จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับธรรมาทานของคุณเพ็ญUKด้วยครับ
    แหม๊ นานๆจะมีผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ กล่าวธรรมให้พวกเราwได้อ่านกัน
    ดีครับ ผมคนเดียวก็เหนื่อย เดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อด้วย อยากให้คนอื่นมาแสดงธรรมแบบนี้กันบ้าง
    ผิดถูกไม่เป็นไร ฝึกฝนจิตใจตนเองไปในตัว เดี๋ยวมีคุณZero มาช่วยยำ
    เอ๊ย คอยเป็นครูให้กับเราอีกทีนึง แต่สุดท้าย ตนเป็นที่พึ่งแห่ง ก็คือ
    สติปัญญาที่คอยช่วยเราพิจารณา กลั่นกรองให้กับเราอีกทีนึง
    (ดีนะที่เรามีครูทั่วโลกคอยดู คอยสอนเราไปในตัวเลย)

    เพราะผู้แสดงธรรมย่อมรู้ดีว่าอะไรควร อะไรไม่ควรกล่าว จิตผู้นั้นจะบอกเอง
    เมื่อกล่าวไปแล้ว รู้สึกว่าว่าโล่งใจ สบายใจ อันนั้นก็ถือว่าถูกละ
    แต่ถ้ารู้สึกหนัก อันนั้นจิตเขาจะรู้ว่าผิดละ เป็นต้น
    ดีกว่าเรานำเอาคำปริยัติไปพูดไปใช้แบบผิดๆ

    ธรรมะกว่าจะผุดออกมาจากจิตกันได้จริงๆนั้น มิใช่เรื่องบังเอิญหรือเรื่องง่ายๆ
    ธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆกายใจของคนเรา นี่แหล่ะ
    เพียงแต่ว่าเราจะมองเห็นมันไหม๊
    แต่ถ้าเรายิ่งเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมด้วยแล้ว ผู้นั้นไม่รู้จักคำว่า ทุกข์
    ถึงใครทุกข์ เราก็ไม่ทุกข์ มันเป็นเช่นนั้นเอง หามีผู้ใดมาทำให้เราทุกข์ใจได้
    หาธรรมะตนเองกันให้เจอ เพราะธรรมะของเราที่แท้จริง ก็อยู่ภายในของตน
    หรือกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมของผู้ปฎิบัตินี่แหล่ะ
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอเสริมอีกนิด เรื่องมรรคมีองค์๘​

    จากพุทธพจน์ จากพระไตรปิฏก ที่มรรคแต่ละคู่ สัมพันธ์กัน เป็นคู่ๆ ดังนี้
    จากพระไตรปิฏกเล่ม 14
    -------------------------------------------------​
    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
    สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ​

    เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
    จึงเป็นพระอรหันต์ ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ​


     
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Hx7H4FU8BEY&feature=player_embedded#]ประสบการณ์จริง ชีวิตหลังความตาย 1/8 - YouTube[/ame]!!!
    เคยดูกันหรือยัง?
    มี 8 คลิป
    โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมนะครับ
     
  4. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  5. fein

    fein เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +463
    เห็นแต่ความไม่เที่ยงค่ะพี่ภู สาธุ
     
  6. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/sUEtYbGkJfA" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    เปลี่ยนจากเติมน้ำมัน เป็นเติมธรรมแทน
    ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
    ความสุขทางโลกมีวันเปลี่ยนแปลง แต่ความสุขทางธรรมไม่เคยเปลี่ยน
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่คอยแวะเวียนมาเติมธรรมะในจิตกันทุกวัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    =======

    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การปฏิบัติธรรมนั้นจะได้ผลดีหรือไม่ดีก็อยู่ที่ใจ...เพราะใจเป็นใหญ่และใจนี่แหล่ะเป็นนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางเที่ยวไปได้ทุกหนทุกแห่งไม่มีขอบเขตไม่มีพรมแดนเพราะใจเป็นตัวนําสัตว์โลกผู้มาเกิดในแต่ละภพภูมิตามอัตตาภาพของความดีความชั่วที่เราๆท่านๆได้สะสมกันเอาไว้... นั้นแหล่ะท่านจึงสอนให้เชื่อเรื่องการสร้างบุญและบุญและบาปนี่แหล่ะเป็นของๆท่านจะไม่มีใครปฏิเสธได้เลยว่า"บาปไม่มีบุญไม่มี"เพราะการกระทําของแต่ละท่านๆนั้นแหล่ะคือเครื่องหมายหรือเครื่องประทับตราไว้เรียบร้อยไม่มีใครหลี่กหนีกรรมที่ตนทําไว้สักรายเดียว...ผู้เชื่อกรรมจึงทําคุณงามความดีไว้เพราะเขาเชื่อว่านั้นแหละเป็นที่พึงของเขายามสุดท้ายที่จะนําดวงจิตของเขาไปสู่สุคติภูมิที่รอคอยเขาอยู่แน่... และพวกที่ทําความดีนี่ก็จะมีจิตใจเท่านั้นที่เป็นผู้ทําเพราะใจนั้นเป็นใหญ่ในการทั้งปวงทุกอย่างจะสําเร็จได้ถ้าท่านมีใจที่รักงานนั้นๆที่ท่านได้ทําอยู่...จึงจะสําเร็จได้ค่ะ
     
  9. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญว่า....

    ร่างกายที่เห็นอยู่นี้ มีการเจ็บป่วยไม่สบายเป็นกฎของธรรมดา เพราะไม่มีใครหนีการเจ็บไข้ไปได้ ให้พยายามแยกกาย แยกเวทนา แยกจิต (เจตสิกหรืออารมณ์ของจิต) แยกธรรมหรือกรรม ว่าไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา เราคือผู้อาศัยในสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็ให้สักแต่ว่าเป็นเพียงผู้รู้ เป็นเพียงผู้อาศัย อย่าไปยึดมาเป็นตัวตนของใคร เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นมาได้ เพราะการมีร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มีร่างกาย ความร้อน-หิว-กระหาย-เจ็บป่วย-ไม่สบาย-การถูกกระทบกระทั่งใจก็ไม่มีแล้ว อะไรเป็นเหตุของการมีร่างกาย ต้นเหตุคือตัณหา ๓ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ในเมื่อความเป็นจริงของร่างกายเป็นเช่นนี้ เราไปฝืน ไม่อยากให้มันเป็นไป ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความโง่ที่ไม่รู้เท่าทันสภาวะธรรม หากขยันพิจารณาธรรมจุดนี้ให้ดีๆ อย่างต่อเนื่อง สักวันหนึ่งข้างหน้าก็จักตัดอารมณ์ของการเป็นทาสของตัณหาได้​
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  10. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การจะออกจากความทุกข์ หรือกองทุกข์ได้นั้นก็ต้องมีความเข้าใจก่อนว่าทุกข์มีแล้วมีแต่ทําให้เกิดความเศร้าโศกรําพันไม่สบายกายไม่สบายใจนั้น...คือ เห็นแล้วว่ามันไม่ดีนั้นเอง แล้วผู้เห็นอย่างนี้จึงจะต้องหาทางที่จะออกจากทุกข์ได้ คือเกิดปัญญาที่จะหาทางออกนั้นเองก็จะต้องหาวิธีนั้นคือ...จุดเริ่มต้นของคนที่จะปฏิบัติตนเพื่อออกจากทุกข์เพราะคนที่รู้ว่าตนทุกข์แล้วหาทางออกนั้นท่านเรียกว่า"คนฉลาด"เพราะเขาเห็นทุกข์นั้นเอง...แต่คนที่ไม่รู้ว่าจะออกจากทุกข์ได้อย่างไรนั้นก็ต้องมีแต่ทุกข์อยู่รํ่าไปเพราะเขายังไม่มีวิธีที่จะออกจากทุกข์ได้ก็ไม่ต่างจากคนที่เดินทางไปในป่าที่หนาทึบและหาทางออกไม่เจอก็ยิ่งเดินก็ยิ่งหลงเข้าไปในป่านั้นจนหาทางออกไม่เจอก็มีจะท้อถอยอ่อนกําลังจนหมดแรงไปได้...จึงเปรียบเหมือนว่าบางครั้งคนเราทุกข์เราก็ต้องหยุดดูแล้วหันมามองดูทุกข์ของเราๆท่านๆว่ามันมาจากสาเหตุใดแล้วก็ค่อยๆแก้ไขมันเป็นจุดๆนั้น ก็จะแก้ไปได้ในที่สุด...
     
