ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    สวยงามมากเลยนะคับพี่เสือ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    ตอนนี้ผมใช้พิมพ์นี้ครับ โดยของผมใส่ท่านไว้ในตลับนิเกิลลายฉลุ แขวนโชว์ออกนอกเสื้อยืด พาท่านเดินไปเที่ยวตลาดเวลาใส่บาตรตอนเช้าวันหยุด แบบว่าไม่ต้องกลัวใครกระชากเหมือนสร้อยทอง แต่คนชอบแอบมองดูพระ เพราะคราบรักจะเก่ามาก ของผมเป็นพิมพ์ตามด้านล่างนี้ (พระประธานบี พิมพ์เจดีย์) แต่เป็นรักสีเลือดหมู สำหรับพลังท่านไม่ต้องพูดถึง สุดยอดจริงๆ ขนาดหางแถวอย่างเรา ขอพิสูจน์โดยกำหนดจิตคิดถึงท่านเพียงเบาๆ ผลปรากฏคือพลังพุ่งออกมาแรงมากจนต้องอดใจไม่ไหวที่ต้องนำท่านติดตัวไปแทบทุกครั้งที่ใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ ถ้าจะมาขอต้องรีบขอน๊ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Jade.jpg
      Jade.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      123
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เยี่ยมครับ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ที่ยังไม่ลืมกัน ขออนุโมทนาและสาธุบุญด้วยครับ
     
  4. kongpak

    kongpak เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดโดยส่วนเดียว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2009
    โพสต์:
    802
    ค่าพลัง:
    +6,118
    เรียน ท่านกรรมการทุนนิธิฯ

    วันนี้ (23 พ.ย. 2555) ผมได้โอนเงินเข้าบัญชีทุนนิธิฯ เพื่อสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ จำนวน 300 บาท
    ข้าพระพุทธเจ้ากราบขอพระมหาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบารมีพระอรหันต์เจ้า พระบารมีพระโพธิสัตว์เจ้า บารมีเทพยาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย บารมีองค์พระยายมราช บารมีองค์ปู่องค์ย่านาคราชผู้มีฤทธิ์ ขอทุกพระองค์และทุกองค์ได้โปรดเมตตาเป็นพยานบุญและโมทนาบุญกับข้าพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ

    ข้าพระพุทธเจ้ากราบขอพระมหาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โปรดเมตตาสงเคราะห์ให้เจ้ากรรมนายเวรของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ร่ีวมโมทนาบุญนี้ด้วยเทอญ

    และเรียนมายังทุกท่านได้ร่วมโมทนาบุญด้วยกันครับ
    อ๊อด (คงภัค)

    เห็นพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าของพี่เสือแล้วก็อิจฉาครับ พระสวยมากครับ

    เมื่อปีที่แล้วและต้นปี 2555 ผมมีวาสนาได้พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า (จากพี่ๆ ในทุนนิธิ) พระหลวงปู่เทพโลกอุดรกรุเก่า (ถึงพิมพ์จะไม่ชัดนัก แต่องค์นี้ได้รับจากคุณปู่ประถม ภูมิใจครับ ) และพระสมเด็จปัญจสิริวังหลวง (องค์นี้คุณปู่ประถมตรวจอิทธิคุณให้ถึงกับเอ่ยปากว่า "แรงมาก") ทั้ง 3 องค์ผมก็เลยอาราธนาติดตัวไว้ครับ ส่วนตรงกลางเป็นลูกอมของหลวงปู่ดู่ วัดสะแกครับ

    พระปัญจสิริองค์นี้ ผมเลือกสีตามที่คุณปู่ประถมท่านได้ค้นคว้าไว้คือ ในองค์พระนั้นจะต้องไม่มีสีที่เป็นกาลกิณีกับวันเกิดของผม หาๆ ดูอยู่หลายองค์ก็พบว่าองค์นี้มีสีที่เป็นมงคลทั้งหมดกับวันเกิดครับ

    กรอบพระทุกองค์ ผมเจาะรูที่ตรงพระพักตร์และที่ฐาน เป็นการอาราธนาพระติดกายแบบที่คุณปู่ประถมท่านสอนไว้ ส่วนที่ฐานเจาะรูไว้นั้นก็เพื่อเวลาใช้ลูกยางเป่าไล่ฝุ่น จะได้มีลมเข้าและออกไล่ฝุ่นอย่างละข้างครับ

    คุณปู่ประถมเคยบอกผมว่า ถ้าเจาะรูที่กรอบด้านล่าง จะทำให้รังสีพระออกไม่ชัดเจน ที่เขียนมานี่ไ่ม่ได้มาสอนหนังสือสังฆราชกับพี่ๆ นะครับ เผื่อไว้สำหรับผู้อื่นที่ยังไม่ทราบกันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 100_7747.jpg
      100_7747.jpg
      ขนาดไฟล์:
      242.1 KB
      เปิดดู:
      130
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤศจิกายน 2012
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    [​IMG]

    จิตนั่นแหละเป็นแก่นของชีวิต
    โดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    วัดอรัญญบรรพต
    ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


    จิตนั่นแหละเป็นแก่นของชีวิต

    พุทโธ พุทโธ เป็นยอดกรรมฐาน การภาวนาพุทโธๆ ในใจบ่อย ทำให้ใจเย็นสบาย จิตใจเบิกบานผ่องใส พุทโธ คือเป็นผู้ที่ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว ตื่นที่ว่านี้ ก็คือการตื่นจากความหลง ไม่หลงใหลไม่เชื่ออะไรที่งมงาย

    "สิ่งทั้งปวงในโลกนี้มิใช่ว่าจะอำนวยแต่ความทุกข์เท่านั้น บางทีก็อำนวยความสุขให้เหมือนกัน ดังนั้นคนจึงติดมัน แต่บรรดานักปราชญ์ผู้มีปัญญาทั้งหลายท่านพิจารณาเห็นว่า มันเป็นความสุขชั่วคราวไม่ยั่งยืน ถ้าพิจารณาโดยสรุปแล้ว ก็เป็นทุกข์นั่นแหละ มากกว่าความสุข อันความสุขที่ว่านี้ มันเป็นเพียงเหยื่อล่อให้ติดอยู่ในทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่เป็นสุขยั่งยืนแต่อย่างใด เพราะคนเราเกิดมาแล้วที่สุดก็ต้องตาย ร่างกายนี้เมื่อจิตละไปแล้ว ก็ต้องแตกสลายออกจากกัน ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย"

    นี่เป็นคำสอนของ พระสุธรรมคณาจารย์ หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    หลวงปู่เหรียญ ได้ออกเดินธุดงค์ไปทั่วประเทศ รวมทั้งประเทศพม่าและลาว เพื่อแสวงหาความวิเวกสำหรับการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ระหว่างที่ธุดงค์อยู่นั้น หลวงปู่ยังได้ไปเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกด้วย

    โดยวิชาวิปัสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่นนั้น ได้เน้นย้ำนอกจากให้ตัวเราพิจารณาร่างกายให้เป็นอารมณ์แล้ว ตั้งใจถามตอบตัวเองว่า ร่างกายเป็นของเราหรือไม่ เมื่อร่างกายไม่ใช่ของเรา เป็นของเกิดของตายของดับ เป็นของไม่แน่นอน และจิตนั่นแหละก็จึงเป็นแก่นของชีวิต

    หลวงปู่เหรียญท่านก็ได้นำคำสอนต่างๆ มาสอนเป็นธรรมะให้กับญาติโยมผ่านช่องทางการพระธรรมเทศนาอย่างต่อเนื่อง และท่านได้อนุญาตให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว "คม ชัด ลึก" ดังนี้


    ๏ หลวงปู่เคยคิดสึกออกไปเป็นฆราวาสบ้างไหมครับ ?

    อาตมาก็เคยคิดสึกเหมือนกัน แต่อาตมาคิดว่าบุญบวชของเรามันมีมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับความอยากสึกของเรา ทำให้การอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ก็เลยชนะกับการไม่สึกนั่นเอง สิ่งที่สำคัญอาตมาคิดแล้วการบวชอยู่อย่างนี้ก็ทำให้ชีวิตเรามีความสุข เป็นการปลงภาระและการครองเรือน ไม่ต้องไปใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาที่มีแต่ความวุ่นวายก็เท่านั้น แต่ถ้าถามจริงๆ ครั้งหนึ่งอาตมาก็อยากสึกเหมือนกันนะ (หัวเราะ)


    ๏ มีเหตุอันใดที่ทำให้อยากสึกครับ ?

    ครั้งนั้นด้วยความเป็นพระหนุ่มๆ ก็เกิดรักผู้หญิงเข้าคนหนึ่ง ก็ได้รีบหนีกลับมาอยู่ที่วัดอรัญบรรพต แต่ก็ไปเกิดรักใหม่จนต้องตัดสินใจแล้วว่าจะลาสึก และต่อมาอาตมาจึงเดินทางไปหาพระอุปัชฌาย์เพื่อลาสึก แต่ในคืนวันนั้นเองอาตมาได้พิจารณาเห็นถึงความทุกข์ในโลก จนในที่สุดจึงคลายจากความอยากสึกลงอย่างกะทันหัน จากนั้นอาตมาจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาระวารีอีกครั้ง เป็นพรรษาที่ ๓ พอย่างเข้าเดือน ๑๐ อาตมาก็ล้มป่วยลง พอออกพรรษา พ่อจึงได้พามารักษาตัวที่วัดอรัญบรรพต เป็นการเจ็บป่วยที่เกือบเอาชีวิตไม่รอด


    ๏ หลังจากหลวงปู่ไม่คิดที่จะสึกแล้วได้มุ่งมั่นทำอะไรต่อครับ ?

