บันทึกพระราชภารกิจสุดท้ายของเสด็จปู่พระนเรศวรและการอัญเชิญพระบรมศพกลับมาตุภูมิ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ธัมมนัตา, 3 ตุลาคม 2007.

  1. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    คัดจากหนังสือ"วาระสุดท้ายและสิ่งที่เป็นอมตะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ที่ไหน"(แจกที่วัดวรเชษฐ์)<O:p</O:p

    การเผยแพร่นี้เพื่อบูชาคุณแผ่นดินแห่งการสืบการพระศาสนาแลเสริมญาณพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า



    ในปี พ.. ๒๑๔๕พระเจ้าอังวะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนองที่ประสูติแต่พระสนมทรงประกาศพระราโชบายของพระองค์ว่าจะนำอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่เช่นพระราชบิดาเป็นผลให้เมืองน้อยใหญ่เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมากและขยายพระราชอำนาจโดยส่งกองกำลังเข้ายึดเมืองนายซึ่งเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยาเพื่อเตรียมจัดตั้งฐานกำลังเข้ายึดครองนครแสนหวีอันเป็นนครหลวงของอาณาจักรไทยใหญ่ต่อไป

    ความดังกล่าวได้ทราบถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย จึงได้มีพระบรมราชโองการให้จัดเตรียมทัพแลความพร้อมต่าง ๆให้แล้วเสร็จในเดือนอ้าย ปีมะโรง พ..๒๑๔๗และได้ทรงตรวจความพร้อมของกองทัพแล้วมีพระบรมราชโองการให้ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาในในวันพฤหัสบดีเดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีมะโรง พ.. ๒๑๔๗กองทัพอันเกรียงไกรแห่งกรุงศรีอยุธยาได้เคลื่อนกองทัพทั้งทัพหน้าและทัพหลวงไปเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นฐานกำลังทางฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยาเมืองเชียงใหม่ปกครองเมืองต่าง ๆ อีก ๕๗ หัวเมือง

    <O:p</O:pวันอังคารที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๗ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพหลวงไปตามทางไปสู่เทือกเขาเชียงดาวผ่านไปทางแม่ริม ได้แรมทัพหลวงที่แม่ริม ๑ คืน (วันที่ ๑)

    <O:p</O:p
    วันพุธที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๗ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง ทัพหลวงได้เดินทางต่อไปที่ระหว่างทางอีก ๑ คืน (วันที่ ๒)

    <O:p</O:p
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง ทัพหลวงได้เดินทางต่อไปได้แรมทัพหลวง ๑ คืนต่อมาถึงลำน้ำแม่แตงได้แรมทัพหลวงเป็นคืนที่๓ ที่เมืองกึ้ด(ต.กึ้ดช้าง อ.แม่ริม) ในวันนี้ม้าเร็วได้ส่งข่าวทำให้ทรงทราบข่าวจากม้าเร็วว่าทัพพระอนุชาธิราชได้ถึงเมืองฝางแล้วทรงพอพระทัยยิ่งนัก (วันที่ ๓)

    <O:p</O:p
    วันศุกร์ที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๕ ปีมะเส็ง ทัพหลวงได้เดินทางต่อไปตามลำน้ำแม่แตง และไปที่ทุ่งยั๊วะได้แรมทัพหลวง ๑ คืน (วันที่ ๔)

    <O:p</O:p
    วันเสาร์ที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ แรม ๑๓ ค่ำเดือน ๕ ปีมะเส็ง ทัพหลวงได้เดินทางต่อไปตามลำน้ำแม่แตง และไปถึงเมืองคอง เขตเชียงดาวได้แรมทัพหลวง ๑ คืน(วันที่ ๕)ที่ถ้ำเชียงดาว ได้ทอดพระเนตรเทือกเขาเชียงดาว ได้ใช้ถ้ำเชียงดาวเป็นที่ประทับและเป็นท้องพระโรงเป็น ทรงประทับใจในความงดงามและความสูงของยอดเขาแห่งนี้ และได้ทรงเล่าให้มุขมนตรีฟังว่าเทือกเขาเชียงดาวนี้เหมือนเขาพระสุเมรุที่พระราชมารดาเคยเล่าให้ฟัง

    ในยามค่ำคืนแม้จะมีแสงจากพระจันทร์เพียงเล็กน้อยภูมิประเทศของเชียงดาวก็มีความงาม ในสมัยที่ยังทรงพระเยาว์พระราชมารดาจะเล่าเรื่องต่าง ๆให้ฟังอยู่เสมอ เรื่องของสมเด็จยายบ้างเรื่องของเมืองอื่น ๆ บ้างแต่ทรงประทับใจเรื่องเขาพระสุเมรุที่ว่าสูงมาก สูงเทียมเมฆ เป็นที่อยู่ของทวยเทพ เทวา คนธรรพ์วิทยาธร ฤษี ชีไพร มีเถื่อนถ้ำมีน้ำตก มีต้นไม้ มีไม้ผลหลากชนิด และเป็นเมืองบังบด ผู้คนที่อยู่ที่นั่นล้วนแต่มีอายุยืน<O:p</O:p


