แจกพระเหรียญเป็นพุทธานุสติโอกาสวันวิสาขบูชา.(ลงชื่อแล้วส่งซองมารับได้เลย)

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย phraedhammajak, 23 พฤษภาคม 2013.

  1. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    ปิดการแจก

    แจกพระเป็นพุทธานุสติ ในโอกาสวันวิสาขบูชา
    (กรุณาอ่านกติกาให้เข้าใจก่อนและทำตามตามกติกาการขอรับด้วย)
    เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาอาตมาขอมอบพระเครื่องให้กับผู้ที่สนใจนำไปเป็นเครื่องระลึกถึงพระรัตนไตรเป็นสิ่งยึดมั่นให้ทำความดี

    (เป็นเหรียญที่เก็บสะสมไว้สมัยเป็นสามเณรน้อยตอนนี้บวชเป็นพระแล้วจึงเลิกสะสมอยากจะมอบให้ญาติโยมไว้เป็นสิ่งระลึกถึงพระรัตนตรัยระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพจะได้นึกถึงธรรมะคำสอนของท่าน จะทำสิ่งไหนที่ไม่ดีผิดศีลผิดธรรม ก็ขอให้ระลึกถึงพระ จะได้มีสติไม่หลง โกรธก็นึกถึงท่านจะได้ใจเย็น อิจฉา โลภ หลง ให้มีพระเป็นพุทธานิสติอย่าหลงไปกับอารมณ์ฝ่ายกิเลสฝ่ายต่ำ )
    กติกาการขอรับ

    1
    .ลงชื่อและลำดับการขอรับ(รับได้คนละ2รายการ) () ให้ดูด้วยว่ามีผู้ใดขอรับไปก่อนแล้วหรือยัง ถ้าซ้ำกันก็ถือว่าผู้ลงชื่อก่อนมีสิทธิก่อน

    2.
    ลงชื่อพระที่เลือกขอรับไปบูชา เหรียญอะไร บอกเหตุผลด้วยว่าทำไมเลือกขอรับเหรียญนี้

    3
    .ลงรูปพระที่ขอรับ..พร้อมกับนำประวัติพระ หรือ วัด ที่ขอรับมาลงให้ทราบด้วยพอคราวๆ..อยากให้เล่าถึงประวัติองค์เจ้าของรูปในเหรียญหรือวัดที่ที่ท่านอยู่...ไม่ต้องบอกว่าเหรียญนี้สร้างยังไงหลวงพ่อไหนเสกบ้าง
    (หากโยมขอรับไปแล้วแต่โยมไม่รู้จักท่านไม่ทราบประวัติท่านก็คงไม่คอยดี)

    4
    .เล่าถึงวันวิสาขบูชา 24 พฤษภาคมนี้ ได้ไปทำบุญอะไรบ้าง

    5
    .ให้ส่งซองเปล่าพร้อมติดแสตมป์ พร้อมทั้งจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง
    ส่งมาที่ พระกฤษกร กิตติปญโญ
    สำนักสงฆ์แพร่ธรรมจักร เลขที่ 1
    บ้านน้ำพุ หมูที่ 3 ต.บ้านกวาง
    อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130
    6.ภายในซองจดหมายที่ส่งมาให้เขียนรายละเอียดว่าขอรับพระอะไรและชื่อของโยมที่ใช้ในเวปนี้แนปมาด้วย

    หมายเหตุ ทุกรายชื่อที่ส่งซองมารับพระจะได้รับแผ่นพับสวดมนต์ขนาดเล็กหรือหนังสือธรรมะร่วมไปด้วย สาธุ
    เหรียญที่มีผู้ขอรับไปแล้วได้รบภาพไปแล้วเพื่อง่ายต่อการจัดการ

    กติกาการขอรับเมื่อโยมได้ลงชื่อและแสดงความเห็นตามกติกาแล้วก็สามารถส่งซองมารับได้เลย ไม่มีการคัดเลือกว่าถูกหรือผิด เพียงอยากให้โยมได้รู้จักประวัติท่านให้ชัดเจนจะได้เกิดศรัทธาในพระที่ขอรับไปยิ่งขึ้น (สามารถหาข้อมูลได้ในกูเกิ้ล)

    ฝากกองบุญ
    [​IMG]
    ผลบุญดลให้ร่มเย็นเป็นสุขให้ชีวิตเป็นเจ้าภาพติดฝ้าเพดานศาลาปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร

    http://palungjit.org/threads/ผลบุญด...เป็นเจ้าภาพติดฝ้าเพดานศาลาปฏิบัติธรรม.493226/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  2. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    รายการพระที่แจก ปิดการแจก

    แจกผ้ายันต์ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร (ครูบามหาเถร)

    [​IMG][​IMG][​IMG]

    แจกรายการพิเศษ ผ้ายันต์ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร (ครูบามหาเถร)
    เพื่อให้ญาติโยมได้ศึกษาประวัติครูบาอาจารย์ เป็นอาจาริยบูชา
    จุดประสงค์ในการแจกไม่ใช้เพื่อให้โยมหลงงมงายหวังพึ่งแต่วัตถุภายนอก แต่เพื่อเป็นสังฆานุสติ เป็นเครื่องระลึกถึงพระอริยสงฆ์ระลึกถึงครูบาอาจารย์
    กติกาเพิ่มเติม ขอรับได้ท่านละหนึ่งผืน ลงชื่อจอง..และ ให้แสดงความคิดเห็นในการขอรับผ้ายันต์ ว่ามีความศรัทธาในตัวหลวงพ่อในด้านใด แล้วส่งซองมารับได้เลย



    พอดีได้ไปช่วยงานศพหลวงพ่อฟักรองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น เห็นเจ้าอาวาสท่านแจกเหลือจากงานปิดทองหลวงพ่อในวันวิสาขบูชา(หลวงพ่อฟักรองเจ้าอาวาสท่านมรณะภาพวันวิสาขะพอดี)ก็เลยขอมามอบให้กับผู้สนใจในกระทู้นี้
    [​IMG]

    ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร แห่งวัดสูงเม่น ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เป็นพระนักปฏิบัติชื่อดังในอดีต ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์

    อัตโนประวัติ ครูบามหาเถร เดิมชื่อ ปอย เป็นบุตรของนายสปินนะและนางจันทร์ทิพย์ ราษฎรในหมู่ที่ ๒ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เกิดปีระกา พ.ศ. ๒๓๓๒ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑

    ครูบามหาเถรบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒ ที่วัดศรีชุม เมืองแพร่ ได้ฉายาว่า กัญจนภิกขุ

    ท่านได้ทำการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและภาษาบาลีจนแตกฉาน รวมทั้งภาษาล้านนาได้ช่วยเป็นครูสอนพระภิกษุในวัดศรีชุมต่อมาระยะหนึ่ง ก่อนย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดสูงเม่น

    ครูบามหาเถรให้ความสนใจทางด้านวิ ปัสสนากัมมัฎฐาน มุ่งศึกษาจนแตกฉาน สามารถเป็นครูสอนได้อย่างเชี่ยวชาญ

    ภายหลังได้ศึกษาต่อที่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ เข้ารับการศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฎฐานกับพระมหาราชครูแห่งวัดสวนดอก เนื่องด้วยพระมหาราชครูมีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ มีอำนาจทางคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก แต่ท่านได้มีความเลื่อมใสครูบามหาเถรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอักษรบาลีและพระธรรมวินัย จึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

    พ.ศ. ๒๔๐๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ ได้รับสมณศักดิ์ฉายยาจากเจ้าหลวงเชียงใหม่ว่า ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร

    ครูบามหาเถรเดินธุดงค์ไปศึกษาเล่าเรียนต่อในประเทศพม่า จนสำเร็จฌานสมาบัติชั้นสูง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตและพระอรหันตธาตุ นำมาทูลเกล้าต่อเจ้าหลวงอินทวิชัยราชา เจ้าเมืองแพร่

    ต่อมา เจ้าหลวงเมืองแพร่ได้นำเข้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่พระองค์ท่านทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงให้นำกลับมาไว้ที่เจดีย์วัดมหาโพธิ์ ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่ เพื่อเป็นสมบัติของชาวแพร่สืบไป

    ท่านได้บูรณปฎิสังขรณ์ถาวรวัตถุพระพุทธศาสนาไว้ทั่วภาคเหนือ สะสมสรรพวิชาไว้ในคัมภีร์ใบลาน นอกจากนี้ ชาวสูงเม่นได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ทรงหกเหลี่ยมย่อยมุมไม้ ๑๒ ภายในบรรจุพระบรมธาตุและพระสารีริกธาตุ ซึ่งครูบามหาเถรนำมาจากประเทศพม่าเมื่อปี พ.ศ ๒๓๘๓ จำนวน ๓ ดวง และประดิษฐานรูปเหมือนจำลองของครูบามหาเถรไว้ที่เจดีย์แห่งนี้ และดำเนินการสร้างเส็รจ.เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘

    ครูบามหาเถรใช้เส้นทางเดิมศึกษาธรรมะจากแพร่ไปเชียงใหม่ จากแพร่ไปเมืองตาก ผ่าน แม่สอด เมืองระแหง ข้ามไปประเทศพม่าได้สร้างผลงานไว้มากมายอาทิ

    พ.ศ. ๒๓๘๓ สร้างเจดีย์วัดมหาโพธิ์ ต.ป่าแมต อ.เมืองแพร่

    พ.ศ. ๒๔๐๓ หล่อระฆังกังสดาลใหญ่ที่วัดพระสิงห์

    พ.ศ. ๒๔๑๒ ร่วมกับพระเจ้ากาวิโรรส จ้านครเชียงใหม่ บูรณปฎิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก วัดพระสิงห์

    ที่วัดสูงเม่นได้แกะสลักพระพุทธรูปไม้จำนวนมาก สร้างหอไตรวัดสูงเม่นและวัดศรีดอก ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น รวมไปถึงวัดดอนแกว ต.น้ำชำ อ.สูงเม่น

    ปัจจุบัน วัดสูงเม่นได้เก็บรวบรวมคัมภีร์โบราณล้านนาไว้เป็นจำนวนมาก กลายเป็นแหล่งวรรณกรรมและตำรา รวมถึงการบันทึกเรื่องราวในอดีตไว้อย่างน่าสนใจ

    จากการสำรวจและศึกษาวิจัย พร้อมทั้งทำการรวบรวมเก็บรักษาอย่างถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ม.ร.ว.รุจยา อาภากร เป็นประธานคณะกรรมการ ดร.ฮัลเลห์ เพนธ์ เป็นที่ปรึกษา เข้ามาศึกษาค้นคว้าเพื่อการอนุรักษ์และจัดแยกหมู่ ถ่ายไมโครฟิล์มไว้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแยกคัมภีร์ออกเป็นมัด บรรจุใส่ถุงผ้าจำนวน 2,567 จัดเป็นผูกได้ 8,845 ผูก

    จำแนกหมวดหมู่ รหัสชื่อเรื่อง ระบุจำนวนผูกปีและรหัสไมโครฟิล์มไว้อย่างเป็นระบบ บรรจุใส่ตู่จำนวน 10 หลัง มีอยู่ทั้งหมด 21 หมวด ดังนี้

    1. พระวินัย 2. พระสุตตันตปิฎก 3. พระอภิธรรม 4. คัมภีร์ภาษาบาลี 5. บทสวดมนต์ 6. อานิสงส์ 7. ชาดก 8. โอวาทคำกลอน 9. ประเพณีพิธีกรรม 10. ธรรมทั่วไป 11. นิยายธรรม 2122. นิยายนิทานพื้นบ้าน 13. ตำนานพุทธศาสนา 14. ตำนานเมืองราชวงศ์ 15 กฎหมาย 16. ตำราอักษรศาสตร์17. กวี นิพนธ์ ร้อยกรอง 18. ตำราโหราศาสตร์ 19. ตำรายา 20. รวมหลายหมวด 21. อื่นๆ

    ครูบามหาเถร จึงนับเป็นพระภิกษุที่คุณประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาไว้อย่างมหาศาลยิ่ง.

    ผลงานของครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร วัดป่าสูงเม่น

    หลักที่ ๗๙ จารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จ.ลำพูน สร้างหล่อกังสะดาน หน่วยนี้แต่เมื่อจุลศักราช 1222 ปีกดสัน เดือน 9 ออก 3 ค่ำ วันอังคาร (พ.ศ. 2403ป หล่อกัญจนะเจ้าวัดป่าเมืองแป่ เป็นแก่ศรัทธาภายใน เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่เป็นแก่ศรัทธาภายนอก พร้อมกันสร้าง หล่อในวัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่ มาไว้เป็นเครื่องบูชาทานกับพระธาตุเจ้าอันตั้งไว้ในเมืองหริภุญชัย ที่นี้ 5,000 พระวสาแล ได้ 136 ปี

    คำบูชาพระธาตุเจ้าหริภุญชัย

    สุวัณณะเจติยัง, หะริภุญชะยุฎธัง, วะระโวรีธานัง, อุรัฎฐิเสฎฐัง, สะหะอังคุลิฎฐิง, กัจจายะนเนานีตะ, ปัตตปูรัง,สีเสนะมัยหัง, ปะนะมานิธาตุง, อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ

    ข้าพเจ้าขอเอาเศียรเกล้าของข้าพเจ้า, นอบน้อมพระธาตุอันเป็นพระเจดีย์ทอง, ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหริภุญชัย, คือพระอัฎฐิเบื้องธารพระโมลีอันประเสริฐ, พระอัฎฐิเบื้องพระทรวงอันประเสริฐสุด, กับทั้งพระอัฎฐิพระองคุลี, และพระธาตุย่อยเต็มบาตรหนึ่ง, อันพระกัจจายะนะนำมา, ข้าพเจ้าขอวันทา, ในกาลทุกเมื่อแลฯ

