จิตเป็นต้นนั้น ล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 10 มิถุนายน 2013.

  1. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    ได้ติดตามอ่าน "ดูจิตแบบธรรมภูต" แล้ว รู้ได้ว่าท่านปฏิบัติจนเห็นแจ้งจิตในระดับสัมมาสมาธิได้ดี และยกพระพุทธพจน์มาอ้างอิงได้อย่างสอดคล้อง
    แต่ก็ยังมีนักศึกษาธรรมอีกมากที่ไม่เห็นด้วย เพราะอ้างพระพุทธพจน์อีกเช่นเดียวกันดังเช่นว่า
    สัพเพ สังขารา อนิจจา...ทุกขา...สัพเพ ธัมมา อนัตตา
    นามรูปัง อนิจจัง...ทุกขัง...อนัตตา
    และหลักธรรมใน อนัตตลักขณสูตร...สุญญตาสูตร ฯ
    หลักธรรมเกี่ยวกับภพภูมิใน ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
    ซึ่งมีความหมายไปในทางปฏิเสธอัตตาทั้งสิ้น
    ทั้งหมดจึงต้องพากันปฏิเสธคำพูดของท่าน
    ผมเองยังไม่ได้เข้าถึงสัมมาสมาธิ จึงยังไม่อาจเข้าใจเรื่องจิตอย่างแจ้งชัดได้
    ขออยู่ตรงกลางไปก่อนแล้วกันครับ
    แต่ขอออกความเห็นนิดนึงว่า
    ผู้ที่เห็นว่าจิตอยู่ภายใต้อำนาจแห่งไตรลักษณ์ ถึงจะผิดก็ยังไม่เสียหายมากนัก
    เพราะการพิจารณาไตรลักษณ์ จนเห็นแจ้งชัด ย่อมเป็นหนทางแห่งการเข้าถึงโลกุตตรธรรม ซึ่งอยู่นอกเหนือกฏแห่งไตรลักษณ์ได้ในที่สุด
    แต่ถ้าท่านผิด คือมีความเข้าใจไม่ถูกต้องตามหลักธรรมตามความเป็นจริง
    ยังไม่รู้ว่าอนาคตแห่งการปฏิบัติ ผลจะลงเอยอย่างไร
    ในเมื่อผิดตั้งแต่ต้น
    จึงขอรบกวนอีกครั้งเถอะครับ...
    ขอหมัดเด็ด...หรือฟันธงลงไปให้ผู้ที่ยังไม่รู้อย่างผม...
    ได้ถึงบางอ้อ...จนยอมรับมาใส่จิตมุ่งมั่นปฏิบัติตามโดยไม่วอกแวกอีกเลย
    ขอขอบคุณมากครับ
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320

    ขันธ์ แปลว่า กอง หมวด หมู่

    ผู้ที่ยังเห็นเป็นก้อนเดียวรวมกันอยู่ จะหวังให้เห็นเหตุที่นำจิตไปเกิด หวังให้เห็นกริยาจิตที่ก่อภพชาติ คงไม่มีทางเป็นไปได้
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เดี๋ยวๆๆๆ อย่าเพิ่งไปไกล

    เอาแค่จิตก่อน จิตเป็นขันธ์ไปตั้งแต่เมื่อไร?

    อนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้แยกจิตออกจากขันธ์ใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หมัดเด็ด ที่หลวงปู่ดูลย์ ท่านใช้คือการพิจารณาธรรมเป็นคู่ๆ

    มีขาว มีดำ, มีติดตัง มีหลุดพ้น, มีที่ใช่ มีที่ไม่ใช๋,ฯลฯ

    ที่พูดมาทั้งหมดเป็นเรื่องทางเดินของจิต(มรรค)

    ที่นี่มาดูอริยมรรค คือทางเดินไปสู่ความเป็นอริยะ

    เราปฏิบัติกันที่ไหน ที่กายตายเน่าเข้าโลงได้ หรือ ที่จิตที่ชอบดิ้นร้นเปลี่ยนแปรไปตามอารมณ์

    เมื่อเริ่มเห็นชัดว่า ธรรมทั้งหลายรวมลงที่จิต ก็เริ่มที่จิตเป็นสำคัญ

    อสรีรัง(จิตไม่มีรูปร่าง) ขบวนการเริ่มต้นปฏิบัติทางจิตนั้น ก็สำคัญเช่นกัน ห้ามมองข้าม

