มาเจริญ ธรรมะทานกันนะคับ ทำไม จิต จึงเป็น อนัตตา คับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย มหาพรหมราชา, 14 มกราคม 2013.

  1. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ทำไม จิต จึงเป็น อนัตตา คับ
    ขอ ท่านผู้รู้ตอบด้วยนะคับ เพื่อ เจริญ ธรรมะทาน
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วิปัสสนาไปจนผ่านชั้น กาย เวทนา จิต ไปถึงชั้นธรรมานุปัสสนา
    แล้วจิตจะแสดงสภาวะอนัตตาให้เห็นทุกลมหายใจเข้าออก

    ความรู้ตัวนี้ เป็นปัจจัตตัง ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยการฟัง มิฉะนั้น คนในยุคปัจจุบันนี้ จะสำเร็จเป็นพระอริยเจ้ากับนับล้านคนแล้ว
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อนัตตา ผมเข้าใจว่าหมายถึง การไม่ถือเอาทั้งความมีและความไม่มี
    สิ่งทั้งปวงเกิดเพราะเหตุ ดับไปเพราะเหตุ ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ
    ทุกสิ่งเกิดขั้นและดับไปตามเหตุปัจจัย ตามสายของปฏิจจสมุปบาท
    ผมรู้ว่า "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"
    ผมคิดว่า จิตเป็นธรรมหนึ่ง จิตจึงเป็นอนัตตาด้วยครับ
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ความหมายของไตรลักษณ์
    อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป
    ทุกขัง คือ ความไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ต้องมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา อยู่นอกเหนือการบังคับบัญชาควบคุมของเรา ไม่สามารถทำให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้
     
  5. หลานศิษย์

    หลานศิษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +560
    ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (รู้ทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ ตัวเรา ของเรา

    มีพุทธพจน์ ที่ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวเรา

    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนี่ แน่นอนคือ ขันธ์ 5
    แล้วจะรวมจิตด้วยไหม

    จิตเอง ผมเชื่อว่า มีเกิดขึ้น ก็ต้องมีตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา
    ไม่ใช่ดับกิเลสอย่างเดียวนะครับ แต่สูญสลายไปจริง ๆ

    สามารถศึกษาเรื่อง การเกิดของเทพฯ จากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
    เพื่อให้เข้าใจ การเกิดของดวงจิตได้
    เช่น พระอิศวร สร้างพระพิฆเนศ
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ขันธ์ 5 ส่วนนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ล้วนเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ดับไป และอยู่นอกเหนือการบังคับของเราตลอดเวลา

    เรื่องของศาสนาพราหมณ์ ถ้าเทียบกับศาสนาอื่นๆ แล้ว นับว่ามีความลึกซึ้งทางการปฏิบัติทางจิต มากกว่าศาสนาอื่นๆ ของโลก

    แต่ก็ไม่เทียบเท่าศาสนาพุทธ ไม่มีทางออกของวังวนแห่งทุกข์ แบบที่พระพุทธเจ้าเผยแพร่

    ทำไมจะต้องถอยหลังเข้าคลอง?
     
  7. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    คำถามนี้สำคัญ
    ขอต่อด้วยว่า แล้วทำไมจึงเกิดแก่เจ็บตายและจึงมีนิพพาน
    ...
     
  8. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    ไม่ใช่แต่เฉพาะจิตที่เป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตาหมด คือ ไม่มีตัวตนรูปร่างที่คงที่ เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ใช่ไม่มีอะไร (แปลกันผิดไปหมด) สสารและพลังงานคือสิ่งเดียวกัน ที่คิดว่าไม่มี มันก็มีพลังงาน แต่เรามองไม่เห็น
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เพราะจิตจับอารมณ์ไปเรื่อยๆ
     
  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เพ่งฌานให้ถึงฌานนิโรธสมาบัติ หรือสัญญาเวตยิตนิโรธฌาน(ฌานสมาบัติ๙) หรือสัจจานุโลมิกญาณ(วิปัสสนาญาณ๙)
    ผลคือดับความคิด ดับจิต ดับใจ ซึ่งตัวอัตตาที่แท้จริง
    ผลก็จะถึงซี่งอนัตตา
     
  11. รอยตะวัน

    รอยตะวัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +116
    ถ้าจิตมีการเกิด ก็ต้องมีการดับ และมีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     

แชร์หน้านี้

Loading...