อยากศึกษาเรื่องท่านพระอริยคุณาธาร เส็ง ปุสโส

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 16 ธันวาคม 2012.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    อยากศึกษาเรื่องท่านพระอริยคุณาธาร เส็ง ปุสโส

    ผมมีความเคารพศรัทธาในองค์ท่านพระอริยคุณาธาร เส็ง ปุสโสผมเคยซื้อหนังสือของโลกทิพย์มาได้อ่านชอบในธรรมะของท่านพิสดารและลุ่มลึก สุขุมคัมภีรภาพมาก ยากนักที่จะมีผู้ปฏิบัติและอธิบายได้ละเอียดแบบนึ้ ทราบว่า ลูกหลานท่านอยู่ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร แต่ไม่รู้ว่าหลังไหน เพราะผมทำหนังสือเล่มนั้นหาย อยากจะเข้าไปคารวะลูกลหานท่าน เพื่อศึกษาประวัติ ใครทราบ รบกวนด้วยครับ ในหนังสือโลกทิพย์เล่มเก่าๆ ปกเป็นรูปเจ้าคุณเส็งนั้น มีบอกอยู่ครับ

    ขอบพระคุณทุกท่านครับ
     
  2. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    ผมชอบหนังสือทิพยอำนาจ ที่ท่านแต่ง เลยไปค้นหาประวัติของท่าน
    พอทราบได้ดังนี้ครับ...

    ...........................................................................
    เริ่มเรื่อง.....

    ชาตินี้ศิษย์กับอาจารย์ต้องจากกันที่ทางแยก แต่สักวันหนึ่งด้วยบุญกุศลที่สั่งสมมาในอดีตชาติก็คงมีสักวันที่ท่านจะบรรลุซึ่งฝั่งฝัน
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์

    15 ปีผ่านมา พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) จึงพิสูจน์ได้ว่าพระอาจารย์สีทัตถ์กลับชาติมาเกิดเป็น ด.ช.ถวัลย์ หรือ ด.ช.บุญติด จริง ท่านจึงเอ่ยปากขอเด็กจากคุณนายสายบัวมาอุปการะตามที่เคยรับปากพระอาจารย์สี ทัตถ์เอาไว้ โดยมีรายละเอียดซึ่งท่านบันทึกเอาไว้เองดังนี้

    ข้าพเจ้าจึง พูดกับคุณนายสายบัวว่า “จะขอรับเอาไปเป็นบุตรบุญธรรม แต่ยังเล็กอยู่ เกรงเด็กจะลำบาก ขอให้คุณนายเลี้ยงไปก่อนจนกว่าจะมีวัยอันสมควร”

    พ.ศ. 2496 ออกพรรษาแล้วข้าพเจ้าไปบ้านสงเปลือยอีกครั้งหนึ่ง พักอยู่ที่วัดในหมู่บ้าน คุณนายสายบัวก็พาเด็กชายคนนี้มาต้อนรับ

    ข้าพเจ้าอยากจะพิสูจน์ให้แน่อีกครั้งหนึ่งว่า จะเป็นพระอาจารย์สีทัตถ์แน่หรือไม่ จึงถามว่าเมื่อก่อนนั้นตัวชื่อสีทัตถ์หรือไม่?

    เขาตอบทันทีว่า “ใช่”

    แล้วข้าพเจ้าก็ยุติไว้เพียงนั้น ไม่เล่าเรื่องอาจารย์สีทัตถ์ให้เขาได้ยิน เพราะเพื่อจะสังเกตความเป็นไปต่อไป

    เมื่อ คุณนายสายบัวพากลับบ้านแล้ว คุณนายสายบัวกลับมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า เด็กนั้นเมื่อกลับถึงบ้านได้เล่าเรื่องราวครั้งเป็นอาจารย์สีทัตถ์ในชาติ ก่อนให้คุณนายสายบัวฟัง แต่ทว่าไม่ติดต่อกัน เล่าเฉพาะเรื่องสำคัญของชีวิตเป็นท่อน เป็นตอน พอรู้ได้ว่าเขาระลึกชาติได้