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2007
  2. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ..๒๑๔๘ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะยกทัพหลวงไปเมืองงายระหว่างประทับที่หน้าถ้ำเชียงดาวมีชาวบ้านนำน้ำผึ้งหลวงใส่กระบอกไม้ไผ่มาถวายหลายกระบอกได้เสวยให้ชาวบ้านได้ชื่นใจในทันทีเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยว่าน้ำผึ้งมีรสดีหลากเกสรทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ไปหามาให้มากๆ ด้วยชาวบ้านบอกว่ามีผึ้งหลวงมากที่นี่ รวมทั้งว่านสมุนไพรต่าง ๆที่หายากก็มีมากอยู่ที่นี่หากได้นำว่านแลสมุนไพรนำไปดองในน้ำผึ้งหรือน้ำจัณฑ์จะเป็นโอสถขนานเอกฤาษีที่ที่มาบำเพ็ญเพียรตบะในถ้ำเชียงดาวโปรดเรื่องนี้มากหากเสวยจะช่วยให้มีพละกำลัง ควรเสวยทุกวันกองเกียกกายรับพระราชกระแสไปหาน้ำผึ้งหลวงซึ่งอยู่บริเวณปากถ้ำเชียงดาวมีต้นไม้ใหญ่ที่ผึ้งหลวงทำรังมีอยู่มากมายจึงได้ทำพระองก์ ขึ้นไปเก็บ ได้น้ำผึ้งมามากพอแล้วมีกระแสรับสั่งให้เก็บน้ำผึ้งหลวงที่หาได้ลงในไหน้ำจัณฑ์ขนาดใหญ่ที่ว่างเปล่าที่ซึ่งเคยบรรจุน้ำจัณฑ์ที่นำมาด้วยหลายสิบไหหากเดินทัพไปถึงเมืองตองอูน้ำผึ้งหลวงที่หามาได้ก็ยังเสวยไม่หมดเมื่อกองทัพถึงเมืองงายได้แรมทัพหลวงที่เมืองงาย ๑ คืน(วันที่ ๖)


    วันจันทร์ที่ ๑๘ เมษายน พ..๒๑๔๘ แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ปีมะเส็ง ทัพหลวงเดินทางไปเมืองแหงถึงเมืองแหงได้แรมทัพหลวงที่เมืองแหง ๑คืนเจ้าเมืองแหงได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ประทับแรมที่คุ้มเจ้าเมืองเมืองแหงซึ่งมีที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของขุนเขามีลักษณะพื้นที่คล้ายหอยสังข์หรือเมล็ดถั่วเมืองแหงหรืออีกชื่อหนึ่งคือเวียงแหงเป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมเป็นกำแพงเมืองมีหน้าผาสูงอยู่ทางด้านทิศใต้ติดกับลำน้ำแม่แตงจากนั้นได้แรมทัพหลวง ๒ คืนการพักทัพที่เมืองแหงนี้เจ้าเมืองแหงได้เล่าประวัติความเป็นมาของเมืองให้ทรงทราบและได้เล่าถึงตำนานพระธาตุแหงเก่าแก่ที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาลทรงทราบและมีพระราชกระแสให้บูรณะพระธาตุ


    ในคืนที่ ๒ ได้ทรงมีรับสั่งให้กองทหารม้าเดินทางไปล่วงหน้าเพื่อจัดการติดต่อระหว่างทัพหลวงและทัพหน้าของสมเด็จพระเอกาทศรถที่เมืองตองอูโดยให้ตั้งกองทหารม้าย่อย ๆ ตั้งหน่วยเป็นระยะๆเมื่อจัดจัดตั้งกองทหารม้าแล้วเสร็จทัพหลวงได้รับใบบอกจากทัพหน้ามากราบทูลพระนเรศวรมีใจความว่าได้ยกไปล้อมเมืองตองอูและให้ตีหักเป็นหลายครั้งก็ยังหาได้ไม่ด้วยเมืองตองอูมีเสบียงอาหารบริบูรณ์ และผู้คนรักษาแข็งแรงดังนี้สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบและ ทรงแพ้อากาศและความชื้นสูงมาก มีฝนตกบ่อย ทำให้มีไข้ผลจากการประชวรของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำให้การเคลื่อนทัพหลวงที่จะลงไปทำการยุทธร่วมกับสมเด็จพระอนุชาธิราช ที่เมืองตองอูต้องชะงักลง และทรงยั้งทัพไว้ ณ เมืองแหงและได้แจ้งข่าวอาการพระประชวรไปยังสมเด็จพระเอกาทศรถที่เมืองตองอู
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    .ที่คุ้มเจ้าเมืองแหงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระประชวรและได้ประทับเพื่อรักษาพระองค์การตั้งกองทหารม้าเป็นจุดย่อยๆเพื่อส่งข่าวนั้นทำให้สมเด็จพระเอกาทศรถทรงทราบว่าพระเชษฐาธิราชทรงพระประชวรจึงได้เสด็จโดยม้าเร็วมาถึงเมืองแหงในวันพฤหัสบดีที่๒๑ เมษายน ๒๑๔๘ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง เข้าเฝ้าพระอาการอยู่ ๒-๓ วันแล้วเสด็จกลับไปเมืองตองอู


    สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นห่วงพระอนุชาธิราชเป็นอย่างมากแต่พระอาการประชวรก็ยังมีอยู่แม้จะทรงเสวยน้ำผึ้งตามแนะคำนำของแพทย์หลวงแล้วแต่พระอาการก็ยังทรุดอยู่แต่น้ำพระราชหฤทัยนั้นยังมีความมุ่งมั่นที่จะยาตราทัพไปให้ถึงเมืองตองอูแม้จะมีคำทัดทานจากมุขมนตรีทั้งหลายก็หาได้ทำให้เปลี่ยนพระราชหฤทัยได้แพทย์หลวงแนะนำว่าการเสด็จไปตองอูต้องพักผ่อนเตรียมพระวรกายให้พร้อม แต่ทรงไม่ทำตามทรงมีพระราชกระแสให้เคลื่อนทัพหลวงข้ามเทือกเขาของเมืองแหงเพื่อไปยังเมืองหางและถึงเมืองหางในวันศุกร์ที่๒๒ เมษายน พ..๒๑๔๘ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ปีมะเส็ง ทรงพักทัพไว้ที่เมืองหาง


    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของไทยเพียงพระองค์เดียวที่ทรงนำกองทัพขนาดใหญ่เช่นนี้ข้ามเทือกเขาสูงชันไปยังฝั่งพุกามประเทศได้ และเคยยาตราทัพไปจนได้รับชัยชนะเหนือเมืองกัมโพชในฤดูฝนนี้นี่เองที่ทำให้พระวรกายกระทบอากาศที่หนาวเย็นและมีความชื้นสูงทรงมีไข้ขึ้นสูงเป็นพักๆทำให้พระวรกายมีพระกำลังถดถอยลงทรงมีผื่นแดงขึ้นที่พระพักตร์และมากขึ้นทรงปวดแสบปวดร้อนเป็นอย่างมากแล้วกองทัพได้เดินทางต่อข้ามแม่น้ำสาละวินที่ท่าสบจ๊อด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเส็ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้มีรับสั่งให้เคลื่อนทัพไปทางตำบลเขาเขียว ระหว่างทางสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงพระประชวรอีก แพทย์หลวงถวายคำแนะนำให้ทรงพักทัพไว้ก่อน แต่ก็ทรงเป็นห่วงพระอนุชาธิราชแต่กระนั้นก็ทรงทำตามคำแนะนำของแพทย์หลวง โดยยอมบรรทมที่ใต้ต้นไม้ใหญ่
     
