{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    แม้เป็นรุ่นสุดท้าย รุ่นนี้ก็แพงแล้ว :cool:
    เพิ่งได้ทราบจากเพื่อนว่าสังขารท่านก็ไม่เน่าเปื่อย
    ใช่ไหมครับ พี่บอย
     
  2. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๓ : ลาสิกขาบท ชีวิตวัยหนุ่มที่บ้านเกิด
     
         ในช่วงนั้นกำลังอยู่ในขณะผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตลง ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ก็เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ในขณะนั้นพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
     
         หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ญาครูอินทร์พระอาจารย์ จึงพาสามเณรลี เดินธุดงค์บุกป่าผ่าดงข้ามขุนเขาน้อยใหญ่มุ่งสู่จังหวัดสุรินทร์ สามเณรลีเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ สง่างาม ผิวพรรณดี ผิดกับหนุ่มชาวบ้านทั่วไป เมื่อกลับมาเห็นครอบครัว โยมพ่อ โยมแม่ลำบาก ก็ขออนุญาต "ญาครูอินทร์" สึกออกมาเพื่อช่วยพ่อแม่ทำงาน ญาครูอินทร์ ได้ตรวจดูดวงชะตาของสามเณรลี ซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๘ ย่างขึ้น ๑๙ ปี ว่าชะตาจะต้องเกี่ยวกับพันทางโลก เมื่อพ้นภาวะกรรมก็จะบวชไม่สึก และจะสำเร็จในบั้นปลายชีวิต จึงได้สึกให้ตามคำขอ
     
         หนุ่มลี เป็นชายหนุ่มวัยฉกรรจ์ รูปร่างสง่างามสูงใหญ่ สมลักษณะชายชาติทหาร หนุ่มลีช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำมาหากินด้วยความขยันขันแข็ง เป็นคนใจนักเลง มีลูกน้องมากมาย นอกจากทำไร่ทำนา ก็รับจ้างคุมฝูงวัวไปขายต่างจังหวัด ซึ่งเป็นอาชีพของคนกล้าในยุคนั้น  หนุ่มลี ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มฉกรรจ์ ท่องเที่ยวไปในดินแดนต่างๆ อย่างโชกโชน กับอาชีพค้าวัวในต่างแดน โดยเฉพาะในดินแดนทางภาคอีสาน
     
         ลุปี พ.ศ.๒๔๑๕  หนุ่มลีจึงขอลาพ่อเซียงผา และแม่ข้อล่อ ออกเดินทางไปเยี่ยมอาซึ่งเป็นน้องชายของพ่อที่หนองแค จังหวัดสระบุรี พ่อแม่ก็ไม่ขัดข้อง เพราะเห็นว่าโตเป็นหนุ่มใหญ่แล้ว หนุ่มลีจึงเดินทางจากบ้านหมกเต่า ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ไปอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ช่วยน้าทำไร่ ค้าของป่า อยู่ไม่นานประมาณสัก ๑ ปี ก็ทราบข่าวว่า ทางกรุงเทพฯ เมืองหลวงจะมีงานสมโภชน์ใหญ่ในจิตใจของความเป็นหนุ่ม อยากจะเข้าไปเที่ยว และจะแวะไปเยี่ยมพระอาจารย์ด้วยที่วัดระฆังฯ  ไม่ทราบว่าขณะนี้สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านจะเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ท่านจากมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๑ ก็ไม่ทราบข่าวอย่างไรเลย จึงขออนุญาตน้าชายไปงานฉลองเมืองที่กรุงเทพฯ
     
         พ.ศ. ๒๔๑๖  หลังปีใหม่แล้ว หนุ่มลีกับเพื่อนหนุ่มบ้านหนองแค สระบุรีก็เดินทางสู่กรุงเทพฯ พอถึงกรุงเทพฯ ก็รีบตรงไปวัดระฆังฯ ฝั่งธนบุรี เพื่อไปกราบสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พระอาจารย์ของท่านในสมัยที่ท่านบวชเณรอยู่ด้วยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)  เย็นวันนั้นหนุ่มลีไปถึงวัดระฆัง พอย่างเหยียบเข้าบริเวณวัดมันช่างเงียบสงบ จึงตรงไปกุฏิพระพุทธบาทปิลันท์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่องค์หนึ่งที่สมัยหนุ่มลีบวชเป็นสามเณร และเคยรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธบาทปิลันท์ ก็ทราบว่า สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ท่านมรณะภาพแล้วตั้งแต่ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕ เวลา ๒๔ นาฬิกา อายุได้ ๘๕ ปี มีพรรษา ๖๕ พรรษา หลังจากรัชกาลที่ ๕ ครองราชได้ ๕ ปี หนุ่มลีอยู่ในอาการเศร้าโศกเพราะทราบข่าวว่าอาจารย์มระภาพแล้ว โดยท่านมิได้ทราบเรื่องเลย เพราะช่วงเวลานั้น ท่านได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ในบ้านป่าเมืองสุรินทร์ จึงไม่ทราบการทราบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในเมืองหลวง ในช่วงนั้นท่านจึงพักอาศัยกับพระอยู่วัดระฆังฯ
     
         จวบจนวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖  หนุ่มลีได้มีโอกาสไปชมงานอุปสมบทเป็นพระของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕ เป็นงานหลวงใหญ่มากที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา พระองค์ทรงลาสิกขามาปกครองบ้านเมืองในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๑๖  วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้ทำพิธีราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ขึ้นครองราชอย่างสมบูรณ์ หนุ่มเคยมีโอกาสได้ชมงานสำคัญๆ ของบ้านเมืองในยุคนั้น
     
  3. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณครับ ที่จะนำเรื่องราวดีๆ ไปเผยแพร่ต่อไป
     
  4. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    พระคาถาเมตตา
    ของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค

    +++ อุ อา อา นะเมตตา สังฆัง+++

    สิทธิการิยะ
    บทนี้เป็นของหลวงปู่สี
    วัดเขาถ้ำบุญนาค
    อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
    โบราณท่านว่า แม้ลูกในอกยังยกให้ได้เลยนะท่าน

     
  5. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๕ : สู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์, พระพุทธบาทสี่รอย, ช้างป่า
     
        ปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ หลวงปู่สีท่านจึงลาออกจากทางราชการในตอนนั้น ท่านมีอายุได้ ๓๙ ปี เมื่อออกจากราชการ ท่านก็เดินทางไปเยี่ยมญาติของท่านที่จังหวัดสระบุรี ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางไปบ้านเส้า (อยู่ในอำเภอบ้านหมี่ ในปัจจุบันนี้) ท่านได้อุปสมบทที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ อายุได้ ๓๙ ปี พระครูธรรมขันธ์ เป็นพระอุปปัชฌาย์ หลังจากที่ได้บวชเป็นพระแล้ว ท่านก็ขอสมาทานธุดงควัตร จากพระอุปัชฌาย์ของท่าน พระอาจารย์ของท่านเห็นว่าเคยบวชเรียนเป็นสามเณรมาแล้ว เป็นผู้ใหญ่ มีความรู้ความสามารถ จึงอนุญาตให้หลวงปู่สี ท่านออกธุดงค์ตามประสงค์ ท่านจึงตัดสินใจเข้าไปอยู่ในป่าเขาลำเนาไพรก่อนที่จะเข้าพรรษา จึงออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำเขาไม้เสียบ ตำบบลช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาท่านจึงออกธุดงค์ ในขณะที่จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเขาไม้เสียบ มีพระภิกษุทางเหนือมาจำพรรษาอยู่ด้วย ได้เล่าเรื่อง "พระบาทสี่รอย" ให้ท่านฟัง ทำให้ท่านเกิดความคิดที่จะไปนมัสการ "พระบาทสี่รอย"
     
         มีพระบางรูปพูดให้ท่านฟังว่า การเดินทางไปนั้นมีอันตรายนานาประการ การเดินทางเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อไข้ป่า และสัตว์ร้ายนานาชนิด  พระภิกษุหนุ่มมิได้กลัวด้วยดวงจิตที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นกุศลจิต มุ่งอุทิศเพื่อพุทธศาสนา แผ่เมตตาธรรมแก่สรรพสัตว์อย่างไร้ขอบเขต มุ่งลดละกิเลสด้วยสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน...
     
     
    พระพุทธบาทสี่รอย
     
        ...พ.ศ. ๒๔๓๒ หลังจากออกพรรษา และรับกฐินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุลี (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ) ท่านได้ออกเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยที่เชียงใหม่ การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องเดินทางเข้าป่าดงลึก บางครั้งก็ต้องปีนป่ายขึ้นๆ ลงๆ ตามขุมเขาต่างๆ บางแห่งเป็นป่ารกลึกๆ  ก็ยากที่จะพบผู้คน...
     
         การเดินทางครั้งนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่ง ในป่าลึก ผู้คนไม่มีอาศัยอยู่ ท่านต้องอดอาหาร ไม่มีอะไรให้ฉันถึง ๑๑ วัน นัยว่าเทพยดาในป่าเขา ได้ทดลองจิตของท่านว่ามีความเข้มแข็งสักปานใด จึงทำให้เดินหลงป่า ไม่พบผู้คน อดอาหารอยู่ถึง ๑๑ วัน จนวันหนึ่งในขณะที่กำลังวังชาของท่านใกล้จะสิ้นลงนั้น ก็บังเอิญได้พบชายหญิงคู่หนึ่ง กำลังนั่งกินยาลูกกลอนอยู่ ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ หญิงชายทั้งสองพอเห็นพระธุดงค์เดินมาก็ออกปากนิมนต์ พร้อมทั้งนำยามาถวายให้ ๑ ช้อน พระภิกษุลี ก็รับยาจากโยมถวายมาปั้นเป็นลูกกลอน (ลูกกลม) ได้ ๑ ลูก ท่านผลพุดทรา มีกลิ่นหอมประหลาดๆ ท่านจึงฉันพร้อมน้ำ ๑ กระบอก พอกลืนยาลงไปตกถึงท้อง ก็มีอาการประหลาดมหัศจรรย์เสมือนหนึ่งมีพลังความร้อนแผ่กระจายไปทั่วขุมขน ท่านจึงพริ้มตาหลับลงด้วยลักษณะทำสมาธิสักอึดใจ ท่านก็ลืมตาขึ้น แต่เป็นที่ประหลาดนัก ปรากฏว่า ชายหญิงคู่นั้นที่นั่งอยู่ตรงหน้าหายไป
     
         ท่านก็มองหารอบๆ ที่นั่น ก็ไม่ปรากฏร่างของชายหญิงคู่นั้น ท่านจึงให้ศีลให้พรแก่เทพยดาที่ถวายยาให้ท่าน ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางไปพระพุทะบาทสี่รอย
     
    พบช้างป่า
     
         ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ไปนมัสการพรพุทธบาทสี่รอย ตอนเช้าท่านก็ได้ไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยเป็นประจำทุกวัน แต่น่าประหลาดบริเวณรอยพระพุทธบาทสะอาดเรียบร้อยไม่เปรอะเลื้อน ทั้งๆ ที่ไม่คนอยู่ทำความสะอาด ต่อมาก็ได้ เห็นช้างป่าหลายเชือกมาทำความสะอาดในตอนเช้าเป็นประจำ โดยการใช้งวงปัดเป่าทำความสะอาดได้อย่างยอดเยี่ยม
     
         ท่านเล่าว่า ด้วยการที่อยู่ใกล้กัน และเห็นกันอยู่ทุกวันเป็นประจำ ทำให้ช้างเหล่านั้นเกิดความสนิทสนมกับท่านเป็นอย่างดี จนในเวลาต่อมาช้างเหล่านั้นได้นำหัวบัวบ้าง กระจับบ้าง และน้ำอ้อยมาถวายท่านได้ฉันอย่างไม่ขาด ช้างเหล่านั้นมันปฏิบัติได้เหมือนคนไม่มีผิด แม้พวกช้างเหล่านั้นจะเป็นช้างป่าก็ตาม แต่ก็เชื่องเหมือนช้างบ้าน
     
         เมื่อท่านได้นมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและปฏิบัติธรรมนานพอสมควรแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับเพื่อไปแสวงหาความวิเวกที่อื่นต่อไป ในวันที่ท่านเดินทางกลับนั้น หลังจากฉันอาหารที่เหล่าฝูงช้างป่านำมาถวาย และบอกว่าวันนี้ท่านจะเดินทางกลับแล้ว ช้างป่าเหล่านั้นก็พร้อมใจกันเดินทางมาส่งท่านที่เชิงเขาด้วยความอาลัย
     
         มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่หลวงปู่เดินธุดงค์ไปในป่าลึก ขณะที่หลวงปู่เดินอยู่ในป่าดงดิบนั้น ท่านก็ได้พบช้างโขลงใหญ่ ช้างป่าทุกเชือกมีลักษณะโหดร้าย โดยเฉพาะเชือกจ่าฝูง รูปร่างสูงใหญ่งายาว มันยืนจ้องมองมายังหลวงปู่ พอหลวงปู่เห็นท่านก็ยืนสงบแผ่เมตตาให้พญาช้าง และทุกๆ เชือกในโขลงนั้น...พลันเชือกที่เป็นหัวหน้าโขลง ก็ชูงวงขึ้นพร้อมเปล่งเสียงร้องดังก้องป่า ในสภาพบรรยากาศเช่นนี้หากไม่ใช่หลวงปู่แล้ว นับว่าเป็นช่วงที่น่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง แต่หลวงปู่ท่านอยู่ในอาการสงบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
     
         พอสื้นเสียงร้องก้องกังวาลของหัวหน้าโขลง ช้างป่าทุกเชือกก็ย่อตัวลงหมอบอยู่กับพื้นพร้อมชูงวงขึ้น ประหนึ่งเป็นการแสดงคารวะอย่างน้อมน้อมต่อหลวงปู่สี ผู้มีเมตตาธรรมและความบริสุทธิ์ ต่อจากนั้นหัวหน้าโขลงก็เดินเข้ามาหมอบอยู่ตรงหน้าท่าน ต่อจากนั้นช้างอีกเชือกก็เข้ามาใช้งวงช้อนร่างหลวงปู่ให้ขึ้นไปนั่งบนคอของหัวหน้าโขลง ทุกอย่าเป็นไปอย่างอัศจรรย์ยิ่ง ต่อจากนั้นมันก็ลุกขึ้นเดินนำโขลงไปส่งท่าน ผ่านป่าดงดิบจนถึงชายป่า
     
         ตอนเช้าวันหนึ่ง พวกชาวบ้านป่าได้มาพบเห็นเหตุการณ์มหัศจรรย์เช่นนั้น ต่างก็ก้มลงกราบหลวงปู่ และนำอาหารมาถวาย ถามหลวงปู่ว่าทำอย่างไรช้างป่าจึงไม่ทำร้าย และยังมาส่งหลวงปู่อีก
     
         ชาวบ้านเขตชายแดนไทยพม่า ทราบดีมาช้างป่าโขลงนี้เป็นช้างป่าที่โหดร้ายที่สุดในแถบนั้น แต่น่าอัศจรรย์ที่ช้างป่าไม่ทำร้ายหลวงปู่สี หลังจากหลวงปู่สีฉันอาหารเสร็จ ท่านให้ให้ศีลให้พรชาวบ้านป่า และถามถึงเส้นทางที่จะเดินทางไป
     
  6. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๖ : นมัสการพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง, เทพธิดาฟังธรรม
     
           ภายหลังที่ได้เดินทางบุกป่ารกชัฏ ท่องป่า ข้ามภูเขา และห้วยละหานเหวไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และเจดีย์สำคัญทุกแห่งในเมืองไทยแล้ว หลวงปู่สีก็ได้ยินคำเล่าลือว่า ในประเทศพม่ามีเจดีย์สำคัญสูงใหญ่ ชื่อ มหาเจดีย์ชะเวดากอง ท่านก็เกิดความกระตือรือร้นใคร่จะไปนมัสการทันที แต่เมื่อได้ปรารภเรื่องนี้ให้เพื่อภิกษุฟัง ส่วนมากก็ทักท้วงให้ระงับยับยั้งไม่อยากให้ไป ต่างอ้างเหตุผลว่า หนทางมันไกลนัก เป็นเมืองต่างด้าวพูดไม่รู้เรื่อง ประการสำคัญถนนหนทางที่จะไปก้ไม่มีเป็นเส้นสายแน่นอน นอกจากจะต้องเดินวกเวียนเลี้ยวลัด และมุดลอดไปตามดงทึบ หรือป่าเถาวัลย์ ไม้พุ่มไม่เลื้อยนานาชนิด ด่านแรกที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องบุกฝ่าไปในดงป่า ซึ่งครั้งกระนั้นรกชัฏ ยามร้อนก็ร้อนจัด ยามเย็นก็เย็นยะเยือก และชื้นแฉะ จนได้รับสมญานามว่า ดงผีห่า ป่าดงดิบ
     
         ผู้เดินทางผ่านดงทั้งสอง ซึ่งมีความยาวนับร้อยกิโลเมตร มีสภาพปกคลุมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ เป็นดงทึบจนมองไม่เห็นแสงแดด เต็มไปด้วยไม้เลื้อยพัวพันกันเป็นพืด เหมือนแนวกำแพงชั้นแล้วชั้นเล่าไม่สิ้นสุด
     
         นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยหินแหลม หินคม โขดเขา หุบเหวใหญ่น้อย เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด...มีโรคภัยเฉพาะจากดงใหญ่มหาก่ฬซึ่งขึ้นชื่ว่าเป็นดงผัห่ามหาประลัย..ใครจะชักแม่น้ำทั้งห้ากีดกันขัดคออย่างไรไม่เป็นผล หลวงปู่ไม่เถียง ไม่แม้แต่จะหาเหตุผลใดมาเข้าหักล้าง เป็นแต่เพียงหัวเราะ หึ หึ หึ ตีหน้าตายเสมือนมิได้แยแสต่อสรรพสิ่งน่าสยดสยองหวาดกลัวตามคำบอกเล่าเหล่านั้นแม้แต่น้อยนิด...
     
         ในครั้งนั้น พ.ศ. ๒๔๓๓ พระภิกษุลี (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ) ท่านได้พบกับพระภิกษุศุข (หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) พระภิกษุกลั่น (หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ อยุธยา) ทั้งสามองค์ได้ร่วมกันเดินธุดงค์เข้าสู่พม่า.. ทั้งสามองค์ก็มิได้หวั่นไหว แม้บางครั้งจะพบกับเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว
     
         การเดินธุดงค์ครั้งนั้น ท่านไม่กลัวอด ไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ท่านจึงสามารถผ่านอุปสรรคนานัปการ ด้วยท่านแจ้งในสัจธรรม "อันรูปกายเกิดของมนุษย์ และปวงสรรพสัตว์ ก็มีความตายนี่แล เป็นความเที่ยงแท้ ชีวิตตาย เกิด ทุกรูป ทุกนาม พึงต้องประสบ" คติธรรมนี้หลวงปู่ท่านอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์พึงระลึกอยู่เสมอ จะได้ไม่ประมาท ไม่กลัวโดยเฉพาะความตาย...
     
         ในที่สุด หลวงปู่สี  หลวงปู่กลั่น  หลวงปู่ศุข ก็เดินทางฝ่าพ้นอันตรายนานัปการ จนในที่สุดท่าก็ไปกราบพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง หลังจากนั้นท่านก็เดินทางกลับ และได้แยกทางกับหลวงปู่กลั่นในเวลาต่อมา ส่วนหลวงปู่ศุขท่านก็แยกทางไปอีกทางหนึ่ง
     
         หลวงปู่ศุขท่านมีภาระต้องกลับวัดเพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสวัด..ส่วนหลวงปู่กลั่นท่านก็กลับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครองวัดพระญาติในการต่อมา หลวงปู่สีนั้นท่านก้สมัครใจที่จะอยู่ป่าต่อไป ท่านจึงออกเดินะดงคือยู่ตามป่าต่อไปตามความปรารถนาของท่าน
     
        
    เทพธิดามาฟังสวดมนต์
     
         กาลต่อมาลูกศิษย์ของหลวงปู่ ยามใดที่เห็นหลวงปู่ว่างจากการปฏิบัติธรรม ก็มักจะให้หลวงปู่สีเล่าเรื่องราวต่างๆ ในการเดินธุดงค์ของท่านว่าได้พบเห็นอะไรบ้าง
     
       ศิษย์ :   "หลวงปู่ครับ เวลาที่หลวงปู่เดินธุดงค์ในป่าลึกๆ ที่ไม่มีบ้านคนอยู่ ไม่มีผู้คนอาศัย แล้วหลวงปู่จะไปบิณฑบาต กับใครที่ไหนครับ?"
     
      หลวงปู่ : "การบิณฑบาตเป็นกิจของสงฆ์ สงฆ์แม้จะอยู่ในที่ใดก็ตามก็ต้องบิณฑบาตตามปกติ การบิรฑบาตในป่า ก่อนที่จะออกบิณฑบาต พระทุกรูปที่ปฏิบัติอยู่ในป่าจะต้องเข้าสมาบัติ แผ่เมตตา มีพรหมวิหารสี่เป็นอารมณ์ จากนั้นก็ออกบิณฑบาตไปตามป่า ก็จะมีคนนำข้าว นำอาหารมาใส่บาตร แปลกอยู่ที่ว่า ผู้ที่มาใส่บาตรนั้นแต่ละคนบขาตรพวกเขาก้จะมาใส่กัน"
     
         พระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไปอยู่ไหน ณ ที่แห่งใดก็ไม่ทุกข์ยาก ย่อมมีเทพยดาสงเคราะห์ ไม่เฉพาะแต่พระสงฆ์เท่านั้น แม้แต่พวกฆราวาสก้เช่นกัน หากทำดี เทวดาก็จะดูแลรักษาช่วยเหลือกัน เทวดาตามป่าเขา เขาชอบฟังธรรม เวลาพระทำวัตรสวดมนต์พวกเทพยดาก็จะพากันมาฟัง บ้างก็กล่าวว่า "ท่านเจ้าขา ท่านสวดมนต์จนเสียงมนต์สะเทือนไปทั่ว นานๆ จะมีพระมาโปรด ขอท่านได้โปรดกรุณาเทศนาด้วยเถิดเจ้าค่ะ"...
     
         หลวงปู่ท่านเล่าว่า พวกเทวดาบางพวก เขาก็ชอบฟังบทพระธัมมจักรกัปวัตนสูตร บางหมู่ก็ชอบกรณีเมตตาสูตร เวลาพระสวดมนต์ หรือเทศน์จบ จะได้ยินเสียงสาธุพร้อมๆ กัน  เสียงก้องกังวาลน่าฟัง ต่อจากนั้นก็กราบลงพร้อมกันอย่างงดงาม
     
    "หลวงปู่ท่านพยายามย้ำอยู่เสมอว่า นรกสวรรค์มีจริงนะ"
     
         ในเรื่องของนรก สวรรค์ ที่หลวงปู่สี และนักปฏิบัติธรรมชั้นสูงกล่าวย้ำว่ามีจริง อย่าประมาทนั้น ก็เป็นจริง ในส่วนตัวผมเองนั้นสิ้นสงสัยมานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่ปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่นาควัดระฆังโฆสิตาราม ฝั่งธนบัรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ก็ได้ประจักชัดเจน...
     
