จิตเป็นต้นนั้น ล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 10 มิถุนายน 2013.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เห็นพี่ภูติเคยแสดงไว้ว่า จิตไม่เกิดไม่ดับ ที่เกิดดับคืออาการของจิต

    ผมเลยยกมาประเด็น

    เมื่อจิตไม่เกิดไม่ดับ

    มันก็เหมือนนิพพานน่ะซิ

    จะกล่าวว่า ปรมัตถธรรม

    สิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ มีอยู่ สองอย่าง

    คือ นิพพาน

    และก็ จิต

    หรือไม่อย่างไรครับ?
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ก็บอกแล้วว่า จะสับสนได้ง่าย

    อะไรที่แยกไม่ได้ ก็อย่าไปแยก ยิ่งแยกยิ่งยุ่งเป็นลิงติดตัง

    เพราะไปแยกเอาเฉพาะตรงที่ว่า จิตไม่เกิด-ดับ

    แต่ไม่มองให้ละเอียดลงไปที่ได้กล่าวไว้ว่า "จิตแปรเปลี่ยนได้"

    พระนิพพาน เป็นสภาวะธรรมที่คงที่ ไม่แปรเปลี่ยน

    ส่วนจิตนั้น มีสภาวะรรมที่ไม่คงที่แปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

    และมีอาการของจิตที่แสดงออกมาเกิด-ดับไปพร้อมอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้น

    ที่ไม่ค่อยอธิบายให้ละเอียดนัก เพราะเมื่อเกิดมีการพักลักจำเกิดขึ้นมา

    โดยไม่ลงมือพิสูจน์ความจริง(ไม่เพียร)ความรู้นั้น ก็เสียเปล่า

    ถึงเคยกล่าวไว้ว่า จิตไม่เกิด-ดับ แต่ก็บอกเสมอว่าจิตนั้นแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์

    ต้องลงมือปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อให้จิตเที่ยงตรงคงที่(เป็นอกุปปธรรม)ต่อพระนิพพาน

    แถมยังเน้นย้ำเสมอๆเช่นกันว่า ที่เกิด-ดับ คือสิ่งที่ถูกจิตรู้และจิตยึดไว้(อาการของจิต...

    ถ้าใครอ่านด้วยความรอบคอบ ไม่พลาดไปได้ ส่วนใหญ่มักอ่านข้ามๆ เอาทิฐิของตนเป็นที่ตั้ง

    คนพวกนี้มักยัดเยียดว่า มี"จิตเที่ยง" และ "จิตอมตะ"

    เพราะมองแค่ตรง "จิตไม่เกิด-ดับ" แต่ไม่เคยดูในส่วนที่กล่าวไว้ว่า "จิตแปรเปลี่ยนได้"

    แค่นี้ความเที่ยงแท้ถาวร ความอมตะไม่เปลี่ยนแปลง ก็หายไปแล้ว55+

    ถ้าคนรู้จักเก็บเอาสัจธรรมความจริง ก็ได้สัจธรรมความจริงไป

    ส่วนที่ชอบเอาแต่ความแน่แพ้ชนะ ก็ได้แต่ทิฐิความคิดของตนเองไป55+

    เจริญในธรรมสมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยิ่งทำให้ได้คำถามมากขึ้น

    คำว่าแปรเปลี่ยน

    เมื่อกล่าวว่า จิตไม่เกิดไม่ดับ แต่แปรเปลี่ยนได้
    มัน มีความแตกต่างจาก เกิด-ดับ หรือไม่อย่างไรครับ?

    จิตแปรเปลี่ยนได้

    เช่นนั้น จิตก็เป็นอนิจจัง อย่างนี้จะได้ไหมครับอีกคำถาม?
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    หลวงปู่ หลวงพ่อ พระอริยเจ้า เวลาท่านสอนธรรมะ ท่านจะสอน สั้น ง่าย ได้ใจความ และ ไม่เกินภูมิผู้เรียน เพื่อไม่ให้เกิดความคิด จินตนาการ เข้าไปพันในการปฏิบัติ ทำให้ปิดบังธรรมะที่แท้จริง
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เช่นเปลี่ยนแปลงฯลฯสีบ้าน บ้านยังอยู่ แต่สีเปลี่ยนไป(สีทนไม่ได้)55+