    ส่วนที่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธอัตตานุทิฐิ ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นเอาที่ไม่ใช่ตนมาเป็นตน

    แล้วที่ใช่ตนหละ ต้องมีสิ แต่เป็นตนที่มีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นที่พึ่งพาอาศัยได้

    "ตน"ที่พระพุทธองค์ทรงอนุโลมให้ใช้นั้น เพื่อผู้ปฏิบัติมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธฺ)

    "เพื่อบรรลุผลประโยชน์ตนเท่านั้น" ไม่ใช่ตนที่เป็นตัวๆ หรือ ตนที่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕

    เมื่อรู้จักสภาพธรรมของ"จิต"(ตน) ที่แท้จริง เมื่อศึกษาอะไรย่อมไม่มีพลาด

    แต่ระหว่างปฏิบัติกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ)นั้น ควรงดการอ่านลงไว้ก่อนชั่วคราว

    มิเช่นนั้น ผลการปฏิบัติ จะเบี่ยงเบนไปตามตำราที่เราจำไว้ ได้มาซึ่งสัญญา(ปัญญาทางโลก)

    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมทุกๆท่าน

    ปล.ว่าจะขึ้นกระทู้ระดมความคิดเห็นเรื่อง"จิต" เพื่อค้นหาสัจธรรมความจริงให้ปรากฏ
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ก็ต้องนิยามให้ตรงกันก่อน ว่า จิต ในนิยามของธรรมภูต หมายถึงสิ่งใด

    แต่ก่อนจะไปไกลถึงขั้นว่านิยามจิตเป็นเช่นไร

    ธรรมภูต ควรปฏิบัติธรรมให้เห็นสภาวะที่แท้จริงก่อน

    เอาเบื้องต้น ให้เห็นตัวที่มันหัวเราะ กับตัวที่มันเสพความสุข ให้เห็นมันทำงานแยกเป็นอิสระจากกัน แต่มีเหตุเกื้อกูลกันให้เกิด เอาแค่นี้ให้ได้ก่อนแล้วกัน ถ้ายังไม่เห็นตรงนี้ จะพูดเรื่องที่ละเอียดกว่านี้ก็ได้แต่นึกคิดเอาในหัว ถึงสิ่งที่ตัวเองไม่เคยสัมผัส
     
  6. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    ช้่าก่อน ก่อนไปเรื่องจิตเอาใจให้ประเสริฐ ให้ปรกติก่อนได้ไหม หมั่นทำบุญให้ทานได้ความสุขใจ รักษาศีลได้สิริมงคลและความสุข การเป็นพระโสดาบัน รักษาศีล5 ได้ชื่อว่าพระโสดาบัน
     
  7. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา พิจรณาแยกแต่ละอย่างในวิปัสสนากรรมฐาน ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์
     
  8. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    หัวเราะหรือเสพความสุขมันก็จิตตัวเดียวกันนี้แหละ แยกทำไม มันหัวเราะมันร้องไห้ได้เพราะมีผัสสะ ผัสสะทำให้เกิดเวทนา นั่น จะชวนพิจรณาปฏิจจสมุปปบาทเสียแล้ว ธรรมะของพระพุทธองค์มันเกื้อหนุนถึงกันตลอด แต่หลักใหญ่ลงที่ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ยังไม่ถึงที่สุด
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เมื่อคืนนอนพอคลำ ๆ เห็นสัญญามันเกิดนี่ แปรเปลี่ยนไปไม่รู้กี่เรื่องต่อกี่เรื่อง หมุนติ้ว ๆ สังขารจับไปปรุงฟุ้งหลงบ้าง สัญญาใหม่ก่อมาบ้าง ทีละอย่าง ทีละเรื่อง เอาแค่สิบนาที เรื่องเยอะไปหมด วุ่นวายไปหมด เรื่องใหม่เกิด เรื่องเก่าหาย พอจะเห็นมันได้ทีละเรื่อง จะห้ามมันก็ไม่มีปัญญา จะวางมันก็ทำไม่ได้

    อย่างนี้เรียกเกิดดับ ได้ไหมพี่ธรรมภูต
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สติหลงไปเพราะเห็นรูป ฯลฯ สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์
    บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
    ทั้งมีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่
    มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น
    และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
    เมื่อบุคคลสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ

    บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
    มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น(ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์)
    ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
    ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
    เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ

    ดูกรมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดยพิสดารอย่างนี้แล ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
    ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร
    มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม
    ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    ก็แลท่านพระมาลุกยบุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=1788&Z=1931

    ^
    ^
    เมื่อมีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็เกิดขึ้นที่จิตของตน

    เมื่อไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ อารมณ์ก็ดับไปจากจิตของตน

    เมื่ออารมณ์ที่จิตมีกำหนัดเสวยอยู่นั้นดับไป จิตต้องดับตามอารมณ์ที่เสวยนั้นไปด้วยหรือ?