    ในปี ๒๔๗๖ อาตมาได้พบกับท่านอาจารย์บุญมา ฐิตเปโต ท่านอาจารย์บุญมาได้พาไปบวชเป็นพระธรรมยุติที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ในพรรษาแรก ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสาระวารี จ.อุดรธานี เมื่อออกพรรษาแล้วจึงธุดงค์ขึ้นไปพักวิเวก ที่ถ้ำผาปู่ และถ้ำผาบิ้ง จ.เลย

    ต่อมาในปี ๒๔๗๗ จึงได้กลับลงมาจำพรรษาที่วัดอรัญวาสี จ.หนองคาย ในพรรษานี้อาตมาก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ด้วยการไม่นอนกลางวัน เมื่อค่ำลงจะทำความเพียร จนถึง ๔ ทุ่มจึงจำวัด พอถึงตี ๒ จึงลุกขึ้นทำความเพียรต่อ จนถึงสว่าง พอออกพรรษาอาตมาจึงธุดงค์ไปอยู่ที่ถ้ำผาบิ้งอีกครั้ง พอถึงเดือนหกก็ได้กลับมาที่วัดป่าบ้านค้อ ในวันออกพรรษาปีนั้นเอง

    อาตมาได้ปฏิบัติธรรมด้วยการภาวนา ก็ทำให้จิตสงบลงเรื่อยๆ จนสงบดีแล้ว แต่พอมีเรื่องต่างๆ เข้ามากระทบ เช่น ทางตา ก็ทำจิตใจหวั่นไหว แก้อย่างไรก็ไม่ตก อาตมาจึงได้คิดถึงท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักเลย เพียงแต่เคยได้ยินมาว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จากนั้นก็ชวนเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางมาหาท่านอาจารย์มั่นด้วยกันที่ จ.เชียงราย ในคืนวันหนึ่งที่ยังเดินไปไม่ถึงหมู่บ้าน จึงนอนอยู่ในป่าข้างทาง คืนนั้นได้นิมิตเห็นท่านอาจารย์มั่น พอถึงรุ่งเช้าก็ได้ทราบว่าเพื่อนภิกษุก็ได้นิมิตเห็นท่านอาจารย์มั่นเช่นกัน พอสอบถามถึงลักษณะที่ปรากฏก็ทราบว่าเป็นเช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ทำให้อาตมาแน่ใจว่า จะต้องได้พบท่านอาจารย์มั่นอย่างแน่นอน


    ๏ แล้วได้ไปพบพระอาจารย์มั่นเมื่อไรครับ ?

    ประมาณปี ๒๔๘๑ อาตมาก็ได้พบท่านอาจารย์มั่น เมื่ออาตมาเดินทางไปถึง จ.เชียงใหม่ ไปที่วัดเจดีย์หลวง ก็ได้พบกับหลวงตาเกต ซึ่งได้พาอาตมาไปพบท่านอาจารย์มั่น ที่ป่าละเมาะใกล้ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันนั้นพระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาทแก่อาตมาว่า ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศเลย เขาทำใส่พื้นดินนี่แหละจึงได้รับผล ฉันใด โยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลาย ควรพิจารณาร่างกายนี้แหละเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามในรูปนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั่นแหละ จึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดในความสงบโดยส่วนเดียว


    ๏ แล้วพระอาจารย์มั่นสอนอะไรให้กับหลวงปู่บ้างครับ ?

    ก็สอนหลายอย่างเกี่ยวกับการทำวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านก็สอนและเน้นย้ำนอกจากให้ตัวเราพิจารณาร่างกายให้เป็นอารมณ์แล้ว ก็ให้วกเข้ามาสู่จิต จิตเป็นผู้รับรู้ โดยจิตนั่นแหละเป็นผู้เพ่งร่างกาย เมื่อเพ่งร่างกายเสร็จแล้วก็ให้ย้อนเข้ามาหาจิต ตั้งใจถามตอบตัวเองแบบนี้ว่า ร่างกายเป็นของเราหรือไม่ เมื่อร่างกายไม่ใช่ของเรา เป็นของเกิดของตายของดับ เป็นของไม่แน่นอน และจิตนั่นแหละก็จึงเป็นแก่นของชีวิต


    ๏ จิตเป็นแก่นของชีวิตคืออะไรครับ ?

    อ้าว !...ก็จิตมันไม่ตาย มันตายแต่ร่างกาย การเวียนว่ายตายเกิดก็มาจากจิตดวงเดียวนี้นั่นแหละ จะว่าไม่เป็นแก่นอย่างไรเล่า ไม่ว่าจะเป็นภพหน้าชาติหน้า จิตดวงนี้แหละก็ต้องตามพวกเราทั้งหมด ร่างกายจะไปได้ที่ไหนล่ะ เมื่อร่างกายถูกไฟเผาร่างกายก็เหลือแต่กระดูกเป็นเถ้าถ่านไปหมด ดังนั้น จิตดวงเดียวถ้าผู้นั้นยังไม่สิ้นกิเลส มันก็มีบาปมีบุญติดตามไป และบาปบุญนั่นแหละที่จะนำดวงจิตไป และถ้าทุกคนสิ้นหรือหมดจากกิเลสแล้วก็จะไม่มีอะไรนำก็จะเป็นการนิพพานนั่นเอง


    ๏ แสดงว่าหลวงปู่เชื่อชาติหน้ามีจริงซิครับ ?

    ก็มีจริงซิ (หัวเราะ) ถ้าไม่มีจิตเรานั้นจะไปได้อย่างไรกัน แต่ที่คนเรายังไม่ค่อยเชื่อเรื่องชาติหน้าชาตินี้หรืออย่างเรื่องนรกสวรรค์ อาตมาก็อยากให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ตรัสรู้นั่นแหละ หากถามอาตมาว่าคนทั่วไปทำไมเชื่อก็เป็นเรื่องของคนที่ยังมองไม่เห็น มองแล้วยังไม่รู้เพราะยังไม่สิ้นกิเลส


    ๏ หลวงปู่สร้างวัตถุมงคลบ้างหรือเปล่าครับ ?

    อาตมาไม่ได้สร้างวัตถุมงคลเลย มีแต่ลูกศิษย์เขาสร้างกันมาให้อาตมาก็แจกหมดเลย ตอนนี้เลยไม่มี (หัวเราะ) จริงๆ อาตมามองว่า วัตถุมงคลไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร อาตมาเห็นถึงคุณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะคุณของพระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่รูปหรือเหรียญ แต่อยู่ที่ใจของคนเราต่างหาก เมื่อใจเชื่อเลื่อมใสภาวนาทำใจให้สงบลงได้ พระคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงอยู่ที่ใจได้กลายมาเป็นความสงบนั่นเอง


    ๏ แล้วทำไมคนเราบางส่วนยังยึดติดอยู่กับวัตถุมงคลครับ ?

    สังคมทุกวันนี้เป็นเหมือนมีค่านิยมแบบใหม่ตามๆ กันไป เมื่อมีผู้หนึ่งจัดทำ หรือบางคนถือแขวนพระนั้นติดตัว ผู้อื่นก็อยากได้บ้าง ก็ทำให้คนเราแสวงหาต่อๆ กันไป บางครั้งกระแสข่าวว่า หลวงพ่อนั้นหลวงพ่อนี้มีความวิเศษแบบนั้นแบบนี้ก็เชื่อต่างก็หลั่งไหลกันไปขอไปบูชา เขาจึงเรียกว่า มงคลตื่นข่าว เพราะพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ให้เชื่อเรื่องมงคลตื่นข่าว แต่ให้เชื่อเรื่องกรรม ให้เชื่อเรื่องผลของกรรม เราทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


    ๏ บางคนรอดตายแล้วบอกว่ามีพระดีเป็นไปได้ไหมครับ ?

    ถ้าให้อาตมามองถึงเหตุปัจจัย เป็นเพราะว่าบุคคลนั้นกรรมตายโหงไม่มี ชาติที่แล้วอาจสร้างบุญกุศลไว้มาก บุญกุศลนั่นแหละที่ตามรักษาเขา หรือที่เขาเรียกกันว่าบุญเก่านั่นแหละ ถ้าผู้นั้นมีกรรมมีเวร กรรมเวรตามสนองก็ตายโหง ถ้ากรรมเวรนั้นไม่มีก็ไม่ตาย และปาฏิหาริย์มีจริงก็เกิดขึ้นได้เฉพาะพระพุทธเจ้าอย่างเดียวนั่นแหละ แม้แต่อาตมาเองก็ทำให้เกิดปาฏิหาริย์ไม่ได้ดอก (หัวเราะ)


    ๏ ตอนนี้สุขภาพหลวงปู่เป็นอย่างไรบ้างครับ ?

    สุขภาพของอาตมาก็เป็นไปตามสภาพของคนแก่ ดีบ้างสุขบ้าง ทุกข์บ้าง มันก็เป็นไปแบบนั้น กำลังแรงกายของอาตมาก็ไปไหนมาไหนก็ไม่คล่องแคล่วเหมือนเมื่อก่อน แต่อายุจะยืนยาวนานแค่ไหนก็แล้วแต่บุญกรรมจะนำพาชีวิตอาตมาไป อาตมาเลยบอกไม่ได้ว่าจะอยู่อีกกี่ปี (หัวเราะ)


    ๏ สุดท้ายนี้หลวงปู่อยากให้ธรรมะอะไรกับผู้อ่านบ้างครับ ?

    พุทโธ พุทโธ เป็นยอดกรรมฐาน การภาวนาพุทโธๆ ในใจบ่อย ทำให้ใจเย็นสบาย เพ่งจนพุทโธไม่ถอย เพ่งลงไปจนหายใจเกิดเป็นความสงบ รวมกันเป็นหนึ่งลงไป พุทโธก็คือ เป็นผู้ที่ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว ภาวนาพุทโธไปแล้วจิตใจก็เบิกบานผ่องใส ตื่นที่อาตมาว่านี้ ก็คือการตื่นจากความหลง ไม่หลงใหลไม่เชื่ออะไรที่งมงาย พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เชื่ออะไรงมงาย และเราเกิดมาในชาตินี้เป็นบุญลาภอันประเสริฐ ที่ได้มาพบพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐในโลก สมควรที่จะลงมือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์โดยความไม่ประมาท กิเลสบาปกรรมจะได้น้อยเบาบางจากดวงจิตของตน การที่คนเราจะพ้นทุกข์ไปไม่ได้ก็เพราะไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง


    ชาติภูมิหลวงปู่เหรียญ

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ อายุ ๙๒ ปี พรรษาที่ ๗๒ ชื่อเดิม นายเหรียญ ใจขาน เกิดวันที่ ๘ มกราคม ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย บิดา นายผา ใจขาน มารดา นางพิมพา ใจขาน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน ๗ คน (เสียชีวิตแต่ยังเล็ก ๖ คน) ร่วมบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดา ๒ คน อาชีพ กสิกรรมครอบครัวมีอาชีพทำนา ทำสวนและเลี้ยงสัตว์

    เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ มารดาท่านได้เสียชีวิตลง ไม่นานบิดาท่านมีภรรยาใหม่ หลวงปู่จึงได้ไปอยู่อาศัยกับยายจนอายุได้ ๑๓ ปี เรียนหนังสือจบ ก็ได้ย้ายไปอยู่กับบิดา ช่วยบิดาและมารดา ทำงานร่วมกับพี่น้อง ที่เป็นลูกของมารดาใหม่อย่างขยันขันแข็ง

    ครั้นเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี มีความปรารถนาจะออกบวช โดยพิจารณาเห็นว่าชีวิตนี้เกิดมาแล้ว ทำงานไม่รู้จักจบจักสิ้น ตายแล้วก็ไม่ได้อะไรติดตัวไป โลกนี้มีทั้งสุขและทุกข์ แต่ความสุขที่ว่านี้เป็นความสุขชั่วคราวที่ไม่ยั่งยืน มันเป็นเพียงเหยื่อล่อให้คนเราติดอยู่ในทุกข์เท่านั้น คนเราเกิดมาแล้วที่สุดก็ต้องตายด้วยกันทุกคน ร่างกายนี้เมื่อจิตละไปแล้ว ก็ต้องแตกสลายออกจากกัน ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ท่านจึงไปขออนุญาตบิดาและมารดาเพื่อขอลาบวช

    โยมพ่ออนุญาตท่านก็ได้ออกบวชเมื่อเดือนมกราคม ๒๔๗๕ ณ อุโบสถวัดบ้านหงษ์ทอง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย โดยมีท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พรหม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สังกัด ธรรมยุติกนิกาย บวชแล้วจึงกลับมาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านหม้อ โดยท่านอาจารย์วัดโพธิ์ สอนให้ท่านภาวนาอนุสติ ๑๐ ท่านก็ได้ท่องเอา แล้วบริกรรมไปเรื่อยๆ ตั้งแต่พุทธานุสติ ธรรมานุสติ ไปจนถึงอุปสมานุสติแล้วจึงตั้งใหม่

    ครั้นถึงเดือนพฤษภาคม ปีนั้น ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดศรีสุมัง ท่านจึงได้เข้าไปเรียนถามวิธีเจริญภาวนา กับท่านอาจารย์บุญจันทร์ รองเจ้าอาวาส ซึ่งได้รับคำสอนให้เลือกเอากรรมฐานบทใดบทหนึ่ง ที่ถูกกับนิสัยของตน บริกรรมเฉพาะบทเดียวเท่านั้น พร้อมกับแนะนำให้บริกรรมพุทโธเป็นอารมณ์ ท่านจึงได้บริกรรมพุทโธมาตั้งแต่นั้น พอถึงเดือนธันวาคมสอบนักธรรมเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับวัดโพธิ์ชัย

    ในระหว่างนั้นบิดาท่านได้นำหนังสือของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม มาถวายหลวงปู่ เมื่ออ่านแล้วท่านรู้สึกสนใจในเรื่องกายานุปัสสนา ซึ่งในหนังสือได้แนะนำ ให้พิจารณากายแยกย่อยไปเป็นส่วนต่างๆ ให้สติได้รู้ว่า ร่างกายนี้ไม่ได้มีอะไรเป็นของตนสักอย่างเดียว เมื่อท่านพิจารณาได้ดังนี้จึงมีดำริจะออกไปอยู่ในป่า แต่ก็ยังไม่อาจตัดสินใจได้เพราะใจหนึ่งอยากสึกไปครองเรือน แต่อีกใจหนึ่ง อยากออกปฏิบัติธรรมตามที่ตั้งใจไว้ ท่านจึงได้นั่งสมาธิตัดสินใจ แล้วก็ได้คำตอบว่าไม่สึกถึง ๓ ครั้ง ซึ่งไม่นานท่านจึงได้ออกจากวัดไปอยู่ป่าที่ ผาชัน ริมฝั่งแม่น้ำโขง พร้อมกับศึกษาต่อกับท่านอาจารย์กู่ ธัมมทินโน ซึ่งท่านก็ได้รับฟังจนเข้าใจดี


    วัดอรัญบรรพต ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    โทรศัพท์ ๐-๔๒๔๒-๐๒๙๙, ๐-๑๙๑๔-๕๒๘๓, ๐-๑๓๗๗-๒๘๕๙



    .................................................................

    คัดลอกมาจาก
    หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 26 พ.ค. 2547
    คอลัมน์ พระเครื่อง คม ชัด ลึก เรื่องโดย สุทธิคุณ กองทอง
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    การให้ทานดีอย่างไร ทำไมเราต้องให้ทาน​


    [​IMG]


    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้แสดงธรรมถึงเรื่องทานไว้ว่า

    “ทานคือเครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง ผู้มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ผู้อาภัพ ด้วยการให้ทานเสียสละแบ่งปันมากน้อยตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานแขนงต่างๆ ก็ตาม ที่ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยมิหวังค่าตอบแทนใดๆ นอกจากกุศลคือความดีที่เกิดจากทานนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งตอบแทนให้เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น ตลอดอภัยทานที่ควรให้แก่กัน ในเวลาอีกฝ่ายผิดพลาดหรือล่วงเกิน

    คนมีทานหรือคนที่เด่นในการให้ทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชน ผู้เช่นนี้มนุษย์และสัตว์ตลอดเทวดาก็เคารพรัก จะตกทิศใดแดนใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลนหากมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ไม่อับจนทนทุกข์ แม้ในแดนมนุษย์เรานี้ก็พอเห็นได้อย่างเต็มตารู้ได้อย่างเต็มใจว่า ผู้มีทานเป็นเครื่องประดับตัวย่อมเป็นคนไม่ล้าสมัยในสังคม และบุคคลทุกชั้นไม่มีใครรังเกียจ

    อำนาจทาน ทำให้ผู้มีใจบริจาคเกิดความเคยชินต่อนิสัยจนกลายเป็นผู้มีฤทธิ์ บันดาลไม่ให้อดอยากในภพที่เกิด กำเนิดที่อยู่นั้นๆ ฉะนั้นทานและคนที่มีใจเป็นนักให้ทานเสียสละ จึงเป็นผู้ค้ำจุนโลกให้เฟื่องฟูตลอดไป โลกที่มีการสงเคราะห์กันอยู่ ยังจัดเป็นโลกที่มีความหมายตลอดไป ทานจึงเป็นสาระสำคัญสำหรับตัวและโลกทั่วๆ ไป ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่นและหนุนโลกให้ชุ่มเย็น ไม่เป็นบุคคลและโลกที่แห้งแล้งแข่งกับทุกข์ตลอดไป”



    ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้แสดงธรรมเรื่องทานไว้ว่า

    “การให้ทานกับการรบพุ่งสงครามเสมอกันอย่างไร ? การให้ทานคือการรบกันกับกิเลส รบกันกับความยึดมั่นถือมั่น การให้ทานที่แท้จริงนั้นไม่ใช่แลกเอาสวรรค์ ไม่ใช่แลกเอาความสวยความรวย การให้ทานที่แท้จริงนั้นเป็นการรบพุ่งกับกิเลส รบกับความเห็นแก่ตัว รบกับความยึดมั่นว่าตัวกู–ของกู รบให้กิเลสเหล่านั้นพ่ายไป นั่นแหละเรียกว่าการให้ทาน

    ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า การให้ทานกับการรบนี้เสมอกัน หรือเป็นสิ่งเดียวกันอย่างนี้ก็ได้ หรือถ้าจะพูดให้ยืดเยื้อออกไป ก็จะพูดได้เหมือนกันว่า การให้ทานนั้นก็มีข้าศึก ต้องมีการตระเตรียม ต้องมีการฝึกฝน ต้องมีการสะสมอาวุธ สะสมเครื่องปัจจัยในการรบพุ่งแล้วจึงจะไปรบกัน

    การให้ทานนี้ก็เหมือนกันต้องมีการตระเตรียมที่ถูกต้องจึงจะเป็นการให้ทานที่ดี เมื่อให้ไปได้เท่าไหร่มันก็ชนะเท่านั้น เหมือนการรบที่ชนะเท่าไหร่มันก็ชนะเท่านั้น ถ้าให้ไม่ดีคือรบไม่ดี มันก็พ่ายแพ้ คือถอยหลังไปเห็นแก่ตัว เป็นการลงทุนชนิดหนึ่งไปคือทำบุญหวังผลนั่นเอง

    จงระวังให้ดี จงทำบุญให้ได้รับประโยชน์ ให้เป็นประโยชน์ คือให้เป็นประโยชน์อันแท้จริง เป็นบุญที่แท้จริง (ตัดความตระหนี่, ความโลภลงได้และไม่หวังผลทางโลกียะ) อย่าได้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนาเลย”
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097

    พระพิมพ์สมเด็จ สกุลเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์นี้และสภาพรักและชาดของคุณอย่างนี้ เหมือนอย่างของผมที่ใช้อยู่ครับ (คนละองค์กับรูปตัวอย่าง) ยืนยันในอานุภาพของท่านเช่นเดียวกันกับพิมพ์ปัญจสิริ แต่สำหรับพระพิมพ์ฯ เจ้าคุณกรมท่าโดยส่วนตัวผมว่าเนื้อจะสวยกว่าสกุลปัญจสิริ เพราะสีขาวดูเป็นมาตรฐาน ส่วนสีปัญจสิริ บางคนคิดว่าเป็นของหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองซะนี่...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2012
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้สืบหาพระเครื่องดี แนะนำให้เล่นหาพระหลักแต่ยังพอที่จะเก็บหาได้ โดยพระพิมพ์สกุลนี้ ท่าน อ.ประถม อาจสาคร บอกเล่าให้กลุ่มลูกศิษย์ฟังว่า ไม่แนะนำให้ผู้หญิงแขวน เพราะเป็นพระพิมพ์ที่หนักไปในทาง "เจ้าชู้" มาก และเช่นเดียวกัน ผู้ที่แขวนส่วนมากก็มักจะผิดศีลข้อ 3 อยู่เนืองๆ ผมเองก็ลืมๆ ไปแล้ว เพิ่งมานึกได้เมื่อเดือนที่แล้วเอง เพราะมีการพูดถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิของพระพิมพ์ต่างๆ ซึ่งผมเองก็ได้มาเพียง 1 องค์เช่นกัน ที่สำคัญตอนนี้ยังไม่รู้ว่าเก็บเอาไว้ที่ส่วนใดของบ้าน ส่วนเรื่องความเป็นมาของพระพิมพ์กรุนี้เป็นยังไง ผมนำมาลงให้ได้อ่านกันตามข้างล่างนี้ครับ อย่างเคย เจอที่ไหนคว้าไว้ก่อน ไม่แพงพอเก็บได้ก็เก็บซะ เพราะอิทธิคุณท่านเด่นชัดในเรื่องนี้ ส่วนพระพิมพ์นางพญา ที่กรุวัดนางพญานั้น ท่าน อ.ประถมฯ บอกว่า กรุนั้น "รบแหลก" เพราะเค้าทำไว้แจกทหารพวกหน่วยทะลวงฟัน และกองอาทมาตซึ่งมีอิทธิคุณเด่นชัดด้าน "เหนียว" แต่ในภายหลังก็คิดไปเองว่าเป็นพระประเภท "เมตตา" ซึ่งนับว่าคนละเรื่องกันเลยทีเดียว แต่พระพิมพ์ในวันนี้ที่แนะนำให้หาไว้ เป็นพระนางพญาเหมือนกัน โดยท่าน อ.ประถมฯ ท่านเรียกว่า นางพญา "กรุวัดสุดสวาทหรือสุดสวาสดิ์" ครับ สำหรับพระพิมพ์นี้ ซึ่งได้ทราบว่าเพิ่งแตกกรุออกมาใหม่นั้น บ่ฮู้บ่หัน จริงๆ ว่า "อิทธิคุณหรือเอกคุณ" ของท่านนั้น เด่นไปในทางใด เพราะไม่มีมาให้ผู้ที่มีตาในของทุนนิธิฯ ได้ตรวจ เลยไม่รู้จริงๆ และยังไม่แน่ใจว่า ท่านบวชมานานรึยังครับ

