ควรหรือไม่ครับ การที่พระล้างเท้าแม่

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ไม่สาย, 24 พฤศจิกายน 2012.

  1. ไม่สาย

    ไม่สาย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +20
    พอดีเพื่อนส่งรูปมาให้ดู จึงเกิดการถกเถียงกันว่าควรหรือไม่ รบกวนผู้มีความรู้ช่วยชี้แจ้งด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0071.JPG
      IMG_0071.JPG
      ขนาดไฟล์:
      122.2 KB
      เปิดดู:
      570
  2. wt

    wt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +315
    ผมเห็นเป็นเรื่องไม่แปลกครับถึงจะบวชเป็นพระแล้วก็ตาม และร่วมอนุโมทนากับพระท่านด้วย
     
  3. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    -สาธุครับ
    เคยอ่านเจอมาครับว่า สามารถกระทำได้ เป็นความกตัญญูกตเวทิตาครับ
    สาธุ
     
  4. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    ควรครับและเหมาะสม
    แม่คือพระอรหัต์ของลูก
     
  5. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941

    ไม่สมควรเลยครับ..แถมยังมีการถ่ายรูปไว้อีก นี่ถ้าได้รูปนี้เป็นกรรมนิมิตแล้วละก็ แย่แน่ครับ


    .."ลูกสาว พี่สาว น้องสาว พระไม่ควรจับต้องถูกตัว ถ้าจับต้องเป็นอาบัติทุกกฏ ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรับอาบัติทุกกฏเหมือนกันทั้งนั้นแก่ภิกษุผู้จับต้อง.."ด้วยความรักว่าผู้นี้เป็นแม่ของเรา นี้เป็นลูกสาวของเรา นี้เป็นน้องสาวของเรา ".. เพราะขึ้นชื่อว่าผู้หญิงทั้งหมด จะเป็นมารดาก็ตาม ธิดาก็ตาม เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ทั้งนั้น.." (อรรถถามหาวิภังค์ ๒/๑๗๓)..


    ที่มา :วินัยพระน่ารู้ คู่มือโยม

    Link : http://palungjit.org/threads/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%98.356332/


    จึงว่า.. การบวชที่เป็นอันตรายคือบวชตามประเพณี บวชแก้บน บวชเพราะไม่มีงานทำหรือบวช ฯลฯ ครั้นบวชเพราะไม่รู้ ไม่เคยใส่ใจทราบว่าวัตถุประสงค์ที่แท้คืออะไร จึงไม่เคยศึกษาพระธรรมวินัย ก็ล่วงวินัยต้องอาบัติโดยไม่รู้ตัวอีกนั่นแหละ บาปกรรมที่ทำไปเพราะไม่รู้นั้น มีผลหนักหนาสาหัสนัก นี่ถ้ายังพอจะรู้บ้างก็ยังพอแก้ไขด้วยการปลงอาบัติเสีย แต่เมื่อไม่รู้เสียอย่างก็มืดเสียแล้ว.. น่ากรุณาจริงๆ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2012
  6. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ถ้าท่านปฏิบัติธรรมได้ระดับหนึ่งจนเกิดความซาบซึ้งในคุณของบิดามารดา ท่านมิต้องสึกออกมาก่อนหรือค๊ะ เพราะท่านไม่ได้กระทำด้วยจิตกำหนัดแน่ๆ ?ขอบคุณค่ะ
     
  7. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ...ควรหรือไม่ ผิดหรือไม่พระวินัย ต้องไปดูที่พระวินัยครับ เพราะพระศาสดาได้บัญญัติไว้แล้ว
    ถ้าความเห็นของผม...ผมทราบแต่เพียงว่า

    **ถ้าแม่ป่วยหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรครับ (แต่ไม่ได้บอกว่าผิดหรือไม่ผิด) เพราะพระศาสดาตรัสว่า...เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม....
     
  8. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ถ้าท่านเกิดความซาบซึ้งในคุณของบิดามารดาจริง จะไม่กระทำอาการดังในรูปโดยเด็ดขาด เพราะอาการนั้น..เมื่อเป็นที่มายินดีนิยมชมชื่นอยู่ของมารดา ก็ย่อมมีโทษตามมาด้วย คำอ้างที่ว่า"ไม่รู้"นั้น ใช้อลุ้มอะล่วยได้ในทางโลก แต่มีโทษมากในทางธรรม..ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอยู่ก็ไม่รู้วิธีแก้ไข ..