    จิตที่ยังมีอวิชชาครอบงำ ยังไม่เที่ยงตรงคงที่นั้น ย่อมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ไม่ใช่คำถามเพิ่มขึ้น แต่เป็นความสับสนมากยิ่งขึ้น ระหว่าง "เกิด-ดับ" กับ "ปรวนแปร"

    "เกิด" สิ่งที่ไม่เคยมีอยู่ก่อนเกิดขึ้น "ดับ" สิ่งที่มีอยู่แล้วดับหายไป

    "แปรเปลี่ยน ปรวนแปร เปลี่ยนแปลง" สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว เปลี่ยนแปลงฯลฯไป

    ที่เกิด-ดับไป คือการแปรเปลี่ยน การปรวนแปร การเปลี่ยนแปลง

    ก็อย่างที่คุณอินทรบุตรพูดหนะถูกแล้ว55+

    เจริญในธรรมที่สมควรจดจำทุกๆท่า่น

     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยิ่งสับสนไปใหญ่เลยครับ^^

    จิตมีอวิชาครอบงำ

    ในเมื่อจิตเองไม่เกิดไม่ดับ

    มันเที่ยงแท้ในตัวอยู่แล้ว

    มันยังถูกอวิชาครอบงำได้เลย

    งงจริงๆเลยครับ

    อีกอย่างนึง

    เมื่อ กล่าวถึงจิตไม่เกิดไม่ดับ ว่าเป็นธรรมอันลึกซึ้ง

    คนที่ฝึกปฏิบัติใหม่ๆ ก็อย่าเพิ่งไปทำความเข้าใจในสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับใช่ไหมครับ

    ทีนี่ การฝึกเริ่มต้นจึงต้องผ่าน อาการจิตที่เกิดดับ
    ดูอาการจิต พิจารณาอาการจิต เงาของจิตที่เกิดดับนั้นให้ชำนาญ

    ก็เป็นการถูกต้องใช่ไหมครับ

    บ้านใครน๊อ ปล่อยให้เขาทาสีได้^^
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เดี๋ยวๆ....เย็นไว้โยม55+

    จิตไม่เกิด-ดับนั้น กับเรื่องเที่ยงแท้ถาวรคนละเรื่อง

    ต้องค่อยๆกันไปเป็นซี่รี่ย์

    ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนมาจิตมาจากไหน?

    ทำไมจิตจึงไม่เกิด-ดับ และไม่ดับตายหายสูญหละ

    แล้วจิตมีสภาพธรรมยังไง?

    ส่วนการปฏิบัติก็อย่างคุณปราบเทวดาว่ามานั้นแหล่ะ55+

    โอ้!!! ต้องว่ากันยาวจริงๆ

    แถมต้องรู้อีกว่า อวิชชานั้นมีที่จิตอยู่ก่อนแล้ว หรือ มีมาในภายหลัง?


    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรม
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ได้เลยครับ อธิบายมาเลยครับ

    ผมรอฟังอยู่ ติ๊กต๊อกๆ



    ........................................
    จึ๋งๆ เด็กๆแย่งกันพิมพ์ ระวังครูตีน๊า^^
     
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    แล้วอวิชชา นี่ เกิด ดับ มั้ย
     
  10. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    ขอถามปัญหาที่ยังข้องใจอยู่หน่อยครับ
    ระหว่าง "จิตสั่ง" คือสามารถสั่งให้ร่างกายทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ตามที่เคยพูดกันมา
    แต่อาจารย์ใหญ่ท่านนึงบอกว่า "จิตสั่งไม่ได้" เพราะจิตเองเป็นนามธรรม
    มีสภาพที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จะสั่งร่างกายที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไร
    ขอความรู้หน่อยครับ
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........วิญญานปัจจัยนามรูป แต่มีพระสูตรที่ว่า นามรูปแลเป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญานขันธิ์....................พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธิ์ เวทนาขันธิ์ สัญญาขันธิ์ สังขารขันธิ์ และ วิญญานขันธิ์ เล่าพระเจ้าข้า.............ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูปสี่อย่าง เป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธิ์ ................ภิกษุ ผัสสะ (อายตนะภายนอก อายตนะภายใน ประจวบพร้อม) เป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธิ์.............ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัยเพื่อ การบัญญัติ สัญญาขันธิ์............ภิกษุ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธิ์...........ภิกษุ นามรูปแล เป้นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญานขันธิ์---อุปริ.ม.14/102/124...(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส):cool:.............ต่างก็เป้นเหตุปัจจัย ซึ่งกันและกัน ครับ ที่อรรถกถา ชั้นหลังอธิบายว่าเหมือนไม้พิงกัน
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ตามที่หลานpaetrix ได้นำพระพุทธพจน์จากพระสูตรมาให้ศึกษา

