ฟังแต่พระพุทธเจ้า องค์เดียวเท่านั้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sawok B, 2 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    150 ข้อถ้วน คำว่าถ้วน นี่บางฉบับ แปลมาจาก คำบาลีว่า สาธิกัง
    ซึ่งพระอาจารย์ ปยุต บอกว่า คำว่า สาธิกัง ไม่ได้แปลว่าถ้วน แต่แปลว่า
    กับทั้งส่วนที่เกิน ซึ่งมาจากคำว่า สะหะ + อธิกะ
    สะหะ แปลว่า กับ หรือพร้อมด้วย อธิกะ แปลว่า ส่วนเกิน

    ในพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ ก็แปลว่า 150 กว่าข้อ

    เนื้อความในพระสูตร คือ มีพระเห็นว่าศีลมีหลายข้อรักษาไม่ไหว เลยไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเลยตรัสว่า ศีล ทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ถ้าทำ 3 อย่างน้ีได้ ก็ใช้ได้แล้ว
     
  2. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เมื่อหาข้อสรุปไม่ได้มีการถกเถียงเท่ากับว่า 150หรือ227ก็ได้ไม่มีใครผิดถูก ยกไว้เลย ไม่มีเสียหรือไม่เสียแล้วแต่มุมมอง เอาเป็นกลางๆดีมั้ยสบายใจ หลวงพ่อชาท่านรู้ท่านคงดีใจมากกว่านะครับว่าลูกศิษย์ท่านนับถือตถาคตเพียวฝ่ายเดียวมีเจตนารมณ์เผยแผแผ่พุทธวจนฝ่ายเดียว ที่นี้มาดูว่าการเผยแผ่พุทธวจนนั้นมีประโยชน์อย่างไรมากกว่า จะมาเอาถูกผิดกัน ถึงท่านจะมีถูกบ้างผิดบ้าง มันก็เป็นธรรมดาของสาวกภูมิ ผมเองก็เห็นในส่วนนั้นบ้างแต่ไม่ใช่สาระจะเอาผิดถูก ดูตรงเจตนาว่าการเผยแผ่พุทธวจนฝ่ายเดียว(ตามคำสั่งของตถาคตนั้นดีอย่างไร)
     
  3. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ศิษย์ พระ คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง ได้แสดงว่าทางวัด ได้ตัด ปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ ให้เหลือเพียง ๑๕๐ ข้อโดยเอา ๗๗ ข้อ ทิ้ง ออกไปใส่รวมกับ ศีลส่วนที่ทำให้เลื่อมใสทั่วไป ที่มี ประมาณ ๒๐๐๐ ข้อแล้วก็จะได้ไม่ต้องสวด  คือ สวดแค่เพียง ๑๕๐ ข้อก็พอที่เหลือ ก็ไปรักษากันเอาเองในสองพันข้อ------------------------------------------------------------------------------------เหตุผลที่มาของการตัด คือ วัดนาป่าพง  อ้างจาก วัชชีปุตตสูตร และ เสขสูตร   ในอังคุตรนิกาย ติกนิบาต ข้อ [๕๒๔]ซึ่งแสดงตัวเลขของ ปาฏิโมกข์ไว้ว่า ๑๕๐ท่านเจ้าคุณปยุตโตได้อธิบายไว้ว่า เมื่อมีปัญหา หลายฉบับแปลไทยไม่ตรงกัน ก็ควรยึดตาม ฉบับบาลีเป็นหลักสูงสุด ซึ่ง "สาธิกัง" แปลว่า เกินกว่า ๑๕๐แต่ประเด็นนี้ ขอข้ามไปก่อน เพราะ อีกประเด็นที่ท่านเจ้าคุณปยุตโตได้อธิบายไว้  น่าสนใจกว่า นั่นก็คือ------------------------------------------------------------------------------------นั่นก็คือ......วัดนาป่าพง หารู้ไม่ว่า    ในพระสูตรนี้ เป็นบทสนทนาที่เกิดขึ้นช่วง"กลางพุทธกาล" ตอนประมาณพรรษาที่ ๒๕  ซึ่งตอนนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติปาฏิโมกข์มาเรื่อยๆจนได้เพียง ๑๕๐  ข้อ แต่ๆๆๆๆๆๆหลังจากนั้น พระพุทธองค์ ก็ยังบัญญัติ พระปาฏิโมกข์ เพิ่มต่อไปเรื่อยๆ จนได้ ๒๒๗ ข้อ เมื่อสิ้นพุทธกาล(ฟัง คลิ๊ปท่านเจ้าคุณที่ 33:06 และให้ดู อรรถกถา วัชชีปุตตสูตร)------------------------------------------------------------------------ปาฏิโมกข์ นั้น จึงมี ๒๒๗ ข้อ   ดังที่แสดงใน ---------------------------------------------------------------------พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒มหาวิภังค์ ภาค ๒  ข้อ [๘๘๑] ---------------------------------------------------------------------[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.
    http://84000.org/tipitaka/read/?2/881
    (เสขิยะ มี ๗๕)-------------------------------------------------------------------------บวกรวมกันง่ายๆดังนี้คือ4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227-------------------------------------------------------------------------สรุปว่า ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของทางวัดนาป่าพงไม่รู้ว่า ในพระสูตรที่อ้างนั้น กล่าวเมื่อไหร่  ไม่ได้ศึกษาอรรถกถาจึงเป็นเหตุให้หลงผิด ไปตัดทำลาย ปาฏิโมกข์ อันวิเศษ ในพุทธศาสนานี้ผู้ใดทำลาย ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า บิดเบือนพระธรรมทำสงฆ์ให้แตกแยก ผู้นั้นได้ชื่อว่าทำบาปกรรมอันหนักจึงขอให้ได้นำไปพิจารณา เพื่อที่จะได้แก้ไขในสิ่งที่ผิดให้เป็นถูกนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มีนาคม 2013
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เท่าที่อ่านมา... อ่านพระพุทธวัจจนะกันจริงหรือเปล่าเนีย

