รวบรวมข้อมูลเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 28 กันยายน 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    คงต้องตุนหน้ากาก เอ็น95 กันแล้วครับ จะหาราคาส่งมาให้ครับ
     
  2. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ผมเริ่มจัดของลงกล่อง พวกไฟฉาย ถ่านไฟฉาย กระติกน้ำสนาม เป้สนาม ชุดเดินทาง เสื้อกันฝน ผ้าใบกันฝนเพื่อใช้คลุมเต็นท์ จานช้อน รองเท้าผ้าใบ (ตอนนี้รองเท้าใส่ทำงานก็เป็นแบบ OFF ROAD กึ่งรองเท้าคอมแบต)และเวชภัณฑ์ 1 กล่องเล็ก
     
  3. ยาล้างตา

    ยาล้างตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2007
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +3,539
    หน้ากาก n95 เห็นขายที่ Lotus อันละ 135 บาท มีแบบอื่นของยี่ห้ออื่นด้วย แต่ไม่แน่ใจว่ากันสารระเหยได้หรือเปล่า
     
  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    N-95 และ R-95 ใช้ได้ครับ

    ขอให้มีใส้กรองคาร์บอน...และมีซีลขอบหน้ากาก...มิดชิดนิดนึง
     
  5. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    วันนี้เรามีคาถาอาหารทิพย์มาาฝาก ของงหหลวงปปู่โง่น โสรโย ค่ะ เราลองใช้แล้วได้ผลค่ะไม่หิวจริงๆค่ะ เอาไว้เวลาขาดแคลนอาหาร
    พระคาถาของท่านอาภัชชราพราหมณ์[FONT=&quot]โดย[/FONT][FONT=&quot]หลวงปู่โง่น[/FONT][FONT=&quot]โสรโย[/FONT]
    ปีติภักสาภะวิสสามิเทวานังอะภัสสรายะถะ
    คาถานี้เสกน้ำกินบ่อยจะเป็นอาหารทิพย์ไม่ได้กินก็ไม่หิวอยู่ได้หลายๆวันแล


    ***ถ้าทำแล้วอดนานเกินไปจนทนไม่ใหวจริงๆ ขอถวายชีวิตเลือดเนื้อขัณฑ์ 5
    เป็นนพุทธบูชาเลยค่ะ อธิษฐานประมาว่า

    ขอขอมอบกายถวายชิวิตและทุกกสิ่งทีมีเป็นพุทธบูชา ลูกเห็นตามพระพุทธฝู้ประเสริฐแ้วว่า ขัณฑ์ 5ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
    เป็นภาระหนัก ลูกขอละทั้งหมด ไม่ต้องการมันอีก ขอน้อมใจเดินตามพระพุทธผู้ประเสริฐสู่บ้านพระนิพพาน

    ขอพระพุทธบารมีีช่วยนำพาลูกไปสู่บ้านพระนิพพานเถิด
    นิพพานนัง ปรมัง สุขขัง

    ขอโทษค่ะที่ต้้องโพสหลายที่อยากให้คาถานี้กระจายมากที่สุดค่ะ
    ตรง*** เป็นความคิดเห็นของผู้โพสเองนะค่ะ ไม่มีเจตนาจะอ้างพระ ค่ะ

    ขอขมากรรม
     
  6. ปฐวี

    ปฐวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +457
    ...อันตรายจากน้ำอัดลม
    คุณแม่ยังสาวคนหนึ่งเสียชิวิตเนื่องจากไตวายทั้งสองข้าง เธอได้รับการรักษาที่รพ.เพอร์ทามิน่าเป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยได้รับอนุญาตให้กินได้แค่นํ้า 1 แก้วในหนึ่งวันเท่านั้น หมอให้การรักษาเธอ แต่ดูเหมือนว่าจะสายไปเสียแล้ว เธอเล่าว่าเธอดื่มนํ้าอัดลมตอนทานอาหารกลางวันทุกวัน แต่แม้ว่าเธอจะดื่มนํ้าอัดลมเพียงวันละ 1 แก้ว มันก็สามารถทำลายอวัยวะภายในของเธอได้ ท้ายที่สุดเธอเสียชีวิตลงเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว โดยทิ้งบุตรชายวัย 1 ขวบไว้ นํ้าอัดลมอันตราย!!!

    หัวข้อนี้ไม่ใช่เรื่องการเมืองแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ" โค้ก" ซึ่งน่าสนใจมาก สำหรับผู้ที่ชอบดื่มโค้กหรือเป๊ปซี่ซึ่งคิดว่าคุณรู้เรื่องเกี่ยวกับนํ้าอัดลมดีแล้ว นํ้าอัดลมสามารถ....

    .........ทำความสะอาดห้องนํ้าโดยการรินโค้กลงในโถชักโครก ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วจึงกดชักโครก กรดซิติกในโค้กจะขจัดคราบสกปรกได้อย่างดี

    .........ใช้ขัดจุดสนิมบนกันชนรถโดยการขัดกันชนด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ขยําเป็นชิ้นเล็ก ๆและจุ่มโค้ก ใช้ทำความสะอาดรอยกัดกร่อนบนสายแบตเตอรี่รถโดยการรินโค้กให้ทั่วสายแบต ฟองที่เกิดขึ้นจะช่วยขจัดรอยดังกล่าวได้ ช่วยทำให้รอยสนิมบนผ้าจางลงโดยการจุ่มผ้าในโค้กประมาณ 2-3 นาที

    .........ช่วยอบแฮมที่ชื้นได้ โดยการเทโค้ก 1 กระป๋องลงในกระทะซึ่งตั้งไฟไว้แล้วใส่แฮมที่ห่อด้วย อลูมิเนียมฟอยล์ลงไป แกะฟอยล์ออก 30 นาทีก่อนแฮมสุก และผสมแฮมกับโค้กจะได้นํ้าเกรวี่สีนํ้าตาล ช่วยขจัดรอยฝังแน่นจากผ้าโดยการเทโค้ก 1 กระป๋องลงบนผ้าสกปรก เติมนํ้ายาซักผ้าและซักตามปกติ โค้กจะช่วยทำให้คราบฝังแน่นจางลง