    กลาง ปี พ.ศ. 2497 คุณนายสายบัวนำเด็กชายถวัลย์มาให้ข้าพเจ้าที่วัดป่าเขาสวนกวาง ข้าพเจ้าเอารูปถ่ายของพระอาจารย์สีทัตถ์ให้ดู แล้วถามเด็กว่า นี่รูปของใคร? เด็กตอบว่ารูปของเขาในตอนปลาย

    (ตั้งแต่พระอาจารย์สีทัตถ์มรณภาพ จนถึงเด็กชายคนนี้เกิดประมาณ 10 ปีกว่าๆ เมื่อตอนท่านทำนายนั้น พระอาจารย์สีทัตถ์อายุ 71 ปี)

    ต่อมาข้าพเจ้ามีธุระไปที่อุดรธานี พาเด็กชายคนนั้นไปด้วย

    วันหนึ่งข้าพเจ้าไปเยี่ยมพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตร์ พอขึ้นไปบนบ้านเห็นเจ้าคุณอุดรฯ กำลังนั่งโต๊ะรับประทานอาหารเย็น เด็กชายคนนี้ก็ตรงรี่เข้าไปหา และทำท่าจะรับประทานอาหารร่วมด้วย เจ้าคุณอุดรฯ มีความเมตตาจึงจัดอาหารให้รับประทาน

    ข้าพเจ้ามานั่งรอคอย เจ้าคุณอุดรฯ อยู่ที่โต๊ะรับแขกใต้ซุ้มกล้วยไม้ เมื่อเด็กชายนั้นรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าถามว่าไม่กลัวท่านหรือ ท่านเป็นพระยา

    เขาตอบว่าไม่กลัว เพราะเคยรู้จักกับท่าน

    ข้าพเจ้าถามว่า รู้จักท่านที่ไหน?

    เขาตอบว่า รู้จักเมื่อครั้งก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาทที่ อ.บ้านผือ

    พอ เจ้าคุณอุดรฯ มานั่งกับข้าพเจ้าเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าถามเจ้าคุณอุดรฯ ว่า เมื่อครั้งพระอาจารย์สีทัตถ์ก่ออุโมงค์คร่อมพระพุทธบาทที่บ้านผือนั้น ท่านเจ้าคุณเคยไปและเคยรู้จักสนิทกันกับพระอาจารย์สีทัตถ์หรือไม่?

    ท่านเจ้าคุณอุดรฯ ตอบว่าเคยไป และรู้จักกันสนิทสนมกันมาก ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึงปัจจุบันนี้ เด็กคนนี้ได้มาอยู่กับข้าพเจ้าที่เขาสวนกวาง เมื่อคนต่างถิ่นมาเยี่ยม ถ้าคนนั้นเคยรู้จักกับพระอาจารย์สีทัตถ์ แม้เขาจะไม่รู้จัก ก็แสดงอาการสนิทสนมเหมือนกับคนที่เคยรู้จักกันมาช้านานแล้ว แต่ถ้าคนนั้นไม่เคยรู้จักพระอาจารย์ สีทัตถ์ แม้จะแนะนำให้เขารู้จัก เขาก็ไม่แสดงอาการสนิทสนม แสดงอาการอย่างคนธรรมดาที่เพิ่งรู้จักกัน

    เด็ก คนนี้เมื่อมาอยู่กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการทดลองว่าเขาจะเคยบวชในชาติก่อนหรือไม่ จึงตัดสบงจีวรและย่ามเล็กๆ ให้ ทำทีบรรพชาให้เป็นสามเณร เขาแสดงอาการดีใจชื่นบานหรรษา ส่อว่ามีอุปนิสัยในการบวชมาแล้ว เมื่อบวชแล้วอดข้าวเย็นไม่ได้ ต้องสึกกินข้าวเย็นในวันนั้น (อายุ 5 ขวบ กับ 7 เดือน เกิดวันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล วันที่ 7 ก.พ. ปี พ.ศ. 2493 เวลา 05.00 น. เศษ)

    จึงตั้งชื่อล้อเลียนเขาว่า “เซียงโมง” คนที่บวชเณรไม่ข้ามวันแล้วสึก ทางภาคอีสานเรียกผู้สึกจากเณรนั้นว่า “เซียง”

