ร่วมบุญใหญ่สร้างหอปฎิบัติธรรมถาวร (เตโชวิปัสสนาสถาน)

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย ธรรมมะใจ, 22 พฤศจิกายน 2012.

  1. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ร่วมบุญใหญ่สร้างหอปฎิบัติธรรมถาวร (เตโชวิปัสสนาสถาน)

    เตโชวิปัสสนาสถาน ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระพุทธบาทน้อย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี อยู่ที่เชิงเขาพระพุทธบาทน้อยอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นทีสงบ สัปปายะ เหมาะแก่การภาวนาเพื่อการมุ่งหวังสู่มรรคผลนิพพาน ด้วยการจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส ดังคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา (พึงมีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน)
    เนื่องจากทางมูลนิธิฯ ยังขาดทุนทรัพย์ในการสร้างเรือนพัก และหอปฏิบัติธรรมถาวร ที่เรียบง่าย ถ่อมตน แต่สามารถกันลมและฝนได้ดี ซึ่งสถานที่อยู่กลางทุ่งกว้าง ต้องประสพกับปัญหาลมแรง พายุ ฝนฟ้าคะนองและไฟป่าในหน้าแล้ง ทำให้เกิดอุปสรรคในการเจริญภาวนา จึงจำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ในการสร้างหอปฏิบัติถาวรและการดำเนินการอบรมเตโชวิปัสสนากรรมฐาน


    ขอเชิญบริจาคทรัพย์ตามจิตศรัทธา ได้ที่
    มูลนิธิโรงเรียนแห่งชีวิต
    ธนาคาร กสิกรไทย สาขา สุขุมวิท 33
    เลขที่บัญชี 003-2-41586-7


    หรือร่วมทำบุญผ่านการซื้อหนังสือเขียนโดยท่านอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ทั้งนี้รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดของหนังสือดังที่จะแนะนำต่อไปนี้จะนำไปเป็นทุนทรัพย์ ในการสร้างหอปฏิบัติและการดำเนินการอบรมเตโชวิปัสสนากรรมฐาน
    1.เตโชวิปัสสนา...เปิดประตูสู่นิพพาน
    2.รู้...แล้วลุย
    3.สิ้นชาติ...ขาดภพ (รู้แล้วลุย 2)
    4.วิปัสสนา...ฆ่ากิเลส


    ขออนุโมทนาในจิตกุศลร่วมสร้างทางสู่พระนิพพานของท่านทั้งหลายด้วยเทอญ
    www.schooloflifethailand.org หรือโทร.02 634 7461-3
    เตโชวิปัสสนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2015
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญ
    สร้างกุศลทุกอย่างไว้ในพระพุทธศาสนาด้วยครับ
    กระผมจะส่งปัจจัยไปร่วมทำบุญด้วย
    อนุโมทนาบุญและร่วมทำบุญด้วยกันครับ
     
  3. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อนุโมทนาสาธุ กับทุกๆท่านที่ร่วมบุญด้วยกันครับ

    นิพพานัง ปัจจโยโหตุ

    ธรรมะของคนจริง

    "เตโชวิปัสสนากรรมฐาน คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบจุดธาตุไฟในกายมาเผากิเลส เป็นการภาวนาของคนใจถึง เป็นธรรมของนักรบที่พากเพียรภาวนาเพื่อมุ่งสู่การหลุดพ้น เตโชวิปัสสนา คือหลักการภาวนาตามแบบสติปัฎฐานสี่ คือการมีสติเพ่งดู กาย เวทนา จิต ธรรม แต่เป็นการเพ่งเพื่อจุดธาตุไฟในการมาเผากิเลส ในการสมาสคำในหลักสติปัฎฐานสี่ก็เรียกว่า กายานุปัสสนา ซึ่งมาจากคำว่า กาย+วิปัสสนา แปลว่าดูรวมกันก็เป็นกายานุปัสสนา เช่นเดียวกันคำว่า เตโชวิปัสสนา แม้ไม่ใช่การสมาสคำ แต่เป็นการรวมหลักการกับอุบายการปฏิบัติไว้ด้วยกัน