    เมื่อพระซาบซึ้งในคุณของมารดาบิดาก็สามารถเอื้อเฟื้อตอบแทนคุณท่านได้ด้วยการให้อริยทรัพย์คือการสอนข้อธรรมต่างๆให้ท่านทราบ ชักชวนให้ท่านมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ชักชวนให้ท่านสมาทานประพฤติศีล และเจริญวิปัสสนาหรือสมาธิได้ ดีกว่าคิดอะไรไม่ออกก็อาศัยกิริยาของฆราวาสไปทำเยี่ยงฆราวาสอันไม่สมควรแก่สมณะวิสัยเช่นนั้น..

    เมื่อบวชด้วยวิธีที่ถูกต้องมาแล้ว แปลว่าข้าพเจ้าขออาศัยพระุพุทธบารมีปกเกล้า อาศัยวัดวาอารามที่ชาวบ้านศรัทธาสร้างถวาย...นุ่งห่มจีวรอันเป็นuniformที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้..เมื่อเป็นนี้จะไม่ประพฤติตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ จะเรียกว่าสมควรหรือ?..

    ชาวบ้านเช่นเราๆนั้น สมควรทราบข้อวินัยไว้บ้างเพื่อช่วยกันรักษาพระศาสนาไว้ให้ตนเอง ว่าหากตายไปแล้วได้มีบุญให้เกิดมาในประเทศถิ่นนี้จะได้พบพระศาสนาที่ยังถูกต้องไม่บิดเบี้ยวเหยเกแทบจะเซล้มไปกลายเป็นลัทธิทำอะไรก็ได้ตามใจข้าพเจ้า แต่ก็ดูท่าว่าอีกไม่นานพระศาสนานี้ก็จะไร้ร่องรอยไปแล้ว ..พยายามสั่งสมอุปนิสสัยในการเห็นด้วยกับพระพุทธเจ้าให้มากในทุกเรื่องเถิดครับ ย่อมได้ปัจจัยให้ได้พบแต่ของจริงตามที่ทรงตรัสสอนไว้..
     
  9. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    เคยอ่านเจอมาแต่จำไม่ได้แล้วมารดาป่วยช่วยตัวเองไม่ได้
    พระลูกต้องคอยปรนนับัติแม่

    ไม่เห็นด้วยครับกับประเด็นที่ว่าผู้หญิงแตะต้องตัวพระไม่ได้ คนอื่นไม่เป็นไร แต่นี่โยมแม่นะครับแล้วแม่ในรูปท่านก็ประนมมือไหว้พระลูกด้วยแสดงความเคารพในผ้าเหลือง

    บาปบุญเกิดขึ้นจากใจเป็นสำคัญครับ
     
  10. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ตรงนี้เห็นด้วยครับพี่ไลอ้อนฯ...ว่าแต่พี่ไลอ้อนฯดูรูปแล้ว เห็นว่าเข้ากับเรื่องที่พี่ไลอ้อนคิดว่าถูกต้องหรือครับ ?

    ก็เพิ่งทราบว่าท่านไลอ้อนฯไม่ได้เห็นความสำคัญของพระวินัยบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ดีแล้ว..และถึงกับกล้ากล่าวแย้ง ความคิดของเรานั้น ที่จะดีเท่าของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้ครับ..


    พี่ไลอ้อนฯคงเคยได้สดับมาบ้างว่า..ผ้าเหลือง"คือธงชัยของพระอรหันต์" หากแม่เคารพจริงคงไม่นิ่งเฉยให้ผู้นุ่งห่ม"ธงชัยของพระอรหันต์ "มานั่งล้างเท้าของปุถุชนที่ยังมีกิเลสหรอกครับ พี่ไลอ้ิอนฯคิดทบทวนความเหมาะควรอีกครั้งนะครับ