  4. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็บังเกิดขึ้น ทรงแพ้อะไรบางอย่างจากแมลงชนิดหนึ่ง และพระกระยาหารที่เสวยไปอาจแสลงกับพระโรคก็เป็นได้ แพทย์หลวงไม่สามารถทำการรักษาได้ แต่ด้วยขัติยะมานะ ซึ่งจะต้องยกทัพหลวงไปให้ถึงเมืองตองอูให้ได้ มิได้ทรงแสดงอาการปริวิตกแต่อย่างใด ทรงยันพระวรกายขึ้น แล้วเสด็จขึ้นบนคอช้างพระวิษณุราชามาเพื่อจะออกเดินทางและได้ขึ้น ไปประทับนั่งที่คอช้างพระที่นั่งทรงประทับนั่งอย่างนั้นเป็นเวลานาน แต่ไม่ทรงสั่งการให้เคลื่อนทัพ แต่อย่างใด ทรงหลับพระเนตรลงแล้วเจริญกรรมฐาน อานาปานสติ ทรงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดา คุณพระราชบิดา คุณพระราชมารดา คุณพระราชวงษ์ทุกพระองค์ และคุณแห่งข้ารองบาททุก ๆ คนที่ช่วยกันรักษาบ้านเมือง แล้วเข้าฌาน ๔ แล้วถอยออกมาตั้งอยู่ในปฐมฌาน ทรงพบว่าพระราชบิดา พระราชมารดา ได้มารอรับพระองค์อยู่ ณ เบื้องหน้าแล้ว แล้วถอดทรงจิตออกจากกายหยาบ โผเข้ากอดพระราชบิดา คำทักทายกันคำแรกแห่งความดีใจจนสุดซึ้ง "ลูกทำตามคำขอของพ่อและแม่แล้ว" พระราชบิดาตอบว่า "ภารกิจของเจ้าจบแล้ว ต่อไปกรุงศรีอยุธยาจะเจริญรุ่งเรือง อย่าได้ห่วงใยเลย น้องของเจ้าจะได้ปฏิบัติหน้าที่สืบต่อไป"<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ร่างอันปราศจากดวงจิตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ค่อย ๆ ล้มองค์ลงพับอยู่บนคอช้างพระที่นั่งวิษณุราชา ท่ามกลางความตกตลึงของทหารทั้งกองทัพ กลางช้างรีบเข้าไปถวายบังคมเพื่อยึดพระองค์ไว้มิให้ขาดจากคอช้างพระที่นั่ง และได้เข้ามาประคองพระวรกายที่ปราศจากดวงจิต กลางช้างก็ทราบได้ทันที่ว่าทรงจากเหล่าทหารไปแล้ว กลางช้างรีบตะโกนร้องจนเสียงหลง"พ่อเจ้าเหนือหัว ประชวรหนัก" กลางช้างรีบบังคับช้างให้ทรุดตัวลง แล้วนำร่างอันปราศจากดวงจิตลงจากคอช้าง
     
  5. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ทหารทั้งหลายกรูกันเข้ามา พร้อมมีเสียงสั่งรีบส่งข่าวถึงพระอนุชาธิราชให้ทราบโดยเร็ว จัดม้าเร็วไปเมืองตองอู ให้เตรียมวางม้าทรงสำหรับพระอนุชาธิราชไว้เปลี่ยนระหว่างทางให้ตลอดระยะทางให้ถึงพรุ่งนี้ ให้พักกลางทางได้เท่าที่จำเป็น จัดเสบียงไปให้พร้อม พร้อมพลนำทาง และกองทหารม้าคุ้มกันอีก ๒ กอง ทหารทั้งกองทัพอยู่ในอาการเศร้าโศก บางคนร้องไห้ราวกับเด็ก ๆ


    ข่าวได้ถึงพระอนุชาธิราชเร็วกว่าที่คิด ทรงพักทัพมาสองวันแล้ว คล้ายกับจะทรงทราบว่าจะต้องถอนตัวจากการรบในครั้งนี้ การพักทัพก็เป็นการออมกำลังให้ไพร่พลมีกำลัง เหมือนเพื่อรอเวลาจะเข้าตีเมืองตองอูอีกครั้ง ทหารที่ล้อมเมืองตองอูอยู่ต่างก็เข้าใจว่ารอทัพหลวงถึงจะได้เข้าโจมตีเมืองตองอูพร้อมกันทั้งสี่ด้านเมืองตองอูนี้เป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมมีคูน้ำล้อมรอบ และมีแม่น้ำสะโตง(Sit trung River)ไหลผ่านด้านทิศตะวันตก จึงเป็นเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติอย่างดี ส่วนด้านทิศใต้ก็มีแม่น้ำสาขาไหลโอบอยู่อีกด้านหนึ่ง จึงยากแก่การเข้าตี การเข้าตีเมืองตองอูนี้ต้องทำการยุทธข้ามลำน้ำ จึงจะเข้าไปยังหน้าเมืองได้ ไม่ง่ายเช่นเมืองหงสาวดี ด้วยเมืองหงสาวดีตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำพะโค (Bago River) อันกำเนิดจากเทือกเขาด้านทิศเหนือของเมืองหงสาวดีนั่นเอง การเข้าตีเมืองหงสาวดีไม่ต้องข้ามลำน้ำ กองทัพเดินเข้าประชิดเมืองได้โดยง่าย จะข้ามแม่น้ำแห่งเดียวคือแม่น้ำสะโตงแต่ก็อยู่ห่างจากเมืองหงสาวดีมาก หากเข้าตีจึงปราศจากการต้านทานระหว่างการข้ามลำน้ำ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทหารได้พักทัพมาหลายวันแล้วสิ่งที่คาดคิดคือจะต้องโจมตีเมืองตองอูอีก แต่คราวนี้แปลกกว่าคือมีรับสั่งให้ถอนตัวโดยกองทหารทะลวงฟันให้ถอนตัวไปก่อนแล้วให้ไปรอคอยในระยะเดินทางครึ่งวันการเดินทางเมื่อกำลังส่วนใหญ่ถอนตัวผ่านไปแล้วกองทะลวงฟันซึ่งล่วงหน้าไปก่อนนั้นจึงจะทำการถอนตัวได้แล้วไปสมทบกับกำลังส่วนใหญ่ที่เมืองหาง ให้ไปถึงที่เมืองหางก่อนค่ำคืนก็ค่อย ๆถอนตัวออกไปจนหมดสิ้น

    เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถได้มีพระกระแสรับสั่งแล้วได้เสด็จไปเมืองหางโดยม้าทรงส่วนกองทัพสมเด็จพระอนุชาธิราชถอนตัวเป็นขบวนสุดท้ายไปถึงเมืองหางในบ่ายวันพุธต่อมาการเดินทางไปได้อย่างรวดเร็วนี้ด้วยการเปลี่ยนม้าทรงระหว่างทางที่กองทัพหลวงจัดวางไว้ให้พร้อมกำลังคุ้มกันพระองค์เมื่อถึงทัพหลวงแล้วได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ยกทัพกลับไปยังเมืองหางพร้อมพระบรมศพแล้วมีรับสั่งให้จัดหาต้นไผ่เพื่อนำมาจักสานแล้วรมควันให้ไม้ไผ่นั้นแห้งสนิทแล้วอบด้วยดินทองจุดไฟให้ควันจากดินทองอบไม้ไผ่ในกระโจมผ้าเพื่อป้องกันเชื้อราซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก พระลองไม้ไผ่นี้จะต้องฉาบด้วยชันทั้งด้านในและด้านนอกมีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องเขินของชาวเหนือนั่นเอง
     
  6. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ในบ่ายวันพุธที่ ๒๗ เมษายน พ..๒๑๔๘สมเด็จพระเอกาทศรถทรงกำกับการสานพระลองซึ่งจะต้องขึ้นรูปเช่นเดียวกับรังไหมซึ่งสานให้มีฐานที่ด้านล่างสามารถตั้งกับพื้นได้ แล้วนำพระบรมศพมาตรึงกับแกนกลางไม้เนื้อแข็งพระลองไม้ไผ่สานเพื่อป้องกันมิให้พระบรมศพเอนไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วใช้น้ำผึ้งที่พระเชษฐาธิราชเตรียมการไว้จะเสวยระหว่างทางอันมีจำนวนมากนั้นมาทาที่ผ้าริ้วสีขาวที่จะใช้พันรอบพระบรมศพพันด้วยผ้าริ้วขาวทาน้ำผึ้งนี้ อยู่หลายชั้นเมื่อพันผ้าริ้วสีขาวทาน้ำผึ้งแล้วจนรอบพระบรมศพพระลองก็ถูกสานขึ้นรูปเป็นทรงรีคล้ายรังไหมแล้วนำชันมาทาลูบไล้ให้หนาขึ้นอีกทั้งด้านล่างด้านในและด้านนอกอีกจนทั่ว(ภาษาเหนือเรียกว่ารุ้ง)สำหรับหุ้มพระบรมศพพระลองก็ถูกสานขึ้นไปเรื่อยๆ ทาชันตามขึ้นไปเรื่อย ๆ จนหุ้มทั้งพระองค์แล้วสานด้านบนเป็นขอบหนาเป็นที่รับฝาสำหรับปิดฝาที่ปิดก็สานขึ้นจากไม้ไผ่และทาชันทั้งด้านนอกและด้านในเช่นกัน


    เมื่อสานพระลองและทาชันแล้วเสร็จสมเด็จพระเอกาทศรถจึงนิมนต์พระภิกษุมาประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพพระเชษฐาธิราชเมื่อพระภิกษุเจริญพระพุทธมนต์แล้วสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงเทน้ำผึ้งหลวงใส่ในพระลองจนเกือบเต็มแล้วปิดฝาพระลองแล้วนำชันมายาลูบไล้ปิดทับจนเนื้อเดียวกัน แล้วทรงปิดแผ่นทองคำเปลวอีก ๙แผ่นที่ฝาพระลอง น้ำผึ้งนั้นก็ไม่เล็ดลอดออกมาได้เลยจึ่งนำพระลองไปบรรจุในพระโกศไม้ที่ทำเป็นการด่วน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เช้าวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ เมษายน พ..๒๑๔๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน๖ ปีมะเส็งพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ได้รับการอัญเชิญขึ้นช้างพระที่นั่งวิษณุราชาออกจากเมืองหางแล้วข้ามเทือกเขาเข้าสู่เมืองแหงในวันบ่ายวันศุกร์ที่๒๙ เมษายน พ..๒๑๔๘ส่วนไหที่เทน้ำผึ้งออกหลายสิบไหนั้นได้ขนกลับไปที่เมืองแหงเมื่อถึงเมืองแหงหรือเวียงแหงแล้วสมเด็จพระเอกาทศรถทรงทราบว่าสมเด็จพระเชษฐาธิราชได้มีพระราชประสงค์ให้บูรณะพระธาตุที่เมืองแหงซึ่งชาวเมืองกำลังก่อสร้างอยู่แต่ยังไม่เสร็จ