    [​IMG]


    วัดสุดสวาสดิ์ อยู่หมู่ที่ 3 บ้านบางสะแก ต.บ้านคลอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก จากนิตยสารรายสองเดือน"ศิลปากร" ของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการปีที่ 38 ฉบับที่2 มีนาคม-เมษายน 2538 หน้าในปกท้าย อธิบายไว้ว่า "....วัดสุดสวาสดิ์ เป็นวัดร้าง เหลือเพียงเนินดินร่องรอยแห่งซากเจดีย์เก่าซึ่งกลายเป็นทุ่งนาไปแล้ว พระเครื่องจากกรุนี้ได้มีผู้ค้นพบปีพ.ศ.2465 มีพระขึ้นจากกรุประมาณ400 องค์เศษ พุทธศิลป์อยุธยา ยุคเดียวกัน หรืออาจจะก่อนหน้าพระนางพญา วัดนางพญาพิษณุโลก เชื่อกันว่า "พระวิสุทธิกษัตรี" พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีของ พระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของ สมเด็จพระนเรศวร และ สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้จัดสร้างขึ้น พระนางพญาสุดสวาทหาชมได้ยากมาก ในปัจจุบัน...
    "พระพิมพ์สุดสวาท" แล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกันนัก บางคนถือว่าจะหาพระเครื่องอื่นใดเปรียบให้เสมอเหมือนได้ยาก สันนิษฐานว่าสร้างสมัยเดียว อาจารย์เดียวกับพระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก"


    ขอขอบคุณเวบที่เอื้อเฟื้อภาพ
    พระกรุเนื้อดิน : นางพญากรุวัดสุดสวาสดิ์
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    กำหนดการข้างต้นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จำนวนพระสงฆ์ที่จะถวายสังฆทานภัตตาหารเช้าและบริขารต่างๆ ในวันพรุ่งนี้ มีจำนวนประมาณ 160 รูป ครับ ส่วนด้านล่าง เป็นหลักฐานการโอนเงินบริจาคไปยัง รพ.ต่างๆ (ของ รพ.สงฆ์เป็นของเดือนที่แล้ว ของเดือนนี้ พรุ่งนี้จะได้บริจาคให้เป็นเงินสด) พร้อมทั้งอนุโมทนาบัตรและรายงานการใช้ปัจจัยของ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย เท่าที่ผมได้รับจากไปรษณีย์ในขณะนี้


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. ชิน9

    ชิน9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +247
    สวัสดีครับ ทุกท่าน ผมได้โอนเงินจำนวน 2,000.05บาท

    05/11/2555 11:37:16 น. tmb mbanking 2,000.05


    ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศล จากการร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

    อุทิศให้แก่อาม่า คื้อเจ็ง แซ่ซิ่ม.คุณแม่ม๋วย อากงและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป

    แล้ว เจ้ากรรมนายเวรทัง้หลาย ของป๋า 5โกว 6โกว น้องชาย น้องสะใภ้ หลาน

    ชายหลานสาวทุกคนผู้เช่าบ้าน เช่าร้านและเช่าคอนโดทุกท่านนายวันสุข ณรงค์

    คำมั่น บริวารทุกคน เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทางด้านการงาน การเงินและ

    ความรักของตัวข้าพเจ้าชินพงศ์ เบญจนากาศกุล เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของ

    ผู้ที่ข้าพเจ้ามีความเกี่ยวข้องทาง กาย วาจา และ ใจที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินท่าน

    ไว้ตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ไม่ว่าท่านจะอยู่ภพ ภูมิใดก็ขอให้ได้รับผลบุญ

    กุศลนี้และอโหสิกรรม ให้กับข้าพเจ้านายชินพงศ์ เบญจนากาศกุล และขอให้

    ร่วมอนุโมทนาบุญกุศลแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

    ขอเชิญทุกท่านร่วมอนูโมทนาบุญด้วยกันนะครับ
     
  11. marutnacpaladfg

    marutnacpaladfg Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +98
    ดูให้หน่อยคับแท้ป่าวขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. marutnacpaladfg

    marutnacpaladfg Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +98
    ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยนะครับ
     
  13. prapaanpong

    prapaanpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +7,992
    พระสวยมากครับพี่ อาทิตย์ที่ผ่านมา ไม่ได้ไปร่วมงาน ไปงานกฐิน 3 วัดมา
    เดือนหน้าไม่พลาดแน่ ขอจองไว้ก่อน 1 องค์ได้ไหมครับ :cool:
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    น่าจะเป็นผู้ไม่รู้มากกว่าน๊ะ งานทำบุญของทุนนิธิฯ ๒๓ ธ.ค. ที่ รพ.สงฆ์ หากนำไปให้ดูก็จะรู้ได้ทั้งรูปทั้งนามครับ แต่หากอยากเทียบเคียง ลองเข้าไปดูตามนี้ครับ ยินดีต้อนรับสู่ Facebook - เข้าสู่ระบบ ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม เค้าสะสมไว้เยอะ บางองค์ก็โอเค บางองค์ก็น่ากลัวชะมัด แต่ดูเอาเป็นตัวอย่างก็แล้วกัน ส่วนเนื้อหาในพระพิมพ์ ผมก็นำตัวอย่างพระพิมพ์สมเด็จ สกุลเจ้าคุณกรมท่ามาลงไว้ให้ดูในกระทู้นี้แล้ว ลองหาดูย้อนหลังเอา แต่ที่เจอแล้วต้องผงะ เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันทำปลอมได้เหมือนมาก สาเหตุก็คือมีคนรู้ มีคนเก็บ พระพิมพ์เริ่มมีราคามากขึ้น สมัยก่อนผมเดินดูแถวท่าพระจันทร์ยังเห็นมีเกลื่อน เดี๋ยวนี้มีแต่ทำเกือบเหมือน หรือน่าเกลียดไปเลยก็มี สองเดือนที่แล้วผมกะเพื่อนยังพลาดเลย ขนาดสองคนสี่ตา เรียกว่าชำนาญเนื้อแล้วแต่ปรากฏว่า เนื้อใช่พิมพ์ใช่ แต่มีทั้งเสกและไม่เสกปนกันมา เลยหงายหลัง ต้องนำไปถวายวัดทั้งหมดโดยบอกว่าเป็นพระใหม่ ไม่กล้านำไปขอบารมีเสกใหม่ เพราะกลัวเอาไปดูแล้วหลงทางกันไป จะเป็นบาปแก่ตัวเอง และเสื่อมเสียถึงครูอาจารย์ที่เคารพครับ

    เอาเป็นว่ากระทู้นี้ขอแค่เป็นกระทู้ทำบุญกับแนะนำพระให้เก็บๆ ไว้แค่นั้นก็พอ ไม่ขอตอบคำถามเรื่องแท้ไม่แท้น๊ะ ถ้าอยากรู้จริงๆ ก็ต้องมาให้ดูตามที่บอกไว้ข้างต้นก็แล้วกัน ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมกระทู้นี้ด้วยครับ

    พันวฤทธิ์
    ๒๙/๑๑/๕๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2012
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เรื่องนี้เค้าเขียนได้ดีทีเดียว สำหรับผู้ที่สนใจพระเครื่องวังหน้า โดยในส่วนของพระพิมพ์ทั้ง 4 แบบ ข้างล่าง โดยเฉพาะแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ของจริงจะสวยมาก เนื้อหาสุดสวย หากผ่านการล้างทำความสะอาด สำหรับพลังจิตขององค์ผู้เสกไม่ต้องพูดถึง เล่นเอาคนตรวจพลังถึงกับอุทาน "มือชาเลยว่ะ" สองเดือนที่แล้ว ได้มา เกือบ 40 องค์ เอาไปให้ทำบุญที่ รพ.สงฆ์เกือบหมด แถมแจกฟรีไปบางส่วนเช่ีนกัน ขอบอกหน่อยนึง พระพิมพ์นี้ ยังมีแอบวางอยู่หลายแผงตามท่าพระจันทร์ ลองอ่านเนื้อหากันดู ส่วนเนื้อเรื่องจริงๆ วางลิงค์ให้อ่านกันแล้วครับ