    เรื่องใดที่ปุถุชนเห็นว่าดีเหมาะควร แต่หากพระพุทธองค์ทรงชี้แนะไว้ในทางตรงข้าม เราควรเชื่อใครดีครับ?..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2012
  11. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    ไม่ขอต่อประเด็นครับ เพราะแสดงความคิดเห็นออกไปหมดแล้วครับ
    คงแล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านจะพิจารณาครับ
    แต่ก็ขออนุโมทนากับท่านดีดีแมนด้วยครับที่มีเจตนาที่จะส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งพุทธศาสนา
    เราเห็นต่างกันได้ครับ แต่เราจะไม่แตกแยกกัน เพราะเราคือคนไทยที่เคารพในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ
     
  12. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ผมมีและให้ความเคารพพี่ไลอ้อนฯในฐานะผู้มีคุณธรรมเสมอครับ ไม่เคยคิดแตกแยกหรือเป็นศัตรูเลย นี่คือความจริงในใจตลอดเวลาที่เข้ามาในที่นี้ครับ _/\_..
     
  13. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    มันอยู่ที่ฐานะครับ ว่าเราอยู่ในฐานะเพศอะไร เป็นเพศคฤหัสถ์หรือเป็นเพศบรรพชิต เราจะเอาความคิดเราหรือความเหมาะสมของเราไปตัดสินว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควรก็หามิได้ พระธรรมวินัยมีไว้ให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตาม เมื่อเราตัดสินใจบวชแล้วเราก็ควรที่จะศึกษาพระธรรมวินัยให้ถ่องแท้ เพื่อไม่ให้ขาด ไม่ให้ทำลาย ไม่ให้ด่างพร้อย ควรที่จะสำรวมระวังแม้พระธรรมวินัยข้อที่จะผิดแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้แล้ว เราควรที่จะสำรวมระวังให้มากเพราะถือเป็นพุทธบูชามีอานิสงส์แรงนัก แต่ท่านก็บัญญัติโดนมีข้ออนุโลมไว้อยู่ ตามความเหมาะสมและเหตุการณ์ ไม่ได้ว่าจะต้องปฏิบัติตรงเสมอไป โดยใช้วิจารณญาณตามเหตุการณ์และความเหมาะสม หรือดูว่าทางเลือกใดจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากันโดยไม่ทำตามใจอยากโดยไม่มีเหตุผล
    สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเกิดความยำเกรงอยู่ในข้อบัญญัติบางอย่างว่า
    สิ่งใดที่ทรงอนุญาต สิ่งใดไม่ทรงอนุญาต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้น
    เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร แก่เธอทั้งหลาย
    ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้น
    เขากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร แก่เธอทั้งหลาย
    ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้น
    เข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร แก่เธอทั้งหลาย
    ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้น
    เข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร แก่เธอทั้งหลาย.

    ถ้าถามว่าผิดพระธรรมวินัยไหมก็ผิดครับ แต่ผิดทุกกฎ(ทุกกฎคือการประพฤติไม่สมควรทางกาย อาจจะเป็นเหตุให้โลกติเตียนได้) แต่ครั้งต่อไปก็ควรที่จะสำรวมระวังมากกว่านี้ การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก็ได้บุญอานิสงส์มากแล้ว เป็นเนื้อนาบุญ เวลาบิดา,มารดา ท่านมาฟังธรรม มาทำบุญด้วย ท่านก็จะได้อานิสงส์ตามไปด้วย การตอบแทนพระคุณท่านมีหลายทาง แล้วแต่ท่านพิจารณาน่ะครับ
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  14. ...คนสู้กรรม...

    ...คนสู้กรรม... เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +967
    ทุกอย่างอยู่ที่เจตนาครับ บอกได้แค่นี้
     
  15. AYACOOSHA

    AYACOOSHA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +2,253
    เห็นด้วยกับความเห็นนี้ครับ และ เป็นเจตนาของทั้งสองฝ่ายด้วย ทั้งผู้กระทำ และ ของผู้วิจารณ์ สวัสดี
     
  16. J47

    J47 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +3,405
    พระพุทธเจ้าทรงทราบกลับสรรเสริญ

    ในสมัยพุทธกาลภิกษุรูปหนึ่งบิณฑบาตได้อาหารมาก็เอาให้ผู้บังเกิดเกล้ากินก่อน ตนเองได้ฉันบ้างไม่ได้ฉันบ้าง พระภิกษุเหล่าอื่นทราบเรื่อง พากันติเตียนท่านว่า เธอทำไม่ถูกไม่เหมาะที่นำอาหารบิณฑบาตไปให้คฤหัสถ์กินก่อน