    เมืองแหงนี้ตามตำนานว่าสมเด็จพระศาสดาได้เคยเสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิพร้อมกับพระอานนท์เมื่อถึงสถานที่แห่งหนึ่งมีชาวกะเหรี่ยงได้ถวายแตงโม ขณะทรงฉันแตงโมนั้นพระทนต์(ฟัน) ได้แตก(แหง)ออกมาพระพุทธองค์จึงได้มอบพระทนต์นั้นแก่ชาวกะเหรี่ยงเพื่อจะได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานองค์พระธาตุไว้ในดินแดนนี้กาลต่อมาพระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างมานาน


    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพผ่านมาความได้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงได้ให้บูรณะกองพระธาตุเก่านั้นแต่ชาวเมืองกำลังบูรณะอยู่ยังไม่เสร็จ สมเด็จพระเอกาทศรถทรงทราบจึงพระราชทานไหสิบใบพร้อมบรรจุสิ่งของอันที่กองทัพยึดมาได้นั้นพระราชทานแก่ให้เจ้าเมืองแหงเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วให้ฝังไหลงใต้ธาตุเก่าที่บูรณะแล้วให้เป็นทรัพย์ของแผ่นดินให้คงอยู่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองแหงและเพื่อเชื่อมโยงแผ่นดินให้เป็นแผ่นดินเดียวกันกับกรุงศรีอยุธยาตลอดกาล(เจดีย์นั้นต่อมาเรียกกันว่าพระธาตุแสนไห)<O:p</O:p
     
  7. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    กองทัพได้เดินทางอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ค่ำคืนก็อาศัยแสงจันทร์ของข้างขึ้นที่สาดส่องทางให้ ถึงเที่ยงคืนจึงพักขบวนเดินทาง รุ่งเช้าของวันใหม่ก็หุงหาอาหารรับประทานอาหารเสร็จก็เดินทางต่อ เข้าเขตเมืองเชียงใหม่ พักที่กลางทางที่เชียงดาวอีก ๑ คืน พักที่หน้าถ้ำเชียงดาวอีก ๑ คืน กองทัพได้ใช้น้ำที่ไหลออกมาจากน้ำดั้นน้ำผุด ณ ที่แห่งนั้น


    ถ้ำเชียงดาวจึงถูกจัดให้เป็นท้องพระโรงและที่ประทับแรมของสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้แรมคืนที่เชียงดาว ๑ คืน บรรทมได้ดีตลอดทั้งคืน ทรงประทับใจกับอากาศของเชียงดาวอย่างยิ่ง ในยามเช้ามีหมอกลงจัดทรงโปรด ทิวทัศน์ว่างามมาก ต้องพระราชประสงค์จะจำลองความงามนี้ไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา และเป็นบุญตาที่ได้มาเห็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำของแม่น้ำปิง


    นายทหารที่ได้เคยพักแรมในคราวก่อนนั้นได้เล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็ทรงโปรด สถานที่แห่งนี้เช่นกัน เมื่อทรงทราบว่าพระเชษฐาธิราชก็ทรงพักทัพที่นี่และโปรดบรรยากาศที่เชียงดาวเช่นกัน จนได้เคยมีพระราชดำรัสกับทหาร หลาย ๆ คนว่า ชอบภูเขาที่นี่มาก ด้วยเหมือนเขาพระสุเมรุในตำนานที่พระราชมารดาเคยเล่าให้ฟัง ตอนยังทรงพระเยาว์ว่าเขาพระสุเมรุอยู่สูงมากมีเมฆปกคลุมยอดเขาอยู่ตลอดปี เป็นต้นกำเนิดสายน้ำไปหล่อเลี้ยงมนุษย์ สัตว์ต่าง ๆและพืชพันธ์ ภูเขาในเมืองพิษณุโลกก็ยังต่ำไป แต่เขาพระสุเมรุสูงมาก สูงเสียดฟ้าถึงฐานของเมฆ มีอากาศหนาวเย็น เป็นที่อยู่ของเทวดา คนธรรพ์ และพวกบังบด และจึงมีประเพณีนิยมจำลองเขาพระสุเมรุขึ้น แล้วใช้เขาพระสุเมรุจำลองเป็นที่ถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่นพระเจ้าพรหมทัต ที่เมืองพิมาย แม้ในกรุงศรีอยุธยาก็ยังไม่เคยถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์บนเขาพระสุเมรุจำลองแม้แต่พระองค์เดียว คงถวายที่ทุ่งพระเมรุ อย่างเช่นสมเด็จยายก็ถวายพระเพลิงที่สวนหลวง พระอัฐิก็บรรจุที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ ด้วยสมเด็จยายทรงโปรดที่สวนหลวงมาก