    ครูบามหาเถรเป็นผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลม ได้ศึกษาพระธรรมจนแตกฉานถึงขั้นสมบัติชั้นสูงและความรอบรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ได้จารึกแสวงบุญไปยังเมืองต่างๆเป็นนักบุญแห่งล้านนาองค์หนึ่ง ได้เดินทางไปยังวัดต่างๆทั้งในจังหวัดแพร่และจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือ เพื่อชักชวนพระสงฆ์และฆราวาสผู้มีความรู้ ให้มาจาร(จารึก)ความรู้แขนงต่างๆลงในใบลาน ทำการสังคายนาเพื่อสงวนไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ได้ดำเนินการหลายวัดในจังหวัดแพร่ เช่น วัดสูงเม่นวัดศรีชุม วัดมหาโพธิ์ วัดเหมืองหม้อ วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน วัดสวนดอก วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีจุมแก้ว กว้างหัวเวียง จังหวัดลำปาง วัดป่าอัมพวัน เมืองระแหง จังหวัดตาก นอกจากนั้นได้เดินทางไปดำเนินการ ณ ประเทศใกล้เคียง เช่น วัดวิสชุลาวนาราม เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เป็นต้น ทุกแห่งที่ครูบามหาเถรได้ดำเนินการสังคายนาพระไตรปิฏก และจารลงในใบลาน ครูบามหาเถรจะนำคัมภีร์ใบลานส่วนหนึ่งมาไว้ที่วัดสูงเม่น และมีการเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน

    นอกจากการสังคายนาพระไตรปิฏกแล้ว ครูบามหาเถรยังได้ดำเนินการชักชวนศรัทธาสร้างเจดีย์ หอพระธรรม หอระฆัง พระพุทธรูปไว้ในวัดต่างๆมากมายและมีการบันทึกลงในศิลาจารึกของวัดต่างๆหลายวัด

    ด้านการปกครองสงฆ์ นอกจากเป็นเจ้าอาวาสสูงเม่นแล้ว ครูบามหาเถรได้

    ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ครูบามหาเถร จังหวัดแพร่ วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น

    บุคคลสำคัญทางศาสนา วิถีชีวิต



    ฝากกองบุญ
    ผลบุญดลให้ร่มเย็นเป็นสุขให้ชีวิตเป็นเจ้าภาพติดฝ้าเพดานศาลาปฏิบัติธรรม
    http://palungjit.org/threads/ผลบุญด...เป็นเจ้าภาพติดฝ้าเพดานศาลาปฏิบัติธรรม.493226/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  3. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  4. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  5. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  6. bluemachine

    bluemachine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +184
    ๑. ลำดับที่ ๑
    ๒. เหรียญที่13 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขอรับเหรียญนี้เพราะรู้สึกผูกพันธ์กับพระองค์ท่านครับ
    ๓.
    [​IMG]
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสยามประเทศที่ทรงมีคุณูประการต่อชาติไทยอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจที่คนไทยรู้จักพระองค์ดีที่สุดคือการกู้เอกราชกลับคืนมาจากหงสาวดีครับ
    ๔. วันวิสาขบูชานี้ไปทำบุญที่วัดท่าซุง จ.อุทัยธานีครับ(ตั้งใจจะทำทุกอย่างที่ทางวัดตั้งกองบุญขึ้นครับ เพื่อสร้างบารมีของสาวกภูมิให้เต็มและสนองคุณองค์สมเด็จฯท่านครับ)

    ขอกราบนมัสการและอนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  7. porn-ph

    porn-ph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +203
    1.ลำดับที่ 2
    2.เหรียญที่ 28 เหรียญพระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุช่อแฮ เหตุที่เลือกเพราะอยากไปกราบสักการะ แต่คงไม่มีบุญพอที่จะได้ไปค่ะ
    3.พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้นิยมมากราบไหว้ บนบานศาลกล่าวอยู่เสมอ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใครมาขอพรแล้ว จะได้สิ่งนั้นอย่างสมประสงค์ พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดปีเสือ พระธาตุช่อแฮ หมายถึง เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    4.วันวิสาขบูชาจะไปเวียนเทียนอาจจะเป็นที่ท้องสนามหลวงค่ะ

    (อัพรูปไปไว้ที่ข้อ3ไม่ได้ค่ะ ทำกี่ครั้งก็ลงมาอยู่ข้างล่างไม่ทราบจะผิดกติกาหรือเปล่า)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 40753.jpg
      40753.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      54
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  8. tudsanai047

    tudsanai047 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +1,291
    ลำดับ 3

    เหรียญที่ 9
    [​IMG][​IMG]
    หลวงปู่ทิมวัดพระขาวอยุธยา 41 รุ่นโชคดี
    2.เหตุผลที่เลือก เพราะหลวงปู่ทิมเป็นพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

    3. ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ ซึ่งเป็นปีฉลู ชาวบ้านพระขาว และชาวประชาราษฎรในเขตอำเภอบางบาล จังหวัด
    พระนครศรีอยุธยา ทุกคนต่างก็เศร้าสลดอย่างสุดซึ้ง เมื่อได้ทราบข่าวคราวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับคืน
    มาของพระเกจิอาจารย์ ผู้ซึ่งมีวิชาอาคม และเวทมนตร์ที่เก่งกาจมาก ในสมัยนั้นสามารถใช้คาถาอาคม สะบัดผ้า
    ไปทางไฟที่กำลังลุกไหม้ให้ดับได้อย่างใจนึก และยังมีวาจาสิทธิ์อีกด้วย ให้แม่ครัวใช้กระบุงใส่ถ้วย ชาม จาน
    นำไปกระเหย่าน้ำล้างโดยไม่แตกร้าวแม้แต่น้อยนิดเลยทีเดียว ท่านผู้นั้นก็คือ "หลวงพ่อปั้น แห่งวัดพิกุล
    อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา" ซึ่งชาวอยุธยาต่าง เสียดายเป็นอย่างยิ่งในการจากไปของท่าน ซึ่งเป็นพระ
    เกจิอาจารย์ชั้นยอดในยุคนั้น เมื่อมีเกิดก็ย่อมมีดับสูญ เป็นธรรมดาในโลกมนุษย์ปัจจุบัน มีสุขแล้วก็ต้องทีทุกข์
    มีดีใจก็ต้องเสียใจ เป็นเรื่องธรรมดา ของสามัญชนใน ภพนี้ สุดที่จะหลีกเลี่ยงได้เลย เมื่อชาวพระขาว อ.บางบาล
    ต่างเสียอกเสียใจกันใหญ่หลวงแล้ว เทพเจ้าแห่งเบื้องบนท่านเกิดความสงสารมีเมตตาต่อ ชาวบ้านย่านนี้ จึง
    ประทานเด็กผู้ชายให้มากำเนิดในปีเดียวกันนี้ ณ ถิ่นฐาน ย่านเดียวกัน ตำบล อำเภอ และจังหวัดเดียวกันนี้ทุกประ
    การ ดั่งคำพังเพยที่ว่า "กรุงศรีอยุธยาย่อมไม่สิ้นคนดี มีวิชา" เด็กชายผู้นี้ บิดามารดาได้ตั้งชื่อ และแจ้งเกิดต่อ
    กำนัน ต.พระขาว อ.บางบาล ให้ชื่อว่า "เด็กชายทิม ชุ่มโชคดี" เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖
    ปีฉลู ที่บ้าน เลขที่ - หมู่ที่ ๓ ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ ๕ ของ คุณพ่อพร้อม
    คุณแม่กิ่ม ชุ่มโชคดี ตามลำดับดังนี้
    คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย
    คนที่ ๒ พี่เทียบ ชุ่มโชคดี (เสียชีวิตแล้ว)
    คนที่ ๓ พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ ๕ ต.พระขาว (เสียชีวิตแล้ว)
    คนที่ ๔ พี่ทอด ชุ่มโชคดี (เสียชีวิตแล้ว) คนที่ ๕ หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี
    คนที่ ๖ นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี (เสียชีวิตแล้ว)




    ครั้งแรกเมื่อยังเป็นเด็ก ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดพิกุล อ.บางบาล พ่อ-แม่
    สมัยก่อนมักจะพาลูกหลานไปฝากให้พระตามวัดที่อยู่ใก้ลบ้านสอนอบรมบ่มนิสัยก่อน
    เพราะยังไม่มี ร.ร.อนุบาลเหมือนสมัยนี้ พออายุย่างเข้า ๑๐ ขวบ ก็มาเข้าเรียน ซึ่งเป็น
    โรงเรียนประชาบาล อยู่วัดพิกุลที่นั้น ค่าเล่าเรียนเก็บเป็นรายเดือนๆ ละ ๕๐ สตางค์
    ในสมัยนั้น โดยเฉพาะเด็กวัดไม่คิดค่าเล่าเรียน หลวงปู่เป็นเด็กวัด อยู่กับหลวงปู่น้อย
    สมัยนั้นใช้พระสอนเพราะยังไม่มี ร.ร. มีพระสังเวียนเป็นผู้สอน ต่อมาเจริญขึ้นมี
    ร.ร.ประชาบาลเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มีครูจำเนียร ภู่ประเสริฐ เป็นครูใหญ่และครูน้อยเสร็จ
    หลวงปู่ได้อยู่กับหลวงปู่น้อย ซึ่งเป็นพระปลัดของหลวงพ่อปั้น หลวงปู่ท่านเกิด ไม่ทัน
    หลวงพ่อปั้นซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกาจมาก ในสมัยนั้นแต่ก็เกิดปีเดียวกับหลวงพ่อ
    ปั้นท่านมรณภาพพอดี เสมือนกับว่าเทพเจ้าท่านได้ให้มาเป็นตัวแทนกับหลวงพ่อปั้นก็ว่า
    ได้ใครจะรู้หลวงปู่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน อยู่วัดพิกุลมาจนอายุ ๑๓ ปี ก็จบ ป.๔ ออกจาก
    ร.ร.วัดพิกุลก็มาช่วย บิดา-มารดา ทำนาอยู่กับบ้าน เพราะหลวงปู่ทิม พื้นเพของหลวงปู่
    ท่านเป็นชาวนา



    เข้าอายุเกณฑ์ทหาร หลวงปู่ท่านถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารทันทีโดยไม่ต้อง
    คัดเลือกเลย เพราะหลวงปู่ท่านเป็นคนใหญ่โต จัด อยู่ ใน ประ เภท ดี ๑
    ประเภท ๑ ไม่ ต้อง จับ เลือก ใบดำ ใบแดง เหมือน สมัย ปัจจุบัน ใน ปี
    พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงปู่ประจำอยู่ ร.พัน ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตำบล
    สวนเจ้าเชตุ(หน้าวัง- สราญรมย์) เป็นทหารประจำการอยู่ ๑ ปี กับ ๓ เดือน
    ก็ปลดจากทหารเกณฑ์


    ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๘ เมื่อกลับมาอยู่บ้านก็มาบวชตามประเพณีของลูกผู้ชายไทย เพื่อทดแทน
    พระคุณ และค่าน้ำนมของ พ่อ-แม่ อุปสมบท ณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.อยุธยา มีหลวงพ่อปุ้ย วัดขวิด อ.บางบาล
    เป็นอุปัชฌาย์อาจาร์ย และหลวงลุงหลิ่ม วัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาส
    วัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์อุปสมบท อยู่ในบวรพระพุทธศาสนา ๑ พรรษา ก็ลาสิกขาในระหว่างอุปสมบท
    ๓ เดือน นั้น หลวงปู่ได้ทำกิจของสงฆ์โดยท่องหนังสือ และสวดมนต์ไหว้พระ ไม่มีใครเสมอเหมือนได้เลยเพราะ
    ทั้งเจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน หลวงปู่สามารถท่องจำได้ทั้งหมดทั้งสองอย่าง จนพระอาจารย์หลิ่ว
    เจ้าอาวาสวัดพิกุล อ.บางบาล ท่านไม่อยากให้หลวงปู่สึก ท่านเสียดายมาก เมื่อหลวงปู่ไปขอลาสิกขา จากท่านคง
    จะเป็นเพราะบุญและบารมีของหลวงปู่ขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานสาเหตุที่หลวงปู่ต้องลาสิกขาใน
    ครั้งนี้ ก็เพราะมีความสงสารมารดาเป็นอย่างมากที่ต้องลำบากตรากตรำ ทำนาเนื่องจากบิดาท่านมาเสียชีวิต
    ตั้งแต่หลวงปู่ท่านยังตัวเล็กๆ จึงตัดสินใจลาสิกขา เพื่อมาช่วยมารดาทำนาเป็นการตอบแทนพระคุณที่ได้อุ้ม
    เลี้ยงหลวงปู่มาตั้งแต่เล็กจนเติบโตใหญ่ พระคุณท่านใหญ่หลวงนักถึงจะเปรียบเอาโลกมาทำปากกา เอานภามา
    แทนกระดาษ เอาน้ำทั้งหมดมหาสมุทรมาแทนน้ำหมึก ประกาศพระคุณแม่ไม่พอ