    .........และยังช่วยทำความสะอาดรอยนํ้าซึ่งกระเด็นจากถนนบนกระจกรถได้อีกด้วย แล้วเราก็ดื่มสิ่งนี้ลงไป!!! ข้อมูลเกี่ยวกับโค้กและเป๊ปซี่ นํ้าอัดลม เช่น โค้ก หรือ เป๊ปซี่มีค่ากรดด่างเท่ากับ 3.4 โดยประมาณซึ่งค่าความเป็นกรดนี้สามารถกัดกร่อนฟันและกระดูกได้

    ............ร่างกายคนเราจะหยุดสร้างกระดูก เมื่อเรามีอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นกระดูกจะกร่อนลงประมาณ 8-18% ในแต่ละปี โดยขึ้นอยู่กับความเป็นกรดของอาหารซึ่งบริโภคเข้าไป(ค่าความเป็นกรดไม่ได้ขึ้ นกับรสชาติของอาหาร แต่ขึ้นกับค่าของธาตุโปแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เช่นฟอสฟอรัส เป็นต้น) และจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ส่วนประกอบของแคลเซียมซึ่งมีศักยภาพในการกัดกร่อนกระดูกจะไหลเวียนอยู่ในเส้น เลือดฝอย เส้นเลือดใหญ่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของตับ

    ............นํ้าอัดลมไม่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่อย่างใด (ในแง่ของวิตามิน และแร่ธาตุ) แต่จะมีส่วนผสมของนํ้าตาล มีกรดสูงมาก และมีสารปรุงแต่งจำพวก วัตถุกันเสียและสีมากกว่า บางคนชอบดื่มนํ้าอัดลมเย็นๆหลังทานอาหารแต่ละมื้อ ลองเดาสิว่าคนเหล่านั้นได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

    ............ร่างกายของคนเราขณะย่อยอาหารจะมีอุณหภูมิ 37 องศา แต่นํ้าอัดลมเย็นๆ ที่ดื่มเข้าไปมีอุณหภูมิตํ่ากว่า 37 องศามาก และมีอุณหภูมิเกือบจะ 0 องศาในบางครั้ง กรณีเช่นนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของร่างกาย ตํ่าลง การย่อยอาหารทำได้ยากขึ้นและย่อยอาหารได้น้อยลง ในความเป็นจริงแล้ว อาหารในร่างกายจะเสียและส่งแก๊สซึ่งมีกลิ่นเหม็นออกมา อาหารจะเน่าเปื่อย และทำให้เกิดสารพิษซึ่งจะถูกดูดซึมในลำไส้และจะไหลเวียนในระบบเลือดไปทั่วร่างก าย สารพิษซึ่งแพร่ออกไปทั่วร่างกายนี้จะส่งผลให้เชื้อโรคต่างๆเจริญเติบโตได้ดีขึ้น คิดให้ดีก่อนที่คุณ จะดื่มโค้ก เป๊ปซี่ หรือนํ้าอัดลมประเภทอื่น

    ...........คุณเคยคิดเวลาคุณดื่มนํ้าอัดลมหรือไม่ว่าคุณดื่มอะไรเข้าไป คุณกำลังกลืนสารคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่มีใครในโลกจะแนะนำให้คุณดื่ม สองเดือนต่อมา D2 มีการแข่งขันในมหาวิทยาลัย เดลีว่า "ใครดื่มโค้กได้มากที่สุด" ผู้ชนะดื่มโค้กเข้าไป 8 ขวด และเสียชีวิตทันทีเพราะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด มากเกินไป และมีก๊าซออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ

    ...........หลังจากนั้น ผู้อำนวยการจึงสั่งห้ามขายนํ้าอัดลมในห้องอาหารของมหาวิทยาลัยอีก มีคนใส่ฟันซึ่งหลุดแล้วลงไปในขวดเป๊ปซี่ และมันถูกกัดกร่อนในเวลา 10 วัน ฟันและกระดูกเป็นอวัยวะในร่างกายเพียงอย่างเดียวซึ่งสามารถคงอยู่ได้ อีกหลายปีหลังจากที่มนุษย์เสียชีวิตลง ลองคิดดูสิว่านํ้าอัดลมจะมีผลอย่างไรต่อลำไส้อ่อนๆ และกระเพาะอาหารของเรา

    http://www.forest.ku.ac.th/webboard/for_print.asp?qNo=555&page=

    ...........ถ้าตัดเล็บแช่ในน้ำโค้ก 4 วัน จะละลายหมด
    ...........บริษัทขายน้ำโค้ก ใช้น้ำโค้กทำความสะอาดเครื่องยนต์ของรถ truck
    มานานประมาณ 20 ปีแล้ว ท่านยังอยากดื่ม โค้ก หรือดื่มน้ำกัน เลือกเอาเอง

    ...........เวลาขนย้ายน้ำโค้กเข้มข้นเพื่อส่งตามโรงงานทั่วโลก
    ที่รถ truck จะต้องติดป้ายไว้ว่า "มีวัตถุที่มีกรดกัดกร่อนได้ เป็นอันตราย"


    http://gotoknow.org/blog/bonlight/47946
    [b-nurse] [b-nurse] [b-nurse]
     
