พระพุทธเจ้าน้อย มาจากไหน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย natsu_taa, 11 มีนาคม 2013.

  1. มหนฺตยศฺ

    มหนฺตยศฺ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +112
    อานิสงส์แห่งการสร้างนี้จัดเป็นพุทธบูชาเช่นกัน ระลึกถึงท่านก็เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน (กล่าวถูกหรือไม่ครับ)
     
  2. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814


    :cool: กล่าวได้ดีครับน้อง ก็แค่สิ่งเล็กๆน้อยๆยังขนาดนี้ ถ้าสิ่งที่มันละเอียด จะเข้าใจหรือครับ และไอ้สิ่งที่เราๆท่านๆมองไม่เห็น มันยิ่งละเอียดยิ่งๆขึ้น ขนาด กองหินทราย ที่เขาจะนำมา สร้างพระ แต่ยังไม่ทันได้สร้าง ครูบาอาจารย์ ท่านบอก ยกมือกราบไหว้ได้เลย ครูบาอาจารย์ทั้ง หลายได้นำคำสอนของพระพุทธองค์มาสั่ง สอน พวก อุบาสกอุบาสิกา ให้นำไปปพฤติปฏิบัติ

    แม้ในสมัยองค์สมเด็จ ทรงพระชนชีพอยู่ ได้ทรงเหยียบรอยพระบาท ไว้บนโลกเป็นอันมาก และเกศา ให้คนและเทวดา ได้กราบไหว้ ระฤกษ ถึงความดีของพระองค์ เมื่อละสังขารไป สู่สุขติภพภูมิ ที่สูงยิ่งขึ้นไป พระองค์ได้สอน ทั้งเบื้องต่ำ เบื้องสูง ให้อนุชนทั้ง หลาย ได้สดับ ตามกำลังบุญญา บารมี ของแต่ละคน ปัญญาและกำลัง ใจ ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่เสมอกัน และไม่มีใครเอาคำสอนทั้งหมด ไปได้ แล้วแต่ ใครจะเอาไปได้แค่ไหน คนบางจำพวก แค่ ภาวนา พุท โธ ธัมโม หรือสังโฆ ก็สำเร็จมรรคผล เป็นอันมาก


    การเรียน มัน ก็เป็นของดี ทำให้เรามีความรู้ ความสามารถ แต่เราเอาไปปพฤษปฏิบัติ มันจะ ดียิ่งๆขึ้นไป ดีกว่าเรียนตำราอย่างเดียว มีความรู้สูงแล้ว นำไปช่วยเหลือ ประเทศชาติ ส่วนรวม ช่วยเหลือ เหล่าสรรพสัตว์ ทั้งคนและสัตว์ก็จะดียิ่งขึ้นไป ทำตามกำลังสติปัญญา ของเรา มันจะดีกว่านี้ครับ สิ่งใด มีประโยชน์ มันไม่เกิดโทษ ควร สนับสนุน สิ่งใดมีโทษ ไม่เกิดประโชน์อันใด ก็ควรหลีกเสีย ถ้าเราไม่พอใจ ก็ไม่ควร พูดให้มากความ คนที่ถูก รังแก ยังมีอีกมาก คนที่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ก็ยังมีอีกเยอะ เอาเวลา อันนี้ ไปช่วยเหลือเขา เหล่านั้นดีกว่าครับ มีประโชน์กว่าเยอะ พวกที่ย่ำยีพระศาสนา ก็มีอีกมาก พวกใช้ผ้าเหลือง หากิน เรี่ยไรให้เกลื่อน
     
  3. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814


    :cool: ดีครับ ถูกใจดีครับ ผมดูทีวี เขาก็บอกแล้ว เจ้าชายสิทธถะราชกุมาร คุณพูดมา ถูกต้องแล้ว เขาต้องกลั่นกรองมาแล้ว จึงใช้คำนี้ จะได้เข้าใจง่ายดี เออ ถ้าท่านยังไม่ได้ ตรัสรู้สิ ยังไม่สมควรมากๆเลย นี่พระองค์ ได้ตรัสรู้แล้ว เลยมา ๒๕๕๖ ปีแล้ว ทุกพันปี พระองค์ ก็ทรงตรัส ไว้ จะยัง มีพระอริยะเจ้าครบ ห้าพันปี :cool:
     