    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ผมฟังมาหลายครั้งแล้วท่านสอนดีนะ
    แต่ผมแปลกใจ ท่านว่าให้ฟังแต่พระพุทธวัจจนะ
    แล้วท่านอธิบายธรรมะทำไม...
    บอกว่าให้ฟังพระพุทธวัจจนะ แล้วท่านก็อธิบายธรรมะ...
    ก็แปลกๆดี
     
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    คนเราเข้าใจยากจังเนาะ
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ประเด็นนี้นั้น จุดประสงค์ของการเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้องนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเผยแผ่แต่คำตถาคตเท่านั้นตามคำสั่งของพระศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงจะเป็นการถูกการควร(สำหรับผู้ที่รับทราบในพุทธวจนแล้ว) แต่ในกาลก่อนนั้นพุทธวจนเหล่านี้นั้นอาจจะไม่ได้ถูกเผยแผ่ให้ได้ทราบกันมากนัก ก็ต้องมีผิดเพลี้ยนกันไปเป็นธรรมดาของสัจจะธรรมที่มีการเสื่อม

    เรามิได้มาเพื่อกล่าวตำหนิ หลวงปู่ หลวงตา หลวงน้า ที่ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบมากมาย และพวกเราก็ไม่ได้ยึดติดตัวบุคคลครูบาอาจารย์ เราเคารพด้วยความเป็นสรณะ แนวทางการเผยแผ่พระองค์ทรงวางแนวทางไว้อย่างนี้ เรารู้แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไปกับการเสนอนำคำตถาคต หรือคำครูอาจารย์เรา ให้มันสอดคล้องกับพุทะวจนนั้นน่าจะเป็นสิ่งสำคัญกว่าการที่เราจะไปบอกว่าสิ่งนั้นผิดคนนั้นผิด เราชาวพุทธจึงรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องคำตถาคตไว้เพื่อสืบต่อพุทธศาสนา ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล

    มันไม่จบและไม่มีประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น นอกจะทำให้จิตใจเราเศร้าหมองเปล่าๆ พระอรหันต์ท่านสำเร้จธรรมบรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จริง แต่การวินิจฉัยธรรมนั้นพระพุทธองค์เป็นผู้เดียวที่วินิจฉัยธรรมไม่มีผิดผลาด ส่วนท่านอื่นมีการวินิจฉัยธรรมไม่ตรงก็มีมากในพุทธกาล ซึ่งพระองค์ทรงห่วงใยในเรื่องนี้มาก พระองค์จึงสั่งให้เราฟังแต่คำตถาคตเท่านั้น ซึ่งอาจจะออกมาจากปากสาวกก็ได้ ส่วนที่สาวกแปลธรรมแล้วมีการพูดคุยกันในเรื่องที่เป้นการตีความธรรมะในพุทธวจนนั้น พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นพุทธบริษัทที่เลิศ
     
  7. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ในกรณีนี้พระพุทธเจ้าให้เราทำอย่างไร

    อย่าพึงรับรอง อย่าพึงคัดค้าน นำคำเหล่านั้นกำหนดเนื้อความ ทรงจำคำพูดของเขาให้ดี
    แล้วเอาไปเทียบเคียง หลักธรรม หลักวินัย หมวดอื่นของพระตถาคตให้ดีเสียก่อน

    ถ้าเข้ากันได้ ลงกันได้ คำนั้นชื่อว่าทรงจำมาถูก...ให้รับเอาไว้
    ถ้าเข้ากันไม่ได้ ลงกันไม่ได้ คำนั้นชื่อว่าทรงจำมาผิด...ให้ละทิ้งคำเหล่านั้นเสีย


    คำเทศนาข้างต้นโดยหลวงพ่อคึกฤทธิ์ ... ลองเทียบเคียง สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ดีๆ
    แล้วจะรู้ว่า มันมีในสังคมเราเยอะมาก do what I say, don't do what I do

    ผมเชื่อว่า จะมีศิษย์อยู่กลุ่มหนึ่ง ที่ปักหลักยึดมั่นกับตัวหลวงพ่อคึกฤทธิ์
    โดยยอมมองข้ามเรื่องที่คุณๆคิดว่าเล็กน้อยเสีย
    เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมชาวพุทธปัจจุบัน ได้แก่ กรณีสวนสันติธรรม และยันตระ

    แต่ สิ่งที่หลายๆคนที่แย้งหลวงพ่อคึกฤทธิ์มาก่อนผมเสียอีกนั้น
    ตอนนี้ มิได้ทำไปเพื่อผลอย่างอื่นแล้ว นอกจากการนำเสนอความจริงในอีกแง่มุมหนึ่ง
    ให้ผู้เข้ามารับข้อมูลได้ตระหนักเอาเอง เช่น
    _ การดื้อดึงสวดปาติโมกข์150ข้อ ของพระในวัดนาป่าพง
    ทำให้ พระที่บวชและจำพรรษาในวัดนาป่าพง ต้องอาบัติโดยเจตนาตลอดพรรษาแห่งการบวชนั้น
    ผมไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้น จะส่งผลต่อการความเป็นพระของผู้ได้รับการบวชต่อๆม่ด้วยหรือไม่
     
  8. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    แบ่งเป็นกรณีดังนี้

    1. วัดนาป่าพง พยายามเผยแพร่ธรรมของพระพุทธเจ้าจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงสวดปาฏิโมกข์ 150 ข้อ โดยยึดข้อมูลจากพระสูตรที่บันทึกกลางพุทธกาล และพระสูตรนั้นแปลผิด (จาก 150 พร้อมทั้งส่วนที่เกิน เป็น 150 ข้อถ้วน) ไม่ได้ยึดตามพระวินัย

    ตรงนี้ผิดพลาดกันได้ แต่ถ้ารู้แล้วแก้ไขก็ไม่เป็นไร แม้แต่พระอาจารย์ปยุต ยังลงข้อความปาฏิโมกข์ 150 ลงในหนังสือพุทธธรรมของท่านเลย แต่พอเจอกรณีนี้ท่านก็เลยตรวจสอบและแก้ไขใหม่ ผิดท่านก็ยอมรับว่าผิด