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การปฏิบัติธรรมนั้นถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วอยู่ไหนก็ปฏิบัติได้...ไม่จําเป็นจะวิ่งไปตามกระแสเพราะบางครั้งคนที่วิ่งตามกระแสนั้นก็ยังไม่รู้ว่าธรรมอยู่ตรงไหน...จริงๆแล้วธรรมะอยู่ที่กายที่ใจของเราๆท่านๆนี้เอง...เพราะถ้าเราเรียนรู้การเกิด-ดับของอารมณ์คือ ความปรุงแต่งเดียวดีเดียวร้ายเดียวสุขเดียวทุกข์เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปอยู่อย่างนี้ตลอดเวลานั้นคือ"จิตออกทํางานและเขาก็ทําหน้าที่ของเขาอยู่อย่างมาตั้งแต่ไหนๆแล้วคือ ตั้งกัปป์ แต่กัณฑ์ของเขาอยู่แล้ว" แต่เราผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาตัวนี้จึงดูเหมือนมันมีอํานาจวาสนามาครองหัวใจของเราๆท่านๆเสียเหลือเกินเพราะยังไม่ทันรู้กลมายาของมันคือ"กิเลส"นั้นเองจึงได้นําธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ท่านให้ดูกายดูจิตที่จะทําให้รู้บ่อเกิดของเหตุ...ที่ท่านได้ชี้บอกลงที่ อริยสัจ ๔ นั้นและหลวงปู่หลวงตาท่านผู้ฉลาดรอบรู้ในธรรมท่านก็ได้อบรมสั่งสอนว่า"พบตัวรู้ที่ไหนทําร้ายตัวผู้รู้ที่นั้น" ก็คือรู้ที่ใจนั้นเองธรรมจึงเกิดขึ้นที่ใจแล้วก็ดับลงที่ใจนั้นเอง...
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    "ใบลาออกจากความทุกข์"

    ใบลาออกจากความทุกข์นี่ ไม่ใช่ ไม่เหมือนกับใบลาป่วยหรือใบลาออกจากงานนะ
    คนละเรื่องกัน
    แต่การที่คนเราจะลาออกจากความทุกข์นั้นได้ ต้องตามหาตัวแรกก็คือ ตัวปัญญา
    ตัวปัญญาที่กล่าวมานี้ ทุกท่านหาได้ที่ตนเอง จึงมิใช่ไปหาหรือใช้ปัญญาของผู้อื่น
    เพียงแต่เราต้องหาจิตหรือดวงจิตตนเองให้พบเจอเสียก่อน
    แต่เราจะหาจิตหรือดวงจิตตนเองพบเจอนั้น เราต้องเจริญสติภาวนาไปเรื่อยๆก่อน
    เจริญสติเราไปจนกว่าจิตนิ่ง จิตสงบหรือจิตเป็นสมาธิ เราถึงจะได้ปัญญา
    ในทางปฎิบัตินั้น จะเป็นทางอื่นมิได้เลย นอกจากเราต้องนำจิตตนเองไปเดินตามมรรคมีองค์ ๘
    ตามแบบฉบับบของพระพุทธองค์ ได้ปฎิบัติเป็นตัวอย่างให้พวกเราดูไปแล้ว
    เราก็แค่ปฎิบัติตามพระพุทธองค์เท่านั้นเอง

    เราจะออกจากทุกข์กันไม่ได้เลย ถ้าไม่มีปัญญา
    และเราจะหลีกหนีความทุกข์ก็ไม่พ้น เพราะตราบใดเรายังมีหรือยังอยู่กับขันธ์ ๕
    แม้นกระทั่งเราละขันธ์(ตาย)ไปแล้ว ทุกข์นั้นก็มิได้หายไป
    เพราะทุกข์จะหวนกลับมาอีก ก็ต่อเมื่อเรากลับมาเกิดหรือมีร่างกายใหม่กันอีกครั้ง
    และต้องวนเวียนอยู่อย่างนี้ร่ำไป จนกว่าเราจะเข้านิพพาน

    ปล.อย่างนี้ต้องลาออก!
    แต่จะลาออกจากทุกข์ได้ต้องเรียนรู้อริยสัจ 4 และปฎิบัติธรรม
    การปฎิบัติก็คือ นำจิตมาเดินอริยมรรคกัน

    ปล.ตอบยาวพอๆกับคุณเพ็ญUK ป่าว? ฮ่าๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มีนาคม 2013
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จบเฮ่!
    ความรักเป็นกิเลสโลก
    เพราะรักแบบทางโลก ก็คือ การยึดติด แล้วก็แสดงตัวเป็นเจ้าของทันที ถ้าตกลงปลงใจกันแล้ว(เป็นของกันและกัน)
    และสิ่งที่ตามมา ก็คือ ความหึง ความหวง ห่วงหา อาทร ทั้งหมดนี้ ก็คือ ความหลง
    พอหลงยังไม่พอนะ ถ้าฝ่ายไหน ไม่ซื่อสัตย์ ต๊ายยยแน่ๆ ก็คือ จากที่เคยรักกัน ก็จะกลับกลายเป็นความโกรธขึ้นมาแทนที่
    แต่ถ้าโกรธกันมาก ก็จะทำร้ายกายใจ หรือมากไปกว่านั้นก็คือ ทำลายหรือขั้นเอาชีวิตกันเลยทีเดียว
    สุดท้ายร่วมกันทำกรรมที่ไม่ดีต่อกัน เป็นการสร้างภพ สร้างชาติกันต่อๆไปอีกไม่รู้จักจบสิ้น

    เป็นไงหล่ะ พี่ภูพร่ำซะ ยาวเป็นห่างว่าวเลย ฮ่าๆ
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ท่าน ก. เขาสวนหลวง

    ลักษณะเปรต และความพ้นจากเปรต
    ถ้ามีการหยุดดูหยุดรู้จิตใจของตนอยู่เนืองนิจแล้ว มันจะเป็นการตัดรอนทอนกำลังทางผัสสะได้มากมายเหลือประมาณ เพราะมันกระทบทีไรก็ตามเห็นความดับของมัน ทุกสิ่งมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปอย่างนี้ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่มีอะไรให้น่าเอาน่าเป็นแต่ประการใดเลย
    เรื่องต่างๆ ที่จำมาปรุงมาคิดนั้น มันก็เป็นความฝันชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็ดับไป เป็นไปในลักษณะนี้เฉพาะหน้า ปัจจุบัน ถ้าเป็นการดูจริง รู้แจ้ง ในลักษณะของอารมณ์ทั้งหลายที่ปรากฏเกิดดับเฉพาะหน้าทุกขณะแล้ว มันก็เป็นผัสสะที่กระทบแล้วก็ดับ กระทบแล้วก็ดับ ไม่มีความหมายว่าเป็นดีเป็นชั่ว หรือเป็นสุขเป็นทุกข์
    ข้อปฏิบัติที่น่าสนใจ คือ จะต้องอ่านตัวจริงที่ปรากฏให้แจ่มแจ้งอยู่ทุกขณะ ไม่ต้องไปมีความจำหมายเอาเรื่องอะไรมา มันมีแต่ความปล่อยวางว่างเปล่าไป ดูความจริงของอารมณ์ และผัสสะทั้งหลาย มันแสดงความเปลี่ยนแปลงว่างเปล่า จากความเป็นตัวตนอยู่เฉพาะหน้าทุกๆ ขณะ
    ถ้าอ่านออกในเรื่องนี้แล้ว ข้อปฏิบัติจะไม่มีการไถลไปหรือเฉไฉไปเอาเรื่องจำเรื่องคิดเข้ามา เป็นการทำให้นุงถุงยุ่งยาก แล้วก็เป็นการชักใยพันตัวเองอย่างซ้ำๆ ซากๆ
    ลักษณะของจิตที่มีการรู้ตัวนั้น มันมีความแจ่มใส ไม่มือมัว ไม่เร่าร้อน ไม่เศร้าหมอง จึงเป็นจิตที่ปราศจากกิเลสตัณหา แล้วก็เป็นจิตที่สะอาด สว่าง สงบ ขึ้นมา
    4 มิ.ย. 2515