  7. ปฐวี

    ปฐวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +457
    <TABLE id=table1 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="85%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=titlehead align=middle>คำแนะนำในการใช้ตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
    (Table of Initial Isolation and Protective Action Distances)</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=bullet>ตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน ใช้ประโยชน์ในการป้องกันประชาชนให้พ้นจากบริเวณที่มีการรั่วไหลของวัตถุอันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษเมื่อสูดหายใจเข้าไป (Toxic by Inhalation, TIH) รวมทั้งวัตถุที่ใช้ในสงคราม หรือให้ก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับน้ำ ตารางดังกล่าวใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ดำเนินการโต้ตอบภาวะฉุกเฉินในขั้นต้น ก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจะเดินทางมาถึง ระยะทางที่ปรากฏในตารางจะแสดงขอบเขตพื้นที่ซึ่งจะได้รับผลกระทบภายในระยะเวลา 30 นาทีแรก หลังจากที่มีการหกรั่วไหลของสารอันตราย และอาจจะขยายเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป เขตอันตราย (Initial Isolation Zone) หมายถึง พื้นที่โดยรอบอุบัติภัยที่เกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้ประชาชนในทิศเหนือลมได้รับอันตรายและอาจทำให้ประชาชนในทิศใต้ลมเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    เขตควบคุมป้องกัน (Protective Action Zone) หมายถึง พื้นที่ใต้ลมของอุบัติภัยที่เกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการป้องกันอันตรายและ/หรือได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในขั้นร้ายแรงหรือในขั้นที่ไม่สามารถหวนเป็นปกติได้
    ตารางดังกล่าวจะให้คำแนะนำเฉพาะสำหรับการหกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อยและปริมาณมากซึ่งอาจเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือกลางคืน
    การปรับเปลี่ยนระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกันสำหรับเหตุการณ์เฉพาะบางอย่างควรจะกระทำโดยบุคลากรด้านเทคนิคที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะกรณี ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีแนวทางแน่นอนในการปรับเปลี่ยนตารางดังกล่าวในเอกสารเล่มนี้ อย่างไรก็ตามอาจใช้แนวทางทั่วไปต่อไปนี้
    <HR width="85%" color=#000000 noShade>ปัจจัยที่อาจเปลี่ยนระยะควบคุมป้องกัน
    คู่มือจะกล่าวถึงระยะอพยพที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากเกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่มีวัตถุอันตรายจะทำให้อันตรายจากพิษของวัตถุมีความสำคัญน้อยกว่าอันตรายจากอัคคีภัยหรือการระเบิด ถ้ามีจำนวนภาชนะหรือถังบรรจุมากกว่า 1 ถัง หรือรถขนส่งมากกว่า 1 คัน ที่เกี่ยวข้องกับการรั่วไหล อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มระยะ หากเกิดการรั่วไหลขนาดใหญ่
    สำหรับวัตถุซึ่งมีระยะควบคุมป้องกัน 11.0+ ก.ม. (7.0+ ไมล์) ระยะที่แท้จริงจะเพิ่มมากขึ้นในบางสภาวะอากาศ เช่น กรณีที่ถ้ากลุ่มของไอระเหย (Vapor Plume) ของวัตถุอันตรายผ่านเข้าไปในหุบเขาหรืออยู่ระหว่างตึกสูงๆ ระยะดังกล่าวอาจจะมีขนาดเพิ่มขึ้นมากกว่าที่แสดงในตาราง เนื่องจากการผสมกันของไอระเหยกับบรรยากาศมีน้อยกว่า อีกกรณีหนึ่ง เช่น การรั่วไหลในช่วงเวลากลางวันในบริเวณซึ่งมีความแปรปรวนของอากาศต่ำหรือมีหิมะปกคลุมหรือเกิดขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกและมีลมสงบ อาจต้องการระยะควบคุมป้องกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากในสภาวะดังกล่าวสิ่งปนเปื้อนในอากาศจะผสมกันและแพร่กระจายตัวได้ช้ากว่าและอาจเคลื่อนตัวไปได้ไกลกว่าในทิศทางตามลม นอกจากนั้น เขตควบคุมป้องกันอาจมีระยะทางเพิ่มขึ้น หากอุณหภูมิของของเหลวที่หกรั่วไหลหรืออุณหภูมิของอากาศขณะนั้นสูงกว่า 30 C (86 F)
    วัตถุที่เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วให้ก๊าซพิษจำนวนมาก จะมีอยู่ในตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน อย่างไรก็ตาม ต้องจำไว้ว่าวัตถุพวก TIH (เช่น Bromide trifluoride, Thionyl chloride เป็นต้น) สามารถให้วัตถุ TIH ชนิดอื่น เมื่อหกรั่วไหลลงในน้ำ สำหรับวัตถุพวกนี้ต้องเปิดตารางของทั้ง 2 สาร (สารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์) ในกรณีที่ไม่ชัดเจนว่ามีการหกรั่วไหลลงบนพื้นดินหรือแหล่งน้ำ หรือทั้งพื้นดินและแหล่งน้ำ ให้เลือกระยะควบคุมป้องกันที่มากกว่า ตารางต่อจากตารางกำหนดเขตอันตราย และเขตควบคุมป้องกัน จะเป็นตารางแสดงสารเคมีที่ เมื่อหกรั่วไหลลงน้ำแล้วให้ก๊าซพิษ และแสดงก๊าซพิษที่สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำผลิตออกมา
    สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วให้ก๊าซพิษรั่วไหลสู่แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ หรือลำธาร แหล่งกำเนิดของก๊าซพิษนี้ อาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำ ห่างจากจุดที่รั่วไหลเป็นระยะทางไกล
    ตารางกำหนดเขตอันตราย และเขตควบคุมป้องกันจะแสดงวัตถุอันตรายที่ใช้เป็นอาวุธสงครามบางอย่าง ซึ่งระยะทางจะกำหนดโดยการคำนวณจากเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด ในกรณีที่ใช้วัตถุนี้เป็นอาวุธเท่านั้น
    <HR width="85%" color=#000000 noShade>ปัจจัยในการตัดสินใจควบคุมป้องกัน
    ทางเลือกในการป้องกันภัยในแต่ละสถานการณ์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัย ในบางกรณีการหนีภัยอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด บางกรณีการหาที่กำบังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ในบางครั้งอาจจะต้องใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ในภาวะฉุกเฉินหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องให้คำแนะนำแก่สาธารณชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากสาธารณชนจำเป็นต้องทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนคำแนะนำต่างๆ ในการหนีภัยหรือการโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน
    การประเมินปัจจัยต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ จะช่วยให้การหนีภัย หรือการป้องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของปัจจัยดังกล่าวอาจแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของภาวะฉุกเฉินในกรณีเฉพาะบางกรณี ปัจจัยอื่นๆ อาจมีความจำเป็นในการวิเคราะห์และพิจารณาด้วยเช่นกัน รายการต่อไปนี้จะเป็นตัวชี้ชนิดของข้อมูลซึ่งอาจจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจขั้นต้น
    <TABLE class=bullet id=table2 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>วัตถุอันตราย
    - ความรุนแรงของอันตรายต่อสุขภาพ