    2. ยันตระ อันนี้มีหลักฐานชัดเจน

    3. สวนสันติธรรม มีการตรวจสอบจากทาง dsi ในคดีทางโลกไม่พบมูลความผิดใดๆ ในกรณีทางธรรม ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า สอนผิดจากพระไตรปิฎกตรงไหน หรือแม้แต่การกระทำผิดวินัยพระ ก็ไม่พบหลักฐานว่าท่านทำผิดเช่นกัน จึงไม่ควรด่วนติเตียน เพราะจะเป็นบาปกรรมได้
     
  9. bteezi

    bteezi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +43
    อ่านพระสูตร แล้ว ก็อย่าลืม อ่านพระวินัย กันนะครับ
    ถ้าอ่านพระวินัยแล้วสงสัยจะไปถามใคร ก็ยังคงศึกษาอรรถกถาประกอบอยู่ดี
     
  10. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    3. สวนสันติธรรม มีการตรวจสอบจากทาง dsi ในคดีทางโลกไม่พบมูลความผิดใดๆ ในกรณีทางธรรม ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า สอนผิดจากพระไตรปิฎกตรงไหน หรือแม้แต่การกระทำผิดวินัยพระ ก็ไม่พบหลักฐานว่าท่านทำผิดเช่นกัน จึงไม่ควรด่วนติเตียน เพราะจะเป็นบาปกรรมได้

    ความจริงคือ ยังไม่มีคำตัดสินใดๆออกมาจากดีเอสไอ
    อันนี้เข้าใจดีเอสไอ
    หากตัดสินว่าไม่ผิดก็จะโดนยำใหญ่ หากตัดสินว่าผิดก็จะเดือดร้อนไปอีกหลายวัด
    สู้เก็บเรื่องไว้ในลิ้นชัก เอาเวลาไปเล่นเรื่องการเมืองดีกว่า

    ส่วนหลักฐานการดูจิตอ่านใจคนนั้น ตัวอาจารย์และลูกศิษย์ได้ปฏิเสธออกข่าวไปแล้ว
    แต่ก็ยังคงดูจิตอ่านใจกันต่อไป แบบเคยๆ
     
  11. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    สำหรับเจตนาเผยแพร่พุทธวัจนะนั้น

    คงบอกได้ยากว่าครูจารย์ท่านอื่นไม่ได้สอนตามแนววิธีของพุทธองค์ตรงไหน
    ครูจารย์ทุกองค์ถือพระรัตนตรัย และสอนตามที่ปรากฏผลในพระไตรปิฎกเป็นที่ตั้งกันอยู่แล้ว
    ส่วนที่ทำเรื่องไม่ควรรายอื่น ยกไว้ ไม่ต้องเอาไปเปรียบเทียบ

    ดังนั้น รูปแบบนี่แหละ ที่ทำให้ดูเหมือนแตกต่าง
    และ 150ข้อ คือจุดขาย. ต้องบอกว่าเป็นmarketingรูปแบบหนึ่ง
    โดยเอาพุทธวจนะเป็นตัวประกัน พาให้ต้องอาบัติกันไปทั้งวัด
    เขื่อนพังเพราะตามดฉันใด 150ข้อที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็จะพาให้เกิดสังฆเภทในที่สุด
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พิสูจน์ไม่ได้ก็ต่างคนต่างทำในสิ่งที่ตนคิดว่าใช่ก็ทำได้นี่ครับ ส่วนพุทธวจนในส่วนอื่น รดน้ำมนต์ ดูหมอ ต่อชะตา นอนในโรง ก็เสกตระกุตเลิกซะ มีคนมาชีทางให้ให้เข้าใจในความตั้งใจขงพระพุทธงค์ ก็น่าจะเป็นการดี เชื่อพระพุทธองค์คนเดียวสักชาติน่าจะดีนะ
     
  13. dekheart

    dekheart Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +30
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=HRh4Ot87LKE&feature=player_embedded#]นิพพานเป็นอย่างไร? - YouTube[/ame]!
    จากวีดีโอในยูทูปจะพบว่า
    พระคึกฤทธิ์ เข้าใจเรื่อง อนัตตา ตามตัวหนังสือเท่านั้น
    การเบี่ยงคำแปล และการเลี่ยงความหมายนั้น ผมเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดจากการไม่ปฎิบัติตามคำสอน มุ่งอ่านแต่ตำรา และตีความตำราไปเอง แล้วเกิดมิจฉาทิฎฐิกีดขวาง จึงไม่เข้าใจในความหมายที่จริงของคำว่าอนัตตา นิพพานจึงกลายเป็นไม่ใช่อนัตตาไป ดีที่ยังไม่รวมเป็นอัตตาไปด้วย

    สามัญลักษณะ 3 ประการ
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นลักษณะทั่วไปของทุกสรรพสิ่ง แต่ไม่ได้มีตรงไหนที่กล่าวว่าต้องเกิดเรียงกัน หรือมาตามลำดับกัน หรือมีครบสาม การเข้าใจว่าอนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่อัตตานั้น เป็นความเข้าใจในระดับพื้นฐานของการอ่านเขียน การอธิบายความกันเท่านั้น

    ยิ่งฟังในแง่การอ้างสังขตธรรมกับอสังขตธรรม ผู้ที่ไม่ปฎิบัติย่อมคล้อยตามไปโดยง่าย ธรรมที่เป็นอสังขตธรรม พระคึกฤทธิ์กล่าวว่าไม่มีตรงไหนกล่าวว่า"เป็น"อนัตตา ก็จะแย้งกลับไปที่เดิมว่าไม่มีตรงไหนกล่าวว่า"ไม่เป็น"อนัตตาเช่นกัน อนัตตาของพระคึกฤทธิ์นั้นอ่อนในความหมายเชิงลึกมาก อนัตตานอกจากหมายถึงไม่ใช่ของตนแล้วยังมีลักษณะสำคัญคือครอบครองไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ เอามามั่นไว้กับตัวกับตนไม่ได้