    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่หลวงปู่เทศน์โปรดเทพยดา
     
         "คุณโยมเทพบุตร เทพธิดาทั้งหลาย ผู้มีความปิติสุข ความอิ่มเอิบในทิพยสมบัติเป็นเครื่องอยู่ เป็นผู้นิราศแล้วจากทุกข์ทั้งปวง แม้กระนั้นคุณโยมก็มิได้อยู่ในความประมาท หลงอยู่ในทิพยสมบัติ มีจิตใจปรารถนาจะได้รับรสพระธรรม เป็นที่น่ายินดีอนุโมทนาด้วยความปรารถนากุศลธรรมนี้ เป็นบุญที่ควรอนโมทนาอย่างยิ่ง
     
         คุณโยมทั้งหลายที่เสวยทิพยสมบัติอยู่ จงพิจารณาให้ดี จะเห็นว่ายังเป็นโลกที่ไม่มีแก่นสาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นโรคไม่มีตัวตน เป็นแต่แสงสว่างแผ่ซ่านอยู่ อันเป็นโลกที่ละเอียดอ่อนด้วยอำนาจของจิตที่เป็นกุศล ให้โยมปรากฏให้อาตมาได้เห็น ก็ด้วยอำนาจของจิตอธิษฐาน
     
         จิต เป็นนามธรรม ไม่มีรูปที่จะประกอบกรรมดี หรือชั่วได้อย่างมนุษย์ แต่จิตก็สามารถบริจาคทาน เจริญสมาธิ รักษ
    าศีลได้เช่นกัน คุณโยมผู้เป็นเทพทั้งหลายพึงใช้จิตบริจาคทาน จิตรักษาศีล ใช้จิตเจริญสมาธิ
     
         การบริจาคทานด้วยจิต ก็คือให้ความกรุณา ให้ความเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย นับได้ว่าเป็นทานบารมีอันยิ่งใหญ่
     
         ศีล ก็ย่อมรักาได้ด้วยจิต จิตของคุณโยมเป็นกุศลจิตจึงนับได้ว่า ได้รักาศีลไว้โดยสมบูรณ์
     
         สมาธิ ก้คือทำจิตให้ตั้งมั่นอะไร ที่อุบายให้จิตตั้งมั่นก็คือการตามระลึกถึงอนุสติ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีนึกภาวนาถึงพระพุทะเจ้า พระธรรม เป็นต้น จิตภาวนาพุทโธ ให้เป็นอารมณ์จิตอยู่สม่ำเสมอต่อเนื่อง กุศลธรรมก็จะสูงขึ้นตามลำดับ
     
         เมื่อคุณโยมผู้เป็นเทพได้ตระหนักชัดว่าความเป็นเทพนั้นยังเป็นโลกียสมบัติ เป็นสิ่งสมมุติไม่คงทนถาวร เสื่อมได้ หมดได้ สิ้นไปได้ ก็จงอย่ามีความประมาท เวลาสรรค์แม้จะยาวนานกว่าโลกมนุษย์ถึงร้อยเท่า พันเท่า จะพ้นจากไตรลักษณ์คือ อนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา นั้นไม่ได้สิ่งสมมุติทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วย่อมดับ จงขวนขวายละสมบัติไปสู่ วิมุตติ เถิด จึงจะพ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร"
     
         หลวงปู่สี  ท่านมิได้ยึดอยู่กับที่ ท่านจะธุดงค์แสวงหาความวิเวกไปยังสถานที่ต่างๆ  พร้อมทั้งโปรดเทพเทวา สรรพสัตว์ และมนุษย์ ไปยังดินแดนต่างๆ อันเป็นการปฏิบัติตามครูบาอาจารย์แต่เดิมมา...
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    เหรียญนี้ยังไม่แท้ครับ

    1. เหรียญนี้ต้องตอกโค๊ตดอกจันทร์ที่สังฆาฏิ
    2. ด้านหลังในเครื่องหมายภปร จะเป็นลายมุ้ง
    3. หูเหรียญติดห่างจากตัวเหรียญมากเกินไป
    เป็นเหรียญเก๊รุ่นแรกๆ ครับ

    ลองพิจารณาภาพเหรียญแท้เปรียบเทียบกันดูครับ

    เหรียญหลัง ภปร. พ.ศ. 2521
    พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง บล็อค พ.ศ. 5 ขีด

    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญหลัง ภปร. พ.ศ. 2521
    พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง บล๊อคสายฝน

    [​IMG]

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2013
  8. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    จำได้แล้วครับ ว่าเคยอ่านเจอเรื่องราวของหลวงพ่อพัฒ
    และพระรุ่นนี้ ขอบคุณท่านพี่ทั้งสองสำหรับทั้งภาพและข้อมูลดีๆครับ
     
  9. see13ear

    see13ear สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +5
    รบกวนด้วยน่ะครับ..อยากทราบว่าแท้หรือไม่..ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_1113.jpg
      DSC_1113.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.5 KB
      เปิดดู:
      110
    • DSC_1114.jpg
      DSC_1114.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148 KB
      เปิดดู:
      69
  10. 001NOT100

    001NOT100 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +157
    สวัสดีน้าAmuletismและน้าโอ๋สะพานที่เคารพครับ ไม่ได้เข้ามาสักพักไม่ทราบว่าน้าทั้ง2ท่านสบายดีกันนะครับ ช่วงนี้งายเยอะไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาหาความรู้เพิ่มเติมเลย วันก่อนเดินผ่านแผงตลาดนัดเจอเหรียญหลวงปู่ทิมย้อนยุค หล่อโบราณ 16ตค55 เหรียญเงินเปิดมา4พันโอพระเจ้ายอด ไปไวมากเหรียญนวะพันปลาย ไม่คิดว่าจะไวขนาดนี้ กำลังคิดอยู่ว่าจะเก็บดีไหม 5555 ทุนน้อย
     
  11. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๗ : โปรดญาติโยม, เทวดาบอกเหตุ, ป่าหลวงพระบาง, ผจญเสือโคร่ง, บรรลุธรรม
     
    โปรดญาติโยม
     
         หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ  นอกจากท่านจะอบรมสั่งสอนธรรมกับชาวบ้านตามที่ทุรกันดาร ตามป่าดงพงเขาเป็นกลุ่มชนที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งมีพระน้อยรูปที่จะเข้าไปอบรมสั่งสอน เพราะผู้คนนักบวชส่วนใหญ่ ขอบที่จะอยู่ในถิ่นที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่า นอกจากชาวบ้านทุ่ง ชาวบ้านป่าก็พวกเทพเทวาอารักษ์ และพระเณรผู้ปฏิบัติธรรม หลวงปู่ท่านมีอุบายธรรมในการอบรมสั่งสอนอย่างลึกซึ้ง ท่านจะยกพระธุดงค์ พระธรรมของพระพุทธองค์เป็นคำสอน เป็นผู้สืบทอดต่อ เช่น การอบรมพระเณรในเรื่องการเดินบิณฑบาต
     
         พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เดินบิณฑบาต เดินจงกรม เดินธุดงค์ เป็นการรักษาสุขภาพร่างกาย ทำให้ไม่เมื่อยขบ ไม่หนาวเวลาเดิน ท่านให้เดินอย่างสำรวม เดิยอย่างมีสติ เอาจิตจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เวลาเดินจะแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ หรือไม่ก้ภาวนามนต์บทใดบทหนึ่ง อย่าง เช่น "สัมมาอรหัง" หรือ "พุทโธ"
     
         เวลาเข้าไปรับบาตร ก็ให้มองพิจารณาในบาตร เพื่อมิให้สายตาสอดส่าย เพื่อมิให้จิตปรุงแต่ง การคิดปรุงแต่งย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต ถ้าตาไปเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แม้ไม่ได้สัมผัส จิตมันก็ปรุงแต่งจากสัญญาขึ้นมาได้ เมื่อสัมผัสแล้วทำอย่างไร เมื่อจิตเกิดปรุงแต่งท่านให้พิจารณาถึงสิ่งตรงกันข้ามเสีย ความสวยที่สุดมันก็ไม่สวยได้ ยามชราเนื้อหนังมังสามันก็เหี่ยวย่น ยามตายผิวมันก็จะบวมฉุ แตกปริเน่าเฟะ ส่งกล่นเหม็นมันจะสวยไหม ท่านบอกไว้ทุกอย่างทุกทาง แม้กระทั่งเจ้าความอยากในกามคุณมันก็ยังเล็ดลอดออกไปได้ ท่านก้สอนให้มีสติ คอยระวังรักาจิต คอยรู้เท่าทันอารมณ์กิเลส
     
         คำสอนของพระองค์ แม้จะประเสริฐยอดเยี่ยมอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติด้วยตนเองแล้วยากที่จะพ้นทุกข์ได้ ถึงเราจะประกอบงานอาชีพอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ทำด้วยตัวเอง อาศัยจมูกคนอื่นหายใจคอยให้เขาทำให้ ก็จะไม่เกิดผลแก่ตน ธรรมปฏิบัติที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ เราต้องรู้ด้วยตนเอง เห็นด้วยตนเอง จึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งถึงทางพ้นทุกข์นั้น การตอยแทนคุณท่านก็คือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์...
     
    เทวดาบอกเหตุ
     
         คืนวันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่สีนั่งบพเพ็ญสมาธิภาวนาอยู่นั้น เป็นเวลาดึกสงัดประมาณสองยามเห็นจะได้ จิตของท่านอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ คือ สมาธิอย่างอ่อนๆ กำลังพิจารณาสังขารธรรมอยู่อย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ไม่ลดละความเพียร พลันทันใดก็ ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในห้วงสมาธิ มีผู้ชายคนหนึ่งนุ่งขาว ห่มขาว ได้เดินคุกเข่าก้มลงกราบท่านแล้วพูดว่า
     
         "นิมนต์หลวงพ่อย้ายกลดขึ้นไปอยู่บนเขาเสียเถิด ด้วยคืนนี้จะมีน้ำป่าพัดผ่านมาที่นี่ หลวงพ่อจะเป็นอันตรายถึงชีวิต"
     
         แล้วภาพนิมิตของเทวดาผู้นั้นก็หายไป หลวงปู่สีท่านจึงอธิษฐานจิตขอบารมีพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย เพื่อขอตรวจดูเหตุการณ์ด้วยทิพจักขุญาณ พลันก็พบว่าไกลออกไปทางเหนือฝนกำลังตกหนักมืดคลื้ม มีพายุและฟ้าแลบน่ากลัวมาก เห็นน้ำป่ากำลังทะลักทลายลงมาจากภูเขา พัดพาถล่มต้นไม้ในป่าเสียงดังกึกก้องไปหมด น่ากลัวมาก กระแสน้ำป่านั้นกำลังพัดมาทางจุดที่ท่านกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่อย่างแรง
     
         หลวงปู่รู้สึกประหลาดใจระคนสงสัย จึงถอยจิตออกจากสมาธิลืมตาขึ้นดู พบว่าบริเวณหุบเขาที่ท่านพักอยู่ แสงเดือนหงายอย่างแจ่มจรัส อากาศก้เย็นสบายปลอดดปร่งรื่นรมย์ไม่มีเค้าเมฆฝนอยู่ในท้องฟ้าเลย แต่เหตุการณ์ผ่านไปสักชั่วอึดใจใหญ่ ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงอื้ออึงดังมาจากเบื้องทิสเหนือ เสียงนั้นน่ากลัวมาก คล้ายเสียงรถไฟหลายขบวนวิ่งแข่งกันเข้ามาในป่าไม่มีผิด ทำให้ท่านแน่ใจทันทีว่า โอปาติกะ เทพเทวาปรากฏกายเข้ามาแจ้งเหตุในนิมิตนั้นบอกกล่าวเป็นความจริง และทิพจักขุญาณของท่านก็เห็นภาพแน่ชัด ไม่ใช่ภาพหลอนหลอกแต่อย่างใด เสียงอื้ออึงนั้นเป็นเสียงน้ำป่าห่าใหญ่ กำลังพัดมาอย่างรวดเร็ว รุนแรงมากอย่างแน่นอน
     
      นี่คือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ไม่มีใครไปห้ามมันได้ เราเป็นผุ้สมณะผู้บำเพ้ยะรรมไม่บังควรที่จะกีดขวางธรรมชาติ รำพึงเช่นนั้นแล้วท่านก็ถอนกลดจัดแจงย้ายขึ้นไปอยู่บนเขาสูงให้พ้นอันตราย แต่หาได้ตื่นกลัวแต่อย่างใดไม่
     
         พอแบกกลดใส่บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตรอีกข้างแล้ว ท่านก็ออกเดินจะขึ้นเขาไป กระทำใจให้มั่นคงภาวนาไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อนอะไร เพราะเสียงน้ำอื้ออึงนั้นยังอยู่ไกล คงไม่มาถึงตัวท่านรวดเร็วแน่ เดินภาวนาสักครู่ก็ขึ้นเขาสูง
     
         ท่านมองลงมาจากหน้าผา เห็นกระแสมหึมาไหลกรากท่วมต้นไม้ใบหญ้าบริเวณที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ในหุบเขานั้น กลายเป็นทะเลสาบไปหมดในพริบตา ช่างอัศจรรย์ใจในธรรมชาติที่งดงามแต่แฝงด้วยอันตรายนานัปการ พอรุ่งเช้าน้ำป่านั้นก็หายวับไปกับตา นี่แหละธรรมชาติของน้ำป่ามาเร็วหายไปเร็ว และเป็นอันตรายร้ายแรงอย่างน่ากลัวยิ่งนัก หลวงปู่สีนั้นนับว่ามีบุญญาภิสมภารสูง ถึงรอดตายมาได้ในครั้งนี้ จะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทวดาช่วยชีวิตไว้ก็ให้น่าสงสัยมาก
     
     
    ป่าหลวงพระบาง
     
         จากพม่า หลวงปู่สีท่านก็ข้ามแม่น้ำโขง จาริกธุดงค์ไปยังหลวงพระบาง รอนแรมบุป่าฝ่าดงอันหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ และขวากหนาม เส้นทางธุรกันดารยากลำบาก วกไปเวียนมากมองไปทางทางไหนมีแต่ป่าแต่เขาสูงใหญ่ จนอ่อนหล้าเพราะหลงทิศทาง เดินไปทั้งวันก็วกกลับมาที่เดิม ไม่น่าเชื่อสัตว์ตัวกระจ่อยร่อยประเภทดูดเลือด เช่น ฝูงทากก็มากมาย คอยรบกวนให้ได้รับความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ตะวันยอแสงฉาบสีทองเอิบอาบขุนเขาสูงใหญ่เบื้องหน้า เป็นภาพที่สวยงามตระการตาราวกับสีมณีวิศิษอันมีสีต่างๆ
     
         ท่านรู้สึกชื่นชมธรรมชาติในยามใกล้สนธยาเบื้องหน้า จึงรุดตรงไปยังเชิงเขา เพื่อยึดเอาเขาลูกนี้เป็นที่พักแรมคืน ภูมิภาพอันสวยงามเบื้องหน้า เงาหมู่ไม้ทอดยาว แสงสะท้อนจากกลุ่มเมฆสีขาวสลับซับซ้อนเบื้องบนเป็นสีระยับวะวับวาว ทำให้หุบเขาแห่งนั้นกลายเป็นสีรุ้ง ดั่งว่าเนรมิตไว้ฉะนั้น คำวันนั้น หลวงปู่สีท่านได้หยุดปักกลดที่เชิงเขาในคูหาถ้ำอันกว้างขวางสะอาดสะอ้านคล้ายมีคนมาคอยปัดกวาดเป็นประจำ ที่ใกล้ๆ มีธารน้ำใสไหลเย็นผ่าน
     
         หลังจากลงสรงน้ำในลำธารเป็นที่ชุ่มชื่นเย็นกายเย็นใจแล้ว ท่านก็กลับเข้ามาในถ้ำนั่งพักผ่อนอยู่พักหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงนั่งภาวนาด้วย "พุทโธ" เป็นวัตรปกติเสมอมา แสงเดือนกระจ่างนวลสาดเข้ามาในถ้ำ กระแสลมที่พักอยู่รวยรินทำให้สดชื่นเย็นสบายใจ บรรยากาศภูมิประเทสก็เงียบสงัดวิเวก เหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณะธรรมพิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ ด้วยประการทั้งปวง
     
         เวลาผ่านไปอย่างสม่ำเสมอ ท่านจึงถอนจิตจากสมาธิเปลี่ยนเป็นมาเดินจงกรมที่บริเวณหน้าถ้ำ ท่ามกลางแสงเดือนกระจ่างสว่างพราวเหมือนกลางวัน
     
     
     ผจญเสือโคร่ง
        
         มีเสียงกระหึ่งร้องดังขึ้นสนั่นหวั่นไหว เสียงร้องรับกันทางโน้นที ทางนี้ที แสดงว่ามีเสือออกหากินในยามราตรี เสียงร้องของมันทำให้ป่าที่วังเวงด้วยเสียงจักจั่นเรไรที่ร้องระงม เงียบเสียงไปหมดสิ้น ดั่งต้องมนต์อาถรรพณ์
     
         หลวงปู่มิได้ ไม่ได้นึกเกรงกลัวแต่อย่างใด ถือว่าสัตว์ป่าออกหากินไปตามประสาของมัน ท่านคงเดินจงกรมไปตามปรกติ ด้วยอริยบถสม่ำเสมอ มี มหาสิตปัฏฐานเป็นหลักคอยควบคุมกายและใจอยู่ตลอดเวลาไม่วอกแวก เสียงเสือขานรับกันคำรามใกล้เข้าทุกที แล้วในที่สุดเสียงกระหึ่งร้องนั้นก้เงียบหายไป ท่านเดินจงกรมกลับไปกลับมาอยู่พักใหญ่ รู้สึกเฉลียวใจว่ามีอะไรผิดปกติข้างทางเดินจงกรม จึงชำเรืองมองไป
     
         พลันก้ได้เห็นเสือโคร่งตัวใหญ่มาก ตัวใหญ่เกือบเท่าม้าล่ำพี ๒ ตัว กำลังจ้องมองท่านอยู่อย่างเงียบๆ ท่านรู้สึกสงสัยว่า มันมายืนจ้องมองท่านอยู่เช่นนี้เพื่อต้องการอะไรกันหนอ ถ้ามันต้องการจะจับตะครุบท่านกินมันน่าจะทำไปแล้ว ไม่น่าจะพากันจ้องมองไม่กระดิกกระดิกเช่นนี้เลย ดูๆ ไปแล้วก็น่ารักน่าสงสาร สวยงามสง่า ในจิตท่านมีแต่เมตตา
     
         พอท่านคิดเช่นนี้ พลันทันใดเสือใหญ่ทั้ง ๒ ตัว ก็ส่งเสียงร้องกระหึ่มขึ้นมาพร้อมๆ กัน ดังสนั่นหวั่นไหวไปหมดจนแก้วหูอื้อ เมื่อได้ยินเสียงคำรามดังขึ้นพร้อมๆ กันเช่นนั้น ท่านก็คิดในใจว่า ชะลอยพวกมันคงจะพูดบอกความในใจกับท่านอันเป็นภาษาของมันกระมัง พอท่านคิดเช่นนั้น มันก็พากันร้องสนั่นขึ้นมาอีกจนสะเทือนไปทั้งป่า
     
         หลวงปู่สีคงเดินจงกรมผ่านหน้ามันไปมาเป็นปกติ มันก็ไม่ทำอะไร ได้แต่จ้องมองตามิริยาบถเคลื่อนไหวของท่านอย่างเงียบๆ อยู่เป็นเวลานาน แล้วพวกมันก็พากันถอยห่างเดินหนีหายไปในป่า คงทิ้งไว้แต่ความเงียบสงบดังเดิม
     
     
    บรรลุธรรม
     
        หลวงปู่สีเที่ยวบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ภาคเหนือ พม่า หลวงพระบาง และธุดงค์ลัดเลาะข้ามลำแม่น้ำโขง ตัดเข้าภาคอีสานของประทศไทย เป็นเวลานานถึง ๙ ปี ตลอด ๙ ปี ท่านจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ นับไม่ถ้วน หลังจากท่านบรรลุธรรมวิศิษ จึงปรากฏว่าค่อยมีพระลูกศิย์เพิ่มมากขึ้น
     
         พระลูกศิษย์ทั้งหลายที่บุกบั่นรอนแรมเข้าป่าดงไปหาหลวงปู่สี ท่านจะให้อยู่กับท่านไม่นานนัก แล้วท่านก็จะสั่งให้แยกย้ายกันออกหาที่วิเวกตามที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนามุ่งทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
     
         ท่านให้พักตามถ้ำบ้าง ตามชายเขาบ้าง และยอดเขาบ้าง การขบฉัน อาหารก็ให้ออกบิณฑบาตไปตามหมู่บ้านชาวป่าชาวเขา บางครั้ง ๗-๘ วันถึงได้ออกบิณฑบาตกัน เพราะมัวแต่เพลิดเพลินเจริญสมาธิวิปัสสนาจนลืมเวล่ำเวลา ลืมคืนลืมวัน แต่ก้ไม่ปรากกว่าหิวโหยอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ป่วยกันแต่อย่างไร เพราะจิตสงเคราะหืมีความสุข ชุ่มชื่นเย็นใจ เย็นกาย ด้วยอำนาจบารมีธรรม มีพระลูกศิษย์ของท่านบางองค์มีอำนาจจิตแก่กล้าบุญญาบารมีสูง ทรงอภิญญา ๖ สามารถทรงตัวอยู่ในสมาธิวิปัสสนาได้เป็นเวลานานถึง ๓ เดือนก็มี โดยที่ไม่ขบฉันอาหารอะไรเลย นอกจากฉันแต่น้ำอย่างเดียวนับเป็นเรื่องมหัสจรรย์
     
         พระธุดงค์กรรมฐานศิษย์หลวงปู่สี ล้วนเป็นผู้เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก เที่ยวแสวงหาธรรมกันในป่าในเขาถิ่นอันตรายแบบเอาชีวิตเข้าแลกจริงๆ ไม่อาลัยชีวิตยิ่งกว่าธรรม ที่ใดมีเสือ มีอำนาจเร้นลับ น่าสะพรึงกลัว หลวงปู่สีจะสั่งให้พระไปที่นั่นเพราะเป็นสถานที่ช่วยกระตุ้นเตือนสติปัญญามิให้นิ่งนอนใจ ความเพียรก็จำต้องติดต่อกันไปเอง และเป็นเครื่องหนุนนใจให้มีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น ท่านเองก้บำเพ็ญสุขวิหารธรรมอยู่โดดเดี่ยว ในป่าในเขาอันชุกชุมด้วยสัตว์ร้ายสงัดเงียบปราศจากผู้คนทั้งกลางวัน กลางคืน
     
         การติดต่อกับพวกกายทิพย์ เช่น เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม พญานาค และภูติผีที่มาจากที่ต่างๆ ท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา และเป้นเรื่องมีจริง เป็นเรื่องลี้ลับพิศดารที่พระธุดงค์กรรมฐานเท่านั้นจะพานพบรู้เห็นได้ เหลือวิสัยที่จะพูดที่จะอธิบายให้ปุถุชนชาวบ้านเข้าใจได้ เพราะปุถุชนชาวบ้านทั่วไปมีความช่างสงสัยเป็นนิสัย
     
         ชาวบ้านศึกาเรียนรู้ ช่างจด ช่างจำ ช่างสงสัย หมายรู้เอาด้วยทางวัตถุสิ่งมีตัวตนจับต้องได้ มองเห็นได้ แต่ทางพระศึกษาเรียนรู้ทางจิตที่ไม่ใช่วัตถุ การรู้เห็นทางจิตจึงเป็นการรู้เห็นด้วยสติปัญญานามธรรม ดังนั้นการรู้เห็นของพระและของชาวบ้านจึงต่างกัน
     
         หลวงปู่สีท่านมีการติดต่อกับพวกกายทิพย์จากโลกวิญาณ เช่น เดียวกับมนูษย์ติดต่อไปมาหาสู่กันกับมนุษย์ชาติต่างๆ ที่เข้าใจภาษากันนั้นเอง เพราะท่านชำนาญในทางนี้มานานแล้ว การพบเห็นพวกวิญญาณของท่าน ไม่ใช่สิ่งลวงตาลวงใจ หรือเป็นเพียงภาพมายา หากเป็นเรื่องจริงที่ท่านพิสูจน์เห็นแท้แน่นอนในทุกแง่ทุกมุมไม่ผิดพลาด
     
         ท่านพักอยู่ในป่าเขา โดยมากก็ได้ทำประโยชน์โปรดสัตว์อบรมสั่งสอนข้ออรรถธรรมแก่กายทิพย์ แต่ละภูมิแต่ละชั้นตามภูมิปัญญา..ให้เขาได้ซาบซึ้งในอรรถธรรมพวกชาวป่าชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่นอีก้อ ขมุ มูเซอ แม้ว เย้า เหล่านี้นับถือผีสางนางไม้ หลวงปู่สีได้แผ่ธรรมะเข้าไปถึงจิตใจพวกเขา ทำให้พวกเขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก ทั้งทำให้ชาวป่าชาวเขาเป็นคนดีมีสัตย์ มีศีล หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กุมภาพันธ์ 2013
  12. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๘ พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ป่าหลวงพระบาง, กลับบ้านเกิด, ภาพถ่ายทองคำ
     
         เมื่อคราวที่หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เดิยธุดงค์อยู่ในป่าหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ ได้พบพระภิกษุมั่น ภูริทัตโต เดินธุดงค์ในป่าหลวงพระบาง พระภิกษุลี และพระภิกษุมั่น ได้พบกันและร่วมเดินธุดงค์ด้วยกัน ยามพักผ่อนก็สนทนาธรรมกัน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พรรษาอ่อนกว่าหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ๖ พรรษา หลวงปู่สีอุปสมบทเมื่อ  พ.ศ.๒๔๓๑  หลวงปู่มั่นอุปสมบท พ.ศ.๒๔๓๖
     
         ส่วนอายุ อ่อนกว่าหลวงปู่สี ๒๑ ปี หลวงปู่มั่น ชาตะ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓  หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ชาตะ วันองคาร เดือน ๕ ปีระกา ตรงกับวันอังคารที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๒
     
         พระอาจารย์ทั้งสองถึงจะอายุต่างกัน แต่มีปฏิปทาปฏิบัติ มุ่งมั่นในพระพุทธศาสนา จากวัยที่ต่างกัน หลวงปู่มั่นจึงให้ความเคารพหลวงปู่สี เรียกหลวงปู่สีว่า "หลวงพี่" ในขณะที่ร่วมเดินธุดงค์ปฏิบัติอยู่ป่า ไม่เฉพาะแต่พระอาจารย์เท่านั้น ในขณะที่หลวงปู่ปฏิบัติอยู่ในดงในป่า หลวงปู่สีท่านได้พบพระที่ชอบปฏิบัติอยู่ตามป่าดงอีกหลายรูปด้วยกัน แต่หากไม่มีใครถามท่านก็จะไม่พูดไม่เล่าให้ฟัง เพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระพูดน้อย สำรวม มุ่งแต่ปฏิบัติเป็นชีวิต
     
         ทราบจากคำบอกเล่าของหลวงปู่บุดดา ถาวโร อายุ ๑๐๑ ปีเมื่อคราวนวดให้ท่านตอนอายุ ๙๙ ปี
     
     
    กลับสู่บ้านเกิด
     
         ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ หลวงปู่ธุดงค์กลับมายังบ้านหมกเต่าบะฮี ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิด และจำพรรษาอยู่ที่ วัดอิสานหมกเต่า
     
         หลวงปู่กลับสู่บ้านเกิด ของท่านอย่างพระเถระผู้รุ่งเรืองด้วยบารมีธรรม นับจากบรรพชาหลวงปู่ท่านก็ได้ผ่านช่วงของการฝึกอบรมตนเองอย่างเข้มข้น ตามปฏิปทาทางดำเนินของพระธุดงค์กรรมฐานอย่างแท้จริงเป็นเวลาถึง ๑๐ ปี
     
         หลวงปู่สีท่านเป็นผู้มีบุญบารมี มีวาสนาที่ได้มีโอกาสได้รับการวางพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง ธนบุรี ตั้งแต่ที่ท่านเป็นเด็กวัดรับใช้สมเด็จฯ และบวชเป็นสามเณร อยู่นานถึง ๙ ปี และติดตามพระอาจารย์อินทร์ ธุดงค์อยู่ป่าอีกหลายปี หลวงปู่สีจึงมีพื้นฐานญาณที่แข็งแกร่ง มั่นคงในทางธรรม จวบกับท่านได้มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตหลายรูปแบบ ทั้ง พรานป่า พ่อค้า ข้าราชการ ทหารกล้าอาสาศึก ตำรวจหลวง ในสมัย รัชกาลที่ ๕ จวบจนท่านมาอุปสมบทเป็นพระมุ่งปฏิบัติธรรมตามป่าดง มุ่งแสวงหาธรรมในป่าเขา มิได้เป็นอยู่สบายเช่นพระเมือง
     