    - ปริมาณที่เกี่ยวข้อง
    - ภาชนะบรรจุ/การควบคุมการถ่ายเท
    - อัตราการเคลื่อนที่ของไอระเหย
    กลุ่มประชากรซึ่งได้รับผลกระทบ
    - สถานที่
    - จำนวนประชากร
    - เวลาในการหนีภัยหรือการป้องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุ
    - ความสามารถในการควบคุมการหนีภัย หรือการหลบภัย ณ จุดเกิดเหตุ
    - ชนิดของตัวอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
    - สถาบันหรือกลุ่มประชากรที่สำคัญ เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงพยาบาล เป็นต้น
    สภาพทางอุตุนิยมวิทยา
    - ผลต่อการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆและไอระเหย
    - ความแปรปรวนของอากาศ
    - ผลต่อการหนีภัย หรือการป้องกันภัย ณ สถานที่เกิดเหตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR width="85%" color=#000000 noShade> การควบคุมป้องกัน
    การควบคุมป้องกัน (Protective Actions) เป็นขั้นตอนที่ทำให้เจ้าหน้าที่ระงับเหตุเบื้องต้น และสาธารณชนมีความปลอดภัยจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล ตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน (แถบสีเขียว) ในข้อมูลขนาดของพื้นที่ใต้ลม ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากกลุ่มก๊าซพิษ ประชาชนในบริเวณนี้ควรอพยพออกจากพื้นที่ และ/หรือหาที่หลบภัยในอาคาร
    เขตอันตรายและห้ามเข้า (Isolate Hazard Area and Deny Entry) คือ บริเวณที่ต้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระงับเหตุที่ไม่ได้สวมชุดป้องกันสารเคมีออกนอกบริเวณ การกั้นเขตอันตรายควรทำเป็นอันดับแรก เพื่อควบคุมบริเวณที่ต้องใช้ระงับเหตุ ให้ดูตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกันสำหรับข้อมูลของวัตถุแต่ละตัว
    การอพยพ (Evacuate) หมายถึง การเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากบริเวณอันตรายไปที่ที่ปลอดภัยกว่า ในการอพยพต้องมีเวลามากพอเพื่อการเตือนประชาชน เตรียมพร้อมและย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งหากมีเวลามากพอ การอพยพจะเป็นวิธีการควบคุมป้องกันที่ดีที่สุด เริ่มต้นโดยการอพยพประชาชนใกล้เคียงหรือที่จุดเกิดเหตุ เมื่อหน่วยงานช่วยเหลืออื่นมาถึงให้เพิ่มพื้นที่การอพยพในทิศใต้ลมและทิศตั้งฉากกับกระแสลมเป็นระยะทางอย่างน้อยเท่ากับตามที่คู่มือแนะนำ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการอพยพตามระยะทางที่กำหนดไว้ในคู่มือแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะมีความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ ไม่ควรให้ประชาชนรวมตัวกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ควรอพยพประชาชนให้อยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงพอ และเป็นระยะที่ไม่ต้องอพยพอีกหากลมเปลี่ยนทิศ
    ที่หลบภัยในที่เกิดเหตุ (Shelter In-Place) ประชาชนในที่เกิดเหตุต้องหาที่หลบภัยในอาคาร และอยู่ในนั้นจนกว่าเหตุการณ์จะสงบลง การหลบภัยในอาคารจะทำต่อเมื่อการอพยพประชาชนทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น หรือไม่สามารถทำการอพยพประชาชนได้ เจ้าหน้าที่ควรนำประชาชนเข้าไปหลบในตัวอาคาร ปิดประตูและหน้าต่างทุกบาน รวมทั้งปิดระบบระบายอากาศ ระบบทำความร้อนและความเย็นทั้งหมด การหลบภัยในอาคาร อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ถ้าหาก (ก) ไอระเหยสามารถติดไฟได้ (ข) ใช้เวลานานในการลดความเข้มข้นของก๊าซในที่เกิดเหตุ หรือ (ค) ไม่สามารถปิดอาคารได้อย่างมิดชิด นอกจากนั้นยังสามารถใช้ยานพาหนะเป็นที่หลบภัยได้ชั่วคราว ซึ่งต้องปิดหน้าต่างและระบบระบายอากาศของยานพาหนะนั้น อย่างไรก็ตามการใช้ยานพาหนะเป็นที่กำบังจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการหลบภัยในอาคาร สิ่งที่จำเป็นมากอีกประการหนึ่งคือ ต้องมีการติดต่อกับผู้ที่หลบภัยอยู่ในตัวอาคาร เพื่อแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก ผู้หลบภัยควรอยู่ห่างจากหน้าต่าง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากเศษกระจก หรือโลหะจากการติดไฟและ/หรือการระเบิด
    อุบัติภัยจากวัตถุอันตรายแต่ละเหตุการณ์จะมีความแตกต่างกัน แต่ละเหตุการณ์จะมีปัญหาและจุดวิกฤตแตกต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกการแก้ไขปัญหาเพื่อปกป้องประชาชนอย่างระมัดระวัง ข้อมูลต่างๆ ในคู่มือ เป็นการช่วยตัดสินใจเบื้องต้นว่าควรให้การปกป้องสาธารณชนอย่างไร เจ้าหน้าที่ต้องรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม และประเมินสถานการณ์จนกระทั่งสามารถแก้ไขเหตุการณ์ให้เป็นปกติ
    <HR width="85%" color=#000000 noShade>
    ข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
    การกั้นบริเวณเบื้องต้น และระยะควบคุมป้องกันในคู่มือเล่มนี้ ถูกกำหนดให้ใช้ในกรณีที่มีการรั่วไหลทั้งในปริมาณน้อยหรือการรั่วไหลในปริมาณมาก เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน การประเมินและวิเคราะห์ได้พิจารณาข้อมูลแหล่งกำเนิดแบบจำลองการแพร่กระจายกลุ่มไอของวัตถุ การประยุกต์ทางสถิติ ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา และมาตรฐานการสัมผัสทางพิษวิทยาสำหรับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด
    ปริมาณและอัตราการแพร่ของวัตถุสู่บรรยากาศ พิจารณาจาก 4 ปัจจัย
    1. ข้อมูลจากฐานข้อมูลของ U.S.DOT HMIS
    2. ขนาดของภาชนะบรรจุสำหรับการขนถ่ายวัตถุอันตราย
    3. อัตราการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุที่ถูกทำลาย
    4. การปล่อยไอสาร โดยการระเหยจากของเหลวที่มีการหก/รั่วไหล หรือการปล่อยไอก๊าซโดยตรงจากภาชนะบรรจุออกสู่บรรยากาศหรือทั้งสองกรณี นอกจากนั้นแบบจำลองการแพร่ของวัตถุสามารถคำนวณจากไอก๊าซพิษที่เกิดจากการหกรั่วไหลของวัตถุที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ การพิจารณาว่าวัตถุที่รั่วไหลออกมาปริมาณมากน้อยเพียงใดพิจารณาจาก
    • การรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย (Small Spills) หมายถึง การรั่วไหลของวัตถุอันตรายปริมาณน้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 ลิตร
    • การรั่วไหลปริมาณมาก (Large Spills) หมายถึง การรั่วไหลของวัตถุอันตรายปริมาณมากกว่า 200 ลิตร
    แบบจำลองของการแพร่กระจายในทิศใต้ลมนั้นจะคำนวณปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยในทิศทางตามลมในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 120 เมือง ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก มากกว่าระยะเวลา 5 ปี การคำนวณการแพร่กระจายของวัตถุขึ้นกับเวลาที่วัตถุแพร่ออกจากแหล่งกำเนิด และความเข้มข้นของกลุ่มไอระเหยของวัตถุอันตราย เนื่องจากการผสมของวัตถุกับอากาศในบรรยากาศจะมีผลต่อการแพร่กระจายของกลุ่มไอระเหยของวัตถุในเวลากลางคืนน้อยกว่าเวลากลางวัน ดังนั้น จึงมีแนวทางในการป้องกัน/ควบคุมที่แตกต่างกันในเวลากลางวันและกลางคืน สำหรับตารางนี้
     