    เตโชวิปัสสนา คือการอุบายการภาวนาจู่โจมลงไปเผากิเลสในขันธ์ 5 ซึ่งเป็นการภาวนาทางลัด ที่มุ่งทำลายที่อยู่อาศัยของกิเลส คือจิต ในเมื่อกิเลสมาฝังแฝงอยู่ในขันธ์ 5 ก็ต้องภาวนาทำลายขันธ์ 5 ทิ้งเสีย ซึ่งหลักการนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง เพราะติดอยู่ที่การถือศีล สวดมนต์ นั่งสมาธิ ในหลักการตีด่านขันธ์ 5 ก็มีปรากฏอยู่ในคำสอนของพระอาจารย์หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท พระอรหันต์เจ้าศิษย์สายหลวงปู่มั่นโดยมีบันทึกคำสอนของท่านไว้ว่า

    "เมื่อฐานสมาธิมั่นคงดีแล้ว ให้ถอยมาหัดพิจารณาตัดตามอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของเรานี้ เช่น ตัดตามข้อนิ้วมือ-นิ้วเท้า ตัดแก้มซ้าย-ขวา กรรไกร ตัดลิ้น ตัดฟัน จนทั่วร่างกายให้มันหลุดออกไปเลย หลายๆรอบโดยไม่มีนิวรณ์เข้ามาแทรกแซง ให้พิจารณามากๆ เข้า เกิดความเบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ""

    ขอขอบคุณข้อความจากหนังสือ สิ้นชาติ...ขาดภพ (รุ้แล้วลุย 2)
    เขียนโดยท่านอาจารย์ อัจฉราวดี วงศ์สกล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2013
  4. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    ร่วมบุญด้วย 185 บาทนะคะ
     
  5. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย

    ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
     
  6. ชิเนศิษยา

    ชิเนศิษยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +112
    ร่วมบุญแล้วค่ะ 1,020 บาท อนุโมทนาบุญกับทุกคนด้วยค่ะ
    พุทธธัง ธัมมัง จักรวาลัง นิพพานัง โหตุ
     
  7. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    การทำบุญ 10 แบบ

    การทำบุญในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่จะคิดกันแต่เพียงว่า เป็นการให้เงิน ซื้อของให้ หรือการให้ของกินของใช้ฯลฯ เพื่อหวังผลในภายภาคหน้า (ชีวิตหลังความตาย ) การเข้าใจเพียงนั้นเป็นเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น เพราะ จุดประสงค์ของทาน หรือการทำบุญโดยการสละเงิน หรือสิ่งของ ออกจากเรา ก็เพื่อลดอัตตา หรือความเป็นเราออกไป มิใช่ทำบุญเพื่อสะสมแต้ม ยิ่งทำมากก็สะสมได้มาก ยิ่งบริจาคมาก ก็ได้บุญมาก ฯลฯ ถ้าเราได้ศึกษาเรื่องของบุญ เราจะพบว่าการทำบุญนั้น มิได้ถูกจำกัดอยู่แค่เรื่องของการทำทานเพียงอย่างเดียว คนจน หรือ คนรวย ก็สามารถทำบุญได้ทั้งนั้น


    การทำบุญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมี 10 แบบ หรือเรียกว่า”บุญกิริยาวัตถุ” มีอยู่ ๑๐ ประการ คือ

    ๑. “ทานมัย” - การทำบุญด้วยการให้เงิน สิ่งของ ความรู้ และหรือ การให้อภัยทาน

    ๒. “สีลมัย” - การทำบุญด้วยการรักษาศีล มีความประพฤติดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา และใจ

    ๓. “ภาวนามัย” - การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิภาวนา

    ๔. “อปจายนมัย” - การประพฤติตนอ่อนน้อม

    ๕. “เวยยาวัจจมัย” - การช่วยเหลือ ขวนขวาย รับใช้

    ๖. “ปัตติทานมัย” - การเฉลี่ยความดีให้แก่ผู้อื่น เช่น การบอกบุญ

    ๗. “ปัตตานุโมทนามัย” - การแสดงความยินดีเมื่อได้ทราบว่า ผู้อื่นกระทำความดี หรือการอนุโมทนา

    ๘. “ธัมมัสสวนมัย” - การฟังธรรม

    ๙. “ธัมมเทสนามัย” - การสั่งสอนธรรม,เผยแพร่ธรรมะ

    ๑๐. “ทิฏฐุขุกัมม์” - การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
     
  8. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    พุทธวจนะ

    จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ
    เป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม
    ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;
    ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น
    ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ
    ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง
    ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ?