    เมื่อย่างเข้าวัยเบญจเพศ ทางมารดาท่านก็มาอ้อนวอนให้มีครัวเรือน ตามประเพณีของผู้เฒ่าผู้แก่สมัยโบราณ เพื่อที่จะได้มีความรับผิดชอบ
    ต่อตนเองและผู้อื่นพูดตามภาษาชาวบ้านก็คือ จะได้เป็นผู้ใหญ่เสียที พูดตามภาษาชาวบ้านก็คือ จะได้เป็นผู้ใหญ่เสียทีหลวงปู่ใช้ชีวิตในการ
    ครองเรือนตามประเพณีอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ก็มีเหตุการณ์จำเป็นเกิดขึ้น คือ ในปีพ.ศ.๒๔๘๔ เป็นปีที่หลวงปู่มีความภาคภูมิใจมากในชีวิต ที่ได้
    เกิดขึ้นมาเป็นลูกผู้ชายไทย เพราะได้มีโอกาสรับใช้ชาติบ้านเมือง เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณ ให้กับพื้นแผ่นดิน ที่ตนได้อาศัยเพื่อที่ใช้ฝัง
    ร่างกายในบั้นปลายของชีวิต เมื่อหมดลมหายใจ จะได้ไม่เป็นหนี้ในผืนแผ่นดินที่ตนกำเนิด เมื่อทางรัฐบาลไทยต้องการเรียกร้องดินแดนคืน
    จากฝรั่งเศส มีเมืองปอยเปรสศรีโสภณ-เสียมราษฎร์ และพระตะบอง ซึ่งเป็นดินแดนที่ประวัติศาสตร์ไทยจารึกไว้มาจนทุกวันนี้ หลวงปู่ท่าน
    ถูกระดมไปผ่านศึกยังประเทศเขมรในครั้งนี้ด้วย เป็นเหตุการณ์ที่หลวงปู่ระลึกถึงทุกคืนวัน คืนหลวงปู่ท่านได้ปะทะข้าศึกอย่างชนิดที่เรียกว่า
    ประจัญบานต่อหน้าเลยทีเดียวด้วยบุญญาธิการและวาสนาที่มีมาแต่กำเนิด หลวงปู่ก็รอดปลอดภัยมาได้ด้วย
    คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณของ บิดา มารดา ที่หลวงปู่ท่านได้ระลึกและนึกถึงอยู่ประจำใจ ในขณะ
    ที่กองทัพทั้งสองฝ่ายกำลังต่อสู้กับข้าศึกชนิดประจัญบานอยู่นั้น หลวงปู่ท่านมีจิตใจเป็นวิหารธรรมมั่นอยู่เสมอ คือ มีความตั้งใจว่า "ข้าพเจ้า
    ที่ยิงไปนี้ไม่ได้ต้องการเอาชีวิตท่าน ข้าพเจ้าที่ยิ่งไปนี้ก็เพื่อป้องกันแระเทศ ชาติ-ศาสนา-องค์พระมหากษัตริย์ เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญ ขอพวก
    ท่านจงหลีกไปเสีย" ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหลวงปู่ท่าน กำหนดดวงจิตเป็นเมตตาธรรมแผ่เมตตาธรรมต่อศัตรูที่กำลังจ้องจะปลิดชีวิตของตน แม้แต่ชีวิต
    ของตนก็ยังไม่ห่วง แสดงให้เห็นถึงชีวิตจิตใจของหลวงปู่ท่าน ซึ่งมีจิตเป็นกรรมฐานตั้งแต่ครั้งเมื่อยังเป็นฆราวาสเลยจริงๆ ผลสุดท้ายข้าศึกก็
    พ่ายแพ้แตกทัพกลับไปทำให้ไทยเราได้ชัยชนะในการรบทำสงครามแย่งดินแดนต่างๆ ที่ตกเป็นของกัมพูชากลับคืนมาตามเดิม ใช้ระยะเวลา
    ออกศึกสงคราม ประมาณ ๖ เดือนเศษ ศึกสงครามก็สงบลง หลวงปู่ท่านได้รับบัตรเหรียญชัยสมรภูมิเป็นเครื่องเทิดทูนประจำตัวนับว่าหลวงปู่
    ท่านได้รับเกียรติยศอันสูงส่งยิ่ง ซึ่งเป็นเกียรติยศที่ภาคภูมิใจที่สุดของหลวงปู่ ที่ได้มีโอกาส มารับใช้ประเทศชาติบ้านเมืองในยามที่ ประเทศ
    ชาติต้องการ ซึ่งเป็นคำพูดที่ออกจากใจจริงของหลวงปู่ท่านช่างผิดกับชายในสมัยนี้ชอบหลบหนีหาโอกาสหลีกเลี่ยงทหารกันมากต่อมาก




    เมื่อสิ้นศึกสงครามเรียกร้องดินแดนคืนได้แล้วหลวงปู่ ท่านก็กลับมาพักผ่อนยังบ้านเกิดเมืองนอน
    พระนครศรีอยุธยา ได้ประมาณ ๗ เดือนเศษๆ ในระหว่างนั้นศึกสงครามยังไม่สงบดี หลวงปู่ก็ต้องถูกเรียก
    ระดมกลับเข้าไปประจำการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นศึกสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยเรา คือ "สงคราม
    โลกครั้งที่ ๒ " เราทราบกันดีจาก ปู่-ย่า-ตาและยาย ที่ได้เล่าสู่ให้ฟังกันบ่อยๆ ครั้งกระนั้นประเทศ
    ไทยเราถูกเข้าร่วมรบกับประเทศญี่ปุ่นและเยอรมัน เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่มีอะไรตื่นเต้นมากนัก ด้วยเหตุที่
    ว่าหลวงปู่ท่านประจำการอยู่รักษาความสงบภายใน เพื่อคุมเชิงรบให้กับฝ่ายสัมพันธมัตร จนกระทั่ง
    สงครามสงบลง ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ท่านก็ได้รับอิสรภาพเรื่อยมา จนทุกวันนี้ กลับจากศึกสงครามมาทำนา
    อยู่ยังบ้านพระขาว อ.บางบาล กับครอบครัวตามเดิมใช้ชีวิตครองเรือนอยู่กินกับบุตรและภรรยาชั่วระยะเวลา
    ไม่กี่ปีก็เกิดเบื่อหน่ายในทางโลก โบราณท่านว่าเมื่อบุญญาธิการและวาสนามีมาถึงก็จะทำให้บังเกิดความ
    เบื่อหน่ายในชีวิตของการเป็นฆราวาสแล้วก็จะช่วยดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆนานาขึ้น คือชาวบ้าน
    ในตำบลพระขาว และใก้ลเคียงเกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง โรคนั้นก็คือ "โรคห่ากินคน" หรืออหิวาตกโรค
    นั้นเอง ชาวบ้านแถวย่านนั้นได้ล้มเจ็บกันและก็ตายด้วยโรคห่ากันเป็นจำนวนมาก หลวงปู่ท่านก็ประสบ
    กับเขาเหมือนกันแต่บุญวาสนาให้ฟังดังต่อไปนี้วันหนึ่งในเวลาเช้า หลวงปู่เตรียมตัวจะไปไถนา
    ยังกลางทุ่ง ก็เกิดปวดท้องขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียก่อน แล้วก็ไปถ่ายเพียงครั้งเดียวแท้ๆ ก็หมดแรงเดิน
    แทบไม่ไหว ต้องกลับขึ้นมานอนบนเรือนอาศัยเยียวยาแบบชาวบ้านในสมัยนั้น คือ รักษาพยาบาลด้วยตน
    เองไม่มีมดมีหมอเหมือนกับสมัยนี้ แล้วให้ภรรยาขุดเอาข่าที่ปลูกไว้ข้างบ้านมาโขลกกินกับเหล้าขาวจน
    หมดแก้วท้องก็หยุดเดินทันที ถึงกระนั้นก็ยังมีลมปั่นป่วน อยู่ในท้องโครกคราก หลวงปู่ก็เริ่มมีสติระลึกนึก
    ขึ้นมาได้ว่า โรคนี้มันร้ายแรงมากนัก โดยยกมือขึ้นมาดู ว่านิ้วและฝ่ามือเป็นล่องหรือเปล่า ถ้าชักล่องก้ต้องตาย
    แน่ แล้วก็เอากระจกมาส่องดูอีกว่าใบหน้าตาของตนเองลึกและโหลอย่างเขาว่ากันก็ต้องตายแน่ๆ จึงตั้งจิต
    แล้วอธิษฐานในใจต่อ "คุณพระพุทธ คุณพระธรรม และคุณพระสงฆ์" ว่าอย่าเพิ่งหมดอายุเลย ตัวของข้าพเจ้า
    นี้ยังปฏิบัติมาในบวรพระพุทธศาสนา นี้น้อยนักให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยต่อพระพุทธศาสนา อีกสักหน่อยเถิด
    ค่อยตายจะไม่ว่ากระไรเลย (เพราะหลวงปู่ได้ถืออุโบสถอยู่เป็นประจำตลอดมาตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส) ด้วยแรง
    อธิษฐานของหลวงปู่ในครั้งกระนั้นโรคนี้ก็ได้บรรเทาและก็หายอย่างปาฏิหารย์เลยทีเดียว เมื่อหายจากโรคห่านี้
    แล้ว หลวงปู่ก็ได้รักษาพระอุโบสถตามสัญญาเรื่อยมาไม่เคยขาดเป็นเวลา ๕ ปี ก็บังเกิดมี จิตใจศรัทธาใน
    บวรพระพุทธศาสนาขึ้นอย่างจับจิตจับใจอย่างมากและบุญญาและบารมี ช่วยดลใจบันดาลให้มองเห็นอะไร
    เกิดเบื่อหน่ายในชีวิตของการเป็นฆราวาส ตั้นแต่บัดนั้นเรื่อยมา หลวงปู่ท่านจะเล่าให้เราฟังต่อดังนี้
    วันหนึ่งเป็นวันถืออุโบสถ ข้าพเจ้าได้มารักษาอุโบสถที่วัดพิกุล ในตอนบ่ายมีพระธรรมเทศนาขึ้นที่
    วัดบนศาลาการเปรียญ ข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาจบแล้วก็เลยเข้าไปคุยกับพระในกุฎิ บังเอิญพระท่าน
    ได้วางหนังสือนวโกวาท เอาไว้ที่เตียงนอนของท่านข้าพเจ้าก็หยิบมาอ่านดูในเรื่องสิกขา ๓ คือ เรื่อง
    ศีล-สมาธิ และปัญญา ซึ่งแปลความว่า ความสำรวม กาย-วาจา ให้เรียบร้อย ชื่อว่าศีล ความรักษาใจมั่น
    ชื่อว่าสมาธิ ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา เท่านั้นเองข้าพเจ้าก็บังเกิดความเลื่อมใสแล้วก็ตั้งใจ
    ปฏิญาณในใจว่า "เมื่อเกิดมาเป็นลูกผู้ชายต้องบวช ให้ได้อีกสักครั้งหนึ่ง" ข้าพเจ้ามานึกถึงเมื่อบวชครั้ง
    แรกไม่ได้เรียน-ไม่ได้รู้อะไรเลย แม้แต่หนังสืออย่างนี้ ็ไม่มีอ่านและก็ไม่มีครู - อาจารย์สั่งสอนด้วย ข้าพเจ้า
    มีความตั้งใจมั่นและแน่วแน่จะต้องบวชให้ได้อีกครั้งตั้งแต่บัดนั้นมา
    หมายเหตุ บางคนอาจจะเข้าใจว่าการบวชครั้งที่ ๒ นี้ เรียกว่าเป็นชาย ๒ โบสถ์ คำว่า ชาย ๒ โบสถ์
    หมายถึง คนที่บวชสองหน หนละศาสนา เช่น บวชครั้งแรกบวชอยู่ในบวรพุทศาสนาแล้วสึกออกไปบวช
    อยู่อีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พุทธศาสนา เช่นนี้ เรียกว่า ชาย ๒ โบสถ์ โบราณว่าเป็นคนไม่ดี


    3.วันวิสาขบูชา ตั้งใจจะไปทำบุญในวัดที่จังหวัดนครนายกครับ
     
  9. aphimon

    aphimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +449
    1.ลำดับ 4
    2.เหรียญที่ 19
    [​IMG][​IMG]
    เหรียญหลวงปู่คำคนิง จุลมณี
    3.ลวงปู่คำคะนิง จุลมณี

    วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี

    ข้อมูลจากเวบพระรัตนตรัย โพสท์โดย prt เมื่อ วันอังคาร 21 มิถุนายน 2005

    นามเดิม :- คำคะนิง

    เกิด :- ที่บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ ๒๔๓๗

    โยมบิดา - มารดา :- ชื่อนายดิน ทะโนราช และนางนุ่น

    (หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ก่อนจะบวชเป็นพระภิกษุ ท่านเคยเป็นฤาษีชีไพรมาก่อน ๑๕ ปี )

    บรรพชา :-

    เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี บวชได้ ๙ วัน เพื่อทดแทนคุณบิดามารดาที่ตายไป หลังจากนั้นพบครบก็ต้องลาสึก แม้ว่าอยากจะบวชต่อเพียงไรแต่เพราะมีหน้าที่ความจำเป็นต้องเลี้ยงดูครอบครัว (ท่านแต่งงานเมื่ออายุ ๑๘ ปี มีบุตร ๒ คน ) แต่ท่านก็ยังยึดมั่นในการปฏิบัติธรรมโดยการทำงานหาเงินให้เมียกับลูกตอนกลางวัน พอกลางคืนท่านก็ไปนอนที่วัด ถือศีลปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาไม่กลับไปอยู่ที่บ้าน เพียงดูแลลูกและเมียไม่ให้อดอยาก ทำเช่นนี้จนภรรยาทนไม่ได้ที่เห็นสามีปฏิบัติตัวแบบนี้ จึงอนุญาตให้หลวงปู่บวชได้ตามใจปรารถนา เมื่อเป็นดังนั้นท่านจึงกลับไปวัดที่ตนเคยบวชเณรอีกครั้ง เพื่อพักอาศัยปฏิบัติธรรม อยู่ต่อมาได้ไม่นานท่านก็ได้เพื่อนสหมิกธรรมร่วมอีกสองคน จึงมีความดำริที่คิดจะออกแสวงหาครูบาอาจารย์

    ก่อนจะบวชก็เคยออกสืบเสาะหาพระอาจารย์ด้านกรรมฐานเก่งๆ ได้มีสหาย ๒ คนร่วมเดินทางไปหาอาจารย์สีทัตถ์ เมืองท่าอุเทน แต่ก็ผิดหวัง เมื่ออาจารย์สีทัตถ์กล่าวปฏิเสธ แต่ก็แนะนำให้ไปหาอาจารย์เหม่ย ทั้งหมดรีบมุ่งไปหาอาจารย์เหม่ย เพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ อาจารย์เหม่ยนิ่งฟังแล้ว กล่าวด้วยเสียงห้วนๆ

    “ถ้าจะมาเป็นศิษย์เรา ทั้งสามคนนี้จะมีคนตายหนึ่งคน มีใครกลัวตายบ้าง”

    อาจารย์เหม่ยชี้ถามรายตัว เพื่อนอีกสองคน ยอมรับว่ากลัวตาย ครั้นมาถึงนายคำคะนิง เขาได้ตอบอาจารย์ออกไปว่า “ไม่กลัวตาย”

    อาจารย์เหม่ยเลยให้เพื่อนอีกสองคนที่กลัวตายกลับไป แล้วหันมาทางนายคำคะนิงแล้วพูดว่า

    “การเรียนวิชากับอาจารย์นั้น มีทางตายจริงๆ เพราะมันทุกข์ทรมานอย่างที่สุด”

    ให้นำเสื้อผ้าที่มีสีสันทิ้งไป ใส่ชุดขาวแทน เป็น “ปะขาว” ในฐานะศิษย์

    ในสำนักมีแต่ข้าวตากแห้งกับน้ำเพียงประทังชีวิตพออยู่รอดไปวันๆ เวลานอนก็เอามะพร้าวต่างหมอนนายคำคะนิงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดเรื่องการตายขึ้น ของชายผู้หนึ่งที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ คนผู้นี้นั่งสมาธิจนตาย อาจารย์สั่งนายคำคะนิงให้แบกศพที่ตายเข้าป่า โดยมีอาจารย์เดินนำหน้า ข้ามเขาลูกหนึ่งไปสิบกว่ากิโลเมตรไปถึงต้นไม้ใหญ่สองคนโอบ แล้วสั่งให้เขามัดศพกับต้นไม้นั้น จากนั้นสั่งกำชับว่า