    พระพุทธเจ้าทรงทราบกลับสรรเสริญภิกษุรูปนั้นว่าทำถูกแล้ว แม้จะบวชเป็นพระแล้วก็สามารถเลี้ยงบิดามารดาได้ และอาหารที่บิณฑบาตมาได้ ตถาคตอนุญาตให้เอาให้บิดามารดากินก่อนได้ คนรู้คุณคนและตอบแทนคุณคนอยู่ไหนก็ได้รับการสรรเสริญและประสบความเจริญ ตรงกันข้ามกับคนอกตัญญูและคนเนรคุณ ย่อมจะมีแต่ทางหายนะ
     
  17. ติดบ่วง

    ติดบ่วง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2012
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +771
    ผมไม่รู้นะครับ รู้แต่ว่าถ้าไม่มีโยมแม่ก็ไม่มีพระ ได้บวชได้ปฏิบัติธรรมสร้างบุญได้เพราะมีโยมแม่ ให้กำเนิด เอาเวลาติเตียนผู้อื่นมาพิจารณาธรรมของตัวเราเองดีกว่า ใครทำผิดก็แค่ดูเป็นตัวอย่างว่าไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง นานาจิตตังนะครับผมมีมุมมองอย่างนี้ คิดว่าน่าจะดูที่เจตนา
     
  18. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ.. โดยส่วนตัวพอเห็นภาพครั้งแรกปุ๊บ ผมรู้สึกในใจเลยว่าไม่เหมาะ .. ไม่ได้ลบหลู่หรืออะไรนะครับ แต่ในใจรู้สึกว่าไม่น่าสมควร เพราะพระคือผู้ที่มีศีลสูงสุดใน มนุษย์ การที่พระล้างเท้าแม่ ก็คล้ายๆกับ พระกราบแม่.. ไม่รู้นะครับตามความเห็นส่วนตัว.. ซึ่งจริงๆแล้วควรจะกลับกันมากกว่า เพราะถ้าแม่ได้ถวายภัตตาหาร หรือ ช่วยเหลือวัด หรืออย่างอื่น แม่ก็จะได้บุญไปด้วย การตอบแทนคุณแม่มีหลายวิธี.. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า แม้จะให้พ่อแม่ อยู่อาศัยนั่งอุจจาระอยู่บนตัวเรา ทำทุกอย่างทางโลก ก็ไม่ได้บุญเท่ากับ สอนเข้าพ่อแม่ มีปัญญา มีสัมมาฐิถิ หรือให้ธรรมเป็นทาน เทศนาสอน ตามอุปนิสัย ของบิดามารดา น่าจะเป็นประโยชน์กว่า เช่น สอนเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา ส่วนการล้างเท้าแม่ ผมคิดว่า คล้ายกับ พระกราบแม่.. ซึ่งถ้าเป็นเราบุคคลธรรมดา ฆารวาสถือศีล 5 ล้างเท้าแม่ กราบเท้าแม่ ดีมากๆครับ แต่ถ้าเป็นพระซึ่งมีศีลสูงกว่า แม้แต่พ่อแม่ ก็ต้องกราบพระ.. ซึ่งในใจผม รู้สึกไม่เหมาะยังไงก็ไม่รู้นะครับตามรูป..( ถ้าเป็นผม ผมจะล้างเท้าแม่ กราบเท้าแม่ก่อนบวชครับ พอบวชแล้วเราต้องเป็นผู้ทรงศีล ) สรุปตามนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2012
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อย่าว่าแต่ ล้างเท้าเลย เด็กๆ