    ค้นหาพระในใจ
    การอ่านตัวเองอยู่เป็นประจำทุกอิริยาบถ หรือทุกขณะนี้ มันต้องเป็นการฝึกชนิดที่อย่าให้มีการคิดเรื่องอะไรออกไปข้างนอก แล้วความรู้อย่างนี้มันจะทรงตัวได้ติดต่อ มันจะเผลอไปเล็กๆ น้อยๆ มันก็กลับมารู้ใหม่ ตั้งหลักปรกติไปใหม่ได้ ความคุ้นเคยต่อลักษณะที่ตั้งหลักเป็นปรกตินี้ มันเหมือนกับเราจะรักษาความสะอาด พอมีอะไรโผล่ขึ้นมา เราก็กวาดทิ้งได้ทันที เพราะว่าเราไม่ได้เอามายึดมั่นถือมั่น มันก็กวาดทิ้งได้ง่าย
    ถ้ามีสติคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะที่ผัสสะกระทบ มันก็สะท้อนกลับคืน ดับไปอย่างนั้น ดับไปเป็นธรรมชาติของมัน
    การกระทบผัสสะนี่มันเป็นของธรรมชาติ เรามีตาจะไม่ให้เห็นรูป มีหูจะไม่ให้ฟังเสียง อย่างนี้ไม่ได้ เพราะมันต้องรับผัสสะ แต่ว่าเราดีชั่วตัวตนอะไรนี่ อย่าไปยึดถือ แล้วก็ไม่มีเรื่องอะไรหรอก จิตใจมันก็เป็นปรกติอยู่ได้ สงบอยู่ได้ ว่างอยู่ได้ กิเลสจะมาสอพลอล่อลวงอย่างไหน ไม่เอา พอมันโผล่หน้ามา เราก็รู้ว่ามันเรื่องของมายา ของความมีตัวมีตนอะไร ที่จะมาก่อเรื่องปรุงคิดไปในแง่ต่างๆ
    24 ธ.ค. 2516

    ดูทะลุว่างเข้าไปอีก
    ในขณะที่ตาเห็นรูปให้ปรกติ คือวางเฉยเป็นกลาง ไม่ไปยินดียินร้าย หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายได้สัมผัสผิวกาย และใจได้รับธรรมารมณ์ ทั้ง 6 ทวารนี้ ก็ต้องควบคุมจิตให้เป็นปรกติเป็นกลาง วางเฉย อย่าไปยินดียินร้าย ชอบไม่ชอบ โสมนัสโทมนัส ต้องมีสติอยู่ก่อน สำรองไว้ก่อน เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ จึงจะไม่เผลอเพลินไป
    ถ้าไม่ทำในใจให้มีความรู้อยู่ กำหนดอยู่นี่ กระทบทีไรมันก็ออก ถ้าเรื่องราวอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวมันก็พอจะวางเฉยได้ แต่ถ้ามีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวแล้ว มันจะแล่นไปรับเอาทันที อย่างนี้ต้องรู้
    ถ้ามีสติมีความรู้ข้างใน ในขณะที่กระทบผัสสะ รู้แค่เกิดดับ ถ้าอย่างนี้แล้วก็เรียกว่าเป็นการมีสติที่ละเอียด ไม่ใช่ปรกติเฉยๆ มันรู้ มันรู้ว่าเกิดดับ แล้วมันก็รู้เลยไปอีกว่า ตัวเกิดดับล้วนๆ นี่เอง มันเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ แล้วมันก็รู้เลยไปอีกว่า การที่มันเกิดดับเป็นทุกข์อยู่ตามธรรมชาตินี่เอง มันจึงไม่มีเป็นตัวเป็นตนอะไร เพราะว่าถ้ามันมีเป็นตัวเป็นตนแล้ว มันจะต้องอยู่ในความคงที่ แต่นี่มันไม่คงที่ มันเปลี่ยนแปลง มันเกิดดับ แล้วมันก็เป็นทุกข์อยู่ในความเปลี่ยนแปลงนั้นเสร็จ
    30 ต.ค. 2519

    รู้เผินๆ กับรู้ลึกซึ้ง
    รู้อะไรขึ้นมาจริงๆ ในขณะไหนก็แล้วแต่ ให้นิ่งเอาไว้ก่อน ถ้าไปเที่ยวอวดไปอวดมาแล้วหมด ฟุ้งซ่าไปใหญ่เชียว ไม่ว่าใครจะรู้ความจริงอย่างไร ก็ต้องนิ่งดู นิ่งรู้ประคับประคองจิตอยู่ อย่าเที่ยวฟุ้งซ่านไป อย่าเที่ยวพูดเพ้อเจ้อไป เพราะบางทีมันก็อยากจะเที่ยวพูด เพราะตัณหานี่เอง มันมาคอยปรุงให้จิตอยากคิด อยากพูด มันคอยยื้อแย่ง บางทีสงบๆ อยู่ดีๆ แล้ว มันแส่ไปแล้ว จะต้องไปทำนั่น ต้องไปรู้โน้น มันคอยส่อเสียดอยู่ตลอดเวลานะ
    ไม่ว่าใครทำข้อปฏิบัติที่มีการรู้เห็นด้วยปัญญา หรือมีญาณทัสนะ จะต้องอยู่นิ่งๆ ไว้ก่อนนะ อย่าเที่ยวทุรนทุรายไปเลย ความรู้มันจะเลือนลางไป ให้ยอมเสีย ว่าจะหยุดไปก่อน จะรู้ไปก่อน จะมีการกำหนดอะไรก็ให้รู้เอาไว้ แล้วก็อย่าเพ่อวิ่งไปเอาอะไรนะ ต้องยอมหมดนะ ยอมทิ้ง ยอมปล่อย ยอมวาง อะไรที่มันมาหลอกๆ ว่า จะต้องไปทำอย่างนั้นก่อน อย่าเพ่อไปเอาอะไรนะ หยุด ให้หยุดเสียก่อน ดูไปอีกก่อน มันจะเสื่อมไปท่าไหน มันจะดับไปอย่างไร หรืออะไรมันก่อนเกิดขึ้นมา มันจะทะนงตัวขึ้นมานี่ไม่ได้ ต้องหยุด
    ไม่ว่าจะทำอะไร จะคิดอะไร จะพูดอะไร อย่าลืม อย่าลืมตัว อย่าลืมใจ ให้ทำด้วยการมีสติ ฝึกฝนในเรื่องการมีสติให้มากเป็นพิเศษ ขอให้มีความพากเพียรพยายาม เพียรเผากิเลสอย่างเดียวนี่แหละ พิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง เกิดดับ ให้ปรากฏชัดเจนให้ได้ทุกๆ ขณะเถิด
    19 ม.ค. 2520

