วิถีบุญวิถีธรรม : "จระเข้ นางมัจฉา"...บุญทอดกฐิน เมื่อวัดใดมีการทอดกฐิน นอกจากธงชาติและธงธรรมจักร ที่นำไปติดประดับไว้ตามกำแพงวัดแล้ว จะเห็นว่า มีธงอีก ๒ ผืนแขวนอยู่ด้วย คือ ๑.ธงจระเข้ โดยใช้ผ้าขาวเขียนหรือพิมพ์รูปจระเข้ ปากคาบดอกบัว แต่บางที่ก็เขียนเป็นรูปจระเข้เฉยๆ ไม่มี ดอกบัว และจระเข้นั้นก็กำลังว่ายน้ำฝ่าคลื่นลม ๒.ธงรูปนางมัจฉา คือ ครึ่งคน (ผู้หญิง) ครึ่งปลา สำหรับความเป็นของธงทั้ง ๒ ผืน นั้น พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมธิปัตย์ บางซื่อ กทม. พระนักจัดรายการวิทยุ และผู้แต่งเทศน์เพลง อธิบายให้ฟังว่า ตามหนังสือศาสนพิธี ทางพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ ๒ นัย คือ สมัยโบราณ การเดินทางต้องอาศัย การดูทิศทางจากดวงดาว เช่น ในการ เคลื่อนขบวนทัพ ในตอนจวนสว่าง ต้องอาศัยดาวจระเข้ ซึ่งขึ้นในช่วงนั้นพอดี การทอดกฐินสมัยโบราณ เป็นงานใหญ่ มีภาระต้องจัดทำมาก บางที่ต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ก็ต้อง อาศัยดูทิศทาง จากดาวจระเข้ ซึ่งพอขึ้นก็เริ่มเคลื่อนขบวนกฐิน จะได้ไปสว่างที่วัดพอดี ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงประดับองค์กฐิน ให้สวยงาม รวมทั้งประดับบริเวณวัด จึงได้มีการจัดทำธงรูปจระเข้ขึ้น หวังให้เป็นเครื่องหมายว่า วัดนี้มีผู้จองกฐิน หรือทอดกฐินแล้ว ส่วนอีกตำนานหนึ่งนั้น มีนิทานโบราณว่า เศรษฐีผู้หนึ่งเป็นคนขี้เหนียว ไม่เคยคิดทำบุญสร้างกุศล นำสมบัติ ไปฝังไว้ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน ครั้นตายลงจึงไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติของตน ได้รับความทุกขเวทนา จึงไปเข้าฝัน ภรรยาให้มาขุดสมบัติ ไปทำบุญกุศล ภรรยาจึงจัดให้มีการทอดกฐินขึ้น จระเข้เศรษฐีนั้นก็บังเกิดความยินดี ว่ายน้ำตามขบวนเรือแห่องค์กฐินไป แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดแรง ไปต่อไม่ไหว จึงบอกภรรยาให้วาดรูปจระเข้ ใส่ในธงไปแทน "คติความเชื่อเรื่องนี้ถือว่า ตรงกับเรื่องบาปบุญทางพุทธศาสนา เตือนสติให้คนรู้จักเสียสละ ทำบุญบ้าง เมื่อ ตายแล้ว หากยังหวงสมบัติอยู่ ก็จะเกิดเป็นสัตว์ มาเฝ้าสมบัติ ตรงกับหลักธรรมที่ว่า ตายด้วยความโลภ จะเกิดเป็นเปรต ตายด้วยความโกรธจะตกนรก ตายด้วยความหวง จะเกิดเป็นสัตว์เดรัชฉาน" พระอาจารย์ เกษมสุขกล่าว พร้อมกับบอกด้วยว่า ธงจระเข้ ยังแฝงด้วยปริศนาธรรม สำหรับเตือนสติพระหนุ่มเณรน้อย ให้พึงระวังภัยสี่ประการ อันจะเป็นเหตุ ห้ต้องสึกได้ คือ ๑. อูมิภัย ภัยอันเกิดจากคลื่น คือ อดทนต่อคำสอนไม่ได้ ๒. กุมภีลภัย ภัย จระเข้ คือ เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๓. อาวฎภัย ภัยเกิดจากน้ำวน คือ ห่วงพะวงอยู่ ในความสุขของชาวโลก เพลิดเพลินด้วยกามคุณ เช่นสะสม ของสวยๆ งามๆ ทำ สวนดอกไม้ สะสมของเก่าๆ ที่มีค่า และ ๔. สุสุกาภัย ภัยปลาร้าย คือ อภัยฉลาม หรือ เกิดความปรารถนาทางเพศ รักผู้หญิง ส่วน ธงรูปนางมัจฉา นั้น พระอาจารย์เกษมสุข บอกว่า ไม่ได้มีตำนานเขียนไว้ โดยจะเป็นรูปของครึ่งคน (ผู้หญิง) ครึ่งปลา คือ ส่วนบนของร่างกาย ตั้งแต่สะเอวขึ้นไปจะเป็นคน ต่ำจากสะเอวลงมาจะเป็นปลามีเกล็ด มีหางเหมือนปลาทุกประการ และมือนางมัจฉานี้จะถือดอกบัวในท่าพนม เป็นเสมือนการร่วมอนุโมทนากฐิน แม้ จะครึ่งคนครึ่งปลา แต่ก็อยู่ในน้ำที่เต็มไปด้วยระลอกคลื่นน้อยใหญ่ อย่างไรก็ตาม เมื่อขบวนกฐินแห่ไปถึงวัดแล้ว เขาจะปักธงจระเข้ และ ธงนางมัจฉา ไว้ที่ท่าน้ำหรือที่หน้าวัด