    วังหน้า
    “วังหน้า” ที่ปรากฏในยุครัตนโกสินทร์นี้ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพุทธศักราช2325 และได้ยกเลิกตำแหน่งนี้เมื่อ “วังหน้า” พระองค์สุดท้ายคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต เมื่อพุทธศักราช 2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่มีตำแหน่ง “วังหน้า” ในสมัยรัตนโกสินทร์ 103 ปี
    วังหน้า เป็นชื่อที่สามัญชนชอบ ใช้เรียกพระมหาอุปราช ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีขึ้นครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตราพระราชกำหนดศักดินาพลเรือนขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2009 ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เปลี่ยนนามวังที่ประทับของพระมหาอุปราชให้สูงขึ้นเสมอพระราชวังหลวง เรียกว่า พระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่สามัญชนเรียก พระราชวังบวรสถานมงคลว่า วังหน้า อธิบาย ได้ 3 ประการดังนี้ ประการที่ 1 หมายถึงวังที่ตั้งอยู่ข้างหน้าของพระราชวังหลวง สมัยอยุธยา ครั้งเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นพระมหาอุปราช ประกาศอิสรภาพพ้นการเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว เสด็จมาประทับในพระนครศรีอยุธยา ทรงสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ทางด้านหน้าของพระราชวังหลวง จึงถูกกำหนดให้เป็นที่ตั้งวังที่ประทับของพระมหาอุปราช ประการที่ 2 ลักษณะการจัดขบวนทัพออกรบ ทัพของพระมหาอุปราชจะยกออกเป็นทัพหน้า เรียกว่าฝ่ายหน้า และเรียกวังที่ประทับของแม่ทัพว่า วังฝ่ายหน้า และย่อเป็นวังหน้าในที่สุด ประการสุดท้าย วังหน้าจะปรากฏเรียกเฉพาะในเวลาที่บ้านเมืองมีพระมหาอุปราชเท่านั้น สมัยธนบุรี ไม่มีตำแหน่ง พระมหาอุปราช จึงไม่ปรากฏว่ามี วังหน้าในสมัยนั้น

    วังหน้า ระหว่าง ปี พ.ศ. 2325-2346
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพุทธศักราช 2325 โปรดให้พระยาจิตรเสวี และพระยาธรรมธิกรณ์ เป็นแม่กองย้ายชุมชนชาวจีนไปอยู่บริเวณวัดสามปลื้มและวัดสามเพ็ง เพื่อใช้ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้จากวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) จรดวัดสลัก (วัดมหาธาตุ) ในการสร้างพระบรมหาราชวัง (วังหลวง) และโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชยาติกรรมที่ดินบางส่วนของวัดสลักไปทางเหนือจรด คลองโรงไหม (บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร) เพื่อสร้างเป็นพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ทรงเป็นพระมหาอุปราชที่มีความสามารถในการรบเป็นอย่างยิ่งเป็นที่ เลื่องลือ ในบรรดานักรบต่างชาติ เช่น พม่า ในนามของพระยาสุรสีห์ หรือพระยาเสือ ทรงดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช เป็นเวลา 21 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อพุทธศักราช 2346 ในสมัยของพระองค์พื้นที่วังหน้าด้านเหนือติดกับคลองคูเมือง เป็นสำนักชี เรียกกันว่า วัดหลวงชี เพราะเป็นที่จำศีลของ นักชี มารดาของนักองค์อี ซึ่งเป็นพระชายา ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยนาฎศิลป

    วังหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2349-2360
    หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาสุ รสิงหนาท สวรรคต ตำแหน่งพระมหาอุปราช ว่างลงเป็นเวลา 3 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงแต่งตั้ง พระโอรส คือ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นพระมหาอุปราช แต่ทรงประทับที่พระราชวังเดิม (ที่ทำการกองเรือยุทธการในปัจจุบัน) ทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราช 3 ปี พุทธศักราช 2352 เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 2 ของสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสถาปนาพระอนุชาธิราชให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ทรงพระนาม กรมพระราชวังบวรเสนานุรักษ์ พระองค์ได้ช่วยสมเด็จพระเชษฐาปฏิบัติราชการอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้เพราะพระเชษฐา คือพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นกวีและศิลปิน พระองค์สนพระทัยในเรื่องศิลปะ วรรณคดีและนาฎศิลป์เป็นอันมาก ฉะนั้น พระอนุชาจึงต้องช่วยแบ่งภาระในการบริหารราชการไปเป็นส่วนมาก ทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราชเป็นเวลา 8 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อพุทธศักราช 2360 ตำแหน่งพระมหาอุปราชว่างลงจนสิ้นรัชกาล

    วังหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2367-2375
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพุทธศักราช 2367 โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมหาศักดิ์พลเสพ ดำรงพระยศพระมหาอุปราช พระองค์เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้มีการรื้อและสร้างอาคารต่าง ๆ ภายในพระราชวังบวรฯอย่างมาก โปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้าขึ้น ตรงบริเวณที่เคยเป็นสำนักชีเมื่อครั้งสมัยกรมพระราชวังบวรพระองค์แรก และรื้ออกทำเป็นสวนกระต่ายเมื่อสมัยกรมพระราชวังบวรเสนานุรักษ์ ปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้ยังตั้งเด่นเป็นสง่าแก่วิทยาลัยนาฎศิลป พระองค์ทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราชเป็นเวลา 8 ปี เสด็จสวรรคตในปีพุทธศักราช 2375 จากนั้นตำแหน่งพระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่างลงเป็นเวลา 18 ปี

    วังหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2394-2408
    พุทธศักราช 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงแต่งตั้งพระอนุชา เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช และให้มีพระเกียรติยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทานบวรราชาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวต่างประเทศเรียกว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง พระองค์สนพระทัย เรื่องปืน การสร้างเรือกลไฟ เรือรบ โปรดการทหาร การกีฬาดนตรี ตลอดจนการศึกษาภาษาอังกฤษ โปรดขนบธรรมเนียมและความเป็นอยู่อย่างชาวตะวันตก ทรงปฏิสังขรณ์ต่อเติมและสร้างพระราชมณเฑียรใหม่ สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระอุโบสถวัดพระแก้ว วังหลวง กลับมาไว้ที่วังหน้าดังเดิม (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) โปรดให้ช่างวาดจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับตำนานพระพุทธสิหิงค์ และประวัติอดีตพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ไว้ที่ผนังในพระอุโบสถและพระราชทานนามว่า วัดบวรสถานสุทธาวาส สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงดำรงราชสมบัติเป็นเวลา 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อพุทธศักราช 2408 ตำแหน่งพระมหาอุปราชว่างลงอีกครั้งเป็นเวลา 3 ปี

    วังหน้า ระหว่างปี พ.ศ. 2411-2428
    พุทธศักราช 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ คณะเสนาบดี และพระบรมวงศานุวงศ์ได้อัญเชิญ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ดำรงพระยศพระมหาอุปราช ทรงมีคุณานูปการต่องานช่างทุกแขนง ทรงอุปถัมภ์ช่างฝีมือเอกรวบรวมไว้ในวังหน้า ฝีมือช่างวังหน้าจึงเป็นฝีมือชั้นสูงในงานศิลปะหลายแขนง จนได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่าง พระองค์ทรงดำรงพระยศเป็นเวลา 17 ปี เสด็จทิวงคตในปีพุทธศักราช 2428 เป็นวังหน้าองค์สุดท้ายของประเทศไทย
    วันที่ 4 กันยายน 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดให้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช และโปรดให้จัดเขตวังหน้าขึ้น นอกริมน้ำด้านตะวันตกเป็นโรงทหารรักษาพระองค์ ขยายเขตวังชั้นนอกด้านทิศตะวันออกเป็นท้องสนามหลวง หลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรป พุทธศักราช 2440 โปรดให้ขยายส่วนของสนามหลวงขึ้นไปทางเหนือรวมทั้งรื้อป้อม และอาคารที่ชำรุดทรุดโทรม รอบ ๆ วัดบวรสถานสุทธาวาสลง คงเหลือแต่ตัวพระอุโบสถไว้ และโปรดให้ใช้พระอุโบสถเป็นพระเมรุพิมานสำหรับประดิษฐานพระบรมศพ เวลาสมโภช และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแทนพระเมรุใหญ่ท้องสนามหลวง และปลูกพระเมรุน้อยที่พระราชทานเพลิงต่อออกไปทางด้านเหนือ เมื่อเจ้านายวังหน้าสิ้นพระชนม์เหลืออยู่น้อยพระองค์ จึงโปรดให้เสด็จไปอยู่ในพระราชวังหลวง ส่วนพื้นที่วังหน้านอกจากบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานนั้น โปรดให้กระทรวงกลาโหมดูแลรักษาต่อมา
    พุทธศักราช 2475 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลกำหนดการศึกษาของชาติให้คนไทยมีสิทธิขั้นพื้นฐานให้ ได้รับการศึกษา อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงของชาติสืบไป พระบรมราชวังของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานทั้ง 5 พระองค์ ได้ใช้เป็นสถาบันการศึกษา และสถานที่ราชการ คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฎศิลป ซึ่งล้วนเป็นสถาบันที่บ่งบอกความเป็นอารยะของชาติ
    ------------------------------

    วังหลัง
    เรื่องกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ กรมพระราชวังหลัง หรือที่ออกพระนามกันทั่วๆ ไปในรัชกาลที่ ๑ ว่า พระวังหลัง อีกครั้ง
    เนื่องจากมีผู้ถามใช้นามว่า นักเรียนเก่าโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ขอให้เล่าเรื่องของพระองค์ท่านให้ละเอียด และถามว่า สมัยอยุธยามีกรมพระราชวังหลังกี่พระองค์
    ผู้ถามบอกว่าเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ใช้คำว่า ‘วัด’
    ไม่ทราบว่าเป็นนักเรียนเก่าแผนกสามัญ หรือแผนกเลขานุการ และภาษาต่างประเทศ เพราะแรกเริ่มเดิมทีเดียวโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข เป็นโรงเรียนสามัญศึกษา เช่นเดียวกับโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนวัดบวรนิเวศน์ และโรงเรียนวัดต่างๆ
    ต่อมาเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ได้เปิดสอนแผนกเลขานุการและภาษาต่างประเทศ แต่ก็ยังเรียกว่า โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข แผนกเลขานุการและภาษาต่างประเทศ ไม่ได้ทิ้งคำว่า ‘วัด’
    แต่ปัจจุบันนี้ยกฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย เปลี่ยนเป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตบพิตรพิมุขจักรวรรดิ์”
    มีคำว่า ‘จักรวรรดิ์’ ต่อท้าย เพราะยังอยู่ที่เดิมคือที่วัดบพิตรพิมุขตรงข้างๆ วัด เนื่องจากแตกแขนงออกไปตั้งอยู่ที่ทุ่งมหาเมฆอีกแห่งหนึ่ง คือ “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตบพิตรพิมุข ทุ่งมหาเมฆ”
    สมัยก่อนโน้น วัดพุทธศาสนาเป็นทุกอย่างในสังคม เป็นศูนย์กลางที่พบปะกันเหมือนสโมสรหรือสมาคม ผู้ใหญ่ไปฟังเทศน์ หนุ่มๆ สาวๆ ก็ตามไปพบปะกันงานประเพณีอะไรต่างๆ ก็มีที่วัด เป็นโรงเรียนของเด็กๆ เป็นสนามเด็กเล่น บางทีก็แอบไม้เรียวของสมภารเอาเป็นเวทีมวยด้วย เป็นที่อาศัยกินข้าวก้นบาตรของคนจรจัด หมาแมวใครไม่อยากเลี้ยงก็เอามาปล่อยให้อาศัยวัด คนพลัดถิ่นไม่รู้จะไปนอนไหนก็นอนวัด วัดเมื่อสักหกสิบปีก่อนขึ้นไปเป็นอย่างนั้น ตกมาถึงสมัยนี้ วัดเป็นที่พึ่งอะไรของสังคมบ้าง พูดไม่ถนัด