    เมื่อ เหตุการณ์ตรงกับคำพยากรณ์ของพระอาจารย์สีทัตถ์ทุกประการดังที่เล่ามา ตลอดถึงพฤติการณ์ของเด็ก ข้าพเจ้าจึงปลงใจ เชื่อว่าอาจารย์สีทัตถ์มาเกิดและระลึกชาติได้จริง

    ข้าพเจ้าจึงขอรับรองด้วยเกียรติยศและศีลธรรมว่า เป็นความจริงดังนี้กล่าวมามิได้เสกสรรปั้นแต่งขึ้น

    ขอส่งเรื่องนี้แก่ยุวพุทธิกะ เพื่อเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกลับชาติมาเกิดใหม่ของคน

    ท่าน จบบันทึกเรื่องราวการกลับชาติมาเกิดของพระอาจารย์สีทัตถ์ไว้แต่เพียง เท่านั้น เรื่องราวจากนั้นคือ เซียงโมงอยู่กับท่าน 2 ปี หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่กับคุณแม่สายบัว เติบใหญ่นาม ถวัลย์ อินทรกำแหง ตามสกุลคุณแม่สายบัว อินทรกำแหง พอเรียนจบมัธยมปีที่ 3 แล้ว ได้ไปรอทำงานอยู่ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก แต่ก็ไม่ได้งาน จึงกลับมาบวชเณรเมื่อปี 2512 ที่วัดจอมสี อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โดยมีท่านพระครูชิโนวาทธำรงค์เป็นอุปัชฌาย์ แล้วก็ไปอยู่วัดเขาสวนกวางกับท่านเจ้าคุณเส็ง พออายุครบอุปสมบทก็บวชเป็นพระภิกษุ โดยมีท่านพระครูอินทรโสภณเป็นอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า โชติธัมโม

    ท่านว่า เจ้าคุณเส็งได้สอนให้ปฏิบัติกรรมฐานและสอนให้เร่งความเพียรให้หนัก พร้อมกับบอกว่า “ให้เพียรทำสมาธิเรื่อยๆ แล้วของเก่าจะกลับมา” แต่อยู่มาไม่กี่พรรษาก็หมดบุญออกมามีครอบครัว สุดท้ายก็กลับไปบวชอีกครั้ง

    หลายสิบปีก่อนโน้น พระถวัลย์ โชติธัมโม จำพรรษาอยู่ที่วัดวงศ์สนิทเมตตาราม อ.เมือง จ.ระยอง ก่อนจะเงียบหายไป
    สำหรับ เจ้าคุณเส็งนั้น ถ้าได้ศึกษางานเขียนเกี่ยวกับเรื่องการบำเพ็ญภาวนาแล้ว เป็นที่ยอมรับกันว่าท่านเป็นนักปฏิบัติช่ำชองในเรื่องทิพยอำนาจ มีญาณรู้เห็นอะไรแปลกๆ

    หลวงพ่อพุธหนึ่งในผู้มีอดีตชาติวาสนาร่วมมากับ ท่านได้เล่าไว้ว่า เมื่อท่านนำหลวงพ่อพุธแต่ครั้งเป็นเณรมาจาก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร มาถึง จ.อุบลราชธานี เป็นเหตุให้ได้พบและฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล แล้วนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 พระอาจารย์เสาร์ได้พาสามเณรพุธธุดงค์จากอุบลราชธานีเข้ามายัง กทม. ไปฝากตัวกับ ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม แล้วพำนักอยู่ ณ อารามแห่งนี้ จนอายุได้ครบบวชในปี พ.ศ. 2485 จึงได้รับการได้รับฉายาว่า “ฐานิโย”

    2 ปีถัดมา ปี 2487 เกิดสงครามเอเชียมหาบูรพา พระพุธจึงกลับอีสาน 2 ปีจากนั้นก็อาพาธรักษาตัวไม่หาย จนปี 2490 จึงได้กลับไปอยู่กับเจ้าคุณเส็งที่เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ณ ที่นี่เองที่เจ้าคุณเส็งได้เล็งเห็นด้วยญาณแล้วบอกกับศิษย์รูปนี้ว่า “คุณอย่าประมาท รีบเร่งปฏิบัติเข้าให้มันได้ภูมิจิตภูมิใจ อนาคตคุณจะไปนั่งเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง”