    “เจ้าจงเดินเพ่งศพนี้ไปเรื่อยๆ ทั้งวันทั้งคืน อย่าได้หยุด ให้พิจารณาอสุภกรรมฐานอย่างถ่องแท้ พรุ่งนี้เช้าค่อยเจอกัน”

    นายคำคะนิงจึงได้เริ่มพิจารณาศพตามที่อาจารย์เหม่ยสั่งไว้ ถึงรุ่งเช้านายคำคะนิงจึงกลับไปสำนักตามที่อาจารย์กำหนด อาจารย์เหม่ยถามขึ้นเป็นประโยคแรกเมื่อเจอหน้า

    “เป็นอย่างไงบ้าง”

    “ศพนั้นก็เหมือนตัวศิษย์ครับอาจารย์ ไม่มีอะไรแตกต่างตรงไหนเลย” นายคำคะนิงบอก

    “กลัวไหม” อาจารย์ถาม

    “ไม่กลัวครับ เพราะเขาก็เหมือนเรา เราก็เหมือนเขา”

    อาจารย์ไม่ถามอะไรอีก สั่งให้ไปเอามีดเล่มหนึ่งทั้งศิษย์และอาจารย์ต่างเดินทางกลับไปหาศพ ณ ที่เดิม

    พอไปถึง ก็สั่งให้แก้มัดเอาศพออกมานอนราบกับพื้นดิน แล้วสั่งให้นายคำคะนิงผ่าท้องเอาศพออก จากนั้นอาจารย์ก็กล่าวว่า ให้หยิบอะไรออกมา ต้องอธิบายอวัยวะนั้นได้ และต้องบอกดังๆ เมื่อนายคำคะนิงชำแหละศพ ตัดหัวใจ ตับ ปอด ไต กระเพาะ และสิ่งต่างๆ ก็จะตะโกนบอกอาจารย์ด้วยเสียงอันดัง จนครบหมดถูกต้อง

    “เอ๊า... คราวนี้ชำแหละเนื้อลอกออกให้เหลือแต่กระดูก”

    อาจารย์เหม่ยสั่งให้เขาทำต่อ และนั่งดูจนเสร็จเรียบร้อย จึงได้สั่งอีกเอากองเนื้อและเครื่องในไปเผาให้หมด เอากระดูกรวมไว้ต่างหาก แล้วเอาไปต้มล้างให้สะอาด เหลือแต่กระดูกล้วนๆ อย่าให้มีอะไรติดอยู่

    นายคำคะนิงปฏิบัติตามที่อาจารย์สั่งทุกประการ เนื้อตัวของนายคำคะนิงเต็มไปด้วยรอยเปื้อนเลือด, น้ำเหลือง และมีกลิ่นศพติดตัวเหม็นคละคลุ้ง อาจารย์เหม่ยยังไม่เลิกรา สั่งต่อไปให้เขานับกระดูกและเรียงให้ถูก เขาลงมือปฏิบัติตามทันที

    “กระดูกมีสองร้อยแปดสิบท่อนครับ อาจารย์”

    อาจารย์เหม่ยอธิบายอีกว่า คนที่จะบรรลุธรรมด้วยความเพียรบำเพ็ญ ต้องมีกระดูกครบสามร้อยท่อนกระดูก คือ พระวินัย เนื้อหนังมังสาเป็นพระวินอก ส่วนระเบียบคือ หู ตา จมูก ปาก มือ เท้า หลังจากได้เรียนรู้วิชาจากอาจารย์เหม่ยหลายสิ่งหลายอย่าง อาจารย์ก็ไล่ให้ไปสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมเอาเอง นายคำคะนิงจึงยึดเอาโยคีเป็นรูปแบบภายนอก และถือศีลภาวนาอย่างพระภิกษุตั้งแต่บัดนั้นมา

    พบหลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค

    ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ในปีหนึ่ง เดินธุดงค์คราวนี้หลวงพ่อปานได้นำศิษย์เอก ๔ รูป ไปด้วยมีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง) หลวงพ่อฤาษีลิงขาว หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก และพระเขียน หลวงพ่อปานพาลูกศิษย์ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม มุ่งหน้าไปทางภาคเหนือ ข้ามเขตชายแดนลึกเข้าไป กระทั่งเข้าเขตเชียงตุง

    วันหนึ่ง...คณะของหลวงพ่อปานได้ผ่านไปถึงถ้ำแห่งหนึ่ง และได้พบกับปะขาวคำคะนิง ขณะนั้นท่านปล่อยผมยาวรุงรังมาถึงเอว หนวดเครางอกยาวรุ่ยร่าย นุ่งห่มด้วยผ้าซึ่งดูไม่ออกว่าเป็นผ้าสีอะไร เพราะปุปะและกระดำกระด่าง หลวงพ่อปานจึงเปรยขึ้นว่า

    “นี่พระหรือคน ?”

    “ไอ้พระมันอยู่ที่ไหน ? เฮ้ย ! พระมันอยู่ที่ไหนวะ ? ” พูดสวนด้วยน้ำเสียงขุ่นเหมือนไม่พอใจ

    “อ้าว..ก็เห็นผมยาว ผ้าก็อีหรุปุปะ สีเหลืองก็ไม่มี แล้วใครจะรู้ว่าเป็นคนหรือพระล่ะ ?”

    “พระมันอยู่ที่ผมหรือวะ ?”

    “ไม่ใช่” หลวงพ่อปานตอบยิ้มๆ

    “แล้วพระมันอยู่ที่ไหนเล่า?”

    “พระน่ะอยู่ที่ใจใสสะอาด”

    “ถ้าอย่างนั้นละก้อ เสือกมาถามทำไมว่าเป็นพระหรือคน”

    “เห็นผมเผ้ารุงรังอย่างนั้นนี่ ใครจะไปรู้เล่า?”

    “ก็ในเมื่อพระไม่ได้อยู่ที่ผม ไม่ได้อยู่ที่ผ้าแล้วเสือกมาถามทำไม ทำไมไม่ดูที่ใจคน ไอ้พระบ้านพระเมืองกินข้าวชาวบ้านแบบนี้อวดดี มันต้องเห็นดีกันละ”

    พูดจบ ปะขาวคำคะนิงก็หยิบเอาหวายยาวประมาณหนึ่งวาโยนผลุงไปตรงหน้า หวายเส้นนั้นกลายสภาพเป็นงูตัวใหญ่ยาวหลายวาน่ากลัว ชูคอร่าก่อนจะเลื้อยปราดๆ เข้ามาหาหลวงพ่อปานพระลูกศิษย์เห็นอย่างนั้น ต่างถอยไปอยู่เบื้องหลังหลวงพ่อปาน

    หลวงพ่อปานไม่ได้แสดงอาการแปลกใจหรือตื่นกลัว ท่านก้มลงหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาใบหนึ่ง แล้วโยนไปข้างหน้า ใบไม้นั้นก็กลายเป็นนกขนาดใหญ่คล้ายเหยี่ยวหรือนกอินทรี

    นกซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์ โผเข้าขยุ้มกรงเล็บจับลำตัวงูใหญ่เอาไว้แล้วกระพือปีกลิ่วขึ้นไปเหนือทิวยอดไผ่ ต่อสู้กันเป็นสามารถ งูฉกกัดและพยายามม้วนตัวขนดลำตัวรัด ขณะที่นกใหญ่จิกตีและจิกขยุ้มกรงเล็บไม่ยอมปล่อย แต่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแพ้ชนะ ตราบกระทั่งร่วงหล่นลงมาทั้งคู่ พอกระทบพื้นดิน งูกลายเป็นช้างป่าตัวมหึมา งายาวงอน ส่วนใบไม้แห้งแปรรูปเปลี่ยนเป็นเสือลายพาดกลอน แล้วสองสัตว์ร้ายก็โผนเข้าสู้กันใหม่ เสียงขู่คำรามของเสือ เสียงโกญจนาทของพญาคชสาร แผดผสานกึกก้องสะท้านป่า

    นี่ไม่ใช่ภาพมายา แต่เกิดจากฤทธิ์อภิญญา! ครั้นสองตัวประจัญบานไม่รู้แพ้ชนะได้ครู่หนึ่งก็หายไป ปะขาวยาวหนวดยาวเครารุงรังได้บันดาลให้เกิดไฟลุกโชติช่วง ประหนึ่งจะมีเจตนาจะให้ลามมาเผา แต่หลวงพ่อปานก็บันดาลพายุฝนสาดซัดลงมาดับไป เกิดฝุ่นตลบคลุ้งไปทั้งป่า

    ลองฤทธิ์กันหลายครั้งหลายครา ปรากฏว่าไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แทนที่ทั้งสองฝ่ายจะโกรธเกรี้ยว กลับทรุดลงนั่งหัวเราะด้วยความขบขัน

    คณะศิษย์ของหลวงพ่อปานพากันประหลาดใจ หลวงพ่อปานจึงอธิบายว่า “เขากับฉันเป็นเพื่อนกัน” พร้อมกันนั้นก็หันไปพูดกับปะขาวผมยาวหนวดเครารุงรังว่า ลูกศิษย์ของท่านนั้น “เอาจริง”

    หมายถึงปรารถนาบรรลุสู่พระนิพพานกันจริงๆ ทุกรูป การที่ท่านและปะขาวผมยาวเล่นฤทธิ์ประลองกัน ก็เพื่อให้ศิษย์ทุกคนได้เห็น “ของจริง”

    แล้วหลวงพ่อปานก็ให้คณะศิษย์ของท่านเข้าไปทำความเคารพ ซึ่งปะขาวผมยาวก็ได้นอบน้อมถ่อมตนว่า ท่านไม่ได้เก่งกาจเกินว่าหลวงพ่อปานเลยแม้แต่น้อย

    หลวงพ่อปานและศิษย์ของท่านพักอยู่กับปะขาวผมยาวนานนับครึ่งเดือน เพื่อให้ทุกรูปได้รับคำแนะนำสั่งสอนด้านอภิญญาเพิ่มเติม เมื่อพักอยู่ที่คูหาถ้ำพอสมควรแกเวลาแล้ว หลวงพ่อปานและคณะศิษย์ก็ออกธุดงค์ต่อไป ปะขาวผมยาวคนนั้นก็คือปะขาวคำคะนิง หรือหลวงปู่คำคะนิงนั้นเอง

    หลังจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคและคณะศิษย์ของท่านจากไปแล้ว ปะขาวคำคะนิงก็ออกเดินทางต่อไป

    โยคีคำคะนิง ดั้นด้นไปยังภูอีด่าง ซึ่งสมเด็จลุนพระอริยเจ้าแห่งราชอาณาจักรลาวจำพรรษาอยู่ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของตนให้ท่านทราบ สมเด็จให้ความปราณีมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ให้โยคีคำคะนิงไปค้นคว้า ศึกษา ครั้นท่านโยคีคำคะนิงศึกษาธรรมจากพระคัมภีร์เรียบร้อยก็เอาเก็บไว้ที่เดิม มิได้นำมาเป็นสมบัติส่วนตัว โยคีคำคะนิงลงจากภูเขาได้พบชาวบ้าน และได้ทำการรักษาคนป่วยจนหายทุเลา ท่านเดินทางไปเรื่อย เจอใครก็รักษาโรคภัยให้หมด

    อุปสมบท :-

    เรื่องของโยคีตนนี้ ทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาเจ้ามหาชีวิตของประเทศลาวถึงกับสนพระทัย จึงได้โปรดให้โยคีคำคะนิงเข้าเฝ้าท่ามกลางพระญาติและเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงตรัสถาม “ท่านเก่งมีอิทธิฤทธิ์มากหรือไม่”

    “ไม่” โยคีคำคะนิงตอบสั้นๆ

    “ถ้าไม่เก่งแล้วทำไมคนจึงลือไปทั่วประเทศ” ตรัสถามอีก

    “ใครเป็นคนพูด” โยคีคำคะนิงไม่ตอบแต่ถามกลับ

    “ประชาชนทั้งประเทศ” พระองค์บอก

    “นั่นคนอื่นพูด อาตมาไม่เคยพูด” โยคีคำคะนิงตอบออกไป

    พระเจ้าศรีสว่างวัฒนาทรงแย้มพระสรวล ในการตอบตรงๆ ของโยคีคำคะนิง จึงตรัสถามว่า

    “ขอปลงผมท่านที่ยาวถึงเอวออกได้ไหม”

    คำคะนิงถึงกับอึ้งชั่วครู่ จึงได้กราบทูลไปว่า “ถ้าปลงผม หนวดเคราก็ต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ”

    “ยินดีจะจัดอุปสมบทให้ท่านเป็นพระราชพิธี” เจ้ามหาชีวิตยื่นข้อเสนอให้ โยคีคำคะนิงจึงได้กล่าวตกลง และได้บวชตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ณ วัดหอเก่าแขวงนครจำปาศักดิ์ คือศาสนสถาานที่กำหนดให้เป็นวัดอุปสมบทของปะขาวคำคะนิง มีประกาศป่าวร้องให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวันอุปสมบทปะขาวคำคะนิง โดยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดขึ้น

    พอถึงวันอุปสมบท ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่าต่างมาร่วมในงานพระราชพิธีแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ แต่ละคนเตรียมผ้าไหมแพรทองมาด้วยเพื่อจะมาปูรองรับเส้นเกศาของปะขาวคำคะนิง ตอนแรกจะมีการแจกเส้นเกศาให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันหม ครั้นถึงเวลปลงผมจริงๆ ประชาชนกลัวจะไม่ได้เส้นเกศาจึงแออัดยัดเยียดเข้ายื้อแย่งกันอลหม่าน เกินกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการจะห้ามปรามสกัดกั้นได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงเมื่อเส้นเกศาถูกแย่งเอาไปจนหมด

    จากนั้นพระราชพิธีอุปสมบทก็ดำเนินต่อไปโดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ๒๘ รูป เมื่อพิธีการอปุสมบทเสร็จสิ้นปะขาคำคะนิงซึ่งครองเพศพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับฉายาว่า “สนฺจิตฺโตภิกขุ” หรือ “พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต”