  8. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ความรู้เรื่องอหิวาตกโรค
    โดยสุวรรณา เทพสุนทร

    [​IMG]
    <DL><DT>1. ลักษณะโรค <DT> <DD>เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง(อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที อัตราป่วยตายจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1 <DD> <DT>2. การวินิจฉัยโรค <DT> <DD>ใช้วิธีการเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด darkfield หรือ phase contrast จะเห็นลักษณะการเคลื่อนที่แบบเฉพาะของเชื้อ Vibrio ซึ่งจะถูกยับยั้งด้วย antiserum จำเพาะ ในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อใหม่ๆ การแยกเชื้อต้องยืนยันด้วยการทดสอบทางชีวเคมีเบื้องต้น ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบดูด้วยว่าเชื้อโรคผลิตสารพิษด้วยหรือไม่ ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตโรคประจำถิ่น เชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ต้องสงสัยรายแรกๆ ต้องยืนยันโดยการทดสอบทางชีวเคมีและซีโรโลยี่ที่เหมาะสมและสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้นด้วย <DD> <DT>3. สาเหตุ <DT> <DD>เกิดจากการติดเชื้อ Vibrio cholerae serogroup O(โอ)1 ซึ่งมี 2 biotypes คือ classical และ El Tor แต่ละ biotype แบ่งออกได้เป็น 3 serotypes คือ Inaba, Ogawa และ Hikojima เชื้อเหล่านี้จะสร้างสารพิษเรียกว่า Cholera toxin ทำให้เกิดอาการป่วยคล้ายกัน ปัจจุบันพบว่าการระบาดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ biotype El Tor เป็นหลักแทบไม่พบ biotype classical เลย ในปี พ.ศ. 2535-2536 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในอินเดียและบังคลาเทศสาเหตุเกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่คือ Vibrio cholerae O139 โดยที่ครั้งแรกตรวจพบสาเหตุการระบาดจากเชื้อ V. cholerae non O1 ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับ V. cholerae antiserun O2-O138 ซึ่งปรกติกลไกก่อโรคจากเชื้อกลุ่มนี้มิได้เกิดจาก Cholera toxin สายพันธุ์ใหม่ที่พบสามารถสร้าง Cholera toxin ได้เหมือน Vibrio cholerae O1 ต่างกันที่โครงสร้าง Lipopolysaccharides (LPS) ที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของเชื้อ อาการทางคลินิกและลักษณะทางระบาดวิทยาเหมือนกับโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงทุกประการ ดังนั้นองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รายงานว่าเป็นโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงด้วย สำหรับเชื้อ V. cholerae ในปัจจุบันมีถึง 194 serogroups การรายงานเชื้อที่ไม่ใช่ทั้ง O1 และ O139 ให้เรียกว่าเป็น V. cholerae non O1/non O139 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะและลำไส้อักเสบ เชื้อ V. cholerae non O1/non O139 บาง serotypes อาจผลิต cholera toxin ก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงได้ จึงจำเป็นต้องตรวจการสร้างสารพิษชนิดนี้ด้วยเพื่อป้องกันการระบาดใหญ่ <DD> <DT>4. วิธีติดต่อ <DT> <DD>ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่มีชีวิตปนอยู่ เชื้อ El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน การรับประทานอาหารทะเลดิบ หรืออาหารดิบๆสุกๆ เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วไป การติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรง พบได้น้อยมาก <DD> <DT>5. ระยะฟักตัว <DT> <DD>ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ไปจนถึง 5 วัน เฉลี่ยประมาณ 2-3 วัน<DD> <DT>6. ระยะติดต่อ <DT> <DD>ตลอดระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อในอุจจาระ ซึ่งปกติจะพบเชื้อได้อีก 2-3 วัน หลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว แต่บางรายอาจกลายเป็นพาหะต่อไปได้อีกหลายเดือน การให้ยาปฏิชีวนะ เช่น tetracycline จะช่วยลดระยะเวลาการแพร่เชื้อ ในผู้ใหญ่พบว่าการติดเชื้อเรื้อรังที่ทางเดินน้ำดี อาจเป็นได้นานเป็นปี และร่วมกับมีการปล่อยเชื้อ Vibrio ออกมากับอุจจาระเป็น ระยะได้ <DD> <DT>7. อาการและอาการแสดง <DT> <DD>ถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันร่วมกับมีอาการและอาการแสดงของการขาดน้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ไม่ปวดท้อง <DD> <DT>8. ระบาดวิทยาของโรค <DT> <DD>การระบาดเริ่มจากประเทศอินเดีย ในศตวรรษที่ 19 ขยายไปทั่วโลกจนถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 โรคเริ่มกระจายอยู่เฉพาะประเทศแถบเอเชีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เชื้อ Vibrio cholerae ชนิด El Tor ได้ระบาดจากอินโดนีเซียไปทั่วเอเชีย ยุโรปตะวันออก และแอฟริกาและจากทางด้านเหนือของแอฟริกาไปยังแหลมไซบีเรีย (สเปน และโปรตุเกส) และเข้าไปยังอิตาลี <DD> <DT>9. การรักษาจำเพาะ <DT> <DD>จำเป็นต้องรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยสารน้ำที่ประกอบด้วยสารละลายเกลือแร่ในปริมาณที่พอเพียงเพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดและภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถให้การรักษาโดยให้สารละลายดังกล่าวทางปาก ในปริมาณที่เทียบเท่ากับปริมาณน้ำที่สูญเสียไปโดยประมาณคือ ร้อยละ 5 ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในรายที่เป็นน้อยร้อยละ 7 ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในรายที่มีอาการปานกลาง และร้อยละ 10 ในผู้ป่วยมีอาการช็อค ควรให้น้ำเกลือ isotonic ทางหลอดเลือดทันที น้ำเกลือควรประกอบด้วยไบคาร์บอเนต (อะซิเตรต หรือแล็กเตตไอออน) 24-48 มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตร และ 10-15 มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตรของโปแตสเซียม เช่น Dacca solution หรือ Ringer
     