         หลวงปู่สีท่านได้กลับมาโปรดโยมพ่อ โยมแม่ของท่าน และญาติพี่น้องด้วยความกตัญญูและเมตตาธรรม  อาจารย์ประสงค์ ดีนาน อดีตอาจารย์ใหญ่ และหลายชายแท้ๆ ของหลวงปู่สี ได้เล่าว่า วันหนึ่งมีคณะมาสำรวจประวัติของภิกษุวัดต่างๆ อย่างเป็นทางการ เพื่อให่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้สำรวจถามหลวงปู่ถึงชื่อ และฉายา หลวงปู่บอกชื่อ "ลี" นามฉายา "จันทสิริ" (คำของภาษาท้องถิ่น) นั่นคือหลวงปู่ชื่อ ลี จันทสิริ  แต่ต่อมาเมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตาคลีนครสวรรค์ คนทางตาคลีเรียกชื่อท่านว่า "หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ"
     
         หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ  เป็นพระมักน้อย สันโดษ พูดน้อย ฉันน้อย แต่ทำมาก คือใช้เวลาส่วนใหญ่ในการปฏอบัติธรรมกรรมฐาน ทุกอริยาบถ ๔ ท่านมุ่งมั่นในการฝึกฝนโดยเพ่งกสิณเป็นอาจิณ...หลวงปู่สีท่านรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ และของบริขารเครื่องใช้ต่างๆ เป็นอย่างมาก หลวงปู่เช็ดถูกุฏิน้อยของท่านด้วยผ้าขี้ริ้วที่สะอาดอยู่เสมอ เช็ดถูจนขึ้นมันเป็นเงา ท่านจะปัดกวาดกุฏิน้อยและบริเวณข้างเคียงเป็นประจำ จึงดูสะอาดโล่งเตียน และยังได้การบริหารกายคลายเมื่อยขบอีกด้วย  เรื่องความสะอาดนี้อาจารย์สุพจน์ ผู้อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่สีได้เล่าเน้นให้ฟังอีกเช่นกัน
     
         สบง จีวร เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ต่างๆ ของหลวงปู่สีจะดูสะอาดตาอย่างมาก ในการซักผ้านั้น ท่านไม่ให้ใช้สบู่ (สมัยนั้นมีสบู่กรด สบูซันไลด์) เป็นอันขาด ท่านจะใช้ต้มซัก หรือซักด้วยน้ำร้อนเท่านั้น เมื่อซักแล้วท่านไม่ค่อยชอบย้อม สีจึงซีดดูสะอาดตามาก ถ้าจะพึงย้อม หลวงปู่จะให้ย้อมด้วยน้ำต้มแก่นขนุน ตามอย่างโบราณของผ้ากาสาวะ ตามปกติหลวงปู่สีจะปลงผมทุกวันโกน กลางเดือน และสิ้นเดือน ท่านจะปลงผมด้วยตนเอง โดยไม่ส่องกระจกเงา และปลงผมได้เกลี้ยงเกลาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พระในปัจจุบันที่เห็นปลงผมด้วยตนเองก็มี อย่างเช่น ครูบาสร้อย อยู่ที่ท่าสองยาง แม่ตะวอ จังหวัดตาก ติดชายแดน
     
         หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ (ลี จนฺทสิริ) ไม่ฉันเนื้อวัว เนื้อควายเป็นอันขาด ด้วยเป็นสัตว์ที่มีคุณต่อมนุษย์ตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว นหลวงปู่เป็นสำรวมระวังในอาหารการขบฉันตามแบบอย่างของสมณะ อาหารง่ายๆ ที่ท่านชอบฉันเมื่ออยู่วัดอีสานหมกเต่าคือ ข้าวสุกคลุกด้วยกากกะทิที่เคี้ยวเอาน้ำมะพร้าวออกแล้ว และท่านมักแบ่งให้แจกแก่เด็กนักเรียนช่างพักกลางวัน (เพล) ด้วย สมัยนั้นยังไม่มีน้ำมันก๊าดใช้เพื่อให้แสงสว่าง จึงใช้น้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอาเอง  สำหรับน้ำที่ใช้ฉันนั้นท่านจะฉันน้ำต้มสุกทุกเวลา ถ้าต้มไม่สุกท่านจะไม่ฉันด้วย ส่วนมากจะเป็นน้ำช่ น้ำมะตูม น้ำใบกะเพรา น้ำใบเตย รวมทั้งน้ำต้มพืชสมุนนไพร ยาสมุนนไพรด้วย
     
         หลวงปู่สีท่านไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ท่านอยู่ด้วยความวิเวกเงียบสงัด ให้เหมาะแก่การปฏิบัติเพื่อสกัดตัดเสียซึ่งบ่วงแห่งตัณหาทั้งปวง เมื่ออยู่ที่วัดอีสานหมกเต่า ท่านก็เป็น "ครูบาใหญ่" เท่านั้น ไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส และไม่ว่าจะอยู่วัดไหนๆ ด้วยโดยปกติหลวงปู่ท่านจะแยกตัวไปอยู่กุฏิน้อยเพียงรูปเดียว "กุฏิน้อย" ของหลวงปู่สีนั้น ท่านจะยกขึ้นแบบง่ายๆ เป็นการชั่วคราว มีความกว้างพอประมาณ ยกพื้นเตี้ยๆ มีบันใดไม่เกิน ๓ ขั้น แบ่งเป็น ๒ ระดับ เรียกกันว่าพักล่าง-พักบน พักบนเป็นที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน จำวัด พักล่างเป็นที่นั่งปกติ ที่ฉัน และทำกิจบางอย่าง ถ้ามีพระเณรญาติโยมไปเยี่ยมไปหา ก็จะนั่งได้เพียง ๒-๓ ท่านเท่านั้น หลวงปู่สีมีวิธีป้องปรามเด็กๆ ส่งเสียงดังในบริเวณวัด ด้วยการใช้หน้าไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "หน้าถุน" ท่านจะใช้ดินเหนียวคลึงให้กลมขนาดเท่าผลพุทราเขื่องๆ ตากให้แห้งเก็บไว้ใช้เป็นลูกหน้าถุน ถ้ามีพวกเด็กๆ ส่งเสียงดังให้รำคาญหู แม้จะอยู่ห่างกุฏิน้อย หลวงปู่ก็จะยิงหน้าถุนให้ถูกกิ่งไม้ใกล้ๆ เด็ก จนลูกดินเหนียวแตกกระจาย เด็กๆ จะเงียบกริบทีเดียว ท่านไม่ใช้ปากปรามเด็กๆ อันเป็นการส่งเสียงดังเสียเอง และเป็นการระวังปาก ระวังเสียงของท่าน
     
         เหตุที่หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ชอบอยู่ที่กุฏิน้อยตามลำพังนั่นเองในการปฏิบัติพระกรรมฐาน..จึงสรุปเอาเองว่า ท่านหลวงปู่สีเป็นพระที่ไม่เข้าหมูเข้าพวก ไปอยู่วัดไหนก้ให้ยกกุฏิน้อยให้อยู่องค์เดียว ฉันองค์เดียว พอออกพรรษาก็มักจะหนีไปเที่ยวในที่ต่างๆ ไปๆ มาๆ อยู่ไม่เป้นที่ เป็นทาง ไม่แน่นอน ญาติโยมนิมนตืไปงานบุญละแวกบ้านก็มักจะไม่ไป และที่มองว่าหลวงปู่เป็นพระตระหนี่ เห็นแก่ตัวก็มีด้วย  ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่เอื้อหลวงปู่ได้อยู่ตามลำพังอย่างสงบเงียบไม่วุ่นวาย..หลวงปู่สีเองก็ไม่ค่อยอวดตัว ไม่บอกให้รู้ด้วยซ้ำไปว่าท่านกำลังทำอะไร กำลังปฏิบัติอะไร เพื่ออะไร อันนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกหลานญาติโยมทางบ้านเดิมไม่ได้สนใจท่าน ไม่ได้ติดตามถามถึงท่านเท่าที่ควร จะมีเพียงในฐานะเป็นญาติใกล้ชิดเท่านั้นจึงเสมือนใกล้เกลือกินด่าง ไม่มีโอกาส ไม่มีโอกาสได้ชื่นชมบารมีธรรม เมตตาธรรม จากท่านหลวงปู่สี ในเมื่อท่านเข้าสู่ความเป็นผู้พ้นโลกแล้ว..
     
    ภาพถ่ายสุดท้ายของหลวงปู่กลายเป็น "พระทองคำ"
     
         เมื่อปี ๒๕๐๓  ขณะที่หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ยังอยู่ที่กุฏิน้อยวัดอีสานหมกเต่า พ่อจารย์ก๋อม ดำหริห์ หรือบุยมี แห่งบ้านหนองกรุทง หลานผู้เป็นลูกชายน้องสาวคนที่ ๒ ของท่านฝันไปว่า หลวงปู่นำพระพุทธรูปทองคำมาให้ถึงที่บ้าน พ่อจารย์ก๋อมดีใจมากที่ได้พระทองคำ แต่พอตื่นจากหลับก็ไม่เห็นได้ดังฝัน เมื่อใคร่ครวญดูก็รู้แก่ใจว่า หลวงปู่สีให้ภาพถ่ายของท่านแก่ลูกหลานในคราวนี้อย่างแน่นอน พ่อจารย์จึงไปว่าจ้างช่างภาพจากบ้านหนองหลวง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหนองกระทุง ให้ไปถ่ายรูปหลวงปู่สีไว้ให้ (แทนพระทองคำในฝัน) โดยพ่อจารย์เป็นผู้นำไป เมื่อได้กราบนมัสการและแจ้งความประสงค์ต่อหลวงปู่แล้ว ก็ขออนุญาตถ่ายภาพท่านไว้ (ถ้าหลวงปู่ไม่อนุญาตจะถ่ายไม่ติด และบางทีกล้องถ่ายรูปเสย หรือแตก) หลวงปู่ถามหลานชายว่า "กล้องดีไหม จะถ่ายติดหรือ" พ่อจารย์ก็ตอบว่า "ต้องติดแหละครับ เพราะได้ไว้ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว" หลวงปู่บอกว่า ถ้าจะเอาจริงๆ ก็ให้ท่านปลงกรรมฐานเสียก่อนจึงจะถ่ายได้ แล้วหลวงปู่ก็เข้ากุฏิน้อยปลงกรรมฐาน จึงครองผ้าลดไหล่ใส่สังฆาฏิ ออกมานั่งบนเตียงอุปโป (อุโบสถ-ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์) ให้ช่างภาพรูปถ่ายท่าน ภาพถ่ายล่าสุดที่ลูกหลานทางบ้านเดิมได้ไว้ เพราะหลังจากนั้นอีก ๒-๓ ปี หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ก็ไปจำพรรษาที่วัดหนองลุมพุก ตำหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (หนองบัวลำภูปัจจุบัน) และนานๆ ท่านจะกลับมารัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สักคราวหนึ่ง
     
     
  13. Soul Power

    Soul Power เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +452
    “หลวงพ่อคูณ”ฟื้นไข้-เริ่มปั่นจักรยาน


    ความเคลื่อนไหวอาการอาพาธของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ที่เข้ารับการรักษาภาวะปอดอักเสบเรื้อรังที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.2555 ที่ผ่านมา กระทั่งอาการดีขึ้นตามลำดับ บางสัปดาห์ก็มีอาการทรุดลง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่หลอดลมรวม 4 รวบ ล่าสุดอาการดีขึ้นอีกครั้ง


    วันนี้ ( 5 ก.พ.) นพ.พินิศจัย นาคพันธุ์ แพทย์ประจำตัวหลวงพ่อคูณ เปิดเผยว่า วันนี้หลวงพ่อคูณอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน สีหน้าสดชื่น พูดคุยได้มาก ยิ้มและหัวเราะในบางจังหวะ ยังบ่นอยากกลับวัดบ่อยครั้งอยู่เหมือนเดิม ส่วนภาวะหลอดลมอักเสบตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว เสมหะลดลง ไม่มีภาวะติดเชื้อขยายลงไปสู่ปอด แต่ยังต้องฉันยาปฏิชีวนะต่อเนื่องให้ครบ 7 วัน ซึ่งจะครบในวันที่ 6 ก.พ.นี้ ขณะที่ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบตอนนี้สามารถควบคุมได้แล้ว ยังต้องใส่สายสวนและล้างกระเพาะปัสสาวะทุกวัน ทั้งนี้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง


    หลังหลวงพ่อคูณเริ่มฟื้นตัว และมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์ได้ให้หลวงพ่อคูณเริ่มทำกายภาพบำบัดอีกครั้ง โดยการลุกนั่งอยู่กับเตียงคนไข้ ยกแขนขาไปมา แล้วให้ลูกศิษย์ประคองลงจากเตียง พาเดินรอบ ๆ ห้อง จากนั้นจึงให้นั่งปั่นจักรยานไฟฟ้าเบา ๆ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กระปรี้กระเปร่าขึ้น ซึ่งหลวงพ่อคูณสามารถออกแรงถีบได้ดี อย่างไรก็ตาม แม้อาการอาพาธของหลวงพ่อคูณจะดีวันดีคืน ซึ่งสอดคล้องกับสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น แต่แพทย์ก็ยังไม่ประมาท ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่น ๆ ซึ่งหลายครั้งหลายคน ถ้าหากมีปัจจัยอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ก็จะกระทบกับหลวงพ่อทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาอีก


    ส่วนเรื่องการเดินทางกลับวัดบ้านไร่ ซึ่งทุกคนก็จะอยากเห็นหลวงพ่อกลับวัดเสียทีนั้น แพทย์ยังต้องประเมินด้วยความรอบคอบอีกครั้ง ตอนนี้ก็คงต้องรอดูไปเรื่อย ๆ ก่อน ถ้าทุกอย่างพร้อม ถึงเวลาก็ต้องให้หลวงพ่อกลับวัดอยู่ดี เพราะที่วัดบ้านไร่เป็นสถานที่ที่หลวงพ่อยู่แล้วมีความสุข.

    ที่มา เดลินิวส์ 5 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:52 น
     
  14. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๙ : เจ้าปู่เขาภูเกศา, พบศิษย์จังหวัดเลย, พบเพชรเม็ดงามที่หนองคาย
     
         เจ้าปู่เขาภูเกศา
     
         บ้านหนองลุมพุก อำเภอโนนสัง อยู่ห่างจากเขาภูเกศาแค่ไปหาของป่าเช้า-เย็นกลับไม่พอเหนื่อย ชาวบ้านหนองลุมพุกเคารพนับถือหลวงปู่ภูเกศามาก และติดข้างจะกลัวอำนาจลึกลับของเจ้าปู่มากกว่าอย่างอื่น เคารพเกรงกลัวตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงทุกวันนี้ พากันเรียกเจ้าปู่ (ชื่อ ผีตาหลุบ) ว่า หลวงปู่บ้าง "ผู้เพิ่นเทิงภู" บ้าง แม้แต่พระเณรก็นับถือเกรงกลัวเจ้าปู่ภูเกศา กระทั่งท่านหลวงพ่ออินทร์ หลานหลวงปู่สี ก็ยังเคยถูกเจ้าป่าภูเกศาย่ำยีบีฑามาแล้วจนเข้าวัดไม่ถูก
     
         แต่สำหรับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ แล้ว ท่านพูดกับเจ้าปู่ภูเกศารู้เรื่อง เข้าใจกันดี และเจ้าปู่ภูเกศายังเคารพเชื่อฟังท่านอีกด้วย เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเจ้าปู่ภูเกศา เข้ามาซ่อนอยู่ใต้กุฏิน้อยของหลวงปู่ หลวงปู่รู้..จึงพูดขึ้นว่า "มาหลบซ่อนอยู่ทำไม" เด็กลูกหลานเขาเห็นเข้า เขาจะกลัว รีบหนีไปให้พ้นบริเวณเสีย" พอจบคำพูดของหลวงปู่สี เจ้างูใหญ่ก็เลื้อยหนีหายโดยมิชักช้า เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง และมีบ่อยครั้งที่ลูกหลานชาวบ้านหนองลุมพุกถูกเจ้าปู่ภูเกศารังครวญ ก็ได้อาศัยหลวงปู่สีให้ช่วยเหลือ ช่วยพูดจาว่ากล่าวให้เจ้าปู่ภูเกศาเลิกราไป ไม่ก่อกวนให้ได้รับความเดือดร้อน หลวงปู่ก็พูดขอกับเจ้าป่าเจ้าเขาเจ้าปู่ก็ไม่มารบกวนลูกหลานชาวบ้านอีกต่อไป
     
         หมายเหตุ : ที่ยกข้อความดังกล่าวมานี้เป็นคำบอกเล่าของอาจารย์ประสงค์ ดีนาน โดยท่านอาจารย์ชนินทร์ ดีนาน หลานชายของท่านหลวงปู่อีกคนรวบรวมข้อมูลและประวัติหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ส่งมาให้ผู้เขียนเพื่อมิให้ประวัติของหลวงปู่ที่แท้จริงสูญหาย
     
         โยมพ่อ โยมแม่ของหลวงปู่เป็นคนแข็งแรงมีอายุยืน ต่อมามีการใช้นามสกุล โยมพ่อของท่านได้มาใช้นามสกุล "ดำริห์" เซียงผา ดำริห์ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ อายุได้ ๑๐๐ ปี ตอนนั้นหลวงปู่สีมีอายุได้ ๘๓ ปี ต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๘๕  แม่ข้อล้อ ดำห์ ก็ถึงแก่กรรมลง อายุ ๑๑๕ ปี หลวงปู่สีอายุตอนนั้น ๙๓ ปี เป็นครูบาใหญ่ อยู่วัดอีสานหมกเต่า อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
     
         ตอนโยมแม่อายุมาก ท่านให้โยมแม่มาถือศีลอยู่ที่วัดในตอนนั้น ท่านให้ต่อโลงศพ ตั้งไว้บนศาลาวัดด้วยไม้กระบากแผ่นใหญ่ (ใกล้วัดขณะนั้นเป็นดงไม้กระบาก ไม้ตะเคียน)
     
         หลวงปู่ท่านดูแลเอาใจใส่โยมแม่ทานอย่างดี จวบจนถึงแก่กรรมลง ท่านจัดแจงงานศพโยมแม่ของท่านเป็นอย่างดีในช่วงตอนนั้น ท่านจะไม่ธุดงค์ที่ไหนไกลๆ เพราะท่านเป็นหว่งโยมแม่ โยมพ่อของท่าน
     
         จวบจนโยมแม่ของท่านสิ้นลง ท่านจึงธุดงค์จากวัดอีสานหมกเต่า ไปอยู่ที่วัดหนองเหมือดแอ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (หนองบัวลำภู) แต่ก่อนจะจากวัดอีสานหมกเต่า หลวงปู่ท่านได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ ๒ ต้น คือที่หน้าวัด ๑ ต้น และหลังวัด ๑ ต้น ปัจจุบัน (๒๕๓๙) ต้นโพธิ์ทั้สองใหญ่มาก อยู่คู่วัด "หมกเต่า" อำเภอรัตนะ จังหวัดสุรินทร์
     
    พบศิษย์จังหวัดเลย (พ.ศ ๒๔๕๓)
     
         ในบันทึกบอกเล่าของหลาน และศิษย์หลวงปู่สี และจากคำบอกเล่าของ "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ" วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
     
         หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิด ๑๖ มกราคม ๒๔๓๐ มีจิตใจใฝ่ในธรรม อายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโป่ง จังหวัดเลย พออายุได้ ๒๒ ปี ใน พ.ศ.๒๔๕๒ ก็อุปสมบทที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา (อำเภอม่วงสามสิบในปัจจุบัน) จังหวัดอุบลราชธานี
     
         พระภิกษุแหวน สุจิณโณ  ได้ออกจาริกธุดงค์ไปแต่ลำพังผู้เดียว โดดเดี่ยวดั้นด้นเข้าสู่ป่าเขาลำเนาไพรด้วยดวงใจอันเด็ดเดี่ยว พระภิกษุหนุ่มแหวนท่องเที่ยวจากริกไปเรื่อยๆ หยุดพักตามโคนไม้ ชายทุ่งล้าง ชายป่าห่างไกลบ้าง เข้าไปในป่าลึกพักบำเพ็ญเพียรตามชะโงกเขาบ้าง ตามเงื้อมผาบ้าง หรือในถ้ำบ้าง บางวันก็ออกโคจรบิรฑบาต บางครั้ง ๒-๓ วัน ถุงบิณฑบาตครั้งหนึ่ง อาหารที่บิณฑบาตได้ส่วนมากเป็นข้าวเหนียวนึ่งเป็นปั้นๆ เมื่อได้มาแล้วก็นำมาฉันตามมีตามเกิด เป็นการฉันหรือกินข้าวด้วยความไม่มีอุปาทาน คือไม่มีเจตนากินให้อร่อย แต่เป็นการกินเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้...
     
         ในระหว่างที่พระภิกษุหนุ่มแหวน ท่องเที่ยวธุดงควัตรอยู่แถวอีสานแถบถิ่นอุบลราชธานี เข้าสู่จังหวัดเลย ได้พบปะกับพระธุดงค์ในป่าอยู่บ่อยๆ บ้างก็มาจากถิ่นไกลข้ามไกลมาจากฝั่งลาวก็มี
     
         แต่แล้วพระภิกษุแหวนก็ได้พบพระธุดงค์องค์สำคัญ รูปร่างสูงใหญ่ เป็นพระภิกษุที่อยู่ในวัย ๖๒ ปี ผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมีปฏิปทาสูง ลักษณะเป็นผู้มากบุญจิตเมตตา นั่งปฏิบัติธรรมอยู่บนหน้าผาบนหุบเขาในป่าจังหวัดเลย
     
         ในเย็นวันนั้น พระภิกษุแหวนจึงได้มีโอกาสเข้าไปกราบพระภิกษุผู้เคร่งปฏิบัติธรรม เพราะตลอดระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ท่านนั่งปฏิบัติอยู่ พระภิกษุแหวนก้มิได้เข้าไปรบกวน จวบจนพระภิกษุผู้เคร่งปฏิบัติท่านออกจากสมาธิ
     
         หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านก็เพ่งมองอยู่ชั่วครู่ แล้วจึงเอ่ยถามพระภิกษุแหวน ท่านมาจากไหน? พระแหวนตอบ "ผมมาจากจังหวัดเลยครับ ผมเข้าป่าตั้งใจจะแสวงหาที่วิเวกปฏิบัติธรรม"
     
         "...อือม...ตั้งใจดี มั่นภาวนานะ"
     
    เป็นคำพูดสั้นๆ แต่ได้ใจความ
    ในวันต่อมาหลวงปู่สีได้สอนกรรมฐาน โดยย้ำว่าการภาวนาเป็นพื้นฐาน จงมีสติเป็นเพื่อนอยู่เสมอ
    การเรียนรู้ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วย หลวงปู่แหวนได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมีความเพลิดเพลินในการปฏิบัติ เมื่อติดขัดอะไรก็เข้าไปเรียนถามหลวงปู่สี หลวงปู่ก็แนะนำให้เป็นอย่างดี และแจกแจงข้อธรรมอย่างละเอียด อย่างเช่นท่านสอนให้รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเราให้ดี จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทุกอย่างต้องน้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้าหาใจ พระธรรมทั้งหลายให้ยกใจขึ้นเป็นหัวหน้า
    ชำระใจให้บริสุทธิ์ รักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย ไว้ รักษาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ไว้ หมั่นภาวนา พิจารณาให้ดีนะ...ดั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า
    “ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละคือทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน”
    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ พิจารณาเห็นว่า พระภิกษุแหวน เป็นผู้ตั้งใจในการปฏิบัติธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ อย่างสม่ำเสมอ วันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นผู้สืบสานพระพุทธศาสนาต่อไปได้ดี
    หลวงปู่ และพระภิกษุแหวน อาจารย์ และศิษย์ได้ออกธุดงค์ บำเพ็ญเพียรเสาะแสวงหาสัจธรรม ร่วมอยู่ในป่าจังหวัดเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๕๔
    พระภิกษุแหวนติดตามหลวงปู่อยู่ ๒ ปี หลวงปู่สีท่านก็ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้พระภิกษุแหวน สุจิณโณ หลายประการ ก่อนแยกย้าย หลวงปู่ก็เน้นสั่งสอนในข้อปฏิบัติของการออกธุดงค์...คือ
    - อย่าปักกลดที่ไหนเกิน ๗ วัน จะทำให้ติดที่
    - ห้ามนอนปักกลดขวางทางสัตว์เดิน
    - ห้ามปักกลดริมน้ำ (นอน) เพราะธรรมชาติสัตว์จะต้องมากินน้ำริมลำธาร
    - ห้ามปักกลดนอนใต้ต้นไม้ใหญ่เกิน ๓ ราตรี เพราะต้นไม้ใหญ่มีรุกขเทวดาอยู่ จะทำให้รุกขเทวดาเดือดร้อน ไม่กล้าอยู่ จะเข้าออกขึ้นลงก็ลำบาก หากไม่จำเป็นห้ามนอนปักกลดใต้ต้นไม้ใหญ่
    จงอย่าลืม ต้องหมั่นพิจารณากรรมฐาน ทุกเช้าจะต้องตื่นมาพิจารณารับอรุณ เดินจงกรม ทำอานาปานสติ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ทุกย่างก้าวต้องมีสติเน้อ...
    พบเพชรเม็ดงามที่หนองคาย

    (พ.ศ. ๒๔๖๗)