    หลังจากเป็นพระภิกษุ พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็กลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูอีด่างเช่นเดิม ดำรงวัตรปฏิบัติตามแนวทางของพระป่าอย่างเคร่งครัด และนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุคำคะนิง สนฺจิตฺโต ประชาชนก็ยิ่งหลั่งไหลไต่ภูเขาขึ้นไปกราบนมัสการ และขอความช่วยเหลือจากท่านจนไม่มีเวลาปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญธรรม

    วันหนึ่ง..พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็หายไปจากภูอีด่าง และไม่กลับมาอีกเลย ประชาชนลาวรู้แต่ว่าท่านออกธุดงค์สาบสูญไปแล้ว ต่างพากันร่ำไห้โศกเศร้าอย่างน่าสงสาร

    หลวงปู่ชอบจารึกธุดงค์ฝั่งลาวเพราะหมู่บ้านยังไม่เยอะเท่าฝั่งไทย ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วงปลายชีวิตท่านก็ตัดสินใจจำพรรษา วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เป็นที่สุดท้ายของท่าน

    มรณภาพ :-

    หลวงปู่ป่วยเป็นโรคปอดบวม และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ท่านได้อยู่ในเพศฤาษีได้ ๑๕ ปี และอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ๓๒ พรรษา

    ธรรมเทศนา :-

    อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม

    “อด” คือความอดทนวิริยะในธรรมอันบริสุทธิ์ เช่นหนาวก็ไม่ให้พูดว่าหนาว ร้อนก็ไม่ให้พูดว่าร้อน เจ็บก็ไม่ให้พูดว่าเจ็บ เพราะมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาได้ทุกรูปทุกนาม ครบอาการ ๓๒ อย่างบริบูรณ์นั้นก็ด้วยธรรม ได้แต่งให้เกิด อันมีศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมจะรู้และเห็นอยู่ทุกวันว่า มีคนเกิดแก่ เจ็บ ตาย เพราะเป็นกฎธรรมชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ เมื่อเกิดมีขันธ์ ๕ ย่อมมีดับ

    ทุกสิ่งในโลกมักจะมีคู่ เช่น หญิงกับชาย ดีกับชั่ว ในทำนองนี้ พระพุทธเจ้าเอง ปรารถนาอย่างยิ่งคือคำว่าหนึ่งไม่มีสอง ก็หมายความว่า เมื่อมีเกิดย่อมมีตาย เมื่อไม่มีตาย ย่อมไม่มีเกิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถึงการหลุดพ้นจากกิเลสหมดสิ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ให้รู้จักตัวเจ้าของเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจในสิ่งที่ห่างจากตัว ให้อ่านตัวเองให้ออก เพราะธรรมที่ทุกคนอยากได้ อยากเห็นนั้นมันอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล แต่ที่เรามองไม่เห็น อ่านมันไม่ออกก็เพราะกิเลสมันบังอยู่ อุปมาดังตัวเรานี้เหมือนแก้วน้ำที่ใสสะอาดบรรจุไปด้วยน้ำสกปรกอันมีกิเลสตัณหาความอยากโลภโมโทสัน ความอยากร่ำอยากรวย ความไม่รู้จักพอนี้ สะสมอยู่ในจิตก็ย่อมจะมีแต่ความมืดมน ถ้าทุกคนพยายามหยิบและตักตวงเอาสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาออกจากจิตออกจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสวแห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสว แห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างสะอาดไม่มีสิ่งใดบรรจุ นั่นคือ ตัวธรรมที่แท้จริง

    ส่วน “อัด” คืออะไร ทุกคนที่เกิดมาในโลกย่อมจะรู้จะเห็นว่าอะไรเป็นเรื่องของทางโลก เช่น คนพูดกันหรือทะเลาะกัน คนฆ่ากัน รถชนกัน สิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องไปสนใจ ปิดหู ปิดปาก ปิดตา ไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้เห็น ไม่ให้พูด ไม่ต้องรับรู้จากสิ่งที่จะทำให้เป็นตัวกั้นความดี ให้วางให้หมด ดูแต่ใจเจ้าของแต่ผู้เดียว รู้แต่ลมเข้าออกเท่านั้น จะทำอะไรก็ให้อยู่ในศีลธรรมให้ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา เราต้องอัดไม่ให้เสียงเข้ามาในหู ไม่ให้รูปเข้ามาทางตา ไม่พูดสิ่งที่ต่ำไป สูงไป ให้พูดแต่สิ่งที่พอดี นี่คือธรรมตัวจริง

    “อุด” คืออะไร หมายถึงเมื่อเราอด เราอัด ปิดกั้นความเลวร้าย ความชั่ว ความวุ่นวายทั้งหลายไม่ให้เข้ามาทางตา หู ปาก ของเราแล้วก็อุดความดีเอาไว้ในตัวของเราไม่ให้มันไหลออกไป กาย วาจา ใจของเราก็จะบริสุทธิ์ในธรรม ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ ตาอย่าได้ดูในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หูอย่าได้ฟังในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ปากอย่าได้พูดในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อุดความดีทั้งหลายเอาไว้ ให้เกิดความบริสุทธิ์ในธรรม ถ้าทุกคนพยายามตั้งอกตั้งใจปฏิบัติก็จะพบแต่ความสำเร็จปรารถนาไว้ทุกประการ

    อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม คือการปฏิบัติส่งเสริมคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รู้ซึ้งถึงธรรมของพระพุทธองค์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นตัวธรรมะที่พาให้เห็นธรรมอันแม้จริง อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมคือการปฏิบัติที่ทำให้เราระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ อยู่ชอบ กินชอบ นั่งชอบ นอนชอบ ไปชอบ มาชอบ วาจาชอบ อด อัด อุด เป็นขันติบารมีธรรม คือความอดทนให้เกิดปัญญามีที่เป็นปรมัตถ์ มัดหูมัดตา มัดจิต มัดใจ มัดมือ มัดตีนให้เป็นธรรม อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมนี้ดีเลิศทำให้หน่ายในโลกจักรวาล มีจิตเบิกบาน ถ้าเข้าใจดีปฏิบัติด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะหันหน้าเข้าสู่สวรรค์นิพพาน ไม่หนึ่งเกิด สองตาย อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมไม่มีตาย ไม่มีเฒ่า ไม่มีเข้าพยาธิ
    4.จะไปทำบุญที่วัดที่จ.สระบุรี เช่น บริจาคเงิน
     
  10. pilaiwan

    pilaiwan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +41
    1. ลำดับที่ 34

    2. รู้สึกอบอุ่นใจและศรัทธาในตัวท่านหลวงปู่แหวนค่ะ

    3. หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    พระแหวน สุจิณโณ
    (แหวน สุจิณโณ)
    หลวงปู่แหวน

    เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2430
    บรรพชา พ.ศ. 2439
    อุปสมบท พ.ศ. 2450
    มรณภาพ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
    พรรษา 78
    อายุ 98
    วัด วัดดอยแม่ปั๋ง
    จังหวัด จังหวัดเชียงใหม่
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ[1] (16 มกราคม พ.ศ. 2430 — 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เป็นภิกษุชาวไทย จำพรรษา ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
    เนื้อหา [ซ่อน]
    1 ประวัติ
    2 บรรพชา
    3 การออกจาริกแสวงบุญ
    4 คำสอน
    5 อ้างอิง
    ประวัติ [แก้]

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน(ปัจจุบันเป็นตำบลนาโป่ง) อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้
    พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม
    บรรพชา [แก้]

    จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา
    ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (ที่จริงน่าจะเป็นพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลมากกว่า เพราะหลวงปู่แหวนเกิด 16 มกราคม 2430 ส่วนพระอาจารย์สิงห์เกิด 27 มกราคม 2432 พระอาจารย์สิงห์อ่อนกว่าหลวงปู่แหวน 2 ปี ) ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ พระมั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้
    การออกจาริกแสวงบุญ [แก้]

    ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
    ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ พระขาว อนาลโย และ พระตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ พระขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง
    ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระหนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพระหนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาพระหนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่แหวนมีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระหนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี
    ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งพระหนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่แหวนอยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย
    เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่แหวนจะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน
    นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี
    คำสอน [แก้]


    อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป

    4 วันวิสาขบูชาจะไปงานหล่อหลวงปู่โต๊ะที่วัดประดู่ฉิมพลี

    5. ผู้ขอรับ
    พิไลวรรณ ยิ่งวิเศษ
    54/113 หมู่บ้าน ป ผาสุก ซอย 5 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • h0770.jpg
      h0770.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.5 KB
      เปิดดู:
      50
    • j0769.jpg
      j0769.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      60
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  11. pho2601

    pho2601 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    879
    ค่าพลัง:
    +1,061
    ลำดับที่ 6

