . . . . . . . . . . . . . . . สัญเจตนิยวรรค ๒๑/๑๙๕

    หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)
    . . . . . พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
    เวลานั้นของขบฉันได้แก่ผลไม้ มีผู้นำมาถวายมาก พวกภิกษุพากันสงสัย
    ว่าผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่ควร พระพุทธองค์ทรงประทาน หลัก
    ใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ ในฝ่ายพระวินัยที่เรียกว่ามหาประเทศ คือ
    . . . . . ๑. สิ่งใดไม่ได้ห้าม ไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร
    (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
    . . . . . ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้าม ไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร
    (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
    . . . . . ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต ไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร
    (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
    . . . . . ๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต ไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร
    (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
    . . . . . . . . . . . . . . . วินัย ๕/๑๒๓
     

แชร์หน้านี้

Loading...