    หลวงปู่บุดดา ถาวโร เกิดที่หมู่บ้านหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี นามเดิม (มุกดา มงคลทอง) เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗
    บิดาชื่อ น้อย มงคลทอง มารดาชื่อ อึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ชาย ๔ หญิง ๓
    พ.ศ.๒๔๕๘ มีอายุได้ ๒๑ ปี ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ถ้าใครใกล้ชิดหลวงปู่บุดดา ท่านก็จะพลิกท้องแขนของท่านให้ดูหลักฐานที่สักเอาไว้ คือ ท.บ. ๓ / ๒๕๘๕ หมายถึงทหารบก ปืน ๓ สมัยรัชกาลที่ ๖ ปี ๒๔๕๘
    ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น หลวงปู่อาสาไปรบยุโรป ตอนนี้ท่านเล่าให้ฟังอย่างสนุก ว่าท่านอยากไปรบ ถึงได้ไปสมัคร แต่เขาตัดออก เพราะเหตุอย่างเดียวคือ ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาบอกกับท่านว่า กินเหล้าไม่เป็น ไปไม่ได้ เพราะยุโรปหนาวมาก ทหารที่ไปรบในยุโรปจะต้องกินเหล้าเป็น เพราะเหล้าจะช่วยลดคลายหนาวเย็น ท่านจึงไม่ได้เข้าไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑
    ต่อมาพ้นทหารแล้วก็ออกมาช่วยพ่อแม่ ประกอบสัมมาอาชีพ ในด้านเกษตร จนอายุได้ ๒๘ ปี ท่านจึงอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕
    อุปสมบทที่วัดเนินยาว ตำบลโนนทอง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีท่านพระครูธรรมขันธ์สุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเรือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้ฉายาว่า “ถาวโรภิกขุ”
    หลวงปู่ท่านกล่าวเสมอว่า ท่านถือพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์ ๒๕ รูป เป็นครูบาอาจารย์ของท่านเป็นปฐม ท่านสอนปัญจกรรมฐานให้ในวันอุปสมบท คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยให้พิจารณาเรียงไปตามลำดับและย้อนกลับจนเห็นได้ชัดเจน
    เมื่อพิจารณาก็เกิดเห็นความเป็นจริง คือ ความไม่เที่ยงแท้ มันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ทั้งกายและจิตใจ เป็นของหาตัวตนไม่ได้ จะยึดว่าเรา ว่าเขาไม่ได้ ถ้าไปยึดติดในสังขาร ร่างกายก็จะเป็นคน
    ในวันหนึ่งขณะที่ผู้เขียนบีบนวดให้ท่านหลวงปู่บุดดา ท่านจะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟังพร้อมทั้งอบรมธรรมต่าง ๆ ให้ได้รู้ ไม่ว่าจะเรื่องสมัยที่ท่านรับราช ธุดงค์การทหาร และการธุดงค์ไปตามป่าเขา หลวงปู่บุดดา
    ท่านเป็นผู้ที่มีความจดจำ แม่นยำมาก เวลาท่านเล่าให้ฟัง สนุกสนาน ท่านจะเล่าให้ฟังทุกครั้งที่นวดให้ท่าน
    วันหนึ่ง ผมเอ่ยถามท่านว่า “หลวงปู่ครับ หลวงปู่พบหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เขาถ้ำบุญนาค ตาคลี เมื่อไหร่ครับ”
    หลวงปู่บุดดา ท่านนิ่งไปสักครู่ ท่านจึงตอบว่า
    “หลวงพ่อลี (สี) น่ะ ท่านเป็นคนสุรินทร์ พบท่านเมื่อบวชได้ พรรษาที่ ๓ ที่ป่าจังหวัดหนองคาย
    ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่ดี มีความรู้มาก ได้ติดตามธุดงค์กับท่าน ตอนหลังท่านมาอยู่ที่ถ้ำเขาบุญนาค ตาคลี นครสวรรค์
    ธรรมะของหลวงพ่อสี ท่านให้ไว้เมื่อคราวติดตามธุดงค์นั้น หลวงพ่อสีท่านให้ไว้...
    เป็นพระป่า
    - อย่ากลัวอด
    - อย่ากลัวเจ็บ
    - อย่ากลัวตาย
    ถ้าไม่กลัว ในสิ่งเหล่านี้ รักษาวินัย หมั่นภาวนา พิจารณากรรมฐาน ก็จะธุดงค์ไปได้อย่างไม่มีอันตราย”
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร ท่านเล่าว่าพรรษาที่สาม หลวงปู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านทุ่ง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พอออกพรรษาท่านก็ออกธุดงค์เข้าป่าแถบป่าเมืองหนองคาย และได้พบหลวงพ่อสี (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ) และได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่สี ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ ๙๕ ปี พ.ศ.๒๔๖๗
    ในเรื่องการเคารพนับถือที่หลวงปู่บุดดา ถาวโร ที่มีต่อหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ นั้น จะเห็นได้จากแม้ในบางครั้งท่านจะเจ็บป่วยอย่างไร เมื่อถึงวาระท่านจะต้องไปกราบหลวงปู่ ทุกปี บางครั้งอาพาธจนลงจากรถไม่ได้ ก็ให้คนขับรถพาท่านไปที่เขาถ้ำบุญนาค แล้วท่านก็กราบนมัสการหลวงปู่จากในรถตู้ที่เป็นพาหนะของท่าน
    นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางเรื่องเท่านั้น ที่หลวงปู่บุดดา ถาวโร ที่มีความเคารพศรัทธามั่นคงต่อหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ
    นอกจากหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่บุดดา ถาวโร ที่พบพานหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ในระหว่างธุดงค์อยู่ในป่า มีความศรัทธาในปฏิปทา อาจรักษาพระวินัยที่มั่นคง มีความรอบรู้แตกฉานในข้อธรรม จนมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ แล้วยังมีพระอาจารย์อีกหลายรูปด้วยกัน ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สี อาทิเช่น.:.
    - หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ตาคลี นครสวรรค์
    - หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
    - หลวงพ่อเจริญ วัดตาลานใต้ ผักไห่ อยุธยา
    - หลวงพ่อจ้อย วัดสายชลรังษี (วัดแหลมบน) จังหวัดฉะเชิงเทรา
    - พระครูนิวิปริยคุณ (อาจารย์สมบูรณ์ ปริสัมปุณโณ) เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี นครสวรรค์
    - พระอาจารย์รักษ์ เตชธัมโม (อยู่พิษณุโลก) เป็นผู้ดูแลหลวงปู่สีตอนอยู่วัดเขาถ้ำฯ
    - พระอาจารย์สุพจน์ (อาจารย์เจ็ก) ฉนฺทชาโต วัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี
    - พระอาจารย์จันทร์ (ญาครูจันทร์) วัดจันทราราม จังหวัดสุรินทร์
    - พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม วัดสัมปทวนนอก ตำบลบางแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา
    - หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ ชัยนาท
    - พระครูวิศิษธ์สมโพธ์ วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
    - ฯลฯ
    ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงบางองค์เท่านั้น เท่าที่ได้ฟังคำบอกเล่าจากหลวงปู่บุดดา ถาวโร และหลวงปู่เย็น ทานรโต เพราะพระอาจารย์ทั้ง ๒ องค์นี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปถวายการนวดหลายครั้งจึงมีโอกาสถามเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากพอสมควร แต่ก็คงมีอีกหลายองค์ด้วยกันที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้
    โดยเฉพาะหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ จนถึงกาลมรณะของหลวงปู่สี
    ในส่วนพระสหธรรมมิกของหลวงปู่ที่ปรากฏชัดเจนก็มีหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท หลวงพ่อป่าน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) จังหวัดสมุทรปราการ
    พระอาจารย์ของหลวงบู่สี ฉนฺทสิริ
    ๑. พระอาจารย์อินทร์ พระธุดงค์ จังหวัดสุรินทร์ (พ.ศ.๒๔๐๒)
    ๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง บางกอกน้อย ธนบุรี (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๑๑)
    ๓ พระครูธรรมขันธ์สุนทร พระอุปัชฌาย์ (พ.ศ.๒๔๓๑) วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
    ๕. พระเทพโลกอุดร (ตอนธุดงค์อยู่ในป่า) (คำบอกเล่าของหลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ ชัยนาท พระสหธรรมมิกของหลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล สหายธรรมของปู่โทน หลำแพร อายุ ๑๐๐ ปี ปู่โทนเป็นสาย “หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร เป็นอาจารย์คนหนึ่งของอาจารย์สมบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้แนะนำอาจารย์สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาค ให้ไปนิมนต์หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ให้มาช่วยสร้างสำนักสงฆ์เขาถ้ำให้เป็นวัดในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ )
     
  15. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ตอนที่ ๑๐ พระสหมิกธรรม, ปฏิหาริย์, อานุภาพพระเครื่อง วัตถุมงคล
     
    หลวงปู่เย็น ทานรโต

    เจ้าตำรับตัว “พ” พระสหธรรมิก กับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร

    หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เกิดวันเสาร์ เดือนสี่ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๔๕ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
    อุปสมบท พ.ศ.๒๔๖๖ วัดเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี เป็นมหาเปรียญ ๕ ประโยค ท่านเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น พูดถึง “มหาเย็น” ทุกคนแถบแถวละแวกนั้นจะรู้จักดี ท่านเป็นพระนักเทศน์ นักปฏิบัติที่เคร่ง เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรที่งดงามในสมัยนั้น ท่านฉันมังสวิรัติ ถือสันโดษ ไม่เกาะติดยึดมั่นกับสิ่งใด มุ่งแต่จะศึกษาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อมาได้เป็นผู้สร้างวัดร้างให้เจริญรุ่งเรือง อาทิเช่น วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน จังหวัดสิงห์บุรี ท่านไปพบเป็นเพียงเศษอิฐหัก ๆ กองสุม มีพื้นฐานเป็นเจดีย์เก่า ท่านก่อสร้างฟื้นฟูจนเจริญรุ่งเรืองดังเช่นปัจจุบัน และวัดสระเปรียญ สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ในสมัยที่ผู้เขียนบวชอยู่ ได้ไปปรนนิบัติหลวงปู่เย็น ท่านเคยชวนให้ไปดูวัดร้าง มีแต่ซากปรักหักพังและกองอิฐ อยู่ไม่ห่างจากวัดกลางชูศรีฯ เป็นเขตแดนติดต่อระหว่างสิงห์บุรี กับชัยนาท ต่อมาท่านก็มาสร้างขึ้นเป็นวัดอีกเช่นกัน
    เรื่องราวของหลวงปู่พระเทพโลกอุดร ท่านเล่าให้ฟังว่า
    ในสมัยนั้นท่านยังจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆัง ธนบุรี วันหนึ่งท่านเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินแบกกลดสะพายบาตรผ่านมา พอท่านเห็นก็เกิดความเลื่อมใส จึงเข้าไปกราบนิมนต์ขอให้พระธุดงค์รูปนั้นเข้ามาพักที่กุฏิของท่านก่อน เมื่อพระธุดงค์รูปนั้นเข้ามาพักที่กุฏิของท่าน จึงเอาน้ำมาถวาย หากาสนะมาปูให้นั่งพักผ่อน พอพระธุดงค์ฉันน้ำเรียบร้อยสักพัก ท่านก็ถามพระธุดงค์ว่า
    “หลวงพ่อจะไปไหน?”
    ท่านก็ตอบว่าจะไป “ธุดงค์”
    พระธุดงค์รูปนั้นก็เล่าถึงเรื่องการเดินธุดงค์ไปยังเมืองลาวให้ฟังว่า ต้องเดินทางผ่านป่าเขาซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่า ที่ร้ายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ต้องเดินผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่ง เรียกว่า “บ้านแก้ว”. ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษยาสั่ง คนแปลกหน้าเดินผ่านหมู่บ้านนี้ไม่ได้ จะต้องถูกยาสั่งเสมอ น้อยคนที่จะผ่านหมู่บ้านนี้ได้อย่างปลอดภัย
    หลวงปู่เย็นได้ฟังดังนั้น เกิดความสงสัยจึงถามพระธุดงค์ว่า
    “ท่านไม่กลัวเขาทำให้ตายหรือ?”
    พระธุดงค์ก็ตอบเป็นปริศนา..
    “เขาทำให้ตาย กินข้าวได้ เราไม่กลัว”
    ต่อจากนั้นก็สนทนาเรื่องอื่นๆ จึงรู้ว่าพระธุดงค์ที่ท่านสนทนาอยู่ด้วยนั้น ไม่ใช่พระธรรมดา เป็นพระอภิญญาผู้เรืองวิทยาคม
    หลวงปู่เย็นจึงเอ่ยขึ้นว่า ท่านธุดงค์ไปทั่วสารทิศไม่ว่า เมืองแขก เมืองลาว เขมร พม่า ไทย หลวงพ่อจะต้องมีของดี ท่านก็บอกว่ามี และเหมือนจะรู้ใจว่า หลวงปู่เย็นอยากจะขอของดีจากท่าน ท่านก็ให้หลวงปู่เย็นไปหยิบก้านธูปที่บูชาพระมาให้ท่าน
    ท่านก็หักก้านธูปเป็นตัว “พ” แล้วเอาด้ายสายสิญจน์มาพันตัว “พ” พร้อมทั้งสาธุยายมนต์กำกับตัว “พ” ให้ฟัง พอเสร็จท่านก็ส่งมอบให้ และบอกว่า
    “เป็นแก้วสารพัดนึก สามารถให้เป็นไปตามปรารถนาได้ทุกประการ”
    ของวิเศษนี้ สร้างขึ้นง่ายดาย ไม่ต้องใช้วัสดุอื่นให้ยุ่งยาก ใช้แต่ก้านธูปที่บูชาพระและด้ายสายสิญจน์เท่านั้น พอท่านรับของวิเศษตัว “พ” ท่านก็ก้มลงกราบ แต่น่ามหัศจรรย์ พอเงยหน้าขึ้น พระธุดงค์รูปนั้นก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย
    ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ถือว่าพระธุดงค์รูปนั้นเป็นครูบาอาจารย์ของท่าน แต่ท่านก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร?
    ต่อเมื่อภายหลังมีผู้เอารูปหลวงพ่อพระครูเทพโลกอุดรมาให้ท่านปลุกเสก ท่านจึงจำได้ว่าเป็นพระองค์ที่มาถ่ายทอดตัว “พ” ให้ จึงถามผู้นั้นว่า
    ”เอามาจากไหน? ข้าขอสักรูปได้ไหม”
    ศิษย์คนนั้นก็ขยายรูปใหญ่มาถวายให้ท่าน ท่านเล่าพร้อมกับชี้นิ้วไปที่รูปพระครูเทพโลกอุดร ที่ตั้งบูชาไว้ที่บนหัวนอนของท่าน
    ต่อมาท่านก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ท่านเล่าว่า “ใครว่าที่ไหนดี กูก็ไป ใครว่าพระองค์ไหนเก่ง กูไปขอเป็นศิษย์”
    “มีใครบ้างล่ะหลวงปู่...”  ผมถาม
    นอกจากพระครูเทพโลกอุดร องค์ต่อไปก็หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณ เจ้าคุณศรี วัดพระธาตุ หลวงพ่อสี พระธุดงค์ในป่า (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ)
    พอเอ่ยถึงหลวงพ่อสี ผมก็ถามท่านว่า
    “หลวงปู่พบหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ที่ไหน”
    ผมพูดพร้อมทั้งเอารูปหลวงปู่สีให้ดู
    ท่านบอกว่า
    “พบในป่าแถบลพบุรี ท่านเป็นพระดี พระเก่ง พูดน้อย ปฏิบัติมาก เวลาไปไหน? พบต้นไม้ใหญ่ ๆ ท่านจะยืนคุยกับรุกขเทวดา สักพักท่านจึงเดินทางต่อไป เวลาท่านพักตามถ้ำ จะได้ยินท่านพูดคุยกับรุกขเทวดา บางครั้งท่านก็แสดงธรรมแผ่เมตตา หลวงพ่อสี ท่านเป็นพระที่มีเมตตา หลวงพ่อสี ท่านเป็นพระแท้ เป็นพระทองคำ”
    หลวงปู่เย็น ทานรโต เทพเจ้าแห่งตัว “พ” ท่านกล่าวถึง หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ด้วยหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ด้วยจิตใจที่ยกย่องเคารพบูชา...
    ย่นระยะทางไปพบสหายธรรม

    ในสมัยที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่สีมักจะเดินทางไปสนทนาธรรมกันอยู่บ่อยครั้ง ในบางครั้งหลวงปู่ศุขก็เดินทางไปพบหลวงปู่สี และบางครั้งก็ไปพบกับหลวงปู่สี และบางครั้งก็ไปพบกับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ ทั้งสามท่านมีความผูกพันกันมาก มักจะผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปพบซึ่งกันและกัน และในบางครั้งก็ออกธุดงค์ไปตามป่าดงพงเขาด้วยกันในบางครั้งบางคราว
    พระสหธรรมทั้งสาม หลวงปู่กลั่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่สี ทั้งสามเกิดปี พ.ศ.ใกล้เคียงกัน หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ เกิดปี พ.ศ.๒๓๙๐ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรฯ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ส่วนหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งอ่อนกว่าทั้งสองท่านเพียง ๒ ปี แต่พระอาจารย์ทั้งสามท่านก็มีความผูกพันกัน ธุดงค์และศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกัน
    ในครั้งที่หลวงปู่ศุขเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่สีได้เดินทางไปเยี่ยมและอยู่สนทนาธรรมกัน หลังจากที่ออกพรรษาแล้วหลายวัน หลวงปู่สีก็คิดว่าจะออกเดินธุดงค์ต่อไป แต่หลวงปู่ศุขก็ขอร้องให้หลวงปู่สีรออยู่ที่วัดก่อน
    เช้าวันนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็ออกบิณฑบาต ฝ่ายหลวงปู่ลี พอเห็นหลวงปู่ศุขไปแล้วท่านก็เก็บของของท่านที่จำเป็นแล้วออกเดินทางไป
    เมื่อหลวงปู่ศุขกลับจากบิณฑบาต ทราบจากพระในวัดว่าหลวงปู่สีท่านไปแล้ว หลวงปู่ศุขจึงให้พระเณรฉันข้าวก่อน เดี๋ยวจะกลับมาฉันด้วย ต่อจากนั้นท่านก็เข้ากุฏิ นำพระคัมภีร์ ๓ เล่ม ตามไปให้หลวงปู่สี
    ปรากฏว่าพระอาจารย์ทั้งสองรูปมาพบกันที่ตาคลี จากนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็เดินทางกลับวัดที่ชัยนาท ไปฉันอาหารร่วมรับพระเณรจนเสร็จ
    พระอาจารย์ทั้งสามรูปนี้ท่านสำเร็จอภิญญาชั้นสูง จึงสามารถย่นระยะทางไปไหนมาไหนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระยะทางจากชัยนาทมาถึงตาคลี ระยะทางประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร ถ้านั่งรถก็ต้องใช้เวลาเกือบชั่วโมงเห็นจะได้
    ในเรื่องฤทธิ์เดชต่างๆ นี้ เวลาที่ลูกศิษย์ถามหลวงปู่ท่านจะแกล้งล้มตัวลงนอน ไม่ตอบคำถามของลูกศิษย์ แต่หากถามเรื่องธรรมะต่างๆ ท่านก็จะขยายข้อธรรมให้อย่างชัดเจน เพราะท่านไม่ต้องการให้ลูกศิษย์โดยเฉพาะพระภิกษุไปติดในเรื่องเดชฤทธิ์อำนาจ ท่านต้องการให้ใฝ่ใจในเรื่องการปฏิบัติธรรม
     

    ปาฏิหาริย์ แยกกายโปรดโยม

    เมื่อราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางวัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี ได้จัดให้มีงานประจำปีขึ้น ซึ่งไปตรงกับงานอีกวัดหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ซึ่งทางวัดก็ได้นิมนต์หลวงปู่สี ไปโปรดญาติโยมชาวจังหวัดชลบุรี ในงานที่วัด หลวงปู่สี ท่านก็รับปากว่าจะไป ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙
    งานวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่วัดในจังหวัดชลบุรีที่ได้นิมนต์หลวงปู่ไว้ หลวงปู่ท่านก็ไปประพรมน้ำมนต์ให้ญาติโยมในงานที่วัดชลบุรี ตามคำนิมนต์
    ต่อมาวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๙ ชาวจังหวัดชลบุรี ก็เหมารถมาเที่ยวที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ตั้งใจมากราบหลวงปู่สี เพราะติดใจหลวงปู่สี ที่ได้กราบรับพรจากหลวงปู่เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่วัดในจังหวัดชลบุรี
    ข่าวหลวงปู่เดินทางไปจังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ แพร่ออกไป เหล่าลูกศิษย์หลวงปู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ต่างก็แปลกใจและงงไปตามๆ กัน เพราะว่าทุกคนก็เห็นว่าวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ นั้นหลวงปู่ท่านไม่ได้ไปไหน ท่านอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคตลอดเวลา เพราะว่าทางวัดมีงาน มีคนมากราบไหว้หลวงปู่อยู่ตลอดเวลา
    พระและลูกศิษย์ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคจึงไปกราบถามหลวงปู่ว่า
    “หลวงปู่ครับ เมื่อวานหลวงปู่ไปเมืองชลบุรีมาหรือครับ”
    หลวงปู่ท่านไม่ตอบ พอมีคนมาถามนัก ท่านก็เลยล้มตัวลงนอน เลยไม่มีใครกล้าถามอะไรท่านอีก
     

    เมตตาธรรม

    ความเมตตาของหลวงปู่สีนั้นท่านมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเทพเทวา รุกขเทวดา ดวงวิญญาณทั่วไป ท่านจะโปรดแผ่เมตตาจิตไปให้ อีกทั้งมนุษย์ และสัตว์ทั่วไปจะเห็นได้จากเวลาที่หลวงปู่สีท่านฉันอาหารจะมีสัตว์ต่าง ๆ มารายล้อมท่าน อาทิ นก ไก่ ลิง แมว สุนัข ท่านก็หยิบอาหารแบ่งให้สัตว์เหล่านั้น สัตว์นานาชนิดเหล่านั้นก็ต่างกินอาหารกันอย่างเป็นระเบียบ ไม่แย่งกัน ไม่กัดกัน ท่านจะนั่งมองด้วยสายตาที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตา
    ครั้นถึงเวลานอน ก่อนที่ท่านจะเข้านอนท่านจะต้องเอาเศษผ้าจีวร และผ้าเก่า ๆ มาเดินห่มให้ แมว สุนัขทุกลัว ที่นอนอยู่ในบริเวณกุฏิของท่านอย่างทั่วถึง
    หลวงปู่ท่านมีความเมตตาต่อสัตว์มาก ท่านจะสนใจให้ข้าวให้น้ำ มันกินอยู่เสมอ บางคราวท่านเห็นว่ามันจะได้รับอันตราย ท่านก็จะเอาเศษผ้าเช็ดน้ำหมากของท่านฉีกผูกคอทั้งสุนัข แมว ไก่ ซึ่งสัตว์เหล่านั้นถูกพวกขี้เหล้าเมายาอันธพาลรังแก ทำร้าย ท่านจึงได้พิจารณาแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ นำเอาผ้าเช็ดน้ำหมาก ผูกคอคล้องคอให้สัตว์เหล่านั้น ถึงแม้ว่าสัตว์เหล่านั้นจะถูกทำร้าย ถูกรังแกนับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นไม่เคยมีตัวใดได้รับอันตรายเลย ไม่ว่าจากอาวุธชนิดใด มีด ปืน ระเบิดยิงออกบ้าง ไม่ออกบ้าง สุดแต่วิบากของสัตว์เหล่านั้นในเวลานั้น หนักจะเป็นเบาและปลอดภัย
    รถทับไก่

    มีอยู่คราวหนึ่ง มีนายทหารท่านหนึ่งได้ยินกิตติศัพท์ของท่านจึงขับรถเบนซ์ของตนเดินทางไปเพื่อกราบพบหลวงปู่ท่าน ครั้นเมื่อไปถึงได้เห็นหลวงปู่นั่งยองๆ อยู่ในกุฏิ เปลือยกายท่อนบน กุฏิของท่านมีแต่สุนัข แมว แถมเป็นขี้เรื้อนด้วย ก็เกิดความรังเกียจไม่เลื่อมใส ก็เลยไม่ยอมเข้าไปกราบ เดินมาขึ้นรถกลับ แต่ในขณะนั้นมีไก่ซึ่งหลวงปู่เลี้ยงไว้ ได้เดินเข้าไปอยู่ใต้ท้องรถพอดี
    นายทหารผู้นั้นไม่ทันเห็นจึงขับรถออกไป ทำให้ล้อรถทับไก่เข้าเต็มที่ ผู้คนที่อยู่ในวัดต่างร้องขึ้นด้วยความตกใจ ทำให้นายทหารผู้นั้นต้องหยุดรถลงมาดู คิดว่าคงเละแน่ แต่ผลกลับปรากฏว่าไอ้ตัวนั้นไม่เป็นอะไรเลย หลังจากถูกทับแล้ว มันขยับปีกไปมาสักชั่วอึดใจ แล้วก็เดินจากไปคุ้ยเขี่ยหากาหารกินของมันตามปกติ เท่านั้นแหละ นายทหารผู้นั้นถึงกับตะถึงงัน รีบถอยรถกลับไปกราบนมัสการหลวงปู่ทันที พร้อมทั้งขอของดีไว้ใช้ติดตัว ทราบว่าได้ไปหลายอย่างทีเดียว
     