    ขอรับ เหรียญที่ 24 หลวงพ่อขอม สุพรรณบุรี เสาร์ห้า

    วรุณ บุษราคัมวดี

    พอได้ศึกษาประวัติของท่านอย่างละเอียดแล้วรู้สึกศรัทธาในองค์ท่านมากครับ

    ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี

    ไกลออกไปจากเมืองหลวง เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว บริเวณทุ่งแถบนั้นเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่าม ข้าวแต่ละรวงเบ่งบานและอวบโต จนลำต้นไม่อาจทานน้ำหนักของเมล็ดข้าวได้ ต้องโน้มตัวทอดลงสู่พื้นดิน บริเวณนั้นมีชื่อเรียกว่า "บ้านไผ่เดาะ" อยู่ในตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนี้เองนับแล้วคืออู่ข้าวอู่น้ำ ของเมืองไทยก็คงไม่ผิด
    บ้านไผ่เดาะ เป็นชุมชนที่หนาแน่นพอสมควร อาชีพหลักของผู้คนที่นั่นคือการทำนา อันเป็นอาชีพดั้งเดิมที่บรรพบุรุษมอบให้ไว้ เนื่องจากเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ผลมากมาย ความสงบสุขจึงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
    ณ ที่นี่แหละ คือถิ่นกำเนิดของเด็กคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่า "เป้า" เด็กชายเป้าผู้นี้เมื่อเติบใหญ่ได้กลายเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึง อย่างมาก น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แต่ก่อนที่จะถึงเวลานั้นขอให้เราย้อนกลับ ไปสู่ครั้งปฐมวัยของเด็กน้อยผู้นี้กันเถอะ
    เด็กชายเป้าเป็นบุตรของชาวนาโดยตรงผู้หนึ่ง บิดาชื่อว่า "นายช้าง" มารดาชื่อว่า "นางเปรม" มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๘ คน เป้าเป็นบุตรคนที่ ๕ เมื่อเป้าเกิดทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็รู้ว่าเป้าไม่ใช่คนแข็งแรงอะไรนัก เพราะเป้าเป็นเด็กผอม พุงป่อง และเจ็บออดๆ แอดๆ เสมอแต่ว่าอาการนั้นก็ไม่หนักหนาอะไร คงเลี้ยงดูกันได้เรื่อยมา
    ชีวิตในวัยเด็กนั้นเป้าก็เหมือนกับเด็กอื่นๆทั่วไป คือชอบเล่นฝุ่นสนุกซุกซนตะลอนๆ ไปตามชายทุ่งและดำผุดดำว่ายอยู่ในคลองบึงที่ไม่ห่างจากบ้านนัก ทั้งๆที่เป็นเด็กซึ่งพ่อแม่ออกจะเป็นห่วงอยู่ เพราะเกรงว่าโรคภัยจะแทรกแซง เนื่องจากความอ่อนแอ แต่เป้าก็คงซุกซน และเจริญวัยเรื่อยมา พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป้าเริ่มมีภาระเล็กๆน้อยๆ คือติดตามผู้ใหญ่ออกไปทำนา ตามแรงความสามารถเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการสอนวิชาชีพที่จะกลายเป็นสมบัติติดตัวไปวันข้างหน้าอีก วิธีหนึ่ง
    แต่กับพ่อกับแม่ของเป้าแล้วคิดไปไกลกว่านั้นอีก คือชีวิตของชาวนาจะมีอะไรไปมากกว่าตื่นเช้าออกสู่ทุ่งกว้าง เย็นลงก็กลับบ้าน วิชาความรู้อื่นนั้นคงไม่มี ในเมื่อหาเวลาที่จะร่ำเรียนไม่ได้ ความคิดที่วูบขึ้นมาเช่นนั้น ในขณะนั้นทำให้พ่อแม่ของเป้าตัดสินใจส่งลูกชายน้อยๆ ไปขอรับวิชาความรู้ จากแหล่งรวมของสรรพวิชาทั้งหลาย นั่นก็คือวัด วัดแรกที่เป้าได้ร่ำเรียนคือวัดใกล้ๆบ้านนั่นเอง เป้าได้รับรู้ธรรมเนียมใหม่ กล่าวคือเป้าต้องรับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ด้วยหลังจากเลิก เรียนแล้ว ซึ่งก็หาทำให้เด็กน้อยเบื่อหน่ายไม่ การรับใช้อาจารย์ก็เหมือนกับรับใช้พ่อแม่ ดังนั้นเป้าจึงมิได้รังเกียจ ตรงกันข้ามกับมีความกระตือรือร้น เมื่ออาจารย์เรียกหาความรู้ในด้านอ่านออกเขียนภาษาไทยของเด็กชายเป้าก็ก้าว หน้าไปอย่างรวดเร็วอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และด้วยความกระตือรือร้นของเด็กผู้นี้ ทำให้อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาบังเกิดความเมตตา สอนเด็กชายเป้าให้รู้จักอ่านเขียนภาษาขอมต่อไป
    ว่ากันว่าใครก็ตามในสมัยนั้นยุคนั้น ถ้าเรียนภาษาขอมก็ถือว่าเป็นการเรียนในชั้นสูง แต่เรียนไปได้ไม่นาน เป็นก็จำต้องย้ายวัดเพื่อการศึกษาต่อไป ตามธรรมเนียมของนักเรียนใหม่ พระอาจารย์ย่อจะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้ เป้าจึงต้องย้อนเรียนภาษาไทยอีกครั้งเป็นการทบทวน ดูเหมือนว่าความรู้ในภาษาไทยที่เป้ามีอยู่แล้วจะเป็นที่รับรองของพระอาจารย์ เป้าจึงได้ก้าวต่อไปสู่ชั้นสูงคือเรียนภาษาขอมอีกครั้ง
    ในครั้งนี้เด็กน้อยผู้นี้ได้แสดงความสามารถ ให้ประจักษ์อีกครั้งหนึ่งเพราะชั่วเวลาไม่นาน เป้าก็อ่านหนังสือของเลยหน้าเด็กๆรุ่นเดียวกันจนเป็นที่เลื่องลือยกย่อง อาจารย์เองก็ถึงกับออกปากชมไม่ขาดปากเลย เพื่อนๆของเป้าถึงกับออกปากอย่างล้อเลียน เป้าน่ากลัวไม่ใช่คนไทย แต่เป็นขอม จึงอ่านเขียนหนังสือขอมได้คล่องแคล่วนัก และแล้วฉายาว่า "ขอม" ก็ปรากฏขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่เมื่อเรียกกันไปนานๆ ชื่อเป้าก็ชักเลือนหายไปทุกที เพื่อนฝูงและผู้รู้จักมักคุ้นตลอดจนคนที่สูงอายุกว่า ต่างยอมรับเอาฉายาขอมเข้าไว้อย่างสะดวกปากคำหนึ่งก็ขอมสองคำก็ขอม ที่สุดชื่อเป้าอันเป้าชื่อเดิมของเด็กน้อยผู้นี้ ก็สูญหายไปจากปากอย่างเด็ดขาด กลายเป็นเด็กชายขอมขึ้นมาแทนที่
    กล่าวถึงการศึกษาที่วัด อันเสมือนโรงเรียนสำหรับยุคนั้น เปรียบได้กับการคึกษาของนักเรียนประจำในยุคนี้ กล่าวคือต้องพำนักอยู่ทีวัดตลอดไป โดยมีอาจารย์ที่เป็นทั้งครูและผู้ปกครองไปพร้อมๆกัน แต่นั่นก็หาใช่ว่านักเรียนของวัดจะไม่มีโอกาสได้กลับบ้าน ที่จริงเมื่อถึงเวลาอันสมควร นักเรียนวัดก็กลับบ้านกันทั้งนั้น เป้า หรือบัดนี้มีชื่อใหม่ตามความนิยมว่า "ขอม" ก็กลับบ้านเหมือนกัน เมื่อถึงบ้านความซุกซนแบบเดิมๆ ที่เป้าเคยเล่นซุกซนก็หายไป เป้าหรือขอมกลายเป็นเด็กที่มีระเบียบรู้จักการปรนนิบัติรับใช้ผู้สูงอายุ กว่า การพูดจาก็ฉาดฉานจะอ่านจะเขียนก็คล่องแคล่ว สร้างความชื่นใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นายช้างและนางเปรมลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ตนนั้นได้แก้วไว้ในมือแล้วสมควรที่จะได้รับการเจียรไนต่อไป ดังนั้นหลังจากที่ศึกษาอยู่ ณ วัดบางสามได้ระยะหนึ่งของก็ถูกส่งตัวเข้ากรุงซึ่งเป็นการเผชิญชีวิตครั้ง ใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่เคยจากบ้านไปไหนไกลเกินกว่าวัดบางสาม แต่การไปครั้งนี้หมายถึงอนาคตที่จะชี้บอกว่า ต่อไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ดังคำเปรียบเทียบที่ผู้ใหญ่ชอบพูดกันหรือไม่ แทนที่จะเป็นเพียงชาวไร่ชาวนาดังบรรพบุรุษของตน และแน่ล่ะกรุงเทพฯ ช่างเป็นคำที่หวานหูเสียนี่กระไร สวรรค์สำหรับทุกคน ใครได้ไปแล้วมักไม่ยอมกลับกัน
    ขอมถูกพ่อแม่พามาฝากไว้วัดสระเกศ เนื่องจากมีภิกษุที่รู้จักคุ้นเคยกับทางบ้านจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดสระเกศก็เลยได้เป็นบ้านที่สองของเด็กชายขอม พร้อมๆ กับการเข้าโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่วัดนั้นด้วย บัดนี้แทนที่จะเรียนแบบแผนเก่า แต่ขอมได้เรียนหลักสูตรการศึกษา แบบใหม่ที่หลวงท่านกำหนดให้อนุชนได้เล่าเรียน ชีวิตอันเป็นประจำวันของขอม ในกรุงเทพฯ ก็เริ่มต้นด้วยการตื่นแต่เช้าตรู่ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องแต่พออิ่ม แล้วก็มุ่งหน้าไปยังโรงเรียน คร่ำเคร่งอยู่กับการเรียนไปจนบ้ายคล้อยจึงกลับวัด คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ที่ขอมอาศัยอยู่ด้วย และได้อาศัยข้าวก้นบาตรของพระอาจารย์นั้นเอง เป็นอาหารยังชีพเรื่อยมา
    เวลาผ่านไปจากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และจากเดือนเป็นปี ขอมคงปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลายกับการศึกษา ขณะที่การรับใช้พระอาจารย์ก็รักษาไว้มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอยู่เช่นนี้ล่วงได้ ๓ ปี ขอมจบการศึกษาในชั้นประถมปีที่ ๓ ก็เดินทางกลับสู่อ้อมอกของพ่อแม่อีกครั้งหนึ่งขอมกลับบ้านอย่างคนที่ไปชุบ ตัวในเมืองหลวงมาแล้วเมื่อย่างก้าวไปที่ใด ก็มีแต่คนนิยมชมชอบ จะพูดจาก็มีคนนับถือ และแม้ว่าชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งก็หมายถึงวัยแห่งความกระตือรือร้น และการเที่ยวเตร่สนุกสนานเฮฮากับเพื่อนฝูงและสาวพื้นบ้านเป็นสิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ก็ตามแต่หนุ่มน้อยขอมก็ไม่ยอมปล่อยใจให้ล่องลอยไปเกินกว่าขอบ เขต สิ่งที่ขอมคิดมากในขณะนั้นคือ ทำนาช่วยภาระของพ่อแม่ แต่เรานั้นหาได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ไม่หากยังไม่ได้บวชเรียน ดังนั้นเมื่อขอมอายุครบบวช พ่อแม่ก็จัดการบวชให้ที่วัดบางสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านและสถานศึกษาเดิมของขอม เพราะระยะเวลานี้ ขอมมีนิสัยไปในทางรักสันโดษ ชอบพินิจพิเคราะห์ตรึกตรองต่างกว่าเพื่อนวัยเดียวกันคนอื่นๆ
    พิธีอุปสมบทขอมจัดทำกันอย่างเต็มที่เท่าที่ฐานะจะอำนวยได้ และท่ามกลางความชื่นชมของทุกคนเนื่องจากพ่อแม่ของขอมเป็นผู้ที่กว้างขวางมี คนไปมาคบหาด้วยจำนวนมาก การบวชคราวนี้จึงมี พระครูวินยานุโยคแห่งวัดสองพี่น้อง เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระอาจารย์กอนวัดบางสาม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เผือกวัดบางซอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขอมได้รับฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ "อนิโชภิกขุ"
    นวกะภิกษุอนิโช หรือเด็กชายเป้าที่เพื่อนๆ เรียกกันว่า "ขอม" ก็ได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ ตั้งแต่บัดนั้น พระขอม หรือ อนิโชภิกษุ เมื่อจำพรราอยู่ที่วัดบางสามก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความ เอาใจใส่อย่างยิ่ง และได้ปฏิบัติตนในในศีลจารวัตร เป็นอย่างดีอยู่หลายปีจนกระทั่งเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง ยังมีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า "วัดไผ่โรงวัว" ที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ที่สมควรได้ตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ไม่มีท่านใดเหมาะเท่าพระขอม เมื่อลงความเห็นกันดังนี้ ต่างก็พากันไปนิมนต์ อนิโชภิกษุหรือพระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัวก่อน พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่นไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา ๒ ปี
    ชีวิตของท่านอโชภิกษุในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียน เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ขาดสถานศึกษาเล่าเรียน สิ่งนี้ทำให้พระขอมได้พิจารณาตนเองและเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประตูสารใกล้ๆกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป 3 ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ
    คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารกิจให้พระศาสนาเต็มที่ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ความใหม่นี้เอง เป็นความใหม่ที่ยังไม่ถึงพร้อมกล่าวง่ายๆ คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน กุฏิที่อยู่จำพรรษาของภิกษุ สามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง ๒ หลัง ศาลาการเปรียญที่จะเป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายก ทายิกา เป็นเพียงโรงทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลาน่าอนาถใจยิ่ง
    ภาระของพระขอม คือปรับปรุงศาสนาสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิง สมกับเป็นวัดเสียก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจ ของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นขั้นที่ สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างก็มีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดิน ไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใดน้ำท่วมทุกปีและท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจมแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำของพระภิกษุ สามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกฏิที่ชำรุด ทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า "วัด" ศรัทธาของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น
    นับแต่พระขอม สละเพศฆารวาสมาสู่พระพุทธศาสนา ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่า มโนปณิธาน เรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า "..อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูปจะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหมเป็นอินทร์ หมื่นชาติ แสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลยจนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.." ด้วยมโนปณิธานนี้เองทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดมด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านขอมก็เริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา ๒ ปีกว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๑๒ ปี ด้วยกัน จะแล้วเสร็จ พ.ศ. ๑๕๑๒ หลังจากนั่นท่านขอมก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่าง อาทิเช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์และอีกหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังที่เป็นกันอยู่เท่าทุกวันนี้
    ถ้าถามว่าหลวงพ่อขอมจะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านก็ตอบว่า อาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธาและอนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ นอกจากงานก่อสร้างแล้วหลวงพ่อขอมท่านก็ยังเป็นนักเขียน นักแต่งที่มีความสามารถไม่ยิ่งไม่หย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่องเฉพาะ ที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมฑูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา
    จนมาถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๔๕ น. หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา ทำให้นักถึงคำปฏิญาณ ของท่านอนิโช ที่กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ
    ๑. ชีวิตของเราที่เหลือขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย
    ๒. เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงิน ส่วนตัวสัก ๑ บาท เราก็จะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง
    ๓. เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี
    ๔. โอ..โลกนี้ ไม่ใช่ของฉัน
    ๕. เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา
    บัดนี้ท่านอนิโชนั้น ได้ทำคำปฏิญาณของท่านได้สมบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านพระครูผู้นี้จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเด็กชายเป้าในอดีต ซึ่งบัดนี้สละทุกสิ่งเพื่อเจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ ท่านคือศิษย์พระคถาคต ผู้มุ่งมั่น

    วันวิสาขบูชานี้ จะไปทำบุญใส่บาตรตอนเช้าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • s0738.jpg
      s0738.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  12. spyjung

    spyjung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +366
    1. ลำดับที่ 5 (ราตรี สินธุ์สาย)
    2. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ลำดับที่ 20

    พระองค์เป็นผู้ที่รักชาติ และยอมเสียสละทุกอย่างแม้แต่ชีวิต และเกียรติยศเพื่อรักษาประเทศไทยไว้ให้คงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ

    ท่านคงได้ทราบประวัติของพระเจ้าตากสินมหาราชกันมาบ้างอยู่แล้ว
    แต่มิได้เป็นดังเช่นที่เราได้ร่ำเรียนมาตั้งแต่เด็ก
    แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าประวัติศาสตร์ที่ไม่ตรงกันระหว่างที่ได้บันทึกไว้
    กับเรื่องราวที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันแน่ ลองมาอ่านกันดูนะค่ะ
    (เคยได้ฟังจากเทปบันทึกเสียงของหลวงพ่อฤาษีลิงดำด้วยค่ะ)

    ๑. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ท่านมิได้ทรงพระสติฟั่นเฟือนจริง และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑) เอง ก็มิได้ทรงสั่งประหารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามที่ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
    แต่เรื่องราวเหตุการณ์ที่แท้จริง (ที่ไม่สามารถบันทึกในประวัติศาสตร์ได้
    จนทำให้มหาราชทั้ง ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้องถูกลูกหลานไทยเข้าใจผิดมาตลอด ๒๒๕ ปี) ก็เนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของทั้ง ๒ พระองค์ ที่มิได้เคยสนพระทัยเลยว่า จะต้องเสื่อมเสียพระเกียรติยศเพียงใด หวังเพียงแต่จะให้ชาติไทยของเรา ดำรงความเป็นเอกราช
    ไม่ต้องเป็นเมืองขึ้นของใคร และให้พวกเราลูกหลานไทย
    อยู่กันอย่างมีความสงบสุขเท่านั้น โดยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ได้ทรงวางแผนการลับกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑)
    ซึ่งเป็นพระสหายคู่พระทัย เพื่อจะทรงสละราชบัลลังก์ และให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑) ขึ้นครองราชย์แทน สาเหตุมาจากเจ้าสัวจีนได้ยกกองทัพจีนมา เพื่อจะมาทวงหนี้ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ทรงกู้ยืมมาเพื่อใช้ในการกอบกู้เอกราช ประกาศอิสรภาพจากพม่า
    ทั้งนี้ เนื่องจากพระองค์เอง มิได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่มาจากการสืบราชสมบัติจากกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ก่อน จึงมิได้มีเงินในท้องพระคลัง เมื่อคราวขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ทรงเห็นว่าไทยเรา เพิ่งจะประกาศอิสรภาพจากพม่าได้ไม่นาน บ้านเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อย ยังมีสงครามติดพันกับพม่าอยู่ จำเป็นต้องใช้เงินอีกมาก เงินในท้องพระคลังเอง ก็เหลืออยู่ไม่มาก ทั้งทหารหาญของพระองค์เอง ก็ยังมิได้รับเบี้ยหวัดเงินเดือนเลย หากพระองค์ไม่ใช้หนี้เจ้าสัวจีน ทางเจ้าสัวจีนก็อาจจะอ้างเอาเป็นสาเหตุ ยกทัพจีนมาตีไทยเราได้ จะกลายเป็นศึก ๒ ด้าน หรือหากพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ธรรมดา แล้วให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑) ขึ้นครองราชย์แทน ทางเจ้าสัวจีนก็คงจะไม่ยอมเลิกราอยู่ดี แต่ถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑) ขึ้นครองราชย์แทน จะถือว่าเป็นการเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินใหม่ เพราะฉะนั้น หนี้สินที่เกิดขึ้นจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑) ก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบชดใช้ ไทยเราก็สามารถนำเงินในท้องพระคลังที่มีอยู่จำกัด ไปใช้ประโยชน์เพื่อกอบกู้บ้านเมืองได้ และไม่ต้องเผชิญหน้ากับกองทัพจากจีน แม้ว่าจะต้องแลกกับความเสื่อมเสียพระเกียรติยศ และความเข้าใจผิดของลูกหลานไทยก็ตาม