  9. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ถ้าจะเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ผมแนะนำให้หัดกินหนอนครับ เพราะถ้าภัยพิบัติเกิดขึ้นจริงอย่างว่า ศพจะเกลื่อนเมืองเป็นแหล่งเพาะพันธ์หนอนชั้นยอด...(glass) ...แต่ผมไม่เอาด้วยคนนึงครับ
     
  10. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    ขอบคุณที่แนะนำ ในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ และไม่กล้าทำ
    5555555 แล้วจะรู้ว่า ความหิวเป็นโรค ที่รักษาไม่หาย
     
  11. vijit_j

    vijit_j เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    739
    ค่าพลัง:
    +2,866
    ถ้ามีธนาคารข้าวก็จะดีนะครับ ทั้งข้าวเปลือก/ข้าวสาร สร้างบนที่ๆภัยไม่ถึง
     
  12. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    -----------

    คิดกันอยู่จ้า แทนที่จะงอมือหงิกๆ รอแต่รัฐบาลจะมาช่วย และลำบากจนร้อนไปถึงในหลวง

    ขอให้ทุกท่านเตรียมปัจจัย 4 เฉพาะของตนเอง และครอบครัวตัวเองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 4 เดือน และไม่ไปทำให้คนอื่นลำบาก หรือไปเป็นภาระแกคนอื่น ข้อมูลเยอะแล้ว ลงมือทำได้แล้วจ้านักคิดทั้งหลาย[b-nurse]
    ก่อนตั้งธนาคาร ขอข้าวสัก 10-20 กระสอบเป็นทุนก่อนดีม่ะ กระสอบล่ะไม่กี่พันเอง เอิ๊กๆๆ(deejai)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2007
  13. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ขอเสนอว่าใช้วิธีลงขันแล้วแต่กำลังทรัพย์ หรือ บริจาคเป็นสิ่งของก็ได้ แต่ต้องมีสถานที่เก็บก่อน เน้นปัจจัย 4
     
  14. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    พี่Marine24 เล็งที่ไหนไว้ก็เอา kapook-16498-7129.gif เก็บที่นั่นหล่ะจ้า หนูกิ๊กแบ่งสรรพกำลังไว้ 3-4 ที่แล้ว และสำรวจการเดินทางพร้อมพกแผนที่ไว้แล้วด้วย 5555
    คุณพี่ใช้โซฮอลรึเปล่าเนี่ย? kapook-16523-5421.gif
     
  15. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    [​IMG]

    ถ้าบริจาคเป็นสิ่งของ ขอแนะนำขวดเปล่าของน้ำดื่มที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนำมาใส่อาหารแห้งอื่นๆ ได้หลายอย่าง เช่นใส่ข้าวสารแล้วปิดฝาขวดให้แน่น กันน้ำท่วมและมอดแมลงได้ ถ้าเป็นขวดใหญ่ๆ สามารถนำมาใช้เป็นทุ่นลอยน้ำ หรือใช้เชือกนำมามัดรวมกันเป็นแพลอยน้ำ และสามารถนำมาทำเป็นที่กรองน้ำดื่มอย่างง่ายๆ ได้อีกด้วย

    [​IMG]

    ส่วนอาหารแห้งขอแนะนำให้บริจาคเป็นข้าวสาร และเมล็ดถั่วเหลือง เพราะสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยเฉพาะเมล็ดถั่วเหลืองสามารถนำมาทำเป็นเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ไว้ให้โปรตีนแทนเนี้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2007
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รู้ “ทางหนีทีไล่” อุบัติเหตุวัตถุอันตราย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>9 พฤศจิกายน 2550 17:37 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ซากรถบรรทุกหลังเกิดเหตุโศกนาฏกรรมบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่เมื่อปี พ.ศ.2533 (ภาพจากบอร์ดของเว็บไซต์ www.bangkoknight-today.com)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> วัตถุอันตรายคืออะไร? หลายคนอาจไม่รู้จักดีนัก ที่สำคัญ เรา้จะหลีกเลี่ยงอันตรายในยามเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุเหล่านั้นได้อย่างไร ทั้งรถบรรทุกแก๊สคว่ำ รังสีรั่วไหล...จะทำอย่างไรกันดี