    ไก่กับระเบิด

    ภายหลังนายทหารผู้นั้นกลับไป ได้มีผู้ใต้บังคับบัญชาหลายคน เดินทางมากราบหลวงปู่อีก เพื่อขอวัตถุมงคล ในระยะนั้นหลวงปู่ท่านยังไม่อนุญาตให้สร้างวัตถุมงคล ท่านจึงคายชานหมากให้ไปกันทุกคน มีทหารผู้หนึ่งซึ่งได้ชานหมากไปด้วย ก็คิดลองดีว่าจะแน่สักแค่ไหน เลยเอาไปแขวนคอไก่ พอไก่เดินออกไปได้ระยะพอสมควร ก็สั่งเพื่อนๆ หมอบ พร้อมทั้งโยนระเบิดสังหารเข้าใส่ไก่ตัวนั้นทันที
    ตูม...เสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว ไก่มันตกใจก็บินขึ้นและตัวมันก็เจอระเบิดเข้าเต็มที่ ขนหลุดปลิวว่อนไปหมด แต่พอมันหล่นลงพื้น ก็มีอาการซวนเซเล็กน้อย ชั่วครู่ก็ออกหากินได้ต่อไป ไม่เป็นอะไรเลย ไม่มีแม้แต่บาดแผล
    นายทหารผู้เป็นนายได้ทราบเรื่องเข้า มีความเชื่อมั่นในองค์หลวงปู่ยิ่งขึ้น แต่ก็โกรธมากเช่นกัน ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำการทดลองในลักษณะนั้น ผลที่สุดก็สั่งกักบริเวณทหารผู้นั้นไปเสีย ๑๕ วันสบาย ๆ
    หลวงปู่นั้นอันที่จริงแม้ว่าท่านจะหยิบจะจับอะไรล้วนแล้วแต่กลับกลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ไปทั้งสิ้น.แม้แต่ผ้าที่ท่านใช้เช็ดปากเช็ดน้ำหมากก็ตามที ท่านมักฉีกเอาไปผูกคอสุนัขบ้าง แมวบ้าง ด้วยเมตตามันที่มันถูกรังแกบ่อยๆ
    ครั้งหนึ่งมีสุนัขบ้านใกล้ๆ วัด หลงเข้ามาคลุกคลีกับท่าน จึงเอาผ้าเช็ดน้ำหมากฉีกผูกคอมันไป ต่อมาสุนัขตัวนั้นไปรบกวนสัตว์อื่น เช่น เป็ด ไก่ จนกระทั่งเจ้าของสัตว์ปีกเหล่านั้นเหลือจะทน จึงใช้ปืนลูกซองยิงมัน แต่ปรากฏว่าด้วยอานุภาพผ้าเช็ดน้ำหมาก ยิงถูกแต่ไม่เข้า สุนัขตัวนั้นวิ่งกลับไปยังบ้านเจ้าของของมัน ผู้เห็นเหตุการณ์นำเรื่องไปบอกเล่าให้เจ้าของฟัง ก็เลยเกิดการถอดผ้าผืนนั้นเก็บไว้บูชาเสียเอง ภายหลังเมื่อสุนัขตัวนั้นเข้าไปในวัดอีก หลวงปู่ท่านก็เมตตาผูกให้มันใหม่ และจากเหตุนี้เอง ทำให้ผ้าเช็ดน้าหมากของท่านอันตรธานไปบ่อยๆ แต่ใช่ว่าหลวงปู่ท่านจะหลงลืม เปล่าเลย ท่านจำของท่านได้ว่าท่านมีของท่านกี่ผืน จนกระทั่งท่านบ่นว่า.เอาไปทำไมกัน แต่ก็ห้ามศรัทธาของชาวบ้านไม่ได้
    หลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้ร่ำลือกันไปสู่สาธารณชนทั่วไป ดังนั้นผู้ที่ได้รับทราบกิตติคุณของหลวงปู่ ต่างก็เดินทางไปกราบไปนมัสการ ทั้งจากที่ใกล้และที่ไกล ต่างก็อยากได้แต่ขี้หมากชานหมากของท่าน จนท่านเคี้ยวหมาก ฉันหมากแจกให้ไม่ทัน และไม่พอแจก นี่เองจึงเป็นเหตุให้ท่านต้องอนุญาตให้บรรดาศิษย์ผู้ที่เคารพในองค์ท่านสร้างวัตถุมงคลขึ้น แม้ท่านไม่อยากให้สร้าง
    เพราะไม่ต้องการชื่อเสียงก็ตาม แต่ในที่สุดก็ทนต่อคำอ้อนวอนขอร้องของบรรดาศิษย์ไม่ได้
    ก่อนที่จะกล่าวถึงการสร้างวัตถุมงคลของท่าน ขอกล่าวถึงชานหมากของท่านสักเล็กน้อย หลวงปู่ท่านเมื่อคายชานหมากแล้ว ก่อนมอบให้ผู้ใด ท่านจะจำมาแบ่งเป็นก้อนๆ ซึ่งคำหนึ่งได้เพียง ๓-๔ ก้อนเท่านั้น แล้วท่านจะฉีกผ้าเช็ดหมาก
    บ้าง ผ้าจีวร สบง ผ้าอาบน้ำฝน สีส้มๆ ห่อแล้วผูกไว้อย่างดี จึงมอบให้ผู้ต้องการรับเอาไปติดตัวใช้ หากท่านสาธุชนท่านใดได้พบเห็นห่อผ้าเหลืองกลม ๆ มีขี้หมากอยู่ข้างใน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตรละก็ ให้ทราบได้เลยว่า ท่านได้พบสุดยอดวัตถุมงคลแล้ว หรือหากท่านใดมีไว้ในครอบครองอยู่แล้ว ก็พึงเก็บรักษาไว้ให้ดี นั่นเพราะเป็นสุดยอดวัตถุมงคลจริงๆ และหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากจนถึงวันนี้เวลานี้ ไม่มีใครมาเคี้ยวมาฉันให้เราอีกแล้ว เพราะหลวงปู่ได้มรณภาพไปตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เป็นเวลาถึง ๒๐ ปีแล้ว ผู้ใดมีไว้ในครอบครองพึงหวงแหนอย่างยิ่ง
    ในยุคสมัยโบราณนั้นครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่นิยมสร้างพระเครื่อง หรือสร้างรูปหล่อรูปท่านเอง ถ้าจะสร้างก็เป็นการสร้างเพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา ในการบรรจุลงในพระเจดีย์ต่างๆ ที่สำคัญ หรือบรรจุไว้ในองค์พระประธาน ใต้ฐานพระประฐาน จะไม่ทำซื้อขายจ่ายแจกกันอย่างมากมายเช่นในยุคปัจจุบัน
    วัตถุมงคลที่นิยมสร้างขึ้นแจกให้ลูกศิษย์ลูกหาหรือคนที่สนิท ก็จะเป็นพวกผ้ายันต์มงคล แหวนพิรอด เสื้อยันต์ ตะกรุด เบี้ยแก้ เบี้ยกัน ลูกอม ลูกอมที่แจกก็มีลูกอมที่ทำมาจากเนื้อดิน เนื้อผง และจากชานหมาก
    นอกจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ที่มีชานหมากอันวิเศษที่นักสะสมวัตถุมงคลต้องการแสวงหากันแล้ว ก็มีชานหมากของ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ที่มีคุณวิเศษนับว่าเป็นหนึ่งเช่นกัน
    หลวงปู่สี ท่านเป็นนักกินหมากมาตั้งแต่วัยรุ่น ไม่ว่าท่านจะไปไหนมาไหนท่านจะต้องมีหมากห่อพกติดตัวท่านไว้ตลอดเวลา และเมื่อท่านบวชเรียนเป็นครูบาอาจารย์มีผู้คนกราบไหว้ท่าน บ้างก็ขอของดีจากท่าน ท่านเป็นพระโบราณรูปหนึ่งที่ไม่นิยมสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปพระจ่ายแจก ท่านมายอมให้สร้างก็ตอนปลายๆ อายุท่าน คือเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา จนถึงกาลมรณะของท่านเท่านั้น
    ก่อนหน้านั้นไม่มีประวัติการสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปองค์พระหรือเป็นรูปองค์ท่าน นอกจากแจกตะกรุด ผ้ายันต์และคำหมาก “ชานหมาก” เท่านั้น
    คำหมาก หรือ ชานหมาก ที่ได้รับจากมือหลวงปู่สี ส่วนใหญ่ท่านจะฉีกเศษจีวรเก่าที่อยู่ข้างกายของท่านผูกห่อเป็นคำ มอบให้กับศิษย์ และหลวงปู่ก็จะกำชับว่า “อย่าแกะ อย่าลอง”
    ในเรื่องการทดลองของวัตถุมงคลหลวงปู่ มีเรื่องเล่ากันว่า
    นายทหารเคยเอาไปลองแขวนคอไก่แล้วลองยิงด้วยปืน แต่ปรากฏว่าไม่ออก และบางครั้งก็เอานักแม่นปืนเหรียญทองมาลองยิงถึงออกก็ไม่ถูก จนเป็นที่เลื่องลือ และแสวงหากันอย่างมากมาย แต่
    พอนายทหารคนที่นำวัตถุมงคลของหลวงปู่ไปทดลองยิง มากราบหลวงปู่ที่กุฏิ หลวงปู่ก็จะพูดขึ้นว่า วันนี้พวกเอ็งสนุกกัน แต่ข้าเจ็บปาก ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่หลวงปู่ห้ามทดลอง เพราะของของท่าน ท่านจะต้องคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้มีติดตัวให้พ้นเคราะห์กรรม แต่ท่านต้องรับกรรม
    ชานหมากของหลวงปู่ พระอาจารย์บางองค์ แม้แต่ที่วัดเขาถ้ำเองก็เอาชานหมาก น้ำหมากของหลวงปู่ไปผสมทำเป็นพระเครื่องในรุ่นต่าง ๆ ทราบว่ามีหลายรุ่นที่ผสมชานหมาก น้ำหมาก
    ของหลวงปู่สี บ้างก็เอาไปผสมทำเป็นลูกอม (ลูกอมเนื้อผงผสมชานหมาก)
    เคยพบชานหมากรุ่นเก่าๆ ของหลวงปู่สี แต่ปรากฏว่าผ้าจีวรที่ห่อไว้ขาดไปหมดแล้วเหลือแต่ชานหมาก ภายหลังที่จีวรชำรุดแล้ว จึงนำมาใส่กรอบไว้ แต่รุ่นที่ออกมาจากวัดเขาถ้ำบุญนาค ส่วนใหญ่จะมีผ้าจีวรผูกมัดไว้อยู่เป็นส่วนใหญ่
    ในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เดชฤทธิ์ ความมหัศจรรย์ ในคุณวิเศษของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ นั้น มีมากมาย โดยเฉพาะในเรื่อง “ชานหมาก” ของหลวงปู่ มีเรื่องเล่าขานถึงคุณวิเศษ มากมาย ดังจะขอยกเอาบันทึกข้อเขียนของ พ.ต.ท.อรรณพ กอวัฒนา มาสอดแทรกไว้เพราะเป็นบันทึกข้อเขียนที่ดีมาก กล่าวอ้างถึงบุคคลและสถานที่ไว้อย่างละเอียด จึงขออนุญาตนำมาลงไว้เพื่อความชัดเจนในเรื่องประวัติของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ว่าเป็นเรื่องจริงมิใช่เรื่องนิทานเล่าขานเพื่อยกย่องครูบาอาจารย์เท่านั้น
     
    การสร้างวัด

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเดินทางออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ หลายประเทศ หลายจังหวัดรวมระยะเวลาเกือบร้อยปี หรือเรียกว่าเกือบจะตลอดชีวิตที่ท่านครองเพศบรรพชิต
    ครั้งสุดท้ายก่อนที่ท่านจะมาสร้างวัดเขาถ้ำบุญนาคนั้น ท่านได้ไปสร้างวัดที่หนองลุมพุก อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ต่อมาพระอาจารย์สมบูรณ์ ที่พระครูนิวิฐปริยัติคุณ พร้อมด้วยชาวบ้านเขาถ้ำบุญนาค ได้พากันไปนิมนต์ให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดเขาถ้ำบุญนาค ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นสำนักสงฆ์
    อาจารย์สมบูรณ์ท่านเล่าว่าในสมัยที่วัดนี้ยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์กุฏิหลังเล็กๆ หาทางเข้าออกก็ไม่สะดวก ไปมาลำบาก แต่หลวงปู่ท่านชอบสภาพป่า ท่านเมตตา ท่านเต็มใจที่จะมาช่วยสร้างวัด ท่านเป็นผู้วิเศษ มีญาณหยั่งรู้กาลล่วงหน้า ว่าจะมีใครไปมาหาสู่ท่านและไปมาหาสู่ท่านในเรื่องอะไร ท่านล่วงรู้กาลล่วงหน้าได้ วันที่ไปรับนิมนต์ท่านนั้น หลวงปู่ท่านเตรียมตัวไว้พร้อมแล้ว สมบัติของท่านไม่มีอะไร ท่านเป็นผู้ที่ไม่สะสม ท่านมีกระเป๋าเก่าๆ ใส่ของใช้เล็กๆ น้อยๆ อยู่หนึ่งใบ ปัจจุบันนี้ทางวัดเก็บของทุกอย่างของหลวงปู่ไว้
    ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางมาพร้อมกับคณะที่ไปนิมนต์ท่านให้มาอยู่จำพรรษาที่เขาถ้ำบุญนาค เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ต่อมาชาวตาคลีพอรู้ว่าหลวงปู่มาอยู่ที่เขาถ้ำบุญนาคก็พามันมากราบไหว้หลวงปู่กันมากมาย สำนักสงฆ์ที่เก่ามอซอ ก็กลับมีชีวิตชีวาขึ้น มีการปลูกสร้างสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว ต่อมาก็มีถนนหนทางเข้าวัด ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ก็ช่วยกันสร้าง
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาค ก็ยกฐานะขึ้นเป็นวัดโดยมีท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ หรือ ท่านพระครูนิวิฐปริยัติคุณเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบันนี้.
    หลวงปู่ลี ฉนฺทสิริ ท่านไม่สนใจในยศตำแหน่งใดๆ ท่านต้องการเพียงช่วยสร้างวัด สร้างโบสถ์.สร้างศาลาการเปรียญ สร้างกุฏิสงฆ์ สร้างถนนหนทาง สร้างวัดให้เป็นที่วัดที่สมบูรณ์ ส่วนตัวท่านเอง แม้แต่ลูกศิษย์จะร่วมใจกันสร้างกุฏิให้ใหม่ท่านก็ไม่ยอมอยู่ ท่านชอบอยู่ถ้ำและกุฏิหลังเก่า ในเรื่องนี้จึงมีเรื่องราวเล่าขานกันตราบเท่าทุกวันนี้ ในเรื่อง “ไม่อยากอยู่กุฏิหลังใหม่”
    ไม่ยอมอยู่กุฏิหลังใหม่

    เป็นที่รู้จักกันว่าหลวงปู่สีท่านเป็นพระปฏิบัติที่ไม่ติดในวัตถุ ไม่สะสม และไม่ติดยึดในสิ่งใดๆ แม้แต่ความสะดวกสบายต่างๆ ที่ลูกศิษย์ทุกคนพร้อมที่จะถวายให้ท่าน แต่ท่านไม่เอา ดังนั้นกุฏิของท่านที่อยู่จึงเป็นกุฏิหลังไม้เก่าๆ หลังเล็กๆ หรือไม่ก็ในถ้ำที่ท่านชอบเข้าไปปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
    ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ เจ้าอาวาสเขาถ้ำบุญนาค ดำริที่จะสร้างกุฏิหลังใหม่ให้หลวงปู่ คณะกรรมการทุกคนก็พร้อมใจกัน จึงได้เรียกช่างปูนมาทำการก่อสร้าง โดยสร้างเป็นกุฏิปูนชั้นเดียว พอท่านทราบเรื่องว่าจะสร้างให้ท่าน ท่านก็บอกว่าจะไม่ยอมไปอยู่กุฏิหลังใหม่
    เป็นที่น่ามหัศจรรย์ หลังจากที่หลวงปู่สีท่านพูดเช่นนั้น ช่างปูนที่รับคำสั่งจากท่านเจ้าอาวาสได้ลงมือก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ วันนั้นปรากฏว่าช่างปูนไม่สามารถฉาบปูนได้เลย เพราะฉาบปูนเท่าใดก็ไม่ติด กระทั่งช่างปูนนึกท้อใจ เพราะไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อนเลยในชีวิตที่รับงานก่อสร้างมานับไม่ถ้วน ในที่สุดก็ตัดสินใจเลิกทำ ความทราบถึงท่านเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์รักษ์ เตชธัมโม ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากของหลวงปู่ ได้ไปนมัสการหลวงปู่
    “หลวงปู่ครับทำไมไปแกล้งช่างปูนอย่างนั้น”
    หลวงปู่สีท่านก็ตอบว่า “ไม่ได้แกล้ง แต่ไม่อยากไปอยู่กุฏิหลังใหม่”
    พระภิกษุรักษ์ เตชธัมโม จึงได้บอกกับหลวงปู่
    “หากหลวงปู่ไม่อยากอยู่ก็ไม่เป็นไร ให้ช่างปูนเขาสร้างให้เสร็จก่อน”
    ต่อจากนั้นอีก ๒ วัน พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเจ้าอาวาส เรียกช่างปูนมาทำใหม่ ซึ่งคราวนี้ช่างปูนสามารถฉาบปูนได้เป็นผลสำเร็จอย่างไม่มีปัญหา เพียงวันเดียวก็สามารถฉาบปูนสำเร็จหมดทั้งกุฏิ ทีมงานก่อสร้างในครั้งนั้นต่างเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทุกตัวคน
    กุฏิหลังดังกล่าว ในสมัยที่หลวงปู่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยได้ไปใช้สอยเลย แต่หลังจากที่ท่านมรณะแล้ว บรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้อัญเชิญศพของท่านบรรจุลงโลงแก้ว แล้วประดิษฐานไว้ที่กุฏิหลังใหม่ ซึ่งเป็นการสะดวกที่จะให้ลูกศิษย์ของหลวงปู่ไปกราบไหว้บูชาหลวงปู่ แต่ปัจจุบันได้ย้ายสังขารของหลวงปู่มาอยู่ที่มณฑปหลังใหม่แล้ว.
    รู้กาลมรณะ

    ต้นปีเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงปู่สีท่านมีอาการอ่อนเพลีย อาพาธด้วยโรคชรา และต่อมลูกหมากโต ได้รับการดูแลรักษา ญาครูจันทร์ (พระอาจารย์จันทร์ หลานหลวงปู่คนสุรินทร์)ก็อยู่ดูแล ตอนที่หลวงปู่อาพาธที่วัดเขาถ้ำ ก็มีพระอาจารย์สมบูรณ์ ปริสมฺปุณโณ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำบุญนาค พระอาจารย์รักษ์ เตธธัมโม พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม พระอาจารย์สุพจน์ ฉนฺทชาโต
    ส่วนหมอที่ดูแลอาการป่วยของหลวงปู่ คุณหมอโอ๊ด (ชื่อเล่น - ชื่อจริงสอบถามแล้วไม่มีใครทราบ) หมอโอ๊ด จะหนักใจเพราะหลวงปู่ไม่ยอมให้ฉีดยา ถ้าท่านไม่ยอมก็จะฉีดไม่เข้า เข็มจะหักหมด นอกจากท่านอนุญาต จึงจะฉีดยารักษาไข้ได้ ลูกศิษย์ที่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ ก็จะได้ยินหลวงปู่พูดว่า “รักษาอย่างไร เดือน ๔ ข้าก็จะไปแล้ว“ (สากลก็จะดูเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือน ๒ แต่ถ้าปฏิทินหลวงโบราณก็จะเป็นเดือนสาม แต่ปลายเดือนก็จะเป็นเดือน ๔ เดือนไทย)
    ด้วยคุณวิเศษนานัปการของหลวงปู่สี จึงมีพระอาจารย์ดัง ๆ มากมายแห่งยุคให้การยอมรับ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ พระราชพรหมยานผู้เด่นดัง มีลูกศิษย์มากมายเกือบทั้งประเทศ ให้การเคารพยอมรับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ว่าเป็นครูบาอาจารย์ที่สุดยอดแห่งยุคองค์หนึ่ง หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้ไปมาหาสู่หลวงปู่สี อยู่เป็นนิจ
    เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐ หลวงปู่สีท่านอาพาธมีอาการหนักมาก พระอาจารย์สมบูรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำก็คลานเข้าไปถามหลวงปู่ว่า...
    "หลวงปู่ครับ ถ้าหลวงปู่จะจากไป จะให้ทางวัดจัดพิธีศพหลวงปู่อย่างไร?”
    หลวงปู่ลีถึงท่านจะอาพาธหนักปานใด แต่ท่านก็ควบคุมสติได้อย่างมั่นคง ท่านจึงตอบให้ทุกคนในที่นั้นได้ยินกันอย่างทั่วถึงว่า
    “หากข้ามรณภาพเมื่อใด ท่านฤๅษีลิงดำจะมาเป็นผู้จัดการศพของข้าเอง ขอทุกคนอย่าได้เป็นห่วง”
    และแล้วต่อมาเวลาประมาณ ตี ๓.๔๕ นาที ของวันพุธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง หลวงปู่ก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุของหลวงปู่สี ได้ ๑๒๘ ปี
    ท่ามกลางสายลมพัดผ่านที่เย็นยะเยียบ แต่ความเย็นของอากาศยังไม่ยะเยียบเท่ากับเหล่าลูกศิษย์ได้ทราบข่าวการจากไปของหลวงปู่อย่างไม่มีวันที่จะกลับคืนมาอีกได้ ทุกคนเงียบ น้ำตาล้วนไหลพราก ต่างสะอื้นไห้ด้วยความอาลัยหลวงปู่ ท่านจากมวลลูกศิษย์ไปท่ามกลางลมหนาวแล้ว
    อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ประมาณตี ๕ กว่าของคืนวันนั้น หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ก็ปรากฏกายขึ้น โดยไม่ได้รับการติดต่อแจ้งข่าวจากผู้ใดในวัดเขาถ้ำบุญนาค แต่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้มาถึงอย่างมหัศจรรย์ ตรงตามคำพูดของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริที่ท่านกล่าวไว้ ท่ามกลางลูกศิษย์ก่อนที่ท่านจะถึงกาลมรณะ
    เมื่อหลวงพ่อฤๅษีลิงดำมาถึงวัดเขาถ้ำบุญนาค ก็ได้ขอให้เก็บศพของหลวงปู่ไว้ เสมือนหลวงปู่สีท่านนอนจำวัด และท่านจำวัดหลับสนิทด้วยอาการปกติสงบเรียบร้อยมาตราบเท่าทุกวันนี้
    ที่น่าอัศจรรย์คือร่างกายของหลวงปู่สีไม่มีน้ำเหลือง ไม่เน่าไม่เหม็น ไม่เปื่อยอย่างเช่นซากศพทั่วไป จนวันนั้นถึงวันนี้กลิ่นซากศพของท่านไม่มีเลย คราใดที่ผมมีโอกาสได้ไปกราบศพหลวงปู่ผมจะจูบดมที่ร่างกายของท่านอย่างสนิทใจ เพราะไม่ปรากฏกลิ่นใดที่ทำให้เราไม่อยากเข้าใกล้ แต่กลิ่นกายท่านกลับเสมือนหนึ่งกลิ่นธูปหรือกลิ่นกำยาน แม้แต่เศษกายของท่านที่ร่วงหล่น ผมก็แตะเก็บโปรยลงบนศีรษะและเช็ดที่เส้นผมจนหมด
    คำพูดของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ที่ท่านกล่าวไว้ก่อนจะถึงกาลมรณะของท่าน ในขณะนั้นท่านฤๅษีลิงดำมิได้อยู่ที่นั่น และหนทางก็ยังอยู่ห่างไกลกัน แต่พอหลวงปู่ท่านมรณภาพลงตอนตี ๓ กว่า พอเวลาตี ๕ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำท่านก็มาถึงทันต่อเหตุการณ์ ตรงตามคำพูดของหลวงปู่ที่พูดถึงหลวงพ่อฤๅษีลิงดำอย่างมหัศจรรย์
    แสดงว่าหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ กับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ท่านมีญาณจิตติดต่อกันได้โดยตลอด ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเป็นพระอริยเจ้าระดับสูงท่านหนึ่งที่ทรงญาณและได้ญาณทั้ง ๘ คือ ทิพยจักษุญาณ จุตูปปาตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุบันนังสญาณ ยถากัมมุตาญาณ
    อีกทั้งเป็นผู้มีฤทธิ์ได้ทั้งวิชชา ๓ และ อภิญญา ๖ อีกด้วย ผู้ที่ติดตามรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่สีย่อมที่จะทราบถึงภูมิปัญญาและปฏิปทาของท่านได้ดี ท่านเป็นพระปฏิบัติกรรมฐาน มีความเชี่ยวชาญในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง อีกทั้งแตกฉานรู้แจ้งในวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ โดยแน่แท้
    ฉะนั้น จึงย่อมเป็นการง่ายดายสำหรับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ซึ่งได้วิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ ได้ ญาณ ๘ ท่านจึงได้นำสิ่งที่ได้มาพิจารณาวิปัสสนาเพื่อละสังโยชน์ ๑๐ อย่าง จนท่านบรรลุเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงสุดก็คือ ท่านจึงเป็นผู้บริสุทธิ์ พระอรหันต์ องค์หนึ่ง
    ด้วยความมั่นใจในหมู่ลูกศิษย์ ลูกหาของหลวงปู่ที่มีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติของพระอริยเจ้าแล้วก็จะทราบได้ทันทีว่า หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านมิได้เป็นพระอรหันต์แบบ “เตวิชโช” หรือ วิชชา ๓ แบบ “ฉฬภิญโญ” หรือ อภิญญา ๖ เท่านั้น แต่หลวงปู่สีท่านจะต้องเป็นพระ “อรหันต์” ผู้ทรงคุณวิเศษยิ่งยอด ประเภท “ปฏิสัมภิทาญาณ” เพราะหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านทรงคุณวิเศษ ๔ ประการ ดังนี้คือ
    ๑ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือ ฉลาดในการอธิบายถ้อยคำ และเนื้อความในพระไตรปิฏกได้อย่างพิสดารเข้าใจง่าย และถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นๆ ให้ย่อสั้นลงมาได้ชัดเจนไม่เลียหาย
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีความฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้มีความพิสดารได้อย่างถูกต้อง
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีความฉลาดในภาษารู้และเข้าใจในภาษาในโลก รวมทั้งภาษาของเทพยดา พรหม ภูตผีปิศาจ อสูรกาย นาค ครุฑ ตลอดจนภาษาของสัตว์เดรัจฉานทุกชนิด
    สำหรับในเรื่องการรู้ภาษาทุกภาษาในโลกนี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านสามารถเข้าใจภาษาทุกชาติทุกภาษาที่มาหาท่านและพูดกับท่าน จนชาวฝรั่งต่างชาติ หลายต่อหลายชาติต่างพูดกันว่า “หลวงปู่ท่านรู้หลายภาษา” และเวลาที่ท่านฉันอาหารนั้น ก็จะมีบรรดาสัตว์ต่างๆ มาห้อมล้อมตัวท่านมารับส่วนแบ่งอาหารจากท่าน เช่น นก ลิง ไก่ แมว หมา เป็นต้น และสัตว์ทุกประเภทที่มาอยู่ใกล้ท่าน มันจะปรองดองกันไม่ไล่กัน ไม่รังแกกัน แสดงว่าท่านสามารถสนทนาภาษาสัตว์เหล่านั้นได้ ทั้งคนและสัตว์จึงอยู่กันอย่างปรองดอง และลูกศิษย์ของหลวงปู่ก็มีทุกชาติทุกภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
    ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะมีครบถ้วนอยู่ในตัวของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเป็นผู้ที่มีคุณวิเศษ เหมาะสมกับคาว่า “อรหันต์ ๗ แผ่นดิน”