    ก็ชัดเจนพอสมควรนะ ของที่เนื่องด้วยกัน ย่อมต้องมีปฏิสัทพันธ์กัน

    การปฏิสัมพันธ์กัน ย่อมต้องมีสองฝ่ายจึงเกิดขึ้นได้

    เมื่อพูดถึงร่างกายที่เป็นรูปธรรมนั้น ที่มีจิตครองอยู่

    จึงรู้อะไรได้ สั่งให้ทำอะไรก็ได้ (อุปาทินกสังขาร)

    ส่วนคนตายก็มีรูปร่างกายเช่นกัน แต่ไม่มีจิตครอง

    จึงรู้อะไรไม่ได้ สั่งให้ทำอะไรไม่ได้เช่นกัน

    เหตุเพราะไปยึดเอาวิญญาณขันธ์ ที่เป็นหนึ่งในขันธ์๕ มาเป็น"จิต"(ไม่ใช่พุทะพจน์)

    จึงทำให้สันสบไปได้ว่า "จิตเกิด-ดับ" ความจริงแล้วสิ่งที่เกิด-ดับไปคือนามขันธ์๔

    ส่วนวิญญาณขันธ์ที่เป็นหนึ่งในขันธ์๕ นั้นพระพุทธพจน์ตรัสชัดเจนว่า"ไม่ใช่จิต"

    ยกตัวอย่างที่พอเห็นได้ง่ายๆว่า" คนที่ไปกระทำผิดคิดมิชอบขึ้นนั้น"

    รูปร่างกายคิดมิชอบไปกระทำขึ้นเอง หรือ "จิต"คิดมิชอบสั่งให้ร่ายกายไปกระทำขึ้น?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  13. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    เหตุเพราะไปยึดเอาวิญญาณขันธ์ ที่เป็นหนึ่งในขันธ์๕ มาเป็น"จิต"(ไม่ใช่พุทะพจน์)

    จึงทำให้สันสบไปได้ว่า "จิตเกิด-ดับ" ความจริงแล้วสิ่งที่เกิด-ดับไปคือนามขันธ์๔

    ส่วนวิญญาณขันธ์ที่เป็นหนึ่งในขันธ์๕ นั้นพระพุทธพจน์ตรัสชัดเจนว่า"ไม่ใช่จิต"

    ยกตัวอย่างที่พอเห็นได้ง่ายๆว่า" คนที่ไปกระทำผิดคิดมิชอบขึ้นนั้น"

    รูปร่างกายคิดมิชอบไปกระทำขึ้นเอง หรือ "จิต"คิดมิชอบสั่งให้ร่ายกายไปกระทำขึ้น?

    สับสนแน่นอนครับ
    เมื่อ "จิตไม่เกิดดับ" ก็เท่ากับจิตเป็น "อมตะ" น่ะซีครับ ยังไง ๆ อยู่นะ
    และทีี่กล่าวว่า "พระพุทธพจน์ตรัสชัดเจนว่าไม่ใช่จิต"
    รบกวนขอหลักฐานอ้างอิงหน่อยได้มั๊ยครับ
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทั้ง ๒ โพสต์นี้ต้องมีคำตอบ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ตอบไว้แล้ว#22 ส่วนพระพุทธพจน์มีตรัสไว้หลายแห่ง

    ก็บอกแล้วว่า จะสับสนได้ง่าย

    อะไรที่แยกไม่ได้ ก็อย่าไปแยก ยิ่งแยกยิ่งยุ่งเป็นลิงติดตัง

    เพราะไปแยกเอาเฉพาะตรงที่ว่า จิตไม่เกิด-ดับ

    แต่ไม่มองให้ละเอียดลงไปที่ได้กล่าวไว้ว่า "จิตแปรเปลี่ยนได้"