    ๒. พระสงฆ์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสั่งให้ลงทัณฑ์นั้น ความจริงเป็นนักโทษที่นำมาโกนหัวแล้วให้ห่มผ้าเหลือง มิใช่พระสงฆ์จริงๆตามที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ และก่อนที่จะลงทัณฑ์ ก็ได้ให้เอาผ้าเหลืองออกก่อน จึงมิได้เป็นการปรามาสพระรัตนตรัย

    ๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มิได้ถูกประหารจริง แต่ผู้ที่ถูกจับใส่กระสอบ และถูกทุบด้วยท่อนจัน เป็นทหารท่านหนึ่ง ที่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ และมีลักษณะละม้ายคล้ายพระองค์ ยอมปลอมเป็นพระองค์เพื่อตายแทน เพื่อให้เป็นไปตามแผนการที่ได้วางไว้

    ๔. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ร.๑) ได้ขึ้นครองราชย์แทน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้จัดเตรียมกองทหาร เพื่อคอยเฝ้าอารักขาติดตามส่งเสด็จ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปจนถึงนครศรีธรรมราชอย่างปลอดภัย โดยมิให้ผู้ใดล่วงรู้ พร้อมกับแต่งตั้งให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อคอยปกปักรักษาพระราชบิดา

    ๕. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และได้มรณภาพที่เขาแห่งหนึ่งในนครศรีธรรมราช

    ๖. ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งเลือดเนื้อ และพระเกียรติยศชื่อเสียง เพื่อทรงหวังเพียงให้ชาติไทย ดำรงความเป็นไทย และให้พวกเราเหล่าลูกหลานไทยของทั้ง ๒ พระองค์ ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
    บนผืนแผ่นดินขวานทองนี้ ดังนั้นขอให้พวกเราเหล่าลูกหลานไทยของทั้ง ๒ พระองค์ ได้ระลึกถึงและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ของทั้ง ๒ พระองค์ และตั้งแต่นี้ต่อไป จงอย่าได้คิดหรือกล่าววาจาใดที่ไม่สมควร อันจะเป็นการปรามาสลบหลู่เบื้องสูงต่อทั้ง ๒ พระองค์


    จากประวัติเดิมของพระเจ้าตากสินมหาราช
    มีหลายประเด็นให้นำมาประติดประต่อดังนี้

    1. พระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส เพราะเครียดจากการสู้รบ
    จึงถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยท่อนจันท์

    2.พระเจ้าตากสินสติวิปลาส เพราะเคร่งครัดในธรรม ให้พระทุกองค์เคารพตนเพราะตนเป็นพระโสดาบัน พระรูปไหนไม่ไหว้ เคารพก็ถูกโบย
    ก็เลยถูกตัดสินเหมือนข้อ 1

    3.เกี่ยวกับกบฎพระยาสรรค์ที่ใส่ร้ายพระองค์ ก็เหมือนข้อ 1 อีก

    4.พระเจ้าตากสินปรึกษากับนายทองด้วง (ร.1) ว่าอยากละราชบัลลังก์แล้วให้นายทองด้วงครองราชย์ต่อ โดยมีแผนว่า ท่านต้องแกล้งเป็นคนบ้า
    ตอนนั้นมีกบฏพระยาสรรค์พอดี เลยเข้าทาง พระยาสรรค์จึงใส่ร้ายพระองค์ ถึงตรงนี้ มีพระญาติของพระเจ้าตากสินชื่อคุณมั่น ศรัทธาในพระเจ้าตาก
    จึงขอสละชีพแทน นายทองด้วงพาพระเจ้าตากสินหนีไปที่เขาขุนพนม
    เป็นที่ปฎิบัติธรรม คุณมั่นตายแทนพระเจ้าตาก ส่วนพระเจ้าตากก็มาสวรรคตที่ เขาขุนพนม

    พระเจ้าตากสิน บุตรชาวจีน บิดาชื่อนายไหฮอง บรรดาศักดิ์ขุนพัฒน์
    นายอากรบ่อนเบี้ย กับนางนกเอี้ยง เกิดวันอาทิตย์ ปีขาล (17 เมษายน 2277) ตอนเกิดมีนิมิตรมหัศจรรย์ ฝนตกฟ้าผ่า พอ 3 วัน มีงูเหลือมใหญ่มาพันรอบเปล บิดากลัวเลี้ยงไม่ได้ จึงนำไปให้เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาจักรี ไม่นานเจ้าคุณฯ ก็มั่งคั่งทวีคูณ จึงเรียกเด็กลูกบุญธรรมนันว่า สิน
    เมื่ออายุ 5 ขวบ ได้เรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ถูกพระอาจารย์ทำโทษ มัดมือคร่อมกับบันไดลืมไว้จนเย็น สองทุ่มน้ำขึ้นฝั่ง
    เมื่อแก้มัดออกมาก็หาเป็นอันตรายไม่

    สิน มีเพื่อนเณรสนิทอยู่ 2 คนคือ ทองด้วง และบุนนาค ครั้งหนึ่งเณรบุนนาคเสียงดี ได้ไปสวดกัณฑ์มัทรีบนบุษบก เณรสินจึงแกล้งเอาบันไดที่ขึ้นนั้นออกเสีย ขาลงเณรบุนนาคจึงตกลงมา ชาวบ้านพากันขบขัน ต่อมาเมื่อทั้ง 3 สึก ก็ได้นั่งเล่นอยู่ที่หน้าบ้านเจ้าพระยาจักรีผู้บิดาบุญธรรมของสิน สินนั้นหลับไปบนสนาม บุนนาคจึงเอาผมเปียของสินไปทับไว้กับหินก้อนใหญ่
    เมื่อสินตื่นลุกขึ้นก็ไม่สามารถลุกขึ้นได้ เป็นที่น่าขายหน้า
    แต่นั้นมา สิน และบุนนาคจึงไม่ลงรอยกัน

    ต่อมาสินได้เป็น สมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านพิภพกรุงธนบุรี ส่วนทองด้วงเป็นเจ้าพระยาจักรี ในขณะที่บุนนาคกลัวราชอาญาแต่ครั้งหลัง เป็นเพียงมหาดเล็กหุ้มแพร นายฉลองไนยนาถ และพอใจเป็นเพียงทนายต่างของเจ้าพระยาจักรีเพื่อนสนิท ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินสวรรคต สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือเดิมคือ นายทองด้วง เถลิงยศเป็น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (เป็นพระนามที่ตั้งขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 3 เพราะคนนิยมเรียก ร.1 ว่า แผ่นดินต้น และเรียก ร.2 ว่า แผ่นดินกลาง ดูไม่เป็นมงคล) นายฉลองไนยนาถจึงได้เป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดี ต้นตระกูลบุนนาค บิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
    3. ภาพเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ((อยู่ด้านล่างค่ะ)
    4. วันวิสาขบูชา วันที่ 24 พรุ่งนี้ จะไปวัดจันดี ที่นครศรีธรรมราช เพื่อไปไหว้สังขารของพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ และวัดขุนเขาพนม ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ประทับที่นั่นภายใต้ร่มกาสวพัตร์ จนสิ้นพระชนชีพ ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  13. bootsarakham

    bootsarakham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +226
    ลำดับที่ 8

    เหรียญที่ 12 หลวงปู่สำลี + พระสยามเทวาธิราช

    วิลาพร สุพรมวัน

    เคยได้ยินชื่อท่านมานานแล้วค่ะ รู้สึกศรัทธาในองค์ท่านค่ะ

    หลวงพ่อสำลี ท่านอยู่ที่ วัดซับบอน บ้านซับบอน ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมอีกรูปหนึ่งของเมืองสระบุรีค่ะ

    วันวิสาขบูชานี้ จะทำตนเป็นคนดี ช่วยเหลือสังคมค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • samlee.bmp
      ขนาดไฟล์:
      102.8 KB
      เปิดดู:
      78
    • s1476.jpg
      s1476.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.1 KB
      เปิดดู:
      75
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  14. vachira_b

    vachira_b Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +26
    ลำดับที่ 9

    ขอรับ เหรียญที่ 32 พระครูปลัดบุญส่ง วัดนางกุย อยุธยา

    วชิร บุษราคัมวดี

    ท่านเป็นพระที่น่าเลื่อมใสศรัทธามากครับ

    วัดนางกุย เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมือง ด้านใต้ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐ ม. ๕ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จากหลักฐานที่กรมศิลปากรว่าสร้างในปี พ.ศ.๒๑๓๐ ผู้สร้างชื่อนางกุย เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินเงินทอง จึงได้มาสร้างวัดนางกุยอยู่ทางด้านทิศใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ที่มีแม่นำไหลผ่านวัดนี้ในอดีตเจริญรุ่งเรืองมาก ดูจากหลักฐานที่มี อาทิ พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ สมัยทวารวาดี ประมาณพุทธศตวรรษ ๑๑ - ๑๖ (พ.ศ.๑๑๐๐ - ๑๖๐๐) หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี ๒๓๑๐ วัดนางกุยได้รับความเสียหายมาก และถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ได้มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดในอยุธยา (ไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่ชัด) วัดนางกุยก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถและเสนาสนะ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทางวัดฯได้ทำการขออนุญาตจากกรมศิลปากรในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถที่เสื่อมโทรมไปตาม กาลเวลา ภายในพระอุโบสถ วัดนางกุย ยังมีพระประธานอายุกว่า 400 ปี อาทิเช่น พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่11-16
    หลวงพ่อยิ้ม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่แกะสลักจากไม้สักทองและลงรักปิดทองอย่างสวยงาม เป็นพระเก่าแก่อยู่คู่กับวัดมาช้านาน จากคำบอกกล่าวเล่าขานของคนเก่าแก่ว่า สมัยก่อน หลวงพ่อยิ้มได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาติดอยู่บริเวณหน้าวัด ทางเจ้าอาวาสและชาวบ้านได้อัญเชิญหลวงพ่อยิ้มไปประดิษฐาน ณ.พระอุโบสถวัดนางกุย
    หลวงพ่อยิ้ม ประดิษฐานอยู่ด้านขวามือของพระประธาน ใครเข้าไปกราบสักการะแล้วคงอดอมยิ้มไม่ได้ เพราะ หลวงพ่อยิ้มจะยิ้มรับผู้มาเยือนเสมอ
    หลวงพ่อยิ้ม เป็นการเฉลิมพระนาม (ตั้งชื่อ) ตามลักษณะเด่นบางประการของพระพุทธรูป คือ "รอยยิ้ม"
    หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี ๒๓๑๐ วัดนางกุยได้รับความเสียหายมาก และถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ได้มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดในอยุธยา (ไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่ชัด) วัดนางกุยก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถและเสนาสนะ หน้าอุโบสถ หน้าบัน มีรูปนารายณ์ทรงครุฑ และรอบอุโบสถยังมีเสมาคู่รวมทั้งเจดีย์ และพระปรางค์ สันนิษฐานได้ว่าเคยเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา
    นอกจากนี้ ด้านหน้าของอุโบสถยังมี เจ้าแม่ตะเคียนทอง แกะสลักจากต้นตะเคียนทอง ที่อยู่คู่วัดมานานกว่า 400 ปี ต่อมาต้นตะเคียนใหญ่ได้ยืนต้นตายเมื่อประมาณปี พ.ศ.2540 ทางวัดจึงได้นำไปแกะสลักเป็นรูปแม่ตะเคียนทอง และนำมาวางไว้บนตอตะเคียนต้นเดิม เพื่อให้คนได้สักการะบูชา ปัจจุบันมีผู้คนมากราบไหว้ ขอโชคลาภจากแม่ตะเคียนทองมากมาย
    วัดนางกุย นับเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับศึกษาหาความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีโบราณสถาน โบราณวัตถุหลายชิ้น ที่สะท้อนให้เห็นถึงผลงานชิ้นเอก ที่บรรพบุรุษรังสรรค์ และทิ้งไว้ให้ลูกหลาน อาทิ พระประธานก่ออิฐถือปูนในอุโบสถ ที่สร้างในสมัยอยุธยา เป็นอุโบสถที่ไม่เหมือนกับที่วัดไหนๆ คือ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่สร้างเป็นรูปเศียรพญานาค ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นโดยทั่วไป
    รอบพระประธาน มีพระพุทธรูปโดยรอบ ๘ ทิศ โดยเฉพาะด้านซ้ายมือของพระประธานมีรูปปั้นของ นางกุย นั่งพนมมืออยู่ด้วย ด้านบนเพดานตรงเศียรพระประธาน มีแผ่นไม้แกะเป็นลายดาวล้อมเดือน เป็นศิลปะที่งดงามมาก