    --------------------------------------------

    ขอขอบคุณผู้ที่ให้ข้อมูลหลวงปู่ในแง่มุมต่างๆ ทั้งที่ได้เอ่ยนาม ณ ที่นี้ และมิได้เอ่ยนามอีกหลายท่านรวมทั้งลูกหลานหลวงปู่สี (ลี) ทุกท่าน..
    ๑. ท่านพระครูวิเศษฏ์สมโพชฏ์ น.๑๖ วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ท่าเตียน โทร ๒๒๒-๗๙๘๐
    ๒. ท่านพระอาจารย์สุพจน์ (เจ็ก) ฉนฺทชาโต วัดเขาถ้ำบุญนาค (ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่)
    ๓. พระอาจารย์รักษ์ เตชธมฺโม (ผู้ปรนนิบัติหลวงปู่)
    ๔. พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม (ผู้ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ จนถึงกาลมรณะ)
    ๕. ปู่โทน หลำแพร ศรัทธา ติดตามเรื่องราวของหลวงปู่ก่อนที่จะมาอยู่เขาถ้ำบุญนาค.
    ๖. อาจารย์ประสงค์ ดีนาน (หลานชายหลวงปู่ อยู่จังหวัดสุรินทร์).
    ๗. อาจารย์บุญมี สิทธินาม (หลานชายหลวงปู่ อายุ ๘๗ อยู่จังหวัดสุรินทร์)
    ๘. อาจารย์เกลี้ยง ดำริห์ (หลานชายหลวงปู่) ปัจจุบันอยู่.สุรินทร์
    ๙. ญาครูจันทร์ พระอาจารย์จันทร์ อยู่สุรินทร์ ผู้มาดูแลหลวงปู่ตอนหลวงปู่อาพาธ.
    ๑๐. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เทศถมทรัพย์
    ๑๑. อาจารย์ชนินทร์ ดีนาน หลานหลวงปู่สี ผู้เคยมาบวชเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ ปัจจุบันอยู่สุรินทร์
    (ผู้ที่ส่งประวัติต่างๆ ของหลวงปู่สี ตั้งแต่บ้านเกิด จนจากสุรินทร์ อุดรธานี มาอยู่เขาถ้ำบุญนาคตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมทั้งส่งรูปภาพต่างๆ ของหลวงปู่มาให้ ซึ่งแต่ก่อนนี้ไม่มีใครเคยได้เห็น ได้ล่วงรู้ประวัติอันแท้จริงของหลวงปู่สีฯ ที่รู้ก็ตั้งแต่เฉพาะปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมาเท่านั้น ลูกหลานของหลวงปู่ลี จึงอยากให้ทราบเกียรติประวัติ และปฏิปทาของหลวงปู่ มิใช่แต่ในเรื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่เท่านั้น)
    ๑๒. คุณแก้ว จินดา ช่องแค ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
    ๑๓. คุณสนั่น สวนสุวรรณ โรงงานปูนซีเมนต์ ตาคลี นครสวรรค์
    ๑๔. คุณพิชิต คุ้มคงอมร
    ๑๕. คุณชาญ แดงไพบูรณ์
    ๑๖. คุณจีรศักดิ์ (บางโพ)
    ๑๗. คุณสุรสีห์ ตั้งภูมิจรัศวงค์
    ๑๘. นาวาเอกชาญ ศรีไทย
    ๑๙. พล.ต.จ. มงคล จีรเศรษธ์
    ๒๐. พ.ต.ท. อรรณพ กอวัฒนา
    ๒๑. คุณพิทักษ์ เสงี่ยมกลาง (ตรวจ,ทาน)
     
  16. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
     
    เรื่องหลวงปู่สี กับหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ลพ.ฤาษีลิงดำ)
                                              
          รู้กาลมรณะ

         ต้นปีเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงปู่สีท่านมีอาการอ่อนเพลีย อาพาธด้วยโรคชรา และต่อมลูกหมากโต ได้รับการดูแลรักษา ญาครูจันทร์ (พระอาจารย์จันทร์ หลานหลวงปู่คนสุรินทร์) ก็อยู่ดูแล ตอนที่หลวงปู่อาพาธที่วัดเขาถ้ำฯ ก็มีพระอาจารย์สมบูรณ์ ปริสมปุณโณ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำบุญนาค พระอาจารย์รักษ์ เตธธัมโม พระอาจารย์ประเทือง พุ่ทธธมโม พระอาจารย์สุพจน์ ฉนทชาโต

       ส่วนหมอที่ดูแลอาการป่วยของหลวงปู่ คุณหมอโอ๊ด หมอโอ๊ด จะหนักใจเพราะหลวงปู่ไม่ยอมให้ฉีดยา ถ้าท่านไม่ยอมก็จะฉีดไม่เข้า เข็มจะหักหมด นอกจากท่านอนุญาต จึงจะฉีดยารักษาไข้ได้ ลูกศิษย์ที่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ ก็จะได้ยินหลวงปู่พูดว่า "รักษาอย่างไร เดือน ๔ ข้าก็จะไปแล้ว"

         ด้วยคุณวิเศษนานับประการของหลวงปู่สี จึงมีพระอาจารย์ดัง ๆ มากมายแห่งยุคให้การยอมรับ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระราชพรหมยานผู้เด่นดังมีลูกศิษย์มากมายเกือบทั้งประเทศ ให้การเคารพยอมรับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ว่าเป็นครูบาอาจารย์ที่สุดยอดแห่งยุคองค์หนึ่ง หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้ไปมาหาสู่หลวงปู่สีอยู่เป็นนิจ

         เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐ หลวงปู่สีท่านอาพาธมีอาการหนักมาก พระอาจารย์สมบูรณ์ เจ้าอายวาสวัดเขาถ้ำฯก็คลานเข้าไปถามหลวงปู่ว่า...

         "หลวงปู่ครับ ถ้าหลวงปู่จะจากไป จะให้ทางวัดจัดพิธีศพหลวงปู่อย่างไร"

         หลวงปู่สีถึงท่านจะอาพาธหนักปานใด แต่ท่านก็ควบคุมสติได้อย่างมั่นคง ท่านจึงตอบให้ทุกคนในที่นั้นได้ยินกันอย่างทั่วถึงว่า

         "หากข้ามรณภาพเมื่อใด ท่านฤาษีลิงดำจะมาเป็นผู้จัดการศพของข้าเอง ขอทุกคนอย่าได้เป็นห่วง"

         และแล้วต่อมาเวลาประมาณ ตี ๓.๔๕ นาที ของวันพุธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง หลวงปู่ก็มรณภาพลงด้วยอากาสงบ สิริรวมอายุของหลวงปู่สี ได้ ๑๒๘ ปี

         ท่ามกลางสายลมพัดผ่านที่เย็นยะเยียบ แต่ความเย็นของอากาศยังไม่ยะเยียบเท่ากับเหล่าลูกศิษย์ได้ทราบข่าวการจากไปของหลวงปู่อย่างไม่มีวันที่จะกลับคืนมาอีกได้ ทุกคนเงียบน้ำตาล้วนไหลพรากต่างสะอื้นไห้ด้วยความอาลัยหลวงปู่ ท่านจากมวลลูกศิษย์ไปท่ามกลางลมหนาวแล้ว

         อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดประมาณตี ๕ กว่าของคืนวันนั้น หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก็ปรากฏกายขึ้น โดยไม่ได้รับการติดต่อแจ้งข่าวจากผู้ใดในวัดเขาถ้ำบุญนาค แต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำได้มาถึงอย่างมหัศจรรย์ตรงตามคำพูดของหลวงปู่สี ที่ท่านกล่าวไว้ ท่ามกลางลูกศิษย์ก่อนที่จะถึงกาลมรณะ

         เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาถึงวัดเขาถ้ำบุญนาค ก็ได้ขอให้เก็บศพของหลวงปู่ไว้ เสมือนหลวงปู่สีท่านนอนจำวัด และท่านจำวัดหลับสนิทด้วยอาการปกติสงบเรียบร้อยมาตราบเท่าทุกวันนี้

         ที่น่าอัศจรรย์คือร่างกายของหลวงปู่สีไม่มีน้ำเหลือง ไม่เน่าไม่เหม็น ไม่เปื่อยอยางเช่นซากศพทั่วไป จนันนั้นถึงวันนี้กลิ่นซากศพของท่านไม่มีเลย แต่กลิ่นกายท่านกลับเสมือนหนึ่งกลิ่นธูปหรือกลิ่นกำยาน...   

    คัดลอกบางตอนจากหนังสือวัตถุมงคล หลวงปู่สี ฉันทสิริหน้า ๖๖-๖๘ (คัดลอกเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวหัวข้อ)
     
     
    หลวงพ่อช่วยงานศพหลวงปู่สี (ฉบับ พล.อ.อ.มนูญ ชมพูทวีป)
     
         เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐  ข้าพเจ้าได้เข้าเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ แต่ในวันหยุดก็ได้เดินทางกลับไปบ้านที่กองบิน ๔ ตาคลี นครสวรรค์ทุกครั้ง (และก็ได้ไปแวะเยี่ยมหลวงปู่สี ที่กำลังอาพาธหนักอยู่เสมอๆ ในบางครั้งที่เจอ คุณหมอโอ๊ด ซึ่งเป็นนายแพทย์ของกองบิน ๔ (ชื่อจริงข้าพเจ้าต้องขอภัยที่จำไม่ได้เพราะเรียกกันแต่หมอโอ๊ดจนติดปาก) มาคอยให้การเยียวยารักษาอยู่ และด้วยเหตุนี้จึงได้รู้และเห็นกับตาว่า คราวใดก็ตามหากหลวงปู่สีไม่ยอมให้หมดฉีดยาแต่หมอจะฉีดให้ได้ เข็มฉีดยาก็จะต้องหักทุกครั้งไปเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง หมอโอ๊ดเองก็หนักใจเพราะไม่สามารถรักษาได้ตามกระบวนการแพทย์
     
    และครั้นเมื่อหลวงปู่สีมีอาการหนักมาก ท่านเจ้าอาวาสก็คลานเข้าไปสอบถามว่า
     
         "หากหลวงปู่สีมรณภาพ จะให้ทางวัดจัดพิธีศพของหลวงปู่สีอย่างไร"
     
    ซึ่งหลวงปู่สีก็ได้ตอบให้ทุกคนในที่นั้นได้ยินกันอย่างทั่วถึงว่า
     
         “หากข้ามรณภาพเมื่อใด ท่านฤาษีลิงดำจะมาเป็นผู้จัดการศพของข้าเอง ขอทุกคนอย่าได้เป็นห่วง”
         ต่อจากนั้นมาอีกไม่กี่วัน ข้าพเจ้าก็ได้รับทราบจาก พ.อ.อ.สัมฤทธิ์ กลั่นดี ว่าหลวงปู่สีได้มรณภาพ เมื่อเวลาประมาณตีสามและหลวงพ่อก็ได้มาถึงวัดเมื่อเวลาประมาณตีห้า โดยมิได้รับการติดต่อจากผู้ใดทั้งสิ้น (ข้าพเจ้าต้องขอภัยอีกครั้ง ที่จำวันมรณภาพของหลวงปู่สีไม่ได้) และเมื่อหลวงพ่อมาถึงวัด ก็ได้สั่งการและอำนวยการให้เก็บศพหลวงปู่สีไว้ในโลงแก้ว ในสภาพเสมือนหนึ่งหลวงปู่สีนอนหลับสนิทมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ และที่น่าอัศจรรย์ยิ่งคือรางของหลวงปู่สีไม่เน่าเปื่อย อีกทั้งเล็บมือเล็บเท้าและผมก็งอกยาวออกมาเช่นบุคคลธรรมดาที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งทางวัดก็จะต้องเปิดโลงแก้วทุกๆ ๑๕ วันเพื่อปลงผมและตัดเล็บมือเล็บเท้าให้หลวงปู่สีตลอดมา
         หลวงปู่สีได้มรณภาพเมื่ออายุ (๑๒๖) ปี บัดนี้ศพของท่านบรรจุอยู่ในโลงแก้ว วัดถ้ำเขาบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ หากท่านผู้ใดสนใจที่จะไปนมัสการกราบไหว้ก็ไปได้ตลอดเวลา
         เรื่องที่ข้าพเจ้าเล่ามานี้จะเห็นได้ว่าทั้งหลวงปู่สี และหลวงพ่อจะต้องได้ญาณ และติดต่อกันได้ทางจิตมาโดยตลอด ซึ่งในทันทีที่หลวงปู่สีสิ้นลม หลวงพ่อก็รับทราบและเดินทางมาจัดการได้ในทันที
     (คัดลอกบางตอนจาก หนังสือ "อิทธิฤทธิ์ หรือความบังเอิญ ของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ" หน้า ๑๒๙-๑๓๐ โดย พล.อ.ท.มนูญ ชมพูทวีป)  
      
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ นัดพบหลวงปู่สีทางจิต
         เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๔ ในวันหนึ่งหลวงพ่อได้มาแสดงธรรมะออกอากาศที่สถานที่วิทยุกระจายเสียง ๐๔ ตาคลี จ.นครสวรรค์เหมือนเช่นเคย และหลังจากที่หลวงพ่อได้แสดงธรรมะออกอากาศเสร็จก็ได้มานั่งพักผ่อนสนทนากับข้าพเจ้าและ พ.อ.อ.กริช บำรุงพงษ์ ที่ห้องรับแขก ข้าพเจ้าจึงได้ฉวยโอกาสเล่าถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่สีให้หลวงพ่อฟัง พอสรุปใจความสั้นๆ ได้ดังนี้
         "มีพ่อค้าชาวตาคลี กลุ่มหนึ่งไปกราบนมัสการหลวงปู่แหวนที่วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ และเมื่อหลวงปู่แหวนทราบว่าเป็นพ่อค้ามาจากตาคลี ก็หัวเราะพูดว่า
         "ท่านมีอาจารย์อยู่องค์หนึ่งอายุมากแล้วชื่อหลวงปู่สี ขณะนี้อยู่ที่ตาคลีให้ค้นหาให้ดี เพราะท่านเก่งมาก"
          ดังนั้นเมื่อผู้คนกลุ่มนั้นกลับมา ก็พยายามติดตามค้นหาในที่สุดก็ได้พบว่าหลวงปู่สี พำนักอยู่วัดเขาบุญนาค มีอายุชราภาพมากแล้วถึง ๑๒๑ ปี อภินิหาริย์ของหลวงพ่อสีในขณะนั้นที่ร่ำลืมกันมากคือ ไม่มีใครถ่ายรูปหลวงปูสีติด หากไม่ขออนุญาตท่านเสียก่อน และ ชานหมาก ของหลวงปู่สีหากผู้ใดได้ไว้แล้วพกพาติดตัวไปก็จะเป็นสิริมงคล และป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้"
         ข้าพเจ้าได้เล่าให้หลวงพ่อฟังต่อไปว่า "กิตติศัพท์ของหลวงปู่สีดังกล่าว เมื่อได้รับฟังมาผมก็มิได้สนใจนัก จนกระทั่งวันหนึ่งผมได้ยินเสียงปืนดังขึ้นที่ในป่าหลังกองร้อยทหารสารวัตร (ในขณะนั้นข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตร และเป็นนายทหารรักษาความปลอดภัยกองบิน ๔ ด้วย) ผมจึงชวนเรืออากาศโทสังวร สมหวังรองผู้บังคับกองร้อยฯ และเรืออากาศตรีครรชิต บัวอำไพ นายทหารสารวัตรซึ่งได้นั่งปรึกษางานอยู่กับผมลงไปดู ก็เห็นจ่าอากาศสารวัตร ๒ คน คนหนึ่งกำลังถือปืนตั้งท่าจะยิงไก่นัดต่อไป อีกคนหนึ่งยืนดู จึงตะโกนสั่งให้หยุดยิงและสอบถามว่าทำไมจึงขัดคำสั่งผู้บังคับกองร้อยฯ (ข้าพเจ้าได้เคยสั่งให้ยิงปืนได้เฉพาะในสถานที่ที่จัดไว้ให้ยิงและยิงได้เฉพาะวัน,เวลาที่ท่างกองร้อยฯ กำหนด)ซึ่งทั้ง ๒ คนก็ยอมรับผิดและอธิบายสาเหตุให้ฟังว่าจ่าประสิทธิ์ ไปได้ชานหมากจากหลวงปู่สีมาเล่าให้จ่าชิตฟังถึงอภินิหารต่างๆ จ่าชิตได้ฟังก็ไม่เชื่อก็เกิดพนันกันขึ้น โดยจ่าประสิทธิ์ไปขอซื้อไก่ในกองบิน ๔ มา แล้วให้จ่าชิตยิง หากจ่าชิตยิงไก่ตาย จ่าชิตก็ได้ไก่ไปแต่ถ้าหากจ่าชิตยิงไก่ไม่ตายก็ต้องจ่ายเงินให้จ่าประสิทธิ์แล้วให้จ่าประสิทธิ์เอาไก่ไป การยิงสัญญากันไว้ว่าจะยิง ๖ นัด ขณะนี้จ่าชิตยิงไปแล้ว ๓ นัด ยังไม่ถูกไก่ และยังมีสิทธิ์ยิงได้อีก ๓ นัด ผมจึงให้เรืออากาศโทสังวร และเรืออากาศตรีครรชิต ซึ่งเป็นมือปืน P.P.C. เหรียญเงินทั้ง ๒ คน ยิงไก่คนละนัดก็ไม่ถูกอีก ผมจึงให้คนโทร ศัพท์ไปเรียก พ.อ.อ.ชลอ ผาสุก มือปืน P.P.C. เหรียญทองมายิงในนัดสุดท้ายซึ่งก็ไม่ถูกไก่อีก (ในตอนนั้น พ.อ.อ.ผาสุข โมโหมากขอให้เอาเหรียญบาทไปตั้งที่ตอไม้ ๓ เหรียญ ก็ยิงถูกเหรียญกระเด็นไปทั้ง ๓ เหรียญแต่ยิงไก่ตัวใหญ่โต)ซึ่งมัดติดกับต้นไม้ไม่ถูก) ผมจึงให้จ่าประสิทธิ์พาไปหาหลวงปู่สีในวันนั้น และพอไปกราบหลวงปู่ หลวงปู่ก็กล่าวตำหนิว่าพวกผมทำให้ปากท่านเจ็บไปหมด เพราะชานหมากไปผูกติดคอไก่ท่านก็จะต้องคุ้มครองให้ไก่ และเมื่อเอาปืนไปยิงไก่ ลูกปืนมันไม่ไปถูกไก่แต่มันมาถูกปากท่านทุกนัด ผมและพรรคพวกที่ไปจึงต้องกราบขอขมาหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ก็ได้เมตตา มอบชานหมากมาให้แต่ขอสัจจะว่า อย่าได้นำชานหมกของท่านไปทดลองที่ไหนอีก"
         หลวงพ่อได้นั่งฟังข้าพเจ้า เล่าถึงหลวงปู่สีด้วยความสงบ พอข้าพเจ้าเล่าจบหลวงพ่อก็พูดว่า
         "คุณมนูญ ฉันบอกหลวงปู่สีเมื่อตะกี้นี้แล้วว่า ฉันจะไปหาหลวงปู่ดีใจมาก จะคอยต้อนรับอยู่ที่กุฏิ ไปเราไปกันได้เลย"
         ข้าพเจ้าและ พ.อ.อ.กริช ได้ฟังก็งงมาก เพระหลวงพ่อก็นั่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ลุกไปโทรศัพท์ และโทรศัพท์ที่กุฏิหลวงปู่สีก็ไม่มี หลวงพ่อจะบอกกับหลวงปู่สีได้อย่างไร แต่เมื่อเป็นเจตจำนงของหลวงพ่อเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็จำต้องขับรถพาหลวงพ่อไป
         เมื่อไปถึงกุฏิหลวงปู่สี (ตั้งอยู่หน้าถ้ำวัดเขาบุญนาค) ข้าพเจ้าก็ยิ่งฉงนสนเท่ห์ใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลวงปู่สีซึ่งตามปกติท่านจะนุ่งสงบอยู่ตัวเดียว บัดนี้ท่านแต่งชุดใหญ่ครบเครื่องเยี่ยงพระภิกษุสงฆ์ที่พร้อมจะเข้าพิธีในโบสถ์ มีเสื่ออย่างดีปูได้เรียบร้อยพร้อมด้วยชุดน้ำชา และหมากพลู อีกทั้งมีพระภิกษุสงฆ์ในวัดอีก ๒-๓ รูป รวมทั้งเจ้าอาวาสมานั่งคอยรอรับหลวงพ่ออยู่พร้อมหน้า
         ในขณะที่หลวงพ่อนั่งคุยอยู่กับหลวงปู่สี ข้าพเจ้าก็ได้แอบไปสอบถามท่านมหาองค์หนึ่ง ซึ่งใกล้ชิดกับหลวงปู่สีว่า
         "หลวงปู่สีทราบได้อย่างไร ว่าหลวงพ่อจะมา"
         ท่านมหาองค์นั้นก็ตอบว่า
         "อาตมาก็ไม่ทราบ เห็นหลวงปู่นอนจำวัดอยู่ตามปกติ จู่ๆ ก็ลุกพรวดพราดขึ้นมาแล้วสั่งให้อาตมาคุมกวาดลานวัดและเช็ดกุฏิแล้วให้เตรียมน้ำชา หมากพลูโดยเร่งด่วน ท่านบอกว่า "ประเดี๋ยวจะมีพระผู้ใหญ่ระดับสูงมากมาหา" พร้อมกันนั้นหลวงปู่ก็เข้าไปนุ่งห่มจีวรใหม่เอี่ยม รอหลวงพ่อดังที่โยมเห็นนี้แหล่ะ"
         เรื่องที่ข้าพเจ้า และพรรคพวกได้ประสบในครั้งนี้ไม่มีผู้ใดจะพิสูจน์หรือหาเหตุผลใดๆ ได้เลย นอกจากจะคิดกันไปว่า หลวงพ่อได้นัดพบกับหลวงปู่สีทางจิตเท่านั้น หรือท่านผู้อ่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
    (คัดลอกบางตอนจาก หนังสือ "อิทธิฤทธิ์ หรือความบังเอิญ ของ หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ" หน้า ๑๒๐-๑๒๓ โดย พล.อ.อ.มนูญ ชมพูทวีป)
    อภินิหาริย์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ กับหลวงปู่สี
         เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ข้าพเจ้าได้ซื้อรถวอลโว่ใหม่ ๑ คัน ก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเจิมให้ที่วัดท่าซุง ต่อมาเมื่อได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่สีบ่อยๆ เข้าก็ได้รู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่สีมากขึ้น อาทิเช่น มีชาวไร่ข้าวโพดได้ชนหมากของหลวงปู่สีไป และเกิดไปทำหายในขณะหักข้าวโพดในไร่ จะหาอย่างไรก็หาไม่พบเพราะดงข้าวโพดกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่เนื่องจิตมีความเสียดายในชานหมาก และเคารพนับถือด้วยความจริงใจ ตอนกลางคืนก็ฝันว่า "หลวงปู่สีมาบอกว่าหากอยากได้ชานหมากให้เผาไร่ข้าวโพดเสีย แล้วจะพบเอง" พอรุ่งเช้าชาวไร่ข้าวโพดผู้นั้นก็จุดไฟเผาไร่ข้าวโพดทันที (ข้าวโพดในไร่หักหมดแล้ว) เมื่อไร่ข้าวโพดถูกไฟเผาราบเรียบหมดก็เห็นต้นข้าวโพดอยู่ ๒-๓ ต้นที่ไม่ไหม้ไฟจึงตรงเข้าไปดู ก็พบชานหมากของหลวงปู่สี ซุกอยู่โครข้าวโพดก็ดีใจมาก ตรงเข้าเก็บชานหมากหลวงปู่ไว้แล้วนำไปเลี่ยมคล้องคอมาจนบัดนี้
          อีกรายหนึ่งเป็นอาจารย์สตรี วัยกลางคนอยู่ที่สมุทรปราการได้ชานหมากหลวงปู่สีไปก็นำไปใส่กระเป๋าสตางค์ไว้ มีวันหนึ่งเดินกลับบ้านตอนพลบค่ำ ในระหว่างทางที่เดินอยู่ในซอยเปลี่ยว ก็มีความรู้สึกว่ามีคนเดินตามมาข้างหลัง ๓ คน ก็เร่งฝีเท้าหนี คนทั้ง ๓ ก็เร่งฝีมือตาม พอวิ่งหนีก็ถูกวิ่งตาม ด้วยความหวาดกลัวจึงหันหลังไปดู ปรากฏว่าชายฉกรรจ์ทั้ง ๓ คน ที่ตามมาหยุดชงักส่งเสียงร้องด้วยความหวาดกลัวแล้ววิ่งหนีไป อาจารย์สตรีวัยกลางคนผู้นั้นจึงกลับบ้านด้วยความปลอดภัย ด้วยชานหมากของหลวงปู่คุ้มกันภัยให้ และเมื่อตอนหลวงปู่ป่วย ข้าพเจ้าก็ได้ให้ลูกน้องพาหมอไปรักษา หากคราวใดหมอจะฉัดยาและหลวงปู่สีไม่ยอมให้ฉีด เข็มฉีดยาก็จะหักทุกครั้งไป เป็นต้น
         ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้นำรถวอลโว่คันใหม่ของข้าพเจ้าไปให้หลวงปู่สีช่วยเจิมให้อีกด้วยคิดว่า "แม้หลวงพ่อเจิมให้แล้วก็ตามหากได้หลวงปู่สีช่วยเจิมทับลงไปอีกก็คงจะเป็นศิริมงคลยิ่งขึ้น"
         เมื่อหลวงปู่สีได้ทราบความประสงค์ว่า ข้าพเจ้าขอให้ช่วยเจิมรถให้ก็ทำพิธีเสกแป้ง แล้วถือแป้งเสกลงกุฏิไปหยุดยืนบริกรรมอยู่หน้ารถวอลโว่ โดยมีข้าพเจ้า ภรรยาและลูกน้องอีก ๒-๔ คนยืนพนมมือรถให้หลวงปู่เจิมรถ แต่การณ์กลับปรากฏว่าหลวงปู่สีเกิดเปลี่ยนใจวางถ้วยแป้งเสกไว้ที่กระโปรงรถด้านหน้า โดยไม่ยอมเจิมให้เสียเฉยๆ มิหนำซ้ำเดินขึ้นบันไดไปบนกุฏิ แล้วนั่งทำน้ำมนต์อยู่พักหนึ่ง ก็ให้ พ.อ.อ.สัมฤทธิ์ กลั่นดี ลูกน้องคนหนึ่งของข้าพเจ้าถือบาตรน้ำมนต์ลงบันไดตามหลวงปู่มาหยุดยืนอยู่ทางด้านท้ายรถวอลโว่ของข้าพเจ้า แล้วก็ประพรมน้ำมนต์ไปทางด้านกระโปรงหลังรถ อีกทั้งมีการสวดให้ศีลให้พรอีกด้วย ต่อเมื่อประพรมน้ำมนต์เสร็จหลวงปู่จึงเดินไปด้านหน้ารอหยิบถ้วยแป้งเสกแล้วเจิมรถให้ข้าพเจ้าจนเสร็จ ซึ่งก่อให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ใจกับทุกผู้คนในที่นั้น เพราะตามปกติแล้ว หลวงปู่จะเจิมให้โดยไม่มีการรดน้ำมนต์ เช่นนี้
         สำหรับเรื่องนี้ หลวงปู่สีได้เมตตาอธิบายให้ทุกคนหายข้องใจว่า
         "รถวอลโว่คันนี้ มีพระระดับสูงที่ญาณบารมีแก่กล้าได้ทำพิธีเจิมไว้ให้แล้วอีกทั้งได้จัดเทพถึง ๔ องค์ อยู่คอยพิทักษ์รถคันนี้ เมื่อสักครู่พอจะเจิมรถให้ เทพทั้ง ๔ ก็มาขอให้หลวงปู่รถน้ำมนต์ให้ก่อน จึงต้องให้น้ำมนต์เขาก่อนแล้วจึงเจิมรถให้ทีหลัง"
         ข้าพเจ้าได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกปลื้มปิติยินดี และซึ้งในเมตตาของหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง ที่กรุณาเมตตาส่งเทพมาคอยให้ความคุ้มครองป้องกันภัยให้ข้าพเจ้าตลอดเวลาถึง ๔ องค์ เช่นนี้ ดังนั้นลูกหลานของหลวงพ่อผู้ใดก็ตาม ที่ได้เข้าพิธีต่างๆ กับหลวงพ่อแล้วก็พึงอุ่นใจได้ว่าหลวงพ่อจะช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติต่างๆ ให้โดยไม่ทอดทิ้งอย่างแน่นอน
         ต่อมาไม่นาน ข้าพเจ้าได้ขับรถวอลโว่คันนั้นพาครอบครัวไปพักผ่อนที่บ่อฝ้าย หัวหิน ระหว่างทางขณะที่รถวิ่งผ่านไปทางกำแพงแสน จ.นครปฐม ข้าพเจ้าซึ่งกำลังขับรถไปอย่างสบาย ๆ ด้วยความเร็วประมาณ ๘๐-๙๐ กม. ต่อชั่วโมง ก็เห็นรถบรรทุกอ้อยสิบล้อคันหนึ่งวิ่งสวนมาด้วยความเร็ว และทำท่าจะวิ่งชนจักรยานสองล้อของชาวบ้านที่ขี่อยู่ข้างทางโดยผู้ขับสิบล้อมิได้คิดจะแซงหรือเบี่ยงหลบ จิตของข้าพเจ้าตอนนั้นบอกว่าคนขับสิบล้อคงหลับใน หากรู้สึกตัวเห็นจักรยานสองล้อ มันจะต้องหักหลบมาชนรถของข้าพเจ้าอย่างแน่นอน พอจิตบอกข้าพเจ้าก็ถอนเท้าจากคันเร่ง เปลี่ยนเป็นเกียร์ ๒ และเหยียบเบรคอย่างแรงพร้อมทั้งเตรียมหักพวงมาลัยหลบ ก็พอดีรถสิบล้อคันนั้นหักหลบจักรยานพุ่งเข้าจะชนรถข้าพเจ้าดังที่คิด ข้าพเจ้าก็พยายามหักพวงมาลัยหลบ แต่รถก็หาเลี้ยวไม่คงทื่อเข้าใส่รถบรรทุกที่ขวางลำรถข้าพเจ้าด้วยแรงเฉื่อย ความรู้สึกในตอนนั้นข้าพเจ้าและทุกคนในรถไม่มีผู้ใดตกใจเลย มองเห็นรถข้าพเจ้าและรถบรรทุกค่อยเข้าหากันเหมือนภาพสโลโมชั่น เสมือนจะหลบกันพ้นแต่ก็ไม่พ้นชนกันแบบสะกิดๆ จนได้
         เมื่อรถจอดสนิท ข้าพเจ้าก็สำรวจดูทุกคนในรถ ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บแม้แต่จะฟกช้ำดำเขียว ขัดยอก หรือเลือดตกยางออกเลย ก็โล่งใจจึงเปิดประตูรถลงไปเอาปืนจี้คนขับรถบรรทุกไม่ให้หนี แล้วสำรวจดูสภาพรถปรากฏว่า รถวอลโว่ของข้าพเจ้าชนบันไดรถบรรทุกขาดกระจุยหัวรถเข้าไปซุกอยู่ในใต้รถบรรทุก จนถึงกระจกหน้า ไม่สมารถจะถอยรถออกมาได้ สักครู่รถคันหน้า ที่ล่วงหน้าไปก่อนเห็นรถของข้าพเจ้าหายไปไม่ตาม ก็ฉุกใจวนขับรถกลับมาดู ทุกคนหน้าซีดแข็งขาอ่อนบอกเห็นแต่ไกลว่าคงต้องมีการตายกันบ้างแน่ แม้ชาวบ้านที่วิดปลาอยู่ตามคูน้ำข้างทางที่รถชนกัน ก็พูดว่ารถชนกันเสียงสนั่นหวั่นไหวจนไม่กล้ามองคิดว่าต้องตายทั้งคันแน่
         เมื่อทุกคนในคณะของข้าพเจ้ามาพร้อม  คนขับรถบรรทุก็ยอมรับว่าตนผิดและขอไปตามเถ้าแก่เจ้าของรถมา และเมื่อเถ้าแก่มาก็พูดจาตกลงกันด้วยดี โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โดยไม่เกี่ยงงอน แต่เมื่อตรวจดูสภาพรถวอลโว่ของข้าพเจ้า เมื่อใช้แม่แรงยกรถสิบล้อออกแล้วเข็นรถออกมา ทุกคนก็แทบไม่เชื่อสายตากล่าวคือ ฝากระโปรงรถหน้าที่ยุบไปเพราะรับน้ำหนักรถบรรทุกสิบล้อซึ่งบรรทุกอ้อยเต็มกลับดีดคืนเข้าสู่สภาพเดิม มีเพียงสีถลอกนิดเดียว ไปหน้าทุกดวงและกระจกหน้ารถซึงเป็นส่วนที่ชนกันอย่างประสานงา ไม่มีการแตกร้าวหรือแม้แต่ไส้หลอดไฟก็ไม่ขาด
         เมื่อเห็นสภาพรถแล้ว เถ้าแก่เจ้าของรถ (มากับพรรคพวกนักเลงไร่อ้อยพก ๑๑ มม.คนละ ๑ กะบอก) ก็ขอจ่ายค่าเสียหายให้ข้าพเจ้า ๒,๐๐๐ บาทด้วยความเต็มใจอีก ทั้งยังถามวาข้าพเจ้าและครอบครัวจะกลับผ่านมาทางนี้อีกเมื่อไร จะมารอส่งด้วย ซึ่งข้าพเจ้าก็บอกไป และตอนขากลับเขาก็มารอส่งข้าพเจ้ากันจริงๆ
         เรื่องที่ข้าพเจ้าประสบมานี้ ไม่น่าเป็นไปได้ในหลายๆ อย่าง อาทิเช่น รถวิ่งสวนกันด้วยความเร็ว และรถบรรทุกสิบล้อหักหลบมาชนแบบประสานงา กับรถของข้าพเจ้าในระยะกระชั้นชิด ซึ่งแม้ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหากะทันหันด้วยวิธีการดังกล่าว เพียงแต่ทำให้รถข้าพเจ้าช้าลงไปบ้างเท่านั้น แต่รถสิบล้อที่วิ่งมาชนหาได้ลดความเร็วลงไม่ และสิ่งที่เป็นพยานสายตาปรากฏแก่สายตาก็คือ บันไดรถสิบล้อขาดกระจุย และหัวรถของข้าพเจ้ามุดเข้าไปอยู่ใต้รถบรรทุก จนต้องใช้แม่แรงยกรถบรรทุกขึ้นจึงจะสามารถเข็นรถของข้าพเจ้าออกได้ แต่ปรากฏว่าทุกคนในรถของข้าพเจ้าปลอดภัย และรถของข้าพเจ้าก็มีสภาพปกติพร้อมที่จะสิ่งต่อไปได้ (มีสีถลอกตรงฝากระโรงนิดหน่อย) อีกทั้งนักเลงบ้านไร่ซึ่งตามกิตติศัพท์ร่ำลือกันนักกันหนาว่าดุมาก กลับยินดีชดใช้ค่าเสียหายให้ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม มิหนำซ้ำยังมาคอยส่งข้าพเจ้าให้ตอนขากลับเยี่ยงมิตรที่ดีอีกด้วยซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วด้วยพระบารมีของหลวงพ่อและหลวงปู่สี เมตตาคุ้มครองภยันตรายต่างๆให้นั่นเอง (คัดลอกจากหนังสือ อิทธิฤทธิ์ หรือ ความบังเอิญ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ  โดย พล.อ.อ.มนูญ ชมพูทวีป หน้า ๑๒๓-๑๒๘)
     