    การจะรู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ย่อมอาศัยการศึกษาทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ เมื่อปฎิบัติแล้วจึงรู้ว่าอนัตตาแสดงคุณลักษณะอย่างไร อธิบายไปแล้วตีความเถียงกันก็ไม่มีประโยชน์ หนังสือหรือข้อความบอกเล่า เป็นเพียงเงาของนกอินทรีย์ที่ทอดเงาบนพื้นเท่านั้น ไม่มีทางที่เงาจะอธิบายความรู้สึกของนกอินทรีย์บนอากาศได้

    ผมเข้ามาแย้งตรงนี้ไว้ ไม่ได้หมายความว่าการที่ตั้งใจจะดำรงไว้ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่คำสอนของพระพุทธองค์นั้น รวมการปฎิบัติไว้ด้วย ธรรมอันช่วยในการสำรวจว่าคำสอนใดเป็นของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ได้มีผู้นำลงไว้แล้ว ดูจากอันนั้นก็ได้ การที่พระคึกฤทธิ์กระทำเยี่ยงนี้ มีแต่ผลเสียเท่านั้นเกิดผลดีน้อยมาก เนื่องจาก

    1. พระคึกฤทธิ์ เป็นผู้ไม่มีความรู้เพียงพอ ที่จะกล่าวอ้างได้ว่าอันใด "ใช่" หรืออันใด "ไม่ใช่" คำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจาก การศึกษาแต่ตำราแปลภาษาไทย ย่อมเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ การศึกษาบาลีจะช่วยได้มาก แต่ตำราก็มีข้อคลาดเคลื่อนของภาษาอีก ต้องอาศัยการปฎิบัติเป็นตัวช่วย ซึ่งจากการสังเกตก็พบว่าพระคึกฤทธิ์ไม่ใช่พระนักปฎิบัติ จึงไม่ใช่ตัวแทนที่จะมากล่าวอ้างเองได้ว่าอันไหนใช่อันไหนไม่ใช่พุทธพจน์ หากต้องการที่จะเข้มงวดกับพระธรรมวินัย ก็เดินตามพระสายวัดป่า ไม่รับปัจจัย ไม่ใส่รองเท้า ไม่ประกอบพิธีกรรมที่รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ เคร่งในวัตรปฎิบัติไปก็น่าจะพอแล้ว

    2. การที่เป็นผู้พูดที่น่าเชื่อถือ ทำให้คนหลงเชื่อง่าย ก็จะกลายเป็นผู้บิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเอง เนื่องจากไม่มีการปฎิบัติเข้ามาทดสอบอารมณ์ ทำให้ไม่เข้าใจพระธรรมที่แท้ ตัวธรรมที่แท้แสดงออกทางการกระทำและการสอน การสอนที่ขัดกันเองนั้น ฟังแล้วจะหลงได้ง่าย เช่น อ้างการเกิดมีของสิ่งนั้น โยงไปถึงความเป็นอัตตา หรืออนัตตาในสิ่งนั้นๆ...บอกว่า "สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงดับไป นี่แสดงถึงอนัตตา" ซึ่งเป็นการโยงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ผิด ที่ถูกตรงแย้งไม่ได้ ต้องกล่าวว่า "เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงดับไป"...แค่นี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ซึ่งเป็นลักษณะของอิทัปปัจยตา
    หากจะกล่าวในแง่ สามัญลักษณะต้องกล่าวว่า เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงดับไป เป็นการแสดงถึงอนิจจัง คือความไม่เที่ยง หากจะกล่าวไปถึงทุกขัง ก็จะต้องกล่าวถึงลักษณะที่ไม่สามารถคงทนอยู่ได้ และหากกล่าวถึงเป็นอนัตตา ย่อมกล่าวในลักษณะที่เราเข้าบังคับบัญชาไม่ได้ ยึดเอาไว้เป็นของเราไม่ได้

    3. จากข้อสองและข้อหนึ่งรวมกัน ทำให้เกิดข้อเสียใหญ่ข้อที่สามนั่น คือ ผู้ที่เชื่อตาม ย่อมกระจายความเชื่อที่ผิดออกไปโดยที่ไม่รู้ตัว การถือทิฎฐิว่าตนเป็นผู้ที่ออกมาประกาศว่าอะไร ใช่ อะไร ไม่ใช่ คำสอนที่แท้จริง ย่อมชี้ชวนให้เกิดการถกเถียง ท้าทาย ถือตนว่าเหนือกว่าเสมอๆ สิ่งที่จะเกิดต่อมาคือสังฆเภทหรือการทำให้สงฆ์แตกแยก หรือแตกแยกในหมู่พุทธบริษัทก็เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงหากพิจารณาข้อหนึ่งดีๆ ว่าพระคึกฤทธิ์นั้น ไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถพอ ที่จะรู้ได้ว่าอันใดใช่ อันใดไม่ใช่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ควรจะเลิกเชื่อ เลิกฟัง กันได้แล้ว เปลี่ยนเป็นฟังหูไว้หูเสียจะดีกว่า

    จากข้อสามนี้ จะเห็นได้จากทิฎฐิที่แรงกล้าของบรรดาผู้ที่เชื่อในพระคึกฤทธิ์ที่ออกตัวเสมอในทุกที่ทุกทางว่าฟังแต่คำตถาคต แต่ขาดการปฎิบัติอันถูกตรง พยากรณ์โสดาบันกันง่ายๆโดยไม่มีหลักใดๆ ยึดถือ นั่นย่อมเห็นชัดว่าเต็มไปด้วย โมหะ คือความหลงอันแท้

    ซึ่งอันที่จริงทุกคนนั้น ก็อยากปฎิบัติตนเป็นพุทธะที่ดีกันทั้งสิ้น แต่ลองมองใจตัวเองดีๆ มีใจเป็นประธานก่อน วันนี้ กับวันก่อน วันนี้เราละกิเลสอันไหนลงแล้วบ้าง เราวางทิฎฐิตัวไหนได้แล้วบ้าง เรารู้โกรธ รู้โลภ รู้หลงทันหรือไม่ ใจเราย่อมรู้ดีที่สุด เราศึกษาจริงจังหรือไม่ เราปฎิบัติจริงจังหรือไม่ เรากำลังปกป้องหรือกำลังทำลายพุทธศาสนา
     