    เจ้าคุณเส็งสอนอะไรหลายอย่าง แก่ท่าน เช่น สอนมโนมยิทธิ ให้ไปนั่งดูนรก สวรรค์ ฯลฯ แต่หลวงพ่อพุธท่านว่า การปฏิบัติสมาธิ ปฏิบัติธรรมที่เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์นั้นเป็นมิจฉาสมาธิ ไม่ใช่สัมมา สมาธิตามหลักของพุทธศาสนา สัมมาสมาธินั้นจิตประชุมพร้อมลงสู่อริยมรรคแล้ว จิตจะดำเนินไปเพื่อความหมดกิเลสเท่านั้นไม่ได้พอกพูนกิเลส

    ทางแยกเช่นว่านี้ทำให้วิถีแห่งจิตและวิถีแห่งชีวิตของเจ้าคุณเส็งและหลวงพ่อพุธหรือเจ้าคุณชินวงศาจารย์ในกาลต่อมาแยกออกจากกัน

    ร่องรอยเช่นนั้นปรากฏมาตั้งแต่ปี 2490 แล้ว

    หลวง พ่อพุธ เล่าว่า วันหนึ่งในปีนั้น เจ้าคุณเส็งสั่งให้ท่านเอาของไปเซ่นศาลเจ้าปู่ผึ้ง เจ้าปู่ที่ว่านี้คือ ผีที่มาสิงคนที่นั่งสมาธิไปดูนรกสวรรค์แล้วบอกว่าอยากมาอยู่ใกล้ๆ เจ้าคุณเส็งเลยไปสร้างลูกศาลให้ ผีเจ้าปู่ก็สั่งว่าให้หลานผู้นี้คือ หลวงพ่อพุธเอาโอวัลติน ขนมปัง หมาก บุหรี่ไปส่งทุกวัน เจ้าคุณเส็งก็บัญชาให้ท่านทำตามนั้น เมื่อทำหลายวันเข้า หลวงพ่อพุธก็ว่า เอาไปวางไว้มดมันขึ้นเสียเปล่าๆ วันสุดท้ายท่านก็ว่า เห็นแต่มดมันกิน สู้เรากินมิได้กว่ารึ ว่าแล้วท่านจัดการเสียเรียบวุธ จากนั้นเก็บใบไม้ หญ้าแห้งเอาน้ำมันเบนซินมาราด แล้วจุดบุหรี่ไปวางไว้เหนือลม พอลมกระพือมา ไฟติดพรึ่บ ศาลวอดไม่เหลือ

    พอเจ้าคุณเส็งสั่งให้เอาเครื่องไว้ไปไหว้ศาล อีกในวันต่อมา หลวงพ่อพุธก็เรียนท่านว่า “หลวงปู่ท่านนิพพานไปแล้ว ผมฌาปนกิจ ถวายพระเพลิงท่านตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว”

    ข้างพระอาจารย์ฟังแล้วได้แต่อึ้ง พอฉันจังหันเสร็จก็เดินไป พอได้เห็นกับตาถึงกับอุทานว่า “เฮ้ย มึงไปเผาบ้านเจ้าปู่วอดวายหม๊ด”

    จุด เริ่มที่ทำให้ท่านทั้งสองมาพบกันคือ เส้นทางธรรม ผู้มาก่อนพร่ำสอนให้ผู้ตามหลังได้รู้จักธรรมะ ผู้อยู่หลังสำนึกในบุญคุณนี้ไม่รู้วาย

    หลวงพ่อพุธเองพูดอยู่บ่อยครั้งว่า “พระคุณของท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารนี้ เลิศล้ำภายในจิตใจของอาตมาเสมอ เพราะท่านเป็นพระองค์แรกที่พาให้รู้จักทางธรรม ซึ่งเป็นทางที่สงบระงับ และเป็นทางเดินของจิตจริงๆ” (โลกทิพย์ ฉบับที่ 21 ปีที่ 2 เดือน พ.ย. 2526)