เพื่อบอกให้คนทั้งหลายรู้ว่า วัดนี้มีการทอดกฐินแล้ว และผู้คนก็จะอนุโมทนาในการกุศลนี้ด้วย สำหรับการสร้างเป็นเครื่องรางนั้น ค้าขายคล่อง วัดไหนมีกฐินแสดงว่า มีเงินเข้าวัด ถ้ามาปิดไว้ที่ร้านค้า ก็น่าจะมีเงินเข้าบ้านเข้าวัดบ้าง เป็นอุบายของการให้เช่าบูชา วัตถุมงคลอย่างหนึ่ง กำลังซื้อมีแต่กำลังที่ จะซื้อซ้ำไม่มี ทางวัดจึงพลิกแพลง ออกวัตถุมงคลชนิดใหม่ๆ เช่น ชูชก เจ้าเงาะ พญานาค เทพเจ้า ตาม ความเชื่อต่างๆ จาก <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=778 align=center background=/imgs/bg2.gif border=0><TBODY><TR><TD> <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=778 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#ffffff><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center bgColor=#ffcc33 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550</TD></TR></TBODY></TABLE><!-- Date Table --></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE> </TD></TR></TBODY></TABLE>
ขออนุโมทนาสาธุค่ะ ...วันที่ 10-11 พ.ย นี้ แม่น้องนน และเพื่อนจะไปทอดกฐินที่วัดเขตลาดใต้ จังหวัดชัยภูมิค่ะ...ท่านใดที่อยู่ใกล้ไปร่วมทำบุญด้วยกันนะคะ...
ขอเชิญร่วมจองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีมหากุศล จำนวน ๒๐๐ กองฯละ ๑,๐๐๐ บาท ทอดถวาย ณ. วัดป่ากุดเวียงคำ ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ ๒ - ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เนื่องจากทางวัดป่ากุดเวียงคำร่วมกับ คณะกรรมการ ทายกทายิกาศิษยานุศิษย์ และชาวบ้าน โนนเวียงคำมีมติให้จัดสร้างศาลา การเปรียญอเนกประสงค์หลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมดังนั้นจึงได้มีการทอดถวายกฐินสามัคคีขึ้นเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างศาลาการเปรียญและมีพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญในวันดังกล่าวด้วยจึงขอเชิญชวนบอกบุญแด่ท่านผู้มีจิตศรัทธาและสาธุชนทั้งหลายได้ร่วมจองเป็นเจ้าภาพทอดถวายกฐินสามัคคีหากุศลครั้งนี้โดยพร้อมเพียงกันเพื่อเป็นสิริมงคลและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและจรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู้บ้านเมืองสืบต่อไป ท้ายนี้ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกโปรดดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวจงประสบแต่ ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุรภิธพรชัย ๔ ประการประกอบด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติทุกประการเทอญ กำหนดการ วันศุกร์ที่ ๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลา ๑๖.๐๐ น. ลงทะเบียนบวชชีพราหมณ์ เวลา ๑๗.๐๐ น. ตั้งองค์กฐินสามัคคีและรวบรวมบริวารกฐินที่วัดป่ากุดเวียงคำ เวลา ๑๙.๐๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น เวลา ๑๙.๓๐ น. พิธีบวชชีพราหมณ์ แสดงพระธรรมเทศนา โดย พระมหาทองใบ สิริจันโท เจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัย (ธ) เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือเจริญจิตภาวนาปฏิบัติกรรมฐานตามแต่สะดวก วันเสาร์ที่ ๓ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลา ๐๔.๐๙ น. ทำวัตรสวดมนต์เช้า- เจริญจิตภาวนา เวลา ๐๖.๐๙ น. พระภิกษุสามเณรออกรับบิณฑบาตรอบบริเวณวัด และฉันภัตตาหารเช้า เวลา ๐๘.๐๙ น. ทอดถวายกฐินสามัคคี