    ให้เร่งรัดปรารถความเพียร
    ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมองเข้าข้างใน แล้วจะไม่เอาอะไรเลย ของสวยงามข้างนอกจะไม่เอา เพราะพวกเหล่านี้มันไม่เที่ยง ไปยึดถือไม่ได้ ไปเห่อไม่ได้ ไม่ต้องการอะไรมาก ทำแต่สิ่งที่ควรทำ ที่ไม่จำเป็นไม่แตะต้อง ไม่เกี่ยวข้อง มุ่งแต่เรื่องในจิตในใจ ที่จะดับทุกข์ดับกิเลสเป็นจุดสำคัญที่สุดของชีวิต
    การปฏิบัติธรรมนี่มันไม่ลำบากอะไรเลย ให้อยู่นิ่งๆ มีสติทุกอิริยาบถ ทำในสิ่งที่ควรทำนิดหน่อย ไม่ให้ใช้กำลังกายไปทุ่มเททางอื่น ฉะนั้นจึงต้องหยุดงานภายนอก จิตใจจึงจะมีกำลัง ถ้าเอากำลังกายไปทุ่มเทกับงานข้างนอกเสียหมดแล้ว จิตมันก็อ่อนเพลียไป เราต้องมุ่งทางจิตเป็นใหญ่ มีงานทางจิตเป็นใหญ่
    กว่าจะรู้ตัวของตัวเองได้ มันไม่ใช่ของง่าย ที่ไม่มีใครมาติมาด่า แต่ตัวเองนี่แหละต้องว่าต้องด่าตัวเอง ต้องตำหนิติเตียนตัวเองจึงจะได้ ถ้าไม่มีกัลยาณมิตรมาช่วยว่าตัวเองแล้ว ก็ต้องว่าตัวเอง ต้องด่าตัวเอง
    ของจริงที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานี้ก็มีให้มอง ก็ไม่เป็นการยากลำบากอะไร ไม่เหมือนการทำงานทางกาย เป็นแต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ได้ นั่งหลับตาดูก็ได้ ลืมตาดูก็ได้ หรือยืนก็ได้ เดินก็ได้ โดยที่ไม่ต้องไปทำอะไร คอยพิจารณาดูว่ามันเกิดขึ้นมาอย่างไร มันดับอย่างไร มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มันปรุงแต่งขึ้นมาอย่างไร ดูได้ทุกอิริยาบถไปหมด
    ถ้าหยุดได้แล้วมันจะรู้ได้ไม่ว่าใคร เมื่อหยุดแล้วเป็นต้องรู้ อย่าไปเที่ยวคิดนึกปรุงแต่ง หยุดเสีย นิ่งเสีย สงบเสีย แล้วจะรู้ ถ้าเที่ยวคิดฟุ้งซ่านไปมันจะหลง ถ้าหยุดมันรู้ ไม่มีอะไร จะคิดไปให้มันเหนื่อยทำไม ที่ให้มันหยุดเพราะมันไม่มีอะไร เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปเท่านั้นเอง จะดูอะไรก็ดับ เหลือแต่จิตว่างจิตสงบอยู่เดี๋ยวนี้
    2 พ.ย. 2514

    เพียรละพยศร้ายในสันดาน
    เมื่อผิดแล้วยอมรับว่าผิด นี่มันเป็นธรรมดา แต่ไม่ผิดแล้วยอมรับว่าผิด นี่มันฝืนทิฏฐิมานะได้อย่างงดงามทีเดียว
    ฉะนั้น จึงต้องพูดแล้วพูดอีก เพื่อจะให้ข่มขี่ทิฏฐิมานะลงไป มันจะเอาดีไปถึงไหน นี่มันต้องกดหัวตัวเอง ไม่มีใครเขาด่า ก็ต้องด่าตัวกูนี่แหละ มันอวดดีเรื่อย มันอวดเก่งเรื่อย อวดเป็นคนดีคนถูกไปทีเดียว ฉะนั้นมันจะอวดดีต่อไปไม่ได้
    ต้องข่มขี่ทรมานทิฏฐิมานะให้ราบเรียบไปให้ได้ อย่าให้มันโงหัวขึ้นมา กดหัวมันลงไป มันจะเก่งมาท่าไหน มันจะเอาอะไร มันจะเอาดีที่ไหน มันจะเอาดีไปให้ใคร ถามตัวเองนี่แหละ ไม่ต้องไปถามใคร ถามให้มันจนปัญญา ถามมันบ่อยๆ ว่า "มึงจะเอาดีไปให้ใคร ไม่กี่วันมึงก็จะเน่าเข้าโลงแล้ว มึงจะอวดเก่งไปให้ใคร" ถามมันอย่างนี้ จนมันเกิดปัญญา หุบปากไม่กล้าพูดเลย มันรู้สึกอาย มันอายตัวเอง เข้ามาเล่นงานตัวกูที่ชูหัวอยู่นี่ สับหัวมันลงไป ไม่ต้องไปเกรงใจมัน ไม่ต้องไปรักหัวมันหรอก ถ้ารักหัวมันแล้ว มันจะชูหัวสูงใหญ่เลย แล้วพิจารณาดู มันมีตัวตนที่ไหน "มึงนั่นแหละมันโง่ โง่เอง ไปยึดถือเข้ามาทำไม" ซักถามมันทีเดียวว่า "มีตัวกูที่ไหน" ถ้าถามมันบ่อยๆ มันก็จำนนไปเอง ในที่สุดมันจะบอกว่า "อ้อ ความจริงมันว่างจากตัวตนโว้ย" แต่ความโง่มันเสือกทะเล้นยึดถือ จึงทุกข์แล้วทุกอีกอยู่นี่ มันจะได้บอกขึ้นมาอย่างนี้ ไม่ต้องไปพูดดีอะไรหรอก
    มันจะยุแหย่แส่ส่ายไปในอะไรไม่เอา ต้องหยุด บอกให้หยุด ต่อให้ดีวิเศษก็ไม่เอา ต้องหยุด ต้องบอกับตัวกูอยู่อย่างนี้ ไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งหมดแล้วก็พิจารณาไปว่ามันมีอะไรจริงจังที่ไหน มันหลอกขึ้นมาแล้วก็เชื่อไปทำตามมัน มันก็เหนื่อยแล้วเหนื่อยอีก ทุกข์แล้วทุกข์อีก ก็ว่าสบายดี มันจะโง่ไปถึงไหน จะหลงไปถึงไหน ถามตัวกูนี่แหละดู ไม่ต้องไปถามคนอื่น ถ้ายังดิ้นรนจะเอาอะไรอยู่ ก็ถามมันดูว่า "มึงจะเอาอะไร?" ถามไปถามมา แล้วมันก็หยุดไป แล้วมันว่างไปเลย เอาให้มันรู้ให้ได้ ว่ามันเกิดขึ้นมา หรือมันดับไปอย่างไร เพราะว่ามันจะต้องรู้ของตัวเองได้จริงๆ
    เรื่องของกิเลส โลภ โกรธ หลง หรือตัณหาอะไร มันต้องค้นที่จิตใจ ที่ถูกกระทบผัสสะ ซึ่งอาศัยผัสสะเกิด แล้วมันยึดถือขึ้นมาอย่างไร เป็นตัวเป็นตน อวดดี อวดเก่ง ขึ้นมาแค่ไหน มันมีให้สอบอยู่ในตัวเอง ฉะนั้นข้อปฏิบัติจึงไม่ต้องไปเรียนที่ไหน เรียนเอาในนี้ เรียนเรื่องกิเลส เรื่องเกิดดับ เรื่องไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนดับไป เป็นความว่างจากตัวตน มันมีให้ตรวจสอบ ให้รอบรู้อยู่ในตัว
    10 พ.ย. 2514