    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ สั่งสอนลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     
    หนังสือเรื่อง อิทธิฤทธิ์ หรือ ความบังเอิญฯ เรียบเรียงโดย ท่าน พ.ต.ท. อรรณพ กอวัฒนา (ยศในขณะนั้น) นับเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่มีจำหน่ายแล้ว หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นตามคำสั่งของหลวงพ่อฯ ซึ่งท่านอรรณพก็ได้เรียนถามหลวงพ่อฯว่า จะให้พิมพ์กี่เล่มเพราะเกรงว่าถ้าพิมพ์มากแล้วจะจำหน่ายไม่ออก ท่านอรรณพเสนอว่าควรจะพิมพ์สัก สองพันเล่ม แต่หลวงพ่อฯท่าน บอกว่า "สองพันเล่มคงจะไม่พอ เพราะหนังสือเล่มนี้ต่อไปเมื่อหลวงพ่อตายไปแล้วจะมีคนต้องการมาก".... ด้วยเหตุนี้ กระผมจึงพยายามเก็บหนังสือนี้ไว้มิให้สูญหาย แม้ว่าเกือบจะสูญหายไปก็หลายครั้ง จากการหยิบยืมของเพื่อนๆ แต่ก็สามารถทวงคืนมาได้ทุกครั้ง 
    เมื่อหนังสือเล่มนี้เป็นของหายาก พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และ ลูกๆ หลานๆ รุ่นหลังๆ ของหลวงพ่อฯ บางท่านก็อาจไม่มีโอกาสได้อ่าน กระผมจึงขอนำบางส่วนมาเรียนเสนอ และขอเรียนเชิญชวนให้พวกเราซึ่งมีเรื่องเก่าๆ ของหลวงพ่อท่านซึ่งไม่มีการพิมพ์จำหน่ายแล้ว กรุณานำเรื่องที่ท่านเห็นว่ามีประโยชน์เหล่านั้นมาถ่ายทอดต่อด้วย เพื่อถวายกุศลแด่หลวงพ่อท่าน และเพื่อมิให้เรื่องสูญหายไป (และขอถือโอกาสนี้ กราบขอโทษท่านอรรณพ ที่ได้นำ(ลอก)เรื่องของท่านมาเล่าต่อ หวังว่าท่านคงอนุญาต และให้อภัยแก่ศิษย์รุ่นน้องด้วยนะครับ และขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง)
    ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบเสียก่อนว่าท่านผู้เขียนนั้นท่านเป็น ตำรวจมือปราบ ดังนั้นสำนวนของท่านออกจะโลดโผนดังคำปรารภของท่านที่บอกเอาไว้ว่า "ผมใคร่จะขอกราบเรียนเสียก่อน ว่าสันดานของผมนั้นเป็นคนพูดโผงผางตรงไปตรงมา บางครั้งสรรพนามที่ใช้เขียนเรื่องนี้ก็เป็นสรรพนามที่ในตอนนั้น ผู้คนในเรื่องที่เล่านี้เขาพูดจากันอย่างนั้นจริงๆ ผมจึงเขียนไปอย่างนั้น หาได้มีเจตนาจะให้ระคายหูระคายตา หรือลบหลู่ดูหมิ่นท่านผู้ใด ฯ..." ต่อไปนี้กระผมก็ขอนำเสนอเรื่องจากประสบการณ์จริงของท่านดังต่อไปนี้ (เรื่องออกจะยาวสักหน่อยนะครับ)
    "ในบรรดาพระเดชพระคุณ พระสุปฏิปันโนทั้งหลายที่ผมเคยได้รู้จัก และที่เกี่ยวข้อง หรือเนื่องด้วยหลวงพ่อของพวกเรา พระคุณเจ้าองค์นี้ (หลวงปู่สี) นั้น ผมมีความสนิทสนมด้วยน้อยที่สุด คือผมมีโอกาสได้พบได้นมัสการ พูดคุยกับท่านเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ครั้งเดียวที่ว่านี้เรียก หรือนับได้ว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์เลยทีเดียว ติดตามมาซิครับ ถ้าไม่จริงไม่เอาตังค์
    ในห้วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๗ - ๑๕๑๘ เป็นช่วงระยะเวลาที่หลวงพ่อฯ ท่านต้องตระเตรียมงานต่างๆ มากมาย เกี่ยวกับการฉลองสมโภชงาน "ครบรอบ ๑๐๐ ปีเกิดหลวงพ่อปานฯ" พระอาจารย์ของท่าน และปรมาจารย์ของพวกเรา ส่วนหนึ่งของแผนงานก็คือจะมีการ อาราธนานิมนต์หลวงพ่อฯ หลวงปู่ฯ ครูบาฯ ต่างๆ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงให้มาร่วมในงานนี้ โดยมีรายการต่างๆ เพื่อให้ญาติโยมที่จะมากันมากได้มีโอกาสนมัสการ และทำบุญกับพระสงฆ์เหล่านี้ และเพื่อมาเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกรูปหล่อเหมือนหลวงปู่ปานฯ ตลอดจนพระเครื่องต่างๆ ด้วย ฯลฯ เป็นต้น
    กำหนดการนี้อยู่กลางเดือน สิงหาคม ๒๕๑๘ ซึ่งอยู่ในระหว่างเข้าพรรษาด้วย พระเดชพระคุณที่พวกเราต้องการจะนิมนต์มานี้ล้วนเป็นพระที่มีชื่อเสียง (ลูกศิษย์หวง) การไปนิมนต์จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครจะทำได้ ระยะทางหรือก็ไกล แถมยังจะต้องมาค้างคืนอีกหลายคืน ใครจะมา ต้องถือว่าสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องลาสังคหะอีกด้วย (คงจะเป็นสัตตาหะ คือการที่พระลาไปค้างคืนนอกวัดที่จำพรรษา เนื่องจากความจำเป็นมากๆ เท่านั้น ลาได้ครั้งละไม่เกิน ๗ วัน)
    ปัญหาแบบนี้ใครจะมีบารมีมากพอที่จะไปทำได้ถ้าไม่ใช่หลวงพ่อฯ ดังนั้นภาระในการนี้จึงต้องตกเป็นหน้าที่ของหลวงพ่อฯ โดยตรงที่จะต้องไปดำเนินการ (ให้เห็นดำเห็นแดงกันไปเลย) สำหรับพวกผมก็คิดประเมินสถานการณ์กันว่า ๕๐/๕๐ หมายความว่า อย่างเก่งอาจสำเร็จเพียงครึ่งเดียว แต่สำหรับหลวงพ่อฯ แล้ว ท่านมีความมั่นใจมาก เพราะท่านพูดเสมอว่างานนี้เป็นการสำคัญของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว หลวงพ่อฯ หลวงปู่ฯ ครูบาฯ ทั้งหลาย จะต้องมาแน่ๆ และในการไปอาราธนานิมนต์พระคุณเจ้าเหล่านี้ หลวงพ่อฯ ก็ชักชวนบรรดาลูกศิษย์ลูกหาให้ไปร่วมนมัสการด้วยเป็นคณะใหญ่ จนกระทั่งได้เกิดเป็นตำนาน "ฤาษีทัศนาจร" และ "ล่าพระอาจารย์" ให้พวกเรารุ่นหลังได้อ่านกันสนุกสนานมาจนถึงทุกวันนี้ และปรากฏว่าได้สำเร็จจริงตามที่หลวงพ่อฯ ท่านว่าเอาไว้ ยกเว้นอยู่เพียง ๔ องค์ที่มาไม่ได้เพราะมีเหตุจำเป็นจริงๆ คือ หลวงปู่แหวนฯ (องค์นี้พวกเราพิจารณากันเองด้วยสติปัญญาว่า ท่านชราภาพมาก และสุขภาพไม่ดีจึงไม่นิมนต์) องค์ต่อมาคือ หลวงปู่ทืมฯ องค์นี้เล่นลาตายเลยครับ ดีเหมือนกันไม่ต้องแก้ตัว อีกองค์คือท่านพระบาทตากผ้า ศิษย์ของท่านองค์หนึ่งป่วยหนักเข้าขั้นตรีทูต ถ้าท่านไม่อยู่ดูแลต้องม้วยมรณัง องค์สุดท้ายที่ไม่มาคือหลวงปู่สีฯ ไม่ยอมมาเพราะอาย อ่านตามมาเรื่อยๆ เดี๋ยวก็รู้ว่าอายอะไร
    บรรดาพระสุปฏิปันโนทุกองค์ที่ได้มาและไม่ได้มาร่วมงานดังกล่าว มีอยู่เพียงองค์เดียวคือหลวงปู่สีฯ ที่หลวงพ่อฯ ไม่ได้พาคณะศิษย์ไปนมัสการ (เนื่องจากมีเหตุผลหลายประการซึ่งผมจะขอข้ามไป) ลูกศิษย์ฝ่ายทหารอากาศมีพี่สายฯ (พ.อ.อ.สาย ศิริรัตน์) เป็นต้นได้เคยมาปรึกษาหารือกับผมบ่อยๆ โดยขอให้ผมเสนอหลวงพ่อฯ ให้ชักชวนคณะศิษย์ไป แต่ผมทำเฉยเมยเสียทั้งนี้เพราะผมนั้นรู้อยู่แก่ใจว่า ถ้าการสำคัญ จำเป็นแล้ว หลวงพ่อฯ ท่านจะบัญชาลงมาเอง ทันทีโดยไม่ต้องไปชวนหรืออาราธนาให้ลำบาก
    จากการที่พี่สายฯ มาคอยตื๊อผมในเรื่องนี้ ผมจึงได้ทราบประวัติและความเป็นมาของหลวงปู่สีฯ พอสังเขป ว่าหลวงปู่ฯ ไม่ได้เป็นชาวอำเภอตาคลีโดยกำเนิด ท่านเป็นคนทางภาคอีสาน มีอยู่ครั้งหนึ่งในระหว่างที่ท่านจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาท่านได้ไปปักกลดอยู่ใกล้หมู่บ้านป่าแห่งหนึ่ง ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ไปแล้วกว่าครึ่ง หลวงปู่ฯ จึงได้พยายามเทศนาสั่งสอนจนชาวบ้านจำนวนมากได้กลับตัวกลับใจหันมานับถือศาสนาพุทธอีก การกระทำของหลวงปู่ฯ สร้างความไม่พอเป็นอย่างมากให้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ควบคุมพื้นที่นั้นอยู่ จึงได้วางแผนจะเข้าไปจับตัวหลวงปู่ฯ โดยเข้าทำการปิดล้อมหมู่บ้านตามยุทธวิธีของเขา ปรากฏว่าพวกเขาหาตัวหลวงปู่ฯ ไม่พบ ทั้งๆ ที่ระหว่างที่เข้าปฏิบัติการนั้น หลวงปู่ฯ ก็ยืนอยู่ในป่าอ้อยใกล้ๆ หมู่บ้านนั้นเองไม่ได้ไปไหน ท่านว่าพวกเขาแทบจะเดินชนท่านหลายครั้ง แต่ทำไมจึงไม่เห็นท่านก็ไม่รู้ (ไม่รู้ยันเลยนะครับ หลวงปู่ฯ แบบนี้เขาเรียกว่ารู้แต่ไม่ยอมบอก)
    สมัยนั้นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไม่ได้โจมตีเฉพาะรัฐบาลเท่านั้น ยังได้โจมตีศาสนาและพระมหากษัตริย์ด้วยทุกวัน สามารถรับฟังได้ชัดเจนจากสถานีวิทยุเสียงปักกิ่ง ข่าวการประสงค์ร้ายต่อหลวงปู่ฯ นี้ ล่วงรู้ไปถึงหูของพวกลูกศิษย์ที่เป็นทหารอากาศ จึงได้วางแผนไปรับตัวหลวงปู่ฯ นำขึ้น ฮ. มาที่ตาคลี และต่อมาได้อาราธนาให้ไปอยู่ที่สำนักสงฆ์ดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ฟังว่ากว่าจะนิมนต์เอาตัวหลวงปู่ฯ มาได้ถึงกับต้องเอาราชการไปอ้าง ท่านถึงจำต้องยอม
     เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรผมไม่รับรอง แต่เมื่อพี่สายฯ รับรองผมก็เชื่อเพราะเราไม่เคยโกหกกันเว้นแต่จะฟังมาผิด เพราะต่างก็ไม่มีส่วนร่วม หรือเกี่ยวข้องในการนั้น ฟังเขามาเล่าต่อว่าอย่างนั้นเถิด แต่ถ้าใครยังติดใจก็ตามไปถามเอาจากพี่สายฯ หรือหลวงปู่ฯ เองก็แล้วกันนะครับ
    ก่อนที่จะเขียนเรื่องนี้ผมเองก็ได้พยายามติดต่อขอประวัติของหลวงปู่ฯ ที่เชื่อว่าที่วัดน่าจะมีเหลือ
    มิสเตอร์บังฯ บอกผมว่าพี่ประมวลฯ (พ.อ.อ.ประมวล ราชอินทร์) น่าจะมี ผมก็รอคอยอยู่เพราะถ้าได้มาก็จะเป็นประโยชน์ที่จะนำมาย่อพอสังเขปไม่ต้องให้คนที่อยากรู้ต้องไปหาหนังสือหลายๆ เล่มมาอ่านจึงจะได้ความครบสมบูรณ์ รออยู่นานมิสเตอร์ บังฯ ก็ยังไม่กลับ (ไม่ได้ไปไหนไกลหรอกครับ อยู่ในประเทศไทยนี่แหละ แต่กู่ไม่กลับนัยว่ายุ่งกับธุรกิจถมดินอยู่จนท่อปัสสาวะอักเสบ) ผมจึงตัดสินใจไม่รอคอยเพราะเดี๋ยวหนังสือเล่มนี้ไม่ได้พิมพ์ งวดหน้าพี่จะแวะมารับก็แล้วกันนะบังนะ งวดนี้พี่ไปก่อน คอยอยู่กับไอ้ตี๋เล็กฯ ก็แล้วกัน
    กลับมาเข้าเรื่องหลวงปู่ฯ สีต่อไป ต่อมาเมื่อใกล้จะถึงกำหนดวันงานสมโภชครบรอบ ๑๐๐ ปีเกิดของหลวงปู่ฯ ปาน ท่านเจ้าคุณศุภมัสสุ หรือพระอาจารย์เหม่ฯ ได้แจ้งให้ผมทราบว่าหลวงพ่อฯ ตามหาผมจะให้ไปหาหลวงปู่ฯ สี เพื่อนำสังฆาฏิไปแลกแล้วนำมาแจกจ่ายในงาน ตามโครงการของผม ทีแรกผมก็อุ่นใจเพราะคิดว่าหลวงพ่อฯ จะนำไป ที่ไหนได้พอหลวงพ่อฯ บอกว่าท่านไม่ไปจะให้ผมไปเอง ผมก็ร้องจ๊ากเลยครับ นึกในใจว่าเวรกรรมของไอ้เป๋ฯ ไม่มีทางสำเร็จหร๊อก! แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ให้คุณป้า นนทาฯ เลือกสังฆาฏิใหม่ให้ ๑ ผืนก้มหน้างุดๆ ออกมาชวนสมัครพรรคพวกกลุ่มทหารอากาศไปกันหลายคน ก็หวังพึ่งพิงพวกพี่ๆ เขานี่แหละครับบอกตรงๆ ดุ่ยเด่ไปคนเดียวใครจะกล้า อุ่นใจว่าพวกพี่เขาเคยไปนมัสการอยู่บ่อยครั้ง ส่วนผมนั้นไม่เคยไปเลย จำได้ว่ามีน้องๆ ไปช่วยเชียร์กันหลายคน รุ่นเดอะที่ไปช่วยลุ้นก็มีแม่นิดฯ กับพระอาจารย์เหม่ฯ พอถึงวัดก็ตรงรี่เข้าไปที่กุฏิหลวงปู่ฯ หลวงพี่ฯ (พระองค์ที่คุ้นเคยกับพวกเราที่เป็นทหารอากาศ และดูแลหลวงปู่ฯ อยู่) ก็ออกมาต้อนรับ และแจ้งให้พวกเราทราบว่า
    "คอยประเดี๋ยวนะครับ ท่านกำลังฟังวิทยุอยู่ ต้องรอให้ท่านฟังให้เสร็จเสียก่อนจึงจะเข้าไปพบและนมัสการได้"
    เออก็ดีเหมือนกัน ผมคิดในใจพอมีเวลาตั้งตัว คิดดังนั้นแล้วผมจึงได้เร่เข้าไปเจรจากับหลวงพี่ฯ เป็นการหยั่งเชิงไปก่อนว่าที่มานี่มีความประสงค์อย่างไร หลวงพี่ฯ ก็ให้กำลังใจว่าคงจะสำเร็จ แต่เดี๋ยวเมื่อคุณได้พบแล้วก็ให้เรียนขอกับท่านเอาเองแล้วกัน ทางนี้ (หมายถึงระดับลูกศิษย์เท่านั้น) ได้ทราบเลาๆ แล้วถึงความประสงค์ แต่ไม่มีใครบอกกับหลวงปู่ฯ หรอก ไม่มีใครกล้าต้องขอเอง อ้าวแล้วกันหลวงพี่ฯ ขนาดหลวงพี่ฯ อยู่กับท่านแล้วยังไม่กล้าบอกท่านก่อน แล้วอย่างผมที่ไม่รู้จักกับท่านมาก่อนเลยจะทำยังไงนี่ ใจตุ๊มๆ ต่อมๆ แล้วผม ขอสารภาพอีกว่าสำหรับองค์อื่นๆ แล้วผมชัวร์ป้าบเลยครับว่าสำเร็จ แต่หลวงปู่สีฯ นี่ ไม่ป๊าดไม่ปู๊ดเลยครับทำท่าว่าจะเป๋งลูกเดียว หาข่าวมาแล้วก็รู้สำนึกเลยครับว่า ถูกต้มไม่มีใครนำทางหรือนำร่องให้มาก่อนเลย พี่สายฯ นะพี่สายฯ ผมขบเขี้ยวเคี้ยวฟันด้วยความแค้นอยู่ในใจ เป็นทหารอากาศแท้ๆ แต่ดันพาผมมาปล่อยเกาะ ถ้าเป็นทหารเรือจะไม่ต่อว่าเลย
    ผมเข้าไปซักถามพวกเราที่เป็นทหารอากาศเพื่อความแน่ใจอีกครั้งได้ความว่าไม่มีใครกล้ามาบอกหลวงปู่ฯ ไว้ก่อน เวรนะเวรไม่น่าหลอกกัน ก็เมื่อตอนก่อนจะมา ถามแล้วก็พูดเสียงแข็งขันว่าสบายมาก ผมก็นึกว่ามีผู้เก่งกล้าอาสารับภาระมาขอให้เรียบร้อยแล้วจึงเตรียมกายเตรียมใจแค่วางมาดเข้ามารับของที่ต้องการแล้วก็กลับได้ หนอยแน่ ก็แค่มากราบเรียนให้หลวงพี่ฯ ทราบเท่านั้น ส่วนหลวงปู่ฯ ไม่มีใครมาบอกไว้ก่อนเลย เอาไงดีวะ ผมคิดในใจแล้วทำเถลไถลกลบเกลื่อนความไซ้ต์ (ภาย)ใน เดินออกไปชมเครื่องรางของขลังที่ตู้กระจกที่ชานหน้ากุฏิ ทำไก๋เช่ารูปหล่อ เหมือนหลวงปู่ฯ มา ๑ องค์ หูก็แว่วๆ ได้ยินเสียงเพลงอีสานอยู่ในห้องของหลวงปู่ฯ คิดปลอบใจตนเองว่า เฮ่อ! พระองค์นี้คงไม่เท่าไหร่หรอก ยังติดฟังเพลงอยู่นี่คงไม่มีอะไรหรอกน่า ผิว่า ไม่ได้ก็ไม่เอา แน่ะ อวดดีอีกเอ้า เออ เสียงเพลงจบลงแล้วได้พบเสียทีจะได้เสร็จๆ ข้างหลังหลวงพี่ฯ กุลีกุจอกระวีกระวาดไปลาดเลา เอาหูแนบประตูกุฎีกระแอมกระไอแล้วร้องบอกขออนุญาตให้โยมได้เข้าไปนมัสการ แล้วหลวงพี่ฯ เองก็ผลุบเข้าประตูไป ไม่ถึงอึดใจประตูก็เปิดออกมา พวกเราก็ถลาเข้าไปกราบนมัสการ เห็นท่านนั่งชันเข่าอยู่ข้างหนึ่ง นุ่งสบงอยู่ตัวเดียวหน้าตาบึ้งตึงชนิดที่ว่า ไม่ว่าไทย ไม่ว่าฝรั่งไม่รับทั้งนั้น อย่าว่าแต่แขกเลยครับ ผมเข้าไปกราบแล้วถอยปรู๊ดออกมาหลบอยู่ข้างหลังแม่นิดฯ ภาวนาพุทโธๆ ขอให้หลวงพ่อฯ ช่วย หลวงพ่อฯ ค ะ ร๊ า บ ช่วยด้วยช่วยที นี่พระหรือเสือขอรับ นัยน์ตาลุกวาวขมึงทึงทีเดียวเจียวแหละ พวกเราทุกคนนั่งกันเงียบกรี๊บเลยครับ
    ฝ่ายหลวงปู่ฯ ก็ออกงิ้วเลยครับ ตวาดแว๊ดมาด้วยเสียงอันดัง
    "พวกมึงมาทำไมหืมม.. โน่น ข้างนอกโน่น จะมาเอาวัตถุก็ไปเอาข้างนอก เขาหล่อรูปกูเอาไว้ขายเยอะ อย่างอื่นก็มี ไปไป๊ ออกไปข้างนอก พาไปข้างนอก ธรรมะไม่เอานี่ ลูกศิษย์ใครกัน"
    พูดจบก็โบกมือสั่งให้หลวงพี่ฯ ปิดประตูหลังจากโบกมือไล่พวกเราแล้วก็หันหลังให้ นั่งเฉยอยู่อย่างนั้นไม่พูดไม่จา
    พวกเราตกตะลึง เสร็จ เสร็จ เสร็จแน่ เริ่มต้นบรรยากาศก็แปรปรวนล้วนสลดแลสยดสยอง หลวงพี่ฯ เข้าไปกราบเรียนอ้อนวอน ว่าเป็นคณะศิษย์ของหลวงพ่อฯ มีธุระนำข่าวมาจากหลวงพ่อฯ ท่านจึงได้หันกลับมาอีกทีอย่างเสียไม่ได้ ตวาดเอ็ดอึงต่อไปว่า
    "ที่เฮาฟังอยู่นี่ บ่อแม่นเพลง เป็นแหล่เทศน์ เคยฟังบ๋อ ฮื่อ" ตอนท้ายยังทำเสียงฮื่อออกทางจมูกเหมือนกับแสดงความสมเพช จากนั้นก็ยังดุยังบ่นพึมพำดังบ้างค่อยบ้างต่อไปอีกหลายกระบุงโกย (เป็นภาษาอีสาน) แต่ผมไม่รับฟังแล้วภาวนาพุทโธอย่างเดียว จิตจับอยู่กับหลวงพ่อฯ และขอบารมีหลวงพ่อฯ ให้ช่วยด้วยลูกเดียว อะไรๆ ที่ได้ล่วงเกินไปนั้นลูกช้างมันโง่ กราบขออภัยให้ไอ้ลูกหมา (เอ๊ย ไอ้หมาลูกคน) ด้วยเถิดคะร๊าบ ไอ๊หยา! น่ากลัวจินๆ
    เสียงดุค่อยๆ เบาลงๆ จนเงียบแต่ผมก็ไม่ยอมลืมตา ใช่วิธีส่งกระแสจิตอย่างเดียวเท่านั้นรับได้หรือไม่ได้ไม่รู้ แว่วได้ยินแต่เสียงแม่นิดฯ เจรจากับหลวงปู่ฯ ว่าหลวงพ่อฯ ให้เอาสังฆาฏิมาแลกแล้วก็เงียบไป สักพักแม่นิดฯ สะกิดบอกว่าหลวงปู่ฯ เรียกจึงค่อยๆ ลืมตาขึ้น โอ๋ยโย่ เค้าเป๋ ลุจังโลย ซี้แหงเลี้ยว
    ท่านจ้องหน้าผมเป๋ง ผมหลับหูหลับตาคลานเข้าไปกราบแล้วพูดโดยไม่ยอมมองหน้าท่านว่า
    "หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ผมเอาสังฆาฏิมาแลกครับ"
    ท่านก็รับสังฆาฏิที่ผมประเคนไปอย่างเสียไม่ได้ไม่เต็มใจเอาเสียเลย แล้วเอาไปคลี่ออก เอาศอกทาบตามความยาววัดไปทีละศอกๆ จนหมดความยาวของสังฆาฏิผืนนั้นแล้วร้อง
    "เช๊อะ! ไม่ได้เรื่อง" พลางโยนสังฆาฏิผืนนั้นลงกับพื้นอย่างไม่แยแส ดุเกรี้ยวกราดขโมงโฉงเฉงต่อไปอีก
    "คนสมัยนี้มันแย่ สังฆาฏิพระวินัยให้ยาว ๘ ศอก นี่ยาวเท่าไรเหอ" แล้วท่านก็เอานิ้วจิ้มๆ ลงไปที่สังฆาฏิ ผมสั่นหัวตอบในใจว่าไม่ทราบครับ ตอนที่ท่านเอาศอกวัดก็ไม่ได้ดู จึงไม่ทราบว่าสั้นหรือยาวเกินไป ตอนเอามาก็ไม่ได้พิถีพิถันจริงๆ ครับยอมรับผิดว่าชุ่ย เบิกมาจากคุณป้านนทาฯ แล้วก็แล้วกันไป ไม่นึกว่าจะละเอียดกันขนาดนี้ หลวงปู่ฯ เห็นผมไม่พูด ก็เอาสังฆาฏิ ไปวัดให้ดูอีก อ้อ! ขาดไปหน่อย ผมคิดในใจ
    "แล้วจะเอายังไง" หลวงปู่ฯ เค้นถามเสียงเครียด ท่าทางยังเหมือนกับอยากจะกินลาบเลือด และไม่ยอมลดราวาศอกให้เลย
    "ผมขออนุญาตเอาไปเปลี่ยนใหม่ก็แล้วกันครับ" ผมอึกๆ อักๆ อยู่นานกว่าจะพูดออกไปได้ แล้วทำท่าจะหยิบเอาคืนมา แต่หลวงปู่ฯ ท่านกลับเอามือกดผ้าไว้กับพื้นเฉยเสียงั้นแหละ ผมจึงหดอีก ความอึดอัดใจที่ได้รับทำให้เกิดความรู้สึกว่านานเหมือนกับโกฏิปีเชียวครับ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำเขาบุนนาคอยู่ใกล้ป่าใกล้ภูเขาอากาศออกจะเย็นๆ แต่ผมร้อนจี๋เลยครับ เหงื่องี้ออกแฉะทั้งตัว หลวงพี่ฯ ถลาเข้ามาช่วย
    "ให้โยมเขาแลกไปเถิดครับ เขาจะเอาไปให้คนทำบุญ" ท่านช่วยตะโกนอ้อนวอน แต่หลวงปู่ฯ โบกมือห้ามแล้วก้มลงพูดเบาๆ กับผม
    "นี่โยม สังฆาฏิต้องยาว ๘ ศอกนะ จำไว้นะ" เอ๊ะ ผมหูฝาดหรืออย่างไร ทำไมเสียงของหลวงปู่ฯ จึงกลับนิ่มนวลอะไรจะปานนั้น ผมค่อยๆ เงยหน้าขึ้นจากท่าที่ก้มกราบอยู่ เอามือแคะหูทั้งสองข้างอย่างไม่เชื่อมันและไม่เชื่อมั่นหวาดระแวงเต็มที่เลย เอาไงนี่
    "เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ลูกศิษย์มหาวีระฯ ต้องละเอียดรอบคอบ จำเอาไว้ให้ดี"
    เสียงนุ่มนวลไม่มีแกมเหน่อลอยมาอีก ผมลุกพรวดขึ้นมานั่งพับเพียบพนมมือแต้ เพื่อที่จะมองหลวงปู่ฯ ให้เต็มตา อะไรกันนี่ เสือกลายเป็นพระไปแล้ว และกลายเป็นพระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตาเสียด้วย ไม่มีท่าทางที่แสนจะดุดันหลงเหลืออยู่ต่อไปอีกเลย กลับตาลปัตรไปแล้ว เปลี่ยนบทไวยังกะ วิกส์ ๐๗ แน่ะ หลวงพี่ฯ ได้โอกาสรีบตะโกนกราบเรียนเสียเสียงหลงทันที
    "อนุญาตให้โยมแลกไปนะหลวงปู่"
    "เออ พูดเบาๆ ก็ได้ยิน" หลวงปู่ฯ บ่นตอบเบาๆ และสั้นๆ นิ่มๆ พอให้ได้ยิน เมื่อได้ยินดังนั้นหลวงพี่ฯ ก็เผ่นผลุงไปที่ราวตากผ้าตรงชานกุฎีทันที รวบเอาสังฆาฏิที่เราได้หมายตากันเอาไว้ก่อนหน้านั้นมาถวายทันที
    "ไม่ใช่ๆ เอาไปไว้ที่เก่า" หลวงปู่ฯ โบกมือห้ามอีก ผมก็ใจหายแว๊บอีก เปลี่ยนบทเป็นเสืออีกแล้วหรือไง โยมตามและตั้งตัวไม่ทันเลย หลวงพี่ฯ ก็หน้าซีดเผือด ทุกคนคิดว่ารายการพลิกล็อค เกิดขึ้นอีกแล้ว ได้แต่ใจคอตุ๊มๆ ต่อมๆ ดูเหตุการณ์ต่อไป หลวงปู่ฯ ค่อยๆ ชันกายขึ้นยืนอย่างช้าๆ เดินกระยองกระแย่งผ่านพวกเราเข้าไปในห้องนอนซึ่งอยู่ติดกัน ได้ยินเสียงรื้อของกุกๆ กักๆ อยู่เป็นนานสองนานสลับกับเสียงกระแอมกระไอ ผมหันไปมองหน้าพวกเราทุกคนหน้าซีดจ๋อยเหมือนกันหมด แม่นิดฯ ที่ว่าผิวดำ หน้าขาวจ๋องไม่ต้องทาแป้งเลยครับ พวกเรากระซิบกระซาบกันเบาๆ ว่าไม่รู้ว่าหลวงปู่ฯ เข้าไปทำอะไร จะกลับออกมาอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ พักใหญ่หลวงปู่ฯ ก็กระย่องกระแย่งออกมา ถือห่อกระดาษเก่าๆ ออกมาด้วยกลับมานั่งท่าเดิมและที่เดิม วางห่อกระดาษลงกับพื้น แล้วค่อยๆ แก้เชือกห่อออกอย่างช้าๆ พวกเราต่างพากันกลั้นหายใจลุ้นกันโดยไม่รู้สึกตัวด้วยความที่อยากรู้ว่าข้างในเป็นอะไร
    เป็น "จีวรกับสบงและสังฆาฏิ" ครับ
    ครบชุดแต่เก่างั่กเลยครับ หลวงปู่ฯ นำสังฆาฏิกลักแสนเก่าผืนนั้นออกมาคลี่ เอาศอกวัดให้ดูอีกครั้งเหมือนกับจะโชว์ให้ดู เพื่อยืนยันคำพูดของท่าน
    O.K. ครับ ๘ ศอกพอดี (แต่ศอกของผมมันสั้นไปหน่อย)
    ท่านมองค้อน เอามือลูบคลำอยู่พักหนึ่ง แล้วนำสบงจีวรออกมาคลี่ให้ดูอีก ปรากฏว่าเป็นสบงกับจีวรที่ทำด้วยผ้าแพรไหมครับ ท่านเล่าอย่างอารมณ์ดีว่าของชุดนี้เศรษฐีจีนสั่งทำและถวายให้ท่านเมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ ๔ และท่านได้เก็บ ตลอดจนนำติดตัวไปตลอดเวลา หันมาถามผมว่า
    "เอาไหม"
    "สุดแท้แต่หลวงปู่ฯ จะกรุณาเถิดครับ" ผมตอบเบาๆ
    "เอาไหม" ท่านถามย้ำอีก ผมเห็นว่าถ้าพูดให้เยิ่นเย้อต่อไป ต้องอดแน่ๆ จึงตอบไปอย่างม้าไร้พยศว่า
    "เอาครับ"
    "เออ เอาไป" หลวงปู่ก็ให้ง่ายๆ
    "แล้วนี่ เอาไหม" ท่านชี้มือไปที่สบงและจีวรแพรไหมนั้น
    "ไม่กล้าครับ" ผมตอบ
    "ทำไมไม่กล้า" หลวงปู่ฯ แกล้งสงสัย
    "หลวงพ่อฯ ท่านใช้ให้มาเอาแต่สังฆาฏิเท่านั้นครับ หลวงปู่ฯ จะแถมให้หรือครับ" ตอนนี้พอโล่งใจแล้ว ผมจึงเริ่มทะโมนตามนิสัยเดิม
    "ถ้าเอา ก็ให้" ท่านพูดแล้วก็ผลักออกมาให้ข้างหน้า
    "ไม่เอาละครับ หลวงพ่อฯ สั่งมาแค่นี้" ผมกัดฟันตอบอย่างแสนเสียดาย ค่อยๆ ผลักคืนไป แต่อย่างว่าแหละครับ ไม่นอกครูก่อนเป็นดี
    "ไม่เอาก็เก็บ" ว่าแล้วหลวงปู่ฯ ก็บรรจงพับและห่อเข้าที่แล้วเดินเอากลับไปเก็บไว้ในห้องตามเดิม
    เมื่อเสร็จจากการปราบพยศผมจนอยู่หมัดแล้ว หลวงปู่ฯ จึงเลิกราแล้วเปิดโอกาสให้พวกเราเข้าไปอ้อนกันได้ตามสบาย ส่วนผมนั้นเก็บปากกระเป๋าแล้วรูดซิบ ๓ ชั้นฝังดินปิดครั่งเลยครับ ฟังอย่างเดียวไม่กล้าอ้อนไม่กล้าถาม ใจนั้นอยากกลับวัดท่าซุงลูกเดียว
    แต่แม่นิดฯ ยังไม่ยอมเลิกราพยายามนิมนต์ท่านให้ไปร่วมงานสมโภชครบ ๑๐๐ ปี เกิดของหลวงพ่อปานฯ ให้ได้
    ท่านปฏิเสธเสียงหลงว่า
    "กูไม่ไป"
    แม่นิดฯ ไม่ละความพยายาม ชักจูงอีกว่า
    "ในหลวงเสด็จนะเจ้าคะ"
    หลวงปู่ฯ ทำคอย่นสั่นหัวเดี๊ยะ
    "ในหลวง กูก็ไม่ไป กูอั้นเยี่ยวไม่ได้ ลำบาก"
    ก็น่าเห็นใจนะครับ เพราะในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ผมเล่าอยู่นี้ หลวงปู่สีฯ อายุ ๑๒๗ ปีแล้วครับ (อายุหลวงปู่ฯ นี่อาจจะไม่ตรงกับข้อเขียนของท่าน พล.อ.ต.มนูญ ชมพูทวีป ที่เขียนว่า ท่านมรณภาพเมื่ออายุได้ ๑๒๖ ปี ผมไม่ทราบว่า จำนวนไหนที่คลาดเคลื่อน แต่ขอเรียนว่าผมได้ยินท่านตอบกับแม่นิดฯ อย่างชัดเจนว่าท่านอายุ ๑๒๗ ปีแล้ว)
    แม้ท่านจะยังดูแข็งแรง แต่อวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ หรือพังผืดมันหย่อนยานไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงอั้นปัสสาวะไม่ได้ ที่กุฎีของท่านตรงพื้นกระดานด้านหลังที่ท่านนั่งอยู่จึงต้องเจาะร่องเอาไว้ ซึ่งพอประเดี๋ยวประด๋าวท่านก็ต้องหันไปจ๋องลงร่องเสียทีหนึ่ง
    แต่แม่นิดฯ ก็ไม่ละความพยายามเรียนท่านว่า จะจัดการให้สะดวกสบายเหมือนกับที่ท่านอยู่วัดของท่านเลยทีเดียว
    คราวนี้หลวงปู่ฯ สบัดหน้าพรืด พูดกระฟัดกระเฟียดว่า
    "กูไม่เอา กูรู้จักอายเขา" ว่าแล้วก็หันหลังกลับ แซมเปิ้ลให้ดูอีก ๑ จ๋อง พวกเราฮากันเลยครับ (คือไม่ได้หัวเราะท่านนะครับ ทุกคนมีความเคารพรักหลวงปู่ฯ แต่พึ่งเข้าใจในความจำเป็นอย่างยิ่งของท่านตอนนั้นเอง)
    เป็นอันว่าได้คำตอบแล้วนะครับว่า ทำไมหลวงปู่สีฯ ไม่มางานครบรอบ ๑๐๐ ปีเกิดของหลวงพ่อปาน โสนันโท
    ส่วนแม่นิดฯ นั้น เมื่อเห็นว่าท่านไม่ยอมรับนิมนต์แน่แล้ว จึงหันไปคุยเรื่องอื่นๆ หลายๆ เรื่อง แต่ที่ผมหูผึ่งก็คือเมื่อแม่นิดฯ ถามท่านว่า
    "หลวงปู่ฯ รู้จักกับหลวงพ่อปานฯ ไหมเจ้าคะ"
    "ปานไหน?" หลวงปู่ฯ ย้อนถาม
    "หลวงพ่อปานฯ วัดบางนมโคเจ้าค่ะ" แม่นิดฯ ยืด
    "กูไม่รู้จัก กูรู้จักแต่ปานฯ วัดบางเหี้ย ปานฯ วัดบางเหี้ยนั่งเรือไม่ต้องพาย เรือวิ่งไปเอง" ว่าแล้วท่านก็หัวเราะชอบอกชอบใจ
    แม้แต่คำตอบของหลวงปู่ฯ จะทำให้เราผิดหวังอยู่บ้างที่ท่านกับปรมาจารย์ของเราไม่รู้จักกัน แต่ว่าหลวงปู่สีฯ ท่านจะต้องมีอะไรๆ ที่เนื่องด้วยกับหลวงพ่อแน่ๆ เพียงแต่ท่านนั้นไม่เนื่องกับหลวงปู่ปานฯ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่คำสนทนากันนี้ทำให้เราท่าน ทราบข้อมูลกันมาอีกว่าพระเกจิอาจารย์สมัยนั้น แม้จะอยู่ห่างไกลกันสุดขอบฟ้า ยานพาหนะหรือก็ไม่ดีเหมือนปัจจุบัน แต่ก็ไปเจอะเจอกันและรู้จักกันได้อย่างอัศจรรย์ เพราะหลวงปู่สีฯ อยู่อีสาน ส่วนบางเหี้ยก็คือบางบ่อในปัจจุบันเลยบางพลีไปนิดเดียว ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีเดช ให้เดินให้ตายก็ไม่ได้พบกัน
    เป็นไงครับเรื่องที่ผมเล่าว่าเป็นวันเดียวที่ผมได้พบกับหลวงปู่สีฯ ก็จริง แต่เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ เห็นด้วยไหมครับ หรือจะเอาตังค์คืนดีครับ"
     