    แต่ก็น่าเศร้าที่เมื่อมาถึงทางแยกต่างก็ต้องจากกัน เพราะพลัดพรากกันในทางธรรม

    ผู้เป็นอาจารย์เจริญในธรรมมามากก็จริง เจริญในลาภได้เป็นถึงเจ้าคุณ มีสมณศักดิ์เป็นพระอริยคุณาธารก็จริง แต่สุดท้ายท่านก็ต้องสึกออกไป การสึกหาลาเพศของเจ้าคุณเส็งเป็นเรื่องใหญ่ราวแผ่นดินไหวในวงกัมมัฏฐาน เพราะเป็นพระผู้ใหญ่ของฝ่ายกัมมัฏฐาน;เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นซึ่งลือลั่นว่า สำเร็จมรรคผลนิพพาน

    สาเหตุที่ทำให้ท่านมาถึงทางแยกนี้อาจจะพิจารณาได้จาก คำบอกเล่าของหลวงพ่อพุธ ถึงแนวทางการปฏิบัติของเจ้าคุณพระอาจารย์ว่า “จริตนิสัยท่านไปในทางทิพย์อำนาจ ท่านติดฤทธิ์เดช ติดนิมิต เอานิมิตมาเป็นเรื่องจริง จิตท่านแปลกมาก สามารถรับรู้อะไรๆ ที่คนอื่นไม่รู้ และท่านก็ชอบเล่าเรื่องอดีตชาติ เรื่องเทวบุตร เทวดา...”

    ผู้ เป็นพระอาจารย์หลงขนาดไหน หลวงพ่อพุธได้เล่าไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า “ท่านไปติดในเรื่องการระลึกชาติ ท่านไปติดว่าท่านเป็นเจ้า ทีนี้ความรู้อดีตกับปัจจุบันมันตัดกันไม่ขาด มันก็เลยสัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน ท่านบอกว่าแม่ของท่านทุกวันนี้ไม่ใช่แม่ เขามาฝากเลี้ยงไว้เฉยๆ เราก็สงสัย พอแม่ท่านมาก็ถาม “ท่านเจ้าคุณฯ ท่านว่าไม่ใช่แม่ใช่มั้ย เขาเอามาฝากเลี้ยงไว้” แม่ท่านก็บอกว่า “ออกมาจากท้องแม่นี่แหละ” หลวงพ่อไม่ไปอยู่ใกล้ๆ ท่าน เวลาท่านพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องอดีตที่เราไม่รู้ไม่เห็นด้วย ตอนนั้นอยู่วัดเขาสวนกวางพรรษาเดียว ที่ไม่อยากอยู่นั่นก็เพราะท่านชอบพูดเรื่องลึกลับที่ชาวบ้านไม่เห็น แล้วเราก็ไม่อยากให้ท่านพูด ทิฏฐิมันขัดกัน”

    ถึงกระนั้นหลวงพ่อพุธก็ยืนยันว่า “ท่านก็ให้วิชาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติเยอะแยะ ถ้าพูดถึงว่าธัมมะธัมโมของท่านนี่ละเอียดสุขุมมาก”

    ความรู้ที่เจ้าคุณเส็งรู้ก็ใช่ว่า ไม่ใช่เพ้อหรือเรื่องประสาทๆ หากแต่เป็นทางผ่านซึ่งต้องพ้นด้วยกำลังสติปัญญาอันบริสุทธิ์

    “เรื่อง รู้วาระจิต ท่านรู้จริงๆ อันนี้มันไม่ใช่ความบริสุทธิ์ มันเสื่อมได้ เพราะมันเป็นส่วนเกินอันหนึ่งในการภาวนาเท่านั้น พอท่านไปสนใจกับมันมากๆ ก็ทำให้หลงได้เหมือนกัน เหมือนกันกับสมาธิ สมาธิไม่ใช่ความบริสุทธิ์ สมาธิมันก็สามารถเสื่อมๆ ได้ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นทางเดินไปเพื่อความหลุดพ้น ใครจะเดินไปก็ต้องผ่านทางนี้ แต่จะติดจะหลงหรือไม่เท่านั้น ถ้าผู้มีวิจัยธรรมใคร่ครวญพินิจพิจารณามีสติรอบด้าน มีปัญญารอบด้านก็จะไม่ติดสิ่งเหล่านี้...”