    ถ้าจิตดับไปตามอารมณ์ด้วยแล้ว เอาอะไรมารู้ว่าอารมณ์ที่เสวยและตั้งอยู่นั้นดับไปหละ

    ในเมื่อจิตดวงใหม่ยังไม่เกิดขึ้นมารองรับ และจิตดวงเก่ายังไม่ได้ดับไป

    จะมีจิตอยู่ในขณะเดียวกันสองดวงเพื่อถ่ายทอดกรรม ย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นกัน


    เมื่อท่านพระมาลุกยบุตรมีจิตเด็ดเดียว จิตไม่กวัดแกว่ง จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

    แบบนี้ยังจะให้จิตของท่านพระมาลุกยบุตรเกิด-ดับอีกหรือ

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  11. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    จิตสังขาร
    สังขารของจิตคืออะไร
    เป็นอย่างไร
    สมมุติได้อย่างไร
    เราจะนำมาสื่อให้สาธุชนเข้าใจได้อย่างไรดีกว่าขอรับ
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เมื่อพูดถึง"จิต" เราต้องเข้าใจสภาพธรรมของจิตที่อยู่ในโลก(วัฏฏะ)

    จิตที่อาศัยอยู่ในโลกนั้น ล้วนเป็นจิตที่ยังมีอวิชชาครอบงำอยู่

    เราจึงต้องฝึกฝนอบรมจิของตน เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา

    เมื่อยังมีอวิชชาครอบงำ จิตย่อมรู้ผิดไปจากความเป็นจริงคือ รู้แล้วไม่ยึดเป็นไม่มี

    เมื่อจิตผัสสะเข้ากับอะไร จิตย่อมมีการปรุงแต่ง(จิตสังขาร)ทันที่

    รัก ชอบ จิตยึดเข้ามาเป็นของๆตนทันที่ ชิงชัง รังเกียจ จิตย่อมผักไสออกจากตนทันที่เช่นกัน

    คำว่า"สังขารของจิต=การปรุงแต่งของจิต" เราสรุปได้ว่า

    อารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย(ธรรมารมณ์)ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต(กิเลสปรุงจิต)

    หรือจิตแส่ส่ายออกไปยึดเอาอารมณ์กิเลสเหล่านั้นมาเป็นของๆตน(จิตปรุงกิเลส)

    สมมุติว่า เมื่อรู้เห็นอะไรที่รัก ที่ชอบ จิตมีกิเลสมักยึดสิ่งที่รู้เห็นนั้นในทันที

    และมักแสดงอาการออกมาให้เห็น

    พระพุทธองค์จึงสั่งสอนพวกเราชาวพุทธให้ฝึกฝนอบรม(ชำระ)จิตของตน

    ให้จิตมีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น

    สาระสำคัญอยู่ที่การสร้างให้เกิดสติสงบตั้งมั่นที่จิต เพื่อจิตกำหนดรู้ และละอารมณ์กิเลสเหล่านั้นออกไป

    ไม่ใช่จดจำ(สัญญา)อารมณ์กิเลสเหล่านั้นได้จนขึ้นใจ

    จนกลายเป็น"ถิระสัญญา" เพื่อคอยหลีกเลี่ยงอารมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้สลัด สำรอกออกไปเลย

    ถ้าจะสื่อให้พอเข้าใจ ประการแรกต้องเชื่อว่า"จิต"นั้นฝึกฝนอรบมได้จริง โดยมีการพิสูจน์ความจริง

    คือลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา โดยนำเอาองค์ภาวนาจากสติปัฏฐาน๔

    ควรเริ่มที่กายในกาย ก็จะประจักษ์เองว่า "จิตผู้รู้" กับ"จิตสังขาร"นั้น ต่างกันอย่างไร?