  14. dekheart

    dekheart Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +30
    หลวงพ่อ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
    จากไฟล์เสียง ที่บันทึกไว้ในการตอบคำถามพระที่วัดญาณเวศกวัน
    ถอดความออกมาเป็นตัวอักษร ได้ตามนี้


    ปลายเดือน กรกฎาคม 2552 มีพระเถระสายวัดป่า 2 รูป มาพบเพื่อเล่าถวาย และปรึกษาว่า
    ได้เกิดปัญหาของพระสงฆ์ เกี่ยวกับพระวินัย ในเรื่องการสวดพระปาฏิโมกข์ มีสาระสำคัญว่า
    พระเจ้าอาวาสวัดหนึ่ง เกิดความเห็นว่า การที่พระสงฆ์เถรวาททั้งหลาย สวดปาฏิโมกข์ 227 นั้น ไม่ถูกต่อพุทธวัจน

    พระเจ้าอาวาสรูปนั้น ถึงกับได้นำพระสงฆ์ ในคณะของท่าน สวดพระปาฏิโมกข์ เพียง 150 ข้อ
    และได้เผยแพร่ ความคิด ความเห็นนี้ทั่วไป ผ่านสื่อทั้งหลายด้วย

    สิกขาบทที่ท่านเจ้าอาวาสองค์นั้นตัดออก 77 ข้อ จากปาฏิโมกข์ 227 ข้อ ให้เหลือ 150 ข้อคือ
    อนิยต 2 และเสขิยวัตร 75

    ปัญหาที่ท่านนำมาเล่าถวาย และปรึกษานั้น แยกได้เป็น 3 ข้อคือ
    1.เจ้าอาวาสรูปนั้น ถือปาฏิโมกข์ 150 ข้อ โดยยึด พุทธวัจน ตามพระไตรปิฎกแปลภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ อย่างเดียว
    เป็นเกณฑ์ตัดสิน โดยท่านอ้างว่า เพราะเป็นที่ยอมรับของมหาเถรสมาคม

    2.คำแปลพุทธพจน์ที่ท่านอ้าง จากพระไตรปิฎกแปลเป็นภาษาไทยฉบับสยามรัฐนั้น มาจาก ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ซึ่งพระไตรปิฎกแปลฉบับนั้น พิมพ์ไว้ว่า สิกขาบท 150 ถ้วน จากพระไตรปิฎกแปล ที่ท่านเจ้าอาวาสรูปนั้นเรียกว่า
    ฉบับสยามรัฐนั้น คำที่แปลว่า ถ้วน คือ สาธิกัง ซึ่งพระไตรปิฎกแปล ฉบับอื่นๆ เช่นฉบับ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
    และฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษเป็นต้น แปลว่า สิกขาบท เกินกว่า 150 สาธิกังนั้น แปลว่าอะไรแน่
    แปลว่าถ้วน หรือแปลว่า เกินกว่า 150 กันแน่

    3.นอกเหนือจากเรื่องพระไตรปิฎกแปลจะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินได้แค่ไหน และคำแปล สาธิกัง ว่าถ้วน หรือว่าเกินกว่า มากกว่า นั้นแล้ว
    การถือปาฏิโมกข์ 227 ข้อ หรือ 150 ข้อ มีหลักพิจารณากว้างๆอย่างไร


    1.

    ถาม ::
    เจ้าอาวาสรูปนั้น ถือปาฏิโมกข์ 150 ข้อ โดยยึด พุทธวัจน ตามพระไตรปิฎกแปลภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ อย่างเดียว
    เป็นเกณฑ์ตัดสิน โดยท่านอ้างว่า เพราะเป็นที่ยอมรับของมหาเถรสมาคม

    ตอบ ::
    ไม่ได้ มันต้องพระพุทธเจ้ายอมรับ ไม่ต้องพูดถึงว่าใครเป็นผู้ยอมรับ บาลี มันเป็นตัวต้นฉบับ ฉนั้นเวลาดู ก็ต้องดูต้นฉบับ
    เป็นหลัก ฉบับแปลมันเป็นของที่ต่อออกมาอีกทีนึง การที่จะดู มันก็ต้องดูของเดิม ว่าต้นฉบับเขาเขียนว่าอย่างไร
    แม้แต่หนังสือ ที่มีผู้ประพันธ์ เค้าแต่งเค้าเขียน ไว้ แล้วมีแปลไปต่างประเทศ เวลาเราจะดูว่า เจ้าของผู้เขียน เค้าเขียนไว้อย่างไร
    ก็ต้องไปดู ต้นฉบับเดิม ไม่ใช่มาดูฉบับแปล ที่ให้คณะสงฆ์รับรองก็เพื่อให้รู้ว่า ทำได้แค่นี้ ยืนยันแค่นี้ เป็นฉบับที่ยอมว่าใช้ได้
    เพื่อจะได้กันว่า ใครจะไปแปลเรื่อยเปื่อย ก็จะได้รู้ว่า ควรจะใช้ฉบับนี้ก่อน

    พวกที่ทำทีหลัง อย่างมหาจุฬาฯ หรือที่อื่น เวลาท่านจะทำ ก็ต้องดูฉบับสยามรัฐเหมือนกัน คือใช้สยามรัฐเป็นหลัก ก็จะได้เห็น
    ข้อบกพร่องต่างๆ เพราะว่าใช้กันมานาน ก็จะได้แก้ไข ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาว่า งานที่ทำทีหลัง ก็ต้องทำอย่างมีหลักมีฐาน
    ไม่ใช่ทำไปเรื่อยเปื่อย คือใช้ฉบับสยามรัฐเป็นต้นทาง เป็นหลักให้กับฉบับอื่น แต่ฉบับอื่นก็มีโอกาสมากกว่า ที่จะทำให้ดีขึ้น
    เพราะได้มีเวลา ได้อ่าน ได้ศึกษา และได้เห็นข้อผิดพลาดของฉบับสยามรัฐ มาแล้ว