    ผู้มาก่อนหลงทาง ขณะผู้มาหลังผ่านพ้นไปได้

    เมื่อ ท่านเจ้าเส็งสึกแล้วก็พำนักที่เขาสวนกลาง และยังถือศีลภาวนาต่อไป เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงพ่อพุธก็จะคอยเฝ้าดูแลไม่ทอดทิ้ง แต่การดูแลรักษาก็เป็นไปในลักษณะเดียวนั่นคือ พอเอาตัวมารักษาดีขึ้นแล้ว หลานของท่านก็จะมารับไปรักษากับหมอจีนแล้วอาการก็ทรุดลงอีก หลวงพ่อพุธก็รับมารักษาอีก แล้วหลานก็มารับไปรักษาอีก แล้วก็ทรุดลงอีก

    ครั้งสุดท้ายที่เข้าโรงพยาบาล แพทย์ก็สั่งไม่ให้ออกโรงพยาบาลอีกแล้ว

    “ครั้ง สุดท้ายก็เลยตายในโรงพยาบาล ท่านป่วยเชิงๆ จะเป็นอัมพาต ไปเยี่ยมทีไรร้องไห้ทุกที ถามว่า ‘ร้องไห้ทำไม’ ท่านบอกว่า ‘อายท่านเจ้าคุณฯ’ เราก็นึกถึงคำพูดของท่านสมัยที่ท่านเอาเรามาทิ้งไว้ที่วัดบูรพาฯ ก่อนที่ท่านจะจากไป ท่านบอกว่า ‘ถ้าตัวเป็นคนดีเขาจะทิ้งหรือ’ ไหนว่าจะฝากไว้เรียนหนังสือหนังหา ที่แท้ก็ทิ้งกัน ทิ้งก็ทิ้ง เราก็ตั้งใจอยากอยู่อยู่แล้ว เราก็เลยมาคิดว่าท่านคงคิดถึงคำพูดของท่านเองสมัยที่ท่านทิ้งเราไว้ที่วัด บูรพาราม...”

    เมื่อเจ้าคุณเส็งซึ่งสึกไปเป็นฤาษีถือศีลสิ้นชีวิต ศิษย์กตัญญูผู้นี้ได้ฌาปนกิจศพ และก่อเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุไว้ที่เขาสวนกวาง

    ชีวิตของพระพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) เป็นชีวิตพิสดาร แต่ก็เป็นคติธรรมให้กับเราๆ ท่านๆ ได้เป็นอย่างดี

    ชาตินี้ศิษย์กับอาจารย์ต้องจากกันที่ทางแยก แต่สักวันหนึ่งด้วยบุญกุศลที่สั่งสมมาในอดีตชาติ ก็คงมีสักวันที่ท่านจะบรรลุซึ่งฝั่งฝัน

    พระอริยคุณาธาร(ปุสโส เส็ง)นาม"อริย"แต่ยังข้ามไม่พ้นฝั่งฝัน

    (พระอริยคุณาธาร(ปุสโส เส็ง)นาม"อริย"แต่ยังข้ามไม่พ้นฝั่งฝัน)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ธันวาคม 2012
  3. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับ พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)

    1. ท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของ…

    1) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌายะของท่าน)

    2) ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

    3) ท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

    4) หลวงปู่ เสาร์ กันตสีโล

    5) หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต


    2. ท่านอยู่รุ่นเดียวกับพระครูบาอาจารย์หลายองค์ เช่น

    1) พระอาจารย์ กงมา จิรปุญโญ

    2) หลวงปู่ ชอบ ฐานสโม

    3) ท่านพ่อ ลี ธัมมธโร


    3. ลูกศิษย์องค์สำคัญของท่าน เช่น

    1) หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

    2) พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย


    4. หนังสือ"ทิพยอำนาจ" นี้ เกิดจากการที่ท่านถูกอาราธนาโดย หลวงปู่ เสาร์ กันตสีโล


    5. หนังสือ"ทิพยอำนาจ" นี้ สำเร็จได้เพราะได้รับความร่วมมือจากบุคคลสำคัญ คือ

    1) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระอุปัชฌายะของท่าน)

    2) พระพรหมมุนี (ผู้อำนวยการของมหามงกุฎราชวิทยาลัย)


    วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด

    วิธีวิปัสสนาแบบนี้ ผู้ปฏิบัติมุ่งทำลายอาสวะให้เด็ดขาดเลยทีเดียว ไม่พะวงถึงคุณสมบัติพิเศษส่วนอื่นๆ ( ผู้ที่มีอัธยาศัยแบบสุกขวิปัสสโก :-ผู้คัดลอก ) โดยเชื่อว่าถ้ามีวาสนาเคยสั่งสมอบรมมา เมื่อบรรลุถึงอาสวักขัยแล้ว คุณสมบัตินั้นๆ จะมีมาเองตามสมควรแก่วาสนาบารมี และเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษนั้นเป็นผลรายทางของการปฏิบัติ เมื่อเดินตามทางอย่างรีบลัดตัดตรงไปถึงที่สุดแล้ว ก็จะต้องได้คุณสมบัตินั้นๆ บ้างพอสมควร ไม่จำเป็นต้องไปห่วงใยให้เสียเวลา รีบรุดหน้าไปสู่เป้าประสงค์สูงสุดทีเดียว มีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

    (๑) อาศัยสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นฐานทำการพิจารณาอารมณ์ของวิปัสสนาไปตามลำดับๆ จนได้ความรู้กระจ่างแจ้งในอารมณ์นั้นๆ เป็นอย่างๆ ไป

    **** สมาธิที่มีกำลังเพียงพอ คือฌานที่ ๔ ถ้าต่ำกว่านั้นจะมีกำลังอ่อน จะไม่เห็นเหตุผลแจ่มชัด จะเป็นความรู้กวัดแกว่ง ไม่มีกำลังพอจะกำจัดอาสวะได้

    **** ผู้มีภูมิสมาธิชั้นต่ำ พึงทำการเข้าสมาธิสลับกับการพิจารณาเรื่อยไปจึงจะได้ผล อย่ามีแต่พิจารณาหน้าเดียว จิตจะฟุ้งในธรรมเกินไป แล้วจะหลงสัญญาตัวเองว่า เป็นวิปัสสนาญาณไป

    (๒) ตีด่านสำคัญให้แตกหัก คือทำการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็นที่อาศัยของอาสวะนั้นให้เห็นแจ้งชัดโดยไตรลักษณ์ แจ่มแล้วแจ่มอีกเรื่อยไปจนกว่าจะถอนอาลัยในขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาด จิตใจจึงจะมีอำนาจเหนือขันธ์ ๕ รู้เท่าทันขันธ์ ๕ ตามเป็นจริง อาสวะก็ตั้งไม่ติด จิตใจก็บรรลุถึงความมีอิสระเต็มเปี่ยม ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณด้วยประการฉะนี้

    *****************************************

    วิธีการเจริญอาสวักขยญาณอย่างรวบยอด สำหรับผู้ปฏิบัติจริงๆ คือ

    เข้าฌานอันเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดผ่องแผ้ว (ฌานที่4 :- ผู้คัดลอก) แล้วกำหนดสำเหนียกสิ่งที่ปรากฏในจิตใจขณะนั้นโดยไตรลักษณ์ เมื่อเกิดความรู้เห็นโดยไตรลักษณ์แจ่มแจ้งขึ้น จิตก็ผ่องแผ้วพ้นอาสวะทันที

    **** การสำเหนียกพิจารณา"ในฌาน" เช่นนี้ จะเป็นไปโดยอาการสุขุมประณีตแผ่วเบา ไม่รู้สึกสะเทือนทางประสาทเลย ไม่เหมือนการคิดการอ่านโดยปกติธรรมดา (นอกฌาน :- ผู้คัดลอก) ซึ่งต้องใช้ประสาทสมองเป็นเครื่องมือ

    **** ฉะนั้นผู้ปฏิบัติพึงทุ่มเทกำลังใจลงในการเจริญฌานมาตรฐาน (ฌานที่4 :- ผู้คัดลอก) ให้ได้หลักฐานทางจิตใจก่อนแล้ว จึงสำเหนียกไตรลักษณ์ดังกล่าวแล้ว "จะสำเร็จผลเร็วกว่าวิธีใดๆ "


    จบ วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด
    โดย….พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง , ปธ. 6)
     

แชร์หน้านี้

Loading...