อันตราย!!สารพิษในเนื้อสัตว์

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย llnuhyper, 25 พฤศจิกายน 2012.

  1. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]

    ๕. การพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่
    เมื่อพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า
    ก็ทรัพย์มรดกของพระศาสดามีมากแล คือ อริยทรัพย์ ๗ ประการ
    ทรัพย์มรดกนั้น ผู้เกียจคร้านไม่อาจรับได้

    เหมือนอย่างว่า มารดาบิดาย่อมตัดบุตรผู้ประพฤติผิด
    ทำให้เป็นคนภายนอกว่า คนนี้ไม่ใช่ลูกของเรา
    เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไป เขาก็ไม่ได้รับทรัพย์มรดกฉันใด
    แม้บุคคลผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คืออริยทรัพย์นี้
    ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น ย่อมได้รับดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

    ๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่
    เมื่อพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า พระศาสดาของเธอเป็นใหญ่
    เพราะในเวลาที่พระศาสดาของเธอทรงถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี
    เวลาเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี เวลาตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณก็ดี
    เวลาประกาศพระธรรมจักร แสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจากเทวโลก และทรงปลงอายุสังขารก็ดี
    เวลาเสด็จดับขันธปรินิพพานก็ดี หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวแล้ว
    เธอบวชในพระศาสนาของศาสดามีอานุภพมากขนาดนี้แล้ว
    เป็นคนเกียจคร้าน ควรแล้วหรือ ? ดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

    ๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่
    เมื่อพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่ อย่างนี้ว่า
    แม้โดยชาติ บัดนี้ เธอไม่ใช่คนมีชาติต่ำแล้วละ
    เธอชื่อว่าเกิดแล้วในวงศ์ของพระเจ้าอุกกากราช
    ที่สืบทอดกันมาโดยมหาสมมตประเพณี ไม่เจือปนกับชนชาติอื่น

    เธอเป็นพระนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
    และพระนางเจ้ามหามายาเทวี เป็นพระอนุชา (น้อง) ของท่านพระราหุลพุทธชิโนรส
    ขึ้นชื่อว่าเธอ เป็นพุทธชินบุตรเห็นปานฉะนี้แล้วอยู่อย่างคนเกียจคร้าน ไม่สมควร
    ดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

    ๘. การพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่
    เมื่อพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า
    ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะ และพระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป
    แทงตลอด (ตรัสรู้) โลกุตตรธรรมด้วยความเพียรกันทั้งนั้น
    เธอจะดำเนินตามทางของสพรหมจารีเหล่านั้น หรือไม่ดำเนินตามเล่า
    ดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

    สำหรับ
    ๙. การงดเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
    ๑๐. การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร
    ๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น


    เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้สละความเพียรทางกายและทางใจ
    ซึ่งเป็นเหมือนงูเหลือมกินเต็มท้อง แล้วก็หยุดอยู่กับที่ก็ดี
    คบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้อุทิศตนมุ่งปฏิบัติธรรมก็ดี
    มีจิตโน้มน้อมโอนไป เพื่อให้ความเพียรเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้นก็ดี
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

    ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้
    ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
     
  2. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    เรื่องความไม่เห็นแก่ตัว

    [​IMG]
    เรื่องความเห็นแก่ตัวนี่ เป็นฐานของสิ่งทั้งหลายทั้งด้านดีและด้านเสีย ถ้าพูดในด้านเสียแล้ว ความเห็นแก่ตัวนั่นแหละเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำคนให้คิดผิดไป ให้พูดผิดไป ให้กระทำอะไรๆ ไปในทางที่ผิดที่เสียหาย ก็เพราะฐานที่มีความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นก่อน แต่ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัว มีความเห็นในด้านธรรมะจริงแล้ว เรื่องผิดมันก็คงจะไม่เกิด เพราะธรรมะนั้น จะช่วยให้เกิดความคิดนึกที่ถูกที่ชอบ ตรงตามเป้าหมาย แต่พอมีตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ความคิดที่ผิดเกิดตามขึ้นมา

    ตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่นว่า นาย “ก” นี่เป็นอยู่กับใครคนหนึ่ง แล้วคนคนนั้นไปกระทำอะไรเข้าสักอย่างหนึ่ง ซึ่งคนส่วนมากเขาก็เห็นว่ามันไม่ถูก ไม่เหมาะ ไม่ควรด้วยประการต่างๆ แต่ว่านาย “ก” ไม่ได้คิดเช่นนั้น ไม่ได้มองเห็นในรูปเช่นนั้น กลับพูดว่าท่านผู้นั้นเป็นคนที่ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ เช่นนาย “ก” ได้รับความอุปถัมภ์ค้ำชูจากคนนั้นในเรื่องต่างๆ นานา เจ็บไข้ได้ป่วย ที่เขาช่วยรักษามารดาตาย เขาช่วยทำศพให้ หรือว่ามีความทุกข์ความเดือดร้อนก็วิ่งไปหาให้ความช่วยเหลือ ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่างๆ นั้น เป็นเครื่องมัดจิตใจนาย “ก” ให้มีความรักความเคารพต่อบุคคลนั้น แต่ไม่ได้คิดไปถึงว่าสิ่งที่เราได้มันเป็นเรื่องของปัจเจกชน หรือเป็นเรื่องของมหาชน คิดแต่เพียงประการเดียวว่าเขาดีต่อฉันอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนที่เขากระทำอะไรลงไปในเรื่องที่เป็นความผิดความเสียหายนั้น กลับมองไม่เห็น ทำไมจึงมองไม่เห็น ก็เพราะว่าอคติเข้าครอบงำใจ

    อคติ คือ ความลำเอียง เกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ คือความลำเอียงเพราะรัก เรียกว่าฉันทาคติ, ความลำเอียงเพราะชัง เรียกว่าโทสาคติ, ความลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่าภยาคติ, ความลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่าโมหาคติ

    อคติ 4 ประการนี้ ไม่ว่าตัวใดตัวหนึ่ง ถ้าเกิดขึ้นในใจของบุคคลใดแล้ว ทำให้บุคคลนั้นต้องตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ทำไมจึงต้องตกต่ำ เพราะว่าความคิดมันผิด การพูดผิด การกระทำผิด การคบหาสมาคมก็จะพลอยผิดพลอยเสียไปด้วย เพราะอาศัยอคติ 4 นี้เป็นฐานอยู่ในใจ เรื่องอื่นที่มันจะเกิดขึ้นมันก็จะเอียงไปตามอคติที่มีอยู่ เช่น เรามีความรัก เราก็มองคนไปในแง่ดี มีประโยชน์แก่ตน ใครมาบอกว่าไม่ดีนั้นไม่ยอมรับ

    สมมติว่าชายหนุ่มหญิงสาวมีความรักกัน หญิงสาวมีความรักชายหนุ่ม แต่ว่าคุณพ่อคุณแม่มองแล้วเห็นว่ามันไม่ได้ความ ไอ้เจ้าหนุ่มคนนั้นเป็นคนหยิบโหย่ง ไม่เอางานเอาการ นิสัยไม่ค่อยดีไม่เรียบร้อย แล้วก็มาบอกกับลูกสาวว่า แม่พิจารณาดูแล้วว่าเจ้าหนุ่มคนนี้ที่เธอว่าเป็นแฟนนี่ มันไม่ได้เรื่องอะไร ลูกสาวจะเชื่อไหม จะฟังไหม...ไม่เชื่อหรอก หาว่าคุณแม่รังเกียจอย่างนั้นรังเกียจอย่างนี้ ไม่ชอบแล้วก็พูดอย่างนั้นอย่างนี้ด้วยประการต่างๆ เขามองไม่เห็นความไม่ดีของคนที่เขารัก เพราะว่าเขารักมาก เขาก็มีอคติมากหน่อย เรียกว่ามีอคติเข้าข้างคนนั้นมากหน่อย ใครที่พูดว่าไม่ดีนั้นจะถูกหาว่าไม่ชอบอย่างนั้นอย่างนี้ล่ะ แล้วมักจะเอาสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง เช่น อ้างว่าเขาเป็นคนจนบ้างล่ะ เขาไม่มึเทือกเถาเหล่ากอบ้างล่ะ ไม่ยอมรับความจริงที่คนอื่นมองเห็น เพราะว่าตาของตัวนั้นมันเป็นฝ้า มองอะไรมัวไปหมด ไม่เห็นชัดตามสภาพที่เป็นจริง