    ก่อนเดินทางจากเชียงดาว ทรงทอดพระเนตรเทือกเขาเชียงดาวอย่างอาลัยแล้วนึกถึงคำบอกเล่าของพระราชมารดาที่เคยได้ยินเช่นเดียวกับพระเชษฐาธิราช ทรงชอบให้พระราชมารดาเล่าเรื่อง ต่าง ๆ ให้ฟังอยู่เสมอ จึงได้ทรงจัดของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชบางอย่างลงฝังกับพื้นดิน และบางส่วนนำไปเก็บไว้ในถ้ำเชียงดาว และให้สัตย์ว่าจะรักษาผืนดินที่พระเชษฐาธิราชทรงโปรดนี้ให้คงสถิตย์ไปชั่วลูกชั่วหลานจะเก็บความงามนี้ให้ตลอดกาล และจะจำลองความงามนี้ไปถวายพระเชษฐาธิราชที่กรุงศรีอยุธยา
     
  8. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ต่อจากนั้นจึงเดินทางเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ เจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่ก็ได้เข้าเฝ้าและมีพระราชดำรัสกับเจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่หลายเรื่อง เจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่ได้เล่าตำนานการก่อสร้างเมืองเชียงใหม่ให้ทรงทราบ สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพอพระราชหฤทัยว่าเมืองเชียงใหม่มีที่ตั้งถูกต้องตามหลักการตั้งเมือง หน้าเมืองติดแม่น้ำหลังเมืองอิงภูเขามีสายน้ำจากดอยสุเทพไหลเข้ามาเลี้ยงคูเมืองมิได้ขาด มีแม่น้ำปิงทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้เหมือนดั่งลำตัวพระยานาคตัวเมืองมีที่ตั้งอยู่ที่ท้องของพระยานาค จึงมีความเจริญรุ่งเรืองมีโภคทรัพย์มากประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ด้านทิศตะวันออกเป็นไร่เป็นนาสมเป็นเมืองเพชรแห่งล้านนา ฝ่ายใดครอบครองชัยภูมินี้ไว้ได้ย่อมได้เปรียบข้าศึกยิ่งนัก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่ได้จัดถวายพระกระยาหารแด่สมเด็จพระเอกาทศรถแบบล้านนาเจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่ก็กล่าวแก่พระเอกาทศรถว่ากรุงศรีอยุธยาก็ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านสมเป็นนครรัฐนาวาสายน้ำที่ไหลผ่านย่อมนำสินค้ามาสู่เป็นปมคมนาคมทางการค้าแท้จริงอีกทั้งยังควบคุมเส้นทางการค้าทั้งทางบกและทางน้ำไว้ทั้งหมดเป็นเหมือนบ่อเงินบ่อทองที่ตักเท่าใดก็หาได้หมดไปไม่มีประตูการค้าทั้งสองฝั่งมหาสมุทรการค้าจากเมืองไกลทางมหาสมุทรก็มีนายวานิชเลิศควบคุมอยู่ก็ล้วนแต่อยู่ในพระราชอำนาจทั้งสิ้นผู้ใดครองกรุงศรีอยุธยาก็ประดุจดังพระเจ้าจักรพรรดิ


    สมเด็จพระเอกาทศรถทรงชื่นชมในเจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่ว่าเป็นผู้มีความรู้เรื่องการพิชัยสงครามและสมุทรานุภาพเป็นอย่างยิ่งก่อนเสด็จออกจากเมืองเชียงใหม่ได้ขอเจ้าราชบุตรแห่งเชียงใหม่ไปชุบเลี้ยงพระองค์หนึ่งเพื่อการติดต่อกับหัวเมืองฝ่ายเหนือได้สะดวกขึ้น ได้แรมคืนที่เชียงใหม่ ๑ คืนในฤดูฝนเช่นนี้การเดินทางยากลำบาก แต่ก็หาได้มีอุปสรรคไม่ยางไม้กับชันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อกองทัพด้วยนำมาทากับผ้าขาวแล้วช่วยป้องกันน้ำฝนได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นการหุงหาอาหารก็ต้องใช้ด้วยเช่นกันจึงเป็นปัจจัยหลักที่กองทัพต้องใช้จากเมืองเชียงใหม่ สู่เมืองลำพูนจากลำพูนข้ามเทือกเขาขุนตาลรอยต่อที่ห้างฉัตรเมืองลำปางแล้วแรมคืนที่กลางป่าที่ห้างฉัตร ๑คืนและได้ทำเครื่องหมายแห่งการพักทัพด้วยการสร้างเจดีย์ขนาดเล็กขึ้น ๑แห่ง<O:p</O:p
     