    เช็ดขี้ เช็ดเยี่ยว อาบน้ำให้แม่ เช็คตัวให้แม่

    แม่ป่วยเป็น อัมพาต ขยับไม่ได้

    ก็สามารถดูแล พ่อ แม่ ได้ครับ


    อรรถกถา สุวรรณสามชาดก
    ว่าด้วย สุวรรณสามบำเพ็ญเมตตาบารมี

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เลี้ยงมารดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โก นุ มํ อุสุนา วิชฺฌิ ดังนี้เป็นต้น.
    ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี มีกุลบุตรผู้หนึ่งเป็นบุตรคนเดียวของสกุลเศรษฐีผู้หนึ่ง ซึ่งมีทรัพย์สมบัติสิบแปดโกฏิ. กุลบุตรนั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของบิดามารดา. วันหนึ่ง เขาอยู่บนปราสาทเปิดสีหบัญชรแลดูในถนนใหญ่ เห็นมหาชนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร เพื่อต้องการสดับพระธรรมเทศนา จึงคิดว่า แม้ตัวเราก็จักไปกับพวกนั้นบ้าง จึงให้คนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระวิหาร ถวายผ้าเภสัชและน้ำดื่มเป็นต้นแด่พระสงฆ์ และบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น. ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเห็นโทษในกามทั้งหลาย กำหนดอานิสงส์แห่งบรรพชา. ครั้นบริษัทลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะกุลบุตรนั้นอย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลายไม่ยังบุตรที่บิดามารดายังมิได้อนุญาตให้บรรพชา. กุลบุตรได้ฟังรับสั่งดังนั้น จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับไปเคหสถาน ไหว้บิดามารดาด้วยความเคารพเป็นอันดี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ ข้าพเจ้าจักบวชในสำนักพระตถาคต.
    ลำดับนั้น บิดามารดาของกุลบุตรนั้นได้ฟังคำของเขาแล้ว ก็เป็นราวกะมีหัวใจแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง เพราะมีบุตรคนเดียว หวั่นไหวอยู่ด้วยความสิเนหาในบุตร ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อผู้เป็นบุตรที่รัก ผู้เป็นหน่อแห่งสกุล ผู้เป็นดั่งดวงตา ผู้เช่นกับชีวิตของเราทั้งสอง. เราทั้งสองเว้นจากเจ้าเสีย จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร. ชีวิตของเราทั้งสองเนื่องในเจ้า เราทั้งสองก็แก่เฒ่าแล้ว จักตายในวันนี้พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ เจ้ายังจะละเราทั้งสองไปเสียอีก. ธรรมดาว่าบรรพชาอันบุคคลทำได้ยากยิ่ง เมื่อต้องการเย็น ย่อมได้ร้อน เมื่อต้องการร้อน ย่อมได้เย็น. เพราะเหตุนั้น เจ้าอย่าบวชเลย. กุลบุตรได้สดับคำของบิดามารดาดังนั้น ก็มีความทุกข์โทมนัส นั่งก้มศีรษะซบเซา ไม่บริโภคอาหารเจ็ดวัน.
    ลำดับนั้น บิดามารดาของกุลบุตรนั้น คิดกันอย่างนี้ว่า ถ้าบุตรของเราไม่ได้รับอนุญาตให้บวชก็จักตาย. เราจักไม่ได้เห็นเขาอีกเลย บุตรเราเป็นอยู่ด้วยเพศบรรพชิต เราจักได้เห็นอีกต่อไป. ครั้นคิดเห็นกันอย่างนี้แล้วจึงอนุญาตว่า ดูก่อนพ่อผู้เป็นลูกรัก เราอนุญาตให้เจ้าบวช เจ้าจงบวชเถิด. กุลบุตรได้ฟังดังนั้นก็มีได้ยินดี น้อมสรีระทั้งสิ้นลงกราบแทบเท้าบิดามารดา ลาออกจากกรุงสาวัตถีไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร. ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลขอบรรพชา.
    พระศาสดาตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้บวชกุลบุตรนั้นเป็นสามเณร.
    จำเดิมแต่สามเณรนั้นบวชแล้ว ลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก. สามเณรนั้นยังอาจารย์และอุปัชฌาย์ให้ยินดี. อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว เล่าเรียนธรรมอยู่ห้าพรรษา ดำริว่า เราอยู่ในที่นี้เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ญาติเป็นต้น หาสมควรแก่เราไม่ เป็นผู้ใคร่จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ จึงเรียนกรรมฐานในสำนักอุปัชฌาย์ ออกจากวิหารเชตวันไปสู่ปัจจันตคามแห่งหนึ่ง อยู่ในป่าอาศัยปัจจันตคามนั้น. ภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาในที่นั้น แม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี ก็ไม่สามารถยังธรรมวิเศษให้เกิด.
    ฝ่ายบิดามารดาของภิกษุนั้น ครั้นเมื่อกาลล่วงไปได้ขัดสนลง. คิดเห็นว่า ก็เหล่าชนที่ประกอบการนาหรือพาณิชย์ บุตรหรือพี่น้องที่จะเตือนนึกถึงพาพวกเราไป ไม่มีในสกุลนี้ พวกเขาถือเอาทรัพย์ตามกำลังของตนๆ หนีไปตามชอบใจ แม้ทาสกรรมกรในเรือนเป็นต้น ก็ถือเอาเงินทองเป็นต้นหนีไป. ครั้นต่อมา ชนทั้งสองจึงตกทุกข์ได้ยากเหลือเกิน ไม่ได้แม้การรดน้ำในมือ ต้องขายเรือน ไม่มีเรือนอยู่. ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง นุ่งห่มผ้าท่อนเก่า ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานที่นี่ที่นั่น.
    ในกาลนั้น ภิกษุรูปหนึ่งออกจากพระเชตวันมหาวิหาร ไปถึงที่อยู่ของภิกษุบุตรเศรษฐีอนาถานั้น. ภิกษุเศรษฐีบุตรนั้นทำอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้นแล้ว นั่งเป็นสุขแล้วจึงถามว่า ท่านมาแต่ไหน. ภิกษุอาคันตุกะแจ้งว่ามาแต่พระเชตวัน จึงถามถึงความผาสุกแห่งพระศาสดา และของพระมหาสาวกเป็นต้น แล้วถามถึงข่าวคราวแห่งบิดามารดาว่า ท่านขอรับ สกุลเศรษฐีชื่อโน้นในกรุงสาวัตถีสบายดีหรือ. ภิกษุอาคันตุกะตอบว่า อาวุโส ท่านอย่าถามถึงข่าวคราวแห่งสกุลนั้นเลย. ถามว่า เป็นอย่างไรหรือท่าน. ตอบว่า ได้ยินว่า สกุลนั้นมีบุตรคนเดียว เขาบวชในพระศาสนา. จำเดิมแต่เขาบวชแล้ว สกุลนั้นก็เสื่อมสิ้นไป. บัดนี้เศรษฐีทั้งสองเป็นกำพร้าน่าสงสารอย่างยิ่ง ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน.
    ภิกษุเศรษฐีบุตรได้ฟังคำของภิกษุอาคันตุกะแล้ว ก็ไม่อาจจะทรงตัวอยู่ได้ มีน้ำตานองหน้าเริ่มร้องไห้. พระเถระเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า เธอร้องไห้ทำไม. ภิกษุเศรษฐีบุตรตอบว่า ท่านขอรับ ชนสองคนนั้นเป็นบิดามารดาของกระผม กระผมเป็นบุตรของท่านทั้งสองนั้น. พระเถระจึงกล่าวว่า บิดามารดาของเธอถึงความพินาศเพราะอาศัยเธอ เธอจงไปปฏิบัติบิดามารดานั้น. ภิกษุเศรษฐีบุตรคิดว่า เราแม้เพียรพยายามอยู่ถึงสิบสองปี ก็ไม่สามารถที่จะยังมรรคหรือผลให้บังเกิด เราจักเป็นคนอาภัพ. ประโยชน์อะไรด้วยบรรพชาเล่า เราจักเป็นคฤหัสถ์เลี้ยงบิดามารดา ให้ทาน จักเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คิดฉะนี้แล้วมอบสถานที่อยู่ในป่าแก่พระเถระนั้น นมัสการพระเถระแล้ว.