    หนุ่มก็เหมือนกันแหละ ถ้าไปรักหญิงสาวแล้ว ถ้าใครไม่ชอบไม่เห็นด้วย มาคัดค้านนี่ เขาก็ไม่ยอมท่าเดียว เขาจะต้องรักของเขาไปจนกระทั่งจะได้สมใจ หรือว่าจนกระทั่งความเสียหายมันเกิดขึ้นแล้วจึงจะรู้ว่า อ้อ.. มันหลงผิดไปแล้ว แต่ว่ามันหลงผิดไปแล้วมันขาดทุนไปตั้งเท่าไรก็ไม่รู้ อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นง่ายๆว่า จะวินิจฉัยเรื่องอะไรนั้น อย่าวินิจฉัยโดยถือเอาตัวเป็นใหญ่ เพราะว่ามักจะเข้าตัว มีอคติเกิดขึ้นในใจ นี่เรียกว่าฉันทาคติ บางทีเกิดโทสาคติขึ้น เราไม่ชอบคนนั้น เมื่อไม่ชอบคนนั้นก็ลงมติว่า ไม่ได้ความ ใช้ไม่ได้ ไม่ดีไม่งามด้วยประการทั้งปวง

    การที่ลงมติไปในรูปเช่นนั้น ก็มีฐานมาจากว่าตัวไม่ชอบ ตัวไม่ชอบนั่นก็คือ ตัวความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่งเหมือนกัน ไอ้ความชอบนั่นก็คือความเห็นแก่ตัวเหมือนกันแหละ ตัวพอใจตัวพึงใจก็ว่าดี แต่เอาตัวเข้ามาเกี่ยวข้องอีกในรูปหนึ่งว่า ฉันไม่ชอบ ฉันไม่พอใจ เขาทำอะไรๆ ไม่ถูกอารมณ์ของฉัน เราก็เกิดโทสาคติ คือความลำเอียงเกิดขึ้นทันทีว่า คนนั้นใช้ไม่ได้ การกระทำอย่างนั้นไม่ถูกต้อง แม้จะถูกก็ไม่ยอมว่าถูก แต่ถ้าผิดก็เอาเลยล่ะ เรียกว่าได้ทีขี่แพะไล่เลยทีเดียว อันนี้มีอยู่เหมือนกัน เรียกว่าลำเอียงเพราะชังกัน

    ลำเอียงเพราะกลัว วินิจฉัยอะไรๆบางเรื่องนี่กลัวอิทธิพลเขา กลัวพรรคพวกเขา กลัวอำนาจกลัวความเป็นใหญ่ การวินิจฉัยนั้นก็มักจะเข้าไปในสิ่งที่ตัวกลัว เพื่อให้ตัวปลอดภัย ก็ความเห็นแก่ตัวอีกเหมือนกัน เอาตัวเข้าไปใช้อีก แล้วก็วินิจฉัยในเรื่องอะไรๆ ต่างๆ มันผิดไปไม่ตรงตามเรื่องที่เป็นความจริง นี่เรียกว่าลำเอียงเพราะความกลัว

    ส่วนลำเอียงเพราะความหลงนั้น คือไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่เข้าใจอะไร ไม่มีปัญญาไม่มีเหตุไม่มีผล ได้ยินเขาว่าอย่างไรก็ว่าไปตามเขา อย่างนี้เขาเรียกว่าโมหาคติ คนเราถ้ามีอคติอย่างนี้แล้ว มันก็เขวไปเท่านั้นเอง