    สี่ประการคือ
    ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
    เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
    “ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
    เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
    ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
    ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”
    ดังนี้.

    มหาวาร. ส°. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖
     
  9. ชิเนศิษยา

    ชิเนศิษยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +112
    อาตาปี สัมปชาโน สติมา (สุขที่แท้จริง การเดินทางของจิต)




    อาตาปี สัมปชาโน สติม (สุขที่แท้จริง การเดินทางของจิต)
    ชีวิตคืออะไรกันแน่ เราปล่อยชีวิตให้ดำเนินไปด้วยความเคยชินมานานเท่าไหร่แล้ว การเจริญสติ เป็นการเริ่มต้นในการปลดเปลื้องตัวเราให้พ้นจากความเป็นทาสของความเคยชิน

    ในตัวเรานั้นมีของดีที่มีคุณค่า คือ สติ สัมปชัญญะ แต่เนื่องจากความไม่รู้ที่ยังมีอยู่
    ทำให้ไม่รู้คุณค่าและไม่รู้จักวิธีการที่จะนำสติ สัมปชัญญะออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    การเจริญสติ เป็นวิธีที่จะนำเอาทั้งสติ สัมปชัญญะที่มีอยู่ นำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเจ้าของ
    นำออกมาใช้ได้อย่างง่ายดาย โดยที่แม้แต่ตัวเราเองก็ยังคาดไม่ถึงว่าจะทำได้ด้วยตัวเราเอง

    การเจริญสติ ในแง่ของการปฏิบัติ ถ้าเราจับหลักได้ถูกทาง สภาวะจะไปได้ต่อเนื่อง
    เช่นเรื่องของสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน( ขณะที่ปฏิบัติ ) กับสภาวะที่เกิดขึ้นภายนอก ( การใช้ชีวิต )

    สภาวะที่เกิดขึ้นภายใน เช่น การเดิน เดินให้รู้ว่าเดิน รู้ลงไปที่เท้ากำลังเดิน
    จะรู้ได้มากหรือน้อยไม่ใช่เรื่องสำคัญ แค่ให้รู้ว่ากำลังเดิน เกิดความคิดให้รู้ว่าคิด

    ถ้าเป็นความคิดอกุศลให้หยุดเดิน แล้วกำหนดรู้สำทับลงไป อันนี้แล้วแต่อุบายของแต่ละคน
    บางคนใช้วิธีขยับกาย เพื่อให้กลับมารู้ที่กาย คือ ดึงเอาจิตให้กลับมารู้ที่กาย

    ส่วนตัวเองใช้วิธีกำหนดรู้หนอ สำทับลงไป ทำทุกครั้ง จิตเขาจะบันทึกไว้
    เมื่อกำลังของสติ สัมปชัญญะย่อมมีกำลังมากขึ้น ความคิดอกุศลจะดับได้ไวขึ้น
    จนกระทั่งหายไปในที่สุด ส่วนคำกำหนดรู้หนอจะหายไปเอง มันจะเป็นแค่รู้
    เมื่อจะมีความคิดอกุศล มันแค่รู้ว่ากำลังจะมี แต่ยังไม่ทันเกิดขึ้น จะดับไปได้ทันที

    การเดิน จะเดินแบบมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ได้ เพราะเหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป
    สภาวะของทุกคนจึงแตกต่างกันไป การที่เดินมากหรือน้อย ไม่ใช่ตัววัดผลแต่อย่างใด

    แต่ให้รู้ว่า เดินแล้วรู้เท้าได้มั๊ย เดินแล้วรู้เท้าและรู้ชัดลงไปทุกย่างก้าวมั๊ย แต่ละสภาวะจะเปลี่ยนไป
    ตามกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิที่เกิดขึ้น ยิ่งรู้ได้ชัดทุกย่างก้าว นั่นคือ
    กำลังของสติ สัมปชัญญะและกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น

    การเดินจะจับเวลาหรือไม่จับเวลาก็ได้ ให้ทำตามสภาวะ บางคนมีเวลาน้อย บางคนมีเวลามาก
    ให้ทำตามความสะดวกไปก่อน บางคนเวลาน้อยมากๆ อาจจะเดินเพียงหนึ่งรอบ แล้วนั่งต่อได้เลย

    การนั่ง ให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก รู้อยู่กับการทำงานของกาย การเคลื่อนไหวของกาย
    จะใช้คำบริกรรมหรือไม่ใช้ก็ได้