    โรงพยาบาลหลวง ในรัชกาลที่ ๕ (ซึ่งต่อมาคือโรงพยาบาลศิริราช) ตั้งในบริเวณที่ดินตำบลสวนมังคุด สวนลิ้นจี่ และบ้านปืน ซ้ำเรียกรวมๆ กันว่าบริเวณวังหลัง
    เล่าเรื่องโรงเรียนวัด นึ6กไปถึงสมัยเด็กๆ ดูเหมือนจะอ่านหนังสือชุดพล นิกรกิมหงวน นี่แหละ พบคำพูดล้อๆ ถึงเรื่องโรงเรียนวัด ถามว่าเรียนโรงเรียนไหน บอกว่าโรงเรียนวัดลิงขบ
    เข้าใจว่าพูดล้อกันเล่นๆ อยู่ตั้งนาน จึงได้ทราบว่า ‘วัดลิงขบ’ นั้นมีจริงๆ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฟากตะวันตก เหนือคลองบางกอกน้อยขึ้นไป เป็นวัดเก่าแก่ เดิมเรียกกันว่า ‘วัดลิงขบ’ ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ ๒ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้รับพระราชทานชื่อว่า ‘วัดบวรมงคล’
    วัดบพิตรพิมุข นั้น เดิมชื่อวัดเชิงเลน หรือชาวบ้านเรียกว่า วัดตีนเลน (คงอย่างเดียวกับนกนางแอ่น ซึ่งชาวบ้านเรียกว่านกอีแอ่น)
    เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ซึ่งต่อไปจะออกพระนามว่า ‘กรมพระราชวังหลัง’ ทรงบูรณะปฎิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งพระอาราม และน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงพระราชทานนามว่า ‘วัดบพิตรพิมุข’ เป็นพระเกียรติยศ
    “กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข” หรือกรมพระราชวังหลัง เพิ่งมีสถาปนาขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา เมื่อทรงตั้งพระราชวงศ์ใหม่ โปรดให้หลวงสรศักดิ์ ราชโอรสบุญธรรมเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ให้นายจบคชประสิทธ์หลานชายเป็นเจ้านายชั้นสูงรองลงมาจากพระมหาอุปราช จึงโปรดให้นำระเบียบการตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มาตั้งกรม ‘วังหลัง’ เรียกนามกรมว่า “กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข” ตั้งแต่นั้นมา
    ในสมัยอยุธยา “กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข” มีเพียง ๒ พระองค์ คือ ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ดังกล่าวมาแล้ว
    และในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงสถาปนาพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ‘เจ้าฟ้าเพชร’ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สถาปนาพระราชโอรสพระองค์เล็ก ‘เจ้าฟ้าพร’ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข แต่ออกพระนามกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’ มิได้ออกพระนามว่า กรมพระราชวังหลัง เหมือนดังรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
    ทว่า ‘วังหลัง’ นี้ จริงๆ แล้ว มีมาแต่ครั้งพระมหาธรรมราชา แต่เป็นเพียง วังที่ประทับมิได้สถาปนาขึ้นเป็นกรม ดังในเวลาต่อมา
    คือในสมัยพระมหาธรรมราชา (พระชามาดา หรือลูกเขย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และ สมเด็จพระสุริโยทัยนั่นแหละ) เสด็จขึ้นครองแผ่นดินแล้ว โปรดให้สมเด็จพระนเรศวร สร้างวังที่ประทับอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวง เรียกว่า ‘วังหน้า’ โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถ สร้างวังที่สวนหลวงด้านหลังพระราชวังหลวง จึงเรียกกันว่า ‘วังหลัง’ เกิดมี ‘วังหลวง’ ‘วังหน้า’ ‘วังหลัง’ ในรัชกาลนี้เอง
    ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้พระไตรภูวนาถพิตยวงศ์ พระราชอนุชา พระองค์หนึ่ง ประทับอยู่ที่ ‘วังหลัง’ แต่ก็เป็นเพียงที่ประทับเช่นเดียวกันกับ สมเด็จพระเอกาทศรถ ในรัชกาลพระมหาธรรมราชา
    ดังนั้น ‘วังหลัง’ ในสมัยอยุธยา จึงมี ๔ พระองค์ แต่สถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพียง ๒ พระองค์ ดังกล่าว
    กรมพระราชวังหลังกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านทรงเป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอรัชกาลที่ ๑ มีพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีด้วยกัน รวม ๓ พระองค์ เมื่อสถาปนาพระบรมราชวงศ์ ได้ดำรงพระอิสริยยศเจ้าฟ้าทรงกรม ทั้ง ๓ พระองค์ พระนามกรมคล้องจองกันดังนี้
    เจ้าฟ้า กรมหลวง อนุรักษ์เทเวศน์ (ต่อมาคือกรมพระราชวังหลัง)
    เจ้าฟ้า กรมหลวง ธิเบศรบดินทร์
    เจ้าฟ้า กรมหลวง นรินทร์รณเรศ (ต้นราชสกุล ‘นรินทรางกูร ณ อยุธยา’
    พระโอรสสามพระองค์ในกรมพระราชวังหลัง ล้วนแต่ประสูติสมัยกรุงธนบุรี ในรัชกาลที่ ๑ จึงได้ทรงเป็นกำลังรบทัพจับศึกช่วยราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดฯให้ทรงกรม ทั้ง ๓ พระองค์ คือ
    ๑. กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระองค์เจ้าชายปาน) ต้นราชสกุล ‘ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา’
    ๒. กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระองค์เจ้าชายบัว) ว่ากันว่าทรงเป็นหมัน
    ๓. กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายแตง) ต่อมาเลื่อนเป็นกรมหลวงในรัชกาลที่ ๓ ต้นราชสกุล ‘เสนีวงศ์ ณ อยุธยา’
    กรมพระราชวังหลังนั้น ทรงเป็น ‘หลานน้า’ ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดปรานมาก เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงพระประชวรหนัก ทรงเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการแทบทุกวัน
    ในพระนิพนธ์ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอชั้น ๑ พระองค์เจ้า (หญิง) กัมพุชฉัตร เรื่องนิพพานวังหน้า ทรงบรรยายถึงเมื่อ ‘วังหน้า’ จะเสด็จสวรรคต เอาไว้ว่า
    “จึงออกโอษฐ์เรียกโอ้ปิโยรส
    ทรงกำสรดซ้ำสั่งอนุสนธิ์
    อยู่หลังนะจงเจียมเสงี่ยมตน
    ฝากชนม์พระปิตุลาอย่าอาวรณ์
    อย่าประมาทเกรงราชภัยผิด
    ระวังจิตรนะจงจำคำสั่งสอน
    สุจริตคิดพระคุณดังบิดร
    พ่อจะจรจากแล้วประโลมลา
    อันสมเด็จหน่อนาถพระราชบุตร
    จะเป็นมงกุฎสืบสายไปภายหน้า
    อย่าบังอาจล่วงพระราชอาชญา
    พ่อจะนิราร้างเจ้าไม่เนานาน
    จึงให้หาพระบัญชาวังหลังสั่ง
    พ่ออยู่หลังเลี้ยงน้องประคองหลาน
    พระนัดดาน้อมศิระลงกราบกราน
    ก็จากสถานเมืองมิ่งพิมานแมน”
    ใน พระนิพนธ์ เรียก ‘วังหลัง’ ว่า ‘พระบัญชา’ คงจะทำนองเดียวกับเรียก ‘วังหน้า’ ว่า ‘พระบัณฑูร’ ‘พระนัดดา’ นั้น จริงๆ แล้วหมายถึง หลานปู่ หลานตา ส่วนหลานน้า ลูกของพี่สาว หรือหลานลุง ลูกของน้องสาว ราชาศัพท์ว่า ‘ภาดิไนย’ แต่ในสมัยก่อนเรียกรวมๆ กันไปหมดว่า นัดดา ดังชาวบ้านเรียก ‘หลาน’ หมด ไม่ว่าหลานอะไร
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    กรมท่า
    ประเทศไทย ติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมัยนั้นมิได้เรียก "กรมเจ้าท่า" อย่างเช่นปัจจุบัน เรียก เจ้าภาษีบ้าง นายด่านบ้างและนายขนอมตลาดบ้าง ซึ่งทั้งหมดทำหน้าที่บังคับการจอดสมอเรือค้าขาย เก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร โดยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของกรมพระคลังส่วนคำว่า "กรมท่า" แต่เดิมคงหมายถึง เจ้าท่าตามระบบเก่า หากแต่มีความหมายกว้างขวางออกไปอีก กรมท่าเป็นส่วนราชการที่มีแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

    เจ้าท่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างชาติ
    สเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับการค้าขายกับต่างชาติอยู่ในความควบ คุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าประสาททอง เป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายโดยตรง นอกจากผูกขาดซื้อขายสินค้าแล้ว พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก
    คำ "เจ้าท่า" ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตาม ประวัติศาสตร์ คำว่า "เจ้าท่า" มีมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชกาลพระองค์ การค้าขายทางเรือกับต่างชาติปรากฏว่า รุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในยุคนั้น คำว่า "เจ้าท่า" สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเรียกว่าเจ้าท่าว่า "Shah Bardar"

    เจ้าท่าสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งเจ้าท่าเพื่อดูแลตรวจตราบรรดาเรือแพ และเก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายหรือเรือที่เข้าออกประเทศไทย