    รู้ลมรู้จิต พร้อมกับพิจารณาความเกิดดับ
    ต้องกล้าทดลองเข้ากับทุกข์ให้มากๆ ทุกข์ๆ ไปให้จิตรู้อยู่ สงบอยู่ปล่อยวางให้ได้ ทุกข์ที่มันแย่มากๆ ก็ต้องทดลองไปอีก แล้วดูซิว่ามันจะคลายไหม ถ้ามันไม่คลายก็ดูไปอีก มันคลายก็ดูไปอีก เพราะมันแสดงความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง เสื่อมมากขึ้น ทุกข์หนักขึ้นมากขึ้น ก็ดูไปอีก อย่าไปแก้ไข อดทนดูทุกข์ พิจารณาทุกข์ให้ได้ แล้วจะเกิดสติปัญญารู้เห็นความจริง
    กฏของธรรมชาติมันต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ทีนี้เราไปแก้ไขเสียหมดเอง ก็เลยไม่รู้กฏของธรรมชาติที่มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวเรา ของเรา จะต้องดูมันให้ละเอียดจึงจะรู้จะเห็น
    ถ้าเรากล้าทดลองกับทุกข์ให้ซ้ำๆ บ่อยๆ จิตมันมีกำลัง ถ้าเรากลัวทุกข์ ไปแก้เสียหมด จิตมันอ่อนแอ ขอให้สังเกตดูก็ส่วนที่เราทำงานเหน็ดเหนื่อย เรายังอดทนทำได้ ทีนี้จะนั่งดูทุกข์ ต้องอดทน ทนดู ทนรู้ พิจารณาไป
    1 ม.ค. 2520

    บุญอยู่ที่ใจสงบ
    การดูจิตดูใจนี่มันมีประโยชน์มาก หมั่นดูไปเถอะ แล้วมันก็เห็นไปเอง จะเห็นชัดหรือไม่ชัดบ้าง ก็เป็นธรรมดา บางคราวมันก็ไม่ชัด บางคราวมันก็ชัด ต้องดูมันเรื่อย ดูของจริงภายในกายในใจมีประโยชน์มาก ดีกว่าดูข้างนอก ถ้ามันรู้ชัดแจ้งอะไรขึ้นมา มันก็ปลุกให้จิตตื่น ตื่นตัวขึ้นมาแล้วนิวรณ์มันก็ดับ
    ยิ่งดูก็ยิ่งรู้ ยิ่งรู้ก็ยิ่งละได้ ยิ่งปล่อยยิ่งวางได้ มันมีประโยชน์อย่างนี้
    2 ม.ค. 2520
     
  15. newwave1959

    newwave1959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +2,681
    [​IMG]

    กรรมฐาน๔๐ สำหรับการปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์ทั้ง๔ ประเภท​

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ

    กรรมฐาน ๔๐ นี่เป็นต้นแบบใหญ่ อย่าลืมว่ากรรมฐานไม่ได้มีแบบเดียวนะ แล้วแต่ละ ๔๐ แบบ
    แยกเอาการฝึกออกไปเป็นข้อปลีกย่อยได้เป็นพัน ๆ จะเป็นการฝึกข้อปลีกย่อยกี่พันแบบ
    หรือต้นฐาน ๔๐ แบบก็ตาม ก็ย่อเป็นกรรมฐาน ๔ หมวด ต้องเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งให้ได้
    ถ้าเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งไม่ได้ นั่นคือ ไม่ใช่กรรมฐานของพระพุทธเจ้าที่สอนไว้

    หมวดที่ ๑ เรียกว่า " สุกขวิปัสสโก "
    บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายฝึกกันเป็นปกติ หมวดนี้ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต
    ไม่สามารถเห็นสวรรค์ เห็นเทวดา เห็นพรหมโลกได้ ไม่สามารถจะไปได้ แต่ว่ามีฌานสมาบัติได้
    เป็นพระอริยเจ้าได้ ไปนิพพานได้

    หมวดที่ ๒ เรียกว่า " เตวิชโช "
    หมวดนี้พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว แล้วก็ฝึก ทิพจักขุญาณ เมื่อฝึกทิพจักขุญาณได้แล้ว
    ต้องเข้าไปฝึก ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้ เมื่อได้ทั้ง ๒ ประการแล้ว
    ใช้กำลังญาณทั้ง ๒ ประการเข้าช่วยวิปัสสนาญาณเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี
    พระอรหันต์ เรียกว่า " พระวิชชาสาม " หมวดนี้สามารถเห็นสวรรค์ นรก เห็นพรหมโลก
    หรืออะไรก็ได้ทั้งหมด แต่ไปไม่ได้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว นั่งตรงนี้คุยกับเทวดาหรือพรหมก็ได้
    นั่งตรงนี้คุยกับสัตว์นรกก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า " วิชชาสาม "

    หมวดที่ ๓ เรียกว่า" อภิญญาหก หรือ ฉฬภิญโญ"
    อภิญญาหกนี่เราไปไหนไปได้ตามใจชอบ จะไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน ไปนรก เปรต
    อสุรกาย ไปได้หมด ประเทศต่าง ๆ ไกลแสนไกลแค่ไหน ประเทศในมนุษยโลกนี่มันไม่ไกลหรอก
    เราสามารถไปได้ ดวงดาวต่าง ๆ ที่ฝรั่งจะไปเราก็ไปได้ไม่ต้องลงทุน อย่างนี้เป็น " อภิญญาหก "

    หมวดที่ ๔ " ปฏิสัมภิทาญาณ "
    นี่มีความรู้ฉลาดมาก ปฏิสัมภิทาญาณมีความสามารถคลุมหมด คลุมสุกขวิปัสสโกด้วยเอาไว้ในตัว
    เอาวิชชาสามเข้าไว้ด้วย แล้วเอาอภิญญาหกเข้าไว้ด้วย แล้วก็ฉลาดมาก คือว่า ฉลาดในธรรมะ
    ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เรียกว่า " ปฏิสัมภิทาญาณ "

    ที่มา http://www.palungjit.org/smati/k40/



    ****************************************​

    ขอเจริญในธรรม ด้วยจิตคารวะ

    นิวเวป จบ.๑๔​
     
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จุดมุ่งหมายสูงสุด
    การปฎิบัติธรรม
    ของพระพุทธศานา
    ก็เพื่อ ความหลุดพ้น


    เราผู้ปฎิบัติธรรม ต้องปฎิบัติให้หลุดพ้นทุกข์ของตนให้ได้จริงๆเสียก่อน
    ต่อไปถ้าบุคคลใดมีกำลังใจมาก ค่อยทำเพื่อหลุดพ้นจากสังสารวัฎในภายหลัง

    แต่เราจะต้องมีกำลังใจมากพอหรือมีจิตพร้อมที่จะปฎิบัติด้วยนะ แต่ถ้าไม่มีก็ไปไม่ถึงไหน
    คือจะล้มเลิกกลางคัน เพราะขาดกำลังใจ
    กำลังใจ แปลว่า บุญ หรือ บารมี นั่นเอง
    แต่ถ้าผู้ใดมีไม่พอ ก็ให้เริ่มต้นที่ บันไดบุญ ได้แก่ การทำบุญทำทานเล็กๆน้อยไปก่อน
    ถึงการทำบุญขนาดกลางได้แก่ สวดมนค์ไหว้พระ ฟังเทศน์ ฟังธรรม เป็นต้น
    แต่เมื่อไหร่กำลังใจเกือบจะเต็ม เดี๋ยวเราจะอยากปฎิบัติธรรมทันที
    เพราะการปฎิบัตินั้น ไม่มีผู้ใดจะไปบังคับให้ทำ การสร้างบุญบารมีตนเองนั้น ต้องทำเองทั้งสิ้น
    ทำแทนกัน บรรลุธรรมแทนกันก็ไม่ได้ กรรมก็เหมือนกัน ตนเองทำขึ้นเองทั้งนั้น
    เพราะฉะนั้นกรรมเขาทำหน้าที่ของเขาทุกวัน กรรมลงโทษใครไม่ผิดตัวสักราย