    จะนั่งบนพื้นหรือนั่งบนเก้าอี้หรือจะนั่งที่ไหนๆก็ได้
    ถ้าคิดว่านั่งแล้วสบาย เหมาะสำหรับตัวเอง นั่งกี่นาทีก็ได้

    แรกๆต้องค่อยๆตะล่อมจิตไปก่อนเป็นเรื่องธรรมดา จู่ๆจะไปบังคับจิตให้เข้ารูปเข้ารอยทันที
    บางคนอาจจะทำได้ แต่บางคนก็อาจจะทำไม่ได้ วิธีการปฏิบัติจึงมีหลากหลาย
    เนื่องจากเหตุของแต่ละคนสร้างมานั่นเอง

    ทั้งการเดินและการนั่ง จะมีหลักเหมือนๆกันคือ ทำตามความสะดวก

    การเจริญสติ สติจะควบคุมจิตมิให้แส่ออกไปหาอารมณ์ต่างๆภายนอก
    สัมปชัญญะ การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับรูปนาม คือ รู้อยู่ในกายและจิต


    เมื่อทั้งสติและสัมปชัญญะทำงานร่วมกัน สมาธิย่อมเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิด จิตจะตั้งมั่นมากขึ้น
    การรู้ตามความเป็นจริงจะเป็นผลผลิตตามมา

    เมื่อนั้นแหละ เราก็จะรู้ว่า ความทุกข์มันมาจากไหน
    เราจะสะกัดกั้นมันอย่างไร นั่นแหละคือผลงานของสติ สัมปชัญญะและสมาธิที่ทำงานร่วมกัน


    เมื่อได้มาศึกษาเพิ่ม จะรู้จักคำว่า อายตนะ
    อายตนะภายในมี ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    อายตนะภายนอกมี ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ( กายถูกสัมผัส ) ธรรมารมณ์ ( อารมณ์ที่เกิดจากใจ )

    รวม ๑๒ อย่างนี้ มีหน้าที่ต่อกันเป็นคู่ๆคือ
    ตากับรูป
    หูกับเสียง
    จมูกกับกลิ่น
    ลิ้นกับรส
    กายกับการสัมผัสถูกต้อง
    ใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ

    เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่งต่อกันเข้า ( เกิดผัสสะ ) จิตก็เกิดขึ้นในขณะนั้นเอง
    การที่จิตเกิดทางอายตนะต่างๆ เป็นการทำงานของขันธ์ ๕

    เช่น ตากระทบรูป เจตสิกต่างๆก็เกิดทันที กิเลสต่างๆก็จะตามเข้ามาคือ ดี ชอบ เป็นโลภะ
    ไม่ดี ไม่ชอบ เป็นโทสะ เฉยๆ ขาดสติ เป็นโมหะ นี่เองเป็นเหตุให้อกุศลกรรมต่างๆเกิดขึ้นตรงนี้นี่เอง

    เมื่อมาเจริญสติ โดยมีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่กับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีกำลังของสติ สัมปชัญญะแก่กล้า
    โดยมีกำลังของสมาธิเป็นกำลังหนุน เมื่อการกระทบใดๆเกิดขึ้น ย่อมทำให้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง
    ที่ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้นนั้นดับลง ไม่ไหลเข้าไปสู่จิตได้ อกุศลกรรมทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น

    สติ ที่เกิดจากการเจริญสติ จะคอยสะกัดกั้นกิเลสไม่ให้เข้าหาอายตนะ มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนาม
    มีสมาธิเป็นกำลังหนุนส่งเสริม ทำให้ทั้งสติและสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ตลอด
    ยิ่งมีกำลังของสมาธิแนบแน่นมากเท่าไหร่ยิ่งดี ยิ่งทำให้มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้มากขึ้น

    เมื่อรู้ได้อย่างนี้แล้ว ย่อมนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน
    ของสังขารหรืออัตตาภาพอย่างแจ่มแจ้ง ก็มันไม่เที่ยงแล้วจะไปยึดอะไรได้


    นี่แหละ อาตาปี ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน

    สัมปชาโน มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ตลอด

    สติมา มีสติเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งหลาย


    ขอบคุณข้อมูลจาก สุขที่แท้จริง: อาตาปี สัมปชาโน สติมา
     
  10. lowprofile

    lowprofile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +6,023
    ขอเชิญบริจาคทรัพย์ตามจิตศรัทธา ได้ที่