    เจ้าท่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ เกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ ได้ว่าการกรมท่า และได้ทรงจัดการคลังของประเทศให้มีรายได้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่กาลก่อน

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยเรือใหม่ 10 มาตรา เรือเล็ก 7 มาตรา แพ โพงพาง และของลอยน้ำ 3 มาตรา ทางบก 4 มาตรา รวม 24 มาตรา กฎหมายดังกล่าวนิยมเรียก "กฎหมายท้องน้ำ" สมัยกัปตัน บูช เป็นเจ้าท่า ตำแหน่งเจ้าท่าขึ้นอยู่ในกรมพระคลัง ต่อมาย้ายสังกัดอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเดิมมีชื่อว่า "กรมท่า" (Kromata) พ.ศ. 2432 ย้ายไปอยู่กระทรวงโยธาธิการ ครั้นพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ชราภาพ ได้กราบถวายบังคับลาออกจากราชการ กัปตัน เอ. อาร์. วิล เป็นเจ้าท่าสืบแทน ต่อมา เมื่อกัปตันวิล ถึงแก่กรรม ใน พ.ศ. 2438 ได้ยุบตำแหน่งเจ้าท่าลงเป็นตำแหน่งเวรท่ามีนาย โยเกนซัง ชาวเดนมาร์ก เป็นเวรท่า ทำหน้าที่ตรวจตราลำแม่น้ำ
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการของกรมที่ตึกเจ้าสัวเส็งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างตลาดน้อย ตรงข้ามปากคลองสาน (คือที่ตั้งของกรมเจ้าท่าในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2439 ทรงยกฐานะเวรท่าเป็น กรมเจ้าท่าและทรงแต่งตั้ง ม.ร.ว. พิณ สนิทวงศ์ เป็นเจ้ากรมเจ้าท่า พ.ศ. 2444 ย้ายสังกัดกรมเจ้าท่าไปขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล พ.ศ. 2448 กรมเจ้าท่าได้ยกฐานะเป็นกรมชั้นอธิบดี และ ทรงให้ตราพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) และในปีนี้เอง ทรงเริ่มปรับปรุงกิจกรรมกรมเจ้าท่าขึ้นใหม่ โดยยกเอางานบางส่วนจากกรมคลองเดิมมารวมกับกรมเจ้าท่า

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตรา พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ซึ่งกำเนิดมาแต่ต้นฉบับภาษาอังกฤษ แล้วมาแปลเป็นภาษาไทย ในปีนี้เอง ทางราชการได้ยกกระทรวงนครบาลซึ่งกรมเจ้าท่าสังกัดอยู่ไปรวมกับกระทรวง มหาดไทย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2484 กรมเจ้าท่าจึงได้ย้ายสังกัดเป็นครั้งสุดท้าย มาขึ้นกับกระทรวงคมนาคมอย่างเช่นปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูปราชการเพื่อให้การทำงานมีความเหมาะสมกับสภาพของงาน ได้มีการรวมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า แล้วเปลี่ยนชื่อจากกรมเจ้าท่า เป็น "กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี" สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทย และกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง

    รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เป็น "กรมเจ้าท่า" พ.ศ. 2552 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 8 ตรีแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผนดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯพระราชทานนามหน่วยงาน

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทางราชการได้ทำสัญญาจ้างกัปตัน จอห์น บูช (John buch) ชาวอังกฤษ มาเป็นผู้ริเริ่มงานฝ่ายเจ้าท่า มีการลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อวัน 8ฯ9 ค่ำ จุลศักราช 1221 ปีมะแม เอกศก ตรงกับวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2402 กรมเจ้าท่าจึงถือเอาวันที่ 5 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมเจ้าท่า ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูปราชการเพื่อให้การทำงานมีความเหมาะสมกับสภาพของงาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้รวมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวี ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมเจ้าท่า แล้วเปลี่ยนชื่อจากกรมเจ้าท่า เป็นกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทย และกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง
    ---------------------------------------------------------------------------

    ประวัติการสร้างพระสมเด็จวังหน้า,วังหลัง,กรมท่า
    ประวัติ
    บทความ
    .." การ สร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า..."

    บทความ
    ..."สมเด็จวังหลัง กรมหมื่นอดุลย์ลักษณสมบัติ์ สมัยรัชกาลที่4 ทรงให้เจ้ากรมช่างสิบหมู่ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร) แกะ พิมพ์ลักษณะสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ถวายสมเด็จโต เป็นพิมพ์ทรงชลูด ทรงต้อลังกา ทรงกรวย ทรงโย้เกศเอียง พิมพ์จะลึกกว่ายุคต้น องค์พระเส้นซุ้มเล็กโปร่งบาง เน้นความเรียบร้อย ความอ่อนช้อยสวยงามเป็นหลัก เส้นซุ้มจะเรียบมีขนาดกลาง มักจะทา...รงค์ - ลงรัก - ชาด - ทอง - เทือก เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกหัก ปัจจุบันรักชาด ทองเทือก จะร่อนหลุดแล้ว เหลือเป็นบางจุด ทำให้พื้นผิวพระจะแตกเป็นลายงาหรือลายสังคโลก มวลสารละเอียดเพราะใช้เครื่องบดยามา บดผงพระ มีพิมพ์ที่งดงามอยู่หลายพิมพ์เช่น พิมพ์เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ทรงเทวดา พิมพ์ทรงเจดีย์ ไม่มีฐานปิด...พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น..."

    ....วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายบรรพชิต มีกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ (กรมพระปวเรศน์วริยาลงกรณ์ในกาลต่อมา) ฝ่ายฆราวาสมีกรมพระเทเวศร์วัชรินทร์เป็นประธน และขุนนางระดับสูงมีเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ เป็นประธาน ได้จัดประชุมกันในพระราชวังสวนดุสิต ในพระบรมมหาราชวัง ได้ตกลงยกเจ้าฟ้าจุลาลงกรณ์ กรมขุนพิชิตประชานารถ ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ถวายพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”และจะจัดพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในวัน ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ โดยยกเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการไปจนกว่าพระมหากษัตริย์จะ มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา

    ขณะเดียวกันก็เลือกผู้ที่จะเป็นเจ้ากรมวัง หน้า ที่ประชุมตกลงยกพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ ของรัชกาลที่ ๔) ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล ตั้งแต่วันนั้น
    ..... ใน งานนี้ เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี เจ้ากรมท่า ว่าที่การคลังกับการต่างประเทศ ซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ได้ขอพระบรมราชานุญาติสร้างพระพิมพ์ขึ้นจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ โดยใช้พิมพ์สมเด็จวัดระฆัง ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นแม่แบบ เพื่อเป็นศิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติ รัชกาลที่ ๕ เพื่อแจกจ่ายแก่เจ้านายและประชาชน ที่เหลือจะได้บรรจุลงกรุในพระเจดีย์วัดพระแก้วมรกต
    การ สร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า
    การสร้างพระสมเด็จ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 มีงานออกแบบพิมพ์ ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่มาช่วยอยู่ 2 งานใหญ่ๆ เป็นงานที่ หลวงปู่โต สร้างพระสมเด็จ ที่วัดระฆังฯ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 หรือ ส่วนหนึ่งเป็นพระสมเด็จที่พิมพ์ไว้แล้ว และได้นำออกมาแจกงานศพของท่านเจ้าประคุณฯ ในปี พ.ศ. 2415 และ อีกงานหนึ่ง สมเด็จกรุวังหน้า ก็เป็นงานที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย กับ หลวงสิทธิประสงค์ ผู้ควบคุมช่างสิบหมู่ (ช่างหลวง) ประดิษฐ์แม่พิมพ์เพื่อสร้างพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นชุดหนึ่ง
    การสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า จึงช่วยกันทำแม่พิมพ์พระขึ้นมากมาย ซึ่งผู้เขียนยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีกี่พิมพ์ เพราะหาได้ไม่ครบ พิมพ์พระเหล่านี้ส่วนมากคล้ายพิมพ์ทรงนิยมของวัดระฆัง เช่นพิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกร่องหูยาน พิมพ์โบราณเช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ เป็นต้น
    พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และคณะ (พิธีหลวง) สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรีร่วมกับ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) หรือเจ้าคุณกรมท่า เนื่องในวรโรกาสเฉลิมครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ปี พ.ศ. 2411
    พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และคณะ (พิธีหลวง) สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรีร่วมกับ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) หรือเจ้าคุณกรมท่า เนื่องในวรโรกาสเฉลิมครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ปี พ.ศ. 2411
    ส่วน การสร้างพระสมเด็จ บางขุนพรหม ที่เสมียนตราด้วง ได้มีการขอแม่พิมพ์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในปี พ.ศ. 2413 ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ออกแบบโดย หลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งถือว่าเป็นงานยุคปลายของหลวงวิจารณ์ เจียรนัย และ มีการออกแบบให้เพิ่มเติมอีกด้วย
    จากตามบันทึก ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์ ) ดังนี้
    “และพระพิมพ์ที่วัดบางขุนพรหมในนั้น เสมียนตราด้วง ขอเอาพิมพ์ของท่านไปพิมพ์ปูนแลผงของเสมียนตราด้วง ทำตามวุฒิของเสมียนตราด้วงเอง ชาวบ้านบางขุนพรหมปฏิบัติอุปฐาก บางทีขึ้นพระบาท หายเข้าไปในเมืองลับแลไม่กลับ คนลือว่าสมเด็จถึงมรณภาพแล้วก็มี ทางราชการเอาโกศขึ้นไป ท่านก็ออกมาจากเมืองลับแล พนักงานคุมโกศต้องเอาโกศเปล่ากลับมาหลายคราว”