    นายมงคล พันธุมโกมล กรรมการสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจวัตถุอันตราย อธิบายว่า วัตถุอันตรายหมายถึงวัตถุที่เป็นข้อกำหนดร่วมกันระหว่างประเทศ จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือสารที่มีอันตราย ซึ่งมีการขนส่งหรือการส่งออกระหว่างประเทศ 9 ประเภทด้วยกัน เช่น วัตถุระเบิด สารติดไฟ สารพิษ และสารกัมมันตรังสี

    เมื่อใดที่มีการเคลื่อนย้ายต้องดำเนินไปตามระเบียบข้อบังคับ ไม่ให้เป็นพิษภัยต่อคนรอบข้างได้

    วัตถุอันตรายทั้ง 9 ได้แก่

    1.วัตถุระเบิด
    คือวัตถุที่ถูกความร้อนแล้วเกิดก๊าซจำนวนมหาศาล ให้แรงดัน และ้เกิดไฟ ทำให้ต้องมีการขนส่งลักษณะเฉพาะ โดยประเทศไทยมีกฎหมายดูแลเฉพาะ ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหม

    2.แก๊สไวไฟ เช่น แก๊สแอลพีจี แก๊สหุงต้ม และแก๊สพิษ เช่น แก๊สคลอรีน

    3.ของเหลวไวไฟ
    เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากสุด เช่น น้ำมัน ตัวทำละลาย และสีต่างๆ ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

    4.ของแข็งไวไฟ เช่น ไม้ขีด หรือธาตุฟอสฟอรัสในรูปต่างๆ

    5.วัตถุที่ทำปฏิกิริยาออกซิไดส์แล้วเกิดแก๊สออกซิเจนจำนวนมหาศาล ซึ่งช่วยให้ไฟติดดีขึ้น

    6.สารพิษและวัตถุติดเชื้อที่จะมีอันตรายต่อคนและสัตว์ เช่น ของเสียจากโรงพยาบาล

    7.สารกัมมันตรังสี ซึ่งมีสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ออกกฎหมายดูแลพิเศษ 8.สารกัดกร่อน หรือสารจำพวกกรดและด่างต่างๆ

    และ 9.สารพิษอื่นๆ ที่จัดลงใน 8 ประเภทข้างต้นไม่ได้

    นายมงคล ชี้ว่า หากประชาชนทั่วไปพบเห็นอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับวัตถุดังกล่าว จะทราบชนิดของวัตถุอันตรายนั้นๆ ได้จากฉลากหรือป้ายสัญลักษณ์ตัวเลขและรูปภาพที่ติดกับบรรจุภัณฑ์สินค้า หรือท้ายและข้างตัวถังรถบรรทุกขนส่ง ซึ่งจะจำกัดความเร็ว 60 กม./ชม.

    จุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนช่วยแจ้งข่าวสารนั้นไปยังเจ้าหน้าที่ซึ่งจะเข้ามารับมือกับปัญหา เช่น การกู้วัตถุระเบิด หรือการเข้าดับไฟอย่างถูกวิธี ขณะที่ศูนย์ความปลอดภัยคมนาคมได้เิปิดหมายเลขโทรศัพท์กลาง 1356 รับแจ้งเหตุ เพื่อเป็นศูนย์กลางแจ้งเหตุจากประชาชน และประสานงานไปยังเจ้าหน้่าที่เข้าแก้ปัญหาได้

    อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องทำเมื่อประสบเหตุดังกล่าวคือ ต้องนำตัวเองออกห่างจากจุดเกิดเหตุให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วรีบโทรศัพท์แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเินินการทันที

    ไม่ควรพยายามแก้ปัญหาเองหากไม่มีความรู้จริงเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
    แต่ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้่าที่ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยตรง เช่น การดับเพลิงจากของแข็งไวไฟบางชนิดที่ไม่สามารถดับด้วยน้ำได้ แต่กลับยิ่งลุกไหม้และอาจเกิดการระเบิดซ้ำด้วย

    เวลาเกิดเหตุเหล่านี้จะมีอยู่ 3 จุดที่ต้องรีบทำก่อน ขั้นแรกคือต้องดับไฟ ไม่ให้การลุกลามต่อเนื่อง ขั้นที่ 2 คือ การหยุดการรั่วไหล และขั้นที่ 3 คือการช่วยเหลือคนเจ็บ” นายมงคล กล่าวและเสริมว่า ข้อปฏิบัติ 2 ข้อแรก ผู้ดำเนินการต้องไม่อยู่ใต้ลมและควรอยู่ในที่สูงจากที่เกิดเหตุ ส่วนการช่วยเหลือคนเจ็บต้องเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ เช่น หน่วยแพทย์พยาบาลเท่านั้น

    ด้านสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายในประเทศ นายมงคล ระบุว่า มีจำนวนน้อยลงกว่าในอดีตมาก เพราะมีการจัดทำมาตรฐานต่างๆ เพื่อบริหารจัดการวัตถุอันตรายอย่างชัดเจนแล้ว เช่น การกำหนดมาตรฐานของแท็งก์บรรจุวัตถุอันตราย โดยการปรับปรุงแก้ไขจากบทเรียนในอดีต

    อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องมีการรั่วไหลให้น้อยที่สุด” นายมงคล กล่าว

    ขณะที่ตัวอย่างอุบัติเหตุครั้งสำคัญในประเทศ เช่น การพลิกคว่ำของรถขนแก๊สแอลพีจีบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่เมื่อปีพ.ศ.2533 การเกิดเหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีที่ท่าเรือคลองเตยในปี พ.ศ.2534 และการเกิดแก๊สรั่้่วไหลบนทางด่วนบางนา–ตราด เมื่อ 19 ส.ค.ที่ผ่่านมา เป็นต้น โดยทางหลวงหมายเลข 3 ภาคตะวันออกจะเป็นเส้นทางที่มีการขนส่งวัตถุอันตรายมากที่สุดเพราะเป็นเส้นทางสู่จุดขนย้ายสินค้าสำคัญของประเทศ

    ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการวัตถุอันตรายขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ออกข้อกำหนดการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ.2545 และข้อกำหนดด้านการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทยเล่มที่ 2 สำหรับเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับแนวทางสากลของยูเอ็น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    วิธีเก็บเสบียงอาหารไม่ให้หมดอายุ