    ทีนี้คนนั้นเป็นใคร ก็มักจะใช้ความลำเอียงของตัวนั่นแหละ ไปทำในเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่อไป ให้เกิดความเสียหายไปด้วยประการต่างๆ การวินิจฉัยอะไรว่าดีว่าถูก ว่าชั่วว่าไม่ชั่ว จะเอาอคติมาใช้ไม่ได้ เราจะต้องวิจิจฉัยด้วยความเป็นธรรม ด้วยความเป็นธรรมนั้นต้องเอาอะไรหลายอย่าง เข้ามาประกอบ เช่นเอาศีลทั้งห้าข้อมาวินิจฉัยกันก่อน การกระทำนั้นจะดีหรือชั่ว จะเป็นความผิดความเสียหรือไม่ ศีลห้ามีอะไรบ้างโดยมากเราก็พอรู้กันอยู่ คือการไม่ฆ่ากัน การไม่ลักของกัน การไม่ประพฤติล่วงเกินความรัก ความชอบใจกัน การไม่พูดจาโกหกหลอกลวงกัน ไม่เสพของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันนี้เป็นฐานเบื้องต้น ที่เราจะเอามาวินิจฉัยว่าอะไรถูกอะไรผิด
     
  3. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    ความน่ากลัวของสังสารวัฏ ​

    [​IMG][​IMG]
    สุขจากการละวางตัวตนและใจ จะกลายเป็น "ตายก่อนตาย"

    ละวางอัตตา ตัวตน ก่อนที่จิตและกายจะแตกดับจริงๆ

    บางครั้งในหมู่คนที่มีความสุขสบายในชีวิต เกิดความขี้เกียจเจริญสติ บางครั้งในหมู่คนที่ มีความสุขสบายในชีวิต พรั่งพร้อมด้วย ทรัพย์สินเงินทอง รูปร่างหน้าตา และสติปัญญา ครั้งแรกๆ ก็สนใจ ใคร่รู้ในการปฏิบัติธรรม แต่เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง สมใจอยากแล้ว บางครั้งก็ละเลย เบื่อและเกียจคร้าน ในการปฏิบัติ ขอให้ท่านฉุกคิดขึ้นมาว่า โลกมีสิ่งที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ มากมาย เรามีสิ่งที่เราเกลียด เช่น แมลงสาบ หนูสกปรก หมาขี้เรื้อน .... "ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่าเราไม่ต้องไปเกิดเป็นสิ่งเหล่านั้น"

    เว้นเรื่องชาตินี้ ชาติหน้าไปเสีย บางครั้งเราพบเห็นคนที่ประสบอุบัติเหตุ หน้าตาเละ เสียโฉม ตาบอด พิกลพิการ หรือบางคนยากจนค่นแค้น พ่อแม่หรือลูกเมียสร้างหนี้สินภาระไว้ให้มากมายมหาศาล บางคนพลั้งพลาด ถูกหลอกลวง เจ็บแค้นเจ็บปวด ทรมานแสนสาหัส ......"ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่า เราไม่ต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์เหล่านั้น"เว้นเรื่อง ไกลตัวที่ยังไม่มีไม่เกิด มาดูสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่เช่น ...บ้านอันแสนอบอุ่น ...ครอบครัวที่เรามีอยู่ ...เครื่องใช้อำนวยความสะดวกสบายและบันเทิงทั้งหลายทั้งปวง ...คอมพ์ตัวโปรดที่ใช้เล่นเน็ต หรือแม้แต่ลมหายใจแห่งชีวิตของเรา เมื่อวันใดวันหนึ่งมาถึง สิ่งเหล่านี้ก็ต้องพลัดพรากจากเราไป หรือเราเองนี่แหละที่ต้องพลัดพรากจากมันไป ......"ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลยว่า ความพลัดพรากใดๆ จะไม่เกิดขึ้น"เว้นเรื่องชีวิต มนุษย์ ไปเสีย ด้วยจิตที่มีกำลังบุญอย่างใหญ่ หรือตั้งมั่นในฌานสมาบัติอันแก่กล้า มีความมั่นใจในอนาคตของตน ที่เห็นสุขคติและความสุข รออยู่เบื้องหน้า