    ลักษณะของพระสมเด็จวังหน้า ,วังหลัง,กรมท่า
    (เฉพาะพิมพ์ที่ใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังเท่านั้น...ไม่รวมพระสมเด็จวัดพระแก้วที่พิมพ์ต่างไป และที่ปรากฎอัญมณี ,ครุฑ ,ตราแผ่นดิน ,เหรียญรัชกาลที่ 5 มีหนวด , หรือวัตถุมงคลหลังพระ...
    การลงรักในพิมพ์พระสมเด็จกรมท่า จะไม่มีการปิดทองเลย ถ้าพบพิมพ์ที่มีการปิดทองมาแต่เดิมส่วนมากมักจะเป็นพระสมเด็จชนิดพิเศษ นอกจากนั้นยังมีการลงรักพม่าหรือเมียนมาร์ซึ่งจะเป็นสีน้ำเงิน
    พระพิมพ์ที่สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า...ส่วนใหญ่จะมีการลงรักสองชั้นคือ ลงรักชาดสีแดง ทับด้วยรักสมุกสีดำโดยจะลงทั้งด้านหน้าและด้านหลังเนื้อรักเท่ากันและที่ขอบ ทั้งสี่ด้าน การลงรักไม่สวยลงเพียงหยาบๆ และรักมักลบเลือนบางไปตามเวลา ไม่ร่อนกะเทาะ เพราะความหนาของรักไม่มาก ส่วนที่ลงรักหนาก็มีอยู่บ้าง ส่วนมากจะเป็นรักสมุกชั้นเดียวลงโดยฝีมือช่างรัก ซึ่งพบน้อยมาก
    การลงรัก.แบบ.พระสมเด็จวังหน้า,วังหลัง, พระสมเด็จกรมท่า
    ลักษณะที่ 1
    [​IMG]

    ลักษณะที่ 2
    [​IMG]

    ลักษณะที่ 3
    [​IMG]

    ลักษณะที่ 4
    การลงรักสองชั้น แบบพระสมเด็จกรมท่า

    [​IMG]

    ส่วนพระสมเด็จวังหลัง กรมท่า ที่แก่ปูนทำมาจาก ปูนปอตเลน หมายถึงปูนที่นำมาทำจาน,ชามกระเบื้อง,กระเบื้องปูพื้น,กระเบื้องปูฝาผนัง..นำเข้ามาจากจีน-ฝรั่ง..เนื้อจะออกขาวอมเหลืองเล็กน้อย..

    [​IMG]

    เนื้อสีขาว.แข็ง..แกร่ง..แน่นแบบพระสมเด็จปูนปอตเลน..ปูนปอตเลนนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังยุคต้น ๆ ถึงยุคกลาง....สมัย รัชกาลที่ 3 ตอนปลาย,รัชกาลที่ 4 ตอนต้น-กลาง(ไม่ใช่พิมพ์นิยม) ..มวลสารจะน้อย..สาเหตุที่เนื้อพระผงสมเด็จ และมวลสารหลัก..อื่น ๆ มีน้อย..เพราะส่วนใหญ่จะไม่ได้สร้างที่วัดระฆัง..จะมาทำที่ ..วังหน้า..วังหลัง..กรมท่า..ส่วนมากจะเอาผงสมเด็จไปผสมกันเอง.".จึงมีจำนวนพระมาก..เนื้ออ่อนผง.."พระ สมเด็จจะแก่ปูนมาก..เนื้อจะออกสีขาวเนื้อจะแข็ง..แกร่ง,แน่น..เพราะใช้ เครื่องบดมาช่วยบดผง..ส่วนใหญ่จะแตกลายมัน,แข็ง,แกร่งเหมือนชามกระเบื้อง...ตัดขอบพระจะใช้มีดบางจึงออกมาเรียบคม...แล้วนำมาให้ท่านปลุกเสกอีกครั้ง..ไปแจกในงาน และโอกาสต่าง ๆ
    "แตกลายแบบสมเด็จวังหน้า,สมเด็จวังหลัง,สมเด็จวังเดิม,สมเด็จกรมท่า เรียกว่า"แตกเนื้อแข็ง หรือแตกเนื้อกระเบื้อง"
    แตกลายแบบสมเด็จวังหน้า,สมเด็จวังหลัง,สมเด็จวังเดิม,สมเด็จกรมท่า เรียกว่า"แตกเนื้อแข็ง หรือแตกเนื้อกระเบื้อง"


    [​IMG]

    แตกลายแบบสมเด็จวังหน้า,สมเด็จวังหลัง,สมเด็จวังเดิม,สมเด็จกรมท่า หรือ"แตกเนื้อแข็ง" หมาย ถึง..การแตกลายของเนื้อพระเนื่องจากส่วนผสมพระทำจากปูนปอตเลนเป็นเกณฑ์..ที่ คนจีน-ฝรั่ง..ใช้ทำจานกระเบื้องชาม,พื้น,หรือผนัง.สังเกตุการแตกลายก็จะเป็น แบบเนื้อจานกระเบื้อง,ชาม,พื้น,ผนัง..เป็นการแตกมาจากเนื้อพระเกิดได้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังองค์พระเรียกว่าแตกลายทั้งองค์เหมือนจาน,ชามกระเบื้อง

    พระสมเด็จวัดระฆัง-สำนักกฎหมาย : วังหน้า,วังหลัง,กรมท่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2012
  16. jaturong_tae

    jaturong_tae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,246
    ค่าพลัง:
    +2,810
    เมื่อสักครู่ผมได้โอนเงินร่วมทำบุญจำนวน 200 บาท เข้าบัญชี"ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร" (pratom foundation)

    เพื่อร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

    และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ใครไม่เคยได้ยินเสียงหลวงพ่อเกษม ลองฟังดู เป็นมงคลแก่ตัวเองนา...หลังจากจบแล้ว มีภาพขึ้นมา ให้กดดูต่อในคำเทศน์ของท่านปี 32-3 ได้เลย สุดท้ายท่านให้พร น่าฟังมากครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=0_bJmjhWIoc&feature=player_embedded]หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี32-1.MPG - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2012
  18. sirimanod

    sirimanod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +912
    ผมขอร่วมทำบุญประจำเดือน ธ.ค.55ด้วยนะครับ

    ผมนายศิริมาโนชญ์ จันทรคุปต์ ขอร่วมทำบุญรักษาภิกษุอาพาธด้วยนะครับ ผมได้โอนเงินเข้าบัญชีของทุนนิธิ จำนวน100 บาทเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.55และผมขออนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยนะครับ
     
  19. black Bird

    black Bird เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +808
    กระผมและครอบครัว ขอร่วมบุญในการสงเคราะห์ภิษุสงฆ์อาพาธ และในงานบุญทุกบุญของโครงการ โดยโอนเงินร่วมบุญแล้ว 100 บาท ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ


    วันที่ทำรายการ : 03/12/2012 08:43:51 PM.
    หมายเลขอ้างอิง : KBKR121203241449551
    โอนเงินจากบัญชี : xxx-x-20511-5
    ธนาคารของบัญชีผู้รับโอน : BANK OF AYUDHAYA
    เพื่อเข้าบัญชี : 348-1-23245-9 ศ.ทุนนิธิสงเคาระห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
    ชื่อเจ้าของบัญชีในฐานข้อมูล : PRATOM F.
    จำนวนเงิน (บาท) : 100.0
    ค่าธรรมเนียม (บาท) : 25.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2012
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สมเด็จรูปนี้ น้อยคนที่จะรู้จักท่าน และน้อยคนที่จะมีพระเครื่องของท่านใช้ หารู้ไม่ว่า ท่านเป็นยอดอริยสงฆ์ที่มีความแตกฉานทางด้านการใช้พลังจิตอยู่ในขั้นอุกฤษฏ์มาก ขนาดลูกศิษย์ท่านแต่ละรูป นักเลงพระบางคนยังต้องใช้เวลาเสาะหามาชั่วชีวิตยังหาไม่พบของจริงเลย

    *** ประวัติ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) ***


    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์)

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ฤทธิ์ อยู่ในตระกูลมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เกิด วันเสาร์ เดือน ๗ พ.ศ.๒๓๘o เมื่ออายุได้ ๑o ปี โยมพ่อพาไปฝากในสำนักพระมหาพลาย วัดนาคกลาง เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้นบรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้ไปศึกษาอยู่ที่วัดราชบูรณะ ปีระกา พ.ศ.๒๓๙๓ อายุ ๑๕ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดเชตุพนฯ ได้เป็นเปรียญ ๓ประโยค พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตาจึงโปรดพระราชทานเงินรางวัลให้ชั่งหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔oo ได้อุปสมบทที่วัดราชบูรณะ สมเด็จพระวันรัต (สมบรูณ์) ครั้งยังเป็นพระธรรมวโรดมเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทได้ ๗ พรรษาได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง แปลได้อีก ๒ ประโยค ครั้นได้มีโอกาศถวายเทศน์แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานมากถึงกัยบพระราชทานตาลปัตรเปรียญพื้นโหมดให้ถือเป็นเกียรติยศพิเศษมาตลอดรัชกาล

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งให้เป็นพระอมรโมลี เมื่อปีจอ พ.ศ. ๑๔๑๗ ต่อมาโปรดฯ ให้ไปครองวัดบพิตรภิมุข แล้วทรงเลื่อนให้เป็นพระโพธิวงศาจารย์ เมื่อปีระกา วันศุกร์ เดือน ๑o แรม ๙ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ เมื่อปีเถาะ วันที่ ๒o มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาทรงเลื่อนเป็น พระธรรมวโรดม เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ จนถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ โปรดฯ ให้มาครองวัดอรุณราชวรารามแล้วทรงเลื่อนเป็นสมเด็จพุฒาจารย์ สมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณฯอยู่นั้นได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีราชกระแสรับสั่งยกย่องไว้ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นสมภารมีศิริ อยู่วัดใหนก็เจริญวัดนั้น เช่น วัดบพิตรภิมุข ก็เคยมาครั้งหนึ่งแล้ว จึงได้นิมนต์มาครองวัดอรุณฯ ก็มาทำความเจริญให้แก่วัดอรุณฯ เป็นที่เจริญความเลื่อมใส ให้บอกอนุโมทนาโดยความยินดีไปให้รับทราบ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้ทรงเลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์

    ในด้านวัตถุมงคล ท่านประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างวัตถุมงคลไวัหลากหลายรูปแบบ ทั้งพระเนื้อผงน้ำมัน ตะกรุด ผ้ายันต์ ด้วยท่านประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ใฝ่รู้ในวิชาการต่างๆ จึงมีลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาของมากมาย อาทิเช่น หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระครูลืม วัดอรุณฯ พระปลัดเส็ง วัดกัลยาฯ เป็นต้น

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) มรณภาพในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ตรงกลับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ศิริอายุ ได้ ๗๖ พรรษาที่ ๕๖


    โดย: Webmaster
    อีเมล์: Webmaster@design-pra.com
    วันที่แสดงข้อมูล: 16 Sep 2012 04:02
     

แชร์หน้านี้

Loading...