    ก็จะกระเทือนถึง เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมตามมา

    เมื่อมีจิตผู้รู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้

    เมื่อจิตยึดสิ่งที่ถูกรู้ ก็เกิดจิตสังขารขึ้นปรุงแต่งจิต

    ถ้าไม่ยึดหละ จิตก็รู้อยู่ที่รู้(สติปัฏฐาน) สลัด สำรอกออกไป เป็นวิสังขาร(สิ้นการปรุงแต่ง)

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน

     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................คุณอาว์ อธิบาย คำว่า ถิรสัญญา กับ การรู้ในสิ่งที่จิตรู้คืออารมณ์ หรือ จิตสังขาร หรืออะไรก็ตาม ผมว่า มันไม่ได้ต่างกันเลย.....มันก็เหมือนกันนั่นแหละผมว่า ใช้คำว่า "หลีกเลี่ยง" กับ "สลัด" มัน ต่างกันที่ อินทรีย์ภาวนา ต่างหากละครับ....แล้วถ้า จะกลับไปต่อว่า คำสอนของใคร อันนั้นผมว่า เริ่ม ไม่เข้าท่าแล้ว เพราะ มันไม่จำเป้น คนที่อ่านคำอธิบายของคุณอาว์ เขาต้องการรู้ว่า คุณอาว์ อธิบายได้เข้าใจอย่างไร ครับ:cool:
     
  14. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    ถ้าจะสื่อให้พอเข้าใจ ประการแรกต้องเชื่อว่า"จิต"นั้นฝึกฝนอรบมได้จริง โดยมีการพิสูจน์ความจริง

    คือลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา โดยนำเอาองค์ภาวนาจากสติปัฏฐาน๔

    ต้องช่วยอธิบายหน่อยแล้วละครับ
    องค์ภาวนาที่ว่านี้ คือ
    กำหนดรู้ หรือ กำหนดดูอย่างมีสติโดยต่อเนื่อง
    หรือ เน้นใช้คำบริกรรมภาวนา อย่างต่อเนื่อง เพื่อคุมจิตให้อยู่ในอารมณ์กรรมฐานครับ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    "แล้วถ้า จะกลับไปต่อว่า คำสอนของใคร อันนั้นผมว่า เริ่ม ไม่เข้าท่าแล้ว"

    เอาชัดๆ ยังไม่เคลียร์ กลับไปต่อว่าใคร ต่อว่าทำไม

    แล้วคำสอนของใครหรือที่ผูกขาดคำว่า"ถิรสัญญา"?

    อย่ากินปูนร้อนท้อง เอาเรื่องนี้ให้ผ่านก่อน อย่าเอาอคิตนำสิไม่ดีนะ

    ค่อยมาว่า "หลีกเลี่ยง" กับ "สลัด"ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?

    แล้ว"ถิรสัญญา" กับ "จิตสังขาร" ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?

    เมื่อปฏิบัติจริงต่างกันคนละเรื่องเลย อย่าเหมาโหลเอาจากคคห.ส่วนตัว

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....................เรามาเอาเนื้อเนื้อกันดีกว่า ครับ ถ้าอย่างนั้น คุรอาว์ ต้องมีเมตตา อธิบายความแตกต่างระหว่าง ถิรสัญญา และ จิตสังขารแล้วละครับ เพื่อ ความรู้ยิ่งของผู้ศึกษา...เพื่อประโยชน์:cool:
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เรื่ององค์ภาวนาในครั้งพุทธกาล
    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ^
    ^
    ในครั้งพุทธกาลมีอานาปานสติ หรือเรียกว่า กายคตาสติ หรือเรียกว่า พิจารณากายในกายเป็นภายใน

    ล้วนเป็นกายสังขารทั้งสิ้นที่หยิบมาพิจารณา คุมสติต่อเนื่องอยู่ทีองค์ภาวนา

    ส่วนปัจจุบันใช้องค์ภาวนา"พุทโธ" หรือ"สัมมาอรหัง"หรือ "นามะพะทะ"ฯลฯนั้น

    ใช้ได้ทั้งนั้น เพราะเป็นการพิจารณษกายสังขารเช่นกัน และใช้ง่ายกว่า"อานาปานสติ"

    จะให้ดีแล้วอย่าใช่ปนเปกัน เพราะเวลาวางจะต้องค่อยวางที่ละอาวรณ์อยู่ดี

    เช่น"พุทโธบวกลมหาย" พุทโธจะถูกวางลงก่อนเพราะหยาบกว่า ต่อมาค่อยวางลมลง...