    แต่ด้วยพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ได้ทรงสอนไว้แล้วว่าแม้แต่เทวดา หรือ พรหม ใดๆ ก็มีความเสื่อมและต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ ไม่พ้นไปได้ นี่ไม่ใช่การคิดหรือเห็นโลกในแง่ร้าย แต่นี่คือความจริงของโลกที่เรามิอาจปฏิเสธ เราอาจจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่คิดถึง ไม่พูดไม่นึก พร้อมทั้งสร้างสิ่ง ที่จะสามารถรักษาสิ่งที่ดีดี เหล่านี้ไว้ให้มี นานที่สุด

    แต่ความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ ซึ่งเราพยายามจะ หลีกเลี่ยงไม่นึกถึงนั้น ก็ยังคงเป็นความจริงอย่างที่สุด ที่เรามิอาจหลีกเลี่ยง เป็นโชคอันมหาศาลอย่างที่สุดที่มี มหาบุรุษผู้เจนโลก ผู้หยั่งรู้แล้วซึ่งความเป็นไปทั้งปวง มาช่วยเหลือเรา ให้พ้นจากวงจรแห่งความไม่แน่นอน จากความมีความเป็น แล้วเราจะเสียเวลา และประมาทอยู่ทำไม???

    "ในทางโลก เขาแข่งกันมี แต่ทางธรรม เรามุ่งที่ความไม่มี"
     
  4. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    วิทยาทานครับ..
    อย่าลืมมาพากเพียร วิริยะกันให้มากเพื่อเก็บผลของการปฏิบัติครับ..
     
  5. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    สติปัฏฐาน 4.สอนเราให้พิจารณาใน อริยสัจ 4 ในชั้นละเอียดที่สูงขึ้นครับ.
    นำไปสู่ความหลุดพ้นในทุกข์ทั้งปวงครับ...
     
  6. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
    เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัส ใจคิดนึก อารมณ์ต่างๆที่ผ่านเข้ามา
    เมื่อไม่ไดู้ดูจิต กระแสก็จะวิ่งไปเก็บที่สมองเล็ก และไปเก็บที่สมองใหญ่ ทำให้เกิดความเครียด
    ความกังวล เป็นไมเกรน ปวดหัว นอนไม่หลับ และเป็นโรคหัวใจ กระแสที่เข้ามาครอบงำจิต หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ ทำให้จิตหลุดพ้นไปไม่ได้

    เมื่อเรามาดูจิต เห็นการเกิดดับไปเรื่อยๆ กระแสจะทะลุไปด้านหลัง ผ่านไปที่ท้ายทอย สมองเล็ก และสมองใหญ่
    กระแสวิญญาณที่ถูกฟอกแล้ว จะออกบริเวณหัวคิ้ว ซึ่งเป็นทางออกของกระแสวิญญาณ

    ดังนั้นเมื่อเราดูจิต เห็นการเกิดดับไปเรื่อยๆ ไปทุกขณะ ความคิด ความเครียด ความกังวลก็จะดับไป สมองก็จะปรอดโปร่ง จิตก็จะผ่องใส ปัญญาก็จะเกิดขึ้น


    ที่สุดคนเราก็ต้อง แก่ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากของรัก พระองค์ทรงเห็นดังนั้น จึงออกไปหาทางที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย ได้ทรงค้นพบต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง นั่นคือ อวิชชา คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ และ จิตที่ถูกอวิชชาครอบงำ ย่อมเกิดตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยาก มีความยึดมั่น จิตจึงผูกพันอยู่ในภพ เวียนว่ายตายเกิด ไม่รู้จักจบจักสิ้น เป็นทุกข์ที่ไม่มีวันจบ ดังนั้น การดับทุกข์ ต้องปล่อยวางอวิชชาและตัณหา ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง จิตก็จะหลุดพ้นเป็นอิสระ เพราะไม่ยึดมั่น