  4. 12345*

    12345* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +332
    งั้นต่อไปถ้ามีคนสร้างเจ้าชายสิทธถะปางเสวยสุขเสพกาม
    แล้วเรียกว่าพระพุทธเจ้าหนุ่มปางเสวยสุขเสพกาม ก็คงมิผิดสินะ
     
  5. txssns

    txssns เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +438
    งั้นหลวงพ่อ ก.ไก่ สร้างเหรียญให้คนบูชา แต่ใช้รูปเหมือน ในขณะที่ตนเองเป็นเด็กน้อยอยู่ และให้คนที่เคารพศรัทธาในหลวงพ่อ เรียกเหรียญนี้ว่า หลวงพ่อ ก.ไก่ น้อย อิอิ
     
  6. น.จุลรัตน์

    น.จุลรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +761
    ถ้าพวกช่างค้านผิด ก็จะไม่เกิดการค้นหา ถูกมั้ยครับท่าน ลองพิจารณาดูนะครับว่าท่านตอบอย่างควรที่จะตอบหรือไม่

     
  7. น.จุลรัตน์

    น.จุลรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +761
    อ่านจนจบ 5 หน้า อ่านไปก็ขำไปครับ แล้วแต่ความคิดของแต่ละปัจเจกบุคคลนะครับ สำหรับผม คำว่าพระพุทธเจ้า ผมใช้สำหรับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ซึ่งเห็นจริง รู้จริงเท่านั้นครับ ถึงจะกี่ขวบ ปางไหน แต่ยังไม่บรรลุ ก็แค่นั้นแหละครับ
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเรื่องอนิสงค์การสร้างรูป
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

    "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา
    แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."


    "พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็น
    ทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่
    อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."

    "พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนา
    เป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา
    แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๐/๓๑๐ ข้อที่ ๓๙ - ๔๑
     
  9. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    พระพุทธเจ้าน้อย มาจากไหน

    ตอบ... มาจากมโนวิญญาณของผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อจะเป็นพุทธมารดาในอนาคต จึงถูกต้องสำหรับท่านฯ ผู้นี้ แต่สำหรับบุคคนอื่นๆ จะดีหรือชั่ว อยู่ที่เหลี่ยมความคิดเดียวของตน
     
  10. โอโหเฮะ

    โอโหเฮะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +6
    พระพุทธเจ้านั้นมีหลายพระองค์ และบัญญัติชื่อพระพุทธเจ้ามีความหมายอยู่ ไม่ควรนำมาปะปน กับพระโพธิสัตว์

    อนุโมทนาแด่จิตกุศลทุกท่าน
    พุทธศาสนาจะเจริญงอกงามไพบูลย์อย่างไรอยู่ที่ปัญญาของพุทธศาสนิกชนเหล่านั้น
     
  11. โมทนาman

    โมทนาman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    5,665
    ค่าพลัง:
    +6,165
    จิตมุ่งอยู่กับการขวางตลอดเวลามันก็ไปแต่ในทางขวาง
    ไม่ไปข้างหน้า

    บอกว่าพวกช่างค้านผิดแน่ ๆ ไม่ได้บอกว่าคนที่ค้านผิดแน่ ๆ
    ค่อย ๆ อ่าน ใช้จินตนาการน้อย ๆ
     
  12. sumonarak

    sumonarak สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2013
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +23
    ใช่ครับตั้งแต่เกิดมาเพิ่งจะมาได้ยินในยุคสมัยนี้แหละครับ........หุๆ งง เหมือนกัน
     
  13. apple_lin

    apple_lin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    584
    ค่าพลัง:
    +704
    ขอบคุณทุกๆ ท่านที่มาให้ความกระจ่างนะคะ.. สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน ^__^
     
  14. มุมุมิมิ

    มุมุมิมิ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +4
    เมืองไทยพึ่งมี แต่ที่เกาหลีเห็นมีมานานแล้วครับ
     
  15. ธรรมนิมิต

    ธรรมนิมิต สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +19
    ยึดมาก...ทุกข์มาก

    ยึดน้อย...ทุกข์น้อย

    ปล่อยวาง...ก็หมดทุกข์

    จะรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ล้วนเป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วนเวียนเปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด...