    มหาเถรฯ ที่รับรองก็ไม่ได้รับรองในคำแปล เพียงแต่เป็นการยืนยันว่า ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาพระไตรปิฎก
    ยอมรับได้โดยทั่วไป แต่ไม่ได้ยืนยัน ในความถูกต้องทั้งหมด

    ใช้เพียงเพื่อสำหรับศึกษา แต่ไม่ใช่ให้เอาไปยุ่งกับ ฉบับบาลีเดิม เป็นไปไม่ได้ พระไตรปิฎกฉบับบาลีเดิม ต้องเป็นมาตรฐาน
    จะเห็นว่ามีแปลผิดเยอะ แต่ก็ต้องเห็นใจท่านผู้แปล ซึ่งก็ต้องแบ่งงานกันไป จากคำภีร์ใหญ่ 45 เล่ม

    อันที่จริงก็เรียกไม่ถูก พระไตรปิฎกแปล ไม่ใช่ฉบับ สยามรัฐ แต่เป็นฉบับที่แปลจากฉบับสยามรัฐอีกทีหนึ่ง
    ฉบับสยามรัฐ หมายถึงบาลี คือพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ

    ฝีมือของผู้แปล ไม่เท่ากัน พระไตรปิฎกแต่ละเล่ม บางองค์แปลละเอียด ประณีต บางองค์ไม่ละเอียดดังนั้น ถ้าจะถือภาษาไทย เป็นมาตรฐาน
    ไม่มีทางได้ เพราะว่าพระบาลีเดียวกัน พระสูตรเดียวกัน ปรากฏในหลายแห่ง เมื่อมีผู้แปลหลายองค์โอกาสที่จะตรงกันนั้น
    แทบเป็นไปไม่ได้ ของบาลีนั้น ค่อนข้างแม่นยำ แต่พอแปลเป็นไทยแล้ว ไม่ค่อยจะตรงกัน บางองค์ก็แปลผิด บางองค์ก็แปลถูก
    บางองค์ก็แปลสำนวนดี บางองค์ก็แปลสำนวนไม่ดี โดยรวมๆแล้ว ก็ยังนับว่า มีที่ผิดอยู่เยอะ

    ดังนั้น ปัญหาของฉบับแปลนี้ มีได้เยอะ จึงจะถือเอาพระไตรปิฎกแปลนั้นเป็นหลักเลยซะทีเดียวไม่ได้
    ใช้ได้เพียงเป็นคู่มือสำหรับศึกษาเท่านั้น

    พระคึกฤทธิ์ ไม่ยอมรับอรรถกถา แต่กลับยอมรับ พระไตรปิฎกแปล ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องแปลก
    ถ้ายอมรับ พระไตรปิฎกบาลี แต่ไม่ยอมรับ อรรถกถา ยังพอฟังได้

    พระไตรปิฎกบาลีเดิมนั้น 2500 กว่าปีมาแล้ว และจะมีศัพท์บางศัพท์ ที่ยากมาก แม้แต่อรรถกถา ยังต้องสัณนิษฐาน

    อรรถกถานั้น เป็นการแปล บาลี เป็นบาลี และมีอายุเก่าแก่ แล้วระหว่าง อรรถกถาเดิม กับที่พระสงฆ์ไทยมาแปลนั้น
    อันไหนน่าเชื่อถือมากกว่ากัน พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทย ก็ต้องใช้อรรถกถาเพื่ออ้างอิงอยู่ดี
    เพราะพระไตรปิฎกฉบับบาลีเดิมนั้น พระสงฆ์ไทยอ่านแล้วไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็ต้องไปอาศัยอรรถกถา และบางคำก็
    ไปเอาคำในอรรถกถา มาใส่ในพระไตรปิฎกฉบับแปล จนบางครั้งรู้สึกว่าอ่านพระไตรปิฎกแปล เหมือนอ่านอรรถกถา

    พระคึกฤทธิ์ ไม่ยอมรับอรรถกถา แต่ไปยอมรับพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทย ซึ่งก็คือแปลมาจากอรรถกถานั่นเอง

    แปลกที่ว่า 1) ไปเอาพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทยมาใช้เป็นมาตรฐาน 2) ไปเอาการรับรองของคณะสงฆ์มาเป็นหลัก
    คณะสงฆ์รับรองได้เฉพาะกฏของมหาเถรสมาคม รับรองพุทธพจน์ไม่ได้


    2.

    ถาม ::
    คำแปลพุทธพจน์ที่ท่านอ้าง จากพระไตรปิฎกแปลเป็นภาษาไทยฉบับสยามรัฐนั้น มาจาก ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย
    ซึ่งพระไตรปิฎกแปลฉบับนั้น พิมพ์ไว้ว่า สิกขาบท 150 ถ้วน จากพระไตรปิฎกแปล ที่ท่านเจ้าอาวาสรูปนั้นเรียกว่า
    ฉบับสยามรัฐนั้น คำที่แปลว่า ถ้วน คือ สาธิกัง ซึ่งพระไตรปิฎกแปล ฉบับอื่นๆ เช่นฉบับ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
    และฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์ประเทศอังกฤษเป็นต้น แปลว่า สิกขาบท เกินกว่า 150 สาธิกังนั้น แปลว่าอะไรแน่
    แปลว่าถ้วน หรือแปลว่า เกินกว่า 150 กันแน่

    ตอบ ::
    คำว่า สาธิกัง แปลว่า มีส่วนที่เกิน มาจาก ส + อธิก - ส คือ สห แปลว่า พร้อมด้วย อธิก แปลว่า เกิน
    (เช่น อธิกมาตร อธิกสุรทิน)
    ก็คือ 150 ข้อเป็นหลัก พร้อมด้วยส่วนที่เกิน ก็คือ 227 นั่นเอง


    3.