    พระองค์จึงเข้าสู่วิธีการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ โดยการตามรักษาจิตไปทุกขณะ นี่เรียกว่าจิตที่อยู่บนเส้นทางของอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยมีความเห็นถูกต้อง ความคิด คำพูด การกระทำ อาชีพ ความเพียร สติ สมาธิ จะดำเนินไปในหนทางที่ถูกต้อง

    "จักษุ" คือความเห็นที่ถูกต้องได้เกิดขึ้นแล้ว "ญาณ" คือความรู้ "ปัญญา" คือความที่รู้ชัดเจน "วิชชา" คือ ความรู้แจ้งอย่างหมดข้อสงสัย "แสงสว่าง" คือ ความสว่างไสวได้เกิดขึ้น ... อวิชชาก็ดับ ทุกข์ดับ จิตก็หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอิสระจากความคิดทั้งปวง พระองค์จึงได้นามว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    ดังนั้น เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงได้เผยแผ่หลักธรรมของ พระพุทธองค์ คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา โดยมีความเห็นที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้น และธรรมจักรของพระพุทธองค์ก็ได้หมุนไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทุกคนจะเป็นคนที่เก่ง คือมีทุกข์แล้วดับทุกข์ได้ แก้ปัญหาชีวิตได้ และคนดีมีศีลธรรม จะกลับมาอีกครั้งในกึ่งพุทธกาล ทุกคนจะพบความสุขที่แท้จริง ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ธรรมจักรก็จะหมุนไป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่มหาชนเป็นอันมาก จากในกาลก่อน สู่กาลปัจจุบัน ตลอดไป และตลอดกาล
     
  7. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...

    ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว

    เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด วิเศษยิ่ง ของสัตว์ทั้งหลาย

    เพื่อที่ก้าวล่วงพ้นไปจากความโศก ความร่ำไร

    เพื่อความดับทุกข์และโทมนัส คับแค้นใจ น้อยใจ

    เพื่อที่จะบรรลุธรรม อันจะนำพาสัตว์ทั้งหลาย

    ให้หลุดพ้นออกไปจากวัฏฏสงสาร

    เพื่อที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

    หนทางนี้คือ

    มหาสติปัฏฐานสี่

    มหาสติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    พิจารณาเห็น กายในกาย อยู่เนืองๆ

    พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา อยู่เนืองๆ

    พิจารณาเห็น จิตในจิต อยู่เนืองๆ

    พิจารณาเห็น ธรรมในธรรม อยู่เนืองๆ

    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดียินร้ายในโลกให้พินาศ


    อานิสงส์ของการเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔

    ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน... ๗ เดือน... ๗ ปี ย่อมหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง
    คือ บรรลุพระอรหันต์ในปัจจุบันชาติ หรือ บรรลุเป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันชาติ ถ้ายังมีความยึดมั่นเหลืออยู่


    คำอธิบาย

    กายนอก คือ มหาภูติรูปทั้ง ๔ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นรูปหยาบ

    กายใน คือ ขันธ์ ๕ เกิด-ดับ เป็นรูปละเอียด ซ้อนอยู่ในกายอีกที ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย หงายมือจะมีความรู้สึก วุ้บๆ อุ่นๆ ร้อนๆ เป็นสภาวธรรมเกิด-ดับ อยู่ภายใน

    เวทนานอก เกิดจากการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทางกาย และความคิดนึก จะเกิดความรู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เฉยๆบ้าง

    เวทนาใน คือ เห็นขันธ์ ๕ เกิด-ดับ ในความรู้สึกนั้นขณะกระทบ

    จิตนอก คือ จิตที่ประกอบด้วยอารมณ์ราคะ โทสะ โมหะ หรืออื่นๆ

    จิตใน คือ วิญญาณ เกิด-ดับ รับรู้อารมณ์อยู่ทุกขณะ

    ธรรมนอก คือ ธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือแม้แต่ความคิดที่พิจารณาธรรม เป็นธรรมสมมุติ