    รุ่งขึ้นจึงออกจากป่าไปโดยลำดับ ลุถึงวิหารหลังพระเชตวัน ไม่ไกลกรุงสาวัตถี ณ ที่ตรงนั้นเป็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปพระเชตวัน ทางหนึ่งไปในกรุงสาวัตถี. ภิกษุนั้นหยุดอยู่ตรงนั้น คิดว่า เราจักไปหาบิดามารดาก่อน หรือจักไปเฝ้าพระทศพลก่อน แล้วคิดต่อไปว่า เราไม่ได้พบบิดามารดานานแล้วก็จริง. แต่จำเดิมแต่นี้ เราจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้าได้ยาก วันนี้เราจักเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วฟังธรรม. รุ่งขึ้นจึงไปหาบิดามารดาแต่เช้าเทียว คิดฉะนี้แล้ว ละมรรคาไปกรุงสาวัตถี ไปสู่มรรคาที่ไปพระเชตวัน ถึงพระเชตวันเวลาเย็น.
    ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งสกุลรูปนี้. พระองค์จึงทรงพรรณนาคุณแห่งบิดามารดาด้วยมาตุโปสกสูตร. ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาถึง ก็ภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่สุดบริษัท สดับธรรมกถาอันไพเราะ. จึงรำพึงว่า เราคิดไว้ว่าจักเป็นคฤหัสถ์อาจบำรุงปฏิบัติบิดามารดา. แต่พระศาสดาตรัสว่า แม้เป็นบรรพชิตก็ทำอุปการะแก่บิดามารดาได้. ถ้าเราไม่ได้มาเฝ้าพระศาสดาก่อนแล้วไป พึงเสื่อมจากบรรพชาเห็นปานนี้. ก็บัดนี้ เราไม่ต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตอยู่นี่แหละจักบำรุงบิดามารดา.
    ภิกษุนั้นถวายบังคมพระศาสดาแล้วออกจากพระเชตวันไปสู่โรงสลาก รับภัตตาหารและยาคูที่ได้ด้วยสลาก เป็นภิกษุอยู่ป่าสิบสองปี ได้เป็นเหมือนถึงความเป็นผู้พ่ายแพ้แล้ว. ภิกษุนั้นเข้าไปในกรุงสาวัตถีแต่เช้าทีเดียว คิดว่าเราจักรับข้าวยาคูก่อน หรือไปหาบิดามารดาก่อน แล้วคิดว่า การมีมือเปล่าไปสู่สำนักคนกำพร้าไม่สมควร จึงถือเอายาคูไปสู่ประตูเรือนเก่าของบิดามารดาเหล่านั้น ได้เห็นบิดามารดาเที่ยวขอยาคูแล้วเข้าอาศัยริมฝาเรือน คนอื่นนั่งอยู่. ถึงความเป็นคนกำพร้าเข็ญใจ ก็มีความโศกเกิดขึ้น มีน้ำตานองหน้ายืนอยู่ในที่ใกล้ๆ บิดามารดาทั้งสองนั้น. บิดามารดาแม้เห็นท่านแล้วก็จำไม่ได้. มารดาของภิกษุนั้นสำคัญว่า ภิกษุนั้นจักยืนเพื่อภิกขาจาร จึงกล่าวว่า ของเคี้ยวของฉันอันควรถวายพระผู้เป็นเจ้าไม่มี นิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด. ภิกษุนั้นได้ฟังคำแห่งมารดา ก็เกิดความโศกเป็นกำลัง มีน้ำตานองหน้ายืนอยู่ตรงนั้นเอง เพราะได้รับความเศร้าใจ. แม้มารดากล่าวเช่นนั้นสองครั้งสามครั้ง ก็ยังยืนอยู่นั่นเอง. ลำดับนั้น บิดาของภิกษุนั้นพูดกะมารดาว่า จงไปดู นั่นบุตรของเราทั้งสองหรือหนอ. นางลุกขึ้นแล้วไปใกล้ภิกษุนั้นแลดูก็จำได้ จึงหมอบปริเทวนาการแทบเท้าแห่งภิกษุผู้เป็นบุตร. ฝ่ายบิดาไปบ้างก็ร้องไห้ตรงที่นั้นเหมือนกัน น่าสงสารเหลือเกิน. ฝ่ายภิกษุนั้นเห็นบิดามารดา ก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้จึงร้องไห้. ภิกษุนั้นกลั้นความโศกแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งสองอย่าคิดเลย อาตมาจักเลี้ยงดูท่านให้ผาสุก ยังบิดามารดาให้อุ่นใจแล้วให้ดื่มยาคู ให้นั่งพักในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว นำภิกษาหารมาอีกให้บิดามารดาบริโภค แล้วแสวงหาภิกษาเพื่อตน ไปสู่สำนักบิดามารดา ถามเรื่องภัตตาหารอีก ได้รับตอบว่า ไม่บริโภค จึงบริโภคเอง แล้วให้บิดามารดาอยู่ในที่ควรแห่งหนึ่ง.
    ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติบิดามารดาทั้งสองโดยทำนองนี้ตั้งแต่นั้นมา แม้ภัตที่เกิดในปักษ์เป็นต้นที่ตนได้มา ก็ให้แก่บิดามารดา. ตนเองเที่ยวภิกษาจาร ได้มาก็บริโภค. เมื่อไม่ได้ก็ไม่บริโภค ได้ผ้าจำพรรษาก็ตาม ผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอดิเรกลาภก็ตาม ก็ให้แก่บิดามารดา ซักย้อมผ้าเก่าๆ ที่บิดามารดานุ่งห่มแล้ว เย็บปะนุ่งห่มเอง. ก็วันที่ภิกษุนั้นได้อาหารมีน้อยวัน วันที่ไม่ได้มีมากกว่า. ผ้านุ่งผ้าห่มของภิกษุนั้นเศร้าหมองเต็มที. เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติบิดามารดาต่อมา ก็เป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้นๆ มีตัวดาษไปด้วยเส้นเอ็น.
    ครั้งนั้น เหล่าภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมา เห็นภิกษุนั้นจึงถามว่า อาวุโส แต่ก่อนสรีรวรรณะของเธองามสดใส แต่บัดนี้เธอซูบผอม เศร้าหมองไม่ผ่องใส กายเหลืองขึ้นๆ มีตัวดาษไปด้วยเส้นเอ็น พยาธิเกิดขึ้นแก่เธอหรือ. ภิกษุนั้นตอบว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่มีพยาธิ แต่มีความกังวล แล้วบอกประพฤติเหตุนั้น. ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดาไม่ประทานอนุญาตเพื่อยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป. ก็ท่านถือเอาของที่เขาให้ด้วยศรัทธามาให้แก่เหล่าคฤหัสถ์ ทำกิจไม่สมควร. ภิกษุนั้นได้ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นก็ละอาย ทอดทิ้งมาตาปิตุปัฏฐานกิจเสีย.
    ภิกษุเหล่านั้นยังไม่พอใจ แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อโน้นยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไปเลี้ยงดูคฤหัสถ์. พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ ได้ยินว่า เธอถือเอาศรัทธาไทยไปเลี้ยงคฤหัสถ์ จริงหรือ. เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับว่า จริง พระเจ้าข้า. เมื่อทรงใคร่จะสรรเสริญการกระทำของภิกษุนั้น และทรงใคร่จะประกาศบุพจริยาของพระองค์ จึงตรัสถามว่า แน่ะภิกษุ เมื่อเธอเลี้ยงดูเหล่าคฤหัสถ์ เลี้ยงดูคฤหัสถ์เหล่าไหน. ภิกษุนั้นกราบทูลว่า บิดามารดาของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุนั้น. พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการสามครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ แล้วตรัสว่า เธอดำรงอยู่ในทางที่เราดำเนินแล้ว. แม้เราเมื่อประพฤติบุพจริยาก็ได้บำรุงเลี้ยงบิดามารดา. ภิกษุนั้นกลับได้ความเบิกบานใจ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2012
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งสกุลรูปนี้. พระองค์จึงทรงพรรณนาคุณแห่งบิดามารดาด้วยมาตุโปสกสูตร. ในเวลาที่ภิกษุนั้นมาถึง ก็ภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่สุดบริษัท สดับธรรมกถาอันไพเราะ. จึงรำพึงว่า เราคิดไว้ว่าจักเป็นคฤหัสถ์อาจบำรุงปฏิบัติบิดามารดา. แต่พระศาสดาตรัสว่า แม้เป็นบรรพชิตก็ทำอุปการะแก่บิดามารดาได้. ถ้าเราไม่ได้มาเฝ้าพระศาสดาก่อนแล้วไป พึงเสื่อมจากบรรพชาเห็นปานนี้. ก็บัดนี้ เราไม่ต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตอยู่นี่แหละจักบำรุงบิดามารดา.
     

แชร์หน้านี้

Loading...