    ข้อสำคัญในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "อย่าใจเร็วรวดได้จะเสียการ"

    เพียงเพียรประคองจิตของตนให้หลุดจากองค์ภาวนาก็พอ

    เมื่ออะไรเกิดให้รู้อย่าตาม ฝึกฝนอบรมในการประคองจิตของตนให้เป็นก็พอ...

    ส่วนพระพุทธพจน์ที่ทำสีไว้ นั่นแหละวิธีประคองจิตของตนที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลานรัก...

    เป็นสิ่งที่เนื่องกันเท่านั้น ต่างกันโดยลักษณะ

    สัญญาคือความจำได้หมายรู้จากการปรุงแต่ง

    เมื่อจำได้หมายรู้จนขึ้นใจแล้ว คือ เจอบ่อยๆ กระทบบ่อยๆ จนแม่นยำกลายเป็น"ถิรสัญญา"

    เมื่อเจออีก กระทบอีกปั๊บ รู้รับหลีกได้เลยทันที เพราะจำได้อย่างแม่นยำ

    ในกรณีที่ชำนาญแล้วนะ ถ้ายังไม่ชำนาญ รู้รับกว่าจะหลีกต้องอาศัยเวลาปรับตัว

    ไม่ใช่เป็นการรู้แล้วปล่อยวางในทันที่ ที่เรียกสลัด สำรอกออกไป

    ส่วน"จิตสังขารนั้น" จิตบวกการปรุงแต่ง"พอเกิดอาการ รัก ชอบ ชัง จดจำเก็บเอาไว้(จำได้หมายรู้)

    เป็นคนละขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่ก็เนื่องด้วยกันนั่นเอง

    เจริญในธรรมสมควรแก่ธรมทุกๆท่าน


     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <marquee scrollamount=25 height=200 width=300><img src='http://www.yengo.com/th/news_images/page_166.jpg' height=200><img src='http://www.voicetv.co.th/cache/images/42d6643c6fa889b7ab153540c094cefc.jpg' height=200><img src='http://www.voicetv.co.th/cache/images/0db937fa23898a687b47c754e7ebaf3e.jpg' height=200><img src='http://www.voicetv.co.th/cache/images/1b72ac61ac265b793806156dc67fc50c.jpg' height=200>
    </marquee>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2013
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาองค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฎฐิเป็นองค์นำหน้า นำหน้าอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย---สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาทิฎฐิ----สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ---สัมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาวาจา---สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มีสัมมา กัมมันตะ---สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ----สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มีสัมมาวายามะ ----สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาสติ---สัมมาญานะ ย่อมมีเพียงพอแก่ ผู้มีสัมมาสมาธิ---สัมมาวิมุติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มีสัมมาญานะ ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมเป็นพระอรหันตืประกอบด้วยองค์ สิบ---(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส หน้าที่1296):cool:----------------------จะเห็นได้ว่า สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอแก่ ผู้มีสัมมาวายามะ(ความเพียรหรือ ไวพจน์คือ สัมมัปธาน4) สัมมาวายามะเองก็มีพอ เพราะ สัมมาอาชีวะ....ทีนี้ คุณอาว์ โยนิโสมนสิการเรื่อง ศิล สมาธิ ปัญญา หรือ โยนิโส จากพระสูตรข้างบนนี้ก็ได้.......การที่จะสลัดลง สลัดคืน มันมาจากเหตุมาจากปัจจัย ที่สืบเนื่องกันมา ศิล สมาธิ ...หรือ สัมมาสติย่อมมีเพียงพอแก่ผู้มี สัมมาวายามะ(สัมมัปธานสี่).....ไม่ใช่เรื่องที่มาวิเคราะห์เองว่าเป็นเพราะ ถิรสัญญา แล้วทำให้ไม่สามารถเอาชนะกิเลสได้...แต่ต้องมีปัจจัยที่สืบเนื่องกันมา.....จนกระทั่งถึงอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ ที่กล่าวว่า อภิชฌาและโทมนัสดับไปเหมือนกระพริบตา แต่ อุเบกขายังคงเหลืออยู่:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...