    ธรรมใน คือ สภาวธรรมที่เกิดจากการที่เราดูจิต

    ..............................................................................................................................................................
    โดยย่อประมาณนี้ครับ
     
  8. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    ถ้าจิตเขาคิด นึก ขึ้นมาเอง หรือ สัญญาเก่าๆ (ความจำได้หมายรู้) เกิดขึ้นมา ก็ให้รู้ลงไปเลยนะครับ

    เพียงแต่อย่าต่อยอด ความคิดนั้น เดี๋ยวเขาจะแสดง พระไตรลักษณ์ ให้เห็นเอง เกิดขึ้นได้เอง ตั้งอยู่ แล้วดับไปเป็นธรรมดา
     
  9. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ ๓ อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ๓ อย่าง ได้แก่

    1. อนิจจตา (อนิจจัง) - ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
    2. ทุกขตา (ทุกขัง) - ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว
    3. อนัตตตา (อนัตตา) - ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร

    ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร
     
  10. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    นิพพาน นั้นพ้นจากไตรลักษณ์ ถ้านิพพาน ยังอยู่ในไตรลักษณ์ มันก็ยังไม่เที่ยง และเป็นทุกข์อยู่ แล้วเราจะเข้านิพพานไปหาพระแสงอะไรเล่า สิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ พระพุทธเจ้าเรียกว่าอัตตา


    ท่านที่เคารพทั้งหลาย



    อัตตา นั้นคือ อมตะ หรือ เที่บง ความอมตะเกิดขึ้นได้อย่างไร

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ" .

    +++ ถ้าพวกเธอยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ กายของเธอ ไม่ว่าจะเป็นกายมนุษย์ เทวดา พรหม แม้แต่อรูปพรหม ก็ยังได้ชื่อว่า "อนัตตา"

    +++ ถ้าพวกเธอปฏิบัติได้ถึงขั้นสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ กายของเธอ จะเป็นกายอรหันต์ หรือวิสุทธิเทพ กายอรหันต์นี้แหละได้ชื่อว่า "อัตตา"
     
  11. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    มีศรัทธา เสมอด้วยปัญญา

    มีวิริยะ เสมอด้วย สมาธิ

    และ ใช้สติเป็นตัวกำกับ

    ทั้ง 5 อย่าง เสมอกัน จิตจะผ่าน ความมืดมัว
     
  12. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]

    คำนำ

    หัวข้อธรรมประเภทนี้มีไว้สำหรับใช้เพ่ง
    เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงแห่งข้อความนั้นแล้วเพ่งต่อไป
    เพื่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นขึ้นมาจริงๆ
    จนจิตใจเปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริงนั้น
    ในการที่จะทำให้เกิดความสลดสังเวช
    ความไม่ประมาท
    การเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา
    กวาดล้างความรู้สึกชนิดที่ทำความรำคาญต่างๆ ให้แก่ตนให้หมดไปจากจิตใจ
    และมีความสะอาด ความสว่าง และความสงบ
    โดยสมควรแก่การกระทำของตนๆ.

    ความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดจากการเพ่งทำนองนี้
    จะถูกต้องและมีประโยชน์กว่าที่เกิดจากการอ่านตะพึด
    และยังเป็นการปฏิบัติกรรมฐานภาวนาชนิดหนึ่งอยู่ในตัว
    ทั้งสมาธิและปัญญาในระดับที่คนทั่วไปจะพึงทำได้
    และพร้อมกันนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว
    ในขณะที่มีการสังวรระวังบังคับตัวให้ทำเช่นนั้น
    ไม่มีโอกาสแก่การทุศีลแต่ประการใด.

    หมายเหตุ : คัดจาก ธรรมโฆษณ์ชุด "หัวข้อธรรมในคำกลอน"
    หมวดปกิณกะ สันปกสีเขียว ลำดับ ๔๒.ค
     
  13. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  14. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  15. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  16. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  17. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  18. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  19. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     
  20. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...