    กัมมุนา วต ตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม...

    ถ้าเชื่อกฏแห่งกรรม ก็ไม่ต้องเสียเวลามาถกเถียงกันว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด จะดีหรือชั่วให้กรรมเป็นผู้ตัดสินเถิด ใครทำกรรมเช่นไรก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2013
  16. Asvel

    Asvel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +822
    เรื่องการใช้คำพูด ของผมเรียกว่า โพธิสัตว์ราชกุมาร ราวๆนี้ ครั้งแรกได้ยินคำว่า"พระพุทธเจ้าน้อย" ซึ่งแม่ของผมก็เรียกตามเขา ผมก็ว่าไม่น่าเรียกแบบนั้นแต่ก็ไม่ได้ขัดอะไร เพราะปากเขาเรียกอย่างนั้นแต่ในใจเขาเข้าถึงพระไตรสรณะคม ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ ปรามาสอะไร
    จริงๆเราแค่บอกว่า ยังๆ พระองค์ในปางนี้ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระราชกุมารอยู่นะ แค่นี้ก็ได้ ส่วนใครจะเรียกอย่างไรก็ไม่ขัดเขา ไม่ถึงกับต้องไปเถียงอะไรใคร พูดให้เข้าใจก็พอ ขอให้ใจมีพระไตรสรณะคมก็เป็นใช้ได้

    ส่วนเรื่องพระกุมารในปางนี้ ตอนนี้ผมเห็นที่วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน ได้เอาหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดแต่งเจดีย์ภายในวัด เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2550 ออกมาแสดงภายในวิหารวัดครับ ความสูงราวๆ 5-6 นิ้ว ทางกรมศิลปากรกำหนดอายุว่าราวๆพันปี แต่ (ความจริงอาจจะไม่ถึงก็ได้ เพราะเป็นเนื้อสำริด แต่ก็เก่าแก่ราวๆนี้)
    ที่เพิ่งจะเอาออกมาแสดงเพราะปัจจุบันพระองค์ในปางนี้เริ่มเป็นที่รู้จักและสงสัยกันว่า ในบ้านเรามีหรือไม่ครับ ก็เป็นหลักฐานว่าปางนี้สร้างไว้สักการะบูชากันมาช้านานแล้วแม้แต่ในบ้านเรา


    ถ้าไม่สามารถหารูปภายในเนตได้ แล้วท่านใดอยากเห็น ผมก็จะไปถ่ายภาพมาให้ครับ แต่ไม่รู้เขาอนุญาติให้ถ่ายมาได้ไหม
     
  17. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    พระพุทธเจ้าน้อย
    คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย
    ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์





    พระพุทธเจ้าน้อยที่ปรากฏอยู่นี้ "ไม่ใช่พระพุทธรูป" และไม่เป็นพระพุทธรูปปางใด แต่เป็นปฏิมากรที่เกี่ยวข้องกับประวัติพระพุทธเจ้า ตั้งชื่อเรียกขานกันเต็มๆ ว่า "พระโพธิสัตว์ราชกุมาร" ซึ่งในความจริงยังไม่เป็นพระโพธิ สัตว์ เพราะการจะเป็นพระโพธิสัตว์ต้องผ่านกระบวนทางจิตใจและการอุทิศตัวเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลก ยังมีอีกหลาย ขั้นตอนที่จะขอกล่าวถึงในตอนข้างหน้า