    ถาม ::
    นอกเหนือจากเรื่องพระไตรปิฎกแปลจะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินได้แค่ไหน และคำแปล สาธิกัง ว่าถ้วน หรือว่าเกินกว่า มากกว่า นั้นแล้ว
    การถือปาฏิโมกข์ 227 ข้อ หรือ 150 ข้อ มีหลักพิจารณากว้างๆอย่างไร

    ตอบ ::
    ต้องพิจารณา 1) ในแง่เวลา 2) ในแง่จำนวน 3) ในแง่ผลดี/ผลเสีย

    1) ในแง่เวลา
    พุทธบัญญัตินั้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไปเรื่อยๆ แล้วแต่เหตุการณ์ ท่านรู้มั๊ยว่า ที่ตรัสเรื่องว่า 150 ข้อนั้น
    พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อไหร่ ท่านรู้ได้อย่างไรว่า เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเลิกบัญญัติเพิ่มแล้ว เพราะหลังจากที่ตรัสเรื่อง 150 ข้อนั้น
    อีก 10-20 ปีผ่านไป พระองค์ไม่ได้ตรัสสิกขาบทเพิ่มเติมเลย
    อันนี้ ต้องไปหาหลักฐานมายืนยันให้ได้ก่อนว่า หลังจากนั้นพระองไม่ได้บัญญัติสิกขาบทเพิ่มอีก จึงเอาเท่านี้

    2) ในแง่จำนวน
    จะรู้ได้อย่างไรว่า สิกขาบทอันไหน อยู่ใน 150 ข้อ หรืออันไหนไม่อยู่ เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบท
    ไปเรื่อยตามเหตุการณ์ จะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ ใครจะตัดสิน

    3) ในแง่ผลดี/ผลเสีย
    77 ข้อ ที่จะตัดออก มันไม่ดีอย่างไร เสียหายยังไง และถ้าตัดออกไปแล้ว มันดียังไง ต่อการปฏิบัติ ต่อการเจริญภาวนา
    ต่อตัวบุคคลนั้น ต่อคณะสงฆ์ ต่อสังคม ดียังไง กับพระพุทธศานา

    แต่ในทางตรงข้าม ถ้าตัดออกไปแล้ว ยิ่งเกิดผลเสีย ก็จะยิ่งไม่ดีใหญ่

    ถ้าเรารักษา 227 ข้อไว้ได้ แน่นอนว่า 150 ข้อนั้น เราได้แน่ๆ แต่ถ้าเราเอาแค่ 150 ข้อนั้น ไม่แน่ว่า อาจจะตัดถูก ตัดผิด
    อาจจะตัดอันที่ ต้องอยู่ใน 150 ออกไปก็ได้ และกลับไปเอาอันที่ ไม่ได้อยู่ใน 150 เข้ามา

    ______________________________________________
    ลองศึกษาคำตอบของหลวงพ่อ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)กันนะครับ
    ผมยกเฉพาะส่วนสัมภาษณ์มาจากอีกที่หนึ่งซึ่งอ้างอิงไว้ แต่ข้อความของเจ้าของเดิมผมไม่ได้เห็นด้วยครับ

    อ้างอิงจาก พระคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง มีศีล แต่ไร้ปัญญา หยิบตำราผิดเล่ม หยิบพระไตรปิฎกผิดฉบับ จึงต้องเข้ารกเข้าพง
     
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เอาซะ ยาวเลย ไม่เห็นมีอะไรมากเลย คนที่ฟังๆอยู่แถวนี้ไม่เคยไปนั่งสนทนาก็ไมรู้อะไรจริง
    ว่าเป็นอย่างไร จุดประสงค์อย่างไร เรื่องก็มีเพียงว่า เรายึดเอาหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเป็นหลักเพราะเท่าที่เรามีคือ บาลีสยามรัฐ นอกเหนือจากนั้นแต่งใหม่ ส่วนคำที่มีในบาลีสยามรัฐนั้นใครแปล ใครขยายความเรารับฟังหมดครับ ส่วนที่เกินจากบาลีสยามรัฐจะรับฟังไ้ด้อย่างไร เพราะพระพุทธองค์ไม่ไ้ด้แสดงไว้เก่งกว่าพระพุทธองค์เหรอ? ประเ็ด็นใหญ่ๆที่ไม่ยอมรับอาจารย์คึกฤทธิ์ก็คือ สวดปาฎิโมก 150 ข้อ ที่หาข้อยุติไม่ไ้ด้ใช้มั้ยครับ บาลีสยามรัฐที่แปลเป็นไทย มหาเถรสมาคมยอมรับแปลว่า150ข้อ มันก็โอเคนี่ครับ แล้วจะมาอะไรอีกครับ จะมาแปลอีกทำไมก็ยอมรับกันในมหาเถรแล้วนี้จริงเปล่าหลักง่ายๆ บาลีที่ต่างประเทศคำก็ตรงกัน ใตรน้าช่างมาแปลใหม่เถียงมหาเถร แล้วถ้ามาแปลใหม่คิอย่างไรว่าถูกก็คิเอาเองนะซิ ขนาดมหาเถรก็บอก150ข้อ ส่วนอรรถกถาเรายอมรับไ้้ด้ถ้ามีคำอยู่ในบาลีสยามรัฐแต่ต้องเป็นคำที่ขยายความคำที่มีในบาลีสยามรัฐ ตรวจทานูซิครับว่ามีในบาลบีสยามรัฐมั้ย ไม่มีก็ตัดถิ้งจะมาศึกษาทำไม พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกไว้แค่ที่ท่านสอนก็มากพอแล้ว เพิ่มเพื่ออะไร คิดดีไม่ใช่จะคิถูกนะครับ ส่วนด้านการศึกษาเรารักษษคำตถคตนั้นแสดงแต่คำตถาคตนั้นพระองค์แสดงว่า เป็นผู้ที่เลิศ ใครไม่อยากเป็นก็ตามใจ คนเราอินทรีย์มันต่างกัน การยกเอาพระรูปนั้นมาเปรียบกับรูปนี้นั้นไม่ถูกหลักนะครับ เพราะหาที่สุดไม่ไ้ด้ว่าใครถูกผิด พระอาจารย์คึกฤทธิ์เปิดประเ็ด็นให้เราชาวพุทธเห็นในความประสงค์ของพระพุทธองค์ ทำไมเหรอเราจะเชื่อพระพุทธเจ้าฟังแต่คำของท่านมันลำบากนักเหรอครับ มันน้อยไปหรอท่านทั้งหลาย (คำพระพุทธเจ้านั้นจะออกมาจากปากสาวกก็ไ้้ด้แต่ขอให้เป็นธรรมแท้ๆที่ขยายความก็ไ้ด้ แต่ไม่ใช่เสริมใหม่ซึ่งไมามีในคำสอนของพระองค์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2013
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ทุกวันนี้ที่มีอยู่ดูได้เลย หนังสือสวดมนต์มีแต่แต่งใหม่ทั้งนั้น วันเวลาผ่านไปจะเหลือของเก่าไว้ให้ลูกหลานเหรอ อย่าช้าอยู่เลยรีบรักษาของเก่าที่ดีที่เท่าที่เราจะมี รักคนละเล็กละน้อยก็ยังดี เข้าใจปรเ็ด็นแล้วจะรู้ว่ามันดีนะครับ สาธุๆๆ
    ู้
     