    แต่จะขอเน้นผู้ที่จะปฎิบัติว่า ต้องศีลนำหน้าก่อนเลย อย่าได้มองข้ามศีลตนเองเด็ดขาด
    อย่าหาว่าเรื่องศีลเป็นเรื่องเล็กน้อย เราหลอกคนอื่นได้ แต่เราหลอกตนเองไม่ได้
    ก็เท่ากับเราหลอกเทวดา พรหม หรือสิ่งศักดิ์สิทธิืไม่ได้เช่นกัน

    เมื่อศีลครบบริบูรณ์แล้ว ต่อไปก็เริ่มทำภาวนา หรือ เจริญสติภาวนา
    ที่มี 40 กองเลือกปฎิบัติกันเอง ตามจริตแห่งตน
    แต่ที่นี่ จิตเกาะพระ แนวทางการปฎิบัติก็คือ พุทธานุสสติ+กสิณ= จิตเกาะพระ
    ทำง่ายๆก็คือ แค่เราระลึกหรือนึกถึงภาพพระเป็นอารมร์
    แต่ถ้าใครนึกไม่ออก ก็ให้นึกถึงหน้าคนรักหรือว่าแฟน

    ที่เรากำลังนึกถึงพระ ก็เท่ากับเรากำลังเจริญสติภาวนา หรือกำลังสร้างสติหรือทำสติให้เกิดบ่อย นั่นเอง
    เพราะทุกกรรมฐานของพระพุทธองค์ ก็เพื่อเป็นกุศโลบายที่ทำให้จิตของคนเรานิ่ง
    เพราะการปฎิบัติธรรม ต้องทำให้จิตของผู้ปฎิบัตินิ่งเสียก่อน แต่ถ้าไม่นิ่ง
    ก็ไม่มีทางได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นแน่แท้ เพราะตราบใดจิตเรายังไม่นิ่ง
    ก็จะไม่มีวันเข้าใจหรือเข้าถึงธรรมะอย่างแน่นอน
    และท้ายที่สุดก็ออกจากทุกข์ตนเอง ไม่ได้

    พอเข้าใจกันนะ ขั้นตอนละเอียด ปลีกย่อยก็มีแค่นี้เอง พยายามตั้งใจปฎิบัติให้มาก
    เพราะการปฎิบัติธรรมนั้น เราต้องเอาใจนำหน้าก่อนเลย เพราะไม่ว่าเราจะทำอะไรๆ
    ทุกอย่างต้องสำเร็จที่ใจของเราเองก่อน
    สรุปแล้ว ต้องใจมาก่อน แต่ถ้าใครไม่พกใจหรือ ทำโดยไม่ตั้งใจหรือทำเล่น
    ก็ไม่ได้อะไรกลับไปแน่นอน
    ทำจริงได้จริง ทำเล่นๆนอกจากไม่ได้อะไร แถมเสียเวลา
    ไม่ฝึกจิตก็ไม่ได้ เพราะเราจะไม่เข้าใจทุกข์ เมื่อไม่เข้าใจทุกข์ ผู้นั้นก็จะออกจากทุกข์ไม่ได้
    เลือเอานะครับ ไม่ใช่ว่ารอให้เราทุกข์มากๆก่อน จึงหันหน้ามาปฎิบัติ อย่าไปคิดอย่างนั้น
    เพราะมันอาจจะสายไปแล้วก็ได้
    วันนี้ บางท่านอาจจะมีความสุขกับทางโลกๆมาก แต่หารู้ไม่ ความทุกข์หรือความตายตนนั้น
    กำลังยืนรอพวกเราอยู่ข้างหน้าทุกคนไป อย่าประมาทกัน เจอแน่ๆ ทุกข์แน่ ตายแน่ๆ
    หนีไม่พ้น ตราบใดที่เรายังมีขันธ์ ๕ นี้กัน
    เพราะขันธ์๕ หรือ ร่างกายนี้ ก็คือ ตัวทุกข์ของเราดีๆนี่เอง
    เป็นไปตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ชอบแล้ว ทุกประการฯ

    จบการบรรยายธรรมแต่เพียงเท่านี้
    ขอให้ทุกท่านพ้นทุกข์ พ้นสังสารวัฎ ตามแต่ใจของตนเองกันทุกประการ
    และขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยกันด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มีนาคม 2013
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จุดหมายปลายทางสูงสุดของผู้ปฎิบัติธรรม ก็คือ
    วิมุุตติ หรือ พระนิพพาน


    แต่จะขอกล่าวถึง ก่อนจะไปถึงจุดสูงสุดที่ว่ามานั้น ก็คือ
    ปฎิบัติธรรมเพื่อละหยาบหรือทุกข์ให้ได้เสียก่อน แล้วละสุขกันภายหลัง
    ยิ่งเป็นกการปฎิบัติธรรมขั้นสูงต่อๆไปด้วยแล้ว หรือยิ่งจิตเข้าถึงความละเอียดแห่งจิตตนด้วยแล้ว
    สิ่งที่ผู้ปฎิบัติจำเป็นจะต้องสอบให้ผ่านกัน ก็คือ อภิญญาต่างๆ นิมิตต่างๆ
    อภิญญาต่างๆ ถือว่าเป็นของเดิมหรือของเก่าเฉพาะผู้ปฎิบัติท่านนั้นๆ
    แต่นิมิตต่างๆนี้ ถือว่าเป็นขนมหวานของนักภาวนากันเลยทีเดียว คือ อดที่จะดูไม่ได้
    ดูได้ รู้ได้ ไม่ได้ห้าม เพียงแต่อย่านำจิตเข้าไปยึดเอาเป็นตัวเป็นตนก็แล้วกัน
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติผ่านธรรมละเอียดนี้ไปได้ จิตก็จะเข้าสู่ความว่างกันได้
    ความว่างต้องประกอบไปด้วย จิตต้องบริสุทธิ์ ต่อไปจิตจึงจะเข้าถึงความเป็นกลางกันได้
    ความเป็นอนัตตาหรือความว่างก็จะอยู่ตรงนั้นเอง ผู้ปฎิบัติท่านั้นก็จะรู้เอง โดยมิต้องมีใครมาบอก ถึงบอกไปก็ไม่รู้อีก
    เพราะผลของการปฎิบัติธรรมนั้น เป็นปัจจัตตัง! ใครไม่ปฎิบัติก็จะไม่รู้
    และผู้ที่รู้นั้น ต้องปฎิบัติได้ หรือเข้าถึงธรรมได้ด้วยตนเอง มิใช่เข้าใจเพียงอย่างเดียว