    มีสัญญานเตือนภัยมาจากสำนักปฎิบัติธรรมหลายๆ แหล่งว่า จะมีภัยพิบัติเกิดในปลายปีนี้ไปจนถึงกลางปีหน้า (ปี 2551)ค่อนข้างจะแน่นอน และจะไม่มีการเลื่อนอีกต่อไปแล้ว พวกเราจึงควรเริ่มกักตุนเสบียงอาหาร ให้เพียงพอกับการดำรงชีพของตัวเองและคนในครอบครัว อย่างน้อยให้สามารถอยู่กันได้ 3 เดือนขึ้นไป

    การเก็บเสบียงอาหารไม่ให้หมดอายุก่อนที่จำนำมาบริโภคกันนั้น คุณคณานันท์ได้เคยให้คำแนะนำไว้ว่า ให้ดูว่าอาหารส่วนไหนใกล้จะหมดอายุก็ให้นำส่วนนั้นมาบริโภคก่อน แล้วรีบซื้ออาหารใหม่มาทดแทนเสบียงอาหารที่เราได้กันเอาไว้ในยามเกิดภัยพิบัติ และจัดเรียงเสบียงอาหารนั้นใส่กล่องหรือเป้สัมภาระให้เรียบร้อย พร้อมที่จะขนใส่รถยนต์ส่วนตัวเดินทางได้ทันที ภายใน 1-2 ชั่วโมงที่ทราบข่าวว่าจะเกิดภัยพิบัติในเขตที่เราอาศัยอยู่ เช่นเขื่อนแตก หรือแผ่นดินไหวในอ่าวไทยและกำลังจะเกิดสึนามิพัดเข้ามา เป็นต้น

    สำหรับท่านที่อยู่ในเขตปลอดภัย ก็ควรเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอเช่นเดียวกัน เพราะเวลานั้นระบบสาธารณูปโภคจะเสียหายหมด ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา ระบบธนาคารใช้การไม่ได้ ระบบสื่อสารก็ล่มหมด การสัญจรไปมาถูกตัดขาด โจรผู้ร้ายก็ออกมาปล้นจี้เพราะต้องการอาหาร ฯลฯ

    สำหรับท่านที่อยู่ในเขตอันตราย ควรเตรียมจักรยานใส่ท้ายรถยนต์ส่วนตัวเอาไว้ เมื่อรถยนต์กลายเป็นเศษเหล็ก เพราะถนนหนทางพังพินาศไปเนื่องจาก น้ำท่วม แผ่นดินไหว แผ่นดินแยก แผ่นดินยุบ ตึกรามบ้านช่องพังทลายลงมาปิดทับถนนหนทางหมด จักรยานที่ท่านเก็บเอาไว้ท้ายรถก็จะกลายเป็นพระเอกขึ้นมาทันที ท่านสามารถนำจักรยาน ออกมาบรรทุกสัมภาระอันแสนจะหนักอึ้งของท่านได้ โดยการเข็นหรือลากจูงไป ควรเตรียมเชือกไว้ผูกสัมภาระติดกับจักรยานเอาไว้ด้วย (ในสมัยสงครามเวียตนามพวกทหารเวียตนามเขาก็ใช้จักรยานบรรทุกสัมภาระ เดินทางไปตามป่าเขาและที่ทุรกันดารกันได้เป็นอย่างดี)
     
  18. vijit_j

    vijit_j เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    739
    ค่าพลัง:
    +2,866
    ครั้งแรกสัมภาระของผมอยู่ในเป้ขนาด 80 ลิตร และยังมีเต้นท์กับถุงนอนอีกเอาขึ้นบ่าได้แต่เดินไม่ไหว ปัจจุบันใช้เป้ขนาดกลางๆ (ของไทย) สองใบตัดสายสะบายออกเย็บติดกันพาดท้ายจักรยานเป็นแบบทั่วริ่งของฝรั่งโดยมีเป้เล็กๆอีกใบสะพายหลัง
    คือคิดเหมือนคุณเกษมที่เวียตนามถอดปืนใหญ่ใส่จักรยานตอนถล่มเดียนเบียนฟู
     
  19. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ความจริงจักรยาน สามารถดัดแปลงให้บรรทุกสัมภาระจำนวนมากๆ ได้โดยการหาไม้พลองของลูกเสือสัก 2 อัน พาดท้ายจักรยานชนิดที่มีที่นั่งซ้อนท้าย ทำเป็นแขนยื่นออกไปด้านซ้ายขวาของจักรยาน โดยใช้ลวดมัดติดกับจักรยานให้แน่น ก็จะมีเนื้อที่ไว้บรรทุกสัมภาระได้อีกเป็นจำนวนมาก แต่อย่าลืมซื้อที่สูบลมและยางในล้อจักรยานไว้เปลี่ยนเมื่อเกิดยางแตกเอาไว้ด้วยครับ

    สำหรับที่สูบลมจักรยาน ขอแนะนำให้ซื้อแบบที่ใช้ขาเหยี่ยบอันละประมาณ 4-5 ร้อยบาทแต่ก็ใช้ได้คุ้มค่า ใช้สูบยางรถยนต์ก็ได้ ใช้สูบยางมอเตอร์ไซต์ก็ได้ ใช้สูบเรือยางหรือห่วงยางก็ได้ เวลาใช้ก็ไม่ต้องใช้แรงมากเพียงใช้ขาเหยียบก็ใช้ได้แล้ว
     
  20. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ยางในรถมีสำรอง 2- 4 เส้น พอต่อเป็นแพได้โดยอาจใช้ท่อพีวีซีมาผูกยึดแทนไม้ไผ่ หรือถังแกลน้ำมัน ขนาด 5 ลิตร 2 ใบผูกติดกันใช้ได้ต่อ 1 คนแทนเสื้อชูชีพเป็นทุ่นช่วยลอยตัว ส่วนรถจักรยาน ถ้ามีรถที่เขาเข็นของพวกข้าวสาร เข่งผัก มาผูกต่อท้ายรถจักรยาน ก็จะทำให้บรรทุกสัมภาระได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสัมภาระที่มีน้ำหนักมาก เพราะรถเข็นของมีล้อขนาดเล็กรองรับอยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...