  17. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    เป็นความจริงที่ว่าคนลักษณะเดียวกันจะมารวมอยู่ด้วยกัน จะจากผลแห่งบุญกรรมที่สร้างร่วมกันมาก็ตามแต่

    ตอนนี้ การวิจารณ์อันเกี่ยวกับธรรมของพุทธองค์ ต้องมารวมวนอยู่ที่หลวงพ่อคึกฤทธิ์ เพราะถือเป็นผู้ชูธง ให้ชาวบ้านเร่งอ่านพุทธพจน์ เชื่อพุทธพจน์ รวมถึงพุทธพจน์ข้อว่าด้วยปาติโมกข์มีแค่150ข้อ ซึ่งเกิดขึ้นกลางสมัยของพุทธองค์ และก็ให้บังเอิญว่า ขัดกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามที่พระอุบาลีกล่าว (คงไม่แน่จริงขนาดบอกว่าพระอุบาลีโกหกนะครับ) ว่า ปาติโมกข์227ข้อ
    เมื่อบทวิเคราะห์ของหลวงพ่อคึกฤทธิ์มีปัญหา เพราะเป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ที่กล้าสวดปาติโมกข์150ข้อ โดยไม่พยายามพิสูจน์ตามคำทัดทานของพระผู้ใหญ่ อันหมายรวมถึงต้นสังกัดของท่านคือวัดหนองป่าพงด้วย ย่อมแสดงให้เห็นถึงทิฏฐิมานะแบบพิศดาร
    ผลจากการกระทำดังกล่าว ก็ให้เกิดกระแสการสร้างกลุ่ม150ขึ้น เป็นก้าวแรกของสังฆเภท ตามมาด้วยสาวกที่ยึดตัวหลวงพ่อคึกฤทธิ์ สื่อกลางพุทธพจน์ ก็พยายามเผยแพร่คำสอนที่ขัดแย้งกับคำของพระอุบาลีที่ยืนยันว่าพุทธองค์ในปลายชีวิตได้ให้ปาติโมกข์227ข้อ
    กล่าวได้ว่า การบิดเบือนพุทธพจน์นี้ ไม่ต่างไปจากธรรมกายบิดเบือนพระไตรปิฎก ด้วยฉบับหินอ่อน
     
  18. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    สนวจเรื่องนี้ครับ

    จากข้อสามนี้ จะเห็นได้จากทิฎฐิที่แรงกล้าของบรรดาผู้ที่เชื่อในพระคึกฤทธิ์ที่ออกตัวเสมอในทุกที่ทุกทางว่าฟังแต่คำตถาคต แต่ขาดการปฎิบัติอันถูกตรง พยากรณ์โสดาบันกันง่ายๆโดยไม่มีหลักใดๆ ยึดถือ นั่นย่อมเห็นชัดว่าเต็มไปด้วย โมหะ คือความหลงอันแท้
     
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ขอโทษนะครับผิดคนแล้วครับที่ว่ายึดติดอาจารย์คึกฤทธิ์ ผมนับถือโดยสรณะเท่านั้น ไม่มียึติดบุคคล แต่ผมเห็นความดีคณูปการที่พุทธศาสนิกชนที่จะไ้ด้รับรู้ถึงพระประสงค์ของพระพุทธองค์ ทั้งธรรมและวินัยครับ อาจารย์ท่านเอาตามมหาเถรสมาคมนะครับที่เอาแปลจากบาลีสยามรัฐ ถ้าตำหนิท่านตำหนิมหาเถรเหรอครับ ส่วนท่านยกพระอุบาลีมาเพื่ออะไร มันเกี่ยวอะไรกับข้อถกเถียงเราถกเถียงกันด้วยตำราที่มีอยู่ และตำราว่าไว้เรื่องคำสาวกผมไม่อยากพูมาก พูดมากก็จะยัดเยียข้อหาูดูถูกพระสงฆ์ ท่านข้ามเรื่องพวกนี้ไปไม่ไ้้ด้ เราคุยกันตามพระำดำรัสของพระองค์ที่สั่งไว้ และตามหลักฐานตามหลักฐานที่มีอยู่จริง เช่นบาลีสยามรัฐ และบาลีสยามรัฐนั้นก็ถูกแปลโดมหาเถรสมาคม มันน่าจบแล้วนะครับ เพราะท่านไม่ยอมจบไม่ยอมรับมติต่างหาก ส่วนเรื่องพุทธวจนท่านว่าีดีมั้ยล่ะ ถ้าดีก็น้อมนำไปปฎิบัติ อย่าไปยึตติตัวบุคคล บุคคลนั้นหยั่งรู้ยาก พุทธวจนนั้นแหล่ะดีที่สุด อย่ายกตัวอย่างบุคคลเลยนะครับขอร้อง
     
  20. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นี่คือความคิดท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...