    จากเรื่องนี้ได้เกิดข้อคิดแก่ผมหลายประการคือ
    ๑. คำที่หลวงปู่ท่านสอนว่า " เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ลูกศิษย์มหาวีระฯ ต้องละเอียด ต้องรอบคอบ จำเอาไว้ให้ดี " คำพูดนี้กินใจผมมาก เหมือนกับท่านสอนเราว่า เธอมีครูบาอาจารย์ที่แสนประเสริฐ พระอริยะ พรหม เทวดา ทั้งหลาย ยกย่องกันทั้งสามโลก จะทำอะไรต้องละเอียด คิดให้รอบคอบ อย่าให้เสียถึงครูบาอาจารย์(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา) และควรมีความนอบน้อมถ่อมตน อย่าชูงวง(วางท่า)ไปในสถานที่ต่างๆ การพูดการจาให้มีสัมมาคารวะตามความอาวุโส ให้ความเคารพในคุณธรรมของผู้อื่น ให้ระวังแม้กระทั่งความคิดของตนเอง นอกจากวาจา และ การกระทำ
    ๒. ท่านผู้ทรงความดีนั้น ท่านย่อมปิดบังคุณธรรมอันแท้จริงของท่านไว้ เสมือนเสือที่ซ่อนเขี้ยวเล็บอันทรงพลัง และท่านจะแสดงออกเมื่อถึงเวลาอันสมควรเท่านั้น
    ๓. คนดีเมื่อกระทำผิดพลาดไป เมื่อได้รับการตักเตือน ก็กลับตัวกลับใจประพฤติดี ไม่มีความดื้อดึง หรืออาฆาตแค้น เสมือนม้าอาชาไนย ซึ่งสามารถฝึกอบรมได้โดยง่าย
     
    ขอให้ทุกท่านโชคดี มีความสุข และได้บรรลุธรรมตามที่ท่านปรารถนาทุกประการ...ครับ
     
    ---------------------------------------------------------
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-see-hist-04.htm
    หนังสือ Wอิทธฤทธิ์ หรือความบังเอิญ ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำW หน้า ๑๐๗-๑๑๙ โดย พล.อ.อ. มนูญ ชมพูทวีป)
     
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    ขอบพระคุณพี่กรุพระมากครับ
    สำหรับข้อมูลหลวงปู่สี
    ที่ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด
    ตั้งแต่ที่เคยได้อ่านมาครับ
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    เหรียญอายุยืน ครึ่งองค์
    หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    สวัสดีครับ พี่ 001not
    งานเยอะเงินก็แยะ จะได้เช่าพระเพิ่ม
    ปกติเวลาเช่าบูชาพระ หากหวังเชิงพาณิชย์ประกอบหน่อย
    ส่วนตัวผมเอง จะมีหลักพิจารณาว่า
    จะเช่าของที่ทันท่าน และที่เริ่มมีความนิยมบ้างแล้ว
    สังเกตุดูพระหลวงพ่อคูณ มีที่นิยมเพียงบางรุ่น
    ในขณะรุ่นที่สร้างก่อนหน้าอาจจะไม่มีราคา
    และไม่มีการขยับตัวของราคาเลย
    ตอนนั้น ถ้าจะลงทุนสักห้าพัน
    ผมว่ารูปเหมือนปั้มเทพประทานพร
    เนื้อทองแดงสวยๆ สักองค์น่าจะมีอนาคตไกล
    พระใหม่จริงๆ ตอนนี้ที่เกจิยังมีชีวิตอยู่
    ที่ผมสนใจคือพระกริ่งนฤมิตรโชค ลพ จรัญ
    เพราะท่านมีลูกศิษย์มาก และพระรุ่นนี้มีพุทธศิลป์สวยงาม
    สำหรับการสะสมพระรุ่นที่ไม่ทันหลวงพ่อ
    จะต้องเน้นพิธีใหญ่ เจตนาการสร้างดีเท่านั้น
    ซึ่งก็มีบางรุ่นที่ราคาเขยิบตัวไปเรื่อยๆ
    เพราะรุ่นเก่าหายากและราคาแพงมากแล้ว
    เช่น หลวงพ่อเงิน บางคลาน ก็จะมีรุ่น 15
    ช้างคู่ สร้างอำเภอ หรือเหรียญเจ้าสัว ก็มีรุ่น 2 เป็นต้นครับ
    ก็
     
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...