    แต่เหตุที่นำเรื่องนี้มาเขียนแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น ก็เพื่อเสริมสร้างสติปัญญา ได้เคยกล่าวมาแล้วว่าพระพุทธรูปปางต่างๆ ก็คือ การเล่าถึงพุทธประวัติ ในการแสดงธรรมะในเรื่องสำคัญในแต่ละเหตุการณ์ ใช้การแสดงออกที่เป็นคติและสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนได้เตือนตนและเข้าใจเข้าถึงคติแห่งธรรมที่พระพุทธรูปนั้นได้แสดงออกมา

    ที่เรียกว่าพระพุทธเจ้าน้อยนั้น ไม่อาจนับเป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ได้ เพราะยังมิได้เป็นทั้งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์

    หากแต่สัญลักษณ์ของรูปที่เป็นเด็กชี้นิ้วขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกเพียงตำนานในพระพุทธประวัติว่า เมื่อ สิทธัตถะกุมาร กำเนิดขึ้นนั้นได้ก้าวเดินบนดอกบัวไป 7 ก้าว ซึ่งมีผู้แปลความหมายไปว่าเป็นการก้าวเดินของพระ พุทธเจ้าไปยัง 7 แคว้นนคร เพื่อแสดงธรรมและเปล่งวาจาว่าเราเป็นเลิศในโลกนี้ เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็น ผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี ซึ่งเป็นเรื่อง "อภินิหาร" ไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงธรรมแต่ประการใด

    ความพยายามที่จะอธิบายต่อว่า พระพุทธเจ้าน้อยจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการเตือนสติมนุษย์ ให้หันกลับมาทบทวนถึงเป้าหมายชีวิตของตัวเองในภาพรวมว่า เกิดมาทำไม จุดหมาย อันประเสริฐของชีวิตที่มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้คืออะไร และการร่วมหล่อองค์พระพุทธเจ้าน้อยจึงมีนัยแห่งความหมายอีกประการของการหลอมรวมใจไทยเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเตือนสติคนไทยให้หันมาทบทวนถึงการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมต่างๆ อันจัก เป็นแก่นสารของชีวิตที่ติดตัวเราไปก่อนลาจากโลกนี้ อีกด้วย

    จึงเป็นการพยายาม "ลากความเข้าเรื่อง" ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้แสดงเพื่อประโยชน์สุขของสัตว์โลกแต่ประการใด

    ในฐานะพุทธศาสนิกชนฝ่ายเถรวาท ไม่ปรารถนาเห็นอะไรที่งอกเงยความเชื่อในพุทธศาสนาที่ปิดกั้นความจริงทางปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    เป็นกระแสที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อยู่ขณะนี้ ถึงกรณีหล่อองค์ "พระพุทธเจ้าน้อย" และได้มีการจัดพิธีสมโภช และพุทธาภิเษกพระพุทธเจ้าน้อยทำจากทองสำริด ขนาด 3.55 เมตรที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 8-10 มี.ค ที่ผ่านมา โดยหัวเรือใหญ่ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตเจ้าแม่ กทม. พรรคไทยรักไทย

    ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล และเป็นสิ่งที่กำลังถูกตั้งคำถามถึงการใช้ชื่อ และมุ่งสร้างวัตถุชิ้นใหม่เพื่อบิดเบือนหลักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า นั่นก็คือ การไม่ยึดติด

    พระพุทธเจ้าน้อย..ชื่อนี้มีคำถาม

    เมื่อได้ยินชื่อนี้ เชื่อว่าหลายคนไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แม้แต่ในตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนาก็ไม่เคยระบุไว้ เพิ่งมาได้ยินก็คราวนี้ รวมไปถึงลักษณะการปั้นเป็นรูปเด็กตุ้ยนุ้ย เปลือยท่อนบน ยืนชี้นิ้วขึ้นฟ้า ทำให้คนที่ไม่รู้เรื่อง รู้ความเกิดความสงสัย และมีคำถามตามมามากมาย