    วันวิสาขบูชานี้ ข้าพเจ้าจะหมั่นทำบุญอย่างสม่ำเสมอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kui.bmp
      ขนาดไฟล์:
      102.8 KB
      เปิดดู:
      56
    • 2503-1_81737.jpg
      2503-1_81737.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.9 KB
      เปิดดู:
      110
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  15. one11

    one11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2011
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +586
    ลำดับ10 นายสมพงษ์ ขอจองเหรียญที่17พระพุทธโกศัย งานฉลองเมือแพร่ ครับ
    เหตุผล เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวเมืองแพร่ และ เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน
    พระพุทธโกศัย ศิริชัย มหาศากยมุนี หรือพี่น้องชาวบ้านเรียกว่าพระพุทธโกศัย
    เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองแพร่
    ประดิษฐานที่วัดพระพุทธบาทมิ่งเมือวรวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.แพร่
    พระพุทธโกศัย สร้างขึ้นระหว่างวันที่ 22-24เมษายน 2498
    พระพุทธโกศัยเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสน ผสม สุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตัก1วา 5นิ้ว สูง1วา1ศอก
    มีส่วนคล้ายพระพุทธชินราช
    วันที่24พฤษภาคม วันวิสาขบูชาจะ ทำบุญตักบาตร ให้อาหารปลาที่วัดใกล้บ้านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 80721.jpg
      80721.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.4 KB
      เปิดดู:
      73
    • f0720.jpg
      f0720.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      75
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  16. sagang

    sagang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +657
    ลำดับ11 จองเหรียญหลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ค่ะ
    เหตุผลที่เลือกเหรียญหลวงพ่อเส็ง เพราะได้ยินชื่อเสียงวัตถุมงคลท่านมาบ้างค่ะ และส่วนตัวยังไม่มีวัตถุมงคลท่านไว้บูชาเลยค่ะ จึงอยากได้วัตถุมงคลหลวงพ่อ ไว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลชีวิต ค่ะ
    หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา
    วัดบางนา อ.สามโคก ปทุมธานี เป็นวัดเก่าแก่ อายร่วม300ปี สร้างขึ้นราว พ.ศ.2310 เป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้น ไว้ประกอบศาสนกิจ ในอดีตวัดบางนามีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะหลวงพ่อเส็ง ซึ่งถือว่าเป็นพระที่ได้รับสมณศักดิ์รูปแรกของ วัดบางนา ท่านสร้างพระเครื่องวัตถุมงคล แจกลูกศิษย์ ลูกหาจนโด่งดัง
    ชาติภูหลวงพ่อเส็ง เกิดปี 2444 เป็นคนพื้นที่ย่านวัดบางนา โยมพ่อชื่อจู เป็นชางจีนล่องเรือสำเภา มาจากเมืองจีน มาอยู่สามโคก ปทุมธานี โยมแม่ชื่อเข็ม เป็นชาวรามัญ ท่านมีพี่น้องด้วยกัน7คน พี่น้องท่านเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษ กันหมด
    เมื่อครบบวชท่านได้เข้าบวชที่วัดบางนา เมื่อปี2465 ภาคหลังที่ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ แล้วท่านก็ศึกษาเล่าเรียน อักขระเลขยันต์ ต่างๆ รวมทั้งอักขระขอม ภาษารามัญ จนแตกฉาน และท่านได้ไปศึกษา อาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ อีกด้วย จนกระทั่งเจ้าอาวาสองค์เก่ามรณะภาพ ท่านจึงได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
    หลวงปู่เส็งเป็นพระปฏิบัติดี ท่านมักจะออกธุดงค์ ไปปริวาสกรรมทุกปี มิได้ขาด
    วันวิสาขบูชา จะพาครอบครับไปไหว้พระแถวเกาะเกร็ดค่ะ เพื่อเป็นศิริมงคล ขอบคุณค่ะ เบญจวรรณ ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 80759.jpg
      80759.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      58
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013
  17. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    เหรียญที่ 7สุเมธีวรคุณ ประจวบคีรีบันธ์ 2526
     
  18. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ข้อมูลประวัติ

    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2425 ตรงกับเดือน 7 ปีมะเมีย

    อุปสมบท 11 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ณ วัดลาด

    มรณภาพ วันที่ 29 พฤษภาคม 2492

    รวมสิริอายุ 69 ปี 48 พรรษา

    หลวงพ่อเปี่ยม นอกจากจะเป็นนักก่อสร้างแล้ว ยังมีความรู้ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถทางโหราศาสตร์ ทำให้วัดเจริญรุ่งเรือง เพราะเมื่อมีผู้เคารพ นับถือเลื่อมใสหลวงพ่อมากเพียงใด ก็เป็นประโยชน์ ต่อวัดมากเพียงนั้น และประชาชนเองก็ได้ รับประโยชน์จากหลวงพ่อทางสุขภาพจิต คือ ช่วยแก้ปัญหาความข้องใจ หรือความวุ่นวายทางอารมณ์ได้เป็นอันมาก ทั้งวัดและประชาชนเป็นไปดังคำพังเพยที่ว่า "วัดจะมีคนเลื่อมใสศรัทธา สมภารเจ้าวัดต้องเป็นพระนักเทศนา หรือ พระหมอยา หรือพระโหรา หรือพระอาคมขลัง" และประชาชนคนไทยเป็นบ้าน้อย เพราะว่าหมอดูคอยทำนายคลายอารมณ์" สำหรับหลวงพ่อเปี่ยมแล้ว ท่านเป็นโหราจารย์ไม่ใช่หมอดู คือสูงกว่าหมอดู เพราะคำว่า โหรแปลว่าผู้ชำนาญทางดาราศาสตร์เกี่ยวกับพยากรณ์ความแม่นยำในการพยากรณ์ของหลวงพ่อ เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งหลาย จนเป็นที่เลื่องลือกันเกือบทั่วประเทศไทยก็ว่าได้ นอกจากนี้หลวงพ่อเปี่ยมยังเชี่ยวชาญในการ บรรจุดวงชะตาทางโหราศาสตร์ลงในพระประจำวันของ บุคคล เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเจ้าของดวงชะตา การทำพิธีทางโหราศาสตร์เชื่อกันว่าถ้าทำที่อื่น จะขลังน้อยกว่าที่โบสถ์วัดเกาะหลัก เพราะที่นั่นหลวงพ่อได้สร้างเทวรูปประจำดาวนพเคราะห์ไว้ที่ลวดลายระหว่างเสาพระอุโบสถโดยรอบ และครบถ้วน การทำพิธีจึงเท่ากับอยู่ท่ามกลางทวยเทพประจำดาวนพเคราะห์ตามตำรับโดยแท้

    จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า เจ้าอาวาสที่ชื่อ "หลวงพ่อศรีโศธร" มีวาจาสิทธิ์ ผู้ใกล้ชิดและผู้ที่ผ่านไปมา ต่างเคารพนับถือด้วยบารมีของเจ้าอาวาสทุกรูป ทำให้วัดเกาะหลักมีความเป็นปึกแผ่น มั่นคง แต่รายละเอียดเกี่ยวกับความเจริญ ค้นคว้า หาหลักฐานไม่ได้ จนถึงสมัยหลวงพ่ออ่ำ จึงพอมีหลักฐานอยู่บ้าง เมื่อพูดถึงวัดเกาะหลัก พุทธศาสนิกชนชาวประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดใกล้เคียงจะต้องระลึกถึง "หลวงพ่อ เปี่ยม" เป็นอันดับแรก

    หลวงพ่อเปี่ยม (เปี่ยม จนทโชโต) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ "พระครูสุเมธีวรคุณ นิบุณคีรีเขตต์ ชลประเวศ สังฆวาหะ" ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2484 ได้เลื่อนสมณเป็นพระราชาคณะ มีพระราชทินนามว่า "พระสุ เมธีวรคุณ นิบุณคีรีเขตต์ ชลประเวศสังฆปาโมกข์" ในตำแหน่งเดิมเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเกาะหลัก ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ได้ทำความเจริญให้แก่วัดเกาะหลัก คือ

    1. จัดสร้างบ่อน้ำประปาคอนกรีตพร้อมด้วยจ่ายน้ำใช้ คันสูบโยกในวัด ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกของจังหวัด และได้ใช้ถึงปัจจุบัน ถังน้ำใบนี้ชื่อ "ถังน้ำธรรมโสภิต"

    2. ดำเนินการก่อสร้างกุฏิพร้อมทั้งซ่อมแซมบูรณะ เช่น "กุฎีจันทร์" แบบทรงไทยปนฝรั่ง ไม้ส่วนมากเป็นไม้จันทร์ พื้นล่างเป็นถังคอนกรีตเก็บน้ำฝน "กุฏิมิตรภาพ" เป็นกุฏิรับรองแบบทรงตะวันตก "โรงเรียนบาลี โรงเรียนปริยัติธรรม" เพื่อให้ภิกษุ สามเณร และเด็กวัด ได้ศึกษาเล่าเรียน

    3. ดำเนินการก่อสร้าง อุโบสถขึ้นใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ภายนอก เป็นลายไทยรูปปั้น และรูปเขียน เป็นภาพวิจิตร ศิลป์ทั้งหลัง ลายรดน้ำ ประตูหน้าต่างได้ให้ ช่างกรมศิลปากรเป็นช่าง การควบคุม การออกแบบ หลวงพ่อเปี่ยมเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น ช่างส่วนมากเป็นภิกษุ สามเณร ที่มีความสนใจศึกษา ช่วยจัดทำ สร้างเป็นพระอุโบสถที่สวยงามวิจิตรพิศดารของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
     
  19. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ข้าพเจ้าได้ไปไถ่ชีวิตวัว กระบือเเล้ว วันนี้
    24 พ.ค.จะไปเวียนเทียนครับ
     
  20. mankind4

    mankind4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +145
    กฤตภาส สันติชีวะกุล ลำดับที่16
    ขอรับเหรียญที่ 2.เหรียญสมเด็จพระอริยวงคตญาณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    ที่เลือกรับเหรียญของหลวงพ่อเพราะศัทธาในตัวหลวงพ่อในความเมตตาทำงานเพื่อศาสนาอย่างแท้จริง
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ)
    วัดราชบพิธ
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    พระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ภูมิลำเนาเดิม - ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายบาง นางผาด นิลประภา
    วันประสูติ - ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ในรัชกาลที่ ๕
    วันสถาปนา - ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
    วันสิ้นพระชนม์ ๐ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
    พระชนมายุ - ๙๐ พรรษา ๕ เดือน
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๔ ปี ๒ เดือน

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสนมหาเถระ) ท่านบิดาชื่อ บาง นิลประภา ท่านมารดาชื่อ ผาด นิลประภา เป็นบุตรคนที่ ๑ ในจำนวน ๓ คน ประสูติเมื่อวันพุธขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๔๐ เวลา ๑๙.๓๓ น. ที่บ้านตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    บรรพชา-อุปสมบท

    บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๖ ปี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๕๕ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌายะ พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ) วัดราชบพิธ เป็นศีลาจารย์ บรรพชาอยู่จนครบอุปสมบท

    อุปสมบท ณ วัดราชบพิธสถิตมหามาราม เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ สมเด็จพระสังราชเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอุปัชฌายะ พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ) วัดราชบพิธ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณดิลก (รอด วราสโย) วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นศีลาจารย์ มีพระฉายาว่า “วาสโน”

    การศึกษา

    เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาภาษาไทยที่วัดข้างบ้าน และที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑลอยุธยา พ.ศ. ๒๔๕๓ สอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ ๒ บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาปริยัติธรรมตามลำดับ สอบได้เปรียญ ๔ ประโยค สถาบันทางศึกษาทางพระพุทธศาสนา ได้ทูนถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ๒ สถาบัน และรัฐบาลอินเดียได้อนุมัติปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอักษรศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยพาราณสี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลกลาง เป็นผู้ดำเนินการประกอบพิธีทูลถวาย

    สมณศักดิ์

    ได้ทรงดำรงสมณศักดิ์ชั้นต่างๆ โดยลำดับดังนี้

    - ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นพระครูโฆสิตสุทธสร

    - ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นพระครูธรรมธร

    - ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นพระครูวิจิตรธรรมคุณ (ตำแหน่งฐานานุกรมของพระเจ้า วรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

    - ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นพระจุลคณิศร พระราชาคณะสามัญปลัดซ้ายของพระเจ้า วรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

    - ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี

    - ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโมลี

    - ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์

    - ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

    - ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    - ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ทรงพระกรุณาโปรด ฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศา คตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก




    หน้าที่การงาน

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นต้นมา ได้ทรงดำรงตำแหน่งต่างๆ บริหารงานพระศาสนาการคณะสงฆ์ รวม ๒๘ ตำแหน่ง และสำคัญๆ ที่ได้ทรงปฏิบัติมาตลอดจนถึงอวสานกาลแห่งพระชนมชีพ คือ

    - เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ

    - ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

    - ประธานสภาการศึกษาของคณะสงฆ์

    - เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

    - นายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

    - นายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย

    - ประธานคณะกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนาและมนุษยธรรม

    - องค์อุปถัมภ์มูลนิธิสังฆประชานุเคราะห์

    - องค์อุปถัมภ์สัมมาชีวศิลปมูลนิธิ

    - องค์อุปถัมภ์ศูนย์และชมรมพุทธศาสน์ ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ อีก ๙ แห่ง

    - องค์อุปถัมภ์ศูนย์ธรรมศึกษาพิเศษโรงเรียนวิสุทธิกษัตรี-อาษาวิทยา

    - องค์อุปถัมภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)

    - องค์อุปถัมภ์สถานสงเคราะห์คนชรา “วาสนะเวศม์”

    - องค์อุปถัมภ์มูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)

    - องค์อุปถัมภ์มูลนิธิ “วาสนะเวศม์”

    กิจกรรมพิเศษ

    - รับการปลงพระบริขารจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

    - เป็นผู้อำนวยการปฏิบัติการพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น

    - ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุฏมาร

    - ทรงเป็นประธานกรรมการสังคีติการกสงฆ์ สังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอ บ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๓๐

    - ทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งเป็นพระคณาจารย์เอก ในทางรจนาพระคัมภีร์ แต่ พ.ศ. ๒๔๘๕

    การบูรณะวัด

    เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นวัดแรกในรัชกาลนั้น ถึงบัดนี้มีอายุ ๑๐๐ ปีเศษแล้ว วัตถุก่อสร้างภายในพระอารามจึงชำรุดทรุดโทรมอยู่ทั่วไป ในยุคที่ทรงเป็นเจ้าอาวาสได้ทำการบูรณะเขตพุทธาวาสให้คงสภาพดีเรียบร้อยไปแล้ว ที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น องค์พระเจดีย์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารทิศ ๒ หลัง พระวิหารคด ศาลาราย ลานพระเจดีย์ และพื้นไพฑีโดยรอบ ในเขตสังฆาวาส มีศาลาการเปรียญคณะนอก (ศาลาร้อยปีในปัจจุบัน) พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ กุฎีสงฆ์คณะนอก ๓ แถว ๓ ชั้น กุฎีสงฆ์คณะในแถวใน ตำหนักอรุณ ศาลาการเปรียญคณะใน เป็นต้นโดยลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๓๐ ได้จัดการบูรณะซ่อมแซมพระอารามไปแล้ว รวม ๒๙ รายการ เป็นเงินประมาณ ๖๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ
    วันวิสาขบูชา 24 พฤษภาคมนี้ จะไปทำบุญใส่บาตร ทำทานครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 30683.jpg
      30683.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...