    เมื่อผู้ปฎิบัติกว่าจะเข้าใจคำว่า ธรรมดา หรือ กฎแห่งธรรมดา ก็คือ ไตรลักษณ์นั้น
    ผู้ปฎิบัติท่านนั้นต้องมีอริยจักษุ คือจะมองเห็นความเกิดดับของกิเลสต่างๆ
    หรือ ตัวเจตสิกต่างๆได้อย่างชัดเจนและเห็นจนชิน
    เมื่อเห็นจนชิน เราก็เห็นธรรมดา เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก
    เพราะล้วนทุกธรรม ก็หนีไม่พ้นคำว่า เกิดและดับเป็นธรรมดา มีแค่นี้จริงๆ
    เมื่จิตเรารู้เข้าใจและเข้าถึงธรรมกันจริงๆแล้ว จิตเขาจะทำหน้าที่ปล่อยวางกับทุกสิ่งได้เอง
    โดยที่เราไ่ต้องทำอะไรเลย จิตมันจะเข้าความว่าง ความสงบของมันเอง
    ผู้ปฎิบัติจะรู้เองง่ายๆก็คือ
    ผลของการปฎิบัติตนเองที่ได้รับนั้น มันยิ่งกว่าสุข แต่ไม่ใช่สุข มันว่างเพราะวางทุกสิ่งได้
    เมื่อจิตว่างทุกอย่าง จิตก็เข้าวิมุตติโดยไม่ยากนัก
    อย่าลืมนะว่า จิตว่าง ว่างจริงๆนะ ไม่ใช่เมื่อวานว่าง แต่วันนี้ไม่ว่าง อันนี้ยังอีกไกล
    และสิ่งที่จะตามมาหลังความว่างก็คือ จิตบรสุทธิ์ จิตเข้าถึงความเป็นกลาง
    ความเป็นกลางในที่นี้ หมายถึง ไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง เช่น
    เมตตาได้ทุกคน ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องคิดมาก ไม่แยกแยะว่าคนหรือสัตว์ ญาติหรือไม่ใช่ญาติของตน
    จิตตั้งอยู่ระหว่างกลางได้จริงๆ ถึงใครจะมาฆ่าลูกเมีย/สามี หรือพ่อแม่พี่น้องของตน ย่อมให้อภัยได้

    จิตเราจะทรงพรหมวิหารไปโดยอัตโนมัติ
    สติก็เป็นสติสัมปชัญญะ คือ มีความรู้สึกตัว+ทั่วพร้อม เหมือนเป็นยาม
    จิตปัญญาเท่านั้นจะเป็นผู้ดูเท่านั้น จิตนิ่งจิตสงบสงัดได้ดีแล้ว เดี๋ยวจิตนี้
    จิตที่มีธรรมก็จะกลับมาสอนเราเอง ก็คือ สติเราเอง
    แต่พวกเราต้องนำจิตมาเดินตามมรรคให้ถูกต้องเสียก่อนนะ
    ตามที่ผมได้ลงไปเมื่อวันก่อน เรื่องมรรคมีองค์ ๘ ว่ามีอะไรบ้าง
    ผู้ปฎิบัติจะปฎิบัติ โดยเฉพาะพระนิพพาน ต้องเจริญให้ครบทั้ง๘ ข้อนั้น
    ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ชอบแล้ว
    ผู้ปฎิบัติต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วย ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว จะหลงทางกันง่ายๆ
    หรือกิเลสมารจะเข้าแทรกได้ง่าย เพราะมรรคมีองค์๘ นี้ พระพุทธองค์กล่าวชัดเจนว่า
    ถ้าเราปฎิบัติตามมรรคมีองค์๘(เน้นย้ำว่า ปฎิบัติให้ครบทุกข้อด้วย)
    คำว่า กิเลสมารจะตามหาเราไม่เจอ เพราะเราไม่หลงง่าย
    โดยเฉพาะเรามีสติมากจนเป็นสติสัมปชัญญะ(มรรคข้อที่๗)
    และมีสมาธิจิต(ลำดับฌาน)อยู่ตลอดเวลาหรือทุกขณะจิต(มรรคข้อที่๘)
    แต่ข้อแรกสำคัญที่สุด ก็คือ สัมมาทิฎฐิ เพราะจะมีข้อต่อๆไปได้ ก็ต้องอาศัยจิตที่มีความเห็นถูกเสียก่อน
    เมื่อเรามีความเห็นถูกต้อง(มีอะไรบ้างไปศึกษาต่อกันเอง) ต่อไปความคิดนึกย่อมถูกต้องตามมาด้วย
    ดังที่แสดงธรรมเป็นคู่ๆกันไปแล้วนั้น
    ดังมรรคข้อที่๗ ก็คือ สติ เมื่อเราเจริญสติให้เป็นสติสัมปชัญญะแล้ว
    ต่อไป จิตเราก็จะเกิดสมาธิ เกิดปัญญาหรือปัญญาณ ตามกำลังใจ
    หรือความละเอียดของจิตของผู้ปฎิบัตินั้นๆ

    ความสุข ความสงบ จงมีแด่ผู้เจริญในธรรม ทุกๆท่านด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มีนาคม 2013
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ถ้ำที่เงียบที่สุดในประเทศไทย
    ก็คือ กายใจตนเอง

    สถานที่สงบ สงัด สุข ปลีกวิเวกที่สุดในโลก ก็คือ กายใจตนเอง
    นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน ก็อยู่ที่กายใจตนเอง
    การปฎิบัติธรรม หรือ การบรรลุธรรมก็อยู่ที่กายใจตนเองอีก
    ทั้งปฎิบัติ ทั้งปฎิเวธ(ผลของการปฎิบัติ)นั้น ก็อยู่ที่กายใจตนเองทั้งนั้น
    ทำแทนกันก็ไม่ได้ เหมือนใครกินใครอิ่ม

    สติกับจิตของตนเองก็เหมือนกัน เราต้องใส่ใจดูแลกันเอง ช่วยตนเองให้มากๆ
    สำหรับสตินั้น ต้องขยันเจริญหรือสร้างสติให้มาก จนเป็นสติสัมปชัญญะ
    ส่วนจิตเราก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ก็คือ อย่าเอาสติห่างจิตเด็ดขาด อตร.
    เพราะถ้าห่างเมื่อใด ก็มีโอกาสหลง เพราะจิตไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และไม่มีปัญญา

    ทุกวันนี้นักภาวนากำลังตามหาตัวสติกันอยู่ หาให้ถูก ก็จะหาเจอเอง
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติมีจุดหมายปลายทางที่ถูกต้อง ย่อมปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติมัวแต่เดินหลงมรรคหรือหลงทางกัน แถมมัวไปสนใจกิเลส
    สนใจนิมิตหรืออภิญญาต่างๆกัน
    แล้วมันจะไปถึงไหน พระนิพพานหรอ? พระนิพพานเขาไปกันทางนั้นหรอ?
    ผมพูดกลางๆนะ มิได้ไปพลาดพิงถึงผู้ใด แต่อย่างใด เพราะจบก็คือจบ
    ไม่มีการต่อสัญญา เพราะไม่เอาอดีต ไม่ให้ความสำคัญที่ไม่ใช่เรื่องจิตตนเอง
    ที่ออกมาเตือนกันเชก็เพราะมีความปรารถนาดีต่อผู้ปฎิบัติ ปฎิบัติชอบเท่านั้น
    มิได้มีอะไรแอบแฝงใดๆทั้งสิ้น
    ส่วนผู้ใดจะคิดอย่างไรหรือคิดกันไปต่างๆนานา ก็ตามใจ
    ผมจะไปขออบายหรือแก้ตัวใดๆกับใคร เพราะเสียเวลา
    มุ่งแต่ขัดเกลาจิตใจตนเองเป็นหลัก พูดธรรมก็เหมือนกัน พูดถูกก็ได้รับความเพลินเจริญใจไป
    ที่มีจิตเป็นธรรมาทานให้กันและกัน
    ส่วนผู้ใดรับได้ก็โมทนา แต่ถ้ารับไม่ได้ หรือมีความเห็นต่างก็ขออภัย ไม่เป็นไร
    ท่านมีแต่ได้ ไม่ขาดทุน ผู้ให้ก็ตั้งใจให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ยิ่ง ส่วนผู้รับก็ตามใจทุกประการฯ
    เพราะถ้าไม่ได้มีเจตนาจะตั้งใจให้ธรรมาทานกัน ก็หนีไปนอนเฉยๆดีกว่า
    จะมาพร่ำให้คนด่า ทำไม๊...อิอิ (จริงไหม)

    จบ...