    "คำว่าพระพุทธเจ้าเป็นสภาวะ ภายหลังการตรัสรู้แล้ว มิใช่ชื่อบุคคล เจ้าชายสิทธัตถะในวัยแรกเกิด จึงมิใช่ พระพุทธเจ้า โลกนี้จึงไม่มี พระพุทธเจ้าน้อย รูปที่สร้างขึ้นนี้ เป็นเพียงรูปในจินตนาการถึง สิทธัตถะกุมาร ผู้ที่ยังมิได้รู้แจ้งในความจริงของชีวิต จึงมิอาจเรียกว่า พระพุทธเจ้า เป็นเพียงรูปวัยเด็กของผู้ที่กาลต่อมา ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น"

    "เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วจะมีพระพุทธเจ้าน้อยได้อย่างไร เขาเรียกผู้ที่ยังมิได้ตรัสรู้ ว่าพระโพธิสัตว์ ตราบจนถึงวันตรัสรู้ จึงเป็นพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธเจ้าน้อย อาจทำด้วยจิตใจเป็นกุศล แต่ผลที่ได้ หรืออานิสงส์ที่ได้ อาจตรงกันข้าม"

    "เห็นรูปแล้วคิดว่าเป็นกุมารทอง หรือรัก-ยม อะไรสักอย่างที่เคยเห็นประกาศหล่อพระทางหน้าหนังสือพิมพ์"

    "ใช้คำนี้ผิดแน่นอนครับ เพราะพระพุทธเจ้าน้อยที่มีรูปออกมาแบบนี้ยังเป็นปุถุชนอยู่ การใช้คำว่าพระพุทธเจ้านั้นต้องเป็นผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่งที่ใช้คำนี้ (เจตนาดีครับ แต่ไม่เข้าใจความเป็นจริง)"

    ขณะที่คอลัมน์ "เปลวสีเงิน" ฉบับตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 11 มีนาคม 2556 ก็ได้เขียนเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าน้อยไว้ด้วย โดยทีมข่าว Live ขอหยิบยกมานำเสนอบางตอนว่า

    "..ผมทะแม่งหู ขัดตา-ขัดใจ ยอมรับไม่ได้จริงๆ กับคำว่าพระพุทธเจ้าน้อยมันจะแผลงและพิเรนทร์นอกกรอบจนเกินงามไปหรือเปล่า ผมก็เรียนพุทธประวัติมาพอสมควร พบแต่ใช้คำว่าพระพุทธเจ้าเฉพาะกับสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกพระองค์ ไม่เคยพบตรงไหนเลยทั้งในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ว่ามีการใช้คำว่าพระพุทธเจ้าน้อยเรียกขานสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ว่าพระองค์ไหนทั้งสิ้น.."

    "ในพระพุทธศาสนา ไม่มีหรอกครับ และไม่มีใครสอน ให้ยก-ให้ยึดเอาสิทธัตถะราชกุมารขึ้นมาเป็นพระพุทธเจ้าน้อย ในเมื่อมีพระพุทธเจ้า คือสมณโคดมทั้งพระองค์ ในความหมายว่า มีของแท้อยู่แล้วทั้งองค์ แล้วจำเป็นอะไรต้องดัดจริตไปปั่นกระแสเอาสิทธัตถะขึ้นมาเทียบเป็นพระพุทธเจ้า.."

    นี่คือทัศนะบางส่วนของคนในโลกออนไลน์ และคอลัมนิสต์ชื่อดังที่มีต่อเรื่องพระพุทธเจ้าน้อย

    ด้านนักวิชาการด้านศาสนาอย่าง คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความเห็นผ่านทีมข่าว Liveว่า การหล่อองค์พระพุทธเจ้าน้อยมีมาก่อนหน้านี้ 2-3 ปีแล้ว และในครั้งนั้นก็มีการเรียกว่า พระพุทธเจ้าน้อย ซึ่งแปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า "เบบี้ บุดด้า" และเรียกตามกันมาโดยขาดความเข้าใจ แต่ชื่อที่เหมาะสมน่าจะใช้ว่า "พระพุทธรูปปางประสูติ" มากกว่า ส่วนลักษณะการสร้าง ครั้งนี้อาจจะดูสมัยใหม่มากเกินไป แต่ก็ไม่ผิดแบบตามคติมหายานมากนัก