  9. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    วันต่อมากองทัพเดินทัพไปเกาะคาแล้วแรมคืนที่เกาะคา ๑ คืนพักทัพที่พระธาตุลำปางหลวง จากเมืองลำปางกองทัพเคลื่อนทัพในทุ่งราบไปจนตัดข้ามเขาทางช่องทางทุ่งเสลี่ยม เพื่อเข้าสู่เมืองสุโขทัย แล้วกองทัพจึงได้ยาตราทัพไปบนถนนพระร่วงเดินทางเข้าสู่เมืองสุโขทัย กองทัพได้แรมคืนในเมืองสุโขทัยและสมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จไปที่วัดศรีชุมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อระลึกถึงความหลังเมื่อคราวที่พระเชษฐาธิราชมาตั้งพลับพลาที่ประทับแรมบริเวณใกล้กับวัดศรีชุม ที่วัดศรีชุมแห่งนี้ซึ่งมีช่องทางลับอยู่ด้านซ้ายของผนังวิหารเป็นบันไดสามารถขึ้นไปข้างหลังองค์พระได้ และขึ้นไปบนหลังคาวิหารได้เช่นกัน จากสุโขทัย ใช้ถนนพระร่วงเดินทางเข้าสู่เมืองกำแพงเพชร แล้วพักที่เมืองกำแพงเพชร ๑๕ วัน

    เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้จัดถวายพระกระยาหารทุกมื้อตลอดเวลาที่ทรงประทับอยูที่เมืองกำแพงเพชร การพักขบวนเดินทางเป็นเวลานานเช่นนี้ได้มีหนังสือแจ้งไปยังพระนครศรีอยุธยา และให้กองทัพได้พักผ่อนฟื้นฟูร่างกายที่อิดโรยมานาน และได้บำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพที่กลางเมืองกำแพงเพชร ทุกวัน แล้วอัญเชิญพระบรมศพลงเรือพระที่นั่งกลับกรุงศรีอยุธยาตามแม่น้ำปิง ผ่านเมืองนครสวรรค์ มาตามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วผ่านเมืองต่างๆอีกหลายเมือง แล้วเข้าพักแรมที่พระตำหนักปากโมก

    จากนั้นพระบรมศพได้อัญเชิญขึ้นเรือพระที่นั่งวรสุพรรณหงส์ สมเด็จพระเอกาทศเสด็จประทับเรือชัยสุวรรณหงษ์พร้อมด้วยขบวนเรือไปยังกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ถึงกรุงศรีอยุธยา ในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๔๘ เพื่อการเตรียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพให้สมพระเกียรติอันยิ่งใหญ่ต่อไป<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2007
  10. หลุย

    หลุย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +18
    เคยไปร่วมพิธีบวงสรวงที่วัดวรเชษฐ์ แต่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้รับแจกครับเสียดายเหมือนกัน ได้แต่เล่มอื่นๆ เกี่ยวกับวัดวรเชษฐ์
     
  11. porntips

    porntips เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +2,410
    กราบเบื้องบาทองค์พ่ออยู่หัว ที่ทรงเหนื่อยยากเพื่อลูกหลาน ขอให้ญาณบารมีของพระองค์เจริญยิ่งๆขึ้นไป สาธุ
     
  12. siwatcha

    siwatcha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +1,242
    ขอกราบแทบเบื้องบาทของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ข้าพระพุทธเจ้าสำนึกเสมอมาในพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์วีรกรรมของพระองค์ไม่เคยลืมเลือนไปได้เลย และดวงจิตของข้าในองค์สมเด็จพระนเรศวรคนนี้นั้นจักไม่แปรเปลี่ยนจักยังคงซื่อสัตย์จงรักและภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทไปตลอดกาล ขอดวงพระวิญญานแห่งพระองค์จงพบทางแห่งมรรคผลในที่สุดด้วยเทอญ. ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
     
  13. siwatcha

    siwatcha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +1,242
    ต้องขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้เหลือเกิน ที่ได้นำเรื่องราวที่ยากจะมีใครทราบในแทบว่า

    จะนาทีสุดท้ายแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ ดีใจเหลือเกิน! ที่ได้ทราบแต่ก็โศรกกำ

    สลดเหลือเกินเกือบอ่านไม่จบด้วย อ่านไปก็ไม่ทราบเป็นอันใด? หากเป็น

    เรื่องขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วละก็ แทบหายใจไม่ออก ขอบพระคุณ

    อีกครั้งนะคะ

    เจริญในธรรม มีพระพุทธเจ้าในใจมากๆคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...