    มูลนิธิโรงเรียนแห่งชีวิต
    ธนาคาร กสิกรไทย สาขา สุขุมวิท 33
    เลขที่บัญชี 003-2-41586-7


    จะโอนเข้าบชร่วมกุศลด้วยครับ กราบอนูโมทนาสาธุการกับทุกท่านครับ สาธุๆๆๆๆๆๆๆ
     
  11. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ

    สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข


    อนุโมทนาสาธุ ครับ
     
  12. ชิเนศิษยา

    ชิเนศิษยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +112
    จงเปลี่ยนเงินให้เป็นบุญ จงเปลี่ยนทุนให้เป็นธรรม

    ขอขอบคุณ สุภาษิตคำสอน จาก ท่าน ว วชิรเมธี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  13. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ยถา ทณฺเฑน โคปาโล
    คาโว ปาเชติ โคจรํ
    เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ
    อายุ ปาเชนฺติ ปาณินํ ฯ

    ความแก่และความตาย
    ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป
    เหมือนเด็กเลี้ยงโคถือท่อนไม้
    คอยไล่ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน
     
  14. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ปาโปปิ ปสฺสตี ภทฺรํ
    ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
    ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
    อถ ปาโป ปาปานิ ปสฺสติ ฯ

    เมื่อบาปยังไม่ส่งผล
    คนชั่วก็เห็นว่าเป็นของดี
    ต่อเมื่อมันเผล็ดผลเมื่อใด
    เมื่อนั้นแหละเขาจึงรู้พิษสงของบาป
     
  15. ชิเนศิษยา

    ชิเนศิษยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +112
    ' ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
    เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน

    เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย
    มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว
    เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า

    หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้ว ฟ้าดินจะช่วยเอง '

    จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่
    จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า



    กราบขอบพระคุณคำสอนของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
     
  16. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ : ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
     
  17. นักว่ายน้ำ

    นักว่ายน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +666
    ขออนุโมทนาครับ

    ร่วมบุญ 100 บาท โอนเงินเข้าบัญชีวันนี้ ประมาณ 22.30 น. ครับ
     
  18. ชิเนศิษยา

    ชิเนศิษยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +112
    ขออำนวยพรท่านทั้งหลาย จากบทพระชัยมงคลคาถา บางส่วนค่ะ

    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง,
    (เวลาที่บุคคลและสัตว์ประพฤติดีประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งแจ้งดี,)

    สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ,
    (และขณะดี ครู่ยามดี ชื่อว่าบูชาดีแล้ว ในผู้ประพฤติอย่างประเสริฐทั้งหลาย,)

    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง,
    (กายกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด วจีกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด, (๑))

    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา,
    (มะโนกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ความปรารถนาอันตั้งไว้เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุด,)

    ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
    (บุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นมงคลสูงสุดแล ฯ)

     
  19. ธรรมมะใจ

    ธรรมมะใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3,133
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
    ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย

    ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
    เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
     
  20. ชิเนศิษยา

    ชิเนศิษยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +112
    นิทานเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องอุปาทานการยึดมั่นถือมั่น

    ครั้งหนึ่ง ภิกษุ 2 รูปเป็น ศิษย์อาจารย์กัน มาถึงริมฝั่งแม่น้ำ
    พบหญิงสาวต้องการข้ามแม่น้ำแต่ข้ามไม่ได้
    หลังจากสอบถาม พระอาจารย์ก็ให้หญิงสาวขี่หลังพาข้ามน้ำมา
    หญิงสาวขอบคุณ และเดินจากไป
    พระทั้งสองก็ยังเดินหน้าต่อไป
    แต่ใจของศิษย์คิดอติเรื่องที่อาจารย์ผิดศีลมาตลอดทาง
    เมื่ออดทนไม่ได้จึงเอ่ยปากถามพระอาจารย์ว่า
    “ทำไมท่านอาจารย์ ถึงแตะเนื้อต้องตัวหญิงสาวเช่นนั้ มันผิดศีลนะครับ


    “ตัวข้าวางหญิงสาวไว้ตั้งแต่ข้ามน้ำมาได้แล้ว เจ้ายังแบกมาตลอดทางเลย”
    อาจารย์ผิดศีลจริง แต่ไม่สำคัญเท่าการได้ช่วยคนที่เดือดร้อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...