    ทั้งนี้ หากค้นให้ลึกลงไป ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ปางประสูติ หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" นั้น ในเฟซบุ๊กของ ลักษณ์ เรขานิเทศ โหรฟันธงชื่อดังระดับประเทศ ได้ระบุว่า

    "เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนา โดยได้รับแนวคิดมาจากพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ในจีน ทิเบต เนปาล และญี่ปุ่น ลักษณะพุทธปฏิมาเป็นรูปบุคคล ยืนบนดอกบัว ปลายพระหัตถ์ขวาชี้ขึ้นเบื้องบน ปลายพระหัตถ์ซ้ายชี้ลงเบื้องล่าง สร้างขึ้นตามพุทธประวัติ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท เช่น คัมภีร์พุทธจริต ลลิตวิศตระ ฝ่ายมหายาน และคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ฝ่ายเถรวาท"

    "สำหรับในประเทศไทย เคยมีการกล่าวถึงการค้นพบพระพุทธรูปปางประสูตินี้ที่วัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย แต่ปัจจุบันได้หายสาบสูญไปเสียแล้วจนมีการถูกค้นพบภายในกรุเจดีย์ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งตรวจสอบแล้วโดยกรมศิลปากร ส่วนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะพบในประเทศที่มีการนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นสำคัญ อาทิเช่น จีน ทิเบต เนปาล เกาหลี และ ญี่ปุ่น"

    แต่ที่น่าสังเกตก็คือ พระพุทธรูปน้อย หรือพระพุทธเจ้าน้อยที่ใครหลายคนนิยมเรียกกัน องค์ที่ถูกค้นพบภายในกรุเจดีย์ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยกลับไม่ใช่รูปเด็กชายตุ้ยนุ้ย เปลือยท่อนบน ยืนยกมือชี้นิ้วขึ้นฟ้าเหมือนในครั้งนี้ หรือนี่อาจจะเป็นพระพุทธเจ้าน้อยยุค 2013 กันแน่!

    แก่นแท้..หรือแค่วัตถุชิ้นใหม่กันแน่?

    กรณี "พระพุทธเจ้าน้อย" อีกประเด็นที่ถูกตั้งคำถามขึ้นมาก็คือ ความเป็นแก่นแท้ หรือแค่วัตถุที่สร้างความงมงายเพิ่มขึ้นอีกชิ้นหนึ่งกันแน่ เนื่องจากหลาย ๆ ความเห็นมองว่า เป็นการมุ่งเน้นสร้างวัตถุชิ้นใหม่เพื่อบิดเบือนหลักคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ขณะที่คนจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งมงคลสำหรับผู้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ผู้ที่ได้บูชาพระพุทธรูปปางประสูติ จะเป็นผู้ได้เริ่มต้นชีวิตอันเจริญรุ่งเรือง เฉกเช่นเดียวกับอากัปกิริยาแรกเริ่มของพระพุทธองค์

    เรื่องนี้ กิตติศักดิ์ โถวสมบัติ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ ศิษยานุศิษย์ พุทธทาส ภิกขุ หนึ่งในเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ยอมรับผ่านทีมข่าว Live ว่า เมื่อมีโอกาสได้ยินข่าว "พระพุทธเจ้าน้อย" ความงวยงงก็ได้ตรงเข้าครอบงำในทันที

    "พ.ศ. 2525 พุทธทาสภิกขุ และพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งร่วมกันตั้งกฎบัตรของพุทธบริษัทขึ้นมา หนึ่งในกฏบัตรดังกล่าวระบุว่า ถ้าพระพุทธองค์เสด็จมาเห็นพระพุทธรูปอันมากมายมหาศาลแห่งยุคนี้ พระองค์คงจะตรัสว่า จงใช้มันให้ถูกต้องนะโว้ย! และผมก็เชื่อว่า หากพระพุทธองค์ทรงมีโอกาสได้มาเห็นพระพุทธเจ้าน้อย พระองค์คงจะแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อยแล้วตรัสว่า จงใช้มันให้ถูกต้องนะโว้ย!" กิตติศักดิ์เผย พร้อมกับให้ความเห็นต่อไปว่า