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มีนาคม 2013
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เพราะจิตของเราตัวเดียว

    ศีลจะพร่อง ศีลจะด่างพร้อย หรือศีลละเอียด ก็ด้วยจิตตนเอง
    ธรรมก็เหมือนกัน ธรรมจะหยาบหรือละเอียด ก็ด้วยจิตตนเองอีก

    แต่จิตมันบอกว่า ข้าฯจะดี จะไม่ดี ก็ด้วยสติของคนเรานี่เอง
    เพราะฉะนั้น สติก็เรา(เมื่อยังมีชีวิตอยู่) จิตก็เรา(เมื่อมีชีวิตและไม่มีชิต)
    สรุปแล้ว ถ้าเรายังไม่ตาย กายกับจิตต้องอยู่กันไปแบบนี้
    เราปฎิบัติธรรมต้องเจริญสติภาวนาหรือฝึกสติ
    เราฝึกสติก็เพื่อให้จิตของคนเรานิ่งหรือจิตเป็นสมาธิ
    เพราะถ้าจิตของคนเรานิ่ง จิตก็จะเกิดสมาธิ เกิดปัญญา
    เมื่อจิตของคนเรามีปัญญา เราก็จะรู้เท่าทันกิเลส หรือ มองเห็นความเกิดดับของจิต
    ก็คือตัวเจตสิก ที่นักภาวนามักมองไม่เห็นอย่างชัดเจน
    เมื่อเรามองเห็นอย่างเจน ย่อมทำให้เรามองไม่เห็นความเกิดดับเป็นธรรมดา
    เมื่อเรามองไม่เห็นธรรมดาหรือกฎไตรลักษณ์ จิตเราก็ปล่อยวางยังไม่สนิทใจ นั่นเอง
    เมื่อจิตเราปล่อยว่างยังไม่สนิท เราก็มีสุขบ้าง ทุกข์บาง เป็นธรรมดา
    หรือบางครั้งจิตเราว่างบ้าง ไม่ว่างบ้าง อะไรประมาณนั้น
    เมื่อเราเป็นดังนี้ จิตเราก็ยังไม่เป็น อนัตตาหรือความว่างที่แท้จริง
    ข้อแนะนำที่ดีที่สุดก็คือ พากันเจริญสติภาวนากันต่อไป

    สำหรับผู้ที่เข้าถึงความเป็นอนัตตา ก็ยังต้องเจริญสติภาวนากันจนตาย
    สำหรับผู้ที่ทิ้งสติ ทิ้งฌาน ก็เท่ากับท่านทิ้งปัญญา
    เมื่อเราไม่มีปัญญาแล้วเราจะออกจากทุกข์กันได้ไหม๊

    เอ๊ะทำไม๊ ธรรมะมันผุดออกมาจากจิตเป็นระยะๆ
    อย่าเพิ่งรำคาญใจกันนะครับ มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษ
    แถมนินทาหรือด่าว่าได้ตามชอบใจ
    เพราะจิตผมมันห่างโลกธรรม๘ ไปแล้ว...
    แต่ถ้าไม่ห่างนะ ป่านนี้ ปิดกระทู้หนีพวกเราไปแล้ว
     
  20. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    "ที่มาของรองเท้าพระ"

    บุตรเศรษฐีตระกูลโกฬิวิสะชื่อโสณะ เป็นหนุ่มหน้าตาดี ผิวพรรณเกลี้ยงเกลา ได้ชื่อว่าเป็นสุขุมาลชาติ เกิดมาก็พิเศษกว่าชาวบ้าน คือที่ฝ่าเท้าทั้งสองมีขนตั้งแต่กำเนิด เป็นเรื่องประหลาดจนเลื่องลือไปไกล แว่วถึงพระกรรณพระเจ้าพิมพิสารเลยทีเดียว

    ตระกูลโกฬิวิสะนี้อยู่ในเมืองจัมปา และเมืองจัมปาเป็นเมืองใหญ่แห่งหนึ่งในแคว้นอังคะ แคว้นอังคะในเวลานั้นอยู่ในปกครองของพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นราชาแห่งแคว้นมคธ

    คราวที่พสกนิกร ๒ แว่นแคว้นร่วมประชุมกันครั้งใหญ่ โดยมีพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นประธาน จากนั้นพระองค์พร้อมด้วยพสกนิกรทั้งปวงได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อสดับพระพุทธโอวาทที่เขาคิชฌกูฎ โสณะบุตรเศรษฐีก็ได้ตามเสด็จคราวนี้ด้วย วันนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมด้วยอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ พสกนิกรทั้งหมดหายสงสัยในพระรัตนตรัย จึงขอเป็นอุบาสกอุบาสิกา มอบกายถวายชีวิตแก่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

    โสณะบุตรเศรษฐี ซาบซึ้งในพระสัจธรรมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ยอมกลับบ้าน เมื่อได้โอกาสผู้คนเขากลับหมดแล้ว เขาจึงคลานเข่าเข้าเฝ้า กราบทูลขออุปสมบท ณ ที่ตรงนั้น เมื่ออุปสมบทแล้วก็ระดมความเพียรอย่างหนักทั้งกลางคืนและกลางวัน ซึ่งในขณะนั้นท่านได้พำนักอยู่ที่ป่าสีตวัน เดินจงกรมจนฝ่าเท้าอันบอบบางละเอียดอ่อนปริแตกทั้ง ๒ ข้าง มีรอยเลือดเป็นทางเปื้อนอยู่ที่ทางจงกรม กระนั้นก็ยังไม่บรรลุธรรม ภิกษุหนุ่มเกิดความท้อแท้ รำพึงในอกว่า ตัวเราไร้บุญวาสนาบารมีธรรมเสียแล้ว จึงคิดจะสึก พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณ จึงเสด็จไปโปรด ทรงแสดงธรรมและทรงให้กำลังใจ จนเกิดความมุมานะและได้บรรลุอรหันต์ในที่สุด

    พระพุทธองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทางจงกรมเปื้อนรอยเลือดเป็นทางของพระโสณะด้วย

    ในเวลาต่อมา ได้รับสั่งกับพระโสณะว่า ท่านปรารภความเพียรอย่างหนักจนเท้าทั้งสองข้างได้รับบาดเจ็บ จึงอนุญาตให้ใช้รองเท้าชั้นเดียวได้ เมื่อสิ้นพระกระแสรับสั่งลง พระโสณะนั่งกระหย่งประนมมือกราบทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าพเจ้าทิ้งกองเงิน ๘๐ เล่มเกวียน ทิ้งกัมพลเป็นอันมาก ทิ้งช้าง ๗ เชือกและคฤหาสถ์ออกมาบวช อาจมีคนพูดกันว่า โสณะอุตส่าห์ออกบวช ทิ้งสมบัติพัสถานมหาศาล ก็ยังมาติดข้องกับรองเท้าชิ้นเดียว ดูไม่เหมาะไม่ควรเอาเสียเลย หากจะเป็นพระกรุณา ก็โปรดได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งปวง ได้ใช้รองเท้าได้ด้วยกันเถิด ข้าพระพุทธเจ้าเองก็จะรับพระกรุณา ใช้รองเท้าตามที่ทรงอนุญาต หาไม่ก็มิบังอาจที่จะน้อมรับพระกรุณาอนุญาตได้”

    ด้วยคำกราบทูลนี้เอง จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายใช้รองเท้าชั้นเดียวได้ตั้งแต่บัดนั้น

    ที่มาของรองเท้าพระก็มีมาด้วยประการฉะนี้ครับ

    จากหนังสือนิตยสารน่านฟ้า เล่มที่ ๓๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ (ผู้เขียนเด็กวัดเก่า)
     

แชร์หน้านี้

Loading...