    พระนิพพาน เป็นสภาวะธรรมที่คงที่ ไม่แปรเปลี่ยน

    ส่วนจิตนั้น มีสภาวะรรมที่ไม่คงที่แปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

    และมีอาการของจิตที่แสดงออกมาเกิด-ดับไปพร้อมอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้น

    ที่ไม่ค่อยอธิบายให้ละเอียดนัก เพราะเมื่อเกิดมีการพักลักจำเกิดขึ้นมา

    โดยไม่ลงมือพิสูจน์ความจริง(ไม่เพียร)ความรู้นั้น ก็เสียเปล่า

    ถึงเคยกล่าวไว้ว่า จิตไม่เกิด-ดับ แต่ก็บอกเสมอว่าจิตนั้นแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์

    ต้องลงมือปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อให้จิตเที่ยงตรงคงที่(เป็นอกุปปธรรม)ต่อพระนิพพาน

    แถมยังเน้นย้ำเสมอๆเช่นกันว่า ที่เกิด-ดับ คือสิ่งที่ถูกจิตรู้และจิตยึดไว้(อาการของจิต...

    ถ้าใครอ่านด้วยความรอบคอบ ไม่พลาดไปได้ ส่วนใหญ่มักอ่านข้ามๆ เอาทิฐิของตนเป็นที่ตั้ง

    คนพวกนี้มักยัดเยียดว่า มี"จิตเที่ยง" และ "จิตอมตะ"

    เพราะมองแค่ตรง "จิตไม่เกิด-ดับ" แต่ไม่เคยดูในส่วนที่กล่าวไว้ว่า "จิตแปรเปลี่ยนได้"

    แค่นี้ความเที่ยงแท้ถาวร ความอมตะไม่เปลี่ยนแปลง ก็หายไปแล้ว55+

    ถ้าคนรู้จักเก็บเอาสัจธรรมความจริง ก็ได้สัจธรรมความจริงไป

    ส่วนที่ชอบเอาแต่ความแน่แพ้ชนะ ก็ได้แต่ทิฐิความคิดของตนเองไป55+

    เจริญในธรรมสมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้
    ฯลฯ

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น

    ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล
    ฯลฯ

    เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว

    ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
    อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


    อ้างพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค อาเนญชสัปปายสูตร

    .................................................
    ^
    ^

    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว(พระพุทธพจน์)

    ความสิ้นตัณหา คือ ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ(พระนิพพาน)

    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ

    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
    นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.

    ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น(พระพุทธพจน์)


    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมจากพระโอษฐ์ทุกๆท่าน
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อาการเหล่านี้ เป็นลักษณะอาการของคนบ้า

    ถอนหายใจ เฮ้อ!!! บ่นไปด่าไป เดี๋ยวก็หัวเราะ ๕๕๕
    คงขาดสติ เวงกำแท้
     
  18. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พอไม่มีใครคุยเพื่อบันเทิงกิเลสด้วย
    ก็แบ่งจิตตนเองเป็นสองส่วน ส่วนนึงหัวเราะ ส่วนนึงเสพสุข
    ไอ้ส่วนที่หัวเราะ มันก็หัวเราะกับตัวเองเพื่อให้เกิดสุข แล้วเสพ
    ไอ้ส่วนที่เสพสุข มันก็อยากได้เพิ่ม มันก็เลยสั่งให้หัวเราะกับตัวเอง
    เป็นวงเวียน เกื้อหนุนกันไปมาในการเกิด เพื่อสนองกิเลสส่วนบันเทิง
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!! คนอะไรผ่านร้อนผ่านหนาวมาขนาดนี้ แต่นิสัยกับเหมือนอิสตรี

    คนบ้าเท่านั้น จึงรู้ว่าคนอื่นบ้า55+

    เจริญในธรรมที่ควรแก่วัยทุกๆท่าน
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    คนเก่ง....เพิ่งรู้จริงๆนะ ว่ามีระดับจิตเพียงแค่นี้

    ไหนลองแบ่งจิตออกเป็นสองส่วนให้ดูหน่อยสิ

    ที่ยกมานะไม่รู้จริงๆหรือว่า หัวเราะกับเสพสุขหนะ ส่วนเดียวกัน

    เป็นการบันเทิง...เสพสุขด้วยการหัวเราะกับตนเอง55+

    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมเท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...