    "หลายครั้งที่พิธีกรรมและวัตถุมงคลถูกใช้เพื่อผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ หลายต่อหลายครั้งที่พุทธพาณิชย์เข้ามาเบียดบังไม่ให้ศาสนิกชนเข้าถึงพุทธธรรม ส่วนตัวมองว่า มันไม่ผิดที่เราจะมีวัตถุมงคล เช่น พระพุทธรูป พระเครื่อง ของขลังต่างๆ เอาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่เราต้องไม่ลืมว่า อะไรก็ตามที่สามารถสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่เราได้ เราก็มักจะฉวย และคว้าเอามันมาเป็นที่พึ่ง วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง ทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุแห่งการรองรับ สภาวะอันสั่นคลอนทางจิตใจของเรา แต่นี่ไม่ใช่มรรคาแห่งความรู้แจ้ง ไม่ใช่วิถีแห่งชาวพุทธ-ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" เขาว่า

    ไม่ผิดที่จะกราบ-ห้อยพระ แต่ต้องใช้ให้เป็น!

    กระนั้น คงจะปฏิเสธได้ว่า การกราบไหว้บูชา หรือห้อยพระเครื่อง เป็นสิ่งที่ชาวพุทธให้ความเคารพ และศรัทธามาตลอด แต่ในทัศนะส่วนตัวของ "กิตติศักดิ์" เขามองว่า ไม่ผิดที่จะกราบพระ ไม่ผิดที่จะห้อยพระเครื่อง เพียงแต่ต้องรู้จักใช้ ต้องใช้ให้เป็น

    "ผมนึกถึงคำที่ท่านพุทธทาสบอกว่า จงใช้มันให้ถูกนะโว้ย! ซึ่งท่านพุทธทาสได้ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า พุทธศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งคนตื่น คู่ปรับกับไสยศาสตร์ ศาสตร์แห่งคนหลับเป็นสิ่งที่จำต้องมีไว้สำหรับคนปัญญาอ่อน หรือเรายังอยากเป็นคนปัญญาอ่อน"

    นี่จึงเป็นที่มาของสิ่งที่เขากำลังสะท้อนต่อไปว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่า อะไรคือหัวใจของพุทธศาสนา

    "คนไทยจำนวนไม่น้อยไม่สามารถตอบได้ว่าอะไรคือหัวใจของพุทธศาสนา บ้างก็ตอบอย่างมั่นใจว่าเรื่องบาป เรื่องบุญ เรื่องกรรม บ้างก็บอกว่าเรื่องชาตินี้ ชาติหน้า ตายแล้วเกิดใหม่ และที่น่าอนาถใจ คนไทยจำนวนนี้เรียกตัวเองว่า ชาวพุทธ ส่วนตัวคิดว่า หากเรากล้าเรียกประเทศไทยว่าเมืองพุทธ และหากเรากล้าพอที่จะเรียกตัวเองว่าชาวพุทธแล้ว สิ่งสำคัญอย่างยิ่งประการแรกที่เราควรทำคือการรู้ว่า อะไรคือแก่นของพุทธศาสนา อะไรคือเนื้อ และอะไรคือเปลือก"

    "ปวัตนาการทางศาสนาในบ้านเราทุกวันนี้ ไม่เอื้อให้การตระหนักรู้ว่าอะไรเป็นอะไร สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายนัก ของผสมทางความเชื่อจึงอากูลพูนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เปลือกและเนื้อปนเปกันจนยากจะแยก และที่น่าเศร้า ทุกวันนี้ เราหลายๆ คนกำลังกินเปลือก โดยหลงคิดว่าเป็นเนื้อ มนุษย์เราเป็นสัตว์ที่มีความเปราะบางทางจิตใจสูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ เราต้องการที่พึ่งทางใจ แทบจะตลอดเวลา เราต้องการอะไรมายึดเหนี่ยวให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายใจ ให้รู้สึกปลอดภัย ชาวพุทธหลายต่อหลายคนกราบพระพุทธรูปพร้อมร้องขอสิ่งที่ตนต้องการจากพระพุทธรูป ชาวพุทธจำนวนมากแขวนพระเครื่องด้วยความเชื่อว่า พระเครื่องจะคุ้มครองตนจากภยันตราย"

    ดังนั้น การบูชาวัตถุทั้งหลาย สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกไว้ด้วยก็คือ "สติ" รวมไปถึงการปล่อยวางการสร้างวัตถุแล้วหันมาสร้างปัญญากันเสียที ดังที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย เคยให้คมธรรมในวันมาฆบูชา ซึ่งพอจะนำมาสรุปทิ้งท้ายได้เป็นอย่างดีว่า "การบูชาด้วยวัตถุหรืออามิส ชีวิตยังไม่เปลี่ยน ต่อเมื่อนำพุทธธรรมมาปฏิบัติในชีวิตจริง จึงจะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ปฏิบัติบูชาดียิ่งกว่าการบูชาด้วยวัตถุอามิส"

    /////////////////////

    พระพุทธเจ้าน้อย สร้างแล้วไปไหน

    องค์พระพุทธเจ้าน้อยที่สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ หล่อด้วยแผ่นทองสัมฤทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศร่วมบริจาคจำนวนทั้งสิ้น 840,000 แผ่น น้ำหนักรวม 3 ตัน โดยมีความสูง 3 เมตร 55 เซนติเมตร เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ ทางเข้าสู่มหาวิหารมายาเทวี จุดที่พระพุทธเจ้าประสูติ ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ในวันที่ 31 มีนาคม 2556 ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ของการบูรณะครั้งประวัติศาสตร์ที่เกิดจากพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย
    โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
     
  19. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    คำตอบนี้ไม่ใช่มาจากคำถามที่ว่า พระพุทธเจ้าน้อย มาจากไหน

    แต่มาจากประโยคที่ว่า ...ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “พุทธะ

    ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “พุทธะ” ๒
    (การสนทนากับโหณพราหมณ์, เริ่มในที่นี้ด้วยพราหมณ์ทูลถาม)
    “ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?”
    พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก.
    ________________________________
    ๑. บาลี จูฬโคปาลสูตร มู.ม. ๑๒/๔๒๑/๓๙๑. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้เมืองอุกกเวลา.
    ๒. บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๙/๓๖. ตรัสแก่โทณพราหมณ์ ที่โคนไม้ระหว่างทางแห่งหนึ่ง.
    ๑๔ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ – ภาคนำ
    “ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?”
    พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก.
    “ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?”
    พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก.
    “ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?”
    พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.
    “ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไร ๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้เป็นอย่างนั้น ๆ,
    ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า ?”
    พราหมณ์เอย ! อาสวะ เหล่าใด ที่จะทำให้เราเป็น เทวดา เพราะยัง
    ละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาล
    ยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว, พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่า
    ใดที่จะทำให้เราเป็น คนธรรพ์ เป็น ยักษ์ เป็น มนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้, อาสวะ
    เหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี
    ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว.
    พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนดอกบัวเขียง บัวหลวง หรือบัวขาว, มันเกิดในน้ำ
    เจริญในน้ำโผล่ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ !
    เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก
    โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน เราได้.
    พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น “พุทธะ” ดังนี้เถิด.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • libdh.jpg
      libdh.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.8 KB
      เปิดดู:
      2,882
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  20. สุธรรมพจน์

    สุธรรมพจน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +157
    เห็นด้วย ว่าไม่ควรใช้คำว่า พระพุทธเจ้าน้อย

    เพราะเคยอ่านในตำรา ก็กล่าวว่า เจ้าชายสิทธัตถะ

    ซึ่งต่